PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

นายกรัฐมนตรีรัสเซียเตรียมเยือนไทย 7-8 เม.ย.นี้

นายกรัฐมนตรีรัสเซียเตรียมเยือนไทย 7-8 เม.ย.นี้

นายกรัฐมนตรีรัสเซียเตรียมเยือนไทย 7-8 เม.ย.นี้
สำนักข่าวไทย 1 เม.ย.-นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย เตรียมเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ นับเป็นการเยือนประเทศไทย ในระดับนายกรัฐมนตรีของสหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งแรกในรอบ 25 ปี
นายดมิทรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย มีกำหนดเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน ในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ตามคำเชิญของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อกระชับความสัมพันธ์และขยายความร่วมมือในสาขาต่างๆ บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน โดยนายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่าย มีกำหนดจะหารือทวิภาคีในวันที่ 8 เมษายน จากนั้นจะเป็นสักขีพยานลงนามความตกลงทวิภาคี อาทิ ด้านพลังงาน การส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
ทั้งนี้ระหว่างการเยือนของนายกรัฐมนตรีสหพันธรัฐรัสเซีย ภาคเอกชนไทยและรัสเซีย จะร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อเป็นกรอบความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจร่วมกันด้วย.-สำนักข่าวไทย

เบื้องลึกเบื้องหลังการประกาศ คสช. ม.44

เบื้องลึกเบื้องหลังการประกาศ คสช. ม.44

Prev
1 of 1
Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 01 เม.ย 2558 เวลา 21:41:20 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมื่อหลายฝ่ายทั้งคนการเมือง-กูรูกฎหมาย ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ การตัดสินใจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี-หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กราบบังคมทูลฯ ขอยกเลิกกฎอัยการศึก และเตรียมออกประกาศคสช. อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 แทน


มาฟัง “เนติบริกร”-ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ไขความกระจ่างกับกฎหมายคำต่อคำนับจากบรรทัดนี้


@ขั้นตอน-กระบวนการการประกาศคำสั่งคสช.ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ มาตรา 44


การยกเลิกกฎอัยการศึกต้องเป็นไปตามพระราชโองการฯ โดยรัฐบาลได้นำคววามกราบบังทูลไปแล้ว ตามตำแนะนำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่ปัญหาคือ เมื่อยกเลิกแล้วจะมีมาตรการอะไรมารองรับ ซึ่งคณะที่ปรึกษาคสช. ได้ทำทางเลือกเสนอท่านนายกรัฐมนตรีไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 57 ว่า 1.ไม่ต้องทำอะไร คือ ใช้กฎหมายอาญาธรรมดา 2.อาจจะต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานกาณ์ฉุกเฉิน และ 3.คือใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

ข้อสังเกตุหากใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ อยู่ดีๆจะหยิบขึ้นมาใช้ไม่ต้อง แต่ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่เหมือนกับพ.ร.บ.ความั่นคงฯ ที่ไม่ต้องประกาศ ขณะเดียวกันกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ มันก็ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในระดับหนึ่งและมีข้อจำกัดอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งเบากว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึก

ถ้าเอากฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งใน 2 ฉบับนี้มาใช้ แทนการประกาศใช้กฎอัยการศึก ก็คงไปได้เหมือนที่เราเคยประกาศใช้มาแล้ว ก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 57 แต่ทีนี้เมื่อต้องการแก้ไขปัญหาบางอย่างที่สมควรจะแก้ ไม่ได้ เพราะกฎหมายทั้ง 2 ฉบับรองรับเฉพาะบางเรื่อง ที่พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าจะเอากฎหมายไปเล่นงานใคร แต่กำลังพูดถึงการนำกฎหมาย 2 ฉบับนั้นมาบรรเทาหรือแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนไม่ได้ เพราะกฎหมายทั้ง 2 ฉบับไม่ได้ออกแบบมาให้เป็นแบบนั้น

เพราะฉะนั้นเมื่อยกเลิกกฎอัยการศึก สิ่งที่จะต้องนำมาใช้แทนคือ 1.ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการจะทำอะไรบางอย่างได้ ซึ่งจะเป็นระดับเดียวกับกฎหมายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ และพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ไม่มากไปกว่าระดับนั้น ขณะเดียวกันเราต้องการมาตรการอื่น ไว้แก้ปัญหาบางอย่างโดยที่ไม่เกี่ยวกับการริดรอนสิทธิเสรีภาพ แต่เป็นการให้สิทธิเสรีภาพ ซึ่งกฎหมายทั้ง  2 ฉบับไม่มี เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องคิดถึงมาตรา 44 เพราะจะคลุมสิ่งเหล่านี้ได้ทั้งหมด คล้ายๆกับยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว

ถามว่าอะไรคือมาตรการที่จะนำมาใช้ ก็คือ มาตรการที่จะโยงไปสู่การนำคดีไปสู่ศาลทหาร เพราะกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรกับศาลทหาร มาตรา 44 ก็คือกรอบ คือ เมื่อจะเอามาตรา 44 ไปใช้กับเรื่องใดก็นำไปใช้ให้เข้าเกณฑ์กับมาตรา 44 ดังที่เคยใช้มาแล้วครั้งหนึ่ง เรื่องยืดอายุวาระผู้บริหารสภาท้องถิ่น คราวนี้ก็มุ่งไปที่เรื่องความมั่นคง

นายกรัฐมนตรียังปรารภอยู่บ่อยครั้งว่า บ้านเมืองยังมีปัญหาอีกหลายเรื่อง ที่อาจจะต้องใช้มาตรา 44 มาใช้อย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหา ไม่ได้คุกคามหรือทำให้เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจกับใคร เช่น การแก้ปัญหาของกรมการบินพลเรือน เป็นต้น และยังมีเรื่องอื่นๆ อีกที่จะใช้มาตรา 44 ในทางสร้างสรรค์เพราะไม่สามารถใช้มาตรการอื่นได้ หรือจะทำให้เกิดความล่าช้าจนเกิดความเสียหาย โดยเอาให้เข้ากับหลักเกณฑ์และกระบวนการของมาตรา 44

กระบวนการเริ่มต้นเมื่อจะเริ่มใช้มาตรา 44 คสช.ก็ต้องหารือร่วมกันและออกมาเป็นคำสั่งคสช. และในนั้นระบุว่าอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ 57 หัวหน้าคสช. โดยความเห็นชอบของคสช. จึงเห็นสมควรสั่งการดังต่อไปนี้ หนึ่ง สอง สาม อะไรก็ว่าไป

ส่วนเรื่องการเยียวยาไม่ได้แปลว่าแจกเงินเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนในอดีตที่ผ่านมา เรื่องศาลทหารก็คือการเยียวยาชนิดหนึ่ง ก็เดือดร้อนกันจริงใหมล่ะว่า การขึ้นศาลทหารม้วนเดียวจบมันเป็นปัญหา ซึ่งตามหลักเมื่อยกเลิกกฎอัยการศึกแล้วศาลทหารก็ยังอยู่ เพราะการประกาศกฎอัยการศึกเป็นเรื่องของพ.ร.บ.กฎอัยการศึก 2457 เรื่องหนึ่ง ซึ่งการที่พลเรือนไปขึ้นศาลทหารไม่เกี่ยวเลยกับกฎอัยการศึก แต่เป็นผลเพราะประกาศคำสั่งคสช.ให้ขึ้นศาลทหาร เพราะฉะนั้นการยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก แต่ประกาศคสช.ยังอยู่ การขึ้นศาลทหารก็ยังอยู่และเมื่อไม่ต้องการให้มันอยู่ ซึ่งเกิดคำถามว่าทำไมไม่ใช้กฎหมายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ หรือ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ล่ะ ก็เพราะว่าไม่แก้ปัญหานี้ได้


@ถ้ามีคนร้องเพราะเหตุจากการกระทำตามมาตรา 44 จะมีอะไรรองรับหรือไม่           


มี เมื่อประกาศออกมาแล้วก็จะรู้ แต่ไม่สามารถลงไปในรายละเอียดได้ เพราะหลังจากผมไปแล้วยังมีขั้นตอนอื่นๆ หลังจากนี้อีก


@ การร่างคำสั่งขณะนี้พร้อม 100 % แล้ว

ต้องตอบว่า ใช่ เพราะมีทางเลือกอยู่ 2-3 ฉบับที่จะสามารถหยิบออกมาได้ ก็ถือว่าพร้อม


@ ความกังวลของคนไทยภายในและต่างประเทศเรื่องความไม่สร้างสรรค์ของมาตรา 44

ก็เห็นใจคนที่จะตีตนไปก่อนไข้ เพราะมันยังไม่เห็นอะไร แต่เมื่อเห็นแล้วก็คงจะรู้ว่า มันไม่ใช่ไข้ มันอาจจะไม่ต้องตีตนก็ได้ เมื่อเห็นแล้ว ผมบอกแล้วว่า เมื่อเรารังเกียจการประกาศใช้กฎอัยการศึก ใครที่ไหนมันจะออกอะไรให้มันแย่กว่ากฎอัยการศึกอีก มันคงไม่มี เพราะไม่รู้ว่าจะออกอะไร ไปทำไม

วันนี้ผมจึงต้องการอธิบายว่าทำไมไม่ใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้ว 2 ฉบับ คำตอบก็คือจะใช้ก็ได้ จริงๆ หลักเกณฑ์ที่ออกมา 5-6 ข้อ มันก็มาจากกฎหมายที่มาจาก 2-3 ฉบับ ไม่เกินไปกว่านั้น มีแต่จะน้อยกว่านั้น และต่อให้เอาทั้ง 2 ฉบับมารวมกันก็ไม่สามารถเยียวยาแก้ปัญหาบางอย่างได้ ถึงใช้คำว่าเหมือนมีกระสุนนัดเดียวยิงนกได้สองตัว

กฎหมาย 2 ฉบับดังกล่าวให้แต่อำนาจเจ้าหน้าที่แต่ไม่ได้ให้อำนาจในการแก้ปัญหา คือ ปัญหาเรื่องศาลทหาร ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าประกาศคสช.ที่ให้ขึ้นศาลทหารนั้น มีฐานะเป็นกฎหมาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะสามารถลบล้างมันได้ที่ใหญ่พอกับมัน


@คำสั่งคสช.ตามมาตรา 44 ที่จะออกมาจะตีกรอบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่


แต่กรอบแน่เพราะเจ้าหน้าที่ก็ต้องรับผิดชอบมากขึ้น มีบทที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเยอะ เพราะคำว่าเจ้าพนักงานเปรียบเหมือนเป็นดาบสองคม ฉะนั้นใครเป็นเจ้าพนักงานอย่าดีใจนะ เพราะนอกจากจะคุ้มครองเจ้าพนักงานแล้ว แต่ในอีกแง่หนึ่งถ้าเจ้าพนักงานไปทำอะไรที่ไม่สุจริตหรือเกินอำนาจหน้าที่ โทษมันจะหนักกว่าตอนไม่เป็นเจ้าพนักงานนะ

ถ้าได้เห็นคำสั่งแล้วจะเข้าใจเพราะว่าคำสั่งจะล๊อคไว้กับสถานการณ์หนึ่ง ถ้าเกิดสถานการณ์อื่นนอกจากนี้จะใช้ไม่ได้ ก็ต้องหาอย่างอื่นมาใหม่ เพราะฉะนั้นก็เปรียบเหมือนกับโรค โรคนี้ใช้อย่างนี้ โรคนั้นใช้อย่างนั้นเท่านั้น จะใช้อำนาจมาตรา 44 ไปใช้ครอบจักรวาลไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่เจตนารมณ์ของมาตรา 44

คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๕๘

คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๕๘
เรื่อง การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ

ตามที่บัดนี้มีประกาศพระบรมราชโองการให้ยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรแล้ว สมควรมีมาตรการในการดําเนินการกับการกระทําอันเป็นการบ่อนทําลายความสงบเรียบร้อย ความมั่นคงของชาติ การฝ่าฝืนประกาศหรือคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติและการกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน ซึ่งคุกคามความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ

ดังนั้น หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงเห็นเป็นการจําเป็นเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทําดังกล่าวให้ลดน้อยหรือหมดสิ้นลงโดยเร็ว ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุจริตชนและความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๒ ในคําสั่งนี้
“เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย” หมายความว่า ข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี ขึ้นไป ซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคําสั่งนี้
“ผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย” หมายความว่า ข้าราชการทหารซึ่งมียศต่ํากว่า
ชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี ลงมา ซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคําสั่งนี้

ข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยดําเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทําอันเป็นความผิด ดังต่อไปนี้ ให้เกิดผลโดยเร็ว
(๑) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ตามมาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒ แห่งประมวลกฎหมายอาญา
(๒) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา
(๓) ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน และวัตถุระเบิด สําหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม
(๔) ความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือคําสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ข้อ ๔ ในการดําเนินการตามข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ออกคําสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย
หรือมาให้ถ้อยคําหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตามข้อ ๓
(๒) จับกุมตัวบุคคลที่กระทําความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนําส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดําเนินการต่อไป
(๓) ช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนในความผิดตามข้อ ๓ ในการเข้าร่วมดังกล่าวให้ถือว่าเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(๔) เข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้น รวมตลอดทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใดๆทั้งนี้ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยตามสมควรว่าบุคคลซึ่งกระทําความผิดตามข้อ ๓ หลบซ่อนอยู่ หรือมีทรัพย์สิน ซึ่งมีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทําความผิดหรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทําความผิดตามข้อ ๓ หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่า เนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไปหรือทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทําลาย หรือทําให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม
(๕) ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบตาม (๔)
(๖) กระทําการอื่นใดตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

ข้อ ๕ ในกรณีที่มีความจําเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนให้ยุติลงโดยเร็ว หรือป้องกันมิให้สถานการณ์รุนแรงขึ้นให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอํานาจออกคําสั่งห้ามการเสนอข่าว การจําหน่าย หรือทําให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ที่มีข้อความอันอาจทําให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทําให้เกิดความเข้าใจผิดจนกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ในการออกคําสั่งดังกล่าวเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยจะกําหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาในการปฏิบัติตามคําสั่งด้วยก็ได้เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการตามวรรคหนึ่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติจะกําหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยก็ได้

ข้อ ๖ ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดได้กระทําความผิดตามข้อ ๓ ให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอํานาจเรียกตัวบุคคลนั้นมาเพื่อสอบถามข้อมูลหรือให้ถ้อยคําอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการตามข้อ ๓ และในกรณีที่ยังสอบถามไม่แล้วเสร็จจะควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ก็ได้แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวัน แต่การควบคุมตัวดังกล่าวต้องควบคุมไว้ในสถานที่อื่นที่มิใช่สถานีตํารวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจํา และจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้ต้องหามิได้ เมื่อมีเหตุอันจะต้องดําเนินคดีต่อบุคคลที่กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งในฐานะเป็นผู้ต้องหาให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยในฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจดําเนินการต่อไป ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ข้อ ๗ ให้ผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ตามที่เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยสั่งการหรือมอบหมาย

ข้อ ๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ ให้เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยและผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ข้อ ๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยหรือผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยตามข้อ ๔ (๑) ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ข้อ ๑๐ ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยหรือผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ข้อ ๑๑ ในกรณีที่บุคคลใดถูกควบคุมตัวตามข้อ ๖ วรรคหนึ่ง เนื่องจากการกระทําความผิดตามข้อ ๓ (๔) เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยอาจปล่อยตัวไปโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขก็ได้เงื่อนไขในการปล่อยตัวตามวรรคหนึ่ง หมายถึง การกําหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา ๓๙ (๒) ถึง (๕) แห่งประมวลกฎหมายอาญา การห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือการสั่งระงับธุรกรรมทางการเงิน ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ข้อ ๑๒ ผู้ใดมั่วสุม หรือชุมนุมทางการเมือง ณ ที่ใด ๆ ที่มีจํานวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการชุมนุม ที่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งที่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นระยะเวลาไม่เกินเจ็ดวันและเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยเห็นสมควรปล่อยตัวโดยมีเงื่อนไข หรือไม่มีเงื่อนไขตามข้อ ๑๑ วรรคสอง ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามมาตรา ๓๗ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ข้อ ๑๓ การกระทําตามคําสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

ข้อ ๑๔ เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยและผู้ช่วยเจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อยที่กระทําการไปตามอํานาจหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจําเป็น ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา ๑๗ แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

สั่ง ณ วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๘
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ






พระบรมราชโองการโปรดเกล้ายกเลิกใช้กฎอัยการศึก

 (1เม.ย.58)ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึก ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่าโดยที่ทรงพระราชดำริว่า ตามที่ได้มีประกาศกองทัพบก ฉบับที่ ๑/๒๕๕๗ เรื่อง การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ลงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๐๓.๐๐ นาฬิกา และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๒/๒๕๕๗ เรื่อง การประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ ให้ใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา เป็นต้นมา นั้น

บัดนี้สถานการณ์หมดความจำเป็นที่จะต้องใช้กฎอัยการศึกตามประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าวแล้วอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เลิกใช้กฎอัยการศึกตามประกาศทั้งสองฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ไม่กระทบต่อการประกาศใช้กฎอัยการศึกที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๘
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

สถานการณ์ข่าว1เม.ย.58

ม.44

พล.ต.สรรเสริญ แจงใช้ ม.44 ใน 2 ลักษณะ มันใจดูแลความสงบได้ดีกว่าอัยการศึก ขอให้มั่นใจในตัวนายกฯ

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า การใช้จะมี 2 ลักษณะคือการนำมาทดแทนกฎอัยการศึก เพื่อทำให้บรรยากาศมีการผ่อนปรนมากขึ้น แต่เจ้าหน้าที่ก็จะสามารถดูแลความสงบได้ กับใช้เพื่อลดขั้นตอนแก้ไขปัญหา ในการบริหารราชการบางเรื่อง เนื่องจากดำเนินการตามขั้นตอนปกติ อาจจะไม่ทันเวลา เช่น ปัญหาเรื่องมาตรฐานการบิน เป็นต้น

ทั้งนี้ รองโฆษกสำนักนายกฯ ยังกล่าวอีกว่า มีความมั่นใจว่าการใช้ ม.44 จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีกว่า การใช้กฎอัยการศึก แม้จะเป็นการผ่อนคลายให้ฝ่ายการเมืองเคลื่อนไหวได้มากขึ้น และจะทำให้ต่างประเทศมีความเข้าใจและมั่นใจมากขึ้นด้วย ส่วนการชี้แจงกับสื่อต่างประเทศนั้น เป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศที่ได้กระทำการมาอย่างต่อเนื่องแล้ว และนายกรัฐมนตรีไม่ได้กำชับให้สำนักนายกฯ ดำเนินการเพิ่มเติมเป็นพิเศษแต่อย่างใด

พร้อมกันนี้ พล.ต.สรรเสริญ ยังฝากถึงประชาชนว่า ขอให้มั่นใจในตัวนายกรัฐมนตรี และ คสช. ว่าจะใช้ ม.44 เพื่อการดูแลความสงบอย่างสร้างสรรค์คำนึงถึงความรู้สึกประชาชน การปฏิรูป และการปรองดอง ตลอดจนเตือนว่าให้ตรวจสอบข่าวอย่างละเอียด อย่าหลงเชื่อข่าวลือในโซเชียลมีเดียมากเกินไปด้วย
-----------------------
ปธ.กรรมาธิการปฏิรูปการเมือง หนุนนายกฯ ใช้ ม.44 แทนอัยการศึก ชี้ทำให้ต่างประเทศคลายกังวล

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กล่าวถึงกรณีที่นายกรัฐมนตรีจะยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึก และใช้อำนาจตาม ม.44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ออกประกาศใหม่ มาดูแลความสงบเรียบร้อย ว่า ขอสนับสนุนแนวทางดังกล่าวของนายกรัฐมนตรี เพราะว่าเรื่องอัยการศึกในสายตาต่างประเทศเป็นเรื่องที่ไม่ดี ซึ่งการยกเลิกถือเป็นเรื่องที่ดี จะทำให้ต่างประเทศคลายความวิตกกังวลไปได้ ส่วนเนื้อหาคาดว่าจะเป็นการทดแทนเนื้อหาในกฎอัยการศึก โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงเท่านั้น
---------------------
พล.อ.อนุพงษ์ บอก นายกฯ ใช้ ม.44 เพราะต่างชาติกังวล มั่นใจใช้เพื่อควบคุมสถานการณ์ ทำให้ประเทศสงบเท่านั้น

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการนำมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2557 (ฉบับชั่วคราว) มาใช้แทนกฎอัยการศึก ว่า เนื่องจากต่างชาติมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้กฎอัยการศึกของไทย รัฐบาลจึงตัดสินใจยกเลิกการประกาศใช้ แต่หากไม่มีมาตรการใดมารองรับเกรงว่าจะทำให้ประเทศนั้น กลับสู่ปัญหาความขัดแย้งอีกครั้ง จึงจำเป็นต้องมีการนำกฎหมายมาควบคุม เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งแม้ว่ามาตรา 44 จะให้อำนาจการตัดสินใจแก่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และ นายกรัฐมนตรี แต่ตนเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อควบคุมสถานการณ์เท่านั้น ดังนั้น หากไม่มีการกระทำความผิด ก็ไม่จำเป็นต้องกังวล ทั้งนี้ ตนอยากให้สังคมตระหนักว่า หากต้องการรักษาความสงบเรียบร้อย ก็จำเป็นต้องแลกกับการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้น ส่วนกำหนดเวลาของการบังคับใช้มาตรา 44 นั้น จะเป็นไปตามโรดแมปของ คสช. คือ จนกว่าจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่วนมาตรา 44 จะเป็นการเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือไม่นั้น ตนไม่สามารถตอบได้ เพราะส่วนตัวยังไม่เห็นรายละเอียดของกฎหมายดังกล่าว
--------------------------
"เทียนฉาย" ปัดแสดงความคิดเห็น นายกฯ ใช้ ม.44 แทนอัยการศึก นัด สปช. - กมธ. ยกร่างหารือ 6 เม.ย.

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไม่ขอแสดงความเห็นกรณีที่นายกรัฐมนตรี เตรียมยกเลิกประกาศใช้กฎอัยการศึก และเตรียมใช้มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 มาบังคับใช้แทน เนื่องจากเห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับ สปช. เช่นเดียวกันกับกรณีที่นายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความเป็นห่วงว่า ไม่ต้องการให้มีการแสดงความเห็นในร่างรัฐธรรมนูญ เพราะกังวลเรื่องความขัดแย้งนั้น ส่วนตัวมองว่า นายกรัฐมนตรี คงเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญยังไม่แล้วเสร็จ หากมีการวิพากษ์วิจารณ์ออกไป ก็อาจทำให้เกิดความสับสน

ส่วนการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 20-26 เม.ย.นี้นั้น มีรายละเอียดจำนวนมาก ดังนั้น ในวันที่ 6 เม.ย. จึงได้นัดสมาชิก สปช. ทุกคนมาหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดกรอบการอภิปราย ทั้งในเรื่องการจัดลำดับความสำคัญของแต่ละภาคในรัฐธรรมนูญ การจัดสรรเวลาเพื่อให้สมาชิกทุกคนมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม ต้องการให้กระบวนการพิจารณาเป็นไปอย่างรอบคอบและดีที่สุด
--------------------
เทียนฉาย พิจารณายกร่าง 20-26 เม.ย. แจงเปิดให้สมาชิก สปช. เข้ายื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญตามขั้นตอน

นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อสภาปฏิรูปแห่งชาติ กับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ระบุถึงขั้นตอนของการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญของที่ประชุม สปช. ช่วงวันที่ 20-26 เม.ย.นี้ ว่า ในวันแรกจะให้คณะกรรมาธิการยกร่างชี้แจงเนื้อหาในภาพรวมทั้งหมด 2 ชั่วโมง และแต่ละวันจะกำหนดให้ กมธ.ยกร่างชี้แจงวันละไม่เกิน 2 ชั่วโมง ส่วนสมาชิกทั้งหมด ให้คณะกรรมาธิการสามัญทั้ง 18 คณะอภิปราย 2 ชั่วโมง และจะมีการเปิดโอกาสให้สมาชิก สปช.
เข้าชื่อเพื่อยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญไปตามขั้นตอน และเมื่อสุดท้ายแล้ว หากร่างรัฐธรรมนูญที่มีการยกร่างขึ้นไม่ได้รับการยอมรับ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ก็จะต้องเริ่มกระบวนการขั้นตอนใหม่ทั้งหมด โดยเริ่มที่การสรรหาคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และสมาชิก สปช. ชุดใหม่ทั้งหมด

ส่วนในเรื่องการทำประชามตินั้น ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะพูดถึง และ สปช. ยังไม่มีการหารือกันในเรื่องดังกล่าว หากในอนาคตจะมีการทำประชามติหรือไม่นั้น ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของ สปช.
//////////
เคลื่อนไหวนายกฯ

นายกฯ เป็น ปธ.มอบรางวัล ขรก.ดีเด่น ในวันข้าราชการพลเรือน ขณะช่วงเช้าเกิดเหตุหนุ่มน่านปีนดาดฟ้าทำเนียบ ร้องเรียนขอความช่วยเหลือ 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นประธานในพิธีมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติข้าราชการพลเรือนดีเด่นพร้อมให้โอวาท เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี 2558 ที่ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล โดยมีข้าราชการจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมอย่างคึกคัก ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัย
อย่างเข้มงวด

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ในช่วงเช้ามีรายงานว่า ได้มีชายคนหนึ่งอายุ 43 ชาวจังหวัดน่าน ได้ปีนต้นไม้ข้างรั้วทำเนียบรัฐบาล ฝั่งถนนราชดำเนิน และขึ้นไปบนดาดฟ้าตึก กองรักษาการณ์ตำรวจทำเนียบรัฐบาล พร้อมชูป้ายข้อความร้องเรียนให้นายกรัฐมนตรีช่วยเหลือ

ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจในทำเนียบรัฐบาล ได้เกลี้ยกล่อมลงมาจากดาดฟ้าตึกโดยไม่มีเหตุความรุนแรงเกิดขึ้น โดยนำตัวไปพูดคุยเพื่อสอบถามถึงข้อร้องเรียนต่าง ๆ
-------------------------
นายกฯ มอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติในวันข้าราชการ ให้โอวาทข้าราชการไม่แบ่งฝ่าย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติ ประจำปี 2558 และให้โอวาทเนื่องในวันข้าราชการพลเรือนว่า ข้าราชการทุกคนปฏิบัติหน้าที่ตามข้อกฎหมาย ทำงานอย่างมีระเบียบวินัย ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ยึดถือประโยชน์ของชาติและประชาชนพร้อมทั้งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เข้าใจและแยกแยะลำดับความสำคัญ
ของภารกิจได้อย่างชัดเจน และต้องร่วมเดินหน้าทำงานสู่เป้าเดียวกันตามวิสัยทัศน์ ให้ประเทศมั่นคง มั่งคั่งอย่างยั่งยืน ไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งประชาชนคาดหวังการทำงานของข้าราชการ โดยข้าราชการต้องมีอุดมการณ์ เพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชน พร้อมยึดถือประชาชนเป็นหลัก ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีระบุว่า ส่วนตัวไม่ได้บ้าอำนาจ เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่ต้องชี้แจงทำความเข้าใจ
-----------------------------
นายกฯ ยันไม่ใช้อำนาจเกินขอบเขต ขออย่ากังวล ใช้ ม.44 ขอทุกฝ่าช่วยกันแก้ปัญหา ฝาก ขรก. มีความสามัคคี

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวย้ำว่า คสช. และรัฐบาลเข้ามาทำหน้าที่โดยไม่มีประโยชน์ส่วนตัว แต่เข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาเดินหน้าประเทศด้วยการปฏิรูปจึงขอฝากให้ทุกคนร่วมมือกัน ขณะเดียวกันยังใช้โอกาสนี้ชี้แจงถึง กรณีการเตรียมใช้ประกาศ คสช. ที่ออกตามมาตรา 44 โดยขออย่าให้กังวล ว่าเป็นการยึดอำนาจจนมากเกินไปเพราะข้อเท็จจริงแล้ว เป็นการให้อำนาจตนเองในการแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและเป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งภาพรวมเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ และขับเคลื่อนงานด้านอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังฝากถึงข้าราชการว่าขอให้อยู่ร่วมกันด้วยความรักและความสามัคคี อย่าเคารพกันด้วยอำนาจ และอย่าฝากความหวังการแก้ปัญหาประเทศไว้ที่รัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว แต่ทุกฝ่ายต้องเดินหน้าแก้ปัญหาไปพร้อม ๆ กัน
--------------------------------
นายกฯ ยันไม่ท้อ ยังมีแรงใจดี เผยหารือนายกญี่ปุ่นแก้ปัญหา ICAO มีสัญญาณที่ดี

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการตรวจสอบกรมการบินพลเรือนไทยขององค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ทำให้เกิดปัญหาเรื่องเที่ยวบินกับประเทศญี่ปุ่น ว่า ขณะนี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำลังพูดคุยกับทางญี่ปุ่น ซึ่งถือว่ามีสัญญาณที่ดีขึ้น

ขณะเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวว่า ในการพบเจอกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่สิงคโปร์นั้นได้มีการพูดคุย การแลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งญี่ปุ่นจะมีการซื้อผลไม้ของไทยเพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยก็จะซื้อสินค้าของญี่ปุ่นเช่นกัน และยังหารือถึงความร่วมมือการลงทุนรถไฟ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า วันนี้ยังมีแรงใจในการทำงานอยู่และไม่ท้อ
//////////
/
กมธ.ยกร่าง

กมธ.ยกร่าง ปรับแก้ที่มานายกฯ คนนอก ใช้เสียง 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร พร้อมปรับ ส.ว. มาจาก 3 ทาง ลต. 77 จังหวัด และสรรหา

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมทบทวนร่างรัฐธรรมนูญร่างแรก ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้ปรับปรุงเนื้อหาที่มานายกรัฐมนตรี โดยใน

กรณีที่ไม่ได้เป็น ส.ส. จะต้องได้รับคะแนนเสียงสนับสนุน 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่ได้เปลี่ยนวาระการดำรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ 4 ปี พร้อมปรับแก้ที่มา ส.ว. โดยให้คงจำนวน 200 คน

แต่มาจาก 3 กลุ่ม คือ การเลือกตั้งกันเอง จำนวน 65 คน มาจากการสรรหา จำนวน 58 คน และมาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัด

นอกจากนี้ ยังทบทวนวาระการดำรงตำแหน่ง ส.ว. โดยปรับแก้ไขให้ ส.ว. ครึ่งหนึ่ง ต้องพ้นวาระเมื่อทำงานครบ 3 ปี คือ กลุ่มที่เลือกตั้งกันเอง 65 คน และจับสลากในกลุ่มที่มาจากการสรรหา 58 คน

ออก 35 คน รวม 100 คน แต่ยังให้สิทธิผู้ที่พ้นวาระสามารถเข้ารับการสรรหาได้ต่อ
--------------
กมธ.ยกร่างพิจารณาทบทวนข้อเสนอเกี่ยวที่มานายกฯ-ส.ส.-ส.ว.ใหม่ งดสื่อสังเกตการณ์

นายไพบูลย์ นิติตะวัน กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญว่า วันนี้และวันพรุ่งนี้จะพิจารณาในส่วนความความเห็นต่าง ๆ จากการไปรับฟังมา ซึ่งมีหลายประเด็นรวมถึงจะมีการพิจารณาที่มาของนายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) โดยกรรมาธิการจะพิจารณาเป็นภายใน งดสื่อเข้าร่วมสังเกตการณ์

นอกจากนี้ นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึงการจัดเวทีประชาพิจารณ์ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แสดงความเป็นห่วงว่าประชาชนจะมีทัศนคติไม่ดีต่อรัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่า เป็นข้อทักท้วงมาเพื่อให้มีการปรับรูปแบบการทำงาน ที่ทางกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะต้องรับฟัง ทั้งนี้ จะมีการหารือการต่อไปเพื่อไม่ให้กระทบต่อความ
ทำงานด้านความมั่นคง
-----------
กมธ.ปฏิรูปการเมือง พร้อมอภิปรายรัฐธรรมนูญร่างแรก หนุนยกร่างทบทวนที่มา ส.ว.

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กล่าวถึงความพร้อมของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองในการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 20-26 เมษายน นี้ ว่า เนื้อหาหลักของการอภิปรายเบื้องต้นจะเน้นการอภิปรายในร่างรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่เกี่ยวกับระบบการเมือง อาทิ ที่มานายกรัฐมนตรี ที่มา ส.ว. การแจกใบแดง การตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี

ส่วนกรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะทบทวนประเด็นที่มา ส.ว. หลังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องให้อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภา และอดีตผู้นำเหล่าทัพ เป็น ส.ว.ได้นั้น เป็นเรื่องที่ดี เพราะการร่างรัฐธรรมนูญ ต้องรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนด้วย ซึ่งหากประชาชนมีเสียงสะท้อนกลับมาอย่างไรนั้น ทางคณะกรรมาธิการ ก็จะต้องรับฟังและนำไปพิจารณาต่อไป
-----------------
เทียนฉาย นัดถกร่วม สปช.-กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 6 เมษายนนี้ วางแนวทางพิจารณาร่างแรก

บรรยากาศการประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มี นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ล่าสุด เข้าสู่การพิจารณาเรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว คือ รายงานการพิจารณาของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ ในวาระที่ 12 การผูกขาดและการแข่งขันที่เป็นธรรมแล้ว โดยก่อนการประชุม นายเทียนฉาย แจ้งวาระเพื่อทราบ พร้อมขอนัดหมายสมาชิก สปช. ประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 เมษายน 2558 ที่กระทรวงสาธารณสุข เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนอภิปรายรัฐธรรมนูญร่างแรก ในวันที่ 20-26 เมษายนนี้ ซึ่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะต้องชี้แจงทำความเข้าใจในการพิจารณาด้วย

ทั้งนี้ ในช่วงบ่าย เวลา 12.30 น. นายเทียนฉาย มีภารกิจปาฐกถาพิเศษ เรื่องสภาปฏิรูปแห่งชาติกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่โรงแรมเดอะสุโกศล ถ.ศรีอยุธยา กทม.
------------------------
"สมบัติ" ย้ำ กมธ.ปฏิรูปการเมืองเน้นอภิปราย ร่าง รธน.ประเด็น ที่มานายกฯ-ส.ว., การแจกใบแดง

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง กล่าวถึงความพร้อมของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมืองในการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 20-26 เม.ย. นี้ ว่า เน้นการอภิปรายในร่างรัฐธรรมนูญประเด็นที่เกี่ยวกับระบบการเมือง อาทิ ที่มาของนายกรัฐมนตรี, ที่มา ส.ว., การแจกใบแดง และการให้ อำนาจ ส.ว.ตรวจสอบคุณสมบัติรัฐมนตรี โดยเห็นว่าควรให้ลงมติด้วย

ทั้งนี้ นายสมบัติ ยังกล่าวด้วยว่า กรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญจะทบทวนประเด็นที่มา ส.ว. หลังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่องให้อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภา และอดีตผู้นำเหล่าทัพ เป็น ส.ว.ได้ ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะการร่างรัฐธรรมนูญต้องรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของประชาชนด้วย ซึ่งหากประชาชนมีเสียงสะท้อนกลับมาอย่างไรนั้นทางคณะกรรมาธิการก็จะต้องรับฟังและนำไปพิจารณาต่อไป
--------------------------
"คำนูณ" เผย "บวรศักดิ์" เตรียมหารือ "วิษณุ" หาข้อสรุปความห่วงใยนายกฯ ปมประชาพิจารณ์ ยันไม่ใช่การแทรกแซง

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในวันนี้และวันพรุ่งนี้จะเป็นการพิจารณาทบทวนในส่วนของที่มาของนายกรัฐมนตรีและที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งสมาชิกยังมีความเห็นที่หลากหลาย จึงต้องการที่จะหารือร่วมกันอีกครั้ง

ทั้งนี้ นายคำนูณ ยังกล่าวถึงการเปิดเวทีประชาพิจารณ์ ที่นายกรัฐมนตรีแสดงความเป็นห่วงว่า ประชาชนจะมีทัศนคติไม่ดีต่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ทาง นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะเป็นผู้หารือกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี หากได้ขัอสรุปอย่างไร จะชี้แจงความคืบหน้าอีกครั้ง แต่ยืนยันว่าไม่ได้เป็นการแทรกแซงการทำงานของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการเข้ามาทำงานประสานกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน และไม่ให้กระทบต่อความมั่นคง
------------------------
สปช.พิจารณารายการ กมธ.ปฏิรูปการเกษตรฯ วาระ 14 แก้เหลื่อมล้ำ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร

การประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ล่าสุด อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ วาระที่ 14 การปฏิรูปภาคเกษตร ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีความมั่งคั่ง โดยมีความเหลื่อมล้ำทางรายได้และการพัฒนาระหว่างภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรมและการบริการอื่น ๆ ของประเทศค่อนข้างมาก ดังนั้น การแก้ปัญหาจึงจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกร โดยการจัดทำแผนปฏิรูปโครงสร้างภาคเกษตรทั้งระบบและยุทธศาสตร์การบูรณาการและพัฒนาเกษตรกรรมแห่งชาติ มีกลไกของรัฐในการผลักดันและกำกับให้เป็นไปตามพันธกรณี มีเป้าหมายยกระดับรายได้ของเกษตรกรและเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของเกษตรกร ซึ่งสามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ คืนความสุขให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน
////////////////////
คดีถอดถอน

มติ ป.ป.ช. มอบ "วิชา" พร้อมผู้ช่วยเลขาฯ ทำหน้าที่แถลงเปิดคดีถอดถอน "บุญทรง" กับพวกต่อ สนช.

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติมอบหมายให้ นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ในระดับผู้ช่วยเลขาธิการ ป.ป.ช. ทำหน้าที่ในการแถลงเปิดคดีต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการพิจารณาถอดถอน นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าระหว่างประเทศ ที่มีพฤติกรรมส่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ และกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ส่วนในวันที่ 2 เม.ย.นี้ ที่ประชุม สนช.จะพิจารณาคำขอเพิ่มเติมพยานหลักฐาน ซึ่งจะต้องดูว่ามีใครยื่นพยานหลักฐานเพิ่มเติมหรือไม่ และพยานหลักฐานที่ยื่นมีอยู่ในสำนวน ป.ป.ช.หรือไม่ ซึ่งขณะนี้ นายวิชา ก็ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบพยานหลักฐานที่มีในสำนวนของ ป.ป.ช. แล้ว

ห่วงเลือกตั้งไม่ได้ หรือถ้าพรรคเดิมมาอีกจะยอมกันมั้ย

ห่วงเลือกตั้งไม่ได้ หรือถ้าพรรคเดิมมาอีกจะยอมกันมั้ย
นายกฯ บิ๊กตู่ ยันจะใช้อำนาจมาตรา44 ตามความจำเป็นเพื่อบริหารประเทศ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ประเทศมีความขัดแย้งก็ต้องมีกฎหมายนี้เพื่อมาปลดล็อก ยืนยันว่าผมคำนึงถึงหลักการสากล เพียงแต่ต้องหารูปแบบให้เหมาะสมกับสังคมไทย แต่จะใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช้สั่งการในสิ่งที่ไม่ดีเพราะอายตัวเอง ยันที่ผ่านมากฎอัยการศึกใช่แค่การควบคุมตัวไว้7วัน ยันไม่มีการซ้อมผู้ต้องหา เผยบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐานตลอด ทุกวันนี้คนที่กล่าวหาว่าซ้อมผู้ต้องหาก็เงียบไปแล้ว
ขณะที่ไม่มั่นใจว่า ถ้าไม่ใช้กฎหมายพิเศษมาแก้ไขปัญหา จะเป็นอย่างไร เพราะที่ผ่านมาก็เลือกตั้งไม่ได้ ถ้าทุกคนไม่ช่วยกันวันนี้ทุกอย่างจะกลับไปเป็นแบบเดิมหมด เพราะการปฏิรูปประเทศใช้เวลาอย่างน้อย10ปี โดยรัฐบาลชุดนี้ใช้เวลาปีกว่าๆมาวางกรอบการปฏิรูปไว้ให้รัฐบาลต่อไปมาดำเนินการ ผมวางไว้ให้
"ถ้าเลือกตั้งได้ก็ทำต่อไป เลือกให้ดีแล้วกัน แค่รัฐธรรมนูญยังเถียงกันไม่เลิก แล้วมันจะเลือกตั้งได้มั้ย ผมก็ไม่รู้ ผมต้องบังคับเลือกตั้งอีกหรือเปล่า เลือกตั้งแล้วมันจะเดินขบวนกันอีกมั้ย ถ้าพรรคนี้มาอีกพรรคนั้นจะยอมมั้ย ผมรู้ว่าทุกคนเป็นแบบนี้หมด คิดแบบนี้ทุกอย่าง รอเมื่อไหร่เลิกกฎอัยการศึก เลิกกฎหมายพิเศษ ก็ออกกันมาหมด"

เปล่าเหนื่อย เปล่าท้อ ไม่ต้องกลัว


เปล่าเหนื่อย เปล่าท้อ ไม่ต้องกลัว

วันนี้ นายกฯบิ๊กตู่ พูดน้อย เพราะพูดกับข้าราชการดีเด่น ไปพอสมควร เรื่องการทำงาน และการใช้อำนาจ ม.44 และห่วงการเลือกตั้ง อาจวุ่นวาย เลยให้สัมภาษณ์สั้นๆ เรื่อง นายกฯญี่ปุ่นจะทบทวน หรือชะลอการห้ามบิน จากปัญหา ICAO หลังพบกันที่งานศพ "ลีกวนยู" เผยถกเรื่องรถไฟ การลงทุน เผยญี่ปุ่น จะซื้อผลไม้ไทยมากขึ้น มะม่วงน้ำดอกไม้ เขียวเสวย แต่ที่พูดนัอย ยันไม่ได้เหนื่อย ไม่ได้ท้อ "ไม่รู้สึกเหนื่อย ยังมีแรงใจอยู่ ผมไม่ท้อแท้ ไม่ต้องกลัว"

นายกฯ บิ๊กตู่ ยันจะใช้อำนาจมาตรา44 ตามความจำเป็นเพื่อบริหารประเทศ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ประเทศมีความขัดแย้งก็ต้องมีกฎหมายนี้เพื่อมาปลดล็อก ยืนยันว่าผมคำนึงถึงหลักการสากล เพียงแต่ต้องหารูปแบบให้เหมาะสมกับสังคมไทย แต่จะใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช้สั่งการในสิ่งที่ไม่ดีเพราะอายตัวเอง ยันที่ผ่านมากฎอัยการศึกใช่แค่การควบคุมตัวไว้7วัน ยันไม่มีการซ้อมผู้ต้องหา เผยบันทึกภาพไว้เป็นหลักฐานตลอด ทุกวันนี้คนที่กล่าวหาว่าซ้อมผู้ต้องหาก็เงียบไปแล้ว

ขณะที่ไม่มั่นใจว่า ถ้าไม่ใช้กฎหมายพิเศษมาแก้ไขปัญหา จะเป็นอย่างไร เพราะที่ผ่านมาก็เลือกตั้งไม่ได้ ถ้าทุกคนไม่ช่วยกันวันนี้ทุกอย่างจะกลับไปเป็นแบบเดิมหมด

"การปฏิรูปประเทศใช้เวลาอย่างน้อย10ปี โดยรัฐบาลชุดนี้ใช้เวลาปีกว่าๆมาวางกรอบการปฏิรูปไว้ให้รัฐบาลต่อไปมาดำเนินการ ผมวางไว้ให้ 

"ถ้าเลือกตั้งได้ก็ทำต่อไป เลือกให้ดีแล้วกัน แค่รัฐธรรมนูญยังเถียงกันไม่เลิก แล้วมันจะเลือกตั้งได้มั้ย ผมก็ไม่รู้ ผมต้องบังคับเลือกตั้งอีกหรือเปล่า เลือกตั้งแล้วมันจะเดินขบวนกันอีกมั้ย ถ้าพรรคนี้มาอีกพรรคนั้นจะยอมมั้ย ผมรู้ว่าทุกคนเป็นแบบนี้หมด คิดแบบนี้ทุกอย่าง รอเมื่อไหร่เลิกกฎอัยการศึก เลิกกฎหมายพิเศษ ก็ออกกันมาหมด"


วันที่ 1 เม.ย.58 ขอให้คนไทยทุกคนในเยเมนอพยพด่วน

วันที่ 1 เม.ย.58 ขอให้คนไทยทุกคนในเยเมนอพยพด่วน
หลัง สถานการณ์การสู้รบในเยเมนยังไม่มีท่าทีที่จะยุติ และยังมีโอกาสทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ตลอดจนมียอดผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งหลายชาติต่างได้ทยอยอพยพคนชาติของตนแล้ว
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมัสกัตแจ้ง อพยพคนไทยออกจากเยเมนทั้งหมด โดยเร็วที่สุด และขอความร่วมมือให้คนไทยในเยเมนทุกคนที่พร้อมอพยพ แจ้ง ชื่อ-นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ หรือช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ ที่สามารถติดต่อได้ รวมทั้งสำเนาหนังสือเดินทางมายังอีเมล์ของสถานเอกอัครราชทูตฯ 
ที่ thaimct@omantel.net.om และ panida.got@gmail.com หรือทางหมายเลขโทรศัพท์ Hotline ที่หมายเลข (+968) 9649 4733 หรือ (+968) 9927 3440 หากคนไทยรายใดยังยืนยันที่จะอยู่ในเยเมน ก็จะต้องยอมรับถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง 
และขอความร่วมมือคนไทยในเยเมนทุกคนที่มีโทรศัพท์มือถือ กรุณาเปิดโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ประสานข้อมูลดังกล่าวไปยังนายซ่าอา ทับทิมใหม่ ประธานนักเรียนไทยในเยเมน เบอร์ติดต่อ +967 7129 01615 เพื่อช่วยประสานรวบรวมรายชื่อคนไทยในเยเมนที่ประสงค์อพยพออกจากเยเมนแล้วด้วยอีกทางหนึ่ง
ด้านกองทัพอากาศ ของไทย สั่งให้เตรียมความพร้อมทุกด้าน โดยเฉพาะหากมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องบินลำเลียงแบบ C-130 ของกองทัพอากาศ ได้เตรียมพร้อมไว้ตลอดเวลาเพื่อรอรับคำสั่งจากรัฐบาล
--------------------------------->
มีกลิ่นไม่ดีรายงานมาว่า รัฐบาลซาอุฯ กำลังวางแผนลอบสังหารผู้นำรัฐบาลใหม่ฮูซี ของเยเมน และซาอุฯ เองก็ ได้รับจดหมายเตือนจากกษัตริย์ชาติอาหรับชาติหนึ่ง ว่ากำลังถลำลึก ตกหลุมพรางอเมริกา
และตอนนี้เริ่มเกิดความระส่ำระสายแตกแยกในราชวงศ์ซาอุฯ ส่อแววว่าจะเกิดการรัฐประหารจากนักธุรกิจใหญ่รวยมาก โดยมี CIA อเมริกาหนุนหลัง...อเมริกา ร้ายมาก หลอกให้รัฐบาลซาอุฯ ไปรบให้สิ้นเนื้อประดาตัวที่เยเมน คิดดูละกันว่าค่าใช้จ่ายสงครามวันละเท่าไร ที่เอาเงินที่เผาที่เยเมน
และก็ทำอะไรรัฐบาลฮูซี ไม่ระคายผิวสักนิด ยิ่งเรียกคะแนนนิยมจากประชาชนเยเมนให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากขึ้นเข้าไปอีก ตอนนี้บุกยึดเมืองเอเดน ทางตอนใต้เยเมนเด็ดขาดแล้ว กองทัพอากาศ ทหารทั้งหมด ตกอยู่การควบคุมของกำลังรบฮูซีแล้ว ปืนต่อสู้อากาศยาน และจรวดระดมยิงขึ้นฟ้า
สอยเครื่องบินซาอุฯ ลำละหลายพันล้านร่วงหัวปักไปแล้วจำนวนมาก หากนักรบฮูซี รวมกำลังกัน และวางกำลังรบทางยุทธศาสตร์ดีๆ บุกเดินหน้าจะข้ามพรมแดนซาอุฯ ได้ไม่ยาก และเมื่อนั้นซาอุฯ เละเป็นโจ๊กแน่ เพราะทหารซาอุฯ ไม่เคยออกรบสงครามจริง มานานจนลืมไปหมดแล้ว
ยิ่งรัฐประหารเกิดในริยาร์ด เมืองหลวงซาอุฯ ทีนี้แหละโดนทั้งศึกนอกและในเลย CIA โค่นรัฐบาลซาอุฯ แบ่งเป็น 3 ประเทศได้ก็ตอนทีเผลอนี่แหละ..เมื่อมุสลิมแตกกัน มันก็ขนมหวานอเมริกา และชาติตะวันตกดีๆ นี่เอง เพราะสงครามคืออุตสาหกรรมรายได้ของฝรั่ง มานานแล้ว
@เสธ นํ้าเงิน 4


เปิดพฤติกรรมการบริโภคสื่อ รบ.ประยุทธ์ อ่าน นสพ.วันละ10ฉบับ ซื้อมติชนมากสุด

 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะชู "จดหมายข่าวเพื่อประชาชน" สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล ที่มาภาพ : http://www.khaosodenglish.com/detail.php?newsid=1425994126&section=00
พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะชู “จดหมายข่าวเพื่อประชาชน” สื่อสิ่งพิมพ์ที่รัฐบาลจัดทำขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล ที่มาภาพ: http://www.khaosodenglish.com/detail.php?newsid=1425994126&section=00
อาการหงุดหงิดของ “บิ๊กตู่” พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ต่อการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่แสดงออกผ่านการให้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2558 นอกเหนือไปจากกรณี “ฐปณีย์ เอียดศรีไชย” ผู้สื่อข่าวรายการข่าวสามมิติ ยังรวมไปถึงกรณีของ “คอลัมนิสต์บางคน-หนังสือพิมพ์บางฉบับ” ที่ถูก พล.อ. ประยุทธ์กล่าวตำหนิชนิดลงรายละเอียดทีละราย ก่อนจะขู่ว่าพร้อมจะใช้คำสั่ง คสช.ปิดสื่อที่นำเสนอข่าวให้เกิดความแตกแยก
ความจริงท่าทีเช่นนี้ของท่านผู้นำไม่ถือเป็นเรื่องใหม่ หากย้อนไปดูข่าวเก่าๆ ก็จะเห็นว่า ในช่วงเวลาที่ผ่านมา นายพลอารมณ์ร้อนคนนี้ได้กล่าววิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ของสื่ออยู่เป็นระยะ อาทิ
– ขอให้ยกเลิกการใช้คำพาดหัวว่า “คุย-โว-ฟุ้ง-ปัด-ตีปี๊บ-ฮึ่ม” เพราะเป็นความหมายเชิงลบ ไม่สร้างสรรค์ (4 พฤศจิกายน 2557)
– ขอร้องสื่อ ทั้งเจ้าของ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์ สื่อมวลชน พิธีกรรายการ ให้เข้าใจสถานการณ์การเมือง หากใช้เสรีภาพไม่มีขอบเขต อาจเป็นผลเสียมากกว่าผลดี (21 พฤศจิกายน 2557)
– บอกสื่อเองก็ต้องปฏิรูป หนังสือพิมพ์บางฉบับอ่านแล้วโมโห บ้าหรือไง ใครมาก็ด่าหมด คราวนี้ตนจะปิดจริงๆ ไม่เช่นนั้นจะมีกฎอัยการศึก มีมาตรา 44 ไว้ทำไม (25 ธันวาคม 2557)
– ตำหนิช่างภาพหนังสือพิมพ์บางฉบับว่า จิตใจต่ำ กรณีถ่ายภาพขณะกำลังชูบางนิ้วที่อาจดูไม่เหมาะสม (29 มกราคม 2558)
– พูดบนเวทีสัมมนาว่า อยากชกหน้านักข่าว ที่ถามว่ารัฐบาลมีผลงานอะไร (6 มีนาคม 2558)
ฯลฯ
ที่มาภาพ : http://news.voicetv.co.th/thailand/31632.html
ที่มาภาพ: http://news.voicetv.co.th/thailand/31632.html
น่าสังเกตว่า สื่อที่ถูก พล.อ. ประยุทธ์อ้างถึง มักจะเป็นสื่อดั้งเดิมอย่าง “หนังสือพิมพ์” ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ใช่เรื่องแปลก หากรู้ถึงพฤติกรรมการมอนิเตอร์ข่าวสารของบุคคลสำคัญในรัฐบาลชุดนี้ ที่ยังคงติดตามข่าวสารผ่าน “หนังสือพิมพ์” เป็นหนึ่งในช่องทางหลัก
ต้อนรับงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 43 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม – 6 เมษายน 2558
สำนักข่าวออนไลน์ Thaipublica จึงขอเปิดเผย “พฤติกรรมการอ่าน” หนังสือพิมพ์รายวัน-นิตยสารข่าว ของบุคคลสำคัญในทำเนียบรัฐบาล ทั้งที่นั่งทำงานอยู่ในตึกไทยคู่ฟ้า (นายกฯ เลขาธิการนายกฯ และคณะทำงาน) – ตึกบัญชาการ (รองนายกฯ ที่ปรึกษานายกฯ รองเลขาธิการนายกฯ และข้าราชการการเมืองอื่นๆ) – ตึกนารีสโมสร (โฆษกประจำสำนักนายกฯ และสำนักโฆษก)
ที่จากการตรวจสอบเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล มีการสั่งซื้อสื่อหนังสือพิมพ์รายวัน-นิตยสารข่าว โดยใช้งบประมาณของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มาให้กับบุคคลสำคัญในทำเนียบรัฐบาลอ่าน ตลอดปีงบประมาณ 2558 (1 ตุลาคม 2557 – 30 กันยายน 2558) รวมทั้งสิ้น 3 ครั้ง ใช้งบประมาณ 4.9 แสนบาท2.2 แสนบาท และ 2 แสนบาท
แบ่งเป็นการจัดซื้อหนังสือพิมพ์ 16 หัว ได้แก่ ไทยรัฐ, เดลินิวส์, มติชน, โพสต์ทูเดย์, ข่าวสด, ผู้จัดการรายวัน (เอเอสทีวีผู้จัดการ), กรุงเทพธุรกิจ, บางกอกโพสต์, คมชัดลึก, ไทยโพสต์, สยามรัฐ, เดอะเนชั่น, ประชาชาติธุรกิจ, บ้านเมือง, ฐานเศรษฐกิจ และแนวหน้า
และนิตยสารข่าวอีก 8 หัว ได้แก่ มติชนสุดสัปดาห์, เนชั่นสุดสัปดาห์, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์, ผู้จัดการสุดสัปดาห์, บางกอกทูเดย์, Time, The Economist และ Asian Wall Street Journal
รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 47,656 ฉบับ !

“บิ๊กตู่” อ่าน นสพ. วันละ 10 ฉบับ-โฆษกรัฐบาลตามสื่อมากสุด

เมื่อสแกนพฤติกรรมการอ่านรายบุคคลจะพบว่า
ทุกเช้า เจ้าหน้าที่ของทำเนียบจะนำหนังสือพิมพ์รายวันไปวางไว้บนโต๊ะทำงานของ พล.อ. ประยุทธ์ รวม 10 ฉบับ ขณะที่ปลายสัปดาห์ นิตยสารข่าวอีก 3 ฉบับ อย่าง “มติชนสุดสัปดาห์” “เนชั่นสุดสัปดาห์” และ “สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์” จะถูกนำมาวางควบคู่กัน
“บิ๊กอ๋อ” พล.อ. วิลาศ อรุณศรี เลขาธิการนายกรัฐมนตรี คนรู้ใจของ พล.อ. ประยุทธ์ นอกจากอ่านหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน 10 ฉบับ ยังติดตามข่าวสารโลกผ่าน “นิตยสารไทม์” และ “ดิอีโคโลมิสต์”
“หม่อมอุ๋ย” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดนี้ นอกจากอ่านหนังสือพิมพ์วันละ 9 ฉบับ นิตยสารข่าวสัปดาห์ละ 3 ฉบับ ยังอัปเดตข่าวเศรษฐกิจทุกวันผ่าน “โพสต์ทูเดย์-กรุงเทพธุรกิจ”
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี อดีตคอลัมนิสต์ของ “มติชน-เดลินิวส์” แม้จะวางปากกาไปนานแล้ว แต่ยังติดตามหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับนี้อยู่ รวมถึงหนังสือพิมพ์อื่นๆ อีก 6 ฉบับ ปลายสัปดาห์ยังต้องอ่านนิตยสารข่าว มติชนสุดสัปดาห์ กับเนชั่นสุดสัปดาห์
ด้าน นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ กรองข่าวสารบ้านเมืองผ่านหนังสือพิมพ์วันละ 10 ฉบับ ทั้งหนังสือพิมพ์การเมืองและเศรษฐกิจ
แต่คนที่ต้องติดตามข่าวสารมากที่สุด ตามภาระหน้าที่ หนีไม่พ้น “หมอยงยุทธ” ร.อ. ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่สั่งซื้อนิตยสารมาอ่านถึงวันละ 16 ฉบับ และนิตยสารข่าวอีก 5 ฉบับ เรียกว่าไม่มีทางพลาดข่าวสารสำคัญที่เกิดขึ้นในแต่ละวันเป็นแน่
Print
บุคคลสำคัญในรัฐบาล คสช. แต่ละคนอ่านหนังสือพิมพ์อะไรบ้าง?

บิ๊กทำเนียบ สั่งซื้อ “มติชน” มาอ่าน สูงสุด

ที่น่าสนใจ หนังสือพิมพ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้มีอำนาจในรัฐบาล คสช. กลับไม่ใช่หนังสือพิมพ์หัวสีมียอดขายอันดับหนึ่งของประเทศ อย่าง “ไทยรัฐ” แต่เป็น “มติชน”
วัดจากจำนวนการสั่งซื้อ อันดับหนึ่ง มติชน จำนวน 5,775 ฉบับ ตามมาด้วย ไทยรัฐ จำนวน 5,731 ฉบับ และ เดลินิวส์ จำนวน 5,040 ฉบับ
แม้ พล.อ. ประยุทธ์ จะเพิ่งกล่าวถึงมติชนว่า “ไหน เครือมติชนอยู่ไหน ไปดู เขียนให้ดี อย่าเขียนให้มันเข้าข้างฝ่ายโน้นให้มากนักนะ ผมจะบอกให้ รัฐบาลที่แล้วมติชนน่ะ ขายกระทรวงมหาดไทยทั้งหมด คุณไปรื้อดู กระทรวงมหาดไทยสั่งให้ซื้อเฉพาะมติชน ทำให้ฉบับอื่นขายกันไม่ออก”
แต่จากยอดการสั่งซื้อ “มติชน” กลับเป็นหนังสือพิมพ์เบอร์หนึ่งของคนในทำเนียบ หากรวมหนังสือพิมพ์ในเครือเดียวกัน อย่าง “ข่าวสด-ประชาชาติธุรกิจ” ก็จะมียอดสั่งซื้อรวมกันเกือบ 10,000 ฉบับ!
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข้างต้น ก็เป็นเพียงส่วนเสี้ยวของพฤติกรรมการติดตามข้อมูลข่าวสารของบุคคลสำคัญในรัฐบาล ผ่านสื่ออย่างหนังสือพิมพ์ ยังไม่รวมถึงการติดตามข่าวสารผ่านช่องทางอื่นๆ ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ ไปจนถึงโซเชียลมีเดีย
“บิ๊กป๊อก” พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เคยกล่าวว่า พล.อ. ประยุทธ์เป็นคนที่มีความจำดีมาก และติดตามข่าวสารทางด้านสื่อมวลชนทุกแขนง ทุกฉบับ และทุกรูปแบบ รวมไปถึงโซเชียลเน็ตเวิร์ก เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารทั้งด้านบวกและลบ
“ท่านนายกฯ มักจะดูโซเชียลเน็ตเวิร์กเพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง แล้วมักจะไลน์หรือโทรมาหาผมเสมอเพื่อถามความคืบหน้างาน ผมก็เคยถามไปว่า ดูทำไมมีแต่คนด่า ตัวท่านนายกฯ เองตอบว่า ไม่ฟังแล้วจะรู้ว่าเขาด่าได้อย่างไร” พล.อ. อนุพงษ์กล่าว
Print
จากยอดสั่งซื้อสื่อสิ่งพิมพ์ของรัฐบาลชุดนี้เกือบ 5 หมื่นฉบับ หนังสือพิมพ์ “มติชน” ถือเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมสูงสุด
ด้วยพฤติกรรมการติดตามข่าวสารผ่านสื่อหลายชนิด หลากแขนง และจดจำ ประกอบกับบุคลิกส่วนตัวของ พล.อ. ประยุทธ์ ที่เป็นคนโผงผาง อารมณ์ร้อน
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกัน หากในอนาคตจะได้เห็นภาพ พล.อ. ประยุทธ์ ออกมากล่าวตำหนิสื่อใดสื่อหนึ่ง หรือฉบับใดอย่างหนึ่งอีก
ยิ่งตัวบิ๊กตู่ มีแนวคิดว่า “สื่อมีหน้าที่ดูแลบ้าน ให้เจ้าของบ้าน ไม่ใช่มาเล่นงานเจ้าของบ้าน” ขณะที่สื่อจำนวนไม่น้อยยังถือหลักการพื้นฐานในการทำงาน คือ ตรวจสอบผู้มีอำนาจรัฐ
สื่อกับผู้มีอำนาจในรัฐบาลชุดนี้ จึงน่าจะเป็น “ลิ้นกับฟัน” ไปอีกนานเท่านาน ตราบเท่าที่ชายชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังอยู่บนเก้าอี้ประมุขแห่งตึกไทยคู่ฟ้า