PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

เบื้องลึกเบื้องหลังการประกาศ คสช. ม.44

เบื้องลึกเบื้องหลังการประกาศ คสช. ม.44

Prev
1 of 1
Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 01 เม.ย 2558 เวลา 21:41:20 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เมื่อหลายฝ่ายทั้งคนการเมือง-กูรูกฎหมาย ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ การตัดสินใจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี-หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กราบบังคมทูลฯ ขอยกเลิกกฎอัยการศึก และเตรียมออกประกาศคสช. อาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 แทน


มาฟัง “เนติบริกร”-ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ไขความกระจ่างกับกฎหมายคำต่อคำนับจากบรรทัดนี้


@ขั้นตอน-กระบวนการการประกาศคำสั่งคสช.ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ มาตรา 44


การยกเลิกกฎอัยการศึกต้องเป็นไปตามพระราชโองการฯ โดยรัฐบาลได้นำคววามกราบบังทูลไปแล้ว ตามตำแนะนำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ แต่ปัญหาคือ เมื่อยกเลิกแล้วจะมีมาตรการอะไรมารองรับ ซึ่งคณะที่ปรึกษาคสช. ได้ทำทางเลือกเสนอท่านนายกรัฐมนตรีไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 57 ว่า 1.ไม่ต้องทำอะไร คือ ใช้กฎหมายอาญาธรรมดา 2.อาจจะต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานกาณ์ฉุกเฉิน และ 3.คือใช้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

ข้อสังเกตุหากใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ อยู่ดีๆจะหยิบขึ้นมาใช้ไม่ต้อง แต่ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่เหมือนกับพ.ร.บ.ความั่นคงฯ ที่ไม่ต้องประกาศ ขณะเดียวกันกฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ มันก็ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในระดับหนึ่งและมีข้อจำกัดอยู่ในระดับหนึ่ง ซึ่งเบากว่าการประกาศใช้กฎอัยการศึก

ถ้าเอากฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งใน 2 ฉบับนี้มาใช้ แทนการประกาศใช้กฎอัยการศึก ก็คงไปได้เหมือนที่เราเคยประกาศใช้มาแล้ว ก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 57 แต่ทีนี้เมื่อต้องการแก้ไขปัญหาบางอย่างที่สมควรจะแก้ ไม่ได้ เพราะกฎหมายทั้ง 2 ฉบับรองรับเฉพาะบางเรื่อง ที่พูดแบบนี้ไม่ได้หมายความว่าจะเอากฎหมายไปเล่นงานใคร แต่กำลังพูดถึงการนำกฎหมาย 2 ฉบับนั้นมาบรรเทาหรือแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนไม่ได้ เพราะกฎหมายทั้ง 2 ฉบับไม่ได้ออกแบบมาให้เป็นแบบนั้น

เพราะฉะนั้นเมื่อยกเลิกกฎอัยการศึก สิ่งที่จะต้องนำมาใช้แทนคือ 1.ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการจะทำอะไรบางอย่างได้ ซึ่งจะเป็นระดับเดียวกับกฎหมายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ และพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ไม่มากไปกว่าระดับนั้น ขณะเดียวกันเราต้องการมาตรการอื่น ไว้แก้ปัญหาบางอย่างโดยที่ไม่เกี่ยวกับการริดรอนสิทธิเสรีภาพ แต่เป็นการให้สิทธิเสรีภาพ ซึ่งกฎหมายทั้ง  2 ฉบับไม่มี เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องคิดถึงมาตรา 44 เพราะจะคลุมสิ่งเหล่านี้ได้ทั้งหมด คล้ายๆกับยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว

ถามว่าอะไรคือมาตรการที่จะนำมาใช้ ก็คือ มาตรการที่จะโยงไปสู่การนำคดีไปสู่ศาลทหาร เพราะกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวอะไรกับศาลทหาร มาตรา 44 ก็คือกรอบ คือ เมื่อจะเอามาตรา 44 ไปใช้กับเรื่องใดก็นำไปใช้ให้เข้าเกณฑ์กับมาตรา 44 ดังที่เคยใช้มาแล้วครั้งหนึ่ง เรื่องยืดอายุวาระผู้บริหารสภาท้องถิ่น คราวนี้ก็มุ่งไปที่เรื่องความมั่นคง

นายกรัฐมนตรียังปรารภอยู่บ่อยครั้งว่า บ้านเมืองยังมีปัญหาอีกหลายเรื่อง ที่อาจจะต้องใช้มาตรา 44 มาใช้อย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหา ไม่ได้คุกคามหรือทำให้เกิดความเดือดเนื้อร้อนใจกับใคร เช่น การแก้ปัญหาของกรมการบินพลเรือน เป็นต้น และยังมีเรื่องอื่นๆ อีกที่จะใช้มาตรา 44 ในทางสร้างสรรค์เพราะไม่สามารถใช้มาตรการอื่นได้ หรือจะทำให้เกิดความล่าช้าจนเกิดความเสียหาย โดยเอาให้เข้ากับหลักเกณฑ์และกระบวนการของมาตรา 44

กระบวนการเริ่มต้นเมื่อจะเริ่มใช้มาตรา 44 คสช.ก็ต้องหารือร่วมกันและออกมาเป็นคำสั่งคสช. และในนั้นระบุว่าอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ 57 หัวหน้าคสช. โดยความเห็นชอบของคสช. จึงเห็นสมควรสั่งการดังต่อไปนี้ หนึ่ง สอง สาม อะไรก็ว่าไป

ส่วนเรื่องการเยียวยาไม่ได้แปลว่าแจกเงินเพื่อบรรเทาความเดือนร้อนในอดีตที่ผ่านมา เรื่องศาลทหารก็คือการเยียวยาชนิดหนึ่ง ก็เดือดร้อนกันจริงใหมล่ะว่า การขึ้นศาลทหารม้วนเดียวจบมันเป็นปัญหา ซึ่งตามหลักเมื่อยกเลิกกฎอัยการศึกแล้วศาลทหารก็ยังอยู่ เพราะการประกาศกฎอัยการศึกเป็นเรื่องของพ.ร.บ.กฎอัยการศึก 2457 เรื่องหนึ่ง ซึ่งการที่พลเรือนไปขึ้นศาลทหารไม่เกี่ยวเลยกับกฎอัยการศึก แต่เป็นผลเพราะประกาศคำสั่งคสช.ให้ขึ้นศาลทหาร เพราะฉะนั้นการยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก แต่ประกาศคสช.ยังอยู่ การขึ้นศาลทหารก็ยังอยู่และเมื่อไม่ต้องการให้มันอยู่ ซึ่งเกิดคำถามว่าทำไมไม่ใช้กฎหมายพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯ หรือ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ล่ะ ก็เพราะว่าไม่แก้ปัญหานี้ได้


@ถ้ามีคนร้องเพราะเหตุจากการกระทำตามมาตรา 44 จะมีอะไรรองรับหรือไม่           


มี เมื่อประกาศออกมาแล้วก็จะรู้ แต่ไม่สามารถลงไปในรายละเอียดได้ เพราะหลังจากผมไปแล้วยังมีขั้นตอนอื่นๆ หลังจากนี้อีก


@ การร่างคำสั่งขณะนี้พร้อม 100 % แล้ว

ต้องตอบว่า ใช่ เพราะมีทางเลือกอยู่ 2-3 ฉบับที่จะสามารถหยิบออกมาได้ ก็ถือว่าพร้อม


@ ความกังวลของคนไทยภายในและต่างประเทศเรื่องความไม่สร้างสรรค์ของมาตรา 44

ก็เห็นใจคนที่จะตีตนไปก่อนไข้ เพราะมันยังไม่เห็นอะไร แต่เมื่อเห็นแล้วก็คงจะรู้ว่า มันไม่ใช่ไข้ มันอาจจะไม่ต้องตีตนก็ได้ เมื่อเห็นแล้ว ผมบอกแล้วว่า เมื่อเรารังเกียจการประกาศใช้กฎอัยการศึก ใครที่ไหนมันจะออกอะไรให้มันแย่กว่ากฎอัยการศึกอีก มันคงไม่มี เพราะไม่รู้ว่าจะออกอะไร ไปทำไม

วันนี้ผมจึงต้องการอธิบายว่าทำไมไม่ใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้ว 2 ฉบับ คำตอบก็คือจะใช้ก็ได้ จริงๆ หลักเกณฑ์ที่ออกมา 5-6 ข้อ มันก็มาจากกฎหมายที่มาจาก 2-3 ฉบับ ไม่เกินไปกว่านั้น มีแต่จะน้อยกว่านั้น และต่อให้เอาทั้ง 2 ฉบับมารวมกันก็ไม่สามารถเยียวยาแก้ปัญหาบางอย่างได้ ถึงใช้คำว่าเหมือนมีกระสุนนัดเดียวยิงนกได้สองตัว

กฎหมาย 2 ฉบับดังกล่าวให้แต่อำนาจเจ้าหน้าที่แต่ไม่ได้ให้อำนาจในการแก้ปัญหา คือ ปัญหาเรื่องศาลทหาร ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าประกาศคสช.ที่ให้ขึ้นศาลทหารนั้น มีฐานะเป็นกฎหมาย เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะสามารถลบล้างมันได้ที่ใหญ่พอกับมัน


@คำสั่งคสช.ตามมาตรา 44 ที่จะออกมาจะตีกรอบการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่


แต่กรอบแน่เพราะเจ้าหน้าที่ก็ต้องรับผิดชอบมากขึ้น มีบทที่เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดเยอะ เพราะคำว่าเจ้าพนักงานเปรียบเหมือนเป็นดาบสองคม ฉะนั้นใครเป็นเจ้าพนักงานอย่าดีใจนะ เพราะนอกจากจะคุ้มครองเจ้าพนักงานแล้ว แต่ในอีกแง่หนึ่งถ้าเจ้าพนักงานไปทำอะไรที่ไม่สุจริตหรือเกินอำนาจหน้าที่ โทษมันจะหนักกว่าตอนไม่เป็นเจ้าพนักงานนะ

ถ้าได้เห็นคำสั่งแล้วจะเข้าใจเพราะว่าคำสั่งจะล๊อคไว้กับสถานการณ์หนึ่ง ถ้าเกิดสถานการณ์อื่นนอกจากนี้จะใช้ไม่ได้ ก็ต้องหาอย่างอื่นมาใหม่ เพราะฉะนั้นก็เปรียบเหมือนกับโรค โรคนี้ใช้อย่างนี้ โรคนั้นใช้อย่างนั้นเท่านั้น จะใช้อำนาจมาตรา 44 ไปใช้ครอบจักรวาลไม่ได้ เพราะมันไม่ใช่เจตนารมณ์ของมาตรา 44

ไม่มีความคิดเห็น: