PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

คุณสมบัตินายกฯ

โบกมือลา...
ยุติโดยเร็วก่อนเกิดความเสียหายต่อแผ่นดิน
หลักพิจารณากรณีการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชารัฐขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ?
ข้อเท็จจริง
(1)พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ หรือไม่ ?
ข้อเท็จจริง พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อของ พล.อ.ประยุทธ์ จริง ข้อเท็จจริงจึงเป็นข้อยุติ ไม่ต้องไต่สวน
(2)พล.อ.ประยุทธ์ มีหนังสือยินยอมให้เสนอชื่อตนเองจริงหรือไม่ ?
ข้อเท็จจริง พล.อ.ประยุทธ์ มีหนังสือยินยอมจริง ข้อเท็จจริงจึงเป็นข้อยุติ ไม่ต้องไต่สวน
ข้อกฎหมาย
(1)พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ มีสองสถานะ
สถานะที่หนึ่ง เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้าราชการการเมือง คุณสมบัติจึงไม่ขัดกฎหมาย
สถานะที่สอง พล.อ.ประยุทธ์ เป็นหัวหน้า คสช. จะทำให้มีคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่รัฐอื่น ตาม พรบ.ศาลปกครอง มาตรา 2(3) และ ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2543 ทำให้้คุณสมบัติของ พล.อ.ประยุทธ์ ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 98(12) และ (15)
(2)การวินิจฉัย เจ้าหน้าที่ของรัฐตามคำจำกัดความและคำพิพากษาของศาลของศาลฎีกามีไว้อยู่อย่างมากมาย โดยพิจารณาวินิจฉัยว่า เป็นผู้ได้รับแต่งตั้ง มีตำแหน่ง มีอำนาจ มีหน้าที่ รับผลประโยชน์ ค่าตอบแทนใดๆ จากหน่วยงานที่เป็นงบประมาณแผ่นดินให้ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งสิ้น
ตำแหน่งหัวหน้า คสช. ของ พล.อ.ประยุทธ์ มีคุณสมบัติครบถ้วนตามองค์ประกอบของการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างชัดเจน
ข้อเท็จจริงตามสถานะและสภาพของ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่จริงและไม่สามารถโต้แย้งได้ ไม่จำเป็นต้องไต่สวนข้อเท็จจริงนี้อีก แม้จะไต่สวนก็ไม่ทำให้ข้อเท็จจริงนี้เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
เมื่อข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้วปัญหาที่ต้องวินิจฉัยมีเพียงว่า ข้อเท็จจริงนี้ปรับเข้ากับข้อกฎหมายแล้วการเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ของพรรคพลังประชารัฐ ชอบหรือไม่ชอบข้อกฎหมาย
ในชั้น กกต. เป็นดุลพินิจของ กกต. และหากขึ้นไปสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ข้อกฎหมายนี้ก็เป็นดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ ที่สามารถวินิจฉัยได้เอง 
กรณีนี้จะต้องพิจารณาวินิจฉัยให้เป็นที่ยุติโดยเร็ว เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและประชาชน
ไทกร พลสุวรรณ
21 กุมภาพันธ์ 2562

เลขาธิการพปชร.เผยรอลุ้นกกต.เคาะผลหารือนายกฯช่วยพรรคหาเสียงได้หรือไม่

22ก.พ.62- ที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะสามารถลงพื้นที่หาเสียงได้หรือไม่ว่า ขณะนี้พรรคได้ดำเนินการส่งหนังสือเพื่อหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อสอบถามว่าตามกฎหมายแล้วว่านายกรัฐมนตรีสามารถทำอะไรได้และไม่ได้บ้าง แต่ถ้านายกรัฐมนตรีได้พูดเรื่องนโยบายต่างๆ ก็อาจจะทำให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบว่าท่านคิดอะไร แต่ทุกอย่างต้องอยู่กรอบของกฎหมายว่าทำได้หรือไม่ได้อย่างไรก็ตามคาดว่าจะได้ทราบผลจากกกต.เร็วๆ นี้


ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่พล.อ.ประยุทธ์ไม่สามารถเข้าร่วมดีเบตนโยบายพรรคได้ จะทำให้พรรคเสียโอกาสหรือไม่ นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า จะทำได้แค่ไหนอย่างไรก็ต้องให้เป็นไปตามกรอบที่สามารถทำได้ ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของพรรคและผู้บริหารพรรค ซึ่งเราต้องเเบ่งบทบาทกัน
เมื่อถามว่า เมื่อเสร็จสิ้นการเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค. พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค สามารถเดินทางมาพรรคได้หรือไม่ นายสนธิรัตน์ กล่าวว่า อาจจะยังไม่ได้ เพราะพล.อ.ประยุทธ์ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนจะมีการโฟนอินมาให้กำลังใจผู้สมัครส.ส.ที่พรรคได้หรือไม่ จะต้องดูข้อกฎหมายก่อน

เกิน75เปอร์เซ็นต์ชัวร์

ศึกเลือกตั้งใหญ่ตัดสินอนาคตการเมืองไทยคึกคักตื่นเต้นตะลึงตึงตังยิ่งกว่าการเลือกตั้งทุกครั้งที่เคยเกิดขึ้นบนแผ่นดินไทย

กระแสคนอยากเลือกตั้งพุ่งกระฉูดทะลุพิกัดเกินคาดการณ์

ยอดผู้ลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าสูงกว่า 2.6 ล้านคน

ยังไม่รวมผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งในต่างประเทศอีกเกือบ 1.2 แสนคน

ฟันธงล่วงหน้าว่าวันที่ 24 มีนาคม จะมีพี่น้องประชาชนแห่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเกิน 75 เปอร์เซ็นต์อย่างแน่นอน!!

75 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 51.4 ล้านคน คือ 38.5 ล้านคน หรือเฉลี่ย ส.ส. 1 คน จะต้องได้เสียงประชาชนถึง 77,000 คะแนน

ไม่หวานคอแร้งเหมือน ส.ว.ลากตั้ง 250 คน ที่ คสช.เลือกจิ้มได้ตามสบาย

“แม่ลูกจันทร์” ชี้ว่า กกต.ประกาศรับรองรายชื่อผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส.เขตทั่วประเทศจาก 81 พรรคการเมืองรวมทั้งสิ้น 10,792 คน

มีผู้สมัคร ส.ส.เขตที่ไม่ผ่านคุณสมบัติอีก 389 คน

ส่วนผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ จาก 77 พรรค ผ่านไฟเขียว กกต. 2,810 คน

ติดไฟแดงต้องโดน กกต.ตัดรายชื่อทิ้งอีก 107 คน

ผู้สมัคร ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่คุณสมบัติไม่ครบ ทั้ง 496 คน นอกจาก กกต.จะไม่คืนเงินค่าสมัครคนละ 1 หมื่นบาท

ยังจะโดน กกต.ดำเนินคดีข้อหา ผู้ใดลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ทั้งที่รู้ว่าขาดคุณสมบัติต้องมีความผิดจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 10 ปี

ต้องถูกโทษปรับเพิ่มอีก 2 หมื่นบาท ถึง 2 แสนบาท

และต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งอีก 20 ปี

เรียกว่าซวย 4 เด้งซ้อนทั้ง 496 คน

“แม่ลูกจันทร์” มองว่าอัตราโทษผู้สมัคร ส.ส.ที่ขาดคุณสมบัติไม่ผ่านไฟเขียว กกต.หนักหน่วงรุนแรงเกินไป

เพราะคงไม่มีใครที่รู้ว่าตัวเองขาดคุณสมบัติ แล้วดันทุรังไปลงสมัครเลือกตั้ง ส.ส.ให้เสียค่าสมัครฟรีๆอย่างแน่นอน

ผู้ที่โดน กกต.ตัดชื่อออกจากบัญชีผู้สมัคร ส.ส. ทั้ง 496 คน ต่างมั่นใจว่าตัวเองมีคุณสมบัติครบถ้วนตามกติกา

ความผิดลหุโทษระดับนี้ ไม่ควรต้องถึงขั้นติดคุกติดตะรางถึง 10 ปี ต้องถูกโทษปรับอีก 2 แสนบาท และต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนานถึง 20 ปี

“แม่ลูกจันทร์” กระชุ่นท่านประธาน กกต. ได้โปรดพิจารณาแก้ไขอัตราโทษให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง

อย่างไรก็ดี แม้ กกต.จะตัดรายชื่อผู้สมัครเลือกตั้งออกไปเกือบ 500 คน

ยังเหลือผู้สมัคร ส.ส.ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติให้ประชาชนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งอีก 13,602 คน

ถือเป็นจำนวนผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส.มากที่สุดเป็นประวัติการณ์

มากกว่ายอดผู้สมัครเลือกตั้ง ส.ส.เมื่อปี 2554 กว่า 4 เท่าตัว

และมากกว่าผู้สมัคร ส.ส.เมื่อปี 2550 กว่า 3 เท่าตัว

ถ้าเอาจำนวนผู้สมัคร ส.ส.เขตทั่วประเทศ 10,792 คน ไปหารจำนวนเขตเลือกตั้ง 350 เขต

เขตเลือกตั้ง 1 เขต ควรมีผู้สมัคร ส.ส.เฉลี่ยเขตละ 30 คน

น่าแปลก ที่เขตเลือกตั้งบางจังหวัด มีผู้สมัครไปกระจุกกันมากกว่า 40 คน

เช่น เขตเลือกตั้งที่ 9 และ 10 ของจังหวัดขอนแก่น มีผู้สมัครแออัดยัดทะนานถึงเขตละ 44 คน

เขตเลือกตั้งที่ 1 เขตที่ 2 และเขตที่ 4 จังหวัดขอนแก่น ก็มีผู้สมัครเบียดเสียดยัดเยียดถึงเขตละ 42 คน

เหตุไฉน สนามเลือกตั้งขอนแก่นจึงมีผู้แห่ไปลงสมัคร ส.ส.มากที่สุดในประเทศไทย??

ยังไม่มีใครตอบคำถามนี้ได้... แม้แต่ กกต.เอง.

“แม่ลูกจันทร์”

ธงเลือกตั้งสะบัดเล็กๆ

“ยิ่งสูงยิ่งหนาว” ไม่น่าจะใช้ได้กับคนที่คุ้นเคยเรื่องใหญ่ๆเรื่องยากๆ เป็นผู้นำอำนาจพิเศษมาเกือบจะ 5 ปี อย่าง “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้า คสช.

ไม่มีเสียวไม่มีหนาว กับกรณีที่เครื่องบิน C-130 เลขที่ 60109 ของกองทัพอากาศ ที่พาคณะผู้นำเหินเวหา เป้าหมายที่ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย เพื่อลงพื้นที่ตรวจราชการ จ.สุราษฎร์ธานี และกระบี่ แต่เช้าตรู่ วันก่อน

เครื่องเกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิค ใบพัดที่ 4 ขัดข้อง ทำให้นักบินต้องตัดสินใจนำเครื่องบินกลับมาที่สนามบิน บน.6 กทม.เพื่อเปลี่ยนเครื่อง แล้วกลับไปปลายทางอีกครั้ง

งานนี้ “บิ๊กตู่” คงชิลๆ อดีตท็อปบูตเจอมาเยอะ สตรองหนักมาก

นั่นก็ไม่แพ้ “บิ๊กแดง” พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ.รุ่นน้อง ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 (ผบ.ฉก.ทม.รอ. 904 ) นำนายทหาร ฉก.ทม.รอ.904 รวมถึงบิ๊กๆ 5 เสือ ทบ.ทดสอบร่างกาย โชว์ความฟิต วิ่ง วิดพื้น ทดสอบร่างกายประจำปีครั้งที่ 1

ตามนโยบาย “Smart Soldiers Strong Army”

งานนี้ไม่พูดมาก “บิ๊กแดง” บอกหลังโชว์ความฟิตชนิดผ่านเกณฑ์ยกคณะ “พอใจสถิติวันนี้ในภาพรวม ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมีกำลังกายที่แข็งแรง ทำให้สถิติดีขึ้นทุกคน”

“กองทัพสตรอง รักกัน”

คิวโชว์เข้มแข็งเป็นปึกแผ่น กับห้วงที่มีแรงสั่นสะเทือนจากภายนอกกระทบเหมือนกัน หลังคิวใหญ่ จ่าฝูงกองทัพบกยกเพลง “หนักแผ่นดิน” กระทบกระเทียบนักการเมือง กลายเป็นปมร้อนกระหึ่มเมือง

ถึงตรงนี้ “หัวแถว ทบ.” พยายามทรงตัว ไม่ให้แกว่ง

กับโฟกัสของสังคมที่จับจ้อง บทบาทกองทัพในอีกจุดเปลี่ยนสำคัญ

ในโปรแกรมเลือกตั้งที่กำลังเดินหน้าไป ขั้วค่ายกำลังขย่มเขย่าซัดกันเมามัน

ลูกหลงจะปลิวมากระแทกได้เสมอ

ยิ่งใกล้ไคลแมกซ์ 27 ก.พ. ศาลรัฐธรรมนูญนัดประชุมนัดแรก พิจารณาคำร้อง กกต.ขอให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) กรณีเสนอบัญชีนายกฯ ข้อหา “เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ”

ผ่านจุดสำคัญ วันสุดท้ายที่พรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาที่คณะทนายความของพรรคเปิดไต๋ ให้รายละเอียดการแก้ปมยุบพรรค ยืนยันเจตนาบริสุทธิ์ในการเสนอชื่อนายกฯ ต่อสู้ประเด็น กกต.ไม่ไต่สวน เคลียร์ข้อหา “เป็นปฏิปักษ์” วิพากษ์วิจารณ์ กกต.อ้างพระราชโองการโดยไม่บังควร

รวมทั้งที่อุบไต๋ “พยานคนสำคัญ” นอกเหนือ 14 กรรมการบริหารพรรค จนถูกจับจ้องจะเป็นไพ่เด็ด

ซุปเปอร์บิ๊กเซอร์ไพรส์สะท้านฟ้าสะเทือนดินอีกหรือไม่

จังหวะที่อ่านกันได้ พปชร. “ยังสู้” แฝงนัยคำถามถึง “ไม้ไหน” จากแดนไกล

แต่ก็น่าจะเป็นอะไรที่ทันกัน ทั้งผู้เล่นหลักตามท้องเรื่องอย่าง กกต. อิทธิพร บุญประคอง ประธาน 7 อรหันต์กรรมการกลาง ออกมายืนยันข้อกฎหมาย มาตรา 92 พ.ร.บ.พรรคการเมือง

เป็นเหตุผล ไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการไต่สวน

ขณะที่มือกฎหมายรัฐบาล “ดร.วิษณุ เครืองาม” รองนายกฯ ออกตัวไม่แสดงความคิดเห็นทุกปมเกี่ยวกับกรณียุบพรรค “ให้ไปว่ากันที่ศาล” ในซีนทรงตัว–ประคองบทบาท รอรับ “ไต๋เด็ด” ของ ทษช.

แต่ที่เล่นเต็มเหนี่ยวคือเรื่องที่ “ดร.วิษณุ” แจงละเอียดพอสมควร กับกระบวนการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา ส.ว. 9-12 คน เพื่อสรรหาบุคคลไม่เกิน 400 คน และส่งชื่อให้ คสช.คัดเหลือ 194 คน ก่อนวันเลือกตั้ง 15 วัน

เพื่อคัดเลือก ส.ว.ในลอตที่ คสช.แต่งตั้ง 200 คน เติมกับ 50 คนที่มีกระบวนการเลือกทั่วประเทศ

แม้ ดร.วิษณุจะออกตัว ขั้นตอนปฏิบัติอยู่ที่หัวหน้า คสช.

ทั้งการตั้งคณะกรรมการสรรหา วิธีการจะใช้เปิดรับสมัคร หรือแบบเจาะตัว หรือจะใช้ 2 วิธีนี้ผสมกันก็ได้ “เข้าใจว่าภายใน 1–2 วันนี้ จะมีความชัดเจน”

“พรรค ส.ว.” กับสูตรตุนแต้ม 250 เสียง ในแผนโหวตเลือกผู้นำ เดินหน้าไปตามกระบวนการ

สะท้อนทิศทางเลือกตั้ง ขีดเส้นใต้ “ณ วันนี้” เกมยังอยู่ในลู่.

ทีมข่าวการเมือง

มันเกลียดชังอะไรผมขนาดนี้ !!

มันเกลียดชังอะไรผมขนาดนี้ !!
“บิ๊กตู่” เผย ถูกทัก “ลางไม่ดี” เครื่องบินขัดข้อง ให้ กลับบ้านดีกว่า ไม่ต้องมาอีกแล้ว ยันจะต้องมา ประชาชนรอ เผย บอกนักบิน แล้วว่า ให้บินต่อได้ เพราะ เสียใบพัดเดียว แต่ยังมีอีกตั้ง3 ใบพัด แต่นักบิน เขาตัดสินใจ ว่า ต้องกลับมา เปลี่ยนเครื่อง ...น้อยใจแล้วน๊าาาา มีคนแช่ง ให้เครื่องบินตก สบถ!! อะไรวะ แค่มาเยี่ยมประชาชน
มันเกลียดชังอะไรผมขนาดนี้”
“นายกฯบิ๊กตู่”กล่าว ที่จ.กระบี่ ถึงเหตุการณ์เครื่องบินC-130
ขัดข้อง จนต้องวนเครื่องกลับไปเปลี่ยนเครื่องบิน ว่า “ที่มาช้าเพราะไปเปลี่ยนเครื่องมา ยังไงก็ต้องมา
หลายคนบอกนายกฯลางไม่ดี กลับบ้านดีกว่า ไม่ต้องมาอีกแล้ว ไม่ต้อง
“บางคนก็แช่งให้ตกๆไปเลย อะไรว่ะนั่น แค่จะมาเยี่ยมประชาชน ยังแช่งผมเลย มันเกลียดชังอะไรผมขนาดนี้”

ปลุกทำภารกิจ2475 ธนาธรหวังอนาคตใหม่สานต่ออดีตสำเร็จ

“บิ๊กตู่” ลั่นรักและภูมิใจที่ได้เป็นทหาร  ชี้อย่าให้ใครมาปลุกปั่นให้เกลียด เดือด! พวกแช่งหลังต้องเปลี่ยนเครื่องมากระบี่ บอกรักทุกคนแม้ติดคุกยกเว้นพวกหนี แนะอย่าเลือกคนโกงและพวกสร้างความแตกแยก “บิ๊กแดง” โชว์ฟิตบอก “สตรองอาร์มี่” วินธัยย้ำ คสช.ไม่ได้เร่งคดีธนาธร แย้มผู้ถูกกล่าวหาอาจมีส่วนเร่งเอง “ไพร่หมื่นล้าน” เปิดความในใจบอกหวังปฏิวัติ 2475 เสร็จสมบูรณ์! “เจษฎ์” ชี้กรณีแต่งประวัติถึงขั้นยุบพรรคหากมีคนร้อง
    เมื่อวันพฤหัสบดี ที่กองบัญชาการกองทัพบก ในเวลา 07.00 น. พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้นำนายทหารระดับ 5 เสือกองทัพบก รวมถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกองบัญชาการกองทัพบก ผู้บังคับหน่วยของกองทัพภาคที่ 1 และกำลังพลในสำนักงานผู้บังคับบัญชา ทดสอบร่างกายประจำปี 2562 ครั้งที่ 1 ตามนโยบาย “Smart Soldiers Strong Army”  
    ทั้งนี้ ในการทดสอบได้มีเปิดเพลงหนักแผ่นดิน (อะคูสติกเวอร์ชั่น) มาร์ชกองทัพบก และความฝันอันสูงสุด เป็นต้น คลอไปด้วย ซึ่งระหว่างทดสอบ พล.อ.อภิรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 (ผบ.ฉก.ทม.รอ. 904 ) ระบุว่า “ทหาร ทม.แข็งแรงทุกคน ยึดพื้น เข่าต้องไม่แตะพื้น”
    หลังจากการทดสอบ ผู้สื่อข่าวสอบถามว่าเหนื่อยมั้ย พล.อ.อภิรัชต์ตอบว่า “เหนื่อยอะไร ดูสิ ทหารรักกันจะตาย” พร้อมชี้ไปที่กำลังพลและผู้บังคับบัญชาระดับสูงก่อนกล่าวว่า “ให้กำลังใจ ทหารรักกันขนาดนี้ และพอใจสถิติวันนี้ในภาพรวม ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมีกำลังกายที่แข็งแรง ทำให้สถิติดีขึ้นทุกคน สตรองอาร์มี่” 
    เมื่อถามต่อว่า ช่วงนี้กองทัพถูกโจมตีเยอะ จะชี้แจงอย่างไร พล.อ.อภิรัชต์กล่าวว่า “ก็นี่ไง สตรอง”
    ด้าน พล.ต.กฤษณ์ จันทรนิยม โฆษกกองบัญชาการกองทัพบก ได้ชี้แจงถึงบทบาทและหน้าที่ของกองบัญชาการกองทัพไทย โดยไล่เรียงประวัติการจัดตั้งกองทัพ รวมทั้งยกเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาพร้อมระบุว่า กองทัพไทยถือกำเนิดคู่กับความเป็นชาติไทย เหล่าทหารหาญได้พลีเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติ ซึ่งสิ่งที่ควรถามไม่ใช่ทำไมต้องมีกองบัญชาการกองทัพไทย แต่ควรถามว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยกันพัฒนาและเสริมสร้างให้กองบัญชาการกองทัพไทยสามารถขับเคลื่อนงานด้านการปฏิบัติการร่วมของกองทัพไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งห้วงสถานการณ์ก่อนการเลือกตั้ง อาจเชื่อมโยงนำกองทัพไปเป็นประเด็นในการหาเสียง จึงขอให้ทุกฝ่ายพิจารณาทำงานการเมืองอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคม การนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองขอให้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ
    “บิ๊กตู่”ยกกรณีขึ้นนั่ง“ซี130”
    วันเดียวกัน ที่ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน ต.ปากน้ำ อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวมอบนโยบายแก่ข้าราชการและหน่วยงานในท้องถิ่นว่า ตั้งใจจะมาแต่เช้า จริงๆ ขึ้นเครื่องบินทหาร (ซี 130) มา แต่เครื่องมีปัญหา นี่คือเครื่องบินที่ใช้มา 30-40 ปีแล้ว นั่นคือเหตุผลที่ทำไมเราต้องหมุนเวียน เปลี่ยน จัดหา และซ่อมแซมเพิ่มเติม ซึ่งก็ซ่อมไม่รู้กี่ครั้งแล้ว และถ้ามันเสียบนอากาศมันก็แก้ไขไม่ได้ และวันหน้าเครื่องบินเหล่านี้เอาไว้ใช้รับพวกเรานั่นแหละ แล้วใครจะกล้าเสี่ยงขึ้น เมื่อมันไม่ปลอดภัย
    “วันนี้รัฐบาลพยายามเร่งรัดซ่อมแซมจัดหามาทดแทน แต่อย่างว่า มันต้องใช้เวลาและงบประมาณ การจัดซื้อจัดหามันจำเป็นต้องซื้อ เพราะบินไปแล้วเหลือ 3 ใบพัดมันไหวที่ไหน วันนี้โลกเขามีเทคโนโลยีขั้นสูงแล้ว เราไม่ได้มีเอาไว้ยิงหรือรบกับใคร แต่มันทำให้ไม่ต้องรบกัน นั่นคือศักยภาพของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพลทหาร นายทหาร มันก็ลูกหลานของท่านทั้งนั้น มันไม่เหมาะที่จะมาโจมตีกันในตอนนี้ มันไม่ใช่เวลา” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
    นายกฯ กล่าวอีกว่า วันนี้ไม่ใช่ทหารแล้ว แต่เป็นอดีตทหาร และยังมีความรัก ความมั่นใจในความเป็นทหาร ไม่อยากให้ใครมาทำลายความเชื่อมั่น ความไม่ไว้วางใจของตัวทหารทุกคน อย่าลืมถ้าทำให้เขาเสียขวัญ ไม่มีกำลังใจ แล้ววันหน้าใครจะมารบให้กับเรา อย่าให้ใครมาบิดเบือนตรงนี้ได้ ที่สำคัญในสมัยโบราณคนไทยก็เกณฑ์เป็นทหาร โดยไม่มีค่าจ้าง เวลาใครมาบุกประเทศ พระมหากษัตริย์นำทัพไปสู้รบใช่หรือไม่ ไม่ได้เงินได้ทอง ไปครั้งหนึ่ง 3-4 เดือน ออกจากบ้านคือไปแล้วไปลับเลย วันนั้นเขายังเสียสละได้ แต่วันนี้มันเกิดอะไรขึ้น
    ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ได้ถามขึ้นว่า ใครเกลียดทหารขอให้ยกมือ ปรากฏว่าไม่มีใครยกมือ เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ถามอีกว่า ใครรักทหารขอให้ยกมือ ซึ่งประชาชนยกมือกันเต็มห้อง รวมถึง พล.อ.ประยุทธ์ก็ยกมือด้วย จากนั้นนายกฯ กล่าวว่า "ภูมิใจในความเป็นทหาร เพราะไม่ได้ทุจริตคดโกงใครเขามา และก็เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย คนที่เป็นทหารผ่านการรบมาทั้งนั้น ชายแดนสู้ภัยคอมมิวนิสต์ ผ่านศึกสงครามมาทั้งนั้น ใครไม่เป็นก็ไม่รู้ ไอ้คนที่พูดวันนี้ไม่เคยเป็นทหารสักคนเลย ลูกหลานของเราทั้งนั้น เอาล่ะพอแล้วเรื่องทหาร"
    นายกฯ กล่าวอีกว่า "มาช้าไปเปลี่ยนเครื่องมา ยังไงก็ต้องมา หลายคนบอกนายกฯ ลางไม่ดี กลับบ้านดีกว่า ไม่ต้องมาอีกแล้ว บางคนก็แช่งให้ตกๆ ไปเลย อะไรวะนั่น แค่จะมาเยี่ยมประชาชนยังแช่งผมเลย มันเกลียดชังอะไรผมขนาดนี้ ผมก็รักทุกคน ใครจะด่าจะว่าก็เป็นคนไทย ยิ่งผมเป็นนายกฯ เป็นหัวหน้า คสช.ก็ต้องรักคนไทยทั้งหมด ตราบใดที่ไม่ติดคุก ติดคุกยังต้องรักเลย ส่วนที่หนีคุกไม่รัก เข้าใจยัง ผิดก็จะหนี ไม่ใช่บอกว่าถูกแล้วจะหนี ถ้าถูกแล้วไม่ต้องหนี ไม่ได้ว่าใครเลย ขอสักที สงบมาให้หลายวันแล้ว"
    พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า การเลือกตั้งต้องสงบเรียบร้อย เพราะจะมีงานพระราชพิธีใช่หรือไม่ ใครสัญญาว่าจะให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยขอให้ยกมือ แผ่นดินนี้ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครทำอะไรได้ การเลือกตั้งต้องได้นายกฯ ที่มีคุณธรรม ไม่โกง ครั้งนี้ใครที่ทำให้คนไทยแตกแยก และทำให้ความรักความสามัคคีแตกสลาย เพื่อให้ตัวเองเข้ามามีอำนาจถือว่าใช้ไม่ได้ ทำให้คนอื่นอ่อนแอ แล้วตัวเองเข้ามาใช้ไม่ได้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ทำทุกวันนี้แม้ใครไม่ชอบ ตนเองก็ไปเกลียดไม่ได้ ยิ่งว่ายิ่งต้องทำ    
ซัดธนาธรอาจทำให้คดีเร็วเอง
    ขณะที่ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชี้แจงกรณีพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) กล่าวหานายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และพวกกรณีกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (2) กรณีไลฟ์สดวิจารณ์พลังดูด เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2561 เป็นการเร่งรัดและเลือกปฏิบัติ ว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจ ยืนยัน คสช.ไม่ได้เร่งรัด และไม่เลือกปฏิบัติ ทุกอย่างเป็นไปตามหลักการขั้นตอนปกติทั่วไป แต่อาจมีบางบุคคลพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง และโดยทั่วไปในทุกๆ คดีที่ศาลยังไม่ตัดสิน ย่อมถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ และเปิดกว้างให้ตัวผู้ถูกกล่าวหาทุกคนสามารถไปแก้ต่างได้ตามช่องทางและกระบวนการ    
    “คดีนี้ได้เริ่มต้นดำเนินการมาก่อนประกาศวันเลือกตั้ง แต่ความคืบหน้านั้นอาจเป็นที่ความร่วมมือของผู้ถูกกล่าวหาเองด้วย” พ.อ.วินธัยระบุ
    มีรายงานถึงขั้นตอนคดีกรณีดังกล่าวในวันที่ 27 ก.พ.2562 นั้น ตามหลักเเล้วนายธนาธรกับพวก ซึ่งได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนอยู่แล้ว โดยไม่ได้มีการยื่นคำร้องฝากขัง เมื่อพนักงานสอบสวนนำสำนวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้องนายธนาธรยื่นอัยการแล้วไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องฝากขังต่อศาลอาญาอีก เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนอยู่แล้ว และเลยขั้นตอนการฝากขังมาแล้ว 
    ส่วนนายธนาธรกล่าวถึงคดีนี้ว่า ไม่กังวล ทุกคนในพรรคทดแทนกันได้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ความเป็นพรรคอนาคตใหม่จะดำรงอยู่ต่อไป ส่วนกระแสตอบรับจากคนรุ่นใหม่เป็นอย่างดีนั้น ขอขอบคุณทุกคนมาก แต่ยืนยันว่าอนาคตใหม่สนใจกลุ่มคนทุกช่วงวัย แต่ที่สนใจคนรุ่นใหม่มาก ก็เพราะพร้อมเปิดกว้างรับแนวความคิดที่ก้าวหน้าได้ 
    เมื่อถามถึงการชี้แจงจากกองทัพว่างบประมาณได้รับมาจากฝ่ายการเมืองไม่เกี่ยวกับทหาร นายธนาธรกล่าวว่า นี่เป็นภาระของรัฐบาลพลเรือนในอนาคต กระแสการปฏิรูปกองทัพที่ทุกพรรคการเมืองพูดถึงในตอนนี้ แสดงให้เห็นว่าทุกอย่างเป็นไปได้ ก่อนหน้า 2-3 เดือนทุกคนต่างบอกว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน ทำไม่ได้หรอก แต่ตอนนี้กลายเป็นวาระหลักของสังคม เมื่อเราร่วมกันผลักดันรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ทุกอย่างก็เป็นไปได้ นี่คือสิ่งที่อนาคตใหม่ต้องการ
    นายธนาธรยังกล่าวถึงกระแสคนออกมาปกป้องในโลกโซเชียลว่า ซาบซึ้ง และขอบคุณกับสิ่งที่ทุกคนมอบให้กับเรามา คิดว่ากระแสฟ้ารักพ่อที่เกิดขึ้นเราไม่ได้ทำ นี่คือดอกไม้บานตามธรรมชาติ คิดว่านี่คือความก้าวหน้าของสังคมไทยอีกขั้น
    และเมื่อเวลา 12.30 น. ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต นายธนาธรพร้อมแกนนำพรรคลงพื้นที่พบปะนักศึกษาและประชาชนละแวกชุมชนสวนอ้อย โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ได้รับการตอบรับอย่างดี มีการตะโกนฟ้ารักพ่อ นำน้ำมาให้ดื่ม ทิชชู่มาเช็ดเหงื่อ พร้อมพูดคุยทักทายจำนวนมาก จนต้องจัดแถวต่อคิวเซลฟีกับนายธนาธรนานนับชั่วโมง โดยมีรายหนึ่งขอให้ชู 2 นิ้ว แต่นายธนาธรทำท่าชู 3 นิ้ว อันหมายถึงสัญลักษณ์ต่อต้านเผด็จการ ซึ่งนักศึกษาทุกคนก็พร้อมใจกันทำตาม นอกจากนี้ ระหว่างการเดินพบปะประชาชนนักศึกษาพ่อค้าแม่ค้าวินมอเตอร์ไซค์นายธนาธรยังได้แนะนำให้ร่วมกันศึกษานโยบายของอนาคตใหม่ก่อนตัดสินใจไปเลือกตั้งด้วย
หวังปฏิวัติ 2475 สมบูรณ์ 
    จากนั้นนายธนาธรได้ชวนนักศึกษาล้อมวง ก่อนกล่าวผ่านเครื่องขยายเสียงขนาดเล็ก รณรงค์ปลุกใจให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค.นี้ ใจความว่า อีกไม่กี่วันจะถึงวันเลือกตั้งแล้ว น้องนิสิตนักศึกษาทุกคนถือเป็นคนรุ่นใหม่ เกิดมาโดยไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง แต่โตขึ้นมาก็ต้องมาพบกับความขัดแย้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง แล้วเราเรียนจบออกมาจะทำงานอะไร คนที่รับความซวยคือพวกเราที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง คนที่ต้องกำหนดอนาคต 20 ปี พวกเราต้องเป็นคนกำหนดเอง อย่ายอมให้ที่คนยึดอำนาจเข้ามากำหนดอนาคตให้เรา
     "ต้องใช้การเลือกตั้งให้เป็นประโยชน์ เพื่อส่งเสียงคนรุ่นใหม่ให้ดังว่า เราพร้อมแล้ว คนอายุระหว่าง 18-25 ปี มี 8 ล้านเสียง คิดเป็น 1 ใน 8 ของจำนวน ส.ส.ในสภา หรือ 62 ส.ส. ถือว่ามีความหมายมาก อย่าไปเชื่อว่าไม่มีความหมาย เสียงของเราเปลี่ยนประเทศไทยได้ อนาคตใหม่มุ่งมั่นที่เอาสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรมกลับคืนมาให้สังคมไทย ใครฝันเหมือนกันให้มาร่วมลองทำกันให้ได้สักครั้ง สร้างสังคมที่เท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย มาร่วมกันทำภารกิจเมื่อ พ.ศ.2475 เพื่อให้ประชาธิปไตยยั่งยืนกัน ซึ่ง 86 ปียังทำไม่สำเร็จ ให้สำเร็จกันสักครั้ง" นายธนาธรกล่าว
    ทั้งนี้ เหตุการณ์ พ.ศ.2475 หรือเรียกว่าเป็นการปฏิวัติสยาม เกิดเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ซึ่งทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาโดยคณะราษฎร และทำให้ประเทศสยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกเกิดขึ้น
    ด้าน พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงคดีของนายธนาธรว่า ขณะนี้ดำเนินคดีอาญาอยู่ ถ้าศาลตัดสินค่อยมาว่ากันอีกที เพราะเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผู้สมัคร ส่วนหากถูกฝากขังหรือจำคุกโดยหมายของศาลนั้น ก็ต้องไปดูตัวบทกฎหมายอีกครั้ง
    ขณะที่นายเจษฎ์ โทณวณิก อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณีโลกออนไลน์เปิดโปงประวัตินายธนาธรในเว็บไซต์พรรคอนาคตใหม่ที่บิดเบือนว่า การปล่อยข้อมูลที่ผิดพลาดไว้ในเว็บไซต์พรรคนานถึง 5 เดือน ในแง่กฎหมายอาจไม่ได้มองว่าตั้งใจหลอกลวง แต่ความเป็นพรรคการเมืองที่ชูเรื่องของเทคโนโลยีและหาเสียงในโลกออนไลน์เป็นหลัก เมื่อพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องจากความเป็นจริง ก็ควรรีบแก้ไข ไม่ใช่ปล่อยทิ้งไว้นานถึง 5 เดือน การอ้างว่าเป็นความผิดพลาดของทีมงาน แต่ทิ้งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไว้นานขนาดนี้ เป็นคำแก้ตัวที่อ้างยาก 
    “ตามกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 73 (5)  กำหนดห้ามไม่ให้ผู้สมัครจูงใจผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งด้วยการหลอกลวง ซึ่งความผิดนี้มีโทษถึงขั้นยุบพรรค จึงต้องติดตามดูว่าจะมีผู้ใดไปยื่นคำร้องเรื่องนี้ต่อ กกต. หรือไม่ เรื่องนี้จึงอาจถือว่าเป็นมรสุมการเมืองลูกใหม่ของพรรคอนาคตใหม่” นายเจษฎ์กล่าว.

ปลุกทำภารกิจ2475 ธนาธรหวังอนาคตใหม่สานต่ออดีตสำเร็จ

   “บิ๊กตู่” ลั่นรักและภูมิใจที่ได้เป็นทหาร  ชี้อย่าให้ใครมาปลุกปั่นให้เกลียด เดือด! พวกแช่งหลังต้องเปลี่ยนเครื่องมากระบี่ บอกรักทุกคนแม้ติดคุกยกเว้นพวกหนี แนะอย่าเลือกคนโกงและพวกสร้างความแตกแยก “บิ๊กแดง” โชว์ฟิตบอก “สตรองอาร์มี่” วินธัยย้ำ คสช.ไม่ได้เร่งคดีธนาธร แย้มผู้ถูกกล่าวหาอาจมีส่วนเร่งเอง “ไพร่หมื่นล้าน” เปิดความในใจบอกหวังปฏิวัติ 2475 เสร็จสมบูรณ์! “เจษฎ์” ชี้กรณีแต่งประวัติถึงขั้นยุบพรรคหากมีคนร้อง
    เมื่อวันพฤหัสบดี ที่กองบัญชาการกองทัพบก ในเวลา 07.00 น. พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ได้นำนายทหารระดับ 5 เสือกองทัพบก รวมถึงผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกองบัญชาการกองทัพบก ผู้บังคับหน่วยของกองทัพภาคที่ 1 และกำลังพลในสำนักงานผู้บังคับบัญชา ทดสอบร่างกายประจำปี 2562 ครั้งที่ 1 ตามนโยบาย “Smart Soldiers Strong Army”  
    ทั้งนี้ ในการทดสอบได้มีเปิดเพลงหนักแผ่นดิน (อะคูสติกเวอร์ชั่น) มาร์ชกองทัพบก และความฝันอันสูงสุด เป็นต้น คลอไปด้วย ซึ่งระหว่างทดสอบ พล.อ.อภิรัชต์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ 904 (ผบ.ฉก.ทม.รอ. 904 ) ระบุว่า “ทหาร ทม.แข็งแรงทุกคน ยึดพื้น เข่าต้องไม่แตะพื้น”
    หลังจากการทดสอบ ผู้สื่อข่าวสอบถามว่าเหนื่อยมั้ย พล.อ.อภิรัชต์ตอบว่า “เหนื่อยอะไร ดูสิ ทหารรักกันจะตาย” พร้อมชี้ไปที่กำลังพลและผู้บังคับบัญชาระดับสูงก่อนกล่าวว่า “ให้กำลังใจ ทหารรักกันขนาดนี้ และพอใจสถิติวันนี้ในภาพรวม ผู้บังคับบัญชาทุกระดับมีกำลังกายที่แข็งแรง ทำให้สถิติดีขึ้นทุกคน สตรองอาร์มี่” 
    เมื่อถามต่อว่า ช่วงนี้กองทัพถูกโจมตีเยอะ จะชี้แจงอย่างไร พล.อ.อภิรัชต์กล่าวว่า “ก็นี่ไง สตรอง”
    ด้าน พล.ต.กฤษณ์ จันทรนิยม โฆษกกองบัญชาการกองทัพบก ได้ชี้แจงถึงบทบาทและหน้าที่ของกองบัญชาการกองทัพไทย โดยไล่เรียงประวัติการจัดตั้งกองทัพ รวมทั้งยกเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาพร้อมระบุว่า กองทัพไทยถือกำเนิดคู่กับความเป็นชาติไทย เหล่าทหารหาญได้พลีเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติ ซึ่งสิ่งที่ควรถามไม่ใช่ทำไมต้องมีกองบัญชาการกองทัพไทย แต่ควรถามว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยกันพัฒนาและเสริมสร้างให้กองบัญชาการกองทัพไทยสามารถขับเคลื่อนงานด้านการปฏิบัติการร่วมของกองทัพไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งห้วงสถานการณ์ก่อนการเลือกตั้ง อาจเชื่อมโยงนำกองทัพไปเป็นประเด็นในการหาเสียง จึงขอให้ทุกฝ่ายพิจารณาทำงานการเมืองอย่างสร้างสรรค์ โดยไม่สร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นในสังคม การนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองขอให้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ
    “บิ๊กตู่”ยกกรณีขึ้นนั่ง“ซี130”
    วันเดียวกัน ที่ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมอันดามัน ต.ปากน้ำ อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวมอบนโยบายแก่ข้าราชการและหน่วยงานในท้องถิ่นว่า ตั้งใจจะมาแต่เช้า จริงๆ ขึ้นเครื่องบินทหาร (ซี 130) มา แต่เครื่องมีปัญหา นี่คือเครื่องบินที่ใช้มา 30-40 ปีแล้ว นั่นคือเหตุผลที่ทำไมเราต้องหมุนเวียน เปลี่ยน จัดหา และซ่อมแซมเพิ่มเติม ซึ่งก็ซ่อมไม่รู้กี่ครั้งแล้ว และถ้ามันเสียบนอากาศมันก็แก้ไขไม่ได้ และวันหน้าเครื่องบินเหล่านี้เอาไว้ใช้รับพวกเรานั่นแหละ แล้วใครจะกล้าเสี่ยงขึ้น เมื่อมันไม่ปลอดภัย
    “วันนี้รัฐบาลพยายามเร่งรัดซ่อมแซมจัดหามาทดแทน แต่อย่างว่า มันต้องใช้เวลาและงบประมาณ การจัดซื้อจัดหามันจำเป็นต้องซื้อ เพราะบินไปแล้วเหลือ 3 ใบพัดมันไหวที่ไหน วันนี้โลกเขามีเทคโนโลยีขั้นสูงแล้ว เราไม่ได้มีเอาไว้ยิงหรือรบกับใคร แต่มันทำให้ไม่ต้องรบกัน นั่นคือศักยภาพของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพลทหาร นายทหาร มันก็ลูกหลานของท่านทั้งนั้น มันไม่เหมาะที่จะมาโจมตีกันในตอนนี้ มันไม่ใช่เวลา” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
    นายกฯ กล่าวอีกว่า วันนี้ไม่ใช่ทหารแล้ว แต่เป็นอดีตทหาร และยังมีความรัก ความมั่นใจในความเป็นทหาร ไม่อยากให้ใครมาทำลายความเชื่อมั่น ความไม่ไว้วางใจของตัวทหารทุกคน อย่าลืมถ้าทำให้เขาเสียขวัญ ไม่มีกำลังใจ แล้ววันหน้าใครจะมารบให้กับเรา อย่าให้ใครมาบิดเบือนตรงนี้ได้ ที่สำคัญในสมัยโบราณคนไทยก็เกณฑ์เป็นทหาร โดยไม่มีค่าจ้าง เวลาใครมาบุกประเทศ พระมหากษัตริย์นำทัพไปสู้รบใช่หรือไม่ ไม่ได้เงินได้ทอง ไปครั้งหนึ่ง 3-4 เดือน ออกจากบ้านคือไปแล้วไปลับเลย วันนั้นเขายังเสียสละได้ แต่วันนี้มันเกิดอะไรขึ้น
    ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ได้ถามขึ้นว่า ใครเกลียดทหารขอให้ยกมือ ปรากฏว่าไม่มีใครยกมือ เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ถามอีกว่า ใครรักทหารขอให้ยกมือ ซึ่งประชาชนยกมือกันเต็มห้อง รวมถึง พล.อ.ประยุทธ์ก็ยกมือด้วย จากนั้นนายกฯ กล่าวว่า "ภูมิใจในความเป็นทหาร เพราะไม่ได้ทุจริตคดโกงใครเขามา และก็เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย คนที่เป็นทหารผ่านการรบมาทั้งนั้น ชายแดนสู้ภัยคอมมิวนิสต์ ผ่านศึกสงครามมาทั้งนั้น ใครไม่เป็นก็ไม่รู้ ไอ้คนที่พูดวันนี้ไม่เคยเป็นทหารสักคนเลย ลูกหลานของเราทั้งนั้น เอาล่ะพอแล้วเรื่องทหาร"
    นายกฯ กล่าวอีกว่า "มาช้าไปเปลี่ยนเครื่องมา ยังไงก็ต้องมา หลายคนบอกนายกฯ ลางไม่ดี กลับบ้านดีกว่า ไม่ต้องมาอีกแล้ว บางคนก็แช่งให้ตกๆ ไปเลย อะไรวะนั่น แค่จะมาเยี่ยมประชาชนยังแช่งผมเลย มันเกลียดชังอะไรผมขนาดนี้ ผมก็รักทุกคน ใครจะด่าจะว่าก็เป็นคนไทย ยิ่งผมเป็นนายกฯ เป็นหัวหน้า คสช.ก็ต้องรักคนไทยทั้งหมด ตราบใดที่ไม่ติดคุก ติดคุกยังต้องรักเลย ส่วนที่หนีคุกไม่รัก เข้าใจยัง ผิดก็จะหนี ไม่ใช่บอกว่าถูกแล้วจะหนี ถ้าถูกแล้วไม่ต้องหนี ไม่ได้ว่าใครเลย ขอสักที สงบมาให้หลายวันแล้ว"
    พล.อ.ประยุทธ์กล่าวอีกว่า การเลือกตั้งต้องสงบเรียบร้อย เพราะจะมีงานพระราชพิธีใช่หรือไม่ ใครสัญญาว่าจะให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อยขอให้ยกมือ แผ่นดินนี้ศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีใครทำอะไรได้ การเลือกตั้งต้องได้นายกฯ ที่มีคุณธรรม ไม่โกง ครั้งนี้ใครที่ทำให้คนไทยแตกแยก และทำให้ความรักความสามัคคีแตกสลาย เพื่อให้ตัวเองเข้ามามีอำนาจถือว่าใช้ไม่ได้ ทำให้คนอื่นอ่อนแอ แล้วตัวเองเข้ามาใช้ไม่ได้ ขณะเดียวกันสิ่งที่ทำทุกวันนี้แม้ใครไม่ชอบ ตนเองก็ไปเกลียดไม่ได้ ยิ่งว่ายิ่งต้องทำ    
ซัดธนาธรอาจทำให้คดีเร็วเอง
    ขณะที่ พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชี้แจงกรณีพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) กล่าวหานายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และพวกกรณีกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (2) กรณีไลฟ์สดวิจารณ์พลังดูด เมื่อวันที่ 29 มิ.ย.2561 เป็นการเร่งรัดและเลือกปฏิบัติ ว่าเป็นหน้าที่ของตำรวจ ยืนยัน คสช.ไม่ได้เร่งรัด และไม่เลือกปฏิบัติ ทุกอย่างเป็นไปตามหลักการขั้นตอนปกติทั่วไป แต่อาจมีบางบุคคลพยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง และโดยทั่วไปในทุกๆ คดีที่ศาลยังไม่ตัดสิน ย่อมถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ และเปิดกว้างให้ตัวผู้ถูกกล่าวหาทุกคนสามารถไปแก้ต่างได้ตามช่องทางและกระบวนการ    
    “คดีนี้ได้เริ่มต้นดำเนินการมาก่อนประกาศวันเลือกตั้ง แต่ความคืบหน้านั้นอาจเป็นที่ความร่วมมือของผู้ถูกกล่าวหาเองด้วย” พ.อ.วินธัยระบุ
    มีรายงานถึงขั้นตอนคดีกรณีดังกล่าวในวันที่ 27 ก.พ.2562 นั้น ตามหลักเเล้วนายธนาธรกับพวก ซึ่งได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนอยู่แล้ว โดยไม่ได้มีการยื่นคำร้องฝากขัง เมื่อพนักงานสอบสวนนำสำนวนพร้อมความเห็นสมควรสั่งฟ้องนายธนาธรยื่นอัยการแล้วไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องฝากขังต่อศาลอาญาอีก เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้ต้องหาได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนอยู่แล้ว และเลยขั้นตอนการฝากขังมาแล้ว 
    ส่วนนายธนาธรกล่าวถึงคดีนี้ว่า ไม่กังวล ทุกคนในพรรคทดแทนกันได้ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ความเป็นพรรคอนาคตใหม่จะดำรงอยู่ต่อไป ส่วนกระแสตอบรับจากคนรุ่นใหม่เป็นอย่างดีนั้น ขอขอบคุณทุกคนมาก แต่ยืนยันว่าอนาคตใหม่สนใจกลุ่มคนทุกช่วงวัย แต่ที่สนใจคนรุ่นใหม่มาก ก็เพราะพร้อมเปิดกว้างรับแนวความคิดที่ก้าวหน้าได้ 
    เมื่อถามถึงการชี้แจงจากกองทัพว่างบประมาณได้รับมาจากฝ่ายการเมืองไม่เกี่ยวกับทหาร นายธนาธรกล่าวว่า นี่เป็นภาระของรัฐบาลพลเรือนในอนาคต กระแสการปฏิรูปกองทัพที่ทุกพรรคการเมืองพูดถึงในตอนนี้ แสดงให้เห็นว่าทุกอย่างเป็นไปได้ ก่อนหน้า 2-3 เดือนทุกคนต่างบอกว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน ทำไม่ได้หรอก แต่ตอนนี้กลายเป็นวาระหลักของสังคม เมื่อเราร่วมกันผลักดันรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ทุกอย่างก็เป็นไปได้ นี่คือสิ่งที่อนาคตใหม่ต้องการ
    นายธนาธรยังกล่าวถึงกระแสคนออกมาปกป้องในโลกโซเชียลว่า ซาบซึ้ง และขอบคุณกับสิ่งที่ทุกคนมอบให้กับเรามา คิดว่ากระแสฟ้ารักพ่อที่เกิดขึ้นเราไม่ได้ทำ นี่คือดอกไม้บานตามธรรมชาติ คิดว่านี่คือความก้าวหน้าของสังคมไทยอีกขั้น
    และเมื่อเวลา 12.30 น. ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต นายธนาธรพร้อมแกนนำพรรคลงพื้นที่พบปะนักศึกษาและประชาชนละแวกชุมชนสวนอ้อย โดยบรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก ได้รับการตอบรับอย่างดี มีการตะโกนฟ้ารักพ่อ นำน้ำมาให้ดื่ม ทิชชู่มาเช็ดเหงื่อ พร้อมพูดคุยทักทายจำนวนมาก จนต้องจัดแถวต่อคิวเซลฟีกับนายธนาธรนานนับชั่วโมง โดยมีรายหนึ่งขอให้ชู 2 นิ้ว แต่นายธนาธรทำท่าชู 3 นิ้ว อันหมายถึงสัญลักษณ์ต่อต้านเผด็จการ ซึ่งนักศึกษาทุกคนก็พร้อมใจกันทำตาม นอกจากนี้ ระหว่างการเดินพบปะประชาชนนักศึกษาพ่อค้าแม่ค้าวินมอเตอร์ไซค์นายธนาธรยังได้แนะนำให้ร่วมกันศึกษานโยบายของอนาคตใหม่ก่อนตัดสินใจไปเลือกตั้งด้วย
หวังปฏิวัติ 2475 สมบูรณ์ 
    จากนั้นนายธนาธรได้ชวนนักศึกษาล้อมวง ก่อนกล่าวผ่านเครื่องขยายเสียงขนาดเล็ก รณรงค์ปลุกใจให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 24 มี.ค.นี้ ใจความว่า อีกไม่กี่วันจะถึงวันเลือกตั้งแล้ว น้องนิสิตนักศึกษาทุกคนถือเป็นคนรุ่นใหม่ เกิดมาโดยไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง แต่โตขึ้นมาก็ต้องมาพบกับความขัดแย้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง แล้วเราเรียนจบออกมาจะทำงานอะไร คนที่รับความซวยคือพวกเราที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง คนที่ต้องกำหนดอนาคต 20 ปี พวกเราต้องเป็นคนกำหนดเอง อย่ายอมให้ที่คนยึดอำนาจเข้ามากำหนดอนาคตให้เรา
     "ต้องใช้การเลือกตั้งให้เป็นประโยชน์ เพื่อส่งเสียงคนรุ่นใหม่ให้ดังว่า เราพร้อมแล้ว คนอายุระหว่าง 18-25 ปี มี 8 ล้านเสียง คิดเป็น 1 ใน 8 ของจำนวน ส.ส.ในสภา หรือ 62 ส.ส. ถือว่ามีความหมายมาก อย่าไปเชื่อว่าไม่มีความหมาย เสียงของเราเปลี่ยนประเทศไทยได้ อนาคตใหม่มุ่งมั่นที่เอาสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรมกลับคืนมาให้สังคมไทย ใครฝันเหมือนกันให้มาร่วมลองทำกันให้ได้สักครั้ง สร้างสังคมที่เท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย มาร่วมกันทำภารกิจเมื่อ พ.ศ.2475 เพื่อให้ประชาธิปไตยยั่งยืนกัน ซึ่ง 86 ปียังทำไม่สำเร็จ ให้สำเร็จกันสักครั้ง" นายธนาธรกล่าว
    ทั้งนี้ เหตุการณ์ พ.ศ.2475 หรือเรียกว่าเป็นการปฏิวัติสยาม เกิดเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2475 ซึ่งทำให้ราชอาณาจักรสยามเปลี่ยนรูปแบบประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาโดยคณะราษฎร และทำให้ประเทศสยามมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกเกิดขึ้น
    ด้าน พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึงคดีของนายธนาธรว่า ขณะนี้ดำเนินคดีอาญาอยู่ ถ้าศาลตัดสินค่อยมาว่ากันอีกที เพราะเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของผู้สมัคร ส่วนหากถูกฝากขังหรือจำคุกโดยหมายของศาลนั้น ก็ต้องไปดูตัวบทกฎหมายอีกครั้ง
    ขณะที่นายเจษฎ์ โทณวณิก อดีตที่ปรึกษาคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวถึงกรณีโลกออนไลน์เปิดโปงประวัตินายธนาธรในเว็บไซต์พรรคอนาคตใหม่ที่บิดเบือนว่า การปล่อยข้อมูลที่ผิดพลาดไว้ในเว็บไซต์พรรคนานถึง 5 เดือน ในแง่กฎหมายอาจไม่ได้มองว่าตั้งใจหลอกลวง แต่ความเป็นพรรคการเมืองที่ชูเรื่องของเทคโนโลยีและหาเสียงในโลกออนไลน์เป็นหลัก เมื่อพบว่าข้อมูลไม่ถูกต้องจากความเป็นจริง ก็ควรรีบแก้ไข ไม่ใช่ปล่อยทิ้งไว้นานถึง 5 เดือน การอ้างว่าเป็นความผิดพลาดของทีมงาน แต่ทิ้งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องไว้นานขนาดนี้ เป็นคำแก้ตัวที่อ้างยาก 
    “ตามกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 73 (5)  กำหนดห้ามไม่ให้ผู้สมัครจูงใจผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งด้วยการหลอกลวง ซึ่งความผิดนี้มีโทษถึงขั้นยุบพรรค จึงต้องติดตามดูว่าจะมีผู้ใดไปยื่นคำร้องเรื่องนี้ต่อ กกต. หรือไม่ เรื่องนี้จึงอาจถือว่าเป็นมรสุมการเมืองลูกใหม่ของพรรคอนาคตใหม่” นายเจษฎ์กล่าว.

ทางรอดและทางตาย

เกมเปลี่ยน!
    พรรคไทยรักษาชาติกำลังทำอะไร? 
    แน่ใจนะว่า...ยังอยากจะเลือกตั้งวันที่ ๒๔ มีนาคมนี้
    แต่พฤติกรรม...ไม่น่าใช่
    ๘ ประเด็น คำชี้แจงคดียุบพรรค ที่ไปยื่นกับศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา 
    ....ข้อ ๑ การดำเนินกิจการของพรรคไทยรักษาชาติ เป็นไปตามประกาศอุดมการณ์ นโยบายในการยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    ข้อ ๒ พรรคทำตามประสงค์และความยินยอม ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ด้วยเจตนาบริสุทธิ์ภายใต้รัฐธรรมนูญ กฎหมาย ประกาศพระบรมราชโองการ พ.ศ.๒๕๑๕ และข้อบังคับพรรค ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติเป็นข้อห้ามมิให้ ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในฐานะนายกรัฐมนตรี
    ข้อ ๓ พรรคเข้าใจโดยสุจริตว่าการเสนอชื่อดังกล่าว ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นการกระทำตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๘, ๘๙ และ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. มาตรา ๑๓ และ ๑๔ ไม่ใช่เป็นการกระทำที่อาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    ข้อ ๔ เมื่อมีพระราชโองการวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ เวลา ๒๓.๐๐ น. ภายหลังที่พรรคได้แจ้งรายชื่อบัญชีนายกฯ ไปแล้วเมื่อเวลา ๐๙.๐๐ น. พรรคจึงได้แถลงโดยทันทีในวันรุ่งขึ้น เพื่อน้อมรับพระราชโองการไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ด้วยความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระราชวงศ์ทุกพระองค์ เป็นการแสดงเจตนารมณ์โดยชัดเจนว่าพรรคไม่ติดใจในการเสนอชื่อนายกฯ
    ข้อ ๕ การกระทำตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๘ และมาตรา ๘๙ ประกอบมาตรา ๘๗ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.๒๕๖๑ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๔ ให้ถือว่าการเสนอชื่อบุคคลใดที่มิได้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายดังกล่าว ให้ถือว่าไม่มีการเสนอชื่อบุคคลนั้น จึงไม่เป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามมาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง  พ.ศ.๒๕๖๐ ไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดให้ผู้ร้องกล่าวหาผู้ถูกร้องในทางใดๆ ต่อศาลได้
    ข้อ ๖ พรรคเห็นว่าคำว่า “ปฏิปักษ์” ให้ความหมายว่า ฝ่ายตรงกันข้าม ข้าศึก ศัตรู แต่การกระทำของผู้ถูกร้อง ได้กระทำการเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเป็นความประสงค์ของผู้ได้รับการเสนอชื่อ ที่อาสาเข้ามาทำงานให้กับประเทศชาติ และยินยอมให้ผู้ถูกร้องเสนอชื่อ มิใช่เป็นการแอบอ้างโดยพลการ
    ข้อ ๗ กกต.ไม่มีอำนาจหน้าที่นำพระราชโองการมาขยายความกล่าวหาพรรคว่า กระทำผิดตามมาตรา ๙๒ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๖๐ คำขอให้พิจารณาวินิจฉัยเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคนั้น เป็นการขยายความของพระราชโองการที่เป็นโทษ เป็นเรื่องที่มิบังควร และไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง อันเป็นการนำพระราชโองการมาแอบอ้างใช้อย่างมีเจตนาไม่สุจริต เป็นการกล่าวหาโดยสร้างฐานความผิดใหม่ ซึ่งไม่มีฐานกฎหมายใดๆ บัญญัติไว้
    ข้อ ๘ มติในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๖๒ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒ ของ กกต.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคไม่เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก กกต.จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย ตามมาตรา ๔๑ ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.๒๕๖๐ ประกอบระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวน และการวินิจฉัยชี้ขาด พ.ศ.๒๕๖๑ และมีพฤติกรรมไม่สุจริต ซึ่งพรรคมีหลักฐานนำเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญ และพรรคจะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินการที่พรรคไม่ได้รับความเป็นธรรมต่อไป
    พรรคไทยรักษาชาติมีความบริสุทธิ์ใจ ที่จะมุ่งนำเสนอพยานหลักฐานต่อศาลรัฐธรรมนูญ คดีนี้เป็นคดีที่มีข้อกล่าวหาต่อพรรคอย่างรุนแรง ขอศาลรัฐธรรมนูญได้โปรดรับฟังความทั้งสองฝ่ายก่อนมีคำวินิจฉัยใดๆ.....
    ตามข้อ ๒ "พรรคทำตามประสงค์และความยินยอม ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ ด้วยเจตนาบริสุทธิ์" 
    ไทยรักษาชาติกำลังจะบอกว่า ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ประสงค์จะเล่นการเมือง แล้วพรรคทำตามประสงค์อย่างนั้นใช่หรือไม่?
    นี่เป็นอีกประเด็นที่ร้ายแรง  
    อย่าลืมว่า ทั้ง ๘ ข้อนี้ เกิดขึ้นหลังพรรคไทยรักษาชาติ ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ว่า
     ....พรรคไทยรักษาชาติ ขอน้อมรับพระราชโองการข้างต้น ไว้ด้วยความจงรักภักดีต่อ พระเจ้าอยู่หัว และพระราชวงศ์ทุกพระองค์....
    ย้อนกลับไปวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ หลังพรรคไทยรักษาชาติยื่นรายชื่อบุคคลซึ่งมีความเหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง 
    คำให้สัมภาษณ์ของ ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช ย้อนแย้งกับคำชี้แจงคดียุบพรรค ในข้อที่ ๒ อย่างสิ้นเชิง
    "....ทางกรรมการบริหารฯ ได้มีการประชุมกันและเสนอชื่อจากสมาชิกพรรคไทยรักษาชาติถึงบุคคลซึ่งมีความเหมาะสมเข้าสู่การพิจารณาของกรรมการบริหารพรรค 
    และกรรมการบริหารพรรคก็เห็นพ้องว่ารายชื่อของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนฯ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เป็นชื่อที่มีความเหมาะสมที่สุด 
    จึงมีมติให้ความเห็นชอบ 
    หลังจากนั้นพรรคจึงได้ติดต่อและประสาน ซึ่งท่านเองก็มีพระเมตตา พรรคไทยรักษาชาติได้เสนอชื่อท่านให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบเป็นนายกรัฐมนตรีในนามของพรรคไทยรักษาชาติ....
    ...ฉะนั้น วันนี้ผมถือว่าเป็นพระเมตตาที่ท่านได้เสียสละและลงมาทำงานให้กับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านให้เกียรติตอบรับเป็นบัญชีนายกรัฐมนตรีในนามของพรรคไทยรักษาชาติ...”
    จะให้แปลความกันอย่างไร?
    อะไรเกิดขึ้นก่อนหลัง
    พรรคไทยรักษาชาติมีมติก่อนแล้วไปเชิญ จากนั้นมีการตอบรับ
    หรือมีประสงค์แล้วพรรคเชิญทีหลัง 
    ศาลรัฐธรรมนูญท่านจะเชื่อ "คำพูดแรก" หรือเปล่า ไม่ทราบได้ 
    แต่คำให้สัมภาษณ์ของหัวหน้าพรรค มาก่อนคำชี้แจงต่อศาล 
    ย้อนแย้งกันเองอย่างชัดเจน! 
    และความย้อนแย้งนี่เอง อาจกลายเป็นทางรอดของไทยรักษาชาติ 
    แต่ก็อาจเป็นการฝังไทยรักษาชาติได้เช่นกัน 
    เวลานี้เกมของไทยรักษาชาติคือ....ยื้อออกไป
    เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีหลังเลือกตั้ง 
    ถ้าถูกยุบ ผู้สมัครที่สอบได้ ย้ายไปเพื่อไทย 
    หากยุบก่อนคือเจ๊ง!
    ยุทธศาสตร์แตกแบงก์พันเหลว 
    แล้วจะดึงเกมยาวไปหลังเลือกตั้งได้หรือไม่? 
    การใส่พยานเข้าไปในกระบวนการพิจารณาของศาล นั่นคือเจตนาหรือเปล่า
    พรรคไทยรักษาชาติยื่นบัญชีพยานบุคคล 
    กรรมการบริหารพรรค ๑๔ คน
    พยานคนกลาง บุคคลภายนอกอีก ๕ ปาก 
    รวม ๒๑ ปาก 
    ศาลรัฐธรรมนูญจะไต่สวนทั้งหมดหรือไม่ 
    ใช้เวลาเท่าไหร่
    หากพิจารณาตามความเห็นของ "ชูชาติ ศรีแสง" อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ก็พอมองเห็นทิศทาง
    .....พรรคไทยรักษาชาติได้ยื่นรายชื่อบุคคลที่เป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคต่อ กกต.หรือไม่ และชื่อที่ยื่นคือบุคคลใดนั้น เอกสารที่ยื่นต่อ กกต. เป็นพยานหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า พรรคไทยรักษาชาติได้ยื่นชื่อบุคคลที่นายกรัฐมนตรีของพรรคและชื่อที่ยื่นคือบุคคลใดต่อ กกต.จริง 
    แม้จะนำพยานบุคคลและพยานเอกสารมาสืบมากมายแค่ไหนก็ไม่อาจเปลี่ยนข้อเท็จจริงเป็นว่า ไม่ได้ยื่นหรือยื่นแต่ชื่อบุคคลที่เป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคไม่ใช่ชื่อที่ยื่นต่อ กกต.ได้
    ส่วนประเด็นข้อกฎหมายที่ว่า การยื่นรายชื่อนายกรัฐมนตรีต่อ กกต. เป็นกระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามมาตรา ๙๒ (๒) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๖๐ หรือไม่ เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญที่ต้องวินิจฉัย 
    โดยคู่ความไม่จำเป็นต้องนำสืบพยานใดๆ
    จึงน่าจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำการสืบพยานใดๆ อีก 
    เว้นแต่พรรคไทยรักษาชาติต้องการประวิงคดีให้ล่าช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำพิพากษาคดีนี้หลังวันที่ ๒๔ มีนาคม ๒๕๖๒.....
    ไม่มีการเปิดเผยรายชื่อว่า พยานคนนอก ๕ ปากมีใครบ้าง  
    แต่ไม่น่าจะมีบิ๊กเซอร์ไพรส์รอบสอง
     ถ้ามี ก็ยิ่งกว่า "มิบังควร"
    ครับ....วานนี้ (๒๑ กุมภาพันธ์) ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประกาศว่า
    "....เสียงของเราเปลี่ยนประเทศไทยได้ อนาคตใหม่มุ่งมั่นที่จะเอาสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรมกลับคืนมาให้สังคมไทย ใครฝันเหมือนกันให้มาร่วมลองทำกันให้ได้สักครั้ง สร้างสังคมที่เท่าเทียมให้เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย มาร่วมกันทำภารกิจเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕  เพื่อให้ประชาธิปไตยยั่งยืนกัน ซึ่ง ๘๖ ปี ยังทำไม่สำเร็จ ให้สำเร็จกันสักครั้ง...."
    ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ ๑ หรือที่เรียกว่า หลัก ๖ ประการของคณะราษฎร มีดังนี้
    ๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
    ๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
    ๓.จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
    ๔.จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่
    ๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น
    ๖.จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
    ลูกผู้ชายอย่าคืนคำ ได้อำนาจแล้วทำให้ครบทั้ง ๖ ข้อ 
               -----------------
    ภูเขาอเนกล้ำ          มากมี
    บมิหนักแผ่นธรณี    หน่อยไซร้
    หนักนักแต่กระลี        ลวงโลก
    อันจักทรงทานได้    แต่พื้นนรกานต์
    สมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร
                            ผักกาดหอม

เสียงการเลือกตั้ง : วรศักดิ์ ประยูรศุข

เสียงการเลือกตั้ง : วรศักดิ์ ประยูรศุข



เลือกตั้ง ทำให้บรรยากาศการพูดจาแสดงความเห็นคึกคักขึ้นมาทันที

หลายๆ คนที่รักความสงบเงียบสงัด อาจตาขวาง บ่นว่าบ้านเมืองชักจะไม่สงบ

คิดได้ไม่ว่ากัน แต่ถ้าผู้คนใช้เสรีภาพแสดงความเห็นแล้วจะถือเป็นความไม่สงบ คงไม่มีที่ไหนสงบอีกแล้ว

อาจจะต้องปลีกวิเวกเข้าวัดเข้าวา หรือไปอยู่ตามหมู่เกาะไกลๆ แสดงหาความสันโดษกันไป

การเลือกตั้ง มีสาระสำคัญอยู่ที่ผู้สมัคร กับผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

สองฝ่ายนี้ จะต้องสื่อสาร บอกกล่าว รับฟังกันตลอดเวลา

ผู้สมัครต้องอธิบายว่า ทำไมถึงมาสมัคร วิเคราะห์วิจารณ์สถานการณ์บ้านเมือง มีปัญหากี่เรื่อง เรื่องไหนเร่งด่วนสุด จะแก้ไขอย่างไร ต้องแสดงวิสัยทัศน์กันหน่อย

ถ้ามีเหตุการณ์บ้านเมือง ต้องหยิบฉวยมาพูด เพื่อให้เห็นทรรศนะและจุดยืน

อย่างเพลง “หนักแผ่นดิน” ต้องนำมาพูดว่า เห็นด้วยไม่เห็นด้วยอย่างไร หรือเล็งเห็นว่าแผลเยอะ พูดไปเสียมวยเปล่า ก็อาจหลบๆ ไป

แกนนำบางพรรคบอกว่า ชอบมากปลื้มมาก โดนใจ แบบนี้ชัดเจนว่าสายไหน

หรือออกมาแสดงความเห็นในทางตรงข้าม ยิ่งชัดเจนไปอีกแบบ

เป็นห้วงเวลาที่ต้องพูด อธิบายให้มาก เพื่อให้ประชาชนรับทราบว่า แต่ละคนแต่ละพรรคคิดยังไง


เสียงที่สะท้อนกลับมา จะบ่งบอกว่า ประชาชนชอบหรือไม่ชอบกับทรรศนะและท่าทีที่แสดงออกมา

ส่วนสื่อต่างๆ มีหน้าที่นำเสนอ บางสื่อมีศักยภาพ เปิดเวที ตั้งหัวข้อ เชิญนักการเมืองมาดีเบต

เป็นโอกาสที่ประชาชนจะได้เห็น สัมผัสความคิดความอ่าน รู้ว่าพรรคนี้คิดแบบนี้ หรืออีกพรรคคิดอีกแบบ ไปไกลแล้ว

ทั้งหมดนี้ คือความจำเป็นที่ต้องมีการหาเสียง ถกแถลง ชี้แจง ในการเลือกตั้ง

สุดท้าย ประชาชนจะตกผลึก ตัดสินใจได้ว่าจะออกจากบ้านไปเลือกใครดี

ส่วนเลือกไปแล้ว อาจจะเลือกผิด ไปก่อเรื่องอื้อฉาว ถูกกล่าวหาทุจริตคิดมิชอบ เรื่องนี้มีกระบวนการเอาผิดเยอะแยะไปหมด บางทียังไม่ทันทำผิด แต่เขาจะเอาผิดแล้วก็ยังมี

ถ้ายังอยู่ได้ เพราะเพื่อนฝูงช่วยอุ้ม ครบวาระ คราวหน้า ประชาชนก็ไม่เลือก บอกกันว่าไม่เลือกหมอนี่
เพราะเข้าไปทำเรื่องมิดีมิร้าย เสียหายถึงคนเลือก เป็นวงจรปกติของประชาธิปไตย

วงจรนี้ นักวิชาการบางคนอาจจะบอกว่าอุบาทว์ เลือกตั้งแล้วโกงกิน กินมากเข้ายุบสภา เลือกตั้งใหม่ เข้าไปโกงกินอีก ฯลฯ

ก็ต้องใช้วิจารณญาณคิดให้ดี นักการเมืองโกงกิน สังคมและประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ได้ ร่วมตรวจสอบได้ กดดันให้ลงโทษได้

สาระสำคัญคือ ประชาชนต้องตรวจสอบผู้ใช้อำนาจได้ เสียงของชาวบ้านต้องมีความหมาย

ถ้าผิดไปจากนี้ แสดงว่า เกิดการฉ้อฉลอำนาจที่เป็นของประชาชนไปแล้ว

สุรชาติ บำรุงสุข | การควบคุมโดยพลเรือน 2019 : รากฐานของการปฏิรูปกองทัพ

“เมื่อกองทัพตระหนักว่าชื่อเสียง เกียรติภูมิ และความชื่นชมกำลังตกต่ำลงจากปัญหาของเผด็จการ เมื่อนั้นกองทัพจะริเริ่มแยกตัวออกจากรัฐบาลเผด็จการ”
Dennis Blair
Military Engagement (2013)
การควบคุมโดยพลเรือน (civilian control) ในทฤษฎีของวิชารัฐศาสตร์ ถือเป็นคุณลักษณะหลักของการจัดความสัมพันธ์พลเรือน-ทหารในระบอบประชาธิปไตย
ดังนั้น ความสัมพันธ์เช่นนี้ในทางทฤษฎีจะดีหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและ/หรือขีดความสามารถของรัฐบาลพลเรือน (รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง) ในการจัดความสัมพันธ์กับกองทัพ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะถูกวัดจากการเกิดรัฐประหาร หรือการจัดตั้งรัฐบาลทหารเข้าแทนที่รัฐบาลพลเรือนที่ถูกโค่นล้มลงด้วยการยึดอำนาจของทหาร
ฉะนั้นจึงกล่าวอย่างง่ายๆ สรุปในเบื้องต้นว่า ความสัมพันธ์พลเรือน-ทหารดี ถ้าไม่มีรัฐประหารเกิดขึ้น และในทำนองเดียวกันความสัมพันธ์พลเรือน-ทหารไม่ดี เมื่อเกิดมีรัฐประหารขึ้น
แต่ในความเป็นจริงการตั้งเกณฑ์ตัวชี้วัดเช่นที่กล่าวมาแล้วอาจจะไม่เพียงพอ เพราะในหลายๆ กรณีความสัมพันธ์พลเรือน-ทหารอาจจะตกต่ำลง โดยไม่เกิดรัฐประหารก็ได้
หากเป็นเช่นนี้ความสัมพันธ์พลเรือน-ทหารจะดีหรือไม่ดีจึงอาจจะต้องดูจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายการเมืองกับกองทัพ
กล่าวคือ ความสัมพันธ์เช่นนี้ดี ถ้าความขัดแย้งระหว่างสองฝ่ายมีอยู่ แต่อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และไม่ขยายตัวจนกลายเป็นปัญหาแตกหักระหว่างผู้นำการเมืองกับผู้นำทหาร ซึ่งก็คือสภาวะที่รัฐบาลพลเรือนยังสามารถดำรงอยู่ได้
และขณะเดียวกันก็ไม่เกิดรัฐประหาร
พลเรือน-ทหารในการเมืองอเมริกัน
ในความเป็นจริงของความสัมพันธ์พลเรือน-ทหารในทุกประเทศมักจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้นเสมอ เป็นแต่เพียงว่าความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นจะขยายตัวรุนแรงจนสามารถควบคุมได้หรือไม่ต่างหาก
นอกจากนี้เราอาจจะต้องยอมรับว่าระบอบประชาธิปไตยซึ่งเป็นการเมืองที่เป็นพหุนิยม การมีความคิดเห็นที่แตกต่างในทางนโยบายต้องถือว่าเป็นเรื่องปกติ อันอาจกล่าวเป็นประเด็นทางทฤษฎีและปฏิบัติที่ต้องการการถกเถียงว่า ผู้นำทหารมี “สิทธิและเสรีภาพ” ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะได้เพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงความคิดที่แสดงออกอย่างชัดเจนถึงการเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลพลเรือน อันมีนัยถึงการต่อต้านรัฐบาล
ซึ่งแน่นอนว่าในเวทีการเมืองของโลกตะวันตกนั้น การแสดงออกในลักษณะดังกล่าวของผู้นำทหารเป็นสิ่งที่ไม่อาจกระทำได้ (และไม่ได้รับอนุญาตให้กระทำ)
หรือในบางกรณีการแสดงออกเช่นนี้คือการ “กบฏ” หรือเป็นสิ่งที่เป็นความผิดทางกฎหมาย
เมื่อเป็นเช่นนี้ตัวชี้วัดที่ดีที่สุดของการควบคุมโดยพลเรือน (หรือความสัมพันธ์พลเรือน-ทหาร) ก็คือ ใครจะเป็นฝ่ายเหนือกว่าเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างพลเรือนกับทหารขึ้น?
การกล่าวเช่นนี้ก็เพื่อชี้ให้เห็นคำตอบอย่างเป็นรูปธรรมต่อปัญหาในทางทฤษฎีว่า เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ระดับของการควบคุมโดยพลเรือนจะเข้มแข็ง ถ้ารัฐบาลพลเรือนเป็นฝ่ายที่เหนือกว่าทหาร และระดับเช่นนี้จะอ่อนแอ ถ้าทหารเป็นฝ่ายที่เหนือกว่า ซึ่งคำตอบนี้หากพิจารณาจากเงื่อนไขทางภาษาแล้ว อาจจะไม่มีความชัดเจน แต่คำตอบที่เป็นจริงในทางปฏิบัติก็คือ ใครจะเป็นผู้ชี้ขาดผลของความเห็นต่างที่เกิดขึ้น และใครจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติตาม
เพื่อให้เห็นคำตอบอย่างเป็นรูปธรรมทางทฤษฎีในข้างต้น เราสามารถอธิบายได้จากสถานการณ์จริงของการเมืองอเมริกัน ที่ด้านหนึ่งอาจจะดูไกลจากตัวแบบของไทยอย่างมาก
แต่อีกด้านหนึ่งก็อาจจะต้องถือว่าการเมืองของความสัมพันธ์พลเรือน-ทหารของสหรัฐนั้น อาจจะช่วยเป็นข้อคิดให้กับการปฏิรูปกองทัพและการเมืองไทยในอนาคตของปี 2562 ได้บ้าง
ซึ่งจะขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้
1)ปัญหาความขัดแย้งในการตัดสินใจ
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น ทำให้เกิดคำถามทางทฤษฎีอย่างมากว่าประเทศประชาธิปไตยจะสามารถดำรงระบอบการปกครองที่เป็นเสรีนิยมของตนไว้ได้ต่อไปหรือไม่
รวมทั้งระบอบประชาธิปไตยจะไปด้วยกันได้หรือไม่กับเงื่อนไขของสงครามเบ็ดเสร็จมีกองทัพขนาดใหญ่เป็นองค์ประกอบสำคัญ
แต่เมื่อสงครามโลกดังกล่าวยุติลง ก็พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสงครามไม่ได้มีผลทำให้ประเทศประชาธิปไตยตะวันตกต้องเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของตนไปสู่การมีรัฐบาลทหารแต่อย่างใด
หรืออาจกล่าวได้ว่า สงครามขนาดใหญ่ไม่เป็นปัจจัยให้เกิดการรัฐประหารในระบอบการเมือง
ในสภาพเช่นนี้ยังเป็นการทดสอบการควบคุมโดยพลเรือนอีกด้วยว่า การควบคุมนี้จะดำรงอยู่ได้อย่างไรในสภาวะที่รัฐเสรีนิยมจะต้องเผชิญสงครามขนาดใหญ่
ตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจและสามารถหยิบขึ้นมาเป็นภาพสะท้อนของปัญหานี้ได้แก่ ข้อถกเถียงระหว่างประธานาธิบดีแฟรงคลิน รูสเวลต์ กับ พล.อ.จอร์จ ซี มาร์แชล เสนาธิการทหารบกของสหรัฐอเมริกาในปัญหาการบุกแอฟริกาเหนือ
ทำเนียบขาว (ฝ่ายการเมือง) มีแนวคิดที่จะเปิดการยุทธ์กับกำลังรบของกองทัพเยอรมันในยุทธบริเวณแอฟริกาเหนือมากกว่าการที่ฝ่ายสัมพันธมิตรจะเปิดการยุทธ์ขึ้นสู่ยุโรปโดยตรงในปี พ.ศ.2486
แต่ทางฝ่ายทหารของสหรัฐอเมริกาต้องการที่จะทำการยุทธ์ในลักษณะหลังมากกว่า เพราะในมุมมองทางทหาร การยกพลขึ้นบกที่ยุโรปนั้นจะเท่ากับเป็นการบุกเข้าไปสู่หัวใจของกองทัพนาซีโดยตรง แต่ทำเนียบขาวคิดว่าสหรัฐยังไม่มีความพร้อมรบมากพอ
ความเห็นที่แตกต่างระหว่างทำเนียบขาวกับฝ่ายทหารเช่นนี้ถูกชี้ขาดด้วยการตัดสินใจของประธานาธิบดีรูสเวลท์ที่จะให้บุกแอฟริกาเหนือก่อน และฝ่ายทหารก็ยอมรับในคำตัดสินของฝ่ายพลเรือนเช่นนี้ แม้ว่าผู้นำทหารจะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวก็ตาม
เพราะเชื่อว่าการบุกเข้าตีจุดที่เป็น “หัวใจ” ด้วยการบุกยุโรปโดยตรงน่าจะเป็นทางเลือกที่ถูกต้องมากกว่าในทางยุทธศาสตร์
ยุทธการ Torch ที่ในยุทธบริเวณแอฟริกาเหนือฝ่ายสัมพันธมิตรดำเนินการนั้น ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทหารเยอรมันถูกจับมากเป็นจำนวนถึง 275,000 นาย (มากกว่าจำนวนที่กองทัพโซเวียตจับทหารเยอรมันได้ในการยุทธ์ที่สตาลินการ์ด)
และผลของความพ่ายแพ้ของกองทัพเยอรมันในกรณีนี้ ทำให้วงล้อมของฝ่ายสัมพันธมิตรกระชับแน่นขึ้น เยอรมนีต้องย้ายกำลังถึง 30 กองพลกลับไปตั้งรับที่อิตาลี
แม้การยกพลขึ้นบกในยุทธบริเวณของยุโรปต้องเลื่อนออกไปอีกหนึ่งปี แต่ความสำเร็จจากการยุทธ์ที่แอฟริกาเหนือก็เป็นหลักประกันให้กับชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในการบุกฝรั่งเศสด้วยการยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดีในเวลาต่อมา (ยุทธการ Overlord ในวันที่ 6 มิถุนายน 2487)
นอกจากนี้ก็ยังมีกรณีอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างผู้นำทหารกับผู้นำรัฐบาลพลเรือน ฝ่ายการเมืองจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดในปัญหาเหล่านี้ จนทำให้กองทัพสหรัฐอเมริกาเป็นตัวแบบที่น่าสนใจของการที่ฝ่ายทหารยอมรับอำนาจการนำของฝ่ายพลเรือน
และการยอมรับเช่นนี้เกิดขึ้นในสถานการณ์สงครามเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นสงครามขนาดใหญ่
อีกทั้งทหารก็มิได้มีแนวคิดที่จะตัดสินใจยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือน ด้วยความเชื่อว่ารัฐบาลทหารจะสามารถดำเนินการสงครามได้ดีกว่ารัฐบาลพลเรือน และนำมาซึ่งชัยชนะ
2)ปัญหาความขัดแย้งในการบริหารกองทัพ
ปัญหาประการหนึ่งในกองทัพสหรัฐที่เห็นได้ชัดตั้งแต่ยุคสงครามกลางเมืองอเมริกันเป็นต้นมาก็คือ กองทัพจะยอมรับให้คนผิวสีเข้ามาเป็นทหารได้หรือไม่?
คำถามเช่นนี้เกิดขึ้นในสงครามกลางเมืองเช่นเดียวกับปัญหาการเลิกทาสของสังคมอเมริกัน ซึ่งต่อมาจะเห็นได้ว่ามีการจัดตั้งหน่วยทหารที่กำลังพลในหน่วยเป็นคนผิวสีทั้งหมด จนแม้กระทั่งในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ยังไม่มีหน่วยทหารที่เป็นการบูรณาการระหว่างกำลังพลที่เป็นคนผิวขาวและผิวสีให้อยู่ในหน่วยเดียวกัน
ดังนั้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงรัฐบาลของประธานาธิบดีแฮรี ทรูแมน ได้พยายามที่จะปรับปรุงสถานะของกำลังพลผิวสีในกองทัพสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายการเมืองกับฝ่ายทหารในปัญหานี้
กล่าวคือ ประธานาธิบดีทรูแมนได้ออกคำสั่งของฝ่ายบริหารที่ 9981 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2491 ให้ยกเลิกการแบ่งแยกผิวในกองทัพสหรัฐอเมริกา
อันก่อให้เกิดเสียงคัดค้านจากผู้นำทางทหารบางส่วนของสหรัฐอย่างมาก
ซึ่งแน่นอนว่าพวกเขาส่วนใหญ่เป็นคนผิวขาว มีทัศนะแบบอนุรักษนิยม และไม่ต้องการให้มีคนผิวสีแทรกเข้ามาในกองทัพ
การตัดสินใจของทรูแมนมีเหตุผลทางการเมืองอยู่ในตัวเองด้วย เพราะเขาต้องการคะแนนเสียงจากคนผิวสีสำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2491
แต่การตัดสินใจเช่นนี้ก็มีเหตุผลทางการทหารอยู่ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าสหรัฐอเมริกาต้องเข้าสู่สงครามเกาหลีจริง กำลังพลซึ่งเป็นคนผิวขาวที่มีอยู่ในกองทัพไม่เพียงพอ
และในที่สุดทำเนียบขาวก็เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดปัญหาความขัดแย้งในเรื่องนี้
ดังนั้น เมื่อสหรัฐอเมริกาต้องเข้าสงครามเกาหลีในปี 2493 เงื่อนไขสงครามดังกล่าวจึงกลายเป็นปัจจัยบังคับให้การบูรณาการระหว่างผิวเกิดขึ้นอย่างแท้จริงในกองทัพสหรัฐ
และจากการตรวจสอบพบว่าหน่วยที่มีกำลังพลผสมระหว่างทหารสองสีผิว ทำหน้าที่ได้ดีกว่าหน่วยที่เป็นกำลังพลแบบคนสีผิวเดียว (คือผิวขาวทั้งหมดหรือผิวสีทั้งหมด)
ผลที่เกิดขึ้นเช่นนี้ในช่วงต้นทำให้แรงต้านในสังคมอเมริกัน ไม่ว่าจะมาจากผู้นำกองทัพ ฝ่ายอนุรักษนิยมในรัฐสภา หรือพวกแบ่งแยกผิวในสังคม แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงนโยบายการบูรณาการสีผิวในกองทัพได้
ดังนั้น ในต้นทศวรรษของปี พ.ศ.2493 แรงต้านทานในกองทัพต่อปัญหานี้ก็ถือได้ว่ายุติลง แม้จะยังคงมีเสียงคัดค้านอยู่ในกองทัพรัฐสภาและในสาธารณะบ้างก็ตามที
กรณีนี้จึงเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่างทางการเมืองกับกองทัพ แต่สุดท้ายฝ่ายการเมืองก็เป็นผู้ชี้ขาดในการเลือกนโยบายที่จะดำเนินการภายในกองทัพ และถือได้ว่าเป็นอีกตัวอย่างของความสำเร็จที่สำคัญในการแก้ปัญหาสังคมในเรื่องของความขัดแย้งระหว่างสีผิวอีกด้วย เพราะในขณะนั้นสังคมอเมริกันโดยรวมยังไม่ยอมรับในเรื่องความเท่าเทียมกันของคนผิวสี
ข้อคิดสำหรับการเมืองไทย 2562
ตัวแบบข้างต้นชี้ให้เห็นถึงปัญหาความขัดแย้งเชิงนโยบายระหว่างผู้นำการเมืองกับผู้นำกองทัพได้เป็นอย่างดี ซึ่งในกรณีเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการที่ฝ่ายการเมืองดำรงฐานะของการเป็นฝ่ายที่เหนือกว่า เพราะฝ่ายการเมืองต่างหากที่จะต้องเป็นผู้ตัดสินใจชี้ขาดในนโยบาย
ไม่ใช่การปล่อยให้กองทัพดำรงฐานะเป็นอิสระและกลายเป็นผู้ตัดสินนโยบายการเมืองเอง หรือมีสถานะเป็น “รัฐซ้อนรัฐ” และการเมืองในสภาวะเช่นนี้ไม่มีทางที่จะสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ในระบอบการเลือกตั้งที่กองทัพเป็นใหญ่ทางการเมือง ความขัดแย้งในระบอบนั้นจะจบลงด้วยการรัฐประหารเสมอ
อย่างไรก็ตาม การกล่าวเช่นนี้ก็มิได้หมายความว่า การจัดความสัมพันธ์พลเรือน-ทหารในระบอบประชาธิปไตยจะต้องปฏิเสธการมีส่วนร่วมเชิงนโยบายของกองทัพ เช่น ในลักษณะของความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ผู้นำทางทหารในระดับสูงมีฐานะเป็น “ที่ปรึกษา” ด้านความมั่นคงของผู้นำรัฐบาลพลเรือน
เพราะหากเป็นเรื่องของนโยบายด้านการทหารและความมั่นคงของประเทศแล้ว กองทัพในฐานะองค์กรหลักที่มีบทบาทในเรื่องดังกล่าว ก็น่าที่จะสามารถมีส่วนร่วมในเรื่องเหล่านี้ได้
เป็นแต่เพียงว่าการมีส่วนร่วมเช่นนี้จะต้องไม่ใช่การชี้ขาด
เพราะอำนาจในการตัดสินใจเชิงนโยบายสุดท้ายนั้นยังต้องอยู่กับรัฐบาลพลเรือนในกรอบของการควบคุมโดยพลเรือน ภายใต้หลักการ “พลเรือนเป็นใหญ่” (civilian supremacy) มิใช่อยู่กับกองทัพเป็นใหญ่ในฐานะเป็นผู้ถืออาวุธ
ตัวแบบที่นำเสนอในข้างต้นแม้จะเป็นตัวแบบจากประสบการณ์ทางการเมืองของสหรัฐที่อาจจะดูไกลตัวอยู่บ้าง
แต่ก็หวังว่าประเด็นในข้างต้นเป็นข้อคิดสำหรับอนาคตของการจัดความสัมพันธ์พลเรือน-ทหารในสังคมไทย
ดังนั้น ถ้าสังคมไทยในปี 2562 จะต้องคิดถึงเรื่องของการปฏิรูปกองทัพ สิ่งที่จะต้องคิดคู่ขนานก็คือ แนวคิด “การควบคุมโดยพลเรือน”
การปฏิรูปกองทัพในระบอบประชาธิปไตยจะไม่ประสบความสำเร็จเลย หากระบอบการเมืองไม่สามารถลดทอนแนวคิด “การควบคุมโดยทหาร” ให้หมดไป และอาจจะต้องยอมรับว่า การดำรงอยู่ของแนวคิด “ทหารเป็นใหญ่” (MILITARY SUPREMACY) คือจุดเริ่มต้นของการทำรัฐประหารนั่นเอง!