PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559

"นายกฯ" รับลูก "มีชัย" ปมใช้ ม.44 ตั้งคณะทำงานสร้างปรองดอง

"นายกฯ" รับลูก "มีชัย" ปมใช้ ม.44 ตั้งคณะทำงานสร้างปรองดอง โยนฝ่าย ก.ม.พิจารณารายละเอียด ยันไม่ไฟเขียว ปชป.ประชุมพรรค ขู่เล่นงานพวกจ้อผ่านสื่อ
เมื่อวันที่ 6 ม.ค.59 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่ นายมีชัย ฤชุพันธ์ุ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เสนอให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อแต่งตั้งคณะทำงานสร้างความปรองดองว่า จะให้ฝ่ายกฎหมายได้หารือกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในเรื่องดังกล่าวก่อน ส่วนจะสามารถทำได้หรือไม่นั้น ตนยังไม่รู้ ต้องให้ฝ่ายกฎหมายไปพิจารณาก่อน ซึ่งในส่วนของรัฐบาลก็มี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี
เมื่อถามว่า มีความจำเป็นแค่ไหนในการใช้ มาตรา 44 แต่งตั้งคณะทำงานดังกล่าว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่มีอะไร ในเรื่องความปรองดองตนบอกแล้วว่า ต้องมีการปรองดอง มีคณะกรรมการปรองดอง ที่จะทำในระยะเริ่มต้น ไม่ได้หมายความว่าจะไปนิรโทษกรรม แต่ต้องเอาคนเข้ามาสู่กระบวนการปรองดอง แล้วก็ไปดูในเรื่องกฎหมาย ผิดกฎหมายอะไร ก็กลั่นกรองกันอีกครั้ง จากนั้นจึงไปสู่ขั้นตอนต่อไปว่า จะทำอย่างไรต่อ หากไม่เริ่มตรงนี้ก็ไปไม่ได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็อาจมีความจำเป็น ถ้าไม่จำเป็น นายมีชัยคงไม่เสนอมา ซึ่งจะหาทางทำให้
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์ เตรียมที่จะขอเปิดประชุมพรรคเป็นกรณีพิเศษ เพื่อพิจารณาโครงสร้างพรรคว่า ยังไม่ให้ประชุม ส่วนคนที่มาพูดปากเปล่าตามสื่อต่างๆ ตนยังไม่ได้เล่นงานเลย ส่วนกรณีการตรวจสอบการใช้งบประมาณโครงการประดับไฟตกแต่งที่ลานคนเมือง 5 ล้านดวง มูลค่า 39.5 ล้านบาท นั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการด้านกฎหมายดำเนินการ

ศึกในพรรคประชาธิปัตย์


แอบมองพรรคประชาธิปัตย์เขาลากไส้กันมาพรรคหนึ่งแล้ว ก็พอมองออกว่าใครเป็นใคร อยู่กลุ่มไหน และต้องการอะไร
ผมชอบใจคุณวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม. เป็นพิเศษ เพราะตามจิกชายหมู ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการเลือกตั้งมาตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2556 ด้วยคะแนน 1.2 ล้านเสียง
พรรคประชาธิปัตย์เขาแบ่งค่ายตรวจสอบกัน ก็ถือเป็นเรื่องดีครับ แต่ที่แปลกคือ กทม.ภายใต้การดูแลของ "ชายหมู" มีเรื่องอื้อฉาวเยอะ และมาเป็นระยะๆ ก็ยังปล่อยให้เป็นอยู่อย่างนั้น
ตั้งแต่ทีวีวงจรปิด (กล้องดัมมี)
ทุจริตเครื่องดนตรี
จนมาถึงการใช้เงิน 39 ล้าน เนรมิตไฟประดับลานคนเมือง ด้วยหลอดแอลอีดี ที่คนทั่วไปรู้สึกว่ามันแพงไป
การบริหาร กทม.ในภาพรวมของ "ชายหมู" สร้างความไม่สบายใจให้กับสมาชิกพรรคจำนวนมาก
ถึงขั้นที่ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" หัวหน้าพรรค ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ทบทวนประกาศที่ 57/2557 กรณีขอให้ยกเลิกการห้ามพรรคการเมืองจัดกิจกรรมทางการเมือง
มีการแจ้งวัตถุประสงค์ไป 4 ข้อ และหนึ่งในนั้นคือ
"พรรคมีสมาชิกในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน ซึ่งพรรคต้องรับผิดชอบทั้งการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความโปร่งใส ต้องมีการประชุมเพื่อตั้งกรรมการตรวจสอบทางวินัยกรณีที่มีปัญหาเรื่องจรรยาบรรณ หรือลงโทษสมาชิกตามความจำเป็น"
ซึ่งก็คือกรณีของ "ชายหมู"
อันนี้ผมนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ให้เห็นภาพ เพื่อจะพูดถึงประเด็นถัดไป
ช่วงเทศกาลปีใหม่มีข่าวใหญ่สำหรับพรรคประชาธิปัตย์คือข่าว "สุรินทร์ พิศสุวรรณ" พร้อมชิงเก้าอี้หัวหน้าพรรค แต่ก็เป็นข่าวพาดหัวแค่วันเดียว เพราะเจ้าตัวออกมาบอกว่า คนเชียร์พูดเกินไปหน่อย
ทีนี้มันมีข่าวให้สะดุ้งโหยง เพราะ "หมอผี" สัมพันธ์ ทองสมัคร อดีตพี่ใหญ่ประชาธิปัตย์นครศรีธรรมราช ออกมาเชียร์ "ชายหมู" นั่งหัวหน้าพรรค
ถ้าประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง "ชายหมู" จะนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี ก็สำลัก! กันซิครับ
จะบอกแฟนๆ "กำนันสุเทพ" ให้ชื่นใจกันหน่อย คนในพรรคประชาธิปัตย์เขาถือกันว่า "ชายหมู" เป็นคนที่กำนันสนับสนุนนะครับ
ครับ...ความขัดแย้งในพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ถึงขั้น เมื่อครั้งกลุ่ม 10 มกรา ที่ก่อตั้งโดย "เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์" และ "วีระ มุสิกพงศ์" เมื่อปี 2530 แตกโพละออกมา
ชาวบ้านชาวช่องกำลังลุ้นรัฐบาลลุงตู่ปฏิรูปประเทศ ระหว่างนี้นักการเมืองอยู่ในช่วงตกงาน ก็ไม่ควรเผาเวลาให้สูญเปล่า พรรคการเมืองคิดหาวิธีปรับปรุงพรรคเพื่อรับการปฏิรูปกันได้แล้วครับ
อย่าไปกังวล ประกาศที่ 57/2557 เลยครับ แค่ชวนกันไปกินข้าว ตั้งกรรมการขึ้นมาปฏิรูปพรรค ผมว่า คสช.เขาไม่ห้ามหรอก
เอาเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์ มองไปข้างหน้า ยังต้องเหนื่อยกันอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะตำแหน่งหัวหน้าพรรค
"อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" อาจช้ำเกินไปแล้วสำหรับการเมืองยุคปฏิรูปประเทศ ประเด็นนี้คนในพรรคประชาธิปัตย์ต้องคิดกันให้หนัก ถ้าอยากจะเอาชนะการเลือกตั้ง
อีกทั้งตัวเลือกที่ไม่ด้อยกว่า "พี่มาร์ค" ก็มีอยู่หลายคน
"สุรินทร์ พิศสุวรรณ" "ศุภชัย พานิชภักดิ์" หรือจะกลับไปใช้บริการ "ชวน หลีกภัย" หรือจะยังเอา "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" คิดให้มาก!
แต่คงไม่ใช่ "ชายหมู" นะครับ.

′ถาวร′ลั่น อย่ากลัวทหาร ปชช.จะอดตายหมดเเล้ว จี้ ′บิ๊กตู่′แก้ปัญหาราคายางตก

วันที่ 06 มกราคม พ.ศ. 2559 เวลา 18:14:46 น มติชน

  
http://www.matichon.co.th/online/2016/01/14520784491452078497l.jpg

เมื่อวันที่ 6 มกราคม นายถาวร เสนเนียม อดีตแกนนำ กปปส. และอดีตส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำของรัฐบาลว่า ขณะนี้ความโชคร้ายของเกษตรกรชาวสวนยางที่ฝันร้ายเมื่อ 20 ปีที่แล้วกลับมาหลอกหลอนอีกครั้ง ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายกว่าเดิม และแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในเรื่องของค่าครองชีพที่ปรับขึ้นมาสูงมาก

วันนี้รายได้จากยางพาราซึ่งเป็นรายได้หลักเพียงอย่างเดียวของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง เมื่อราคาตกต่ำลงมาก ขณะนี้ยางแผ่นดิบราคาเหลือเพียงประมาณ 30 บาท ต่อกิโลกรัม น้ำยางสด ประมาณ 25 บาท ต่อกิโลกรัม และมีแนวโน้มจะปรับต่ำลงไปอีก แม้ว่ารัฐจะอ้างเหตุผล เศรษฐกิจโลกที่ยังซบเซา ราคาน้ำมันที่ตกต่ำ อัตราการเจริญเติบโตของจีนมีปัญหา ผลผลิตยางพารามากกว่าการใช้หรือสารพัดเหตุผลเพื่อพูดให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางรู้สึกร่วมคล้อยตามและจะได้ไม่โวยวายก็ตาม

นายถาวร กล่าวต่อว่า หน้าที่ของรัฐบาลจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ รวมถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง จะต้องใช้ความรู้ความสามารถให้มากกว่าในช่วงปกติ ไม่ใช่ไปโทษเหตุการณ์ต่างๆ โดยหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่รัฐไม่เคยคิดจะนำมาใช้อย่างจริงจัง คือ การอาศัยความร่วมมือของประเทศผู้ผลิตยางรายใหญ่ 3 ประเทศ ซึ่งมีผลผลิตรวมกันมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตยางทั้งโลก

โดยผลักดันให้ปัญหาราคายางตกต่ำเป็นปัญหาระดับภูมิภาคถือเป็นความเดือดร้อนร่วมกันของเกษตรกรชาวสวนยางทั้ง 3 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งจะต้องแก้ไขปัญหาผ่านบริษัทร่วมทุนไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย (IRCo) ที่ดูแลโดยคณะกรรมการอำนวยการ (BoDs:Boards of Directors ) และคณะกรรมการกำหนดกลยุทธ์ (CSMO) ที่มีตัวแทนทั้งสามประเทศเป็นกรรมการโดยการควบคุมด้านนโยบายจากคณะกรรมการร่วมสภาไตรภาคียางพารา (ITRC)

นอกจากนี้ รัฐมนตรีร่วมของ 3ประเทศ ได้ตกลงร่วมกันที่บาหลีเรียกว่าข้อตกลงบาหลี(Bali Declaration 2001) ที่ได้รับการรับรองถูกต้องตามกฎหมายผ่านทางรัฐสภาของทั้ง 3 ประเทศเรียบร้อยแล้ว ในสัดส่วนการร่วมทุน IRCo 4:3:2 (ไทย:อินโดนีเซีย:มาเลเซีย) มีสำนักงานอยู่ในกรุงเทพฯ และทราบกันอยู่แล้วว่าการตั้งบริษัทร่วมทุนนี้ขึ้นมา เพื่อเป็นองค์กรบริหารจัดการราคายางพาราในตลาดโลกให้อยู่ในระดับที่เกษตรกรผู้ผลิตได้รับผลตอบแทนคุ้มการลงทุน ราคามีเสถียรภาพ

นายถาวร กล่าวว่า หากมีปัญหาราคายางตกต่ำ ทางบริษัทร่วมทุนฯ จะเข้าไปป้องกันแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำทันทีและไม่ผิดกฎ WTO โดยใช้ 3 มาตรการสำคัญ คือ 1.มาตรการการบริหารจัดการการผลิต 2.มาตรการการบริหารจัดการการส่งออก และ 3.กลยุทธ์ด้านการตลาด ดังนั้นไทยในฐานะเป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ที่สุดของโลกควรจะเป็นผู้เริ่มต้นหาความร่วมมือโดยทันทีเพื่อเรียกประชุมฉุกเฉิน และเสนอให้มีการระดมทุนนำเงินเข้ามาซื้อยางดูดซับออกจากระบบตามมาตรการกลยุทธ์ด้านการตลาดโดยทันที ซึ่งช่วงนี้กำลังเข้าสู่ปลายฤดูการกรีดยางและกำลังจะปิดกรีดอีกไม่กี่วันข้างหน้า ดังนั้น โอกาสที่จะผลักดันให้ราคาขยับขึ้นได้แน่นอน หากใช้มาตรการนี้ ราคายางจะปรับตัวสูงขึ้นเป็นผลดีต่อชาวสวนยาง เป็นการรับผิดชอบร่วมกันของ 3 ประเทศ เกิดความโปร่งใสในการดำเนินการ ประหยัดงบประมาณ และการดำเนินการภายใต้บริษัทร่วมทุนฯ

“ผมขอร้องรัฐบาลอีกครั้งว่าจะมัวแต่โทษสถานการณ์ไม่ได้อีกแล้ว นั่งอยู่เฉยๆ ก็ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องของคนจนที่มีจำนวน 20 ล้านคน รัฐบาลกลับวางเฉย แต่ได้ช่วยคนรวยและคนชั้นกลางในโครงการช้อปช่วยชาติไปหยกๆ ทั้งที่โครงการนี้คนจนไม่ได้รับประโยชน์อะไร

ผมขอกราบวิงวอนท่านนายกฯ อีกครั้งหนึ่งอย่าปล่อยให้ชาวสวนยางทั่วประเทศทนไม่ได้ เพราะถ้าประชาชนทนไม่ไหว ก็จะถูกบังคับให้มาเคลื่อนไหว เช่น นัดประชุม ยื่นหนังสือเรียกร้อง ขึ้นมาประชุมกับรัฐบาล หรือ ปิดการกรีดยาง เอาน้ำยางมาราดถนน ซึ่งผมไม่กลัวจะโดนคดีอีกสัก 2-3 คดีก็ไม่เป็นไร เพราะเป็นเรื่องของปากท้อง อย่าไปกลัวทหาร เพราะพี่น้องจะอดตายอยู่แล้ว”นายถาวร กล่าว 

บิ๊กป้อม สั่งกห.แจง ปม"อภิสิทธิ์"ใช้เอกสารเท็จจริงสมัครทหาร และถูกปลด จะลงเลือกตั้ง ได้หรือไม่



บิ๊กป้อม สั่งกห.แจง ปม"อภิสิทธิ์"ใช้เอกสารเท็จจริงสมัครทหาร และถูกปลด จะลงเลือกตั้ง ได้หรือไม่
พลเอกประวิตร รมว.กห.ปัดตอบปม "อภิสิทธิ์"หนีทหาร ถูกปลดออกจากราชการทหาร เพราะใช้เอกสารเท็จสมัครรับราชการทหาร นั้น จะลงเลือกตั้งได้หรือไม่ ระบุผมยังไม่ได้ดู ว่าจะส่งผลอย่างไร โดย จะให้ กระทรวงกลาโหม ชี้แจง
พลเอกประวิตร" สั่งกลาโหม แจง ปม"อภิสิทธิ์" ถูกปลดจากทหาร เพราะใช้เอกสารเท็จสมัครทหาร เผยยังไม่ได้ศึกษาขาดคุณสมบัตรสมัคร ส.ส.หรือไม่ ระบุ ผิดคือผิด

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กล่าวถึงกรณีนายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) ออกมาระบุว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ไม่ขาดคุณสมบัตรสมัคร ส.ส. หลังกระทรวงกลาโหมมีคำสั่งที่ 1163/2555 ให้ปลดออกจากราชการ นั้น ว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องดังกล่าว ตนยังไม่ได้ศึกษา ซึ่งตนจะตรวจสอบแล้วให้กระทรวงกลาโหมชี้แจง ถ้าผิดกฎหมายก็คือผิด แต่ขณะนี้รัฐธรรมนูญยังไม่ออกก็ขอให้ใจเย็นๆ

"พลเอกประวิตร" ถกคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ คุยแก้ประมงผิดกม.-การบิน-ค้ามนุษย์


"พลเอกประวิตร" ถกคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ คุยแก้ประมงผิดกม.-การบิน-ค้ามนุษย์ สั่งเร่ง Recertification 28 สายการบิน และเร่งการรับบุคลากร 514 คน /เผย ปัญหาเบาลงเยอะ สั่งจัดนิทรรศการ ผลงาน บ่นต้องมาแก้ปัญหาในอดีต เพื้อยั่งยืน ไม่อาจปล่อยประเทศเดืนไปไีร้เป้าหมาย
ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม กล่าวภายหลัง การประชุมคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ กลุ่มที่5 ด้านความมั่นคง
พลเอกประวิตร เผยว่า สั่งให้จัดนิทรรศการ ผลงานแก้IUU Fishing, ICAO และค้ามนุษย์ ที่ทำเนียบฯ เพื้อให้สื่อและประชาชนรับทราบ โดย วันที่20-21 มค. นี้ เขาจะมาตรวจเรื่อง ประมง และค้ามนุษย์
พลเอกประวิตร กล่าวว่า ปัญหาเบาลงไปเยอะ ทั้งประมงผิดกม. ค้ามนุษย์ การตรวจสอบย้อนกลับ การหาที่อยู่ของเรือ
"ประชุมเรื่องเยอะไปหมด ต้องมาแก้ปัญหาในอดีต หวังทำให้เกิดยั่งยื่น จะปล่อยให้ประเทศเดินไปเรื่อยๆ โดยไม่มีเป้าหมายหรือไง" พลเอกประวิตร กล่าว
มีรายงานว่า ในที่ประชุม มีการให้ ทำ new master plan ในการแก้ปัญหาระยะยาว ของทั้ง ประมง การบิน และค้ามนุษย์
ในเรื่องการบินพลเรือนนั้น ให้เร่งรัด สายการบิน ทั้ง 41 แห่ง เข้าสู่กระบวนการ ออกใบรับรองใหม่(Recertification) และ สรรหาบุคลากรตามโครงสร้างใหม่
ในส่วนของกพท.ใหม่ นั้นจะต้องมีการรับ บุคลากร514 คน โดย ในจำนวนนี้ 200 คน ที่มีความรู้ประสบการณ์เดิม ส่วนที่เหลือ จะดึงบุคลากรจากภาคธุรกิจ ให้ออกมา อยู่ และอีกส่วนหนึ่ง คือ รับจากคนที่มีความรู้ คนรุ่นใหม่ โดยทั่งหมดนี้ ให้ครบ ในมีนาคม 2559
นอกจากนึ้ เราจะ ขอให้ Easa มาช่วยเป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำ ในด้านงานบริหาร และเทคนิค เพราะองค์ความรู้เรายังไม่ได้มาตรฐาน
นอกจากนี้ ยังให้เร่งรัด สายการบินน เข้าสู่การrecertification ทั้ฃ 41สายการบิน โดยให้มีการตรวจใหม่ ก่อน 7 ราย ซึ่งเป็นสายการบินหลัก
นอกจากนี้Easa ได้ แนะนำให้มีการตรวจสอบ เพราะ ยังไม่มีมาตรฐาน จำนวน13 ราย และสายการบินอื่นๆ อีก8 ราย
รวมทั้ง สายการบินในประเศ ที่ต่อง ตรวจรับรองกันใหม่ และให้มีการอบรมผู้ตรวจสอบ ด้วย

ประยุทธใช้ม.44 Shut Down 44 นายก อบต. ปลด 7 กรรมการ สสส. หมอวิชัย โดนด้วย


ประยุทธใช้ม.44 Shut Down 44 นายก อบต. ปลด 7 กรรมการ สสส. หมอวิชัย โดนด้วย

5 ม.ค.2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ที่ 1/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 3 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นผู้ลงนาม เพื่อระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในตำแหน่งเดิม ทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการพลเรือน ผู้บริหารและข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบและการกำหนดกรอบอัตรากำลังชั่วคราว เป็นการชั่วคราวเฉยๆ กับส่วนที่ให้ไปปฏิบัติราชการประจําหน่วยงานนั้นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ทั้งนี้ พบผู้ที่ถูกระงับที่น่าสนใจ เช่น นายก อบต. หลายตำบลในจังหวัดมหาสารคาม สุเมธ แย้มนุ่น รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อร่าม ศิริพันธุ์ หัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับ 7 กรรมการกองทุนสนับสนนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เช่น นพ.วิชัย โชควิวัฒน เป็นต้น ถูกสั่งให้พ้นจากการเป็นกรรมการและการดำรงตำแหน่งในกองทุนดังกล่าว และให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการใหม่ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
โดยรายละเอียดของคำสั่ง หัวหน้า คสช. มีดังนี้
ตามที่มีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2558 เรื่อง มาตรการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบและการกำหนดกรอบอัตรากำลังชั่วคราว ลงวันที่ 15 พฤษภาคม พุทธศักราช 2558 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2558เรื่อง แต่งตั้งและให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่อื่น ลงวันที่ 25 มิถุนายน 2558 นั้นโดยที่หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบได้เสนอรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบจึงจำเป็นต้องประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐเพิ่มเติมจากรายชื่อตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งดังกล่าวตามความในข้อ5ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2558ประกอบกับจำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบางตำแหน่งพ้นจากตำแหน่งเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของงานอันเป็นประโยชน์ต่อการปฏิรูปราชการแผ่นดิน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา44ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ผู้ที่มีรายชื่อในกลุ่มที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้ ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในตำแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราว
ข้อ 2 ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 2 ข้าราชการพลเรือน ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้ ระงับการปฏิบัติราชการในตำแหน่งเดิมเป็นการชั่วคราว และไปปฏิบัติราชการประจำหน่วยงานนั้นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
ข้อ 3 ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 3 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้ ระงับการปฏิบัติราชการหรือหน้าที่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำรงตำแหน่งอยู่เป็นการชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน
ข้อ 4 ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 4 ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้ ไปช่วยราชการที่ศาลากลางจังหวัดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่หรือสถานที่ราชการอื่นตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกำหนดแต่ต้องมิใช่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่อยู่เดิมโดยไม่ต้องมีคำร้องขอและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นผู้บังคับบัญชามีอำนาจมอบหมายให้ผู้นั้นปฏิบัติงานตามความเหมาะสม
ในกรณีนี้มิให้บุคคลดังกล่าวได้รับเงินประจำตำแหน่งและสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการชั่วคราวตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ. 2555 อันเนื่องจากการไปช่วยราชการตามคำสั่งนี้
ข้อ 5 เมื่อหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 1 ถึงกลุ่มที่ 4 ต่อหน่วยงานต้นสังกัดแล้วให้หน่วยงานนั้นเร่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือสอบสวนเพื่อดำเนินการทางวินัยในกรณีไม่พบว่ามีความผิดก็ให้รายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเปลี่ยนแปลงคำสั่งต่อไป
ข้อ 6 ให้ผู้มีรายชื่อในกลุ่มที่ 5 กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้พ้นจากการเป็นกรรมการและการดำรงตำแหน่งในกองทุนดังกล่าว และให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการใหม่ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
ข้อ 7 ให้กำหนดตำแหน่งนายจเร พันธุ์เปรื่อง ที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ไว้ในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ข้อ 8 การรับเงินเดือน สิทธิประโยชน์ หรือประโยชน์ตอบแทนใด ๆ ของผู้มีรายชื่อในกลุ่มต่าง ๆ ตามบัญชีแนบท้ายคำสั่งนี้และตามข้อ 7 ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ
ข้อ 9 ในกรณีมีปัญหาให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องเสนอปัญหาและแนวทางดำเนินการให้นายกรัฐมนตรีวินิจฉัยคำวินิจฉัยของนายกรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
ข้อ10 นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีแล้วแต่กรณี อาจมีคำสั่งหรือมติเปลี่ยนแปลงคำสั่งนี้ได้ตามที่เห็นสมควร

คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

บัญชีแนบท้ายคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2559

กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารสถานศึกษา(จำนวน 2 ราย)
1. นายสุเมธ แย้มนุ่น รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
2. นายอร่าม ศิริพันธุ์ หัวหน้าภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่มที่ 2 ข้าราชการพลเรือน (จำนวน 2 ราย)
1. นายอภิชาติ ถนอมทรัพย์ ผู้อำนวยการกองคดีสำนักงาน ปปง.
2. นายสมคิด มะธิปะโน ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนแก่งนาจารย์พิทยาคมจังหวัดกาฬสินธุ์
กลุ่มที่ 3 ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(จำนวน 44 ราย)
1. นายทองใบ บาระพรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมืองมหาสารคามจังหวัดมหาสารคาม
2. นายสมบูรณ์ คำสอนทา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแอ่ง อำเภอเมืองมหาสารคามจังหวัดมหาสารคาม
3. นายธารณ ภักดีสุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อ อำเภอเมืองมหาสารคามจังหวัดมหาสารคาม
4. นายสัมพันธ์ เนื่องโคตะ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปะหลาน อำเภอพยัคภูมิพิสัยจังหวัดมหาสารคาม
5. นายสุคล สีสมัย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเหล่า อำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคาม
6. นายบุญทัน สินธุเสน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขื่อน อำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคาม
7. นายเกริกฤทธิ์ อามาตร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเลิงใต้ อำเภอโกสุมพิสัยจังหวัดมหาสารคาม
8. นายสวัสดิ์ คำมาตย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประชาพัฒนา อำเภอวาปีปทุมจังหวัดมหาสารคาม
9. นางสาวสมกมล ภูวนกมลกรรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนแดง อำเภอบรบือจังหวัดมหาสารคาม
10. นายบัวลา ทัศไพร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดอนงัว อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
11. นายวีระศักดิ์ โพธิ์เฮือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบรบือ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
12.นายสมคิด บุญประสงค์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
13. นายรัชพล ณไธสง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
14. นายสนั่น บุญคะสีทา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
15.นายทองคำ ชะศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะค่า อำเภอกันทรวิชัยจังหวัดมหาสารคาม
16.นายอภิชาติ วงศ์อาษา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลขามเฒ่าพัฒนา อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
17. นายธนะสิทธิ์ ฉัตรธนะพานิช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
18. นายสุรัชฐ์ จันทะรัง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
19. นายหมั่น แสงสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแวง อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
20. นายไกรษร มธิศิริกุล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลราษฎร์พัฒนา อำเภอพยัคภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
21.นายรังสรรค์ จันทร์สุวรรณ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
22.นายสุภาพ ผาบพุทธา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
23.นายยุทธภูมิ กุรัตน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
24.นายประสิทธิ์ สีแก้วสิ่ว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังยาว อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
25.นายสุชาติ ถามูลตรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
26.ดาบตำรวจพิเชษฐ ทศช่วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองคูขาด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
27.นายภูวดล มุลนี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังใหม่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
28.นายสมบูรณ์ นาเพีย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขวาไร่ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
29. นายกิตติชัย พันธไชย นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
30. นายสวาท ปาธิสัตย์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดงดวน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
31.นายวรวิทย์ ปักกาโล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
32.พันจ่าเอก คมสันต์ บุญศร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองเรือ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม
33. นายลำพูน เพียสา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแมดนาท่ม อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
34. นายคมเดช พลอยแดง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
35. นายเนตร สังข์เมือง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก
36. นายไสว เนื้อสีจัน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังวน อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก
37. นายสมบัติ วงศ์กวน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
38. นายสุภคิน วงค์สา นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
39. นายถวิล โพธิบัวทอง นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
40. นายบุญเลิศ ฟักสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองลัดหลวง จังหวัดสมุทรปราการ
41. นายอาคม พันธ์เฉลิมชัย นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
42. นายสกุลศักดิ์ มะดาโอ๊ะ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส
43. นายเกรียงไกร ชูศิลป์กุล นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
44. นางสำรวย ชุนเกาะ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
กลุ่มที่4 ข้าราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(จำนวน 4 ราย)
1. นายยุทธเดช พลอยสังวาลย์ ท้องถิ่นจังหวัดนครพนม
2. สิบตำรวจตรี บุญส่ง ทศพร ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลนพรัตน์ จังหวัดปทุมธานี
3. นายณรงค์ฤทธิ์ คล้ายทอง ปลัดเทศบาลตำบลท่าข้าม อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์
4. นางสาวจันทร์ประภา อิสสอาด ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม เทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
กลุ่มที่ 5 กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(จำนวน 7 ราย)
1. นายแพทย์ วิชัย โชควิวัฒน กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพรองประธานคนที่สอง
2. นายสงกรานต์ ภาคโชคดี กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
3. นายเอ็นนู ชื่อสุวรรณ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
4. นายยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
5. นายสมพร ใช้บางยาง กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
6. รองศาสตราจารย์ประภัทร นิยม กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
7. นายวิเชียร พงศธร กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ : คสช.คุม สสส.เบ็ดเสร็จตัดท่อน้ำเลี้ยงภาค ปชช.


"...สิ่งหนึ่งที่น่าเกลียดของ คสช.คือ การปลด 7 ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.ในคำสั่งเดียวกับกลุ่มที่มีประเด็นส่อทุจริต ทั้งๆที่กรรมการทั้ง 7 ไม่มีการถูกตั้งกรรมการสอบทุจริตเลย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง และเป็นการทำให้สังคมเข้าใจผิดโดยตั้งใจ.."
วันพุธ ที่ 06 มกราคม 2559 เวลา 14:40 น
suuupppww
หมายเหตุ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org : เมื่อวันที่ 6 ม.ค.59 นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา  และ แกนนำแพทย์ชนบทภาคใต้ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว 'Supat Hasuwannakit' แสดงความเห็นเกี่ยวกับ คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 3 ซึ่งมีรายชื่อบอร์ดผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รวมอยู่ด้วย จำนวน 7 ราย
--------------
หลายคนถามความเห็นของผม ต่อการปลดบอร์ดผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. 7 ท่าน ด้วย ม. 44 ผมจึงขอให้ทัศนะของผมหลังการเชื่อมโยงไตร่ตรอง อ่านหลายความเห็นของผู้คน
ผมสรุปได้ว่า
"สสส.คือนวัตกรรมทางสังคมที่สำคัญยิ่งของสังคมไทย เพราะเป็นช่องทางให้ภาคประชาชนมีโอกาสได้ใช้เงินภาษีประชาชนมาทำงานเพื่อชุมชนของเรา เพื่อสังคมของเรา เพราะทั้งชุมชนและสังคมเป็นของเรา ไม่ใช่เป็นหน้าที่เฉพาะของส่วนราชการหรือท้องถิ่นท้องที่เท่านั้น และ สสส.คือกลไกสำคัญที่สุดที่เสริมความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม สังคมไทยจะก้าวเดินไปข้างหน้า ประชาชน ชุมชน กลุ่มองค์กรต่างๆต้องได้รับการหนุนเสริมให้เติบโต ประชาสังคม ต้องเติบใหญ่ให้ได้ดุลย์กับรัฐและทุน นั่นคืออุดมคติ
ที่ผ่านมา แม้ สสส.จะมีจุดโหว่เชิงการจัดการอยู่บ้าง แต่ก็เดินไปในทิศทางที่ใช่ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคม และด้วยการบริหารแบบ สสส.ที่มีความคล่องตัวต่างจากราชการที่มีระเบียบปิดกั้นมากมาย ทำให้ความเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่รับทุน สสส.มีความแหลมคมและหลายกรณีก็มาทำหน้าที่ตรวจสอบหรือกดดันภาครัฐและภาคทุน
ส่วน คสช.นั้นชัดเจนแล้วว่า จุดยืนทางวิธีคิดของ คสช.คือ การจัดแถวประเทศไทย คิดแบบทหารต้องการให้ประชาชนซ้ายหันขวาหันตามที่สั่ง ใช้กระบวนการแช่แข็งการมีส่วนร่วม ครอบงำทิศทางให้อยู่ในกรอบ ตัดท่อน้ำเลี้ยงภาคประชาชน และ สสส.ก็คือท่อน้ำเลี้ยงใหญ่ที่สุดในขณะนี้ คสช.มุ่งควบคุมภาคประชาชนให้อยู่ในกระด้งในเชิงสังคมสงเคราะห์ แต่การออกทำเรื่องสิทธิ การจัดการฐานทรัพยากร การตรวจสอบหรือเห็นต่างนโยบายรัฐ เป็นสิ่งที่น่ารำคาญและยอมรับไม่ได้
ในยุคนี้ยิ่งชัด เมื่อ คสช.พูดถึง"ประชารัฐ" ประชาในความหมายของทหารก็คือเจ้าสัว ส่วนรัฐก็ชัดเจนคือรัฐราชการ ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีภาคประชาชนอยู่ในสมการ
การปลดบอร์ดผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาชน 7 คนอย่างเร่งด่วนด้วย ม.44 ครั้งนี้ เชื่อว่าตัวเร่งตัวหนึ่งก็คือ การสรรหาผู้จัดการ สสส.ที่กำลังจะจบ ทหารคงได้ข้อสรุปว่า อยากจะได้คนที่ตนควบคุมได้ มาเป็นทั้งบอร์ดและผู้จัดการ สสส. จึงต้องรีบเร่งตัดกระบวนการ และหลังจากนี้ คสช.คงตั้งนายพลหรือคนที่ตนคุมได้เข้ามานั่งในบอร์ดและเป็นผู้จัดการ สสส.
โดยเชื่อว่า ภาคประชาชนจะอ่อนเปลี้ยลงหากไม่มีน้ำเลี้ยงจาก สสส. และงบ สสส.ในอนาคตจากบอร์ดใหม่ เชื่อมั่นได้ว่า จะเปิดช่องให้ภาคราชการ กองทัพ เข้ามาของบก้อนใหญ่ๆทำโครงการได้สะดวกโยธินขึ้น
สิ่งหนึ่งที่น่าเกลียดของ คสช.คือ การปลด 7 ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส.ในคำสั่งเดียวกับกลุ่มที่มีประเด็นส่อทุจริต ทั้งๆที่กรรมการทั้ง 7 ไม่มีการถูกตั้งกรรมการสอบทุจริตเลย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง และเป็นการทำให้สังคมเข้าใจผิดโดยตั้งใจ
ปัญหาจึงชัดเจนว่า อยู่ที่วิธีคิดของ คสช.วิธีคิดแบบจัดแถวของทหารที่ต้องการควบคุมทุกอณูของสังคม ส่วนความคิดของผมและภาคประชาสังคมกลับตรงข้าม คือปลุกทุกพลังในสังคมในลุกขึ้นดูแลและจัดการชุมชนสังคมด้วยตนเอง ประชาชนคือศูนย์กลางจริงๆและเติบใหญ่ขึ้น ราชการรวมศูนย์ที่แข็งทื่อต้องเล็กลง
นี่จึงเป็นการต่อสู้ของสองชุดความคิด ไม่แปลกที่มีรุกมีรับ ถูกทหารรุกกินเมืองบ้างในวันนี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่แปลก เข้าใจได้ แต่ไม่ใช่เรายอมจำนน แต่กลับต้องเปลี่ยนรับเป็นรุก เอาเมืองคืนมา ด้วยกระบวนกองทัพมดที่ไร้ระเบียบ จนฝ่ายจัดแถวนิยมจับทางไม่ถูก
เพราะโดยทิศทางประวัติศาสตร์ การเล็กลงของภาครัฐและการลดบทบาทของกองทัพเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้นอยู่แล้วในอนาคต

(อ่านประกอบ : ‘บิ๊กตู่’ใช้ ม.44 ปลด ขรก.-นักการเมืองท้องถิ่นกราวรูด 59 คน-พ่วง 7 บอร์ด สสส.)


ศึกเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะกำหนดโฉมหน้าไต้หวัน

ศึกเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะกำหนดโฉมหน้าไต้หวัน
ไต้หวัน ซึ่งถูกยกให้เป็นหนึ่งในดินแดนที่มีความตื่นตัวด้านประชาธิปไตยมากที่สุดในโลก กำลังจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภาชุดใหม่ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ ซินดี้ ซุย ผู้สื่อข่าวบีบีซี ชี้ว่า นี่อาจเป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของไต้หวัน
ผู้สื่อข่าวบีบีซี บอกว่า การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นตัวตัดสินทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งมองไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งที่แยกตัวออกไปและหวังว่าวันหนึ่งจะได้กลับมารวมกันอีกครั้ง
ในช่วง 8 ปีที่ประธานาธิบดีหม่า อิง-จิว จากพรรคก๊กมินตั๋งเข้าบริหารไต้หวัน เขาได้มุ่งเน้นเรื่องการปรับปรุงความสัมพันธ์กับจีน ทำให้ในยุคนี้ทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ในระดับที่เป็นมิตรกันมากที่สุด นับแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมืองในจีนเมื่อปี พ.ศ. 2492 อย่างไรก็ตาม เมื่อนายหม่าพ้นวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 เขาจะไม่สามารถกลับเข้ารับตำแหน่งได้อีก
ขณะเดียวกัน มีชาวไต้หวันจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกไม่สบายใจกับพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งสนับสนุนหลักการ “จีนเดียว” และเดินหน้าเจรจาข้อตกลงด้านต่างๆและสานสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน ผู้สื่อข่าวบีบีซี ระบุว่า คนกลุ่มนี้น่าจะเทคะแนนให้พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า (ดีพีพี) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของพรรคก๊กมินตั๋ง
นอกจากนี้ การต่อสู้เพื่อให้ได้เสียงข้างมากในรัฐสภาก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน โดยผลสำรวจล่าสุดบ่งชี้ว่า พรรคก๊กมินตั๋ง เสี่ยงจะสูญเสียเสียงข้างมากเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไต้หวัน
ผู้สื่อข่าวบีบีซี บอกว่า นโยบายผูกมิตรกับจีนของรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋ง แม้จะนำมาซึ่งผลดีทางด้านเศรษฐกิจ อาทิ การเปิดเที่ยวบินตรงจีน-ไต้หวันครั้งแรก รวมทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและวิชาการเพิ่มขึ้น และมีนักท่องเที่ยวจีนไปเที่ยวไต้หวันเมื่อปีก่อนราว 4 ล้านคน แต่ก็มีชาวไต้หวันจำนวนไม่น้อย ซึ่งแม้จะยินดีที่ความตึงเครียดระหว่างสองฝ่ายลดลง แต่ขณะเดียวกันก็เกรงว่านโยบายผูกมิตรดังกล่าวจะทำให้ไต้หวันพึ่งพิงด้านเศรษฐกิจจากจีนแผ่นดินใหญ่มากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่ภัยทางการเมือง อย่างการสูญเสียอธิปไตยของไต้หวัน
การเลือกตั้งครั้งนี้ยังมีขึ้นในช่วงที่ไต้หวันกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา โดยเมื่อปีก่อนเศรษฐกิจไต้หวันขยายตัวไม่ถึง 1% ส่วนอัตราการว่างงานก็พุ่งสูง และไม่มีการขึ้นค่าแรงแม้ว่าบริษัทต่าง ๆจะมีผลกำไรก็ตาม ส่งผลให้หลายฝ่ายเชื่อว่า นโยบายผูกมิตรกับจีน ส่งผลดีต่อเจ้าของธุรกิจเท่านั้น แต่ชาวบ้านทั่วไปกลับไม่ได้ประโยชน์ไปด้วย
ผู้สื่อข่าวบีบีซี ชี้ว่า การเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นนี้ยังส่งผลในระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วย เนื่องจากไต้หวันถูกมองว่าเป็นดินแดนที่มีประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และเป็นแบบอย่างให้กับประเทศอื่น ๆในเอเชีย ไต้หวันยังเป็นสังคมชาวจีนเพียงแห่งเดียวที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งอย่างทั่วถึงตามหลักประชาธิปไตย ซึ่งนี่อาจมีอิทธิพลต่อการพัฒนาด้านประชาธิปไตยของชาวจีนแผ่นดินใหญ่ เพราะมีภาษาและวัฒนธรรมคล้ายกัน
การเลือกตั้งครั้งนี้ยังจะเป็นตัวกำหนดทิศทางความสัมพันธ์จีน-ไต้หวัน เพราะหากพรรคดีพีพี ชนะการเลือกตั้งแล้วดำเนินนโยบายต่อต้านจีน ก็จะส่งผลเสียต่อการค้า การท่องเที่ยว และด้านอื่น ๆที่ไต้หวันทำข้อตกลงกับจีนก่อนหน้านี้ แต่หากพรรคก๊กมินตั๋งเป็นฝ่ายชนะ ก็จะทำให้มีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และความไว้วางใจซึ่งกันและกันมากขึ้น จนอาจพัฒนาเป็นสันติภาพที่ยั่งยืน แม้จะมีความเสี่ยงเรื่องอธิปไตยของไต้หวันก็ตาม
การเลือกตั้งครั้งนี้ยังอาจส่งผลต่อสันติภาพในภูมิภาคด้วย เพราะหากพรรคดีพีพีชนะการเลือกตั้ง และพยายามตีตัวออกห่างจีน ก็อาจทำให้เกิดความตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง ซึ่งนั่นไม่เพียงจะสร้างความกังวลให้ชาวไต้หวัน แต่ยังรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน และสหรัฐฯด้วย โดยสหรัฐฯมีข้อผูกพันทางกฎหมายที่จะต้องช่วยไต้หวันปกป้องตนเองในยามที่เกิดความขัดแย้งทางการทหาร และแม้จะไม่มีแนวโน้มว่าจะเกิดสงครามระหว่างไต้หวันกับจีน แต่ทั้งสองฝ่ายก็ไม่เคยลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพอย่างเป็นทางการ ขณะที่จีนก็แสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อการแยกตัวเป็นเอกราชของไต้หวัน
ทั้งนี้ ผลสำรวจล่าสุดชี้ว่า นางไช่ อิง-เหวิน ผู้สมัครชิงตำแหน่ง
ประธานาธิบดีจากพรรคดีพีพี มีคะแนนนิยมนำโด่งที่ราว 45% ส่วนนายอีริค ชู ผู้สมัครจากพรรคก๊กมินตั๋ง มีคะแนนนิยมราว 20% ขณะที่นายเจมส์ ซุง ผู้สมัครจากพรรคพีเพิล เฟิสต์ปาร์ตี้ (พีเอฟพี) มีคะแนนนิยม 10% ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่เหลืออีกราว 25% บอกว่ายังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกผู้ใด โดยการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งก่อน 700,000 คน ซึ่งผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งรุ่นใหม่บางคนนิยมพรรคการเมืองขนาดเล็กที่ชูนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม

ปวีณ ยังสบายดี

(4/1/59)

เมื่อวันที่ 4 มกราคม มีความคืบหน้า กรณี พล.ต.ต.ปวีณ พงศ์สิรินทร์ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา ที่ต่อมาถูกโยกย้ายเป็นรองผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รอง ผบช.ศชต.) และยื่นลาออกในเวลาต่อมา
ทั้งนี้ หลังจากการลาออกจากราชการมีผล พล.ต.ต.ปวีณ เดินทางไปยังกรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศ ถึงการถูกข่มขู่คุกคามจากผู้มีอิทธิพลที่เกี่ยวพันกับคดีค้ามนุษย์ และจะขอลี้ภัยอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ทำให้หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง รวมถึง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ออกมาตอบโต้ปฏิเสธเรื่องมีการคุกคาม และติติงการออกมาให้ข่าวและการขอยื่นลี้ภัยของ พล.ต.ต.ปวีณ โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) โดยผบ.ตร.ตั้งพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รอง ผบ.ตร. ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมรุ่นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 35 (นรต.35) กับ พล.ต.ต.ปวีณ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมีการข่มขู่คุกคาม ล่าสุด พล.ต.อ.ศรีวราห์ระบุว่า การตรวจสอบในชั้นแรกไม่พบพนักงานสอบสวนในคดีนี้คนใดถูกคุกคาม และเชื่อว่าไม่มีการคุกคามนายตำรวจใหญ่อย่าง พล.ต.ต.ปวีณ แต่กระนั้นก็ให้กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 เจ้าของพื้นที่เกิดคดีค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา ตรวจสอบ สืบสวนในเชิงลึกต่อไป
ล่าสุดช่วงเช้าวันนี้ ผู้สื่อข่าว "มติชน" ได้รับการติดต่อจาก พล.ต.ต.ปวีณ หลังจากที่เจ้าตัวเก็บตัวเงียบมานาน
"ผมสบายดีครับ คือดีกว่าช่วงแรกๆ ครับ แต่ไม่สบายเท่าบ้านเรา ผมก็แค่คนธรรมดาคนหนึ่ง แค่อยากทำงานให้บ้านเมืองเท่านั้น เป็นมดงานตัวเล็กๆ เวลานี้ก็หมดหน้าที่แล้ว มีเรื่องที่จะพูดเยอะมาก คงต้องรอเวลาสักระยะ เพราะพูดไปตอนนี้คงไม่มีใครจัดการครับ" พล.ต.ต.ปวีณกล่าว
เมื่อถามถึงการถูกคุกคามจากกลุ่มอิทธิพล พล.ต.ต.ปวีณกล่าวว่า "พวกข้างบนทั้งนั้นเลย ที่พัวพัน พล.ท.มนัส (คงแป้น อดีตผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพบก) แค่กลางๆ ที่บอกว่าสบายดีนั้น ไม่สบายเท่าบ้านเรา แต่ดีขึ้นกว่าช่วงแรกๆ"
เมื่อถามถึงการขอลี้ภัย พล.ต.ต.ปวีณกล่าวว่า อยู่ระหว่างดำเนินการ
"ตอนนี้อยู่ระหว่างดำเนินการขอลี้ภัยให้ถูกต้อง ต้องยื่นเรื่องให้ถูกต้อง จะทำให้อยู่ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย และหางานทำได้ ที่ผ่านมาได้ไปพบเจ้าหน้าที่ ทนายความ และหน่วยงานและเตรียมเอกสารไปให้เขา ได้ส่งเอกสารไปนานพอสมควรแล้ว จะเพิ่มเติมอะไร เขาจะบอกมา เมื่อพร้อมก็ยื่นเลย ทันทีที่ยื่นก็ได้สิทธิเบื้องต้นแล้ว ของผมไม่ยากนักเพราะสื่อทั่วโลกลงข่าวการค้ามนุษย์มาช้านานแล้ว เขาทราบเรื่องดีมาก่อนแล้ว จึงเอาหนังสือพิมพ์ที่เสนอมาประกอบเรื่องครับ" พล.ต.ต.ปวีณกล่าว และว่า "ในยุคนี้คงยังกลับเมืองไทยไม่ได้"

มือปาขี้ใส่บ้านอภิสิทธิ์บุกทำเนียบฯขู่ประยุทธ์ระวังโดน

ขังนานๆและปรับหนักๆเลยนะ!!
--------------
 
มือปาขี้ใส่บ้าน′มาร์ค′โผล่ศูนย์บริการปชช. โวยปัญหา ขู่"บิ๊กตู่"ระวังโดนบ้าง!
เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น. วันที่ 5 มกราคม ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี ระหว่างที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. เป็นประธานการประชุม ครม.ที่ทำเนียบรัฐบาลอยู่นั้น ปรากฎว่าได้มีชายวัยกลางคน ทราบชื่อภายหลังว่า นายวิวิทวิน เตียวสวัสดิ์ อายุ 48 ปี พ่อค้าเนื้อหมูย่านลาดพร้าว อดีตผู้ต้องหาคดีปาอุจจาระ ใส่บ้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ในซอยสุขุมวิท 31 ได้มาโวยวายสร้างความปั่นป่วนที่บริเวณศูนย์บริการประชาชน  เมื่อทางเจ้าหน้าที่พยายามสอบถามว่าจะมาร้องเรียนอะไร นายวิวิทวิน ก็ไม่ยอมบอก เพียงแต่พูดด้วยเสียงอันดังว่า “ไม่ได้รับความเป็นธรรมเลย ไม่รู้กี่รัฐบาลแล้ว เดี๋ยวจะได้เห็นดีกัน”
ทางเจ้าหน้าที่ได้พยายามอีกหลายครั้งที่จะเข้าไปพูดคุยและขอให้เข้ามายื่นเรื่องตามขั้นตอนจะได้ทราบถึงปัญหาความเดือดร้อนแต่นายวิวิทวินก็ยังคงโวยวายเช่นเดิมและเมื่อเห็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเดินเข้ามาจึงได้เดินหนีออกมาแต่ยังตะโกนเสียงดังทิ้งท้ายฝากไปถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีด้วยว่า “ผมเคยปาขี้ใส่บ้านนายกฯอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) มาแล้ว วันนี้ปัญหาของผมยังไม่ได้รับการแก้ไขตามที่เจ้าหน้าที่รับปากและเคยบอกมา เมื่อวันนี้ปัญหาของผมไม่ได้รับการแก้ไข เพราะอย่างนั้นผมบอกได้เลยว่าผมจะปาใส่คุณประยุทธ์ หลังจากนี้ขอให้พล.อ.ประยุทธ์ เตรียมตัวเจอกับผมได้เลย”          
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิวิทวิน เคยก่อเหตุปาถุงอุจจาระใส่บ้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี มาครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2553 โดยอ้างว่าไม่พอใจเป็นการส่วนตัวที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากเคยเข้าร้องเรียนกับตำรวจ สน.ลาดพร้าว ให้ดำเนินคดีข้อหาพยายามฆ่ากับเพื่อนบ้านที่ชอบมั่วสุมสูบบุหรี่ ทำให้ควันบุหรี่ลอยมาถึงบ้านจนทำให้ลูกสาวคนโตเกิดอาการป่วยเกี่ยวกับระบบหายใจต้องล้มป่วยบ่อยครั้ง 
นอกจากนี้ ควันบุหรี่ยังรบกวนลูกคนเล็กด้วย ซึ่งศาลแขวงพระนครใต้ ได้พิเคราะห์และดำเนินการฟ้องเป็นจำเลยในความผิดฐานกระทำด้วยประการใดๆ ให้ของโสโครกเป็นที่เดือดร้อนรำคาญ และฐานกระทำด้วยประการใดๆ อันเป็นการรังแกหรือข่มเหงผู้อื่นให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 389,397 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโดยอ้างว่า ไม่พอใจนายกรัฐมนตรี ซึ่งศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง จึงพิพากษาจำคุก 5 วัน  เนื่องจากจำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนจึงให้เปลี่ยนจากโทษจำคุกเป็นกักขัง แทน 5 วัน 
MatichonOnlineฟ