PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ข่าว24/2/60

ธรรมกาย

แอมเนสตี้ ออกแถลงการณ์ แจง ไม่ได้สนับสนุนวัดพระธรรมกาย เพียงแค่จับตามองสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเท่านั้น

นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ชี้แจงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวระบุว่า แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ให้การสนับสนุนและยืนหยัดร่วมกับวัดพระธรรมกาย พร้อมทั้งออกแถลงการณ์ร่วมกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนนั้น เป็นการสื่อสารที่คลาดเคลื่อน แอมเนสตี้ได้รับการติดต่อทางอีเมจากฝ่ายสำนักสื่อสารองค์กร ของวัดพระธรรมกายจริง และได้ตอบกลับเป็นภาษาอังกฤษ โดยระบุว่าทางแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลตระหนักและ
กำลังจับตามองสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และได้แจ้งข้อมูลว่าทางศูนย์ทนายความสิทธิมนุษยชนได้ออกแถลงการณ์ในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งส่งลิงก์แถลงการณ์ดังกล่าวไป

ดังนั้น ทางองค์กรฯ ขอชี้แจงว่าแถลงการณ์ที่ทาง พระสนิทวงศ์ วุฑฒิวังโส ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกายกล่าวถึง เป็นแถลงการณ์จากศูนย์ทนายเท่านั้น ไม่ได้เป็นแถลงการณ์ร่วมกับแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย แต่อย่างใด
-------
ดีเอสไอ รอ ประเมินสถานการณ์จะเข้าค้นวัดพระธรรมกายอีกหรือไม่ - พระสงฆ์ที่ถูกออกหมายเรียกทยอยรายงานตัวแล้วบางส่วน

พ.ต.อ.ทรงศักดิ์ รักศักดิ์สกุล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ บอกถึงแนวทางปฏิบัติการตรวจค้นวัดพระธรรมกายเพื่อเข้าจับกุมพระธัมมชโย ผู้ต้องหาคดีฟอกเงินและรับของโจรสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ว่า การปฏิบัติวันนี้อยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์ว่าจะเข้าค้นอีกหรือไม่ โดยเฉพาะโซนเอและโซนบี ที่ยังไม่สามารถตอบสงสัยให้กับสังคมได้

ขณะที่การรวมตัวของเครือข่ายวัดพระธรรมกายที่ตลาดกลางคลองหลวง รองอธิบดีดีเอสไอ ยืนยันว่า เป็นพื้นที่ควบคุม ตามคำสั่งคสช. ม.44 ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้เก็บหลักฐานไว้ดำเนินการตามกฎหมายย้อนหลังกับผู้ที่ฝ่าฝืนแล้ว พร้อมฝากย้ำไปยังประชาชนที่จะนำอาหารมาถวายเพลหรือส่งให้บุคคลภายในวัด ให้นำมารวบรวมไว้ที่ประตู 7 เท่านั้น เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้คัดกรอง ไม่ให้บุคคลที่ไม่หวังดีเข้ามา
อาศัยจังหวะก่อเหตุ

ส่วนความคืบหน้าการออกหมายเรียก พระธัมมชโย กับพระลูกวัด รวม 14 รูป ขณะนี้มี พระมหานพพร ปุญญชโย ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดพระธรรมกาย ได้เข้ารายงานตัวแล้ว และเจ้าหน้าที่ได้ปล่อยตัวกลับไป ส่วน พระเเสนพล  ได้ติดติดต่อจะเข้ามารายงานตัวแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อหาฐานผิดคำสั่งเจ้าพนักงาน ส่วนพระที่เหลือ อีก 11 รูป อยู่ระหว่างพิจารณาออกหมายจับ
----------
DSI รับ เริ่มตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตในและนอกวัดพระธรรมกายแล้ว

พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึงกรณีมีกระแสข่าวว่าเจ้าหน้าที่ทำการตัดสัญญาณบริเวณรอบวัดพระธรรมกาย ว่า ยอมรับว่าดีเอสไอได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ที่เข้าร่วมประชุมสรุปสถานการณ์เมื่อช่วงเช้านี้เพื่อให้ดำเนินการตัดสัญญาณและอินเทอร์เน็ตบริเวณภายนอกและในวัดพระธรรมกาย เนื่องจากพบว่ากลุ่มลูกศิษย์วัดพระธรรมกายมีการใช้สื่อโซเชียลมีเดียให้ข้อมูลอันเท็จและทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด และเข้าข่ายยุยงปลุกปั่นทำ
ให้กระทบกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ ส่วนจะมีการตัดสัญญาณเป็นระยะเวลานานเท่าไหร่นั้น ยังไม่สามารถระบุได้ ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นหนึ่งในมาตรการที่เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจที่ คสช. ออกประกาศให้บริเวณวัดพระธรรมกายเป็นพื้นที่ควบคุมพิเศษ

อย่างไรก็ตาม ตลอดช่วงบ่ายที่ผ่านมาพบว่าสัญญาณโทรศัพท์ของบางเครือข่ายบริเวณตลาดกลางคลองหลวง ประตูทางเข้าที่ 5 และ 6 ของวัดพระธรรมกาย ไม่สามารถใช้งานได้ คาดว่าเจ้าหน้าที่ได้เริ่มทยอยตัดสัญญาณในบางจุดแล้ว
------
พระและศิษย์วัดพระธรรมกาย ยืนยันปักหลักตลาดกลางคลองหลวง พร้อมเตรียมทำกิจกรรมยืนรณรงค์ขอนายกฯ เลิก ม.44ระยะทาง 500 เมตร เผย ดีเอสไอ ให้ส่งเสบียงเข้าวัดได้แต่ต้องตรวจละเอียด

นายอัยย์ เพชรทอง ตัวแทนกลุ่มคณะศิษย์ของวัดพระธรรมกาย แถลงท่าทีของวัดว่าได้มีการพูดคุยกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจและกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ โดยระบุว่า ทางเจ้าหน้าที่ได้ผ่อนปรนการเข้า - ออก บริเวณตลาดกลาง โดยไม่ต้องมีการตรวจบัตรประจำตัวประชาชน แต่การเข้า - ออกของศิษย์และพระแต่ละครั้ง จะมีตำรวจตรวจตราด้วยกันเพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีแฝงตัวเข้าไป ส่วนอาหารที่ได้รับจากการทำบุญตักบาตรและบริจาคนั้น อนุญาตให้นำไปมอบที่ประตู 7 เท่านั้น โดยจะมีการพิจารณาตรวจสอบจากดีเอสไอ จากนั้นทีมพระสงฆ์จากด้านในจะออกมารับ โดยจะไม่มีการเคลื่อนขบวนแต่จะปักหลักตลาดกลางคลองหลวงจนกว่าจะมีการยกเลิกมาตรา 44

ทั้งนี้ ทางทหารได้ขอความร่วมมือศิษย์ของวัดงดปิดบังใบหน้าเวลาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ เพราะเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย ส่วนกรณีสื่อบางสำนักเข้าใจผิดเรื่องตู้คอนเทรนเนอร์ขนาดใหญ่ในวัดมีสิ่งของผิดกฎหมายนั้น ย้ำว่าตู้เคอนเทรนเนอร์ดังกล่าว ทางวัดมีไว้สำหรับใส่เครื่องอัตถบริขาร ที่ประชาชนทำบุญมาเพราะต้องเก็บอย่างดี ยืนยันไม่มีของผิดกฎหมายแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ยังได้ฝากคำถามถึง สนช. เกี่ยวกับการแก้ไข พ.ร.บ.สงฆ์ฯ โดยห้ามไม่ให้พระสงฆ์มีทรัพย์สมบัตินั้นข้อนี้ เห็นว่าหากประชาชนต้องการถวายเป็นการส่วนตัวจะทำอย่างไร ส่วนการตรวจค้นและออกหมายจับวัดพระธรรมกายบุกรุกที่นั้น หากเป็นเช่นนั้นวัดป่าที่อยู่ป่าและบนเขาซึ่งมีเป็นจำนวนมากนั้นจะมีความผิดด้วยหรือไม่

///////
ปยป.

"สุวิทย์"เผย นายกฯเรียกประชุม มอบนโยบายที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป. จำนวน 39 คน 6 ม.ค.ย้ำเน้นสร้างการรับรู้เพื่อปชช.มีส่วนร่วม

นายสุวิทย์ เมษิณทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหาราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง
(ป.ย.ป.) กล่าวว่า วันที่ 6 มีนาคมนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเรียกประชุมคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการแต่ละ
คณะภายใต้ คณะกรรมการ ป.ย.ป. ที่นายกรัฐมนตรีลงนามคำสั่งแต่งตั้งเมื่อวานนี้จำนวน 39 คน เพื่อมอบนโยบายและขอบคุณที่มาช่วยรัฐบาลขับเคลื่อนการปฏิรูป ซึ่งที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ จะมีความหลากหลายแต่ละสาขา โดยจะมีจำนวนมากในส่วนของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศและเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ขณะที่คณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองมีจำนวนน้อย เพราะมีการแต่งตั้งไปแล้ว ซึ่งรูปแบบการทำงานของที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิจะมีการลงพื้นที่รับฟังความเห็นของประชาชนด้วย เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเน้นในเรื่องของการสร้างความรับรู้และสร้างความเข้าใจ เพื่อประชาชนมีส่วนร่วม โดยจะให้กลุ่ม NGO คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนประเทศและพูดคุยกับทุกกลุ่มในภูมิภาค
-------

//////
ทุจริต

นายกฯ ลงนาม ตั้ง "ประสาร" ปธ.คณะกรรมการ กำกับการจัดซื้อจัดจ้าง มี "กานต์-มนัส-สมพล" ร่วมเป็นกรรมการ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ลงนามคำสั่ง นายกรัฐมนตรี ที่ 9/2560 เรื่อง แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้างแล้วความว่า ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีคำสั่ง ที่ 11/2560 เรื่อง การกำกับการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ ลงวันที่ 23 ก.พ. 2560 กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในระยะเริ่มแรก ให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว อาศัยอำนาจตามมาตรา 9 ของคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 11/2560 จึงแต่งตั้งประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง ดังต่อไป นี้

1. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล เป็นประธานกรรมการ
2. นายกานต์ ฮุนตระกูล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. นายมนัส แจ่มเวหา เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
4. นายสมพล เกียรติไพบูลย์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ 23 ก.พ. 2560
----------------
นายกฯ ลงพื้นที่ศรีสะเกษ อ้อนดีใจที่ได้มา อยากให้ทุกคนมองไปที่อนาคต อย่าหลงเชื่อบิดเบือน ทุกเรื่องยึดตามกฎหมาย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะเดินทางลงพื้นที่ อ.ราศีไศล จ.ศรีสะเกษ ติดตามขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยเฉพาะการขับเคลื่อนนโยบายเกษตรแปลงใหญ่โดยกลไกประชารัฐ เพื่อให้เกษตรกรมีการรวมกันสร้างผลผลิตทางการเกษตรร่วมกันภายใต้ การบริหารจัดการแบบบูรณาการ โดยในปี พ.ศ. 2560 จ.ศรีสะเกษ ได้ดำเนินการส่งเสริมการเกษตรในรูปแปลงใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 22 อำเภอปลูก ข้าว ทุเรียน พริก หอมแดง กระเทียม และการทำปศุสัตว์ มีพื้นที่การดำเนินงานแปลงใหญ่รวม 165,493 ไร่ ทำให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง สามารถบริหารจัดการผลิตผลสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ต้นทุนการผลิตลดลง คุณภาพผลผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สำรวจดูสภาพน้ำในพื้นที่ซึ่งบางจุดเริ่มแล้งไม่มีน้ำ โดยในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีกล่าวกับชาวบ้านว่า ดีใจที่ได้มาพบกับชาวศรีษะเกษ เพราะอากาศดีวันนี้นักวิทยาศาสตร์ค้นเจอดาวเคราะห์ 7 ดวงซึ่งที่อื่นจะไปอยู่นอกโลกแล้ว แต่ประเทศไทยยังติดกับปัญหาเดิม ๆ เรื่องที่ดินเรื่องน้ำอากาศ ดังนั้น อยากให้ทุกคนมองไปข้างหน้า มองอนาคต ไม่มีอะไรทำให้คนไทยแตกแยกกันได้ ต้องคิดใหม่

โดยรัฐบาลได้จัดงบประมาณลง 18 กลุ่มจังหวัด ไม่ใช่การซื้อเสียง แต่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากทำไม่ได้ในรัฐบาลชุดนี้ก็ต้องสร้างรากฐานในรัฐบาลหน้า ดังนั้น อย่าหลงเชื่อ
กับคำบิดเบือนว่า เมื่อเข้ามาแล้วจะทำให้ราคาข้าวดีขึ้น เพราะข้าวล้นตลาดโลก

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงปัญหาคดีพระธัมชโย ว่าพอได้แล้ว ขอเวลารัฐบาลทำงาน เพราะหากขัดแย้ง ก็จะเจอแต่ปัญหา และทำให้รัฐล้มเหลว ไม่ควรมาทะเลาะกันเรื่องความเชื่อความศรัทธา ทุกอย่างยึดตามกฎหมาย อย่าให้ใครมาบิดเบือน
----------
นายกฯ ร่วมปลูกต้นไม้กับ "ดาบวิชัย" ก่อนเยี่ยมชมการเรียนโรงเรียนราษีไศล ฝากเด็กตั้งใจเรียนเพื่อพัฒนาประเทศ

ความเคลื่อนไหวของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายหลังพบปะประชาชน ระหว่างลงพื้นที่ อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ แล้ว นายกรัฐมนตรีได้ปลูกต้นไม้ร่วมกับ ดาบวิชัย สุริยุทธ นายตำรวจที่ปลูกต้นไม้มากที่สุดในโลก ก่อนเยี่ยมชมการเรียนการสอนของของโรงเรียนราษีไศล ที่มีการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ จีน อังกฤษ คณิตศาสตร์

โดย นายกรัฐมนตรี กล่าวกับเด็กนักเรียนว่า ให้เลือกเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ โดยภาษาอังกฤษ ต้องเป็นภาษาที่ 2 เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ เพราะโลกไร้พรมแดน ภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญ ต้องกล้าพูด และคิดให้เป็นภาษาอังกฤษ จำทุกอย่างเป็นภาษาอังกฤษ โดยอาจกำหนดว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องพูดภาษาอังกฤษในหนึ่งวัน เพื่อเป็นการฝึกฝน

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้ถามนักเรียนมีใครอยากเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ หากอยากเป็นต้องรอตนเองก่อน และสนทนาภาษาอังกฤษ กับครูผู้สอนจากเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ พร้อมสอบถามถึงชีวิตความเป็นอยู่และการเรียนการสอน โดยครูสอนภาษาอังกฤษ ระบุว่า ชอบอาหารไทย โดยเฉพาะส้มตำ และปลาร้า และยังชอบคนไทย ซึ่งทำให้นายกรัฐมนตรีพอใจเป็นอย่างมากก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะมอปอุปกรณ์กีฬาให้เด็กนักเรียนและถ่ายภาพกับเด็ก ๆ อย่างเป็นกันเอง
------------
นายกฯ เปิดโรงสีข้าวอินทรีย์ บ้านอุ่มแสง จ.ศรีสะเกษ พร้อมชื่นชมความสำเร็จกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดโรงสีข้าวอินทรีย์ บ้านอุ่มแสง ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่อุ่มแสง อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ที่ประสบความสำเร็จ จากการปลูกพืช5 กลุ่ม คือข้าว ทุเรียน พริก หอมแดง กระเทียม พร้อมมอบเงินสนับสนุน 45 ล้านบาท โดยกลุ่มดังกล่าว มี สมาชิก 1,258 ครัวเรือน
พื้นที่ 20,716 ไร่ โดยผลิตผล เป็นการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ เพิ่มมูลค่าสินค้า สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรโดยฤดูกาลผลิต ที่ผ่านมาทำรายได้ 48.7 ล้านบาท เฉลี่ย 38,738 บาท ต่อครัวเรือน โดยลูกค้าส่วนใหญ่เป็นตลาดยุโรปจากการสั่งพรีออเดอร์ 80% จำหน่ายในประเทศ 20%

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ชื่นชมความสำเร็จของกลุ่มเกษตรแปลงใหญ่ พร้อมกล่าวกับประชาชน ว่า การดำเนินการเรื่องเกษตร แปลงใหญ่จะต้องมีเพิ่มขึ้น รัฐบาลจะสานต่อนโยบาย พร้อมกับสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรทั่วประเทศ โดยให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนช่วยพัฒนาสานต่องานของครอบครัว เหมือนกลุ่มนี้ ที่มีลูกสาว จบ ดร. แล้วมาช่วยด้านการตลาด ซึ่งทั้งหมดอยู่ที่เกษตรกรทุกคน รัฐบาลไม่สามารถ
ใช้อำนาจตามมาตรา 44 บังคับให้ใครทำตาม แต่สิ่งที่ทำนั้นจะแตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ได้มุ่งหวังอะไรนอกจากขอความร่วมมือและสิ่งสำคัญ คือ การลดต้นทุนที่พัฒนาสินค้าการเกษตรให้มีคุณภาพ วางรากฐานในอนาคต สร้างรายได้ให้ประเทศ ให้ทุกคนอ่านทำบัญชีและเรียนรู้การทำเกษตรสมัยใหม่ โดยรัฐบาลตั้งเป้าภายใน 5 ปี ต้องเปลี่ยนทำการเกษตรแปลงใหญ่ ได้ 10 ล้านไร่ เฉลี่ยปีละ 2 ล้าน ไร่

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังได้พูดคุยกับชาวบ้านว่าการเดินทางลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทำให้มีความสุข เพราะอยู่กรุงเทพฯ มีปัญหาเยอะทำให้โมโห ตื่นเช้ามามีทั้งปัญหาพระ ปัญหาคน และปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งทุกปัญหาก็พยายามแก้ไข
--------
นายกฯ ชู จ.ศรีสะเกษ เป็นหนึ่งในต้นแบบเกษตรแปลงใหญ่ ยันรัฐบาลลงพื้นที่สร้างความสุขให้ประชาชน ขออย่าขัดแย้ง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพมหานครว่า วันนี้เป็นวันแห่งความสุขที่ได้มาเยือนจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีความก้าวหน้า มีความเจริญเติบโตในเรื่องของเกษตรแปลงใหญ่ นอกจากนี้ยังได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี จึงอยากยกให้จังหวัดศรีสะเกษเป็นหนึ่งในต้นแบบของเกษตรแปลงใหญ่ เพราะวันนี้มีคนรุ่นใหม่ที่เรียนจบการศึกษาระดับสูง แล้วกลับมาทำงานการเกษตรเป็นจำนวนมาก จึงขอให้ช่วยกันติดตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเกษตรกรเป็นอาชีพที่มีเกียรติเลี้ยงดูผู้คนทั่วทั้งโลก และประเทศไทยเอง มีโอกาสที่จะสร้างรายได้จากการเกษตร จึงต้องทำความร่วมมือกับทุกภาคส่วนให้หันมาทำเกษตร
แบบใหม่นี้ และประเทศไทยต้องไม่ลืมรากเง่าของตนเอง แม้จะมีนโยบายการเป็นไทยแลนด์ 4.0 ก็ต้องปฏิรูปด้านงานเกษตรให้มีความก้าวหน้า

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีปัญหาในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ แต่ 2 ปีมานี้ การบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลดีขึ้น มีน้ำเพียงพอต่อการใช้จ่ายโดยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้น้ำ ขุดลอกคูคลอง ฯลฯ ซึ่งทำได้ดีกว่า 8 ปีที่ผ่านมา แตกต่างจากที่ถูกกล่าวหาว่าทหารทำอะไรไม่เป็น

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า รัฐบาลนี้ตั้งใจที่จะทำงาน วางรากฐานอนาคตไว้ให้กับประชาชน โดยเฉพาะเกษตรกร ซึ่งอยากให้คนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาเข้ามาช่วยวางระบบเพื่อนำไปสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 และอย่าขัดแย้งหรือบิดเบือน พร้อมย้ำว่าการลงพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ทำให้มีความสุขเมื่อเห็นชาวบ้านมีความสุขมีเสียงหัวเราะ ทำให้มีความสุขไปด้วย แต่อย่าทะเลาะกัน ขณะเดียวกัน ยืนยันว่าสิ่งที่ทำนี้ไม่ได้ต้องการให้ใครมารัก24/2/60เพราะว่ามีความรักเพียงพออยู่แล้ว จึงอยากให้ทุกคนรักประเทศ ขัดแย้งกันเสียที

ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย


ตอนนี้บ้านเมืองกำลังอยู่ในความวุ่นวาย ต่างฝ่ายต่างออกมาประท้วง จนกระทั่งทหารต้องออกมาแถลงเกี่ยวกับการอัยการศึก และมีแถลงการล่าสุดคือ รัฐประหาร วันนี้ทีนเอ็มไทยมีข้อมูล?ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย?ไปดูกันคะว่าในครั้งอดีตนั้นมีเหตุการณ์อะไรบ้าง

ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย
ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย
การรัฐประหาร คืออะไร?

หมายถึง การล้มล้างรัฐบาลผู้บริหารปกครองรัฐในขณะนั้น แต่มิใช่การล้มล้างระบอบการปกครองหรือทั้งรัฐ และไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรง หรือเกิดเหตุนองเลือดเสมอไป

เช่นหากกลุ่มทหารอ้างว่า รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง บริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ จึงใช้กำลังบังคับให้ออกจากตำแหน่ง โดยประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ ภายในเวลาที่กำหนด ลักษณะนี้ก็เรียกได้ว่า เป็นการก่อรัฐประหาร โดยในวิชาการพัฒนาการเมือง?ซึ่งเป็นสาขาวิชาทางรัฐศาสตร์?จะถือว่าการรัฐประหาร มิใช่วิธีทางของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย?และถือเป็นความเสื่อมทางการเมือง (political decay) แบบหนึ่ง ทั้งนี้ หากความพยายามในการก่อรัฐประหาร ไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ก่อการมักถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ

ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย
ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย

ย้อนรอยรัฐประหารในประวัติศาสตร์ไทย : รวมปัจจุบันมีถึง 13 เหตุการณ์ด้วยกัน ดังนี้
1. รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476?พระยามโนปกรณ์นิติธาดา?ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาผู้แทนราษฎร?พร้อมงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา

เกิดจากการนำเสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์?ฉบับที่เรียกว่า “สมุดปกเหลือง” ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของคอมมิวนิสต์?ก่อให้เกิดความเห็นขัดแย้งกันอย่างรุนแรงในหมู่คณะราษฎรด้วยกันเองและบรรดาข้าราชการ?จึงเกิดการ?รัฐประหารเงียบ?บีบบังคับให้นายปรีดีเดินทางออกนอกประเทศ?พร้อมทั้งกวาดล้างจับกุมพวกที่คิดว่าเป็นคอมมิวนิสต์,?พรรคคอมมิวนิสต์??ทั้งนี้มีบันทึกที่ไม่เป็นทางการว่า พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และ พระยาทรงสุรเดช ร่วมมือกันในการขจัดบทบาททางการเมืองของคนสำคัญในคณะราษฏรเอง เช่น นายปรีดี พนมยงค์ และหลวงพิบูลสงคราม?เป็นต้น

อ่านต่อ รัฐประหารเงียบ?(ครั้งที่ 1)

2. รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476?นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา?ยึดอำนาจรัฐบาล?พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

เป็นรัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย?รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ?และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้ง?”สมุดปกเหลือง” จนกระทั่งเกิดวิกฤตเมื่อ “4 ทหารเสือ”?พระยาพหลพลพยุหเสนา,?พระยาทรงสุรเดช,?พระยาฤทธิอัคเนย์?และพระประศาสน์พิทยายุทธ?ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่?18 มิถุนายน?ปีเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม

จากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา,?หลวงพิบูลสงคราม?และหลวงศุภชลาศัย?ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา

อ่านต่อ ?รัฐประหารครั้งที่ 2?

3.?รัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490?นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ?ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

สาเหตุของการรัฐประหารก็คือ รัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งสืบอำนาจต่อจากรัฐบาล นายปรีดี พนมยงค์?ไม่สามารถจัดการกับปัญหาความขัดแย้งกันในชาติได้ อันมีสาเหตุหลักจากเหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8?ประกอบกับมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงราชการ


อ่านต่อ??รัฐประหารครั้งที่?3

?4.?รัฐประหาร 6 เมษายน พ.ศ. 2491?คณะนายทหารกลุ่มที่ทำการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490?จี้บังคับให้ นายควง อภัยวงศ์?ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี?และมอบตำแหน่งต่อให้ จอมพล?ป. พิบูลสงคราม

เป็นการทำรัฐประหารโดยบุคคลกลุ่มเดียวกันกับที่ทำรัฐประหารรัฐบาล?พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สนับสนุน?จอมพล ป. อดีตนายกรัฐมนตรี โดยที่ภายหลังจากกลุ่มนายทหารนำโดย?พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ?(ยศขณะนั้น) ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาล?พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์?เมื่อวันที่?8 พฤศจิกายน?พ.ศ. 2490?แล้วได้แต่งตั้งให้?นายควง อภัยวงศ์?หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์?พรรคฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี?เพื่อจัดการเลือกตั้งทั่วไปสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)

ต่อมาในการเลือกตั้งวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2491?พรรคประชาธิปัตย์ สามารถชนะการเลือกตั้งได้รับเสียงสูงสุดในสภาฯ นายควง อภัยวงศ์ ในฐานะ หัวหน้าพรรคได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่บ่งชี้ว่า ผู้มีอำนาจที่แท้จริงก็คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำให้เกิดการขัดแย้ง ..

อ่านต่อ??รัฐประหารครั้งที่?4

5.?รัฐประหาร 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494?นำโดยจอมพล?ป. พิบูลสงคราม?ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง

เป็นการรัฐประหารอีกครั้งที่เกิดในประเทศไทย?แต่เป็นรัฐประหารครั้งแรกที่เรียกได้ว่า เป็นการ?รัฐประหารตัวเอง?(ยึดอำนาจตัวเอง)?เหตุเนื่องจากจอมพล ป. พิบูลสงคราม?นายกรัฐมนตรี อ้างว่าไม่ได้รับความสะดวกในการบริหารราชการแผ่นดิน เหตุสืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2492?อันเป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ขณะนั้น ไม่เอื้อให้เกิดอำนาจ คือให้ผู้ที่เป็น สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นข้าราชการประจำไม่ได้?การยึดอำนาจกระทำโดยไม่ใช้การเคลื่อนกำลังใด ๆ

ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าเป็นการกระทำที่ประหลาดที่สุดในโลก และเป็นเหตุให้พรรคฝ่ายค้าน คือ?พรรคประชาธิปัตย์?ได้ประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลทุกประการ

อ่านต่อ??รัฐประหารครั้งที่ 5

6.?รัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500?นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์?ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม

ป็นการรัฐประหารที่ถือได้ว่าพลิกโฉมหน้าการเมืองไทยไปอีกรูปแบบหนึ่งเช่นเดียวกับการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 สืบเนื่องจากความแตกแยกกันระหว่างกลุ่มทหาร ที่นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์?ผู้บัญชาการทหารบก กับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์?อธิบดีกรมตำรวจ?ที่ค้ำอำนาจของรัฐบาล จอมพล?ป. พิบูลสงคราม

มีการเลือกตั้งที่นับได้ว่ามีการโกงกันมากที่สุดในประวัติศาสตร์?นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง?จอมพล ป. นายกรัฐมนตรี สั่งประกาศภาวะฉุกเฉิน?และแต่งตั้งให้ จอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้ปราบปรามการชุมนุม แต่เมื่อฝูงชนเดินทางมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว จอมพลสฤษดิ์กลับเป็นผู้นำเดินขบวน พาฝูงชนข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์

อ่านต่อ?รัฐประหารครั้งที่ 6

7. รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501?นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร?(ตามที่ตกลงกันไว้)

เกิดขึ้นหลังจากที่?จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์?ได้ทำการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2500?ล้มอำนาจเดิมของ?จอมพล ป. พิบูลสงคราม?แล้วได้มอบหมายให้?นายพจน์ สารสิน?เอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อจัดการเลือกตั้ง?มีการเลือกตั้งขึ้นในวันที่?15 ธันวาคม?พ.ศ. 2500?วันที่?1 มกราคม?พ.ศ. 2501พลโทถนอม กิตติขจร?จึงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อมา

แต่ว่าการเมืองในรัฐสภาไม่สงบ เนื่องจากบรรดา?ส.ส.?เรียกร้องเอาผลประโยชน์และมีการขู่ว่าหากไม่ได้ตามที่ร้องขอจะถอนตัวจากการสนับสนุนรัฐบาล?เป็นต้น?พล.ท.ถนอม กิตติขจร?ก็ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ได้?พล.ท.ถนอม กิตติขจร?จึงประกาศลาออกในเวลาเที่ยงของวันเดียวกัน แต่ทว่ายังไม่ได้ประกาศให้แก่ประชาชนทราบโดยทั่วกัน จากนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์?ประกาศยึดอำนาจอีกครั้ง โดยอ้างถึงเหตุความมั่นคงของประเทศ ซึ่งมีลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังคุกคาม โดยมีคำสั่งคณะปฏิวัติให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495?ที่ใช้อยู่ขณะนั้น ยุบสภา ยกเลิกสถาบันทางการเมือง

อ่านต่อ?รัฐประหารครั้งที่ 7

8. รัฐประหาร 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514?นำโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง

เป็นการรัฐประหารอีกครั้งในประเทศไทย?ที่เป็นการ?ยึดอำนาจตัวเอง?สาเหตุสืบเนื่องจากการที่สมาชิกพรรคสหประชาไทยของจอมพลถนอม กิตติขจร?นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2512?นำโดย นายญวง เอี่ยมศิลา?ส.ส.จังหวัดอุดรธานี?ได้เรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนต่าง ๆ ตามที่จอมพลถนอมได้เคยสัญญาไว้ในช่วงเลือกตั้ง เมื่อไม่ได้รับการตอบแทนดังที่สัญญาไว้ ส.ส.เหล่านี้ได้ต่างพากันเรียกร้องต่าง ๆ นานา บ้างก็ขู่ว่าจะลาออก เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้เป็นเหตุให้ จอมพลถนอม หัวหน้าพรรคและนายกรัฐมนตรีซึ่งได้รับฉายาสมัยนั้นว่า?“นายกฯคนซื่อ”?ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ในสภาฯ?ได้ จึงทำการยึดอำนาจตนเองขึ้น โดยไม่มีชื่อเรียกคณะรัฐประหารในครั้งนี้โดยเฉพาะเหมือนการรัฐประหารที่เคยมีมาในอดีต แต่เรียกตัวเองเพียงแค่ว่า?คณะปฏิวัติ

อ่านต่อ?รัฐประหารครั้งที่ 8

9. รัฐประหาร 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519?นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่?ยึดอำนาจรัฐบาล?ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

เนื่องจากเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์?ท่าพระจันทร์?ที่เกิดขึ้นมาตลอดช่วงวันนั้นที่เรียกว่า?เหตุการณ์ 6 ตุลา?รัฐบาลพลเรือนโดย?หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช?นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม?ไม่อาจควบคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสงบเรียบร้อยได้ คณะนายทหาร 3 เหล่าทัพและอธิบดีกรมตำรวจ?นำโดย พลเรือเอกสงัด ชลออยู่?ผู้บัญชาการทหารสูงสุด จึงจำเป็นต้องยึดอำนาจการปกครองไว้ โดยใช้ชื่อว่า?คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน

อ่านต่อ?รัฐประหารครั้งที่ 9

10.รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520?นำโดย พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

เหตุเนื่องจากการที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินที่นำโดย พล.ร.อ.สงัด ได้ทำการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2519?เนื่องจากในเหตุการณ์ 6 ตุลา?และแต่งตั้ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี?โดยรัฐบาลนายธานินทร์มีภารกิจสำคัญที่จะต้องกระทำคือ การปฏิรูปการเมืองภายในระยะเวลา 12 ปี ซึ่งทางคณะปฏิรูปฯเห็นว่าล่าช้าเกินไป ประกอบกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบดีด้วย ดังนั้นจึงกระทำการรัฐประหารซ้ำอีกครั้ง ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการ?รัฐประหารตัวเอง?เพื่อกระชับอำนาจก็ว่าได้

อ่านต่อ?รัฐประหารครั้งที่ 10

11. รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534?นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์?ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ

บางครั้งเรียกว่า?เหตุการณ์ รสช.??โดย?คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ?หรือ?รสช.(National Peace Keeping Council – NPKC) ยึดอำนาจจากรัฐบาล?พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ?โดยมีเหตุผลหลายประการ เช่น?พฤติการณ์ฉ้อราษฎร์บังหลวง,??ข้าราชการการเมือง ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงราชการประจำผู้ซื่อสัตย์สุจริต,??รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา

อ่านต่อ?รัฐประหารครั้งที่?11

12. รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549?นำโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน?ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

?นำโดย?คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข?ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โดยโค่นล้มรักษาการนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร?ซึ่งนับเป็นการก่อรัฐประหารเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากที่การเลือกตั้งเดือนเมษายนถูกตัดสินให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมายาวนานนับตั้งแต่เดือนกันยายน?พ.ศ. 2548?คณะรัฐประหารได้ยกเลิกการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ?สั่งยุบสภา?สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและเซ็นเซอร์สื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก?และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน

อ่านต่อ?รัฐประหารครั้งที่?12

13. รัฐประหาร 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557?นำโดย พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา?เป็นการประกาศรัฐประหารเพื่อให้รัฐมนตรีรักษาการทั้งหมดหมดอำนาจ และเปลี่ยนผ่านสู่การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

เป็นเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทยที่มีผลทั่วราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เวลา 16.30 น. โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. (National Peace and Order Maintaining Council) ที่นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา?ผู้บัญชาการทหารบก?เป็นหัวหน้าคณะ นับเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 13 ในประวัติศาสตร์ไทย

สองวันก่อนหน้านั้น พลเอก ประยุทธ์ ในนามของกองทัพบก ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก?ตั้งแต่เวลา 03:00 นาฬิกา ด้วยการอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457?ต่อมากองทัพบกได้ออกประกาศยุติการดำเนินการของศูนย์อำนายการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) และจัดตั้ง?กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย?(กอ.รส.) ขึ้นแทนโดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.รส.) และออกประกาศคำสั่ง และขอความร่วมมือในหลายเรื่องอย่างต่อเนื่องในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เช่น ขอให้ระงับการแพร่ภาพออกอากาศโทรทัศน์ดาวเทียมและวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับใบอนุญาต ขอความร่วมมือในการเผยแพร่เนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต และเชิญประชุมข้าราชการระดับสูง ผู้นำกลุ่มการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองต่าง ๆ เป็นต้น

อ่านต่อ?รัฐประหารครั้งล่าสุด

ทั้งนี้ บางตำราระบุว่า การปิดสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เมื่อวันที่?1 เมษายน?พ.ศ. 2476?เป็นรัฐประหารครั้งแรกของไทย และมิได้แยกเหตุการณ์วันที่?6 เมษายน?พ.ศ. 2491?เป็นรัฐประหารอีกครั้ง

ขอบคุณข้อมูล วิกิพีเดีย

การเมืองงขาลง:วีรพงษ รามางกูร

ข่าวที่สร้างความประหลาดใจอย่างยิ่งสำหรับประชาชนอย่างพวกเราก็คือ ข่าวเรื่องประชาชนในจังหวัดภาคใต้เดินทางมาล้อมทำเนียบรัฐบาล เพื่อคัดค้านการที่รัฐบาลจะสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินจากอินโดนีเซียเป็นเชื้อเพลิง
ที่ประหลาดใจก็คือ ผู้ชุมนุมต่อต้านโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินจากอินโดนีเซียเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันกับกลุ่มที่ออกมาชุมนุมต่อต้านรัฐบาลที่แล้วโดยการเรียกร้องราคายางพารา หลายคนสามารถจำหน้าได้ เพราะเป็นกลุ่มที่สร้างบรรยากาศความวุ่นวาย โดยกองทัพใส่เกียร์ว่างประกาศวางตัวเป็น
กลางระหว่างกองทัพกับรัฐบาล ครั้งนี้ก็คงเหมือนกัน กองทัพวางตัวเป็นกลางระหว่างผู้ชุมนุมกับรัฐบาล พร้อมๆ กันนั้นรัฐบาลก็ตัดสินใจเลิกโครงการสร้างโรงไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินจากอินโดนีเซีย แต่เพื่อรักษาหน้าของรัฐบาล รัฐบาลจึงประกาศว่ายังไม่เลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จังหวัดกระบี่ ทั้งที่รัฐบาลได้ประกาศว่าถ่านหินจากอินโดนีเซียจะเป็นเชื้อเพลิงที่มีราคาถูกที่สุด สามารถควบคุมไม่ให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม สามารถตั้งมาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ และจะสามารถพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านพลังงานจากถ่านหินในเรื่องต่างๆ ได้อีกหลายๆ สาขา หรือที่นักวิชาการทางด้านพลังงานเรียกว่าเหตุผล 4E อันได้แก่ Economy Environment Emission Standard และ Engineering
ประเทศไทยไม่ใช่ไม่เคยมีโรงไฟฟ้าจากถ่านหิน นอกจากโรงไฟฟ้าลิกไนต์ที่แม่เมาะแล้ว ยังมีโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินจากอินโดนีเซียที่มาบตาพุด สปป.ลาวมีโรงไฟฟ้าจากถ่านหินลิกไนต์ 3 โรงที่เหมืองลิกไนต์ เมืองหงสา ห่างจากจังหวัดน่านประมาณ 150 กม. ห่างจากหลวงพระบางประมาณ 60 กม. และไม่มีปัญหามลภาวะแต่อย่างใด
การชุมนุมประท้วงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดกระบี่ จึงเป็นที่น่าสงสัยจากผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองหลายคนว่าเป็นสัญญาณ “การเมืองขาลง” ของรัฐบาลชุดนี้หรือไม่ แต่เมื่อรัฐบาลยอมยกเลิกแผนการสร้างโรงไฟฟ้าที่กระบี่ ก็คงอนุมานว่ายังเป็นพวกเดียวกันอยู่ ยังไม่ใช่คนละพวก
ต่อมาก็เกิดกรณีวัดพระธรรมกาย ซึ่งก็คงจะเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองอีกเช่นกัน เพราะไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างปกติ เป็นเรื่องของวัดกับรัฐบาลซึ่งไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลต้องทำ สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้กับลูกศิษย์ลูกหาของวัดพระธรรมกายทั่วประเทศและทั่วโลกรวมทั้งผู้คนที่ศรัทธาเลื่อมใสในวัดแห่งนี้ มิฉะนั้นคงจะไม่ได้รับเงินบริจาคมากมายขนาดนี้ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนก็เคยกวาดล้างปราบปรามขบวนการฝ่าหลุนกง ซึ่งเป็นขบวนการที่ใช้ศาสนานำ เพราะกลัวอำนาจรัฐจะสั่นคลอน หรือไม่ก็ไม่ปรารถนาจะเห็นขบวนการเช่นว่านี้เติบใหญ่ แข่งกับขบวนการของฝ่าย “รัฐ”
แต่อย่างไรก็ตาม ที่น่าประหลาดใจก็คือตำรวจจำนวนมากพร้อมอาวุธกว่า 13 กองร้อย เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ อากาศยานไร้คนขับ รวมทั้งมีทหารปิดล้อมอยู่รอบด้านและประกาศให้พื้นที่วัดเป็นเขตปฏิบัติการพิเศษ ห้ามประชาชนเข้าออก แต่เมื่อตำรวจเข้าค้นวัดอย่างละเอียดก็ไม่สามารถจับกุมตัวหลวงพ่ออดีตเจ้าอาวาสวัดได้ แต่รัฐบาลทหารก็ถูกประณามจากชาวพุทธทั่วโลก ภาพตำรวจทหารบุกโจมตีวัดพุทธศาสนาแพร่กระจายไปทั่วโลกจนเป็นที่แปลกใจกับผู้คนที่ไม่ได้ติดตามข่าว
ทั้ง 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน เป็นการทำลายความเชื่อมั่น เป็นการทำลายความขลังของคณะรัฐประหารหรือ คสช.เป็นอย่างมาก อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทย
วงจรความชั่วร้ายทางการเมืองที่นักวิชาการทางรัฐศาสตร์และทางประวัติศาสตร์ ขนานนามเอาไว้ว่าเป็นวงจรอุบาทว์ของสังคมไทยหรือ “vicious circle” คือ ปฏิวัติ>ร่างรัฐธรรมนูญ>เลือกตั้ง>รัฐบาลจากการเลือกตั้ง>ปฏิวัติ วนเวียนกันเป็นวงจรอุบาทว์อยู่อย่างนั้น ประเทศไทยไม่สามารถออกจากวงจรนี้ได้เลย อายุของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะสั้นกว่ารัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหาร แต่เมื่อเกิดการชุมนุมจากกลุ่มผู้ชุมนุมชุดเดียวกันกับที่เคยชุมนุมต่อต้านรัฐบาลก่อน เพื่อปูทางไปสู่การทำรัฐประหาร
การที่รัฐบาลทหารยอมแพ้และถอยจากสิ่งที่ผ่าน ครม.มาแล้วและได้ดำเนินการมาอย่างถูกต้องโดยง่าย เป็นสิ่งที่แปลกประหลาดสำหรับรัฐบาลเผด็จการทหารในการบริหารราชการแผ่นดิน ถ้าเป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่น่าเป็นเรื่องแปลก
เหตุการณ์ทั้ง 2 เหตุการณ์ บัดนี้ได้สร้างบรรยากาศที่กลับไปเหมือนบรรยากาศเมื่อก่อนการทำรัฐประหารทั้ง 2 ครั้ง กล่าวคือบรรยากาศที่รัฐบาลอ่อนแอ คนทั่วไปไม่เกรงกลัว ทหารใส่เกียร์ว่าง แม้ว่ายังไม่มีเสียงมาจากทหารว่ายังอยู่หรือไม่อยู่กับรัฐบาล
มีข้อสังเกตอีกอันหนึ่งก็คือ รัฐบาลเผด็จการทหารที่มาจากการทำปฏิวัติรัฐประหาร หัวหน้ารัฐบาลต้องเป็น ผบ.ทบ.ที่ยังไม่เกษียณอายุราชการ แม้เกษียณอายุราชการไปแล้วก็ต้องพยายามแก้กฎหมายให้สามารถต่ออายุราชการได้ แม้จะมีเสียงคัดค้านอย่างหนักจากพรรคประชาธิปัตย์ ดร.ถนัด คอมันตร์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยอมให้ พ.ร.บ.ต่ออายุราชการของ ผบ.ทบ.ได้ก็ต่อเมื่อมี “ข้อมูลใหม่” เท่านั้น เมื่อหัวหน้ารัฐบาลเกษียณอายุจากกองทัพแล้วไม่อาจจะอยู่ในตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลได้นาน จะต้องหาทางลงโดยจัดให้มีรัฐธรรมนูญถาวรและจัดให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว แต่ครั้งนี้เกิดเหตุการณ์หลายอย่างที่รัฐบาลทหารชุดนี้ จะดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งโดยที่พรรคเพื่อไทยไม่ชนะการเลือกตั้ง เป็นเรื่องที่แม้จะทำได้แต่ก็เป็นการเสี่ยง เพราะถ้าเลือกตั้งแล้วพรรคเพื่อไทยชนะ หรือพรรคเพื่อไทยในชื่ออื่นยังชนะการเลือกตั้งอีก ก็ถือว่าการทำรัฐประหารครั้งนี้เป็นการกระทำที่ “เสียของ” อีก เหมือนกรณีที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ทำเมื่อปี 2547 ซึ่งกองทัพคงยอมไม่ได้หากมีการเลือกตั้งแล้วพรรคประชาธิปัตย์ยังแพ้เลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อไทยอีก ลึกๆ แล้วพรรคประชาธิปัตย์คงไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง กลายเป็นพรรคหนีการเลือกตั้ง อยากเข้าร่วมกับรัฐบาลแต่งตั้งมากกว่า เพราะบัดนี้กลายเป็นพรรคที่ปฏิเสธประชาธิปไตยที่เคย “คว่ำบาตร” การเลือกตั้งมาแล้ว ครั้งนี้ก็ยังไม่แน่ว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเอาอย่างไร จะเอากับทหารหรือจะเอากับฝ่ายประชาธิปไตย
บรรยากาศการเมืองที่เปลี่ยนไปจากการที่เคยกลัวปากกระบอกปืน กลัวการเยือนของรถถังมาที่บ้าน กลัวการอุ้มและการถูกเรียกไปปรับทัศนคติ ได้เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเสียแล้ว
ความผิดหวังของคนชั้นกลาง เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ที่เคยต่อต้านขบวนการ “ทักษิณ” ภาวะทางเศรษฐกิจเลวลง ธุรกิจส่งออกล้มหายตายจากไปทุกเดือน ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยางพารา น้ำมันปาล์ม อ้อยและน้ำตาล หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น ไม่ได้กระทบแต่คน “รากหญ้า” เสื้อแดงเท่านั้น แต่กระทบต่อคนชั้นสูงและคนชั้นกลาง เสื้อเหลืองรวมทั้งพวกสลิ่มด้วย
สถานการณ์เศรษฐกิจที่เลวลงตามวัฏจักร กำลังลามจากภาคเศรษฐกิจบันเทิงสื่อสารไปสู่ภาคส่งออก จากภาคส่งออกก็ลามไปธุรกิจเกษตรกรรม อันได้แก่ กสิกรรมและการประมง ทั้งในทะเลและชายฝั่ง เพราะยุโรปและอเมริกาหาเรื่องจะกีดกันสินค้าจากประเทศที่มิได้มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยไม่ออกวีซ่าให้ผู้นำระดับสูงเดินทางไปเจรจาทวิภาคีได้ ไปได้แต่การประชุมขององค์การระหว่างประเทศเท่านั้น เศรษฐกิจจึงเป็นเศรษฐกิจขาลง การปลดคนงานและการลดคนงานของธุรกิจต่างๆ คงจะเริ่มในปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานคนไทยที่มีการศึกษาหรือที่เรียกว่าแรงงานมีฝีมือ skilled workers หรือแรงงานที่มีการศึกษา ส่วนแรงงานที่ไม่มีฝีมือหรือ unskilled workers ที่อยู่ในมือของแรงงานต่างชาติก็คงเป็นงานที่คนต่างชาติทำต่อไป เพราะเป็นงานที่คนไทยไม่ยอมทำแล้วแม้ตนจะว่างงานก็ตาม
คนว่างงานของคนไทยในเมืองสมัยก่อนไม่เป็นปัญหา เพราะสามารถกลับไปบ้านเพื่อทำการเกษตรกับบิดามารดาที่บ้านได้ แต่เดี๋ยวนี้แรงงานที่ออกจากภาคเกษตรมาทำงานในเมืองนั้น ได้ตัดขาดจากครอบครัวในภาคเกษตรเสียแล้ว เพราะเป็นคนละรุ่น พ่อแม่ที่อยู่ในภาคเกษตรได้ล้มหายตายจากไปแล้ว ภาคเกษตรก็ใช้เครื่องจักรเกือบหมดแล้ว ตั้งแต่การไถ หว่าน ปักดำ เกี่ยว สี ทั้งหมดทำด้วยเครื่องจักรทั้งสิ้น เพราะราคาถูกกว่าการใช้แรงงาน แม้จะเป็นแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม ชาวนาที่หลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดินอย่างเมื่อ 30-50 ปีก่อนไม่มีให้เห็นอย่างที่สื่อมวลชนรุ่นใหม่จินตนาการแล้ว
แต่ถ้าทางการออกไปสำรวจก็จะได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะเป็นเนื้อที่ถือครอง ผลผลิตต่อไร่ ราคาและอื่นๆ ยิ่งถ้าเป็นรายงานจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือข้าราชการก็จะยิ่งไม่ตรงความจริงหนักขึ้นอีก เพราะทุกอย่างต้องการงบประมาณเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรทั้งนั้น และถ้าไม่ได้ก็จะเป็นตัวเร่งให้การเมืองเป็นขาลงเร็วยิ่งขึ้น
บรรยากาศการชุมนุมประท้วงต่อไปนี้จะมีบ่อยขึ้น ข่าวทหารเกียร์ว่าง ตำรวจเกียร์ว่าง ทหารขอเป็น
กลาง จะเป็นเรื่องที่ได้ยินบ่อยขึ้น ตามวัฏจักรอุบาทว์ของการเมืองไทย เผด็จการไม่มีปืนก็จบกันเท่านั้น
คราวนี้วงจรอาจจะสั้นกว่าเก่าก็ได้

ระวัง "นรก":วัฒนา เมืองสุข



ระวัง "นรก"
วานนี้ผมโพสต์คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 5/2560 ให้ทุกท่านศึกษาล่วงหน้า เพื่อชี้ให้เห็นว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เพราะนอกจากจะขัดต่อเงื่อนไขตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวแล้ว เหตุผลที่แสดงในคำสั่งยังบิดเบือนอีก กล่าวคือ
(1) อ้างว่าผู้กระทำผิดไม่ให้ความร่วมมือตามหมาย นั้น มีผู้ต้องหาคดีอุกฉกรรจ์จำนวนมากที่ไม่ให้ความร่วมมือจนถูกออกหมายจับ เช่นคดีก่อการร้ายในภาคใต้ที่ใช้อาวุธร้ายแรงฆ่าทั้งพระและเจ้าหน้าที่ หรือคดีขัดขวางการเลือกตั้งของพระที่ท่านผู้นำไปหมอบก้มหัวให้ทำพิธี ตามหมายจับของศาลอาญาที่ 43/2557 แต่ไม่เคยมีการออกคำสั่งทั้งที่โทษหนักกว่า (2) มีคนเข้าสมทบหรือชุมนุมจนน่าวิตกว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้น นั้น สถานที่ดังกล่าวคือวัดซึ่งไม่ได้กระทำความผิดและไม่ใช่ที่อโคจร สาธุชนได้เข้าไปชุมนุมเพื่อปฏิบัติศาสนกิจมานานแล้วโดยไม่เคยมีเหตุร้ายเกิดขึ้น (3) ส่วนการคุมพื้นที่ด้วยการห้ามสาธุชนและสงฆ์ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าออกวัด คือการออกคำสั่งกันผู้บริสุทธิ์ให้ออกห่างจากศาสนาซึ่งไม่มีมนุษย์คนใดทำนอกจากทรราช (4) คำสั่งข้อ 3 (5) ที่จะตัดไฟฟ้าของวัดพระธรรมกาย นั้น ขอเตือนไปยังผู้ว่าการไฟฟ้าภูมิภาคว่าหากท่านตัดไฟวัดที่ไม่ได้ผิดสัญญา จะเป็นเหตุให้ประชาชนขาดความสะดวกหรือน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตราย ครบเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 234 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และ (5) หากเห็นว่ามีการล่วงละเมิดพระธรรมวินัย ต้องดำเนินการตามกฏ มส. ฉบับที่ 11 ว่าด้วยการลงนิคหกรรม แต่ไม่ใช่หน้าที่ของ คสช. กรุณาอย่าเอามาพูดโดยไม่มีความรู้อีก แค่นี้ก็อายจะแย่แล้ว
หากท่านผู้นำจะนำมาตรการแบบนี้ไปใช้กับผู้ก่อการร้ายทางภาคใต้บ้างก็จะไม่ถูกกล่าวหาว่าเก่งแต่กับผู้หญิงและพระให้เสียชื่อชายชาติทหาร ความจริงแล้วถ้าอยากจะหาเหตุมากลบเรื่องของญาติพี่น้อง หรือการทุจริตของ อผศ. ที่ คสช. เป็นผู้อนุมัติ หรือความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ หรืออยากซื้อเรือดำน้ำ ก็ไม่ควรเอาพระและประชาชนผู้บริสุทธิ์มารับกรรม ผมไม่ใช่สาวกและไม่เคยเข้าวัดพระธรรมกายแต่ขอร่วมต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม เหตุที่เกิดกับพระทำให้ผมปฏิเสธการเป็นตัวแทนพรรคมาคุยเรื่องปรองดอง เพราะรัฐบาลกำลังทำบาปและสร้างความแตกแยก มันบาปจนนรกขุมแรกๆ ไม่กล้ารับครับ
วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
24 กุมภาพันธ์ 2560

รบพิเศษ ช่วยสร้างปรองดอง



รบพิเศษ ช่วยสร้างปรองดอง
"บิ๊กเจี๊ยบ" กลับถิ่น หมวกแดง วันรบพิเศษ เผยมีความสุข ฝากลูกน้อง“นักรบพิเศษ” รักษาเกียรติ ศักดิ์ศรี ให้ช่วยดูแลความสงบ ช่วงเปลี่ยนผ่าน เผยใช้"หน่วยปฏิบัติการจิตวิทยา"ปจว.-สร้างความปรองดองคนในชาติ
บรรดานายทหารรบพิเศษ ที่เกษียณราชการ ไปแล้ว ร่วมงาน "วันรบพิเศษ" ปีที่51 ทุกๆวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ทั้ง พลเอกวิมล วงศ์วานิช อดีตผบทบ. พลเอกสนธิ บุญยะรัตกลิน อดีตผบทบ. และหัวหน้า คมช. พลเอกขจร รามัญวงศ์ พลเอกวัฒนา สรรพานิช พลเอกอรพันธุ์ วัฒนวิบูลย์ พลเอกมนัส คล้ายมณี โดยมี พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ. และ พลโท ศิริชัย เทศนา ผบ.นสศ. ร่วมต้อนรับ ที่หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ลพบุรี
พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ.และอดีตผบ.นสศ. กล่าวกับกำลังพลตอนหนึ่งว่า วันนี้เป็นวันรบพิเศษที่พวกเราทุกคนมารวมกันเพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่อดีตนักรบพิเศษที่ได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตปกป้องอธิปไตยจนทำให้บ้านเมืองของเรามีความสุขและร่มเย็นมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดตั้งหน่วยรบพิเศษขึ้นมาในกองทัพบก ได้รับมอบภารกิจที่สำคัญมาโดยตลอด ทุกภารกิจประสบความสำเร็จและได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นของกองทัพบกในการใช้งานหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษนี้ ขอให้นักรบพิเศษยุคปัจจุบันภาคภูมิใจและช่วยรักษาเกียรติยศ เกียรติศักดิ์ที่นักรบพิเศษได้สร้างไว้ให้อยู่คู่กับหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษตลอดไป”
ในสถานการณ์ปัจจุบันบ้านเมืองเราอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่าน กองทัพบกต้องเข้ามาดูแลงานด้านความมั่นคงให้แก่รัฐบาลเพื่อให้รัฐบาลก้าวไปข้างหน้าได้ตามแนวทางที่กำหนดจนนำไปสู่การเลือกตั้งที่กำหนดไว้ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษถือเป็นหน่วยสำคัญของกองทัพบกที่จะต้องก้าวเข้ามาช่วยดูแลความสงบเรียบร้อยโดยเฉพาะด้านความปลอดภัย
รวมทั้งการทำงานร่วมกับพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะการสร้างการรับรู้ สร้างความเข้าใจ ในแนวนโยบายของรัฐบาลที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันที่ต้องการให้เกิดความรักความสามัคคีของคนในชาติ และเกิดความปรองดองที่จะเป็นรากฐานสำคัญในการปฏิรูปประเทศให้เป็นรูปธรรมต่อไป ขอให้ทุกคนมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มขีดความสามารถ เพื่อให้เกิดผลดีที่สุดแก่ตนเอง หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ เเละกองทัพบก
ขอให้ยึดมั่นในปณิธานของกองทัพบก คือเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์และประชาชน และระลึกถึงความเป็นรบพิเศษ สร้างตนเองให้เข้มเเข็งทั้งทางร่างกายและจิตใจ ฝึกฝนตนเองให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในตำแหน่งงานในหน้าที่ซึ่งเป็นพื้นฐานให้การปฏิบัติภายการประสบความสำเร็จอย่างมีเกียรติและมีศักดิ์ศรี และให้ชาติบ้านเมืองมีความสงบร่มเย็นตลอดไป
พลเอกเฉลิมชัย กล่าวถึงความรู้สึกที่ได้กลับมาหน่วยกำเนิด ว่า ได้มีโอกาสมาเจอผู้ได้บังคับบัญชาเก่าๆ รู้สึกมีความสุข ทุกคนพยายามทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด หน่วยรบพิเศษเป็นหน่วยหนึ่งของกองทัพบกที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบในภารกิจพิเศษ ที่ผ่านมาผลงานได้รับการยอมรับ
วันนี้อดีตผู้บังคับบัญชามากันมากมาย เช่น พล.อ.วิมล วงศ์วานิช เป็นวันหนึ่งในหนึ่งปี ที่มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ในการสนับสนุนงานรัฐบาลด้านการเสริมสร้างการปรองดอง มีหลายกรอบงาน ทั้งด้านงานยุทธการ และงานด้านกิจการพลเรือน ซึ่งแต่ละกรอบงานก็ดำเนินการในส่วนของตัวเอง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะเป็นอย่างไร ในข้อเท็จจริงถ้าเป็นงานธุรการจะรับผิดชอบชายแดนเป็นหลัก ดังนั้นถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไร งานก็จะอยู่ในกรอบตามขั้นตอน ส่วนงานอื่นๆ ก็จะงานเกี่ยวข้องกับมวลชน เข้าไปดูแลช่วยเหลือประชาชน และสร้างความเข้าใจ
สำหรับการสร้างความปรองดองของคนในชาติ คิดว่าทุกคนมีส่วนร่วมในการข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้คนในชาติมีความรักความสามัคคีปรองดอง
นสศ. เรา มีกองพันปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.) ที่มีกองร้อย ปจว. ที่ไปขึ้นกับทุกกองทัพภาค โดยจะมีหน่วยนี้เสริมสร้างความรักความสามัคคีให้แก่พี่น้องประชาชน พร้อมทั้งความเข้าให้กับในชาติ เป็นการสร้างความปรองดองที่ไม่ได้เกี่ยวกับคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองเพียงอย่างเดียว แต่ทำเกี่ยวกับภาพรวมของคนทั้งชาติ

โฆษกกห.เผย "เพื่อไทย" เตรียมเข้าร่วม"โต๊ะกลมกลาโหม"ปรองดอง8 มีค./ นปช.15 มีค.



โฆษกกห.เผย "เพื่อไทย" เตรียมเข้าร่วม"โต๊ะกลมกลาโหม"ปรองดอง8 มีค./ นปช.15 มีค./เวทีปรองดองท้องถิ่น เริ่มแล้ว กอ.รมน.ดู/ตั้ง3 คณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ "ธงทอง -อัชพร-พล.อ.เอกชัย"/เผยผลการพูดคุย 6 พรรค เสนอพัฒนาบุคคล การศึกษา ป้องกันกลุ่มการเมืองชี้นำ
พล.ต.คงชีพ ตันตระวานิชย์ โฆษกกลาโหม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง กล่าวว่า การพูดคุยระหว่างคณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น เพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ในชุดคณะกรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดองกับพรรคการเมืองในสัปดาห์นี้ ตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ. และ 24 ก.พ. มีการหารือกับพรรคการเมือง จำนวน 6 พรรค
โดยทุกพรรคต่างมองปัญหาในลักษณะเดียวกันในหลายๆเรื่อง ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของตัวบุคคล โดยมีข้อเสนอในเรื่องการให้น้ำหนักการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาคน โดยเชื่อว่าจะเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้ประชาชนถูกชี้นำจากกลุ่มการเมืองได้
นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอในการตรวจสอบกลุ่มทุนให้มากขึ้น การบังคับใช้กฏหมายอย่างเคร่งครัด ลดการเหลื่อมล้ำ ซึ่งการปฏิรูปทุกด้านต้องดำเนินการไปพร้อมๆกันทุกมิติ
ที่ผ่านมา การพูดคุยมีความคืบหน้ามาก ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกพรรค มีความเห็นร่วมกันถึงประโยชน์ของชาติ และเห็นว่า ควรจะนำเรื่องในอดีตมาเป็นบทเรียน เพื่อทบทวนบทบาทตนเอง องค์กร และหาทางออกร่วมกัน

พล.ต.คงชีพ กล่าวว่า ในระดับพื้นที่นั้น จะมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) แต่ละภาค กำกับดูแล และจะมีคณะกรรมการระดับจังหวัดขึ้นมาเพื่อเชิญทุกภาคส่วนมาพูดคุย ใน 10 หัวข้อที่กำหนด ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมี.ค.เป็นต้นไป
โดยจะทยอยเปิดเวทีให้ประชาชนและทุกภาคส่วน เข้ามาให้ความคิดเห็น สำหรับข้อมูลจากแต่ละพื้นที่นั้น จะทยอยรวบรวมส่งมาให้คณะอนุกรรมการรับฟังความคิดเห็น เพื่อรวบรวมต่อไป

สำหรับในวันที่ 28 ก.พ. นั้น จะเชิญพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย พรรคพลังเครือข่ายประชาชน พรรคพลังสหกรณ์ พรรคมหาชน และพรรคยางพาราไทย
และในวันที่ 1 มีนาคม จะเชิญพรรคพลังชนเข้ามา ส่วนพรรคเพื่อไทยนั้น เบื้องต้นทราบว่าจะเชิญเข้ามาในวันที่ 8 มีนาคม กลุ่มนปช. ในวันที่ 15 มีนาคม ส่วนกลุ่มกปปส.ยังอยู่ในระหว่างการประสานงาน

ทั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้รับการแต่งตั้งคณะที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้แก่ นายธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ,นายอัชพร จารุจินดา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และ พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า

“ผบ.ทบ.”ตั้งข้อสงสัยในวัดธรรมกายมีอะไรถึงห้ามเข้า

“ผบ.ทบ.”ตั้งข้อสงสัยในวัดธรรมกายมีอะไรถึงห้ามเข้า ถามสังคมจะเอา“ความเชื่อ”หรือ“กฎหมาย” แจงทหารเผชิญหน้าพระเป็นการตัดสินใจของบก.ควบคุม ห่วงมือที่สามก่อกวน
24 กพ. 60 - พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ถึง การบุกค้นวัดธรรมกาย ว่า ในกรอบการทำงานขณะนี้ เป็นเรื่องของกรมสอบสวนคดีพิเศษหรือ ดีเอสไอ ดำเนินการ ซึ่งมีการประชุมและสรุปสถานการณ์ว่า สถานการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร พื้นที่ไหนจะใช้กำลังของใคร หาก ดีเอสไอ ร้องขอมาตนก็พร้อมที่จะสนับสนุน ส่วนกรณีเกิดการเผชิญหน้าระหว่างพระกับทหารเมื่อวานนี้ ( 23 ก.พ.)นั้น บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่นอกวัด และไม่ได้อยู่ในรั้ววัด ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ต้องการที่จะเข้าไป ทำภารกิจหน้าที่ ควบคุมพื้นที่ เนื่องจากกังวลหลังมีข่าวมือที่สามจะเข้ามาก่อกวน สร้างสถานการณ์ จึงมีความจำเป็นต้องดูแลพื้นที่ที่รับผิดชอบให้เข้มงวดมากขึ้น เมื่อมีการต่อต้าน ต้องใช้หลักคิดที่ว่าจะยอมเสียเวลาดีกว่าให้มีการปะทะกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทหารไปเผชิญหน้ากับพระเป็นภาพที่ไม่สมควร พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ยืนยันว่าเป็นพื้นที่นอกวัด แต่ในเวลานั้นกองบัญชาการควบคุมพื้นที่เป็นผู้พิจารณาว่าต้องทำเช่นนี้ ก็ทำตามนั้น ซึ่งก็มีข้อดีและข้อเสีย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องแข็งไปตลอดแผน มีการปรับเปลี่ยนแผนในแต่ละวัน บางครั้งก็ต้องถอยออกมาบ้าง ส่วนกรณีที่วัดธรรมกายจะไปยื่นหนังสือถึงยูเอ็นว่าถูกเจ้าหน้าที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นก็ขอให้เป็นเรื่องของวัดธรรมกาย
“ แม้เวลาจะล่วงเลยมาหลายวันแล้ว ต้องใจเย็นๆและอดทน ซึ่ง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ระบุแล้วว่า ต้องอดทนและพยายาม ดำรงความมุ่งหมายในการบังคับใช้กฎหมาย ต้องยืนหยัดความมุ่งหมายเหมือนเดิม ส่วนสถานการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร ผู้ที่รับผิดชอบในพื้นที่ต้องคุยกัน ในแต่ละวันและปรับแผนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเสียเลือดเนื้ออย่างไรก็ตามทุกอย่างให้เป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติในส่วนของผมเองอยู่ในระดับข้างบนและ พล.อ.ประวิตร ดูแลอย่างใกล้ชิดแล้ว ส่วนที่พระมาตั้งแถว เป็นป้อมปราการจะทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ยากหรือไม่นั้นไม่เป็นไร” พล.อ.เฉลิมชัย กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า จะทำให้เจ้าหน้าที่เปลืองตัวหรือไม่เนื่องจากสถานการณ์ยังไม่จบ พล.อ.เฉลิมชัยกล่าวว่า ขณะนี้ยังคงดำรงความมุ่งหมายอย่างไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงและทำผู้ที่รับผิดชอบก็วิเคราะห์กันว่าวันไหนจะทำอย่างไร ในส่วนของตนที่รับผิดชอบในกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กดล.รส.)มีความพร้อมหากมีการปรับแผน หรืออาจจะต้องใช้หน่วยปฏิบัติการจิตวิทยาเข้าไป
“ ระหว่างความเชื่อกับหลักข้อเท็จจริงหรือกฎหมายเราจะเอาตรงไหนเป็นหลัก สังคมจะยืนอยู่ได้ด้วยความเชื่อหรือจะเอากฏหมายแค่นั้นเอง หากเอาความเชื่อ บ้านเมืองก็วุ่นวายไม่จบ แต่ในขณะนี้ต้องพยายามทำความเข้าใจป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงโดยเฉพาะผู้ที่ต้องการจะสร้างความวุ่นวายและคณะทำงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ก็มีการพูดคุยกันโดยตลอด ทั้งนี้ในส่วนของมือที่สามที่จะเข้ามาสร้างสถานการณ์นั้นก็พอมีอยู่ ที่เข้าไปผสมโรงอยู่ในวัดซึ่งเรากังวลเรื่องนี้จึงมีการเพิ่มเติมกำลังเข้าไป ส่วนพระธัมมชโย ยังอยู่ในวัดหรือไม่นั้นผมยังไม่ยืนยันและไม่ได้ให้ความสำคัญ นอกจากการบังคับใช้กฎหมายและพื้นที่ตรงนี้ ต้องสามารถเข้าไปได้ แต่ขณะนี้ทางวัดธรรมกายไม่ยอมให้เข้าจึงมองว่ามีอะไรที่นอกเหนือจากจากตัวพระหรือไม่ มีอะไรที่ซ่อนอยู่ข้างใน” พล.อ.เฉลิมชัย กล่าว
พล.อ.เฉลิมชัย กล่าวว่า ส่วนกรณีนายกิติรัตน์ ณ ระนอง อดีต รมว.กระทรวงการคลัง และ กลุ่ม นปช. นำมวลชน ใส่บาตรพระวัดธรรมกายนั้น อย่าพึ่งไปมองว่าเป็น นปช. ให้มองว่าเป็นเรื่องของตัวบุคคลมากกว่า ซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์กันมาก่อน อย่าเพิ่งไปเหมารวมว่าเป็นกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ ถือเป็นเรื่องของตัวบุคคล

‘บิ๊กตู่’ ลั่น อย่าใช้ ‘กฎหมู่’ กดดันจนท. ย้ำ รักทุกคน

‘บิ๊กตู่’ ลั่น อย่าใช้ ‘กฎหมู่’ กดดันจนท. ย้ำ รักทุกคน แต่ต้องทำตามกฎหมาย แนะธัมมชโยแสดงความบริสุทธ์

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการดำเนินคดีกับ พระธัมมชโย และศิษย์วัดพระธรรมกาย ที่ขณะนี้ยังมีปัญหาบานปลายอยู่ว่า วันนี้ไม่อยากให้มีการนำเสนอในเรื่องของความขัดแย้ง เรื่องวัดพระธรรมกายนั้น เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) ที่จะต้องดำเนินการไป ขณะนี้มีหลายส่วนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ ขอร้องว่าอย่าให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงเลย ขอให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงาน ประชาชน และพระก็ต้องให้ความร่วมมือ เพราะถือเป็นการทำงานภายใต้กฎหมาย ไม่ต้องการให้ใช้กฎหมู่มากดดันเจ้าหน้าที่ ไม่เช่นนั้นจะทำงานยาก สุดท้ายจะเกิดการกระทบกระทั่งบาดเจ็บสูญเสีย เพราะฉะนั้นใครที่กำลังเชียร์ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขณะนี้อย่าลืมว่า หากมีลูกหลานของตัวเองอยู่ในสถานการณ์และพื้นที่นั้น แล้วจะรู้สึกอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเจ้าหน้าที่ พระ หรือประชาชน ที่เชื่อถือศรัทธา หากเกิดบาดเจ็บสูญเสียล้มตายลงไป แล้วจะทำอย่างไร ก็ต้องเสียใจ

“ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับคนที่กระทำความผิด หรือไม่ผิด ก็ต้องออกมาแสดงความบริสุทธิ์ให้ได้ แค่นั้นทุกเรื่องก็จะจบลง ไม่ต้องเสียเวลา พลังงาน หรืองบประมาณ ในส่วนของภาครัฐไม่ทำก็ไม่ได้ ผมจึงอยากขอร้องสื่อมวลชนให้ลดการเสนอข่าวในเรื่องนี้ลงไปบ้าง เพราะถ้าสามารถลดการเสนอลงไปได้ การสร้างแนวร่วม การสร้างมวลชนก็จะลดลง และผมเองก็เป็นที่รักชีวิตของคนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นใคร จะถูกหรือผิดก็ตาม เพราะเขาก็เป็นคนไทย และผมก็รักทุกคน เพียงแต่ว่าต้องรักษากฎหมาย กฎกติกาของบ้านเมือง”นายกฯ กล่าวและว่าไม่ได้หมายความว่าเจ้าหน้าที่จะเข้าไปทำลายทิ้งทั้งหมด มันไม่ใช่ สมมติว่าถ้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ก็ต้องพิจารณาว่าจะทำอย่างไรต่อไปกับสถานที่ โดยเฉพาะที่เป็นสถานที่ในการทำบุญนั้น จะต้องไปอย่างไรขณะนี้ก็ยังไม่รู้เหมือนกัน เพราะมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง ถ้าไม่ผิดกฎหมายอะไรเลยก็ทำอะไรไม่ได้ มันเป็นเรื่องของบุคคล