PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

ไม่มีความยุติธรรมสำหรับคนตาย?

Cherice Moralez หรือ “Cherry” เด็กสาวอายุ 14 ปีถูกครูอายุ 49 ปีข่มขืนหลายครั้งเมื่อหกปีที่แล้ว ทั้งในบ้าน ในรถ ในโรงเรียน คดียืดเยื้อมาหลายปี สุดท้ายจึงมีการฟ้องคดีต่อศาลที่รัฐมอนทานา ปรากฏว่าผู้พิพากษาตัดสินจำคุกครูคนดังกล่าว 31 วัน ฟังไม่ผิดหรอกครับ 31 วันจริง ๆ ในระหว่างการไต่สวนคดี ผู้พิพากษายังใช้คำพูดทำนองว่า เด็กสาวคนนี้ยั่วยวนครูผู้ชายเอง “เธอเหมือนนังแมงมุม” ผู้พิพากษา G Todd บอก “น้องคนนี้เป็นเหมือนพวกล่าเหยื่อ” “ดูจากภาพแล้ว เธอแต่งตัวแก่กว่าอายุจริง แถมยังชอบไปเตร็ดเตร่กับวัยรุ่นผู้ชายข้างนอกบ้าน” ผู้พิพากษายังพูดย้ำอีกว่า น้องผู้หญิงคนนี้มีลักษณะ “สูงวัยกว่าอายุที่แท้จริง”

น้องเขาไม่มีโอกาสมาโต้แย้งคำพูดของผู้พิพากษาหรอกครับ เพราะเขาฆ่าตัวตายไปตั้งแต่เมื่ออายุ 16 ปีเพราะทนความอับอายของคดีความที่เกิดขึ้นไม่ได้ เธอยิงตัวตายบนเตียงนอนของแม่นั่นเอง หลังจากการฟ้องคดีต่อครูเมื่อปี 2551 อีกสองปีต่อมาเหยื่อการข่มขืนก็ฆ่าตัวตาย เพราะถูกเพื่อนที่โรงเรียนล้อเลียน ทำให้การไต่สวนคดีสะดุดลง ในช่วงเวลาดังกล่าว ครูถูกส่งเข้ารับการบำบัดผู้กระทำผิดทางเพศ แต่สถานบำบัดบอกว่าเขาละเมิดกฎ ถึงอย่างนั้น ผู้พิพากษารัฐมอนทานาท่านนี้ก็ยังเห็นว่าครูคนนี้ “รับกรรมมามากพอแล้ว” เด็กผู้หญิงต่างหากที่เป็นคนก่อปัญหา

ภายหลังมีรายงานข่าวคำพิพากษา มีประชาชนเข้าชื่อกันเป็นหมื่นคนเพื่อขอให้ถอดถอนผู้พิพากษาท่านนี้ แต่ยังไม่ทันถอดถอน ผู้พิพากษาก็ขอโทษประชาชนเสียก่อน บอกว่าไม่ได้ตั้งใจ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ยอมแก้ไขคำตัดสินลงโทษจำคุกหนึ่งเดือนสำหรับคนร้ายข่มขืนกระทำชำเราผู้เยาว์ โดยบอกว่าจะแค่เพิ่มหมายเหตุอธิบายเหตุผลว่าทำไมถึงตัดสินเช่นนั้น

http://www.dailymail.co.uk/news/article-2405280/Cherice-Moralez-case-Family-speak-living-hell-rape-Stacey-Rambold.html

http://www.theguardian.com/commentisfree/2013/sep/03/painful-lesson-cherice-moralez-rape

ม็อบยางขู่ชุมนุมใหญ่ขอกก.100-กิตติรัตน์รับชงกนย.5ก.ย.

ม็อบยางขู่ชุมนุมใหญ่ขอกก.100-กิตติรัตน์รับชงกนย.5ก.ย.
ข่าวเศรษฐกิจ ม็อบสวนยาง วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ.2556 20:49น.
477450
แกนนำเครือข่ายสวนยาง ยอมรัฐบาลต้องปรับราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม ตามข้อเรียกร้องของเกษตรกร ขระที่ "กิตติรัตน์" นำข้อเสนอเข้าที่ประชุม กยน. พรุ่งนี้
นายอำนวย ยุติธรรม ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อความเป็นธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวขอบคุณรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหา ซึ่งทุกคนมาด้วยความตั้งใจและยืนยัน 100% ว่า การชุมนุมของพี่น้องไม่มีการเมืองหนุนหลัง ขณะกลุ่มที่เดือดร้อนที่สุดคือ เกษตรที่มีเนื้อที่ 10 - 15 ไร่ และเนื่องจากต้นทุนการผลิตยางขณะนี้ที่อยู่ที่ 60 บาท ขณะที่ราคาขายอยู่ที่ 70 บาท จึงไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัว ทั้งนี้กลุ่มผู้ชุมนุมพร้อมที่จะเจรจาเพื่อที่จะหาข้อยุติ และหวังว่ารัฐบาลจะไม่เลือกปฏิบัติ ด้าน นายเอียด เส้งเอียด แกนนำเกษตรกรชาวสวนยางพารา เผยชนวนเหตุของม็อบสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน พื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ คือการเข้าไปเจรจาของ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ที่มีการพูดคุยกับแกนนำที่ไม่ใช่เกษตรกรผู้เดือดร้อนจากปัญหาราคายางตกต่ำจริงๆ และก็มีการตกลงราคาที่ 80 บาท ทำให้ผู้ชุมนุมไม่พอใจ อีกทั้งมีผู้นำหมู่บ้านจัดตั้งกลุ่มบุคคลมาสร้างสถานการณ์ความวุ่นวายพื้นที่ชุมนุมจากมูลเหตุนี้ ตนจึงเข้ามาเป็นแกนนำในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ และในวันที่ 2 ของการชุมนุม เมื่อไม่มีการตอบรับจากทางรัฐบาล ดวงไฟดวงน้อยๆ จึงถูกจุดลุกลามเป็นไฟดวงใหญ่ จึงขอให้นำเรื่องนี้มาแก้ปัญหาโดยด่วน มิฉะนั้น ผู้ที่ชุมนุมพร้อม จะจับปืนเข้าป่าอีกครั้ง
นายอำนวย ยุติธรรม ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อความเป็นธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ทางกลุ่มผู้ชุมนุมอยากได้ราคายาง 120 บาท/ก.ก. แต่รัฐบาลให้ 80 บาท/ก.ก. ในวันนี้รัฐบาลบอกว่าจะเข้ามาแก้ไขปัญหาจึงอยากได้คำตอบว่ารัฐมีเงินเท่าไร ที่จะแทรกแซงราคาได้ ซึ่งเราเชื่อว่ารัฐบาลมีความสามารถในการตลาด การที่นายกรัฐมนตรี บินไปต่างประเทศหลายประเทศ น่าจะสามารถเจรจาเพื่อขายยางได้ ซึ่งชาวบ้านไม่ได้ต้องการรวยจากการขายยางราคา 120 บาท แต่ชาวบ้านเพียงต้องการราคาที่ทำให้เกษตรกรอยู่ได้ ไม่ขาดทุนมีรายได้ที่เพียงพอสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ ไม่ใช่ได้ราคาสูงแต่ประเทศล่มจม ทั้งนี้ กลุ่มแกนนำยืนยัน ขอให้รัฐบาลยกเลิกมติ ครม.ที่จะจ่ายค่าชดเชยต้นทุนการผลิต 1,260 บาท/ไร่ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้กรีดยางไม่ได้รับประโยชน์จากมติดังกล่าว โดยให้รัฐบาลประกันราคา โดยใช้วิธีเติมราคาส่วนต่างยางที่กิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งหากไม่ได้ตามข้อเรียกร้องทางแกนนำจะประกาศให้พี่น้องออกมาชุมนุมใหญ่ ที่หน้าที่ว่าการอำเภอทั่วทั้งภาคใต้
ขณะที่ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่าจะนำข้อเสนอดังกล่าว เข้าสู่ที่ประชุม กยน. ในวันพรุ่งนี้
 ที่มา :สำนักขาวไอเอ็นเอ็น. http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=477450

รู้จัก ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

รู้จัก ดร.ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ และอาจารย์ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ผู้ดำเนินรายการจากเวที “ผนึกกำลังสู่อนาคต : เรียนร่วมกันจากประสบการณ์” (UNITING FOR THE FUTURE: LEARING from each other’s experiences) ผู้ที่ไม่เปิดโอกาสให้นายโทนี แบลร์
ตอบคำถาม ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ โดยอ้างว่าเป็นคำถามที่สุ่มเสี่ยงให้เกิดความขัดแย้ง

โดยในช่วงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายฐิตินันท์เคยให้สัมภาษณ์ในสื่อต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวรอยเตอร์ เอพี เอเอฟพี นิตยสารไทม์ สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น บีบีซี โดยโจมตีรัฐบาลนายอภิสิทธิ์บ่อยครั้งในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ปี 2553 โดยเฉพาะข้อกล่าวหาที่ว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์กำจัดกลุ่มคนเสื้อแดง ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงไม่พอใจ นอกจากนี้นายฐิตินันท์ ยังเคยเขียนบทความ Reds are a force to reckon with หรือ "เสื้อแดง พลังที่ต้องให้ความสำคัญ" ลงในนสพ. บางกอกโพสต์ ฉบับตีพิมพ์วันที่ 11 ก.พ. 53

ทั้งนี้นายฐิตินันท์ ไปเรียนที่ต่างประเทศ ตั้งแต่หลังจบประถม 6 เป็นเวลา 6 ปีแล้วเรียนต่อปริญญาตรีอีก 4 ปี รวมเป็น 10 ปี จากนั้นไปเทคคอร์สที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ 1 ปี แล้วจึงเรียนโทต่อที่ จอห์น ฮอปกิ้นส์ อยู่ 2 ปี รวมทั้งหมด 13 ปีจึงเดินทางกลับเมืองไทย ตัดสินใจเป็นอาจารย์สอนหนังสือ โดยเริ่มงานที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ วันที่ 1 มิถุนายน 2535 สอนอยู่ได้ 2-3 ปีก็ได้ทุนไปเรียนปริญญาเอกที่ลอนดอน ในสาขา International Political Economy
///////////
ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ เหรียญอีกด้าน นักวิชาการขวัญใจ "สื่อนอก"
วันที่ 06 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เวลา 11:39:20 น.

โดย สกุณา ประยูรศุข

ชื่อ "ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์" ผ่านหูประชาชนคนไทยมาแล้ว เมื่อครั้งที่ "ทักษิณ ชินวัตร" นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 23 ของเมืองไทย แล้วเกิดอาการน็อตหลุดเอากับเหล่านักวิชาการ ถึงขั้นออกมาโจมตีเสียๆ หายๆ แบบเก็บอาการไม่อยู่ เหตุมาจากคำวิพากษ์วิจารณ์ของนักวิชาการผู้นั้นระคายเคืองหูของอดีตนายกฯทักษิณ เป็นอย่างยิ่ง ระบุได้เลยว่านักวิชาการคนนั้นชื่อ "ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์"

หลังเหตุการณ์นั้นชื่อของดอกเตอร์หนุ่ม แห่งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูจะเงียบหายไปพัก

กระทั่งมาถึงก่อนหน้าจะเกิดเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมือง จลาจล 10 เมษายน และ พฤษภาคม 2553 ชื่อ "ฐิตินันท์" กลับมาปรากฏบนหน้าสื่ออีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน "สื่อ" ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวรอยเตอร์ เอพี เอเอฟพี แม้กระทั่ง ไทม์ และไม่เว้นจอแก้วอย่าง ซีเอ็นเอ็น บีบีซี

"ฐิตินันท์" นับได้ว่าเป็นนักวิชาการรุ่นใหม่ของเมืองไทยในจำนวนไม่กี่คนที่สื่อต่างประเทศให้ความเชื่อถืออันเนื่องมาจากความคิดเห็น และบทวิเคราะห์ที่ตรงไปตรงมา ไม่มีอคติ

ปัจจุบันอาจารย์ผู้นี้สอนวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นผู้อำนวยการสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ด้วย

เกิดเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2510 ปัจจุบันอายุ 42 ปี แต่งงานกับดอกเตอร์ "ภวิดา ปานะนันท์" อาจารย์สาวคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีลูกสาวหนึ่งคนอายุ 8 ขวบ
แล้ว

เขาพูดถึงภรรยาพร้อมเสียงหัวเราะ "ภรรยาผมเขาใช้นามสกุลของเขา-เขาเป็นตัวของเขาเอง เขาก็มีเหตุผลนะบอกว่าใช้ชื่อนี้ทั้งชีวิตแล้วทำไมต้องมาเปลี่ยนด้วย.."

ก่อนหน้าจะมาปักหลักที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อาจารย์ฐิตินันท์ไปอยู่ต่างประเทศ ตั้งแต่อายุ 11-12 ขวบ

"จบชั้นประถม 6 จากเมืองไทยไปเรียนเกรด 7 ที่ต่างประเทศ เป็นเวลา 6 ปีแล้วเรียนต่อปริญญาตรีอีก 4 ปี รวมเป็น 10 ปี จากนั้นไปเทคคอร์สที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ 1 ปี แล้วจึงเรียนโทต่อที่ จอห์น ฮอปกิ้นส์ อยู่ 2 ปี รวมทั้งหมด 13 ปีจึงเดินทางกลับเมืองไทย ตัดสินใจเป็นอาจารย์สอนหนังสือ โดยเริ่มงานที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ วันที่ 1 มิถุนายน 2535 สอนอยู่ได้ 2-3 ปีก็ได้ทุนไปเรียนปริญญาเอกที่ลอนดอน"

เป็นคนเอเชียคนเดียวที่ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นของสหราชอาณาจักร

"ฐิตินันท์" เคยใช้ชีวิตนักข่าวหนึ่งปี ก่อนเป็นนักวิชาการเต็มรูปแบบ เวลานี้เขียนคอลัมน์ให้กับหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์บ้าง

ทำไมบทวิเคราะห์และความคิดเห็นของอาจารย์หนุ่มผู้นี้จึงได้รับความเชื่อถือจากสื่อต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของสถานการณ์บ้านเมืองไทย

ต่อไปนี้เป็นคำตอบ!!

อาจารย์เป็นนักวิชาการคลื่นลูกใหม่ที่สื่อทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความเชื่อถือ?

สำหรับผมหลังจากสี่ห้าปีมานี้เนื้อย..เหนื่อย และตอนนี้มันเป็นยุคสมัยที่พูดยาก กดดัน และก็เริ่มมีการกวาดล้าง คือกวาดล้างทางกายภาพ กักตัว คุมขัง ออกหมายจับ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือการกวาดล้างทางความคิด หมายถึงการผูกขาดมุมมอง มุมคิด โดยที่ไม่ฟังมุมต่าง เลือกที่จะฟัง เลือกที่จะรับรู้ เลือกที่จะเห็นสิ่งที่ตอบสนอง ตอกย้ำมุมมองของตนที่มีอยู่แล้ว สะท้อนให้เห็นถึงสังคมที่แตกแยกอย่างลึกซึ้ง และก็สะท้อนให้เห็นถึงภาวะความล่อแหลมของการนำเสนอของความคิดที่เป็นตัวของตัวเอง


แล้วสังคมเราก็เข้าสู่ยุคเข้าสู่ช่วงที่โดนบังคับให้เลือกข้าง ถ้าอยู่ข้างหนึ่งแล้วไม่อยู่ข้างหนึ่ง แล้วข้างนั้นแหละเขาจะป้ายสี มัดมือว่าอยู่ข้างตรงข้ามโดยอัตโนมัติและธรรมชาติด้วย เพราะว่าเขาไม่ ของการที่จะเห็นทรรศนะที่ต่าง มันเป็นเรื่องที่น่าเศร้าและทำให้ผมเซ็ง ห่อเหี่ยว

ผมพูดได้ว่าในแวดวงนักวิชาการ-นักวิชาการไม่จำเป็นต้องเป็นอาจารย์ และอาจารย์ทุกคนก็ไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิชาการหรือนักวิจัย

เหตุการณ์จลาจลที่เกิดขึ้นอาจารย์มองว่า..? 

ปี 2551 เป็นปีที่ผมคิดว่าเป็นปีหัวเลี้ยวหัวต่อปีหนึ่ง ชาวบ้านได้พรรคของเขาขึ้นมา เสื้อแดง แต่ว่าเมื่อเขาเลือกกันขึ้นมาอย่างนั้น ถ้าเราไม่เคารพก็จะมีผลที่ตามมา คุณสมัคร สุนทรเวช มาเป็นนายก

รัฐมนตรี คุณสมชาย วงศ์สวัสดิ์ มาเป็นนายกรัฐมนตรี ก็โดนออกไป พรรคโดนยุบเป็นครั้งที่สอง รัฐบาลล้ม ได้คุณอภิสิทธิ์ ฝั่งตรงข้ามมาเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นที่รู้กันไม่ใช่ความลับว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์มีการตั้งกันในค่ายทหาร ทหารมีบทบาทสำคัญในการตั้ง มันโจ๋งครึ่มแล้วล่ะ

ถามว่าคนที่เขาลงเลือกตั้งแล้วเขารอมาเลือกตั้งธันวาคม 2550 นี่ เขาก็ต้องไม่พอใจ เพราะว่าบทเรียนของเขา บทพิสูจน์ของเขา คือ พรรคไหนที่เขาเลือกมา อยู่ไม่รอด นักการเมืองของเขาก็ถูกเว้นวรรค และที่สุดแล้วฝ่ายตรงข้ามขึ้นมาในเงื่อนไขที่มีข้อกังขาเจตนารมณ์ของคนที่เขาไปเลือกตั้ง เวลาผลออกมานี่ ผมคิดว่าพรรคที่มีเสียงส่วนใหญ่เขาควรได้ทำหน้าที่ แต่พรรคนั้นไปไม่รอด ไม่ใช่ว่าเราชอบอย่างนั้น เราไม่ได้เห็นด้วยหรือเลือกพรรคนั้น แต่ผมก็เคารพสิ่งที่คนอื่นเขาเลือก แต่นี่ไปกำจัดเขา เขาก็ต้องไม่พอใจ ก็ต้องมาเรียกร้อง เวลาผมไปต่างจังหวัดเห็นเลยว่า เชื้อเสื้อแดงแรงมาก เชื้อแดงแรงมาก ลองไปต่างจังหวัดดู ไปถามดู แค่จังหวัดอุบลฯมีเสื้อแดงอยู่ 7 กลุ่ม

เหตุการณ์ที่เกิดเพราะว่าสมัยนี้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พวกชาวบ้านเขาลุกขึ้นมา เขามีความรู้สึกว่าเขามีเอี่ยวในระบบการเมืองโดยตรง ครั้งนี้เขารู้สึกมีความผูกพันมีได้มีเสียโดยตรง ความตื่นตัวทางการเมืองเกิดขึ้นแล้ว

ยกตัวอย่างฝรั่งเขาชอบกินข้าวเหนียวมะม่วงมาก เมื่อยังไม่ได้กินเขาก็ไม่ชอบ แต่เมื่อเขาได้กินแล้วเขาจะไม่เคยลืม

บทบาทนักวิชาการที่เป็นอยู่ช่วยอะไรไม่ได้เลย?

นักวิชาการและสื่อมวลชนด้วย มีบทบาทครับ แต่บทบาทนั้นกลับไปมีส่วนในความแตกแยกมากกว่าการปรองดอง นักวิชาการและสื่อมวลชนเลยเลือกข้าง และโดนบังคับให้เลือกข้างไปในตัว หาได้น้อยและน้อยลงที่จะเป็นตัวของตัวเองและสามารถอยู่ได้ บรรยากาศไม่เอื้ออำนวยจากแวดวงต่างๆ โดยเฉพาะจากรัฐบาลและกองทัพ ไม่ได้มีการอะลุ่มอล่วยทางกฎหมาย ทางพื้นที่ทางความคิด ที่จะให้มีการแสดงความคิดเห็นได้อย่างตรงไปตรงมา และสังคมก็อยู่ในสภาพใจไม่กว้าง ถ้าไม่เห็นด้วยก็จะไม่ฟังอีกฝ่าย คือไม่ฟังกัน เลือกที่จะฟังเลือกที่จะเห็นในสิ่งที่ตอบสนองต่อทรรศนะของตนเองเท่านั้น

เมื่อสังคมไหนไร้พื้นที่ตรงกลาง ที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ สังคมนั้นอันตราย มีแต่การเผชิญหน้าที่เข้มข้นขึ้น และหน้าสิ่วหน้าขวานยิ่งขึ้น ผมเลยอยู่ในสภาวะที่ปลง อะไรมันจะเกิดมันก็เกิด

ปล่อยให้เขาตีกันต่อไป

ผมไม่ได้คิดอย่างนั้น คือเขาจะตีกัน..ผมคิดว่าโอเคเราทำอะไรได้บ้างเมื่อถึงเวลาที่เราทำอะไรได้ อะไรที่มันสร้างสรรค์เป็นประโยชน์เราจะทำ ผมก็ไปบรรยาย ให้สัมภาษณ์ เขียนหนังสือ เขียนบทความ ตอนนี้ช่วยอะไรไม่ได้ มันเป็นเหมือนโศกนาฏกรรมที่มันจะเกิดขึ้น เหมือนกับว่า.. เขาจะตีกันแล้วเราเข้าไปตอนนี้ คนกลาง ตายเด็กนักศึกษาเขาเป็นยังไงเลือกข้างไปด้วย?

ที่จุฬาฯมันก็แปลกนะ นี่ยังไม่ได้ทำโพล แต่จากการสัมผัสอย่างผิวเผิน เด็กกรุงเทพฯ เขาจะเอียงไปทาง "ให้มันจบๆ เสียที" เขาไม่ค่อยรู้สึก ค่อนข้างอยากจะให้จบๆ มันเป็นอย่างนี้

อาจารย์โตที่เมืองนอกแล้วจึงมาอยู่เมืองไทยทำความเข้าใจสังคมไทยได้หรือยัง?

โอเค ผมอยากอธิบายว่าเมื่อเราเสนอมุมมองจุดยืนที่ไม่เห็นด้วย อีกฝ่ายเขาจะบอกว่า "แสดงว่าเราไม่เข้าใจ เมืองไทยมันซับซ้อน" แต่คนเดียวกันกลุ่มเดียวกันที่โตเมืองนอก แต่เวลาเสนอจุดยืนมุมมองที่สอดคล้องสอดรับที่เขาต้องการ เขาไม่ว่าอะไร

นอกจากนั้น ผมอยากบอกว่าคนที่ตีความหลายๆ คนนั้นก็มีประสบการณ์มาจากเมืองนอกเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการมาจากเมืองนอกไม่ได้เป็นตัวกำหนด เขาต้องการที่จะต้อนความคิดมากกว่า ไอ้
ที่ไม่เห็นด้วยไม่อยู่ในแนวที่เขาต้องการ นี่แปลว่าไม่เข้าใจ

มีเรื่องตลกเรื่องหนึ่ง ผมยกตัวอย่าง เขาบอกสื่อต่างประเทศลำเอียง ตอนนี้ซีเอ็นเอ็นโดนหนัก บีบีซี เอบีซี ก็โดน โดนตีว่าเป็นเด็กไม่ดี อย่าง "แดน ริเวอร์ส" นักข่าวซีเอ็นเอ็นเสนอข่าว มีคนตัดสินว่า เข้าข้างเสื้อแดง จึงโดนเขาด่า เสร็จแล้วอีกข่าวหนึ่ง อัล จาซีร่า สัมภาษณ์ทนายทักษิณ คนที่สัมภาษณ์เป็นผู้หญิงผมทอง คำถามดุดันไล่ต้อนทนายทักษิณจนมุม เขาก็บอกว่านักข่าวคนนี้เก่ง สัมภาษณ์ดี ผมบอกว่าคนนั้นน่ะเขาชื่อ เซริน่า ดอว์นส์ เป็นภรรยาแดน ริเวอร์ส นั่นแหละ เขาเหรอๆๆๆ เป็นไปได้ไงที่แดนจะมีภรรยามาเล่นงานทนายทักษิณ

ไม่นานเมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว มีนักข่าวฝรั่งสองคนไปฝังตัวอยู่กับพวกเสื้อดำเพื่อทำสกู๊ป อ่านแล้วมันมาก โอ้โฮ..เอามาเผยแพร่แปลเป็นไทยใหญ่เลย

เพราะฉะนั้น ข้อสรุปคือว่าไม่ใช่ตัวปัญหา นายกฯอภิสิทธิ์ก็เป็นเด็กที่โตจากเมืองนอก แต่คนที่อยู่เมืองนอกมานานแต่มีมุมมองไม่ตรงกับรัฐบาล นั่นแหละคือปัญหา

vสิ่งที่อาจารย์ให้สัมภาษณ์สื่อต่างประเทศจะเป็นแนวทางหนึ่งไหมที่จะทำให้เกิดความเข้าใจ

เนี่ยะผมลดลงไปเยอะแล้วนะ ผมลดลงไป 90% ผมจะไปเขียนหนังสือมากขึ้น ผมไปอยู่อเมริกามาสองเดือน ที่สแตนฟอร์ด เป็นอาจารย์รับเชิญ เพราะว่าผมเบื่อและสถานการณ์มันล่อแหลม เวลาสื่อต่างประเทศโทร.มาหาผม-ผมบอกให้ไปถามอาจารย์คนอื่นๆ ให้รายชื่อไปหลายคนแล้ว

ดูคล้ายเป็นโฆษกประเทศไทยเลย

อื้อ...แต่รัฐบาลเขาไม่ชอบ (หัวเราะ) แต่ที่ผ่านมาก็ยังโชคดีอยู่ ผมก็เพลาๆ ลงแล้ว คือผมไม่มีอคติกับใคร แต่อย่างนี้มันสงสารเขาเหมือนกัน

ตาย 88 ราย ผู้กระทำคือ 2 เจ้า คือ 1.ผู้ก่อการร้าย 2.ทหารที่ป้องกันตัวเองจากผู้ก่อการร้าย ผมอยากถามว่าทุกศพที่ตายเป็นเพราะแค่นี้หรือ คิดตามตรรกะนะ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องอธิบาย เพราะคน
ตายขนาดนี้ เป็นเรื่องกวาดเข้าไปไว้ใต้พรม มันคงไม่ถูก

ท้ายสุดมันทำให้เศร้า เพราะมันมีแต่เรื่องไม่ดี ไม่มีความสุข เวลานี้ผมต้องการที่จะออกข่าวในไทยมากขึ้น ในสื่อไทยมากขึ้น และอยากเขียนข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยมากขึ้น

เรื่องการเมืองไทยเป็นเรื่องที่ผมผูกพัน เป็นหน้าที่อันหนึ่งด้วยเพราะเราเป็นคนไทย และสมัยที่ผ่านมาผมอินกับเรื่องการเมืองไทยมาตลอด แต่มันไม่เคยเป็นวิกฤต เมื่อมันวิกฤตเลยต้องมาทำหน้าที่

ติดตามวิเคราะห์และมันอยู่ในจิตสำนึกด้วย

ที่ไปเรียนต่างประเทศตั้งแต่เด็กเป็นความตั้งใจ

อ๋อ..ครอบครัวให้ไป พื้นเพผมเป็นคนฝั่งธนฯ อยู่ถนนวุฒากาศ แถววัดสะแก ไม่ได้เรียนสวนกุหลาบ หรือโรงเรียนสาธิต แต่เรียนโรงเรียนข้างบ้านชื่อโรงเรียนมนตรีวิทยา พอจบ ป.6 ที่บ้านก็ส่งไป
เลยอายุสิบกว่าขวบเอง

ลำบากจะตาย ไปตอนแรกผมร้องไห้อยู่อาทิตย์หนึ่ง ไปตอนแรกไปกินสปาเกตตี้ นึกว่ามันคือขนมจีน พอกินเข้าไปคำแรก โอ้ย...คายออกมา โดนเขาว่าอีก ใช้เวลาอีกพักใหญ่ในการปรับตัว แต่ข้อดี คือเราไปตอนเด็กๆ เราได้ซึมซับเต็มที่ ที่ที่ผมไปอยู่ไม่มีคนไทยเลย ไปอยู่กับญาติๆ 6 ปีแรกไม่ได้กลับเมืองไทยเลย ได้กลับแค่ครั้งเดียว

ไปอยู่ต่างประเทศไม่เห็นอ้วน

ตอนกลับจากลอนดอนใหม่ๆ ผมอ้วนนะ หนักกว่าปัจจุบันที่เป็นอยู่สัก 15 กิโลกรัม ผมไปอยู่กับภรรยา แต่งงานแล้วไปเรียนปริญญาเอกที่ลอนดอนด้วยกัน สองคนตายายอยู่กันแฮปปี้มาก ซื้อกับข้าวทุกวันทำกินตลอดเลย อ้วนกลับมา คนอื่นเขาชอบนะแต่ผมไม่ชอบเพราะว่ารู้สึกไม่สบายตัว ตอนนี้ดีแล้ว

อีกอย่างผมเป็นคนชอบเล่นเทนนิส เล่นมาตั้งแต่เด็ก ไปอเมริกาก็เล่นเทนนิสเป็นหลัก พอกลับมาเมืองไทยพยายามออกกำลังกายบ้าง ทำอะไรบ้าง สมัยก่อนไม่เหมือนสมัยนี้ เด็กสมัยนี้เขาไปเมือง

นอกกลับเมืองไทยแทบทุกอาทิตย์ สมัยก่อนเขาไม่กลับกันเลยนะ นานๆ กลับที เพราะเป็นเรื่องใหญ่

ไม่อึดอัดหรือที่มาเจอขนบธรรมเนียมอีกแบบที่ต่างจากเคยอยู่มา

ตอนแรกก็อึดอัด แต่เป็นเรื่องท้าทายเรา อีกอย่างผมเป็นคนปรับตัวได้ คือภาษาไทยมีคำว่า "กาละเทศะ" ผมเป็นคนมีกาละเทศะ เป็นคนมีคอมมอนเซ้นท์ เป็นคนไม่มีอคติ ตามเหตุตามผลก็ว่าได้ และ
ไม่ก้าวร้าว

ส่วนเรื่องระเบียบวินัย มาแรกๆ ก็ไม่เข้าใจ เป็นปัญหาเหมือนกัน แต่ว่าตอนนี้ใส่ใจน้อยลง อย่างขับรถนี่ผมใช้กฎ..โอเคให้ไปก่อนสองสามคัน พอคันที่สี่ไม่ให้แล้ว เราไปแล้ว (หัวเราะ) โชคดีของยุคสมัยนี้มันมีชีวิตที่หลากหลายมาก มีหลายอย่างทำให้สมองเราไม่ฝ่อ แฮปปี้ดี ยกเว้นว่ามันจะเครียด

คนไทยเป็นคนยิ้มง่าย ผมไปอยู่อเมริกาตอนเกรด 7 เด็กอเมริกันมาถามผมว่ายิ้มเรื่องอะไร ผมตอบว่า "น้อทติง" ไม่มีอะไร

คือลักษณะของคนไทยเรามักจะคุยไปยิ้มไป แต่ของเขาไม่ยิ้มหรอก มีเรื่องยิ้มเขาถึงจะยิ้ม พอเรายิ้มเขาก็ "ยิ้มอีกแล้วยูยิ้มทำไม"

"มันเป็นอย่างนี้" กล่าวจบพร้อมเสียงหัวเราะร่าเริง

หน้า 17, หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 06 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 11775
////////////////

ถอดความ: เสื้อแดง พลังที่ต้องให้ความสำคัญ
Thu, 2010-02-18 07:36

ถอดความจากบทวิเคราะห์ Reds are a force to reckon with ของ ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันความมั่นคงและนานาชาติ   คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน บางกอกโพสต์,

11 ก.พ. 53


โฆษกรัฐบาลแถลงยอมรับว่า กลุ่มคนเสื้อแดงซึ่งเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลภายใต้ชื่อ แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) ปัจจุบันมีแนวร่วมกระจายออกไปไม่น้อยกว่า 38 จังหวัด โดย

หลักๆ อยู่ในภาคอีสานและภาคเหนือ ซึ่งมีประชากรอยู่อย่างหนาแน่น

แต่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ, บรรดาผู้หนุนหลังรัฐบาลทั้งในกองทัพและแวดวงอื่นๆ ตลอดจนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ยังคงไม่ยอมรับรู้ถึงเสียงเรียกร้องและความไม่พอใจของ

เหล่าคนเสื้อแดง

ในด้านหนึ่ง กลุ่มคนเสื้อแดงถูกสร้างภาพโดยข้าราชการในปัจจุบันให้เป็นแค่เพียงสมุนที่ได้รับน้ำเลี้ยงจากอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เท่านั้น อีกด้านหนึ่ง ในบางครั้งพวกเขาก็ถูกวาดภาพให้เป็น

คนบ้านนอกที่ด้อยการศึกษา ถูกหลอกได้ง่าย ซึ่งมองไม่ออกถึงนโยบายประชานิยมที่ทักษิณใช้หาเสียง

ตัวเร่งให้เกิดสถานการณ์เสี่ยงภัยรอบล่าสุดระหว่างกลุ่มคนเสื้อแดงกับฝ่ายตรงข้ามอยู่ที่คำพิพากษาในคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านที่กำลังจะมีขึ้น

ทักษิณกำลังระดมสรรพกำลังที่มีอยู่ปลุกเร้าอารมณ์ความรู้สึกของคนเสื้อแดงให้เร่าร้อน บรรดาแกนนำเสื้อแดงพากันบินไปเยี่ยมเขาครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ว่าจะอยู่ใกล้อย่างกัมพูชา หรือไกลอย่างดูไบ

เพื่อขอคำชี้แนะ การโจมตีผ่านสื่อในมือของเขาทั้งทวิตเตอร์และการโฟนอินก็เร่งกระทำอย่างเต็มที่

ฝ่ายตรงข้ามของเขา ผู้กุมช่องทางการใช้อำนาจในกรุงเทพฯ ก็กำลังเหวี่ยงหมัดอย่างเต็มที่เช่นเดียวกัน ทักษิณและพลพรรคเสื้อแดงถูกทางการวาดภาพให้เป็นปีศาจร้ายและถูกข่มขวัญแทบไม่เว้นวัน

 ดังนั้น จึงไม่เป็นที่ประหลาดใจเลยที่มีการใช้วาทศิลป์ปลุกเร้าคนและท่าทีข่มขู่คุกคามจากทั้งสองฝ่ายเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ บรรดาคนเสื้อแดงต่างก็มองคำพิพากษาในคดียึดทรัพย์นี้เป็นจุดสุดยอดของ

ความไม่เป็นธรรมที่กระทำต่อพวกเขามาอย่างยาวนานนับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยา 2549 ทักษิณเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ของการเรียกร้องความเป็นธรรมในสังคมและการต่อสู้เพื่อสิทธิอันชอบธรรม

ในระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ขณะที่ฝ่ายเสื้อเหลืองและกองทัพที่มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน รัฐบาลและบรรดานักวิชาการที่ห้อมล้อมต่างก็มองว่า นี่เป็นการลงดาบบั่นคอทางการเมืองเป็นครั้งสุด

ท้าย ขาดก็แต่การทำให้คนที่คิดล้มล้างสถาบันและคนขี้โกงล้มตายไปจริงๆ เท่านั้น

แต่ที่หลายๆ คนเชื่อว่า คนเสื้อแดงจะค่อยๆ แผ่วลงและสลายตัวไปอย่างแน่นอน เมื่อน้ำเลี้ยงของทักษิณหมดลงนั้น เป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงที่ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเสียหาย คนเสื้อแดงได้กลาย

มามีชีวิตและปฏิบัติการเคลื่อนไหวกันไปเองเกินกว่าที่ตัวทักษิณจะเคยจินตนาการเอาไว้เมื่อครั้งที่เขาถูกโค่นอำนาจลง

ในอีสาน พื้นที่หลักซึ่งเป็นหัวใจของคนเสื้อแดง เช่นที่จังหวัดอุบลราชธานี แม้แต่การแวะในช่วงสั้นๆ แค่มองปราดเดียวก็สามารถเห็นขบวนการเคลื่อนไหวที่มีพลัง เช่น การเรี่ยไรเพื่อสมทบกอง

ทุนขนาดย่อยๆ, สัญลักษณ์ต่างๆ, ของใช้ส่วนตัว ได้แก่ หมวก เสื้อยืด ที่มีอย่างหลากหลาย ตลอดจนอารมณ์โกรธและไม่พอใจที่ผู้คนควบคุมเอาไว้ คนเสื้อแดงที่อุบลฯ แยกออกเป็น7 กลุ่ม ที่มีวิธีการ

ในการเคลื่อนไหวที่แตกต่างกัน แต่มีเหตุผลและเป้าหมายอันเดียวกัน ถ้อยคำที่แสดงความคิดเห็นนั้นเกี่ยวพันกับทักษิณ, ประชาธิปไตย และความเป็นธรรม

สำหรับเสื้อแดงบางคนในอุบลฯ ความคิดของพวกเขาทั้งหมดเกี่ยวข้องกับทักษิณ, นโยบายประชานิยม, ความเอาใจใส่ต่อคนยากคนจนและคนที่ถูกกดขี่ และความเป็นผู้นำ ซึ่งทำให้ประเทศไทยมี

ศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ในศตวรรษที่ 21 ได้ แต่สำหรับบางคน สิ่งสำคัญสูงสุดไม่ใช่ทักษิณ แต่เป็น “ประชาธิปไตย” ซึ่งถูกทำลาย เมื่อพรรคที่ชนะการเลือกตั้งในครั้งก่อนๆ ซึ่งควร

จะเข้ามาบริหารประเทศถูกยุบไปทีละพรรคๆ ในขณะที่พรรคการเมืองที่แพ้ ได้รับเสียงข้างน้อยกับกลุ่มที่หักหลังกลับได้รับไฟเขียวจากทหารให้เข้ามาเป็นรัฐบาล สำหรับคนเสื้อแดงทุกคนในอุบลฯ

ความไม่เป็นธรรมและ “สองมาตรฐาน” มีอยู่ทุกหนทุกแห่งในวงการราชการ  ในเมื่อทุกพรรคต่างก็ซื้อเสียงเข้ามา การยุบเพียงบางพรรคด้วยข้อหาโกงการเลือกตั้งก็ส่อให้เห็นถึงความไม่ยุติธรรม

สำหรับพวกเขาแล้ว ทักษิณก็โกงกินเช่นเดียวกับนายกฯ คนอื่นๆ ก่อนหน้านี้ และที่จะมาเป็นนายกฯ คนต่อๆ ไป   แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ นโยบายที่คำนึงถึงคนจน และความเจริญก้าวหน้าของ

ประเทศไทยในสมัยของทักษิณต่างหาก

ที่น่าตกใจก็คือ คนเสื้อแดงในอุบลฯ ได้ตั้งโรงเรียนการเมืองของ นปช.ขึ้นเพื่อให้การศึกษาเรื่องความเป็นธรรมในสังคม เสื้อแดงบางคนชอบใช้กำลังและดันทุรัง แต่ส่วนใหญ่ยังคงต้องการให้

ประเทศไทยมีความเท่าเทียมและเป็นธรรม เพื่อที่จะสามารถก้าวต่อไปในประชาคมโลกได้  ตราบใดที่คนเสื้อแดงถูกเมินเฉยและปฏิเสธ การสร้างความกลัวเรื่อง “กองทัพประชาชน” ก็จะได้รับการ

ขานรับและแตกหน่อเติบโตขึ้น ซึ่งจะเป็นอันตรายสำหรับอนาคตของประเทศไทย เรื่องราวในทำนองเดียวกันอาจจะได้รับการเล่าขานจากอุดรธานี, ศรีสะเกษ และจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสานและภาค

เหนืออีกจำนวนมาก รัฐบาลยังไม่ได้นับรวมถึงกลุ่มคนที่อยู่เฉยๆ รอดูเหตุการณ์อยู่อย่างเงียบๆ ในอีก 38 จังหวัด กลุ่มคนเหล่านี้รู้ว่ามีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่เป็นธรรมในสังคมไทย แต่พวกเขายังไม่

พร้อมที่จะเคลื่อนไหวหรือแสดงออก

รัฐบาลผสมของนายอภิสิทธิ์เคยได้รับผลกระทบมาแล้วจากการแสร้งไม่รับรู้และไม่ให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่ง เป็นผู้เชี่ยว

ชาญมากในการป้ายสีบ่อนทำลายชื่อเสียงหรือความน่าเชื่อถือของคนอื่นด้วยวิธีคุกคามและขู่ขวัญผู้ต้องการจะสร้างและขยายความคิดที่เป็นกลางๆ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวเดินไปข้างหน้า ให้ต้อง

ปิดปากเงียบไป ถ้าหากคนพวกนี้ไม่สามารถมองเห็นเป้าหมายของคนเสื้อแดงให้พ้นไปจากทักษิณและทรัพย์สมบัติของเขาได้ ประเทศไทยก็จะได้เห็นความเจ็บปวดและเศร้าโศกมากกว่านี้ในอนาคต

สิ่งที่โฆษกรัฐบาลควรจะบอกเจ้านายและผู้หนุนหลังของเขา ไม่ใช่วิธีการในการปราบคนเสื้อแดงด้วยยุทธศาสตร์บันได 3 ขั้น นับตั้งแต่การใช้อำนาจสั่งการในส่วนท้องถิ่น จนถึงการใช้ พ.ร.บ.

ความมั่นคงภายใน และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินที่มอบอำนาจให้กองทัพบัญชาการ แต่ควรจะเป็นวิธีการในการรับฟังความต้องการของกลุ่มคนเสื้อแดง และแยกคนเสื้อแดงออกจากทักษิณให้ได้

ความท้าทายของรัฐบาลในปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่เป็นความท้าทายของผู้มีอำนาจในเมืองไทยนับตั้งแต่วันที่ทำรัฐประหารเป็นต้นมา ก็คือ ทำอย่างไรจึงจะกำจัดตัวทักษิณที่ทำการคอร์รัปชั่นและใช้

อำนาจในทางมิชอบ  ในขณะที่ยอมประนีประนอมกับขบวนคนเสื้อแดงทำตามในสิ่งที่เป็นความคับข้องใจ ความต้องการ และความคาดหวังของพวกเขาให้ได้