PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

‘ทักษิณ’ IG อยู่ลอนดอน ร่วมประชุมการแพทย์ชีวภาพ

‘ทักษิณ’ IG อยู่ลอนดอน ร่วมประชุมการแพทย์ชีวภาพ
‘ทักษิณ’ โพสต์อินสตาแกรม เผย ภาพอเดินทางมาประชุมเรื่องการแพทย์ชีวิตภาพ ที่ Imperial College กรุงลอนดอน
วันที่ 12 มิ.ย. 58 ความเคลื่อนไหว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้โพสต์อินสตาแกรมส่วนตัว @thaksinlive เผย ภาพเดินทางไปประชุมเกี่ยวกับเรื่องการแพทย์ชีวภาพ ที่ Imperial College กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อ 17ชั่วโมงที่ผ่าน
โดยระบุข้อความว่า……
“กำลังไปประชุมที่ Imperial College ในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เกี่ยวกับเรื่อง Bio Medicine ปีที่ผ่านมา Imperial Collage ได้อันดับ 4 ของโลก เรื่อง clinical, pre-clinical and health จากการจัดอันดับของ Times Higher Education University Ranking”


บิ๊กตู่ กลับจากสิงคโปร์.....ปรี๊ด ถูกถามปรับครม.โวยเขียนกันอยู่ได้"สมคิด -ประสาร"

กลับมาก็อารมณ์เสีย...
นายกฯ.บิ๊กตู่ กลับจากสิงคโปร์.....ปรี๊ด ถูกถามปรับครม.โวยเขียนกันอยู่ได้"สมคิด -ประสาร" ปรับเมื่อไหรรู้เอง ถามถ้า"สมคิด-ประสาร"เข้ามาแล้วแก้เศรษฐกิจไม่ได้จะโทษใครอีก เขาไม่มาหรอก แต่ถ้ามา "เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น" ปรี๊ด สื่อเขียนกันอยู่ได้ปรับครม. เปลืองหมึก เปลืองกระดาษ เป็นขยะ
"ปรับครม.สมคิด-ประสาร ทำไมเขียนกันอยู่แค่นี้ หรืออยากให้ผมเสันเลือดแตกหรือไง ถ้าไม่อยากให้อยู่ก็ขอให้บอกมา: นายกฯ
"ผมพูดก็ไม่เชื่อ ทำไมตัองคิดว่าผมอยากสืบทอดอำนาจ ทำไมไม่คิดว่าผมอยู่ต่อเพื่อทำความดี อยู่เพื่อใช้อำนาจอย่างนั้น? ใช้อำนาจเพื่อทำความดี"
บ่นสื่อ เขียน อ่านแล้ว ไม่อยากจะบินลงมาประเทศไทยเลย มาแล้วก็วุ่นวายเหลิอเกิน มันไม่มีอะไร ก็จะให้มีอะไร ขอให้ประเทศสงบสักวัน เดินหน้า โวย จะทำให้ประเทศชาติรอดตาย ไม่ได้รึไง


ประยุทธ์ ลงนาม MOU 4 ฉบับกับสิงคโปร์ ย้ำ เลือกตั้งปี 59

ประยุทธ์ ลงนาม MOU 4 ฉบับกับสิงคโปร์ ย้ำ เลือกตั้งปี 59
นายกรัฐมนตรี ลงนามความตกลง 4 ฉบับกับสิงคโปร์ ย้ำไทยเลือกตั้งปี 59 พัฒนาประเทศ มุ่งประชาธิปไตย ยึดโรดแม็ป
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เข้าร่วมการประชุม Leaders Retreat กับ นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายกรัฐมนตรีได้แถลงข่าวร่วมกับนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เกี่ยวกับผลการประชุมว่า ไทยต้องการเพิ่มความสัมพันธ์ทางการทูตให้มากขึ้น อีกทั้งยังอยู่ในระหว่างที่สิงคโปร์เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน SEA Games ครั้งที่ 28 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพจัดงานสำคัญของภูมิภาคครั้งนี้
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ได้มีการลงนามความตกลง 4 ฉบับ ซึ่งถือเป็นผลสำเร็จจากการเยือนในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการขยายความร่วมมือระหว่างกัน โดยความตกลงดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางเรือ และความร่วมมือด้าน Digital Content การยกเว้นภาษีซ้อน ภาคอุตสาหกรรม โดยนายกรัฐมนตรีให้คำมั่นจะทำความตกลงทั้ง 4 ฉบับ บรรลุให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวเพิ่มเติมถึงสถานการณ์การเมืองของไทยในขณะนี้ว่า กลับสู่เสถียรภาพแล้ว โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนไปข้างหน้าการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน และกำลังเดินหน้าตามโรดแม็ป คาดว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งทั่วไปได้ในปี 2559 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลสิงคโปร์สำหรับความเข้าใจ
สำนักข่าว ไอเอ็นเอ็น


“สปช.” อย่าเสียขวัญ โดย : ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์

“สปช.” อย่าเสียขวัญ โดย : ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์
ดร.อมร เขียนบทความนี้ในวันที่ 11 มิถุนายน 2558
ผมได้เจอ อาจารย์อมร หลายครั้ง ได้ฟังทัศนะความเห็นที่ดีๆประจำ
ลองฟังทัศนะของดร.อมร ต่อ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ น่ะครับ
มี Key Words หลายคำ
1. “อย่าเสียขวัญนะครับท่าน สปช.”
2. คสช. จึงต้องทำการ “เขย่าขวด (shake up)” ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว
3. ซึ่งปกติเชื่อแน่ว่า คสช.และคณะรัฐมนตรี “ย่อมไม่ฟังความข้างเดียว”
4. อย่างไรก็ตาม โครงสร้างส่วนใหญ่ของ “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป”
จะยังเป็น “หน้าเดิม” ใน สปช.

...............................
“อย่าเสียขวัญนะครับท่าน สปช.”
ผมพูดกับสมาชิก สปช.ที่แสดงความรู้สึกกังวลต่อภาระหน้าที่งานปฏิรูปที่ได้ริเริ่มฟูมฟักกันมาเกือบปีเต็ม
ว่า หาก สปช.ถูกยุบเลิกไป ใครจะมาสานงานต่อ
ขอให้กำลังใจกับการทำหน้าที่อย่างหนักหน่วงของ สปช.
ส่วนใหญ่ในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา
มีส่วนทั้งในการยกร่างและแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ
ที่กำลังจะต้องมาสู่การลงมติ “รับ” หรือ “ไม่รับ”
ร่างรัฐธรรมนูญที่ใกล้เข้ามาทุกขณะ
คาดว่าน่าจะอยู่ในราวต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะเป็นวาระยุติ
การทำงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ สภาประวัติศาสตร์แห่งแรกของโลกเลยก็ว่าได้
ต้องเรียนว่าเสียงแว่วผ่านมาในเรื่องของการปรับเปลี่ยนแก้ไขโครงสร้างของ สปช.นั้น ได้ยินมาเข้าหูและมีการพูดกันมาอยู่ระยะหนึ่งแล้ว
รวมทั้งในแง่ขององค์ประกอบและการทำหน้าที่ในส่วนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย
เพราะแม้จะได้คนเกษียณอายุราชการมาเป็นส่วนใหญ่
แต่การขาดประชุมและการมีผู้อภิปรายแบบซ้ำหน้าของ สนช.ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่มีการพูดถึงกันว่า
อาจต้องถึงวาระในการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลเช่นเดียวกัน
สำหรับในส่วนของ สปช.นั้น
เป็นที่รู้กันว่า มีทั้งสมาชิกที่มีปัญหาด้านสุขภาพอยู่หลายท่าน
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีคุณูปการต่อการปฏิรูป
แต่สุขภาพของหลายท่านในระยะหลัง ด้วยการกรำงานหนัก
จึงเป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่ของหลายท่าน
รวมทั้งรูปแบบการอภิปราย การล่วงเกินเลยกรอบการเป็น “สภาวิชาการ”
เป็นอีกข้อถกเถียงหนึ่ง ไ
ม่แตกต่างจาก “ตัวบุคคล” จำนวนหนึ่ง
ที่ทาง คสช.และคณะรัฐมนตรีอาจพิจารณาประเมินการทำหน้าที่ในช่วงที่ผ่านมา แล้วอาจเห็นว่าเป็นส่วนผสมที่ยังไม่ลงตัว
จึงต้องทำการ “เขย่าขวด (shake up)” ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว
ดังนั้น สปช.ส่วนใหญ่จึงไม่พึงวิตกกังวลอย่างเกินเหตุ
และไม่ควรขวัญเสียกับสิ่งที่ได้ริเริ่มกันมา
เพราะผลงานที่แต่ละท่านได้ดำเนินการอยู่นั้น
จะเป็นเครื่องชี้วัดที่สำคัญในการจะอยู่หรือไป
เพราะรัฐบาลและทาง คสช.นั้น ใช้เหตุใช้ผลในการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติงานของ สปช.
มีข้อมูลและประจักษ์พยานต่างๆ รองรับ
คนที่อยู่ใน สปช.จำนวนหนึ่งก็เป็นคนที่ต่อสายตรงได้ถึง คสช.และคณะรัฐมนตรี ย่อมมีการรายงานและสื่อสารให้ได้ยินได้ฟังกันอยู่
ซึ่งปกติเชื่อแน่ว่า คสช.และคณะรัฐมนตรี “ย่อมไม่ฟังความข้างเดียว”
ต้องมีการตรวจสอบและคานน้ำหนักข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง
“ทำให้คนที่คิดว่าจะต้องไปหรืออยู่ น่าจะรู้ตัวเองดี”
ถ้าจะคาดคะเนถึงองค์ประกอบใน “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป”
ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นทดแทนสภาปฏิรูป ที่กำลังจะสลายไป
เมื่อมีการ “รับ “ หรือ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญนี้
จะพบว่าเกณฑ์ที่มีการกำหนดขึ้นทาง คสช.และคณะรัฐมนตรี
ต้องการได้คนที่มีศักยภาพที่เป็นคนรุ่นหนุ่มสาวมากขึ้น คือ
มีการปรับเกณฑ์อายุให้เข้ามาได้ตั้งแต่อายุ 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ทำให้สะท้อนปัญหาหนึ่งที่ได้นำเรียนมาข้างต้นเกี่ยวกับ
อายุเฉลี่ยของ สปช.ในชุดปัจจุบันที่ว่ากันว่า อยู่ที่ห้าสิบปลายๆ ถึงหกสิบกว่าขวบปี
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างส่วนใหญ่ของ “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป”
จะยังเป็น “หน้าเดิม” ใน สปช.
เช่น บรรดา ประธานคณะกรรมาธิการ ประธานอนุกรรมาธิการ กรรมาธิการยกร่าง (จำนวนหนึ่ง) และบุคคลที่มีส่วนขับเคลื่อนในการปฏิรูปทั้งในลับและเปิดเผย
แต่สำหรับสมาชิกที่ “ขาด” “ลา” “ป่วย” เดินทางบ่อย
ขาดการแสดงความคิดความอ่านในวาระโอกาสอันสมควร
หรือไม่สามารถทำงานเต็มเวลาให้กับการขับเคลื่อนการปฏิรูปได้
จะเป็นข้อเสียเปรียบของแต่ละบุคคล
ดังได้เรียนไว้แล้วว่า แต่ละท่านย่อมทราบอยู่แก่ใจว่า
ใครประพฤติปฏิบัติตัวเช่นไรในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ทั้งนี้ สำหรับในส่วนของการปฏิรูประบบพรรคการเมือง และการปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมาย
ที่ผมทำหน้าที่เป็นประธานอนุกรรมาธิการอยู่ทั้งสองคณะ
ขอเรียนผ่านไปยัง คสช.และคณะรัฐมนตรีว่า
ภารกิจการดำเนินงานที่ผ่านมาของทั้งสองคณะนั้น เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และกำลังจะมีการร่างกฎหมายในลักษณะพระราชบัญญัติหรือแม้กระทั่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญออกมาอีกหลายฉบับ
อาทิ เรื่องการสร้างแนวทางการส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายในหน่วยงานองค์กรของฝ่ายบริหาร
การออกกฎหมายเพื่อควบคุมจัดการวินัยจราจร การใช้รถใช้ถนน ที่จะเข้าไปดูแลปัญหา “เด็กแว้นซ์” “ เด็กซิ่ง” “บิ๊กไบค์” ทั้งหลาย
ขณะเดียวกัน ประเด็นการปฏิรูปเกี่ยวกับพรรคการเมืองจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาปฏิรูปแห่งชาติในวันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน2558 นี้
ทราบว่าจะมีการถ่ายทอดภาพและเสียงทางสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
จึงใคร่เรียนเชิญผู้สนใจติดตามรับฟังแนวทางการปฏิรูปให้ระบบ “พรรคการเมือง” ของประเทศไทยมีความเข้มแข็งและเป็นสถาบันทางสังคม
เหล่านี้คือคำตอบที่จะบ่งชี้ได้ว่า ใครจะไปหรืออยู่ต่อใน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป

"โหรโสรัจจะ"ชี้ปี 58 ไทยวุ่นหนัก ส่อปฏิวัติซ้ำ | เดลินิวส์

„"โหรโสรัจจะ"ชี้ปี 58 ไทยวุ่นหนัก ส่อปฏิวัติซ้ำ "โหรโสรัจจะ" ทำนายดวงเมืองปี 58 ตกภพมรณะ สถานการณ์การเมืองวุ่นหนักยาวถึงปี 59 เกิดสงครามกลางเมือง ปฏิวัติซ้ำ เตือน "ผู้นำ"ใจร้อน ยิ่งทำปัญหาเป็นไฟลามทุ่ง 

วันพุธที่ 10 ธันวาคม 2557 เวลา 17:45 น. เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. นายโสรัจจะ นวลอยู่ โหรชื่อดัง เจ้าของฉายา "นอสตราดามุสเมืองไทย" เปิดเผยกับ "เดลินิวส์ออนไลน์" ถึงดวงเมืองปี 2558 ว่า ตามตำราระบุว่า ดาวเสาร์ยังสถิตในดวงเมือง ตกภพมรณะ ทำให้สถานการณ์การเมืองวุ่นวายตลอดปี 58-59 ผนวกกับดาวอังคารสีเลือดย้ายจากราศีมิถุน เข้าสู่ราศีกรกฏ ทำมุมตั้งฉากกับลักคณาเมืองในราศีเมษ ช่วงวันที่ 30 ก.ค.58 ดาวพระราหู สถิตในราศีกันย์ต่อเนื่องไปอีกทั้งปี ถ้าอย่างนี้ถึงคราวชะตาลักคณาเมืองถูกบาปเคราะห์จตุโกณกากบาท ทุกจุดจึงทำให้ชาติบ้านเมืองเข้าสู่การณ์คับขันตลอดเวลา เช่น เกิดสงครามกลางเมือง ปฏิวัติยึดอำนาจอีกครั้ง ประกาศกฎอัยการศึก เพราะดาวอังคารย้ายมา บ่งถึงผู้มีอำนาจในมือที่ไม่อยู่ในศีลธรรมจะต้องเข้ามามีบทบาทแทรกเป็นยาดำในคณะรัฐบาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

โหรชื่อดัง ยังทำนายอีกว่า ดาวมฤตยูกับพระราหูเล็งกันอยู่เหนือขอบฟ้า ตั้งแต่ปี 57 ไปจนถึงวันที่ 11 ก.ค.58 ดาวคู่นี้หมายถึงที่เล็งกัน คือการถูกปล่อยเกาะอย่างโดดเดียว การถูกลอยแพ บ่งถึงว่าเมืองไทยจะตกอยู่ในภาวะขับคันรอบด้าน โดยประเทศที่ล้อมรอบอยู่ บ้านเมืองลุกเป็นไฟและตกอยู่ในภาวะตึงเครียด และอยู่อย่างโดดเดียว ในวันที่ 12 ก.ค.58 ดาวมฤตยูย้ายเข้าทับลักคณาดวงเมืองในราศีเมษ ทำให้เกิดเป็นปีอภิมหาวิปโยค ที่จะเป็นการปฏิวัติเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์ประเทศไทยโดยสิ้นเชิงทุกด้าน "หมายถึงการบริหารของรัฐบาล การบริหารแผ่นดิน คนเป็นผู้นำหากใจร้อน จะทำให้ปัญหาเป็นไฟลามทุ่ง จุดที่ต้องระวังเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดจากกลุ่มคนภาคอีสานและภาคใต้ เป็นน้ำผึ้งหยดเดียว แต่เกิดความเข้าใจผิดกัน จนนำไปสู่การต่อสู้ขัดแย้งทางความคิดที่รุนแรงทุกภาคของประเทศ เกิดสงครามกลางเมืองอีกรอบ ที่สำคัญสูญเสียชีวิตมากมายกว่าทุกครั้งในอดีตและไม่น่าเกิดขึ้นได้ คือความแตกแยกทางการเมือง จากนักการเมือง ผู้ใหญ่ของประเทศ และคนทั่วไปยาวนานไปปี 59"นายโสรัจจะ กล่าว

 โหรชื่อดังรายนี้ ยังทำนายอีกว่า ความยากจนเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาอีกมากในปีหน้า คนรวยกลายเป็นคนจน ฆ่าตัวตายจนเป็นตัวกระตุ้น ซึ่งเป็นชะตากรรมของประเทศที่คนไทยร่วมทำกันมา ส่งผลให้ดวงดาวมาบอกเหตุว่า "ปีหน้าเกิดอาเพศ" ผู้คนผิดเพี้ยนไปหมด หวังแต่กอบโกยผลประโยนช์ ไม่คิดถึงศีลธรรม จะเป็นปีที่มีการคอร์รัปชั่นมากที่สุดเพื่อเอาตัวรอด ซึ่งอาจจะมาจากผลกระทบภาวะเศรษฐกิจซบเซา ทั้งในประเทศและทั่วโลก ทำให้การฟื้นฟูประเทศทำไม่ได้ จะยิ่งซบเซา ไม่อาจจะฟื้นมาได้ เกิดโรคติดต่อและผู้คนเสียชีวิตจากภัยแล้งมากที่สุดอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน บางพื้นที่ไม่มีน้ำกิน เกิดทะเลาะกันถึงขั้นแย่งชิงน้ำและความร้อนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้คนเสียชีวิตเจ็บป่วยจากความร้อนในช่วงต้นปี ส่วนปลายปีน้ำท่วมหนัก กรุงเทพฯพายเรือได้อีกเหมือนปี 54 และช่วงนั้นระวังแผ่นดินไหวในภาคกลางสร้างความสูญเสียมากกว่าเกิดสึนามิ ปี 47 

นายโสรัจจะ กล่าวอีกว่า ด้านวิกฤติเศรษฐกิจ จะหนักกว่าปี 40 ที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ตลาดหุ้นตกแบบท้องร่วง เกิดจากต่างประเทศทั่วโลกตกต่ำในรอบหลายสิบปี เป็นเหตุให้เกิดสงครามโลกครั้งสามในอีกหลายปีต่อมา โดยปี 59 เริ่มมีการใช้อาวุธหนัก ๆ ประเทศมหาอำนาจ ขัดแย้งเป็นชนวนกลายเป็นสงครามใหญ่ของโลก โหรชื่อดังรายนี้ ได้แนะนำว่า ผู้หลักผู้ใหญ่บ้านเมืองต้องทำบุญประเทศครั้งใหญ่ อาจทำให้ช่วยด้านจิตใจของประชาชน เพราะไม่มีอะไรมาแก้ดวงดาวได้ เพราะดวงดาวกำหนดมาแล้ว เป็นชะตากรรมของบ้านเมือง แต่หลังจากทุกอย่างระเบิดแล้ว ในอนาคตประเทศจะยิ่งใหญ่ได้ ใช้เวลา 5-6 ปี ภายใน 10 ปีจะกลายเป็นมหาอำนาจได้ ซึ่งจะขุดเจอทรัพยากรใต้ดิน เช่นน้ำมัน ทองคำขาว มีมูลค่ามหาศาล.“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/politics/286603

นายกฯ ถกนักธุรกิจสิงคโปร์ ขอบคุณเชื่อมั่น ศก.ไทย ชวนลงทุน-ชมแข้งสาวไทย

นายกฯ ถกนักธุรกิจสิงคโปร์ ขอบคุณเชื่อมั่น ศก.ไทย ชวนลงทุน-ชมแข้งสาวไทย
Cr:ผู้จัดการ
“ประยุทธ์” เยือนสิงคโปร์วันที่ 2 ร่วมพิธีตั้งชื่อกล้วยไม้ ชมตะกร้อไทย ก่อนพบปะนักธุรกิจสิงคโปร์ ชี้ไทยเผชิญความท้าทาย แต่พื้นฐานสังคม-เศรษฐกิจแกร่ง เป็นศูนย์กลางอาเซียน จึงผ่านได้ ขอบคุณสิงคโปร์เชื่อมั่น ศก.ไทยตลอด แย้มเลือกตั้งปีหน้า หวัง ศก.เติบโตทั้งภูมิภาค เผยปรับยุทธศาสตร์เสริมการลงทุนใหญ่รอบ 20 ปี เชื่อพัฒนา SMEs ให้เข้มแข็ง เชิญลงทุนในไทย “ไก่อู” เผยนายกฯ ชมชบาแก้วคว้าชัยบอลโลกหญิง
วันนี้ (12 มิ.ย.) วันที่ 2 ของการเยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในเวลา 09.10 น. นายกรัฐมนตรีและภริยาพร้อมด้วยคณะ เข้าร่วมพิธีตั้งชื่อกล้วยไม้ (พันธุ์ Dendrobium ชื่อ Dendrobium Prayut Naraporn Chan-o-cha) ณ อุทยานสวนกล้วยไม้แห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์สิงคโปร์ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปพบนักกีฬาไทย และร่วมชมการแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อชายรอบชิงชนะเลิศ ณ อาคาร Singapore Expo
จากนั้นเวลา 12.30 น. นายกรัฐมนตรีร่วมหารือระหว่างอาหารกลางวัน (Lunch Meeting) กับนักธุรกิจชั้นนำสิงคโปร์ พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญการสนทนา ดังนี้ นักธุรกิจชั้นนำที่เข้าร่วม ได้แก่ ผู้บริหารบริษัทในเครือ Singapore Technologies (ST) ผู้บริหารบริษัทจากธุรกิจสาขาโทรคมนาคมและไปรษณีย์ ไอที ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ สาธารณูปโภคพื้นฐานและก่อสร้าง ลอจิสติกส์ ภาคการผลิต ภาคการเงิน โรงแรมและการท่องเที่ยว และสมาคมธุรกิจ รวมกว่า 20 คน
นายกรัฐมนตรีกล่าวยินดีที่ได้พบกับนักธุรกิจชั้นนำของสิงคโปร์ โดยเมื่อวานได้พบหารือกับนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และได้ย้ำถึงความตั้งใจของไทยที่จะส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางความสัมพันธ์กับสิงคโปร์รอบด้าน รวมถึงการค้าการลงทุน โดยไทยพร้อมอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจและการลงทุน ที่ผ่านมาไทยเผชิญความท้าทายหลายด้าน ทั้งสถานการณ์การเมือง เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ แต่ก็สามารถก้าวข้ามมาได้ด้วยดี เนื่องจากมีพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง การเป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นจุดเชื่อมโยงทางบก ทะเล และอากาศระหว่างอาเซียนและจีน รวมทั้งมีรากฐานทางสังคมที่ยอมรับความแตกต่างทางเชื้อชาติและศาสนา และมีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติและความมั่นคงทางอาหาร
นายกรัฐมนตรีกล่าวขอบคุณภาคเอกชนสิงคโปร์ที่เชื่อมั่นในพื้นฐานและศักยภาพทางเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนในไทยเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน คู่ค้าอันดับ 2 ของไทยในอาเซียน และอันดับ 5 ของโลก และในขณะนี้ไทยกลับสู่เสถียรภาพแล้ว และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการเคลื่อนไปข้างหน้า รวมถึงการวางรากฐานที่มั่นคงให้กับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รัฐบาลกำลังดำเนินการตามโรดแมประยะที่ 2 เข้าสู่การปฏิรูปประเทศ โดยเน้นใน 10 ด้านหลัก และคาดว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า เศรษฐกิจโดยรวมในปี 2558 คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 3.9 โดยไทยกำลังขับเคลื่อนนโยบายเพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและเติบโตอย่างยั่งยืน และเดินเคียงข้างสิงคโปร์และประเทศอื่นๆในภูมิภาค นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ประกาศยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่ ระยะ 7 ปี (ค.ศ. 2015-2021) ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงมาตรการส่งเสริมการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีมีความเชื่อมั่นในด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยได้กำหนดเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการไทยสู่ความเป็นสากล ไทยและสิงคโปร์กำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมทางเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นว่าทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันเร่งรัดการรวมตัวซึ่งจะช่วยดึงดูดการค้าการลงทุนมากยิ่งขึ้น โดยเน้นการดำเนินการตามมาตรการที่เอื้อประโยชน์ต่อภาคธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีกล่าวเชิญชวนนักธุรกิจสิงคโปร์ให้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาและลงทุนในประเทศไทย โดยเห็นว่าไทยยังมีศักยภาพและเป็นแหล่งโอกาสในการดำเนินธุรกิจของสิงคโปร์ เพื่อสร้างความเจริญอย่างมั่งคั่งร่วมกันทั้งไทย สิงคโปร์ และอาเซียนในภาพรวม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียินดีรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการค้าและการลงทุนของสิงคโปร์ในไทยต่อไป
ภายหลังเสร็จสิ้น นายกรัฐมนตรีเดินทางไปเยี่ยมชม Marina Bay Cruise Centre ก่อนจะเดินทางกลับประเทศไทยจากท่าอากาศยานชางงี โดยเครื่องบินของกองทัพอากาศ ถึงท่าอากาศยานทหาร 2 (กองบิน 6) ในเวลา 17.20 น. วันเดียวกัน
ด้าน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ แสดงความยินดีและชื่นชมกับทีมฟุตบอลหญิงไทยที่สามารถเอาชนะทีมชาติไอวอรีโคสต์ 3 ต่อ 2 ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบแรกที่ประเทศแคนาดาเมื่อเช้านี้
“ท่านนายกฯ แสดงความยินดีในชัยชนะและชื่นชมความมุ่งมั่นของนักกีฬาทุกคนที่สวมหัวใจนักสู้ จนสามารถเก็บชัยชนะได้ และถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ให้กับวงการฟุตบอลไทย ท่านนายกยังอวยพรให้การแข่งขันในนัดต่อไปขอให้ทุกคนทำได้เต็มที่ตามที่ฝึกซ้อม และท่านจะคอยชมและเชียร์ทีมฟุตบอลหญิงไทยทุกคน”
พล.ต.สรรเสริญกล่าวต่อว่า ท่านนายกฯ ยังฝากขอบคุณสตาฟโค้ช และทีมงานทุกคนที่ทุ่มเททำงานหนักมาหลายปีจนถึงวันนี้ที่นำความสุขและความภาคภูมิใจมาสู่คนไทยทั้งประเทศ


สิงคโปร์ตั้งชื่อกล้วยไม้"ประยุทธ์ นราพร จันทร์โอชา"เพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและภริยา

‪#‎ตั้งชื่อกล้วยไม้‬~ ลุงตู่ & อจ.น้อง ‪#‎สิงค์โปร์‬
(Prayuth Naraporn Chan-O-Cha) 😊
.
(12 มิย.) 15.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ นายกฯ และภริยา เข้าร่วมในพิธีตั้งชื่อกล้วยไม้ ณ บริเวณน้ำพุ (Crane Fountain) อุทยานสวนกล้วยไม้แห่งชาติสวนพฤษศาสตร์สิงคโปร์
โดยสิงคโปร์ได้ตั้งชื่อกล้วยไม้ พันธุ์สกุลหวายชื่อ "ประยุทธ์ นราพร จันทร์โอชา" (Prayuth Naraporn Chan-O-Cha) เพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและภริยา ในฐานะผู้นำประเทศ ที่เยือนซีเกมส์ ครั้งที่ 28 ที่ประเทศสิงคโปร์
.
โดยมีนางโฮ ชิง ในฐานะประธานกรรมการบริหารบริษัท Temasek เข้าเยี่ยมคารวะ
.
Cr : ทำเนียบฯ

"สี จิ้นผิง" คุย "อองซาน ซูจี" แบบเบาๆ ต่างฝ่ายต่างไม่แตะประเด็นอ่อนไหว

12มิถุนายน 2558
มติชน

รายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ ประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง แห่งประเทศจีน กล่าวต่อนางออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคการเมืองฝ่ายค้านเมียนระหว่างการเดินทางเยือนเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่า ตนหวังให้เมียนมารักษาความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นระหว่างสองประเทศต่อไป
http://www.matichon.co.th/online/2015/06/14340864731434086488l.jpg

รายงานระบุว่า ประธานาธิบดีสีไม่ได้กล่าวถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงการเมืองภายในประเทศของเมียนมาแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ไม่มีรายงานระบุชัดเจนว่านางซูจีได้กล่าวถึงประเด็นการจำคุกนายหลิว เสี่ยวโป เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพปี 2553 ที่ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 11 ปี ตั้งแต่ปี 2552 ฐานยั่วยุให้เกิดการบ่อนทำลายอำนาจรัฐ ซึ่งนักเคลื่อนไหวจำนวนมากได้เรียกร้องให้นางซูจีเจรจาประเด็นดังกล่าวต่อทางการจีน

หลายฝ่ายมองว่าการพบปะของนายสีและผู้นำฝ่ายค้านจากต่างชาตินั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งประธานาธิบดีจีนระบุต่อนางซูจีถึงความคาดหวังต่อพรรคเอ็นแอลดีว่า จะมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์และนำเมียนมาไปสู่ความสัมพันธ์ภายใต้มุมมองอันมีเหตุมีผล

“ผมหวังและเชื่อว่าทางการเมียนมาจะมีความมั่นคงต่อความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศโดยไม่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ภายใน และเมียนมาจะยังคลักดันมาตรการเชิงรุกในการพัฒนาความสัมพันธ์ต่อไป” ประธานาธิบดีจีนเผย ก่อนจะกล่าวต่อว่า “ผมหวังว่าการเยือนครั้งนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจประเทศจีนและพรรคคอมมิวนิสต์อย่างลึกซึ้งมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจซึ่งกันและกัน รวมถึงความไว้วางใจ และรากฐานที่ดีสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างพรรค และระหว่างรัฐ”

ขณะที่นางซูจีตอบรับว่า พรรคของเธอให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ที่มีต่อพรรคคอมมิวนิสต์ของจีน และชื่นชมความสำเร็จของพรรคด้วย เมียนมาและจีนต่างเป็นเพื่อนบ้านกันและ “เพื่อนบ้านไม่สามารถถูกเลือกได้”

ทั้งนี้ นางซูจีชนะรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปี 2534 และใช้เวลาส่วนใหญ่ในช่วง 20 ปีภายใต้การควบคุมตัวในบ้านของเธอเนื่องจากต่อต้านการปกครองรัฐบาลทหารเมียนมา ก่อนจะถูกปล่อยตัวเมื่อปี 2553 

ธีรยุทธ ให้ความเห็น ต่อสถานการณ์การเมือง

Chaiwat Suravichai

12062558 ธีรยุทธ ให้ความเห็น ต่อสถานการณ์การเมือง
ความเห็นฉันท์สหาย
1. การพาดหัวข่าวของนสพ. มักเอาประเด็นรองมาเป็นประเด็นหลัก
2. เนื้อหาหลักที่อาจารย์ธีรยุทธ พูด
2.1 รูปแบบการเมืองการปกครองจะตอบสนองภารกิจทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในแต่ละช่วง
2.2 ประชาธิปไตยมันเกิดมาเพื่อตอบสนองภารกิจทางการเมืองทั้งสิ้น
2.3 โจทย์ใหญ่ที่จะต้องค้นหาเหมือนทั่วโลกที่ค้นหาว่า
รูปแบบโครงสร้างอำนาจใดที่เหมาะกับประเทศ
2.4 ที่ผ่านมา ฝ่ายธุรกิจและฝ่ายการเมือง นำเสนอให้มีผู้นำมีความเข้มแข็งเพื่อสยบกลุ่มย่อยทางการเมืองเพื่อให้การบริหารประเทศบริหารได้ราบรื่น ทำให้เกิดผู้มีอำนาจเพียงหนึ่งเดียว
ซึ่งนี่คือปมปัญหาที่ทำให้เกิดระบอบทักษิณตามมา
2.5 ดังนั้นผมจึงไม่สนใจกระบวนการเลือกตั้ง
แต่สนใจที่จะให้กระบวนการในรัฐธรรมนูญที่สนับสนุนให้ประชาชนเขาลุกขึ้นมาดูแลของของเขา
2.6 สิ่งที่ทหารทำไม่ใช่ไปทำแทนประชาชน แต่ต้องดึงให้ประชาชนมามีส่วนร่วมมากที่สุด
ต้องไม่ผลักใสประชาชน ทั้งแง่ความคิดและการปฏิบัติ
3. ประเด็น ที่นักวิชาการทั่วไปนำเสนอ
3.1 ไม่ได้นำเสนอว่า จะแก้ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจของนักการเมือง ข้าราชการและกลุ่มทุน
ซึ่งเป็นปัญหาหลักในปัจจุบัน ได้อย่างไร
3.2 ประสบการณ์จากทั่วโลก เขาจะต้องใช้อำนาจแห่งธรรม ความมีวิสัยทัศน์ของผู้นำการเปลี่ยนแปลง
มาทำให้ ฝ่ายต่างๆในสังคมมีอำนาจได้ดุลกันก่อน ซึ่งสามารถจะต่อกรถ่วงดุลและตรวจสอบกันได้จริง
โดยต้องลดอำนาจรวมศูนย์ของคนส่วนน้อยไปก่อน และสร้างปรับยกระดับฝ่ายอื่นๆโดยเฉพาะฝ่ายประชาชน ขึ้นมาให้เข้มแข็งก่อน
3.3 โดยสรุป นักวิชาการทั่วไป มักนำมาปนกัน ระหว่างการแก้ปัญหาวิกฤตขั้นต้น กับ การแก้ปัญหาช่วงถัดไป
ประเด็นคือ ต้องมีการจัดลำดับก่อนหลังให้ถูกต้อง จึงจะทำให้แก้แก้วิกฤตหรือการปฏิรูปเป็นจริงได้

........................................
อ่านข่าวของอาจารย์ธีรยุทธ >>>>>>>>>>
'ธีรยุทธ'วิจารณ์'ประยุทธ์' ทำท.ทหารอดทนเป็นท.ทหารฉุนเฉียว
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"ธีรยุทธ"เหน็บ"ประยุทธ์" ทำท.ทหารอดทนเป็นท.ทหารฉุนเฉียว
เผยปลายมิ.ย.จะตั้งโต๊ะวิจารณ์การเมือง
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) จัดการประชุมวิชาการหัวข้อ
"ปฏิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฏิรูปจิตสำนึกประชาธิปไตย " ในโอกาส 9 ปี สช.
ณ ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการจัดประชุม
ที่จัดมาตั้งแต่วันที่ 10 มิ.ย.
โดยในวันนี้เชิญนายธีรยุทธ บุญมี อาจารย์คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มาปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "พลังพลเมือง สร้างสังคมสุขภาวะ"
โดยในวันนี้นายธีรยุทธสวมเเจ๊คเก็ตสีขาว
ซึ่งต่างจากทุกครั้งที่จะเห็นนายธีรยุทธสวมเสื้อกั๊กออกมานั่งวิเคราะห์วิจารณ์การเมืองไทย
โดยนายธีรยุทธ กล่าวว่า ในวันนี้สวมเสื้อสีขาวเพราะต้องการพูดให้ตรงกับงานด้านสุขภาพตามหัวข้อที่ได้รับเชิญมาพูดจึงใส่สีขาวให้เหมือนเสื้อกราวของหมอ
ส่วนสาเหตุที่เงียบหายไปนั้นนายธีรยุทธระบุว่า
“ผมค่อนข้างกลัวลุงตู่(พลเอกประยุทธ์ จันทร์อชา) ผมว่าแกดุเป็นบ้าเลย แกชอบบ่น เลยไม่ได้ออกมาวิจารณ์เป็นปีแล้ว เดี๋ยวแกเรียกไปปรับทัศนคติ
ทั้งนี้สังเกตหรือไม่ว่าลุงตู่ทำให้ทหารเปลี่ยนไป จากท.ทหารอดทนเป็น ท. ทหารฉุนเฉียวนะในบางที และ
ถ้าเป็นคนรุ่นก่อนหรือรุ่นผมอาจจะจำได้ว่าเรามีการ์ตูนนิสคือลุงประยูร จรรยาวงษ์
ซึ่งท่านจะเขียนการ์ตูนในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และลุงประยูรจะจั่วหัวคอลัมน์ว่า
สัปดนวันละนิดจิตแจ่มใส แต่ตอนนี้ต้องเปลี่ยนแล้วเป็น ฉุนวันละนิดจิตแจ่มใส”
นายธีรยุทธ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของการทำหน้าที่ด้านการเมืองนั้น
ตนจะสรุปภาพรวมการเมือง ทิศทางใหญ่โดยรอให้การถกเถียเรื่องรัฐธรรมนูญเสร็จก่อน และ
คิดว่าจะทำบทสรุปในช่วงสิ้นเดือนนี้แล้วจะแถลงความคิดเห็นให้สื่อมวลชนทราบต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากนั้นช่วงหนึ่งนายธีรยุทธก็ได้กล่าวว่า
รูปแบบการเมืองการปกครองจะตอบสนองภารกิจทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในแต่ละช่วง
ดังนั้นการเมืองในแต่ละช่วงจะต่างไปเรื่อยๆ
ดังนั้นระบบการเมืองการปกครองจะไม่มีแน่นนอนถาวรตลอดไป เพราะมันมีภารกิจของมันแต่ละช่วง
ส่วนประชาธิปไตยก็ไม่ได้เป็นพิมพ์เขียวที่เป็นสากลฉบับเดียวที่ใช้ได้
แต่เป็นหลักการใหญ่ของระบบที่ต้องเคารพอำนาจสิทธิของประชาชนส่วนใหญ่
ซึ่งเท่าที่ศึกษามาประชาธิปไตยมันเกิดมาเพื่อตอบสนองภารกิจทางการเมืองทั้งสิ้น
แต่ตนไม่ได้บอกว่าเราควรมีประชาธิปไตยแบบไทย ๆ และไม่มีประชาธิปไตยแบบสากล
เพราะไม่มีแบบไหนเหมือนกันเลย
ดังนั้นคิดว่าเป็นโจทย์ใหญ่ที่จะต้องค้นหาเหมือนทั่วโลกที่ค้นหาว่า
รูปแบบโครงสร้างอำนาจใดที่เหมาะกับประเทศเขา
นายธีรยุทธ กล่าวว่า เราเคยนำรัฐธรรมนูญแบบฝรั่งเศสมาใช้ซึ่งฝรั่งเศสเขาก็มีปัญหาของเขา
คือต้องทำให้มีผู้นำมีความเข้มแข็งเพื่อสยบกลุ่มย่อยทางการเมืองเพื่อให้การบริหารประเทศบริหารได้ราบรื่น
ซึ่งฝ่ายธุรกิจก็พยายามผลักดันแนวคิดนี้
อย่างไรก็ตามฝ่ายบริหารของเราควรมีประสิทธิภาพและอิสระในการทำงาน
แต่ไม่ใช่ว่าเป็นผู้มีอำนาจเพียงหนึ่งเดียว เพราะโครงสร้างบ้านเรากระจายอำนาจ
ซึ่งนี่คือปมปัญหาที่ทำให้เกิดระบอบทักษิณตามมา
นายธีรยุทธ กล่าวอีกว่า การแก้ปัญหาหาบเร่แผงลอย วินมอเตอร์ไซด์ วินรถตู้ด้วยกำลังทหาร
ไม่สามารถแก้ได้ถาวร
ซึ่งตนคิดว่าท่านทำดีแต่ท่านต้องไปฟังพวกที่เขาที่ทำอาชีพนี้อยู่ว่าเดี๋ยวก็กลับมาอีก
เพราะการใช้อำนาจพิเศษแก้ไม่ได้
ดังนั้นควรจะต้องผลักดันให้ท้องถิ่นชุมชนหรือบุคคลในที่นั้นเป็นผู้จัดการดูแลแก้ปัญหา
ซึ่งถ้าเป็นที่อเมริกาประชาชนจะแจ้งรัฐ แต่ของเราแจ้งรัฐแล้วรัฐไม่ดูแล
เพราะจะเป็นอันตรายกับตัวเอง คนไทยจึงเฉื่อยชา
“ดังนั้นผมจึงไม่สนใจกระบวนการเลือกตั้ง
แต่สนใจที่จะให้กระบวนการในรัฐธรรมนูญที่สนับสนุนให้ประชาชนเขาลุกขึ้นมาดูแลของของเขา
หาบเร่แผงไหนก็ให้คนเขตนั้นลุกขึ้นมาดูแล ร้านสะดวกซื้อก็มีจำนวนมากก็แข่งกันเอง
ในเป็นต่างประเทศเขามีโซนนิ่ง
ดังนั้นถ้าชุมชนมีโอกาสรับผิดชอบ ได้ร่วมรับผิดชอบ ทำให้เป็นวิถีชีวิต”นายธีรยุทธ กล่าว
อาจารย์คณะสังคมวิทยา กล่าวอีกว่า
สิ่งที่ทหารทำไม่ใช่ไปทำแทนประชาชน แต่ต้องดึงให้ประชาชนมามีส่วนร่วมมากที่สุด
ต้องไม่ผลักใสประชาชน ทั้งแง่ความคิดและการปฏิบัติ
ถ้าท่านทำเดี่ยวๆมันจะควบคุมสถานการณ์ได้ชั่วครั้งชั่วคราว ปัญหาจะกลับมา
จะลดหรือเพิ่มก็ประเมินสถานการณ์ไม่ได้
ดังนั้นทำอย่างไรที่ประชาธิปไตย จะเป็นวิถีชีวิตของคน คนดีเลวไม่เท่ากัน คนจน คนชั้นกลาง คนรวย
คนเรียนจบประถม มหาวิทยาลัย ปริญญาเอก ก็ต้องเคารพในเกียรติ์ ศักดิ์ศรี ความสามารถของมนุษย์ และวัฒนธรรมที่มีความหลากหลาย

"อมร"เเฉ! สปช.เห็นแก่ตัว ไม่ทำงาน-ย้ายเก้าอี้นั่งหวังออกทีวี ทำบกพร่อง-จนถูกยุบ


“อมร” ชี้ รธน.เสี่ยงถูกคว่ำ เผย มีผู้ใหญ่จับตาดูพวกสปช. ดราม่า-ไม่ทำงาน-เสนอหน้าออกทีวี เสี่ยงถูกล้างบาง

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 12 มิถุนายน ที่รัฐสภา นายอมร วาณิชวิวัฒน์  สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และประธานอนุกรรมาธิการ(กมธ.)ปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมาย พร้อมด้วยนายวรรณชัย บุญบำรุง สปช. และนายอนุรักษ์ สง่าอารีย์กูล อนุ กมธ. ร่วมกันแถลงข่าวถึงการดำเนินการปฏิรูปที่ผ่านมา โดยนายอมร กล่าวว่า คณะอนุกมธ.ได้พิจารณาศึกษาและยกร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ส่งเสริมติดตามและเร่งรัดการบังคับใช้กฎหมาย พ.ศ. ... เพื่อปฏิรูปการใช้บังคับใช้กฎหมายในภาพรวมของประเทศ เป็นการแก้ปัญหาทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ โดยบังคับใช้กับเจ้าหน้าที่รัฐและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งถ้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล เห็นความสำคัญของกฎหมายนี้ ตนเชื่อว่าแม้ สปช. จะหมดอายุไป แต่คณะอนุกมธ.ฯ ของตนจะได้เข้ามาทำงานนี้ต่อแน่นอน นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการทุจริตและอาชญากรรมที่เกี่ยวข้อง โดยการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเรื่องกล่าว รวมทั้งเสนอให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในส่วนการเสริมมาตรการทางภาษีให้มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น ตามมาตรา 247 ของร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนในการตรวจสอบช่วงต้นของกระบวนการเพื่อคัดกรองบุคคลผู้ประสงค์เข้าสู่กระบวนการใช้อำนาจรัฐ

นายอมรกล่าวถึงกรณีที่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 ว่า  สปช. ไม่เสียขวัญที่มีการแก้ไข ทำให้สปช. เหลือเวลาในการทำงานเพียง 3 เดือน ซึ่งทราบว่าสาเหตุที่ต้องมีการเขย่าขวด สปช. เนื่องจาก สปช. ส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 60 ปี ถือว่าสภาพร่างกายมีปัญหา และบางบุคคลเป็นข้าราชการประจำมีภารกิจมากจนไม่มีเวลาประชุม เท่าที่ทราบสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ กำหนดอายุขั้นต่ำ 35 ปี ชัดเจนว่าเขาอยากได้คนที่มีกำลังวังชาเข้ามาทำงาน อย่างไรก็ตามแม้ สปช. ส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่มีคุณภาพ แต่ผลงานยังมีข้อบกพร่อง

“การอภิปรายในสภา สปช.มีดราม่าเยอะ เหมือนสภาการเมือง โดยเฉพาะการพูดถึงผลประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองไม่ต่างจาก ส.ส. บางคนพูดแต่เรื่องธุรกิจของตนเอง หรือบางคนไม่ได้พูดอะไรเลยแต่ชอบย้ายที่นั่งเพื่อได้ออกทีวี ยอมรับว่ามี สปช. บางคนต่อสายตรงถึงผู้ใหญ่ให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นภายในการทำงานของ สปช. คนเหล่านี้คอยกระซิบให้เห็นว่าใครมาทำงานอย่างสม่ำเสมอหรือเซ็นชื่ออย่างเดียวแล้วออกไป ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาในการคัดเลือกสมาชิกสภาขับเคลื่อนฯ ต่อไป” นายอมร กล่าว

นายอมร กล่าวอีกว่า ยอมรับว่าการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวครั้งนี้มีความเสี่ยงที่ สปช. จะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ถ้า สปช. นึกถึงผลประโยชน์ส่วนตัวก็มีแนวโน้มว่าจะร่อแร่ แต่ถ้านึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศก็อยากให้เดินหน้าต่อไป เพราะ สปช. ส่วนใหญ่มีแต่น้ำดีแถวหนึ่งของประเทศ คงไม่มีใครอยากให้เกิดปรากฎการณ์ใช้คนแถวสอง หรือแถวสามเหมือนในอดีตมาทำงาน ทั้งนี้ แม้ตนจะขอให้มีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 7 เพียงมาตราเดียว แต่หากคณะกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่แก้ไขให้ ตนก็ไม่ติดใจ ยังคงโหวตให้ผ่าน แต่ตนก็ไม่แน่ใจกับกลุ่มอื่นๆที่เสนอแก้ไขเป็นร้อยมาตรา ว่าหากคณะกมธ.ยกร่างฯ ไม่ยอมแก้ไขให้พวกเขาจะโหวตอย่างไร อย่างไรก็ตามแม้ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านความเห็นชอบของ สปช. เราก็จะได้เลือกตั้งตามโรดแมป ซึ่งก่อนการเลือกตั้งรัฐบาลก็จะต้องบริหารประเทศนานเกือบ 2 ปี อยู่แล้ว แต่ถ้าไม่ผ่านในชั้น สปช. รัฐบาลก็จะมีข้ออ้างในการอยู่ต่ออยู่แล้วเช่นกัน

รัฐประหารที่เป็นปชต.?

ลักษณะของ "รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย"

โดย : สฤณี อาชวานันทกุล


สามเดือนหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ท่ามกลางเสียงสนับสนุนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ที่ดูจะยังมีไม่น้อย (แต่มากน้อยเท่าไรไม่อาจรู้ได้แน่ชัด ในภาวะที่สื่อยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ภายใต้คำสั่งเซนเซอร์สื่อต่างๆ นานา ของ คสช. กฎอัยการศึกยังมีผลบังคับใช้ และผลโพลหลายสำนักน่าสงสัยในวิธีสุ่มตัวอย่าง มากกว่าจะน่าสนใจในผลโพลที่ออก) 


นักวิชาการและผู้มีอิทธิพลทางความคิดจำนวนไม่น้อยที่สนับสนุนรัฐประหารในครั้งนี้ก็พยายามชี้ว่า คนไทยควร “อดทน” และ “ให้เวลา” กับคสช. เพราะรัฐประหารครั้งนี้อาจนำไปสู่ “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ตามที่หัวหน้า คสช. ควบนายกฯ คนใหม่ได้เคยลั่นวาจาไว้หลายครั้งหลายครา


บทความวิชาการซึ่งมักจะถูกหยิบยกขึ้นมาอ้างเป็น “หลักฐาน” ว่ารัฐประหารครั้งล่าสุดนี้ “เป็นประชาธิปไตย” คือ “The Democratic Coup d’Etat” เขียนโดย โอซาน โอ. วารอล (Ozan O. Varol) ศาสตราจารย์กฎหมายจากมหาวิทยาลัย ลูวิส แอนด์ คลาร์ก สหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Harvard International Law Review (ดาวน์โหลดได้จาก http://www.harvardilj.org/wp-content/uploads/2010/05/HLI203.pdf) ในปี 2012


ในบทความชิ้นนี้ วารอลเสนอว่า รัฐประหารอาจไม่ทำลายประชาธิปไตยโดยอัตโนมัติแบบที่นักวิชาการหลายคนเชื่อก็ได้ จะต้องดูเงื่อนไขแวดล้อมตอนเกิดรัฐประหารและผลพวงที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ก่อนที่จะสรุปได้ว่า รัฐประหาร “ทำลาย” ประชาธิปไตย หรือ “สร้างเสริม” ประชาธิปไตยให้แข็งแกร่งกว่าเดิมกันแน่


วารอลแบ่งรัฐประหารออกเป็นสองแบบ แบบแรกคือ “รุ่นเก่า” นั้นมีลักษณะตรงกันกับรัฐประหารที่นักวิชาการส่วนใหญ่เข้าใจ คือการโค่นอำนาจรัฐเพื่อยึดอำนาจมาเป็นของตัวเอง ไม่สนใจประชาชน แต่ในบรรดาแบบที่สองคือ “รุ่นใหม่” ที่เกิดหลังยุคสงครามเย็น (หลังทศวรรษ 1990) นั้น วารอลพบว่าร้อยละ 74 เป็นรัฐประหารที่เขาเรียกว่า “เป็นประชาธิปไตย” (The Democratic Coup d’Etat) คือไม่ได้ทำให้ประชาธิปไตยถดถอยเหมือนกับรัฐประหารรุ่นเก่า สามารถปูทางไปสู่รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างราบรื่นภายในเวลา 5 ปี


เนื้อหาส่วนสำคัญในงานของวารอลชิ้นนี้ประมวลมาจากการสังเกตการณ์รัฐประหารและผลพวงของมันในประเทศอียิปต์ ปี 2011 เมื่อเกิดปรากฏการณ์ “อาหรับ สปริง” ที่ประชาชนลุกฮือขึ้นโค่นล้มผู้นำเผด็จการ นอกจากนี้วารอลยังอ้างถึงรัฐประหารในตุรกี ปี 1960 และรัฐประหารในโปรตุเกส ปี 1974 ว่าทั้งสามกรณีนี้ล้วนแต่เข้าข่าย “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ในมุมมองของเขา

ลักษณะของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” มีอะไรบ้าง? วารอลสรุปว่ามีอยู่ 7 ประการด้วยกัน เรียงตามลำดับความสำคัญได้ดังต่อไปนี้

ข้อแรก รัฐประหารที่เกิดขึ้นจะต้องมุ่งโค่นล้มระบอบเผด็จการ (totalitarian) หรือระบอบที่ผู้ปกครองใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ (authoritarian) ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้มีความหลากหลายทางการเมือง

ข้อนี้วารอลขยายความว่า “รัฐประหารใดๆ ก็ตามที่โค่นล้มรัฐบาลที่ไม่ใช่เผด็จการหรือไม่ได้ใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ใช่ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ภายใต้กรอบคิดนี้ รัฐประหารหลายครั้งที่ผ่านมาถูกอ้างว่าทำเพื่อโค่นนักการเมืองที่ผู้นำคณะรัฐประหารมองว่าคอร์รัปชัน ไร้ประสิทธิภาพ หรือสายตาสั้น รัฐประหารประเภทนี้อยู่นอกเหนือขอบข่ายของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” เพราะประชาชนสามารถปลดนักการเมืองแบบนี้เองได้ด้วยการไม่โหวตเลือกพวกเขาในการเลือกตั้ง โดยไม่จำเป็นจะต้องให้กองทัพเข้าแทรกแซง รัฐประหารจะเป็นประชาธิปไตยได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่การเลือกตั้งไม่ใช่วิธีปลดนักการเมืองที่มีความหมาย เพราะผู้นำทางการเมืองคนนั้นไม่ยอมสละอำนาจ [ถึงแม้จะแพ้เลือกตั้ง]”

ข้อสอง “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” มุ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่ออกมาต่อต้านผู้นำเผด็จการหรือผู้นำที่ใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จอย่างยาวนาน ปกติการต่อต้านนี้จะอยู่ในรูปของการลุกฮือขึ้นประท้วง พลเมืองอยากได้ประชาธิปไตย แต่ถูกกีดกันไม่ให้มีสิทธิเลือกตั้ง

ข้อสาม แม้จะเผชิญกับเสียงต่อต้านจากประชาชนจำนวนมหาศาล ผู้นำเผด็จการยังไม่ยอมลงจากตำแหน่ง

ข้อสี่ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” มักจะเกิดในประเทศที่บังคับให้พลเมืองต้องเกณฑ์ทหาร ส่งผลให้กองทัพเต็มไปด้วยสมาชิกของสังคม ไม่ใช่ทหารรับจ้าง กองทัพในแง่นี้อาจได้ชื่อว่าเป็นสถาบันแห่งเดียวที่ไม่คอร์รัปชันและไม่ถูกกระทบจากกลไกของรัฐซึ่งมีคอร์รัปชันซึมลึก

ข้อห้า กองทัพขานรับเสียงเรียกร้องของประชาชน ทำรัฐประหารเพื่อโค่นระบอบเผด็จการ

ข้อหก กองทัพจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมภายในระยะเวลาไม่นาน ประกาศวันเลือกตั้งล่วงหน้าอย่างชัดเจนเพื่อสร้าง “ตลาดการเมือง” ขึ้นมาใหม่ อีกทั้งยังเป็นการส่งสัญญาณของรัฐบาลเฉพาะกาลว่า ตนมีบทบาทจำกัดและจะอยู่ในอำนาจเพียงชั่วคราวเท่านั้น

ข้อเจ็ด ภายหลังการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม กองทัพถ่ายโอนอำนาจให้กับผู้นำที่ชนะการเลือกตั้งโดยทันที ไม่ว่าผู้นำที่ประชาชนเลือกจะเป็นใคร ไม่ว่านโยบายจะสอดคล้องกับนโยบายของกองทัพหรือไม่ โดยกองทัพจะไม่พยายามแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงผลการเลือกตั้ง

ผู้เขียนเห็นว่าจากลักษณะเจ็ดข้อของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ที่สรุปมาข้างต้นนั้น ชัดเจนว่ารัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดย คสช. ไม่เข้าข่ายในกรอบคิดของวารอลเลย - ดูข้อแรกกับข้อสองก็ไม่เข้าแล้ว ข้อสี่ยิ่งไม่เข้าใหญ่ แต่น่าเสียดายที่นักวิชาการบางท่านพยายามบิดเบือนเนื้อหาในบทความชิ้นนี้ อ้างคำพูดครึ่งเดียวเพื่อตีความเข้าข้างตัวเอง


ในปี 2013 หลังจากที่กองทัพอียิปต์ออกมาทำรัฐประหารโค่นรัฐบาลของประธานาธิบดี โมฮาเหม็ด มอร์ซี วารอลก็ได้รับคำถามมากมายว่า รัฐประหารครั้งนี้เข้าข่าย “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ในกรอบคิดของเขาหรือไม่ วารอลเขียนบทความตอบ (ดูhttp://journal.georgetown.edu/egypts-non-democratic-coup-detat-and-turkeys-response-by-ozan-varol/) โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

“รัฐประหาร [ปี 2013 ในอียิปต์] เข้าข่าย “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” หรือไม่? คำตอบคือไม่ใช่ …ในรัฐประหารครั้งนี้ กองทัพอียิปต์โค่นประธานาธิบดีที่ชนะการเลือกตั้งเพียงหนึ่งปีก่อนหน้า ในการเลือกตั้งที่หลายคนมองว่าเสรีและเป็นธรรม แน่นอน กองทัพในกรณีนี้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนจำนวนมหาศาลที่ออกมาประท้วงประธานาธิบดีที่ไม่ได้รับความนิยมและไม่ยอมสละอำนาจ มีเรื่องให้เราวิพากษ์มากมายถึงสไตล์การบริหารแบบชอบอ้างเสียงข้างมากของประธานาธิบดีมอร์ซี ...แต่กองทัพลงมือก่อนเวลาอันควร

ถ้าไม่นับข่าวลือต่างๆ แล้ว ก็ไม่มีสัญญาณใดๆ ณ ตอนเกิดรัฐประหารว่า มอร์ซีจะไม่ยอมสละอำนาจถ้าหากเขาแพ้การเลือกตั้งครั้งต่อไป และไม่มีสัญญาณที่บ่งชี้ว่าการเลือกตั้งภายใต้รัฐบาลของเขาจะถูกโกงแบบเดียวกับที่มูบารักโกง ถ้าหากกองทัพไม่โค่นมอร์ซีด้วยกำลัง กลุ่มที่ต่อต้านก็อาจสามารถฉวยโอกาสจากภาวะขาดคะแนนนิยมของมอร์ซี โค่นเขาลงจากอำนาจผ่านหีบเลือกตั้ง ความมักง่ายของกองทัพทำให้ขั้นตอนประชาธิปไตยที่ถูกสถาปนาแล้วเกิดการลัดวงจร”