PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2558

“สปช.” อย่าเสียขวัญ โดย : ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์

“สปช.” อย่าเสียขวัญ โดย : ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์
ดร.อมร เขียนบทความนี้ในวันที่ 11 มิถุนายน 2558
ผมได้เจอ อาจารย์อมร หลายครั้ง ได้ฟังทัศนะความเห็นที่ดีๆประจำ
ลองฟังทัศนะของดร.อมร ต่อ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ น่ะครับ
มี Key Words หลายคำ
1. “อย่าเสียขวัญนะครับท่าน สปช.”
2. คสช. จึงต้องทำการ “เขย่าขวด (shake up)” ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว
3. ซึ่งปกติเชื่อแน่ว่า คสช.และคณะรัฐมนตรี “ย่อมไม่ฟังความข้างเดียว”
4. อย่างไรก็ตาม โครงสร้างส่วนใหญ่ของ “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป”
จะยังเป็น “หน้าเดิม” ใน สปช.

...............................
“อย่าเสียขวัญนะครับท่าน สปช.”
ผมพูดกับสมาชิก สปช.ที่แสดงความรู้สึกกังวลต่อภาระหน้าที่งานปฏิรูปที่ได้ริเริ่มฟูมฟักกันมาเกือบปีเต็ม
ว่า หาก สปช.ถูกยุบเลิกไป ใครจะมาสานงานต่อ
ขอให้กำลังใจกับการทำหน้าที่อย่างหนักหน่วงของ สปช.
ส่วนใหญ่ในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา
มีส่วนทั้งในการยกร่างและแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ
ที่กำลังจะต้องมาสู่การลงมติ “รับ” หรือ “ไม่รับ”
ร่างรัฐธรรมนูญที่ใกล้เข้ามาทุกขณะ
คาดว่าน่าจะอยู่ในราวต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะเป็นวาระยุติ
การทำงานของสภาปฏิรูปแห่งชาติ สภาประวัติศาสตร์แห่งแรกของโลกเลยก็ว่าได้
ต้องเรียนว่าเสียงแว่วผ่านมาในเรื่องของการปรับเปลี่ยนแก้ไขโครงสร้างของ สปช.นั้น ได้ยินมาเข้าหูและมีการพูดกันมาอยู่ระยะหนึ่งแล้ว
รวมทั้งในแง่ขององค์ประกอบและการทำหน้าที่ในส่วนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย
เพราะแม้จะได้คนเกษียณอายุราชการมาเป็นส่วนใหญ่
แต่การขาดประชุมและการมีผู้อภิปรายแบบซ้ำหน้าของ สนช.ก็เป็นเรื่องหนึ่งที่มีการพูดถึงกันว่า
อาจต้องถึงวาระในการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลเช่นเดียวกัน
สำหรับในส่วนของ สปช.นั้น
เป็นที่รู้กันว่า มีทั้งสมาชิกที่มีปัญหาด้านสุขภาพอยู่หลายท่าน
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้มีคุณูปการต่อการปฏิรูป
แต่สุขภาพของหลายท่านในระยะหลัง ด้วยการกรำงานหนัก
จึงเป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่ของหลายท่าน
รวมทั้งรูปแบบการอภิปราย การล่วงเกินเลยกรอบการเป็น “สภาวิชาการ”
เป็นอีกข้อถกเถียงหนึ่ง ไ
ม่แตกต่างจาก “ตัวบุคคล” จำนวนหนึ่ง
ที่ทาง คสช.และคณะรัฐมนตรีอาจพิจารณาประเมินการทำหน้าที่ในช่วงที่ผ่านมา แล้วอาจเห็นว่าเป็นส่วนผสมที่ยังไม่ลงตัว
จึงต้องทำการ “เขย่าขวด (shake up)” ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว
ดังนั้น สปช.ส่วนใหญ่จึงไม่พึงวิตกกังวลอย่างเกินเหตุ
และไม่ควรขวัญเสียกับสิ่งที่ได้ริเริ่มกันมา
เพราะผลงานที่แต่ละท่านได้ดำเนินการอยู่นั้น
จะเป็นเครื่องชี้วัดที่สำคัญในการจะอยู่หรือไป
เพราะรัฐบาลและทาง คสช.นั้น ใช้เหตุใช้ผลในการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติงานของ สปช.
มีข้อมูลและประจักษ์พยานต่างๆ รองรับ
คนที่อยู่ใน สปช.จำนวนหนึ่งก็เป็นคนที่ต่อสายตรงได้ถึง คสช.และคณะรัฐมนตรี ย่อมมีการรายงานและสื่อสารให้ได้ยินได้ฟังกันอยู่
ซึ่งปกติเชื่อแน่ว่า คสช.และคณะรัฐมนตรี “ย่อมไม่ฟังความข้างเดียว”
ต้องมีการตรวจสอบและคานน้ำหนักข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง
“ทำให้คนที่คิดว่าจะต้องไปหรืออยู่ น่าจะรู้ตัวเองดี”
ถ้าจะคาดคะเนถึงองค์ประกอบใน “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป”
ที่จะมีการจัดตั้งขึ้นทดแทนสภาปฏิรูป ที่กำลังจะสลายไป
เมื่อมีการ “รับ “ หรือ “ไม่รับ” ร่างรัฐธรรมนูญนี้
จะพบว่าเกณฑ์ที่มีการกำหนดขึ้นทาง คสช.และคณะรัฐมนตรี
ต้องการได้คนที่มีศักยภาพที่เป็นคนรุ่นหนุ่มสาวมากขึ้น คือ
มีการปรับเกณฑ์อายุให้เข้ามาได้ตั้งแต่อายุ 35 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
ทำให้สะท้อนปัญหาหนึ่งที่ได้นำเรียนมาข้างต้นเกี่ยวกับ
อายุเฉลี่ยของ สปช.ในชุดปัจจุบันที่ว่ากันว่า อยู่ที่ห้าสิบปลายๆ ถึงหกสิบกว่าขวบปี
อย่างไรก็ตาม โครงสร้างส่วนใหญ่ของ “สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป”
จะยังเป็น “หน้าเดิม” ใน สปช.
เช่น บรรดา ประธานคณะกรรมาธิการ ประธานอนุกรรมาธิการ กรรมาธิการยกร่าง (จำนวนหนึ่ง) และบุคคลที่มีส่วนขับเคลื่อนในการปฏิรูปทั้งในลับและเปิดเผย
แต่สำหรับสมาชิกที่ “ขาด” “ลา” “ป่วย” เดินทางบ่อย
ขาดการแสดงความคิดความอ่านในวาระโอกาสอันสมควร
หรือไม่สามารถทำงานเต็มเวลาให้กับการขับเคลื่อนการปฏิรูปได้
จะเป็นข้อเสียเปรียบของแต่ละบุคคล
ดังได้เรียนไว้แล้วว่า แต่ละท่านย่อมทราบอยู่แก่ใจว่า
ใครประพฤติปฏิบัติตัวเช่นไรในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ทั้งนี้ สำหรับในส่วนของการปฏิรูประบบพรรคการเมือง และการปฏิรูปการบังคับใช้กฎหมาย
ที่ผมทำหน้าที่เป็นประธานอนุกรรมาธิการอยู่ทั้งสองคณะ
ขอเรียนผ่านไปยัง คสช.และคณะรัฐมนตรีว่า
ภารกิจการดำเนินงานที่ผ่านมาของทั้งสองคณะนั้น เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และกำลังจะมีการร่างกฎหมายในลักษณะพระราชบัญญัติหรือแม้กระทั่งกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญออกมาอีกหลายฉบับ
อาทิ เรื่องการสร้างแนวทางการส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายในหน่วยงานองค์กรของฝ่ายบริหาร
การออกกฎหมายเพื่อควบคุมจัดการวินัยจราจร การใช้รถใช้ถนน ที่จะเข้าไปดูแลปัญหา “เด็กแว้นซ์” “ เด็กซิ่ง” “บิ๊กไบค์” ทั้งหลาย
ขณะเดียวกัน ประเด็นการปฏิรูปเกี่ยวกับพรรคการเมืองจะเข้าสู่การพิจารณาของสภาปฏิรูปแห่งชาติในวันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน2558 นี้
ทราบว่าจะมีการถ่ายทอดภาพและเสียงทางสถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา
จึงใคร่เรียนเชิญผู้สนใจติดตามรับฟังแนวทางการปฏิรูปให้ระบบ “พรรคการเมือง” ของประเทศไทยมีความเข้มแข็งและเป็นสถาบันทางสังคม
เหล่านี้คือคำตอบที่จะบ่งชี้ได้ว่า ใครจะไปหรืออยู่ต่อใน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป

ไม่มีความคิดเห็น: