PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

"องอาจ" แนะ สนช. ตั้งกมธ.สันติสุข ต้องชัดอย่าให้มีวาระซ่อนเร้น จนไปไม่ถึงเป้าหมาย


นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีต ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ กล่าวถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เตรียมตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาเสริมสร้างสังคมสันติสุขว่า สนช. ว่า อาจมีเจตนาดี ที่จะคลี่คลายความขัดแย้ง แต่ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมามีการตั้ง กมธ. ในลักษณะนี้มีมาตลอด แต่ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จให้เห็นเป็นรูปธรรมได้
.
ฉะนั้น สนช. ต้องพยายามทำให้ กมธ. ชุดนี้ เป็นที่เชื่อถือ เชื่อมั่นของประชาชน ว่าจะเป็นที่ระดมความคิดเห็นเพื่อคลี่คลายปัญหา ไม่ใช่เพิ่มปัญหาให้มากยิ่งขึ้น ตรงนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญ เพราะถ้าเริ่มต้นด้วยการไม่ยอมรับ โอกาสที่จะเดินต่อไปก็คงไม่เกิดประโยชน์อะไร
.
จึงอยากให้ สนช. สร้างความชัดเจนว่า กมธ. ชุดนี้ไม่มีวาระซ่อนเร้น ไม่มีอะไรแอบแฝง แต่มีความตั้งใจให้เกิดประโยชน์ต่อบ้านเมืองจริงๆและการดำเนินการของกมธ. จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าสนช.มีเจตนาดีจริงหรือไม่
.
ที่มา: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ 11 มกราคม 2559
ขอบคุณข้อมูลจาก http://bit.ly/1VY5ZB4

“วันชัย” เชลียร์รัฐ - สนช.เร่งปรองดองใน 1 ปี ลั่นใครขวางตัวปัญหาแผ่นดิน

“วันชัย” เชลียร์รัฐ - สนช.เร่งปรองดองใน 1 ปี ลั่นใครขวางตัวปัญหาแผ่นดิน


“วันชัย” เชลียร์รัฐ - สนช.เร่งปรองดองใน 1 ปี ลั่นใครขวางตัวปัญหาแผ่นดิน
วันชัย สอนศิริ (ภาพจากแฟ้ม)
        สมาชิก สปท. มือคว่ำร่างรัฐธรรมนูญต่ออายุรัฐบาล หนุนรัฐบาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สร้างความปรองดองสมานฉันท์ภายใน 180 วัน ช้าที่สุด 1 ปี ชี้ ถ้าทำไม่ได้ปฏิวัติล้มเหลว ออกโรงป้องใครขวางไม่ร่วมมือ เป็นตัวปัญหาของแผ่นดิน สร้างความแตกแยก
      
       วันนี้ (10 ม.ค.) นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวว่า ในคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เห็นพ้องต้องกันว่า เรื่องปรองดองสมานฉันท์เป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลนี้จะต้องแก้ไขให้สำเร็จให้จงได้ เพราะเรื่องนี้ถ้าทำไม่สำเร็จจะเป็นอุปสรรคในการแก้ไขปัญหาของประเทศนี้ ไม่ว่ารัฐธรรมนูญ เศรษฐกิจ ความมั่นคงจะดีอย่างไร ถ้าคนในชาติไม่มีความปรองดองสมานฉันท์เสียแล้วทุกอย่างก็จะล้มเหลวไปหมด ไม่ว่าสิ่งที่รัฐบาลนี้ได้ปูพื้นฐานเรื่องอะไรไว้ก็ตาม ก็จะไม่สำเร็จในระยะยาวต่อไป และก็เชื่อว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นพรรคใดก็ตามก็ไม่มีทางจะทำเรื่องปรองดองสมานฉันท์ได้
      
       “ดังนั้น จะต้องทำในรัฐบาลชุดนี้ในระยะเวลาที่เหลือนี้เท่านั้น และต้องทำให้ได้ ถ้าทำไม่ได้หรือไม่สำเร็จก็ถือว่าเป็นความล้มเหลวอย่างหนึ่งของการปฏิวัติ” นายวันชัย กล่าว
      
       นายวันชัย กล่าวว่า กรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง นอกจากจะทำเรื่องการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรมแล้ว ยังทำเรื่องปรองดองสมานฉันท์อีกเรื่องหนึ่งด้วย ทั้งสองเรื่องนี้กรรมาธิการมุ่งมั่นทุ่มเทที่จะทำให้สำเร็จไปพร้อม ๆ กับรัฐบาล และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ดังนั้น ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะตั้ง กมธ. เสริมสร้างสังคมสันติสุข ก็ถือว่าเป็นเรื่องดีที่ทุกองค์กรจะได้ร่วมมือกัน ประสานกันไปในแนวทางเดียวกันมุ่งไปสู่ความสำเร็จ ใครจะออกมาโต้แย้งหรือกล่าวหาอย่างไรก็อย่าไปสนใจ หรือให้ความสำคัญกับคนที่จมปลักหรือวนเวียนอยู่กับความขัดแย้ง เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประชาชนต้องการ และอยากเห็นความปรองดองสมานฉันท์เกิดขึ้นในชาติ และเป็นเรื่องที่คืนความสุขอย่างแท้จริงให้กับประชาชนมากกว่าเรื่องอื่น
      
       “ทุกฝ่ายรวมทั้งคู่ขัดแย้งในสังคมต้องร่วมมือร่วมใจ ร่วมกันทำภารกิจนี้ให้สำเร็จ ต้องรู้จักได้บ้างเสียบ้าง ต้องเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติมากกว่าเห็นแก่ประโยชน์ของตนหรือพรรคพวกหรือใครคนใดคนหนึ่ง ก็เห็นอยู่แล้วและก็รู้อยู่แล้วว่าเวลาที่ทะเลาะกันแตกแยกกัน ทุกฝ่ายไม่ได้อะไรเลย มีแต่ความเสียหายและย่อยยับของประเทศ ผมสนับสนุนแนวทางของ คสช. และ สนช. รวมทั้งทุกฝ่ายที่จะร่วมมือกันทำให้เสร็จภายใน 180 วัน หรือจะมากไปกว่านั้นไม่เกิน 1 ปี ถ้าทำสำเร็จก็ถือว่าไม่ช้าเกินไป กมธ. ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองขอสนับสนุนในการทำเรื่องนี้ และพร้อมที่จะร่วมมืออย่างเต็มที่ ใครขวางใครไม่ร่วมมือ หรือใครที่คัดค้าน นั่นแหละถือว่าเป็นตัวปัญหาของแผ่นดิน และเป็นตัวสร้างความแตกแยก พอกันทีกับความแตกแยกแตกสามัคคี ปีนี้ต้องเริ่มให้ได้และต้องจบให้ได้” นายวันชัย กล่าว

ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน แถลงกรณีการใชั ม.44 บอนไซ ขบวนการภาคประชาชน ปลดบอร์สสส.



2016-01-11 13.29.06
คำแถลงขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน

กรณีการบอนไซขบวนการภาคประชาชนด้วยการปลดบอร์ด สสส. การระงับการอนุมัติและงบประมาณการดำเนินงานโครงการ รวมทั้งการใช้มาตรการภาษีคุกคามองค์กรภาคประชาสังคมโดยไม่ชอบธรรม
ที่รัฐบาลได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ปลดคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งทำงานใกล้ชิดกับองค์กรภาคประชาสังคมและชุมชนท้องถิ่นรวม 7 คนออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 โดยก่อนหน้านั้น 3 เดือนคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ได้เข้ามาควบคุมการอนุมัติและระงับการจ่ายงบประมาณให้กับโครงการที่ได้ดำเนินการทำความตกลง อีกทั้งได้มีคำสั่งจากผู้มีอำนาจให้กรมสรรพากรตรวจสอบและเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง 5 ปีจากองค์กรภาคประชาสังคมอย่างไม่ชอบธรรม

ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน ซึ่งเป็นการรวมตัวของเครือข่ายภาคประชาสังคม เครือข่ายวิชาการ และเครือข่ายองค์กรประชาชน รวม 20 เครือข่าย ขอแถลงจุดยืนและข้อเท็จจริงต่อประชาชนในกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1. ปัญหาการปลดบอร์ด สสส.และการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่
ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนเห็นว่าการปลดบอร์ดของสสส.ทั้ง 7 คนเป็นไปโดยไม่ชอบธรรมเนื่องจากไม่พบการทุจริต อีกทั้งการดำรงตำแหน่งของกรรมการก็มีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎหมายซึ่งตราไว้ หากการปลดบอร์ดทั้ง 7 คนด้วยเหตุผลซึ่งนายกรัฐมนตรีอ้างว่าเพื่อไม่ให้ขัดขวางการตรวจสอบ ดังนั้นเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นลง และพบว่ากรรมการที่ถูกปลดออกไม่ได้ดำเนินการใดๆที่บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ได้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ รัฐบาลต้องคืนความเป็นธรรมให้กับคณะกรรมการทุกท่าน เพื่อกู้เกียรติยศ ศักดิ์ศรี และประวัติการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เที่ยงตรง และยุติธรรมของคณะกรรมการที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวโดยเร็ว
2016-01-11 13.29.47
ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนมีข้อเสนอดังนี้คือ
1.1 ยกเลิกการสั่งที่ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ “พ้นจากการเป็นกรรมการและการดำรงตำแหน่งในกองทุนดังกล่าว” เพื่อให้คณะกรรมการสามารถกลับเข้ามาปฏิบัติงานได้หลังการตรวจสอบเสร็จสิ้นลงโดยเร็ว
1.2 ขณะนี้สัดส่วนของคณะกรรมการของสสส.เหลือกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพียง 2 คน และมีกรรมการจากสัดส่วนภาครัฐ 11 คน ดังนั้นหากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่ประสงค์จะดำรงตำแหน่งต่อ
กระบวนการสรรหาและแต่งตั้งซึ่งขาดการถ่วงดุลจากผู้ทรงคุณวุฒิอาจได้กรรมการซึ่งมีคุณสมบัติที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงขอเรียกร้องให้คณะกรรมการของ สสส.ที่เหลืออยู่ และคณะรัฐมนตรีซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสรรหาและแต่งตั้ง ดำเนินการเพื่อให้ได้คณะกรรมการที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1) กรรมการผู้ทรงคุณวุติทั้ง 7 คนต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ ซื่อสัตย์ สุจริต และมีผลงานที่เป็นประจักษ์ในด้านต่างๆตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยต้องมีคุณสมบัติไม่ด้อยไปกว่าคณะกรรมการทั้ง 7 คนที่พ้นจากหน้าที่ไป
2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านแอลกอฮอล์ บุหรี่ อาหาร หรือผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ อีกทั้งต้องไม่มีความสัมพันธ์ หรือทัศนคติในทิศทางที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิรูประบบสุขภาพที่มุ่งสร้างความเท่าเทียมเป็นเป็นธรรมด้านสุขภาพ และต้องมาจากภาคเอกชนอย่างน้อยกึ่งหนึ่ง จากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมด 8 คน ตามมาตรา 17(5) ตามพ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 2544
1.3 ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนจะติดตามความคืบหน้าการประชุมของคณะกรรมการสสส.ในวันที่ 15 มกราคม 2558 อย่างใกล้ชิด หากพบว่าการแต่งตั้งผู้จัดการ การสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นโดยมิชอบ รวมทั้งไม่มีความคืบหน้าเพื่อแก้ปัญหาข้างต้น ขบวนการฯจะมีการเคลื่อนไหวใหญ่ทั่วประเทศ ซึ่งจะแถลงต่อสื่อมวลชนต่อไป
2016-01-11 13.30.20
2.กรณีการระงับการจ่ายงบประมาณดำเนินการและไม่อนุมัติโครงการที่มีงบประมาณเกิน 5 ล้านบาท
การระงับการจ่ายเงินให้แก่โครงการที่ได้ลงนามในความตกลงร่วมปฏิบัติงานร่วมกับ สสส.แล้วมีจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 1,953 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้เป็นโครงการที่งบประมาณเกิน 5 ล้านบาทจำนวน 515 โครงการ รวมงบประมาณ 1,643 ล้านบาท โดยจะมีผู้ปฏิบัติงานในองค์กรต่างๆที่ได้รับผลกระทบประมาณ 5,200 คน ในจำนวนนี้มีมากกว่า 3,400 คนที่ขาดงบประมาณดำเนินการและค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนานเกิน 3 เดือน งบประมาณที่สนับสนุนในโครงการต่างๆนั้นจะเกี่ยวข้องกับผู้ปฏิบัติงานในโครงการย่อยๆ และอาสาสมัครไม่เต็มเวลาที่ร่วมกันทำงานให้กับสสส.อีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นขณะนี้ผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับคาดว่าน่าจะเกิน 10,000 คน
อย่างไรก็ตามผลกระทบที่มากไปกว่านั้นคือผลกระทบจากการที่ประชาชนในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก เยาวชน แรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ประชาชนในชุมชนแออัด ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งขาดโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากกิจกรรมและโครงการที่ลดปัจจัยเสี่ยงเรื่องสุขภาพ เช่น เหล้า บุหรี่ สารเคมี ขยะของเสียอันตราย ไปจนถึงการส่งเสริมสุขภาพ เช่น เกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย และการออกกำลังกาย เป็นต้น
การระงับโครงการของสสส.ยังกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมของหน่วยงานรัฐด้วยเนื่องจากสัดส่วนงบประมาณที่สสส.ให้กับหน่วยงานของรัฐในรอบ 15 ปีนั้นเป็นการสนับสนุนให้กับหน่วยงานของรัฐมากที่สุด เฉพาะในกระทรวงสาธารณสุขซึ่งมีโครงการที่มีข้อจำกัดจากงบประมาณปกติแต่ได้รับการสนับสนุนจากสสส.ต้องได้รับผลกระทบไปด้วย เช่น เครื่องมือประเมินเด็กปฐมวัย การพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก การแก้ปัญหาตั้งครรภ์วัยรุ่น ต้นแบบโรงเรียนสุขภาวะ ระบบการให้คำปรึกษาในศาล การดูแลเด็กในกระบวนการยุติธรรม รูปแบบการรักษาสุรายาเสพติด การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นต้น
การระงับการจ่ายงบประมาณ และการไม่อนุมัติโครงการใหม่ๆ คาดว่าจะส่งผลกระทบและการสูญเสียโอกาสในการมีระบบสุขภาวะที่ดีในหมู่ประชาชนนับแสนนับล้านคน
2016-01-11 13.31.37
ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนมีข้อเรียกร้องดังนี้
โครงการที่ภาคีร่วมดำเนินงานกับ สสส. ต้องได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามสัญญาที่ทำไว้ร่วมกัน หากโครงการยังคงถูกแช่แข็ง ไม่จ่ายเงินตามงวดความตกลงที่ได้ลงนามไว้ ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนจะดำเนินการยื่นฟ้อง สสส. ต่อศาลปกครอง
3. กรณีผู้มีอำนาจสั่งการให้มีการไล่เบี้ยเก็บภาษีมูลนิธิและและองค์กรต่างๆที่ร่วมปฏิบัติงานกับสสส.
นอกเหนือจากผลกระทบจากการระงับงบประมาณดำเนินการแล้ว ยังมีการดำเนินการให้กรมสรรพากรไล่เบี้ยเก็บภาษีย้อนหลัง 5 ปีกับมูลนิธิและองค์กรต่างๆที่ร่วมปฏิบัติงานกับสสส. โดยอ้างว่า การดำเนินงานของมูลนิธิและองค์กรต่างๆเป็นการรับจ้างทำของซึ่งต้องเสียภาษีและตีตราอากร ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ดังนี้
1) องค์กรภาคประชาสังคมที่ร่วมปฏิบัติงานกับสสส.นั้นไม่ได้สัมพันธ์กับสสส.ในฐานะ “ผู้รับจ้างทำของ” แต่เป็น “ผู้ดำเนินงานแทนสสส.” โดยในความตกลงของสสส.กับภาคีนั้นจะมีการลงนามในความตกลงที่เรียกว่า “ข้อตกลงการปฏิบัติงาน” ไม่ใช่ “สัญญารับจ้างทำของ” แต่ประการใด ทั้งนี้โดยสสส.ได้เคยขอให้สำนักงานอัยการสูงสุดตีความในโครงการที่ลงนามในความตกลงดังกล่าวเมื่อปี 2547 โดยสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตอบกลับตามหนังสือลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547 วินิจฉัยว่าเป็น “การดำเนินการแทน”
2) ในความตกลงของสสส.ที่ดำเนินการร่วมกับภาคีนั้นได้แยกงบประมาณที่เกี่ยวข้องเป็น 2 ส่วนคือ งบที่เป็นค่าตอบแทนบุคลากร และงบประมาณการดำเนินกิจกรรมตามโครงการเพื่อประโยชน์สาธารณะ “ซึ่งต้องเป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่สสส.กำหนด” และถือว่าเป็น “ผลงานของสสส.” โดยในส่วนที่เป็นค่าตอบแทนบุคคลากรจะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยสสส.จะหักค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก่อนโอนงบประมาณให้กับมูลนิธิและองค์กรร่วมปฏิบัติงาน
ส่วนงบประมาณเกี่ยวกับการดำเนินงานร่วมกับสสส.นั้นไม่ได้เป็นรายได้เพื่อเอามาแบ่งปันกันแต่จะใช้ดำเนินเพื่อสาธารณประโยชน์ตามความตกลงกับสสส. ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นต้องมีการเก็บใบเสร็จหลักฐานต่างๆเอาไว้ทั้งหมด หากมีเงินเหลือจากการใช้จ่ายเหล่านี้ต้องส่งคืนสสส.ตอนหมดสัญญา หากมีการจัดซื้ออุปกรณ์หรือคุรุภัณฑ์ใดๆระหว่างการดำเนินกิจกรรม อุปกรณ์เหล่านั้นถือว่าเป็นทรัพย์สินของสสส.ทั้งหมด ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับสัญญาการรับจ้างทำของ
ส่วนในกรณีที่งบกิจกรรมนั้นต้องมีค่าตอบแทนบุคคลอื่น หรือต้องจ่ายสำหรับงานบริการต่างๆ จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นการทำหน้าที่แทนสรรพากรและสสส.
3) ผู้ปฏิบัติงานในมูลนิธิและองค์กรต่างๆต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามเงินเดือนที่แต่ละคนได้รับตามความเป็นจริงทุกประการ
4) ปัญหาความเดือดร้อนขณะนี้เกิดขึ้นจากกรณีที่กรมสรรพากรไล่เรียกเก็บภาษีย้อนหลังมูลนิธิและองค์กรต่างๆย้อนหลัง 5 ปี และตีความอย่างไม่ชอบธรรมว่าความตกลงดังกล่าว “เป็นสัญญาจ้างทำของ” ต้องเสียภาษีในอัตรา 3% และต้องติดตราสารอากรในอัตรา 1 บาท ต่อทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท(0.001%) พร้อมเบี้ยปรับ 5-6 เท่า ของงบประมาณดำเนินการ สร้างความตระหนกทั้งต่อมูลนิธิและองค์กรที่ร่วมปฏิบัติงานกับสสส.และโครงการย่อยต่างๆที่ร่วมปฏิบัติงาน ทั้งนี้เนื่องจากต้องใช้เงินประมาณ 800 ล้านบาทสำหรับภาษีอากรและค่าปรับ ซึ่งแม้เมื่อแยกย่อยไปตามความตกลงแต่ละโครงการแล้วก็ตาม ก็จะไม่มีองค์กรใดที่มีความสามารถพอที่จะจ่ายได้
การดำเนินการไล่เบี้ยเก็บภาษีจากองค์กรสาธารณประโยชน์ดังกล่าว และอาจมีปัญหาเรื่องวินัยจึงถือเป็นการคุกคามการทำงานขององค์กรภาคประชาสังคมอย่างร้ายแรงซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน เครือข่าย
2016-01-11 13.30.51
ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนฯ มีข้อเรียกร้องดังนี้คือ
3.1 ให้หน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน กรมสรรพากร และสรรพากรจังหวัดทุกจังหวัด ยุติการคุกคามองค์กรต่างๆ
3.2 ให้คณะกรรมการ สสส.ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ”ข้อตกลงการปฏิบัติงาน” ระหว่างภาคีและสสส.ไม่ใช่ “การรับจ้างทำของ” แต่เป็นการดำเนินงานเพื่อสาธารณประโยชน์
3.3 ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนจะร่วมมือกันฟ้องร้องเพื่อยกเลิกประกาศกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
4. ข้อเสนอการปฏิรูป สสส.
เราเห็นว่าการดำรงอยู่ของสสส. สปสช. หรือกลไกอื่นๆที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นกระบวนการปฏิรูประบบสุขภาพที่กระจายการผูกขาดและรวมศูนย์เกี่ยวกับการส่งเสริมระบบสุขภาพ ทำให้ประชาชนเข้าถึงการบริการสุขภาพและการที่ภาคประชาชนเข้ามามีบทบาทในการปฏิรูประบบสุขภาพไม่ให้รวมศูนย์อยู่ภายใต้ระบบราชการเหมือนที่เคยเป็นมา สสส.เป็นหน่วยงานของรัฐในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย อย่างไรก็ตาม สสส.ก็ควรปฏิรูป เพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างความโปร่งใสให้เพิ่มมากขึ้น
ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนฯ มีข้อเรียกร้องดังนี้คือ
4.1 เพิ่มการสนับสนุนโครงการแก่องค์กรและประชาชนเพื่อสร้างความเท่าเทียมในระบบสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มโครงการ กิจกรรม และทุ่มเทงบประมาณที่มีเป้าหมายสำหรับกลุ่มคนด้อยโอกาส ทั้งในเมืองและชนบท
4.2 เพิ่มสัดส่วนคณะกรรมการและกรรมการระดับต่างๆให้มีผู้ที่มีผลงานและประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาด้านต่างเข้ามามีบทบาทในสสส.ให้เพิ่มมากขึ้นไม่ให้จำกัดเฉพาะกลุ่มเดิม ปรับทิศทางการทำงานให้ใกล้ชิดกับองค์กรภาคประชาสังคมโดยตรงมากขึ้น โดยเฉพาะองค์กรประชาชน แทนการทำงานผ่านผู้เชี่ยวชาญซึ่งอยู่ในเครือข่ายใกล้ชิดสสส.เป็นหลักเช่นที่ผ่านมา
4.3 สนับสนุนให้ออกระเบียบใหม่ที่ป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของคณะกรรมการและผู้ได้ประโยชน์จากการรับทุนอย่างเข้มงวด
4.4 กระจายระบบการสนับสนุนทุนให้มีการตัดสินใจในระดับภูมิภาค
4.5 ประเมินผลการดำเนินงานของสสส. และการประเมินการทำงานของผู้บริหารของสสส.โดยโปร่งใสและมีส่วนร่วมโดยภาคีให้มากขึ้น
5. กรณีโครงการประชารัฐ
ตามที่สื่อมวลชนได้รายงานการพบปะระหว่างพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคตร. ประธานบอร์ดสสส. และผู้รับผิดชอบโครงการประชารัฐ โดยมีการหารือกรณีการเดินหน้านโยบายประชารัฐที่ไม่สามารถเดินหน้าได้เพราะคตร.ไม่อนุมัติโครงการเช่นเดียวกับโครงการอื่นๆของสสส. และนายกได้สั่งการให้แก้ไขโดยแยกโครงการออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.โครงการที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สสส. และไม่มีข้อกังขาให้ผ่านการพิจารณา 2.โครงการประชารัฐของรัฐบาลที่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาวะชุมชน สังคม และฐานรากให้ได้รับการผ่านพิจารณา 3.โครงการอื่นๆที่ไม่เข้าข่ายสองข้อข้างต้น ก็ให้ไปปรับแก้ไขและเสนอเข้ามาตามกระบวนการ
การดำเนินการดังกล่าวชี้ว่า การตีความว่าการดำเนินงานเกี่ยวกับสุขภาวะของชุมชน และสังคมของสสส.ที่คตร.ชี้ว่าไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เกินขอบเขตความหมายของเรื่องสุขภาพ จนนำมาสู่การตรวจสอบสสส. และแช่แข็งโครงการของสสส. ล้วนแล้วแต่เป็นความเข้าใจผิดของคตร. ทั้งนี้เนื่องจากโครงการที่สสส.ดำเนินการมาโดยตลอดล้วนแล้วแต่มีการดำเนินการไม่แตกต่างกับโครงการภายใต้นโยบาย “ประชารัฐ” ที่ขอเสนอทุนสนับสนุนจากสสส.แต่ประการใด การปลดบอร์ดสสส. และการบีบให้อดีตผู้จัดการสสส.ต้องลาออกก่อนหน้านี้ล้วนแล้วแต่เกิดจากความเข้าใจผิดของหน่วยงานที่ตรวจสอบทั้งสิ้น
ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนฯ จะติดตามการดำเนินการโครงการประชารัฐในส่วนที่ขอรับทุนสนับสนุนจากสสส. ว่า
5.1 จะมีการใช้งบประมาณในโครงการประชารัฐมากจนเกิดผลกระทบต่อการดำเนินการปกติของสสส. ซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนด้อยโอกาสหรือไม่อย่างไร
5.2 ตรวจสอบการดำเนินการในโครงการ “ประชารัฐ” ที่มีคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องมาจากกลุ่มธุรกิจด้าน การเกษตร/อาหาร และธุรกิจแอลกอฮอล์ ร่วมด้วยว่า ได้ดำเนินไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ สสส. หรือเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มทุน
5.3 ติดตามผลการประชุมของบอร์ด สสส.ในวันที่ 15 มกราคม 2588 เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้จัดการสสส.คนใหม่ การดำเนินการสรรหาบอร์ดผู้ทรงคุณวุฒิ และความคืบหน้าการแช่แข็งโครงการ ว่าจะมีการดำเนินการไปในทิศทางใด
ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนเห็นว่าวิกฤตที่เกิดขึ้นกับ สสส.ได้ทำให้ทั้งภาคีต่างๆ รวมทั้งประชาชน และสื่อมวลชนได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการนำเสนอความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนากลไกการปฏิรูประบบสุขภาพเพื่อให้เป็นผลประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง เราจะยังคงทำหน้าที่อย่างต่อเนื่องเพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ปัญหา และการปฏิรูปสสส. ทั้งนี้ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชนจะเคลื่อนไหวเพื่อให้ข้อเรียกร้องตามที่ได้นำเสนอไปแล้วให้ปรากฏเป็นจริง
เราเชื่อมั่นในพลังของประชาชนมากกว่าการฝากอนาคต “การปฏิรูป” ในมือของผู้มีอำนาจ
ขบวนการส่งเสริมสุขภาพภาคประชาชน (Thai Health Movement)
11 มกราคม 2559

นายกฯลุงตู่ ถาม ลุงกำนัน "สุเทพ" ไม่เอาระบบใช่มั้ย จะเอาแบบอุ้ม หรือ



นายกฯลุงตู่ ถาม ลุงกำนัน "สุเทพ" ไม่เอาระบบใช่มั้ย จะเอาแบบอุ้ม หรือ แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาอุ้มราคายาง กก.60บาท ต้องใช้เท่าไหร่ จะเอาเงินที่ไหนมาอุ้ม ไปหามาซิ ผมไม่ได้ใจร้าย มาเพื่อช่วย คนเหล่านี้ ผมไม่ได้มาเอาเป็นเอาตายกับคนเหล่านี้ เพราะฉะนั้นก็อย่ามาเอาเป็นเอาตายกับผม ลั่นไม่ต้องคุย"สุเทพ"เรื่องยาง เดี๋ยวมีปัญหาคุยกับคนนี้ไม่คุยคนนั้น เชื่อ คุณสุเทพ เข้าใจ แต่ยันไม่คุย ปชป.เพราะแก้คนละวิธีการ ยันจะไม่แก้ปัญหายางแบบ ปชป.....ถามต้องใช้เท่าไหร่ ซื้อมาแล้ว เน่าเต็มคลังหรือ ถ้าแบบนั้นก็ได้ จะซื้อกก.ละ120 แล้ว มันถูกมั้ย ทำให้คนปลูกยางกันมากขึ้น จนเป็นปัญหา เตือน ม็อบยางพารา อย่าสร้างความเดิอดร้อน ยันไม่คิดใช้อำนาจบาทใหญ่ แต่ กม.ต้องเป็นกม. ยันไม่กดดัน เพราะ กดดันตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาแล้ว
นายกฯ เผย สั่งรื้อ"ระบบหัวคิว ยางมะตอย" ระบุเป็นระบบที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เป็นการค้าเสรี เพราะประเทศเรามีเสรีเรื่องการค้า การลงทุน ลั่น รัฐบาล/ คสช. จะรับซื้อเอง ตามกระบวนการ ตอนนี้ให้เขาหารือกันอยู่ว่าจะทำได้แค่ไหน ยังไม่รู้ กก.ละกี่บาท เผยถูกโจมตีเรื่องแก้ปัญหาราคายางไม่ได้ สักที ก็เพราะรัฐบาลไหนมา ก็ปล่อยโครงสร้างเป็นแบบเดิม ก็ไม่แก้ที่ระบบ ขอให้สบายใจ นี่กำลังทำ ให้มีกระบวนการซื้อยางราคาสูงขึ้น อาจจะไม่พอใจ หรือพอใจ ยังไม่รู้ โดยรัฐบาล คสช. จะรับซิ้อเอง แล้วเอาเข้าสู่กระบวนการผลิต ที่เราส่งเสริมโรงงาน SME ไว้ อย่าบอกว่า ไม่คุ้ม เพราะยังไงก็ต้องทำ ดูว่าประชาขนพอใจ มั้ย ตอนนี้ ที่ภาคใต้ ก็สร้างถนน ที่ใช้ยางให้มากที่สุด 37 เส้น แล้วจะเพิ่มขึ้นอีก เราต้องแก้เป็นระบบ อย่ามาพูดว่า รัฐบาลนี้ ทำเรื่องเศรษฐกิจไม่ดี มันตกมาเพราะอะไร

บิ๊กป้อม ควง บิ๊กโด่ง รับแขก...



บิ๊กป้อม ควง บิ๊กโด่ง รับแขก...
ทูต อินเดีย เข้าเยี่ยมอำลา ครบวาระ ชื่นชมสัมพันธ์2ชาติ โดยเฉพาะความร่วมมือป้องกันประเทศ วิจัยทางทหาร ฝึกร่วม และความมั่นคงทางทะเล "พลเอกประวิตร" ขอบคุณ อินเดีย เข้าใจไทย
วันนี้ นาย Harsh Vardhan Shringla (หรรษ วรรธน ศฤงคลา) ออท.สาธารณรัฐอินเดียประจำประเทศไทย และคณะ เข้าเยี่ยมอำลา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นายกฯและ รมว.กลาโหม ที่ กลาโหม ในโอกาสครบวาระการปฏิบัติหน้าที่ โดยมี พลเอกอุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม ร่วมต้อนรับด้วย
ออท.อินเดีย ขอบคุณ พลเอกประวิตร ที่ให้การสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่มาตลอดจนครบวาระ ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศมีพัฒนาการที่ก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศของ กห. ทั้งสองประเทศ ที่มีทั้งการฝึกร่วม การวิจัยทางทหารร่วม การเพิ่มพูนความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเล และการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
พลเอกประวิตร กล่าวชื่นชมและขอบคุณการทำหน้าที่ของ ออท.อินเดีย ที่ผ่านมา ด้วยความเข้าใจถึงสถานการณ์และพัฒนาการของประเทศไทย โดยหวังว่าความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีของทั้งสองประเทศที่ผ่านมา จะพัฒนาและขยายสู่ความร่วมมือ ทั้งทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน ที่จะเกิดขึ้นร่วมกันอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ม็อบยางประกาศ! ยุติการชุมนุมรอฟังผลประชุม ครม.ช่วยเหลือตามข้อเสนอหรือไม่พรุ่งนี้

ม็อบยางประกาศ! ยุติการชุมนุมรอฟังผลประชุม ครม.ช่วยเหลือตามข้อเสนอหรือไม่พรุ่งนี้
       
       นครศรีธรรมราช - ชาวสวนยางรายย่อย จ.นครศรีธรรมราช ประกาศ! ยุติการชุมนุม พร้อมรอฟังผลการประชุม ครม.ให้ความช่วยเหลือตามข้อเสนอที่ได้ยื่นไปแล้วหรือไม่ในวันพรุ่งนี้
      
       วันนี้ (11 ม.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนจากสมาคมคนกรีดยางและชาวสวนยางรายย่อย และภาคีเครือข่ายชาวสวนยาง ปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย และคณะ ได้เปิดแถลงอย่างเป็นทางการภายหลังจากการชุมนุมที่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และมีการเจรจาระหว่างผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับตัวแทนจากผู้ชุมนุมไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
      
       ขณะที่ นายกมล ขาวทอง และนายนิวัฒน์ ทองวิถี ตัวแทนระบุว่า จากวิกฤตการณ์ยางพาราตกต่ำที่เกิดขึ้นมายาวนาน ชาวสวนยางรายย่อยได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ข้อเสนอแนวทางแก้ไขขอให้ปรับขึ้นราคาน้ำยางสดให้เป็นธรรมแก่เกษตรกร โดยคิดจากราคายางแผ่นรมควันของตลาดกลางยางพารา ลบด้วยค่าจัดการไม่เกิน 6 บาท และให้รัฐปรับขึ้นราคายางให้สอดคล้องต่อต้นทุนการผลิต/ให้เร่งรัดจ่ายเงินช่วยเหลือในโครงการสร้างความเข้มแข็งแก่ชาวสวนยาง ด้วยการปรับลดขั้นตอนที่ทำให้การจ่ายเงินล่าช้า
      
       ให้แก้กฎระเบียบของภาครัฐที่ปิดกั้นสิทธิการเข้าถึงโครงการช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐ/ให้นายกรัฐมนตรี พิจารณาการทำหน้าที่ของ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เพราะไม่สามารถแก้ปัญหาราคายางได้ หรือให้ รมว.เกษตร พิจารณาตนเอ /ให้ใช้มติ ครม.นำยางในสต๊อกเก่ามาใช้ในประเทศ โดยให้ อปท.นำไปใช้ทำถนนลาดยาง/ขอให้กำหนดการแก้ปัญหาระยะยาวของชาวสวนยางรายย่อย สนับสนุนเครื่องจักรแปรรูปยางแผ่นดิบ เพื่อให้นำไปเก็บสต๊อกเพิ่มอำนาจต่อรองราคา ช่วยลดภาระสต๊อกยางของรัฐ โดยรัฐจัดหาแหล่งเงินทุนเป็นการขายฝาก หรือรับจำนำ
      
       ให้ กยท.เปิดเผยสัญญาขายยางกับบริษัทเครือชิโนแคม และให้ซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรเท่านั้น/ให้ใช้ พ.ร.บ.ควบคุมยาง ปี 2542 ออกมาบังคับใช้อย่างเคร่งครัด/ขอให้พิจารณาคณะทำงานด้านนโยบาย และมาตรการแก้ปัญหาของเจ้าหน้าที่ และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้แก้ปัญหาได้ตรงประเด็นจริงๆ และขอให้นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคให้สมดุลต่อต้นทุนที่เป็นจริง เพื่อลดค่าครองชีพที่สูงเกินจริง
      
       ส่วนการชุมนุมของสมาคมคนกรีดยางรายย่อย และเครือข่ายชาวสวนยาง ที่สนามหน้าที่ว่าการ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ได้ยุติลงไปแล้ว หลังจากตำรวจไม่อนุญาตให้ใช้เสียงในที่สาธารณะ จากนี้กลุ่มภาคีเครือข่ายชาวสวนยางรายย่อย จะรอฟังการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ ว่าจะนำปัญหาราคายางตกต่ำเข้าประชุมเป็นวาระเร่งด่วนหรือไม่ และจะมีมาตรการช่วยเหลือออกมาอย่างไร
      
       ด้านแกนนำคนสำคัญ เช่น นายทศพล ขวัญรอด นายมนัส บุญพัฒน์ กำลังเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร นำข้อเสนอ 10 ข้อ ของชาวสวนยางเสนอต่อ รมว.เกษตรและสหกรณ์ โดยเตรียมที่จะเปิดเผยสัญญาขายยางของรัฐบาลที่มีความผิดปกติ และยังคงอยู่ในมือของกลุ่มทุนยางที่ครอบงำตลาดได้เหมือนเดิม
ม็อบยางประกาศ! ยุติการชุมนุมรอฟังผลประชุม ครม.ช่วยเหลือตามข้อเสนอหรือไม่พรุ่งนี้

อดีต ส.ส.ปชป.ใต้ รวมตัวยื่นจดหมายต่อ “ประยุทธ์” จี้แก้ยางตก ฉะล้มเหลว เปิดช่องโกง-ใช้อำนาจไร้เมตตา

11มกราคม2559 ผู้จัดการ
อดีต ส.ส.ปชป.ใต้ รวมตัวยื่นจดหมายต่อ “ประยุทธ์” จี้แก้ยางตก ฉะล้มเหลว เปิดช่องโกง-ใช้อำนาจไร้เมตตา
        “ถาวร” นำทีมอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ภาคใต้ ส่งจดหมายเปิดผนึกรอบสองถึง “บิ๊กตู่” จี้แก้ยางราคาตก ฉะรัฐบาลล้มเหลว เปิดช่องทุจริต ใช้อำนาจไร้เมตตาต่อชาวบ้าน มองนักการเมืองเป็นศัตรู แนะ ปลด รมว.เกษตรฯ เหตุไร้ความรู้ ปูดเตรียมตั้ง “ฉัตรเฉลิม” เพื่อนร่วมรุ่น “ฉัตรชัย” เป็นผู้ว่าการยางฯ เรียกร้องนำมืออาชีพเข้ามาทำงาน เชื่อเกษตรกรไม่เดินขบวนเพื่อตายประชดป่าช้า วอนรัฐลดท่าทีแข็งกร้าว ยัน คนจนดิ้นสุดฤทธิ์เอาตัวรอด นายพลไม่เข้าใจ
      
       นายถาวร เสนเนียม อดีต ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยอดีต ส.ส.ภาคใต้ พรรคประชาธิปัตย์ แถลงก่อนเดินทางไปยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งนับเป็นครั้งที่สอง ที่มีการเสนอการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ โดยในครั้งแรกเคยยื่นไปแล้วเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558
      
       นายถาวร กล่าวว่า แม้ดูเหมือนว่ารัฐบาลเอาใจใส่แก้ปัญหาราคายาง แต่ความเป็นรัฐบาลจากรัฐประหารก็ใช้ความแข็งกร้าวไปสยบประชาชน ซึ่งตนไม่ได้เป็นศัตรูต่อรัฐบาลแค่ต้องการให้รับรู้ความเดือดร้อนของประชาชน แต่เมื่อเสนอความเห็นกลับถูกเรียกไปปรับทัศนคติและถูกนายกรัฐมนตรีหรือคนในรัฐบาลออกมาถากถางมองเป็นศัตรูทำ
      
       “เรื่องเฉพาะหน้าที่ต้องแก้ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ชาวสวนยางเดือดร้อนที่สุด รัฐบาลมาผิดทางจึงจำเป็นต้องเสนอแนวทางแก้ปัญหาเพราะขณะนี้บางรายทนเดือดร้อนไม่ไหวจนฆ่าตัวตายแต่รัฐบาลมองเรื่องนี้เป็นปัญหาด้านความมั่นคง ซึ่งถือว่าผิดมาก เพราะไม่ใช่ท่าทีผู้ปกครองที่มองผู้ใต้ปกครองอย่างมีเมตตา”
      
       นายถาวรกล่าวว่า มีการปลูกยางพาราในประเทศไทย 22 ล้านไร่ แต่รัฐบาลใช้ 16 มาตรการแก้ไข ซึ่งรวมถึงการแทรกแซงราคา คือ โครงการมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคายาง แต่คนได้ประโยชน์กลายเป็นพ่อค้าไม่ใช่เกษตรกร อีกทั้งยังมีการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นด้วย และกลไกการทำงานก็ไม่มีประสิทธิภาพ ทุจริตทุกขั้นตอน ตั้งแต่จัดซื้อ จัดเก็บยาง และจำหน่ายยาง ซึ่งมีการตั้งกรรมการสอบแต่ยังไม่มีผลสอบออกมา
      
       นอกจากนี้ รัฐบาลขายล็อตใหญ่ให้ไชน่าไห่หนาน รับยางไปเพียง 1.2 หมื่นตันจากทั้งหมดสี่แสนตัน กระทั่งในที่สุดมีการยกเลิกสัญญาเป็นคดีความฟ้องร้องกันอยู่ จึงอยากให้มีการตรวจสอบสาเหตุด้วย
      
       นายถาวรกล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมารัฐบาลพูดกลับไปกลับมาทำให้ไม่น่าเชื่อถือ มาตรการต่างๆ มีความล่าช้าเช่นการจ่ายเงิน 1,500 บาทต่อไร่ และไม่เข้าใจกลไกธุรกิจยางพารา จึงขอให้ตั้งบอร์ดและสรรหาผู้ว่าฯโดยเร็วที่สุด เพราะขณะนี้ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม ตัวอย่างเช่นกรณีนางจินตนา ชัยยวรรณการ ผู้ช่วย รมว.เกษตรและสหกรณ์ ไปรับฟังปัญหาในพื้นที่ แต่ทนฟังไม่ได้เดินออกจากห้องประชุมกลางคัน ตนเห็นว่าต้องปลดออกจากตำแหน่ง
      
       “รัฐบาลต้องยอมรับความล้มเหลวในการแก้ปัญหาราคายางธรรมชาติตกต่ำเพราะไม่สามารถให้หน่วยราชการนำยางไปใช้เพื่อลดปริมาณยางออกนอกระบบได้ตามนโยบายที่ออกมา อีกทั้งมติ ครม.ไม่เป็นธรรมกับเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ที่เป็นเช่นนี้เพราะตั้งคนที่ไม่มีความรู้มารับผิดชอบ จึงเสนอให้ปลด พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ ออกจากตำแหน่ง รมว.เกษตรและสหกรณ์ และสรรหาผู้มีความรู้ความสามารถมาบริหารในสภาวะที่ไม่ปกติขณะนี้”
      
       นายถาวรยังเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเร่งรัดจัดตั้งเมืองยางและระยะยาวให้กำหนดโซนนิ่งเพื่อไม่ให้ล้นตลาด รวมทั้งขอให้ใช้บริษัทร่วมทุนยางพาราระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือในการพยุงราคายาง เพราะในขณะนี้ยังไม่เห็นว่ารัฐบาลดำเนินการในเรื่องนี้
      
       “อย่าเอาแต่โทษรัฐบาลที่แล้วว่าปล่อยให้มีการปลูกยางพารามาก เพราะรัฐบาลมีหน้าที่แก้ไขและให้เข้าใจด้วยว่าที่จะให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปลูกพืชอื่นทดแทนนั้น ความจริงแล้วคนจนเขาดิ้นรนทุกทางเพื่อเอาตัวรอด ไม่เหมือนนายพลกับพ่อค้า จึงขอให้พูดด้วยความเอาใจใส่และเอื้ออาทร ผมเชื่อว่าเขาก็จะไม่ออกมาเดินขบวนเพื่อตายประชดป่าช้าและผมไม่สนับสนุนให้มีการจัดม็อบเพราะมีวุฒิภาวะมากพอที่จำไม่เพิ่มปัญหาอีก”
      
       นายถาวรกล่าวว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องคิดคือต้นทุนเกษตรกรอยู่ที่ 64 บาท รัฐบาลจะทำอย่างไรให้เกษตรกรอยู่ได้ สร้างระบบประกันความเสี่ยงหรือประกันภัยผลผลิตเกษตรกรรายย่อยและให้หลีกเลี่ยงการประกันราคาหรือจำนำเนื่องจากบั่นทอนกลไกตลาดและเสี่ยงต่อการคอร์รัปชั่นด้วย ให้ใช้ พ.ร.บ.ควบคุมการยาง เป็นเครื่องมือไม่ให้พ่อค้าเอาเปรียบเกษตรกร ถ้ารัฐบาลไม่เข้าใจปัญหาเกษตรกรก็ถูกเอาเปรียบแต่ถ้าฉลาดรัฐบาลต้องชี้นำการซื้อให้พ่อค้าซื้อตามแต่รัฐบาลไม่เข้าใจปัญหา อีกทั้งยังไม่มีบอร์ดการยางแห่งประเทศไทย เนื่องจากมีความไม่ลงตัวในการหาบุคคล ซึ่งอาจมีคนมาขอตำแหน่งมาก ถ้าจริงใจตั้งคนมีความสามารถก็ทำได้เร็ว
      
       “ผมได้ข่าวว่าจะมีการตั้ง พล.อ.ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข เพื่อนร่วมรุ่นกับ พล.อ.ฉัตรชัยมาเป็นผู้ว่าการยางฯ แต่ถ้าไม่ใช่ก็ขอโทษ พล.อ.ฉัตรเฉลิมด้วย ผมคิดว่าการเป็นนายร้อยตอนเรียนไม่เน้นอุตสาหกรรม การเกษตร การค้าระหว่างประเทศ ทำให้ต้องมาศึกษางานใหม่ เวทีนี้ไม่เปิดโอกาสให้ใครทดลองงานเป็นเรื่องจริงเพราะประชาชนเดือดร้อนกว่า 30 ล้านคน”

ศาลปกครองยกคำร้อง"ทักษิณ"ขอคืนพาสปอร์ต


11 ม.ค.59 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งยกคำขอของ นายทักษิณ ชินวัตร หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ขอให้ศาลสั่งชะลอการมีผลบังคับใช้ของคำสั่งกระทรวงการต่างประเทศ ที่ยกเลิกหนังสือเดินทางเลขที่ U957411 และ Z530117 ของนายทักษิณไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ในคดีที่นายทักษิณ ยื่นฟ้องอธิบดีกรมการกงสุล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 - 2 เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งกระทรวงการต่างประเทศ ที่ยกเลิกหนังสือเดินทางทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว
โดยเหตุที่ศาลยกคำขอดังกล่าว ระบุว่า ศาลได้พิจารณาหลักการกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ก่อนมีคำพิพากษาประกอบการให้ข้อเท็จจริงในชั้นการไต่สวนคู่กรณี เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.58 แล้วเห็นว่าในชั้นนี้ยังไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าการมีคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทาง 2 ฉบับ ของผู้ถูกฟ้องคดีน่าจะไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด และเหตุผลที่ผู้ถูกฟ้องนำมาใช้ในการพิจารณายกเลิกหนังสือเดินทางก็เป็นไปตามรายงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นว่าถ้อยคำสัมภาษณ์ของนายทักษิณ มีเนื้อหาบางส่วนอาจกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัย ชื่อเสียง เกียรติภูมิของประเทศ
รวมทั้งอยู่ในระหว่างการสืบสวนสอบสวนเพื่อดำเนินคดีอาญา มาตรา 112 มาตรา 326 มาตรา 328 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550 มาตรา 14 (3) และ (4) ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หากศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองของผู้ถูกฟ้องคดีอาจเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของกระทรวงการต่างประเทศ ที่เป็นหน่วยงานต้นสังกัดของผู้ถูกฟ้องคดี หรือแก่บริการสาธารณะได้ จึงยังไม่มีเหตุผลเพียงพอที่ศาลระงับคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทางสองฉบับดังกล่าวไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในคำสั่งดังกล่าวยังได้ระบุถึงการให้ถ้อยคำของคู่กรณีในชั้นไต่สวน เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.ที่ผ่านมา โดย นายวัฒนา เตียงกูล ทนายความผู้รับมอบอำนาจจากนายทักษิณ ให้เหตุผลถึงการขอให้ศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทาง 2 ฉบับดังกล่าวว่า นอกจากจะเห็นว่า การออกคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทางไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่มีอำนาจ ไม่เป็นธรรม เป็นการใช้ดุลยพินิจไม่ชอบ เลือกปฏิบัติแล้ว หากคำสั่งดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับต่อไปจะทำให้นายทักษิณ ไม่สามารถใช้หนังสือเดินทางดังกล่าวเดินทางไปยังประเทศใดๆ หรือเดินทางกลับประเทศได้ รวมทั้งไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินในต่างประเทศได้ หากรอจนกว่าศาลมีคำพิพากษาจะทำให้เกิดความเสียหายจนไม่อาจเยียวยาแก้ไขให้นายทักษิณ กลับสู่สถานะเดิมได้ หากศาลมีคำสั่งระงับคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทางฯ ก็มีผลเฉพาะตัวนายทักษิณเท่านั้น ทำให้มีสิทธิใช้หนังสือเดินทางดังกล่าวต่อไปเพียงเท่าระยะเวลาที่ระบุในหนังสือเดินทางเท่านั้น ไม่ได้เป็นอุปสรรคหรือกระทบต่อการบริหารงานของกระทรวงการต่างประเทศแต่อย่างใด
ขณะที่ฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดี คือ อธิบดีกรมการกงสุล และปลัดกระทรวงต่างประเทศ ให้ถ้อยคำว่า ตามกระบวนการเมื่อมีการยกเลิกหนังสือเดินทางก็จะแจ้งไปยังสถานทูตไทยในต่างประเทศทั่วโลก มีผลให้ผู้ถือหนังสือเดินทางดังกล่าวไม่สามารถใช้หนังสือเดินทางเพื่อประโยชน์ในการเดินทางได้อีก และเมื่อมีการยกเลิกหนังสือเดินทางฉบับใดแล้วจะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลว่าด้วยความปลอดภัยในการออกหนังสือเดินทาง อีกทั้งระบบอิเล็คทรอนิกส์ที่ใช้ในการออกหนังสือเดินทาง สำหรับหนังสือเดินทางที่เคยถูกยกเลิกไม่ว่าด้วยเหตุสูญหาย หรือชำรุด จะไม่สามารถนำหนังสือเดินทางที่ถูกยกเลิกกลับมาใช้ใหม่ได้อีก นอกจากใช้วิธีการออกหนังสือเดินทางฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเท่านั้น เพื่อความเป็นมาตรฐาน ความมั่นคงปลอดภัย ของข้อมูลส่วนบุคคลและเป็นไปตามหลักสากล หากศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวสั่งระงับคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทาง 2 ฉบับดังกล่าว ไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา เกรงว่าการที่นายทักษิณ นำหนังสือเดินทาง 2 ฉบับ ที่ถูกยกเลิกไปแล้วกลับมาใช้ใหม่ จะไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติสากล
ด้าน นายวัฒนา เตียงกูล ทนายความผู้รับมอบอำนาจ กล่าวว่า เมื่อศาลมีคำสั่งยกคำขอดังกล่าว ก็คงต้องรอการพิจารณาในส่วนเนื้อคดีที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งยกเลิกหนังสือเดินทางทั้ง 2 ฉบับ เพราะไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ จากนี้ก็ต้องรอศาลส่งคำให้การของฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีมา เพื่อที่ฝ่ายของตนจะได้ยื่นคำคัดค้านคำให้การของผู้ถูกฟ้องคดีกลับไปให้ศาลภายใน 30 วัน

นายกฯ บิ๊กตู่ ปัดคุย"สุเทพ-ปชป."แก้ยาง ถาม"สุเทพ"จะเอาเงินที่ไหนมาอุ้มราคายาง

นายกฯ บิ๊กตู่ ปัดคุย"สุเทพ-ปชป."แก้ยาง ถาม"สุเทพ"จะเอาเงินที่ไหนมาอุ้มราคายาง กก.60บาท ต้องใช้เท่าไหร่ จะเอาเงินที่ไหนมาอุ้ม ไปหามาซิ ผมไม่ได้ใจร้าย มาเพื่อช่วย คนเหล่านี้ ผมไม่ได้มาเอาเป็นเอาตายกับคนเหล่านี้ เพราะฉะนั้นก็อย่ามาเอาเป็นเอาตายกับผม ลั่นไม่ต้องคุย"สุเทพ"เรื่องยาง เดี๋ยวมีปัญหาคุยกับคนนี้ไม่คุยคนนั้น เชื่อเขาเข้าใจ แต่ยันไม่คุย ปชป.เพราะแก้คนละวิธีการ ยันจะไม่แก้ปัญหายางแบบ ปชป.....ถามต้องใช้เท่าไหร่ ซื้อมาแล้ว เน่าเต็มคลังหรือ ถ้าแบบนั้นก็ได้ จะซื้อกก.ละ120 แล้ว มันถูกมั้ย ทำให้คนปลูกยางกันมากขึ้น จนเป็นปัญหา เตือน ม็อบยางพารา อย่าสร้างความเดิอดร้อน ยันไม่คิดใช้อำนาจบาทใหญ่ แต่ กม.ต้องเป็นกม. ยันไม่กดดัน เพราะ กดดันตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาแล้ว
วอนอย่าเหมารวม เศรษฐกืจตกเพราะรัฐบาล เผย รัฐบาล -คสช.เตรียมรับซื้อยางราคาสูงขึ้น ดันงานวิจัย เพื่อขยายสัดส่วนใช้ยางพารา ทำถนนเพิ่ม หลังสร้างที่ใต้ 37 เส้น
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ถึงการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ว่า รัฐบาลกำลังแก้เปัญหาทั้งระบบในทุกเรื่อง ทั้งเรื่องยาง ข้าว และอื่นๆ แต่รัฐบาลกลับถูกโจมตีอยู่ตลอดเวลา ว่าแก้ปัญหาไม่ได้ ตนอยากถามใครที่จะมาเป็นรัฐบาลว่า หากปล่อยให้โครงสร้างเป็นแบบเดิม จะแก้ปัญหาได้หรือไม่
เรื่องยางพาราอยากให้ทุกคนสบายใจขึ้น เนื่องจากรัฐบาลได้เริ่มจัดกระบวนการรับซื้อยางพาราให้สูงขึ้น โดยรัฐบาล และ คสช.จะเป็นผู้รับซื้อเอง เพื่อเข้าสู่กระบวนการผลิตโดยตรง และนำมาใช้ภายในประเทศ โดยขณะนี้ยังไม่กำหนดว่าจะรับซื้อในราคาเท่าไร แต่คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ ส่วนเกษตรกรจะพอใจมาตรการดังกล่าวหรือไม่นั้น ตนไม่รู้ และประชาชนตัดสินเองว่าคุ้มค่าหรือไม่ เพราะการทำถนนด้วยยางธรรมชาติจะมีความแข็งแรงคงทนมากขึ้น ไม่ต้องซ่อมแซมบ่อย ซึ่งขณะนี้ได้ทำถนนจากยางธรรมชาติในพื้นที่ภาคใต้ไปแล้ว 37 เส้นทาง
ส่วนที่มีข่าวว่ามีการหักหัวคิวยางมะตอยนั้น ตนได้สั่งให้ดำเนินการรื้อทั้งหมดแล้ว ซึ่งประเทศเราเป็นระบบเสรีการค้าการลงทุน มานาน จึงต้องดูกฎหมายและหลักการด้วย
ยืนยันว่าเรื่องยางกำลังแก้วันนี้ พรุ่งนี้ให้ได้ หรือ มันไม่ใช่เรื่องง่ายต้องเร่งรัดให้ได้ ซึ่งขณะนี้การแก้ไขปัญหาราคายางรัฐบาลกำลังทำอยู่ในระยะที่ 1 เพื่อยกระดับให้สูงขึ้น และต้องแก้ปัญหาในระยะเวลาที่เหลือ 3 เดือนก่อนปิดฤดูการผลิตให้ได้
นอกจากนี้ กรณีที่มีเกษตรกรบางส่วนเริ่มโค่นเอาไม้ยางไปขายนั้น หากจำเป็นก็โค่นไป หากผิดกฎหมายก็ตัดให้หมด
สำหรับคนที่จะออกมาเคลื่อนไหวก็ช่างเขา แต่ตนจะทำในส่วนของตน ขออย่าสร้างความเดือดร้อน เพราะตนไม่อยากใช้อำนาจบาตรใหญ่ แต่ขอให้รู้ว่าวันนี้อะไรคือกฎหมาย ยันไม่ได้รู้สึกกดดัน เพราะกดดันตั้งแต่เริ่มเข้ามาวันแรกแล้ว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถึงกรณีที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย เสนอให้รัฐบาลรับซื้อยางพารา ในราคากิโลกรัมละ 60 บาท ว่า ช่างเขา ขอถามว่าจะเอาเงินที่ไหนมาอุ้ม เรากำลังสร้างระบบ เขาไม่เอาระบบหรือ จะให้อุ้มทุกอย่างเลยหรือ ไม่ใช่ตนใจร้าย และ ตนจะไม่มีการพูดคุยหารือกับ นายสุเทพ เพราะมีหน่วยงานที่กำกับดูแลอยู่แล้ว ตนไม่หารือกับใครทั้งนั้น หากพูดคุยกันก็จะมีปัญหาอีก ว่าคุยกับคนนั่นไม่คุยกับคนนี้
วันนี้ผลิตยางพาราได้ปีละ 4.1 ล้านตัน ใช้จริงได้แค่ 1.4 ล้านต้น ส่วนอีก 3 ล้านตันที่เหลือขายหมด แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาชดเชย หากคิดแบบนั้นตนก็สามารถทำได้ เอาเงินรัฐบาลรับซื้อแล้วปล่อยให้เน่าใน คลัง โน่น เพราะไม่รู้จะขายใคร
ส่วนจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับพรรคประชาธิปัตย ที่เคยทำราคายางสูงกก.กว่า100 บาท หรือไม่นั้น นายกฯ กล่าวว่า ไม่คุย เขาทำสำเร็จยังไง แล้วมันถูกมั้ย ผมแก้ เป็นคนละวิธีการกัน ทำให้การปลูกยางเพิ่มขึ้น มีผลผลิตสูงขึ้น เอาเงินที่ไหนไปชดเชย

(ข้อมูล)เปิดจม.ฉบับเต็ม "ธานินทร์ กรัยวิเชียร" ยื่น"ประยุทธ์"ชงแนวทางปฏิรูปประเทศ



เปิดจม.ฉบับเต็ม "ธานินทร์ กรัยวิเชียร" ยื่น"ประยุทธ์"ชงแนวทางปฏิรูปประเทศ

ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

ตามที่รัฐบาลได้เคยเชื้อเชิญให้ประชาชนชาวไทยร่วมแสดงความคิดเห็นในการปฏิรูปประเทศและปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องผมในฐานะประชาชนชาวไทยคนหนึ่งได้เคยแสดงความคิดเห็นในเรื่องเหล่านี้มาแล้วหลายครั้งแต่เป็นการส่งจดหมายโดยตรงถึงนายกรัฐมนตรีและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศโดยเฉพาะซึ่งผมคิดว่าการแสดงความคิดเห็นดังกล่าวแม้จะทำในฐานะประชาชนคนหนึ่งก็ควรจะได้เปิดเผยให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบอย่างกว้างขวางจึงขอเปลี่ยนรูปแบบการแสดงความคิดเห็นมาเป็นจดหมายเปิดผนึก เพื่อที่จะมีการพิจารณาในวงกว้างและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้มากขึ้น เรื่องที่ผมเสนอให้มีการพิจารณาร่วมกันในจดหมายเปิดผนึกฉบับนี้ มีดังต่อไปนี้

-วิกฤตการณ์ในด้านการบินพลเรือนของประเทศไทย

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่2มีการเริ่มกิจการด้านการบินพลเรือนในประเทศไทยโดยการจัดตั้งบริษัทเดินอากาศไทยจำกัดแต่ในระยะแรกเรายังขาดความพร้อมและความรู้ต่างๆในด้านการบินพลเรือน จึงได้ร่วมทุนกับสายการบินสแกนดิเนเวียน (Scandinavian Airlines System: SAS) อันเป็นสายการบินของเดนมาร์ก สวีเดน และนอร์เวย์ ซึ่งได้ช่วยเหลือเราตั้งแต่ก่อร่างสร้างตัว ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาเครื่องบิน การอบรมนักบินและบุคลากรด้านการบิน การจัดการสนามบินและระบบการบินทั้งหมด โดย SAS โอบอุ้มเราอย่างมิตรแท้เป็นเวลา 17 ปี จนบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้เริ่มดำเนินการเองใน พ.ศ.2520 และพัฒนากิจการให้เจริญรุ่งเรืองมาเป็นบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งในปัจจุบันกลับกลายเป็นองค์กรที่ประสบปัญหาอย่างหนักจากการบริหารงานที่บกพร่อง และปัญหาการขาดทุนอย่างมหาศาล ทั้งยังถูกลดระดับความน่าเชื่อถือด้านมาตรฐานความปลอดภัยโดยองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) องค์กรการบินพลเรือนญี่ปุ่น (Japan Civil Aviation Bureau : JCAB) และสำนักงานบริหารองค์กรการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration : FAA) หรืออาจกล่าวได้ว่าเราสอบไล่ตกในด้านมาตรฐานการบิน จนเรียกได้ว่าเป็นวิกฤตการณ์การบินไทย ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าการบริหารงานที่ขาดตกบกพร่องจนทำให้ประเทศชาติเสียหายและขาดความน่าเชื่อถือจากต่างประเทศนี้เกิดจากสาเหตุใดและสมควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาถึงความผิดพลาดดังกล่าว

จะเห็นได้ว่าวิกฤตการณ์ด้านการบินพลเรือนที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการที่มาตรฐานด้านการบินพลเรือนของประเทศไทยไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลกล่าวคือการปฏิบัติงานด้านการบินพลเรือนอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดการทำหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีประสิทธิภาพปล่อยปละละเลยและไม่ควบคุมดูแลจนทำให้เกิดวิกฤตการณ์อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นด้านการบินพลเรือนซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันก็เข้ามาแก้ไขวิกฤตการณ์นี้ได้ในระดับหนึ่งแต่ยังคงมีปัญหาอีกมากที่จะต้องรับภาระและทุ่มเทกำลังสติปัญญาความรู้ความสามารถ โดยต้องกู้วิกฤตให้มาตรฐานด้านการบินของประเทศเรากลับเข้าสู่มาตรฐานสากลก่อนในเบื้องต้น จากนั้นแล้วจะต้องพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งเพื่อให้ก้าวสู่มาตรฐานที่เป็นเลิศ โดยอย่างน้อยให้อยู่ในระดับหนึ่งในสิบของบรรดาประเทศที่มีมาตรฐานการบินชั้นนำของโลกก็จะเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจการบินของประเทศเรา เพราะนานาประเทศต่างมุ่งหวังที่จะใช้บริการบริษัทการบินของประเทศที่มีมาตรฐานด้านการบินพลเรือนที่เป็นเลิศ

-อุปสรรคบางประการแต่หนหลังที่น่าจะเป็นบทเรียนสำหรับการวางแผนในภายหน้า

ผมเห็นว่าเราควรจะนำวิกฤตการณ์ด้านการบินพลเรือนด้านอื่นๆที่เคยเกิดขึ้นมาเป็นบทเรียนในการดำเนินการงานเพื่อมิให้เกิดความผิดพลาดขึ้นซ้ำอีกโดยผมขอยกตัวอย่างให้พิจารณาใน3กรณีดังต่อไปนี้

กรณีแรกปัญหาการให้สิทธิประโยชน์อย่างเกินสมควรแก่กรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องในบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) อันกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท เป็นต้นว่า การกำหนดให้สิทธิประโยชน์ด้านบัตรโดยสารแก่กรรมการบริษัทอย่างไม่จำกัดจำนวนตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง นอกจากนี้ ในบางปียังมีสิทธิพิเศษอื่นๆ ในด้านบัตรโดยสารแก่ผู้ติดตามกรรมการบริษัท และอดีตกรรมการบริษัทที่พ้นวาระไปแล้วอีกด้วย จึงน่าคิดว่าการให้สิทธิประโยชน์อย่างมหาศาลนี้ย่อมทำให้บริษัทสูญเสียรายได้ที่พึงจะได้รับ แล้วบริษัทจะดำรงอยู่ได้อย่างไร จนเมื่อเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ บริษัทจึงได้มีการปรับลดสิทธิประโยชน์ดังกล่าว และเป็นที่น่ายินดีที่ใน พ.ศ.2557 บริษัทได้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ด้านบัตรโดยสารทั้งหมดของกรรมการบริษัท เพื่อปฏิบัติตามมติของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งผมเห็นว่าผู้บริหารหรือกรรมการก็ได้รับค่าตอบแทนในการปฏิบัติงานเป็นจำนวนที่สูงมากอยู่แล้ว จึงไม่ควรรับสิทธิประโยชน์อื่นใดเพิ่มเติมอีก ต้องสละสิ้นทุกอย่างและมุ่งมั่นทำงานให้เต็มกำลังความสามารถ ซึ่งการตัดสิทธิประโยชน์ดังกล่าวถือเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณ อันจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดทุนของบริษัทซึ่งอยู่ในภาวะวิกฤตจนแทบเรียกได้ว่าเกือบจะล้มละลายได้ ดังนั้น การกำหนดสิทธิประโยชน์แก่กรรมการบริษัทจะต้องมีการวางแผนให้รอบคอบ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินการ

กรณีที่สอง การปิดท่าอากาศยานดอนเมืองเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ.2549 เพื่อเปิดทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และใช้เป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบินฝึกบิน และจอดเครื่องบินส่วนตัวแทน แต่ต่อมาไม่ถึง 6 เดือน เมื่อท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีปัญหาไม่สามารถรองรับผู้โดยสารที่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และการขยายท่าอากาศยานไม่เป็นไปตามแผน จึงจำเป็นจะต้องเปิดใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองอีกครั้งหนึ่ง เพื่อแบ่งเบาภาระการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2550

การปิดท่าอากาศยานดอนเมืองทั้งๆ ที่ยังมีขีดความสามารถอย่างเต็มที่ในการให้บริการรองรับผู้โดยสารจากทั่วโลก และบรรดาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกันก็ต่างรุ่งเรืองมีผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจนั้น ผมเห็นว่าเป็นการขัดต่อความรู้สึกธรรมดาของคนทั่วไปเปรียบได้กับฟ้าผ่าลงมาสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดผลกระทบในหลายด้าน ได้แก่ ปัญหาความน่าเชื่อถือของประเทศในด้านธุรกิจการบิน เพราะเกิดความไม่มั่นใจในแผนการดำเนินงานของรัฐบาล รวมถึงความไม่สะดวกในการใช้บริการของผู้โดยสารที่ต้องย้ายระหว่างสองท่าอากาศยาน ปัญหาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ บรรดาธุรกิจร้านค้าต่างๆ ที่ประกอบการภายในท่าอากาศยานหรือบริเวณโดยรอบ ซึ่งเคยเฟื่องฟูจากการรองรับผู้โดยสารจากทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร ร้านจำหน่ายสินค้า หรือโรงแรมที่พักก็ไม่มีผู้มาใช้บริการและแทบจะต้องปิดกิจการไป และปัญหาค่าใช้จ่ายจำนวนมากจากการปรับปรุงเพื่อเปิดให้บริการใหม่ นอกจากนี้ การเปลี่ยนการใช้งานเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบินหรือฝึกบินย่อมเป็นการใช้ประโยชน์ที่ไม่คุ้มค่าอีกด้วย จึงเป็นที่น่าคิดว่า การปิดท่าอากาศยานดอนเมืองเพื่อเปิดให้บริการที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพียงแห่งเดียวจะมีการหาผลประโยชน์จากการผูกขาดธุรกิจต่างๆภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของบรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องเพราะโอกาสในการหาผลประโยชน์จากธุรกิจที่ท่าอากาศยานดอนเมืองนั้นมีน้อยลงจากการแข่งขันในระดับสูงซึ่งทำให้ประเทศไทยต้องสูญเสียโอกาสการพัฒนาการคมนาคมไปอย่างน่าเสียดายแม้จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งหนึ่งก็ไม่อาจชดเชยความเสียหายอย่างมหาศาลที่เกิดขึ้นแล้วนับเป็นบทเรียนราคาแพงสำหรับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโครงการใหญ่ของประเทศต่อไป

กรณีที่สามระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ(Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2553 ซึ่งผมเห็นว่าการเปิดให้บริการ Airport Rail Link มีภายหลังการเปิดใช้ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิถึงเกือบ 4 ปี ทำให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้ใช้บริการที่ต้องเดินทางไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และแต่เดิมเป็นที่เข้าใจว่าจะเป็น Airport Rail Link คือเชื่อมระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับท่าอากาศยานดอนเมือง แต่ปัจจุบันมีการเชื่อมต่อเพียงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับสถานีพญาไทเท่านั้น ซึ่งไม่เกิดประโยชน์เต็มที่แต่อย่างใด แสดงให้เห็นถึงความผิดพลาดและขาดการวางแผนอย่างรอบคอบ ทั้งๆ ที่ระบบการเดินทางควรพร้อมรองรับผู้โดยสารควบคู่ไปกับการเปิดใช้ท่าอากาศยาน และแม้จะมีความพยายามก่อสร้างส่วนต่อขยายถึงท่าอากาศยานดอนเมือง แต่ปัจจุบันก็ยังไม่แล้วเสร็จแต่อย่างใด ซึ่งถ้าหากโครงการ Airport Rail Link เพื่อรองรับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำเร็จลุล่วงไปตามแผนแล้ว ย่อมจะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้มาตรฐานการให้บริการด้านการบินของประเทศไทยก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง

-การวางแผนแม่บทการดำเนินงานในโครงการระยะยาว

การจะตัดสินใจดำเนินโครงการในด้านการคมนาคมซึ่งต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากและส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมผมเห็นว่าจะต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมและรอบคอบวิเคราะห์ผลกระทบให้รอบด้านการเจรจาต่อรองกับนานาประเทศจะต้องพิจารณาโดยละเอียดไม่ให้เสียเปรียบประเทศอื่นได้ทั้งยังจะต้องให้ความสำคัญกับฝ่ายวางแผนและพัฒนา(Research and Development) ที่จะเป็นผู้ชี้นำการดำเนินงานในภาพรวมทั้งหมด นอกจากนี้ ควรกำหนดแผนแม่บทในการดำเนินงาน (Master Plan) เพื่อวางแผนล่วงหน้าและทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แม้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เพราะแนวความคิดหนึ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาประเทศอย่างยิ่งก็คือ แนวความคิดที่ว่ารัฐบาลในแต่ละชุดจะต้องมีผลงานซึ่งเกิดจากความคิดริเริ่มของตนเอง ความคิดเช่นนี้ย่อมทำให้รัฐบาลที่เข้ามาดำรงตำแหน่งวางเป้าหมายไปที่โครงการระยะสั้น อันจะทำให้ประชาชนได้ประจักษ์ในผลงานตนในทันที และเกิดความไว้วางใจลงคะแนนเสียงให้ได้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกในสมัยหน้า การทำหน้าที่จึงเป็นไปในทางสร้างผลงานเพื่อหาเสียง มิใช่การสร้างผลงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศชาติ ยิ่งไปกว่านั้น ทัศนคติของประชาชนหรือผู้วิจารณ์การเมืองทั้งหลายเองก็มักจะมองว่า รัฐบาลใหม่ที่ทำโครงการต่อเนื่องมาจากรัฐบาลชุดก่อนหน้าเป็น "รัฐบาลไร้น้ำยา ไม่เก่งจริง" เพราะไม่มีความคิดริเริ่มของตนเอง ได้แต่ลอกของเก่าเท่านั้น ดังนี้ จึงทำให้รัฐบาลใหม่ไม่เต็มใจที่จะรับช่วงสานต่อโครงการระยะยาวที่แม้จะเป็นโครงการที่ดีและมีประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศการกล่าวเช่นนี้คงไม่เกินความจริงไปนักเพราะตัวอย่างของโครงการระยะยาวที่ต้องพับเก็บไปเนื่องจากไม่มีการสานต่อเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลชุดใหม่ก็มีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์กันอยู่เนืองๆดังนั้นจึงควรมีการกำหนดแผนแม่บทเพื่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องสิ่งใดที่ดีมีการริเริ่มไว้แล้วก็ควรดำเนินการต่อไปแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็ตาม

-การพาณิชย์นาวี

ตามแผนงานการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยพ.ศ.2558-2565ของกระทรวงคมนาคมนั้นเป็นแผนการที่ดีแล้วแต่ผมเห็นว่ามุ่งเน้นแต่การพัฒนาโครงการภายในประเทศเช่นการสร้างท่าเรือชายฝั่งทะเลตามจังหวัดต่างๆได้แก่ ชุมพร สงขลา และสตูล ซึ่งการสร้างท่าเรือดังกล่าวเป็นการสร้างท่าเรือเพื่อรอเรือฝ่ายเดียว ไม่ใช่เพื่อการพาณิชย์นาวี ผมเห็นว่าเราจะต้องสร้างเครือข่ายการเดินเรือเพื่อรองรับการพาณิชย์นาวีกับประเทศต่างๆ อันเป็นโครงการระหว่างประเทศ เพราะดังที่ผมเคยกล่าวไว้แล้วว่า การพาณิชย์นาวีถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง สมควรที่รัฐบาลจะดำเนินการสร้างเครือข่ายการเดินเรือและมีสำนักงานการเดินเรือในทุกประเทศที่มีการติดต่อค้าขายขนส่งสินค้ากับประเทศเราอันจะทำให้เกิดรายได้จากการเดินเรือและเป็นประตูเชื่อมให้เกิดการลงทุนสร้างงานและอาชีพใหม่ด้านการเรือและมีข้อที่น่าคิดว่าประเทศไทยได้เริ่มกิจการด้านการบินพลเรือนและด้านการพาณิชย์นาวีขึ้นพร้อมกันแต่เพราะเหตุใดการพาณิชย์นาวีจึงได้หายไปจากความสนใจของสังคมหรือเรียกว่าหายไปจากจอเรดาร์ไม่มีผู้ทราบเรื่องน่าศึกษาและค้นคว้าว่าเหตุใดจึงยังไม่มีการพัฒนาด้านการพาณิชย์นาวีอย่างจริงจังในประเทศไทย

หากพิจารณาจากอัตราการขนส่งสินค้าเข้าและออกของประเทศไทยซึ่งส่วนใหญ่ใช้การขนส่งทางทะเลโดยจากข้อมูลของสำนักส่งเสริมการขนส่งทางน้ำและการพาณิชย์นาวีแสดงจำนวนสัดส่วนของการเดินเรือในปีต่างๆพบว่าในพ.ศ.2520เรือที่ใช้ในการขนส่งสินค้าของประเทศไทย ร้อยละ 96 เป็นเรือต่างชาติ เป็นเรือไทยเพียงร้อยละ 4 และต่อมาใน พ.ศ.2547 มีเรือไทยเพียงร้อยละ 11 เท่านั้น ที่เหลืออีกร้อยละ 89 เราต้องพึ่งเรือของต่างชาติ และค่าระวางเรือที่ใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าคิดเป็นจำนวนเงินถึง 417,100 ล้านบาท ซึ่งจะตกอยู่กับเรือของต่างชาติเสียส่วนใหญ่ จะเห็นได้ว่าเกือบสามสิบปีที่ผ่านมา ไม่มีการพัฒนาการพาณิชย์นาวีอย่างจริงจังแต่อย่างใด ทำให้เราต้องเสียค่าระวางเรือเป็นจำนวนมหาศาลแก่ชาวต่างชาติ เปรียบเสมือนรูรั่วขนาดใหญ่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ที่ปล่อยให้เม็ดเงินที่ควรจะตกแก่คนไทยต้องรั่วไหลไปเป็นค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการต่างชาติ และเสียโอกาสในการสร้างตำแหน่งงานใหม่ในด้านการเดินเรือทะเล และแม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้การพาณิชย์นาวีเป็นแนวนโยบายพื้นฐานที่รัฐจะต้องเร่งดำเนินการ แต่ก็มิได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด

สำหรับองค์ประกอบที่จะทำให้การพาณิชย์นาวีรุดหน้ามีหลายส่วนที่สัมพันธ์เกื้อกูลกันอันได้แก่เรือท่าเรืออู่ต่อและอู่ซ่อมเรือเดินทะเลคลังสินค้าระบบการคมนาคมกฎหมายและระเบียบต่างๆ ฯลฯ หากส่วนใดมีความบกพร่องก็ย่อมส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ และจะทำให้การสร้างเครือข่ายการเดินเรือไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งในเรื่องนี้ประเทศไทยยังไม่มีความพร้อม คือยังไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการประกอบกิจการพาณิชย์นาวีและการสร้างเครือข่ายการเดินเรือเท่าที่ควรอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการขาดเงินทุนและไม่ตระหนักถึงความสำคัญในการลงทุนด้านนี้ในขณะที่ประเทศต่างๆได้พัฒนารุดหน้าไปมากทำให้ผู้ประกอบการต่างชาติเลือกที่จะไปลงทุนในประเทศที่มีความพร้อมมากกว่ารัฐบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักก่อนว่าเป็นเรื่องสำคัญระดับชาติหากไม่เร่งดำเนินการก็จะยิ่งทำให้ประเทศชาติเสียโอกาสทองไปอย่างน่าเสียดาย

-ปัญหาการขุดคอคอดกระ

เรื่องเดิมที่ปัจจุบันยังไม่มีการตัดสินใจดำเนินการอันเกี่ยวเนื่องกับการพาณิชย์นาวีโดยตรงคือโครงการขุดคอคอดกระหรือการสร้างเส้นทางเชื่อมระหว่างอ่าวไทยกับทะเลอันดามัน(แลนด์บริดจ์)ที่เคยมีดำริกันมาก่อนแต่ถูกระงับไปด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแต่ในปัจจุบันสถานการณ์ต่างๆได้เปลี่ยนแปลงไป ดังที่ประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ สนใจที่จะสร้างเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้าที่จะช่วยร่นระยะเวลาและค่าใช้จ่าย อันเป็นโอกาสดีที่จะมีการศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการขุดคอคอดกระ เพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส พลิกแผ่นดินให้เป็นแผ่นทอง เพื่อประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยการริเริ่มสร้างเส้นทางใหม่ๆ ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ ซึ่งจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนและสติปัญญาความสามารถของพวกเราเอง

-การปฏิรูประบบราชการตำรวจ

ปัจจุบันวิกฤตการณ์ด้านคุณธรรมและจริยธรรมถือเป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทยที่เกิดขึ้นในทุกวงการวิชาชีพโดยเฉพาะในวิชาชีพตำรวจที่มีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนโดยตรงซึ่งปัญหานั้นเป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปทราบกันดีอยู่แล้วดังนั้นประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่าการแก้ไขวิกฤตการณ์นี้จะทำได้อย่างไร

ด้วยความห่วงใยและผูกพันกับระบบราชการตำรวจที่ผมได้มีโอกาสไปบรรยายพิเศษแก่นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่กรมตำรวจและในโอกาสอื่นๆต่างสถานที่กันผมเห็นว่าบรรดาวิกฤตการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในระบบราชการตำรวจจะต้องมองในอีกแง่หนึ่งด้วยว่าข้าราชการตำรวจก็มีปัญหาของตนเองอยู่ด้วยจะละเลยไม่คำนึงถึงข้อนี้ไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินเดือนและสิทธิประโยชน์ต่างๆที่ข้าราชการตำรวจได้รับมานั้นไม่เพียงพอกับการครองชีพโดยปกติหรือตามควรแก่อัตภาพจึงจำเป็นต้องหารายได้อื่นนอกจากระบบราชการตำรวจ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดในการแก้ไขวิกฤตการณ์นี้คือ จะต้องพิจารณาระบบราชการตำรวจทั้งระบบ ไม่ใช่เฉพาะแต่ปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบของข้าราชการตำรวจเพียงอย่างเดียว

-แนวคิดและวิวัฒนาการในการปฏิรูประบบราชการตำรวจ

ย้อนกลับไปเมื่อพ.ศ.2520ครั้งที่ผมเป็นหัวหน้ารัฐบาลได้เล็งเห็นว่าปัญหาเกี่ยวกับตำรวจเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดยปัญหาเฉพาะหน้าที่ต้องแก้ไขขณะนั้นคือปัญหาการดำรงชีพข้าราชการตำรวจโดยเฉพาะชั้นผู้น้อยมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้นแสนลำบากนายสมัครสุนทรเวช รมว.มหาดไทยในรัฐบาลผม จึงได้ริเริ่มโครงการแฟลตตำรวจ โดยร่วมกับการเคหะแห่งชาติ กู้เงินมาสร้างแฟลตตำรวจในกรุงเทพมหานคร ซึ่งดำเนินการได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ส่วนในต่างจังหวัดก็ได้มีการปฏิบัติทำนองเดียวกันต่อมา อันเป็นการแก้ไขปัญหาส่วนแรก ส่วนการแก้ไขในระยะยาวนั้นผมได้ร้องขอรัฐบาลอังกฤษผ่านสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ให้จัดตำรวจ สกอตแลนด์ยาร์ด มาช่วยสำรวจและให้คำแนะนำว่า เราควรจะปฏิรูประบบราชการตำรวจของไทยในด้านใดบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่รัฐบาลของผมเห็นว่ามีความสำคัญ 5 เรื่อง ได้แก่ เรื่องแรก โครงสร้างของกรมตำรวจควรเป็นระบบรวมอำนาจหรือระบบกระจายอำนาจ กล่าวคือ มีตำรวจส่วนกลางและตำรวจส่วนท้องถิ่น เรื่องที่สอง ข้อบกพร่องในการสอบสวนของพนักงานสอบสวน โดยเฉพาะการตั้งรูปคดีและการหาพยานหลักฐานต่างๆ ในการฟ้องร้อง อันเป็นเรื่องของวิทยาการตำรวจที่จะต้องมีการปรับปรุง เรื่องที่สาม อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในราชการตำรวจ เป็นต้นว่า อาวุธประจำตัว เครื่องมือสื่อสาร และยานพาหนะ เรื่องที่สี่ จริยธรรมตำรวจ ทั้งในเรื่องเนื้อหาและการฝึกอบรมในด้านจริยธรรม และเรื่องสุดท้ายที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเรื่องอื่นคือ เงินเดือน ค่าตอบแทนและการจัดสวัสดิการของตำรวจ ซึ่งรัฐบาลอังกฤษยินดีให้ความช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว โดยจะส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจสถานการณ์ในเบื้องต้นก่อนและจะมีคณะอื่นๆ ตามมาเป็นคณะทำงานเฉพาะกิจต่อไปตามที่รัฐบาลไทยจะร้องขอ โดยเวลาที่ผมได้รับคำตอบจากรัฐบาลอังกฤษนั้นเป็นเวลา 14.00 น. ของวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 แต่พอถึงเวลา 17.00 น.ของวันนั้นเอง คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้เข้ายึดอำนาจการปกครองและล้มรัฐบาลของผม จึงเป็นอันสิ้นสุดหน้าที่และความใฝ่ฝันของรัฐบาลชุดผมที่จะปฏิรูประบบราชการตำรวจไปในขณะนั้นเอง

ต่อมาสมัยรัฐบาลพล.อ.เปรมติณสูลานนท์มีความพยายามในการปฏิรูประบบราชการตำรวจอีกครั้งหนึ่งโดยคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษาและปรับปรุงการบริหารงานของกรมตำรวจในคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการและระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2525ที่มีพล.ต.ต.ประมาณอดิเรกสาร(ต่อมาเป็นพล.ต.อ.)รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธาน ซึ่งพบว่าระบบงานตำรวจมีปัญหาที่สำคัญ 7 ประการ ได้แก่ ประการแรก หน้าที่ของข้าราชการตำรวจไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจน ทำให้ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงอย่างแท้จริง ต้องสูญเสียกำลังพลไปกับการปฏิบัติด้านอื่นเป็นจำนวนมาก ประการที่สอง การบริหารงานบุคคลของกรมตำรวจยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้เหมาะสม โดยควรจัดสายงานออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานตำรวจอย่างแท้จริงประเภทมียศและไม่มียศ กับข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานธุรการและสนับสนุนอื่นๆ ที่ไม่ถือว่าเป็นงานตำรวจโดยตรง ประการที่สาม ระบบข้อมูลข่าวสารตำรวจยังสับสนและไม่มีระบบ ทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ประการที่สี่ ปัญหาในการให้บริการประชาชน ประการที่ห้า ปัญหาความร่วมมือจากประชาชน ประการที่หก ปัญหาเอกภาพในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค และประการสุดท้าย ปัญหาค่าตอบแทนและสวัสดิการตำรวจที่อยู่ในระดับที่ต่ำเกินไปและไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรมในการพิจารณาค่าตอบแทนโดยใช้หลัก"งานเท่ากันเงินเท่ากัน"โดยเฉพาะข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานอย่างแท้จริงได้รับค่าตอบแทนในระดับที่ต่ำเกินไปจนไม่สามารถปฏิบัติงานให้เกิดผลดีได้ก่อให้เกิดปัญหาการหารายได้ในทางไม่สุจริตตามมา

ต่อมาในพ.ศ.2549รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์จุลานนท์ได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจโดยมี พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ เป็นประธาน ซึ่งมีข้อเสนอจำนวน 10 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นแรก การกระจายอำนาจการบริหารงาน ประเด็นที่สอง การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานตำรวจ ประเด็นที่สาม การสร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของตำรวจ ประเด็นที่สี่ การถ่ายโอนภารกิจที่ไม่ใช่ของตำรวจ ประเด็นที่ห้า การปรับปรุงพัฒนาระบบงานสอบสวน ประเด็นที่หก การปรับปรุงการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ ประเด็นที่เจ็ด การพัฒนากระบวนการในการสรรหา การผลิตและการพัฒนาบุคลากรตำรวจ ประเด็นที่แปด การปรับปรุงเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการของตำรวจ ประเด็นที่เก้า การส่งเสริมความก้าวหน้าของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน และประเด็นสุดท้าย การจัดตั้งหน่วยงานในการปรับปรุงพัฒนากระบวนการยุติธรรมและมีการเสนอร่างกฎหมายในการพัฒนาระบบงานตำรวจจำนวน2ฉบับเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพื่อการปฏิรูประบบงานตำรวจอย่างสมบูรณ์แต่อย่างไรก็ตามสภานิติบัญญัติแห่งชาติสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ก่อนร่างกฎหมายดังกล่าวจะผ่านความเห็นชอบจึงไม่สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้

ในพ.ศ.2555 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ทำการศึกษาระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนต่างๆ ของข้าราชการตำรวจ โดยมีการวิเคราะห์ว่าข้าราชการตำรวจเป็นส่วนสำคัญส่วนแรกของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งปฏิบัติงานโดยการบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม จับกุมผู้ต้องหา สืบสวนสอบสวน และอื่นๆ ดังนั้นข้าราชการตำรวจจึงต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีความอดทนเสียสละ สามารถต้านทานต่อสิ่งยั่วยุต่างๆ ในสังคมและดำรงตนอยู่ในความยุติธรรมได้ และเป็นที่คาดหวังว่าจะเป็นผู้ที่ให้บริการที่ดีแก่ประชาชน แต่จากสภาพปัญหาที่ได้รับเงินเดือนและค่าตอบแทนต่ำ มีสวัสดิการน้อย ในขณะที่มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างมาก จึงอาจทำให้เกิดปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบได้ ดังนั้น การปฏิรูประบบเงินเดือนและค่าตอบแทน นอกจากจะทำให้ข้าราชการตำรวจ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ ดำรงตนอยู่ในความยุติธรรม และสามารถดำรงชีพได้อย่างมีคุณภาพแล้ว ยังช่วยบรรเทาปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นได้อีกด้วย

ในรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับระบบราชการตำรวจใน 2 เรื่อง คือ มีการตราพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2558 โดยเหตุผลในการประกาศใช้คือเพื่อปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการตำรวจให้เหมาะสม เป็นธรรม และได้มาตรฐาน และมีการตราพระราชกฤษฎีกาข้าราชการตำรวจประเภทไม่มียศ พ.ศ.2558 โดยเหตุผลในการประกาศใช้คือ เนื่องจากข้าราชการตำรวจมีภารกิจทั้งในด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาญา การรักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของราชอาณาจักร ตลอดจนงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยการ การพัฒนาบุคลากร และงานด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจในบางตำแหน่งนั้นอาจไม่จำเป็นต้องมียศ เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับอย่างเต็มรูปแบบเมื่อมีการตรากฎ ก.ตร. กำหนดรายละเอียดต่างๆ แล้ว โดยอยู่ในระหว่างการพิจารณาร่างกฎ ก.ตร. ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวเป็นที่คาดหวังว่าจะมีส่วนช่วยพัฒนาระบบราชการตำรวจให้ดียิ่งขึ้น

ดังนั้นจากแนวคิดในการปฏิรูประบบราชการตำรวจที่ผ่านมาและการแก้ไขปัญหาของทุกรัฐบาลต่างก็เห็นตรงกันว่าปัญหาเงินเดือนค่าตอบแทนและสวัสดิการของตำรวจเป็นปัญหาที่มีความสำคัญมากผมจึงเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะให้มีการปรับปรุงในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้ข้าราชการตำรวจครองชีวิตอยู่ได้ตามควรแก่อัตภาพ ให้พอกินพออยู่โดยไม่ต้องอาศัยรายได้นอกระบบราชการตำรวจ ซึ่งการปรับปรุงเรื่องดังกล่าวนั้นต้องไม่ใช่ให้แบบยาหอม ให้เพียงสักแต่ว่าให้ แต่ต้องให้ให้พอและตามความเป็นจริง ซึ่งเรื่องนี้สามารถพูดได้ในหลักการ แต่พอจะทำจริงเข้าผมก็เห็นใจรัฐบาลและทุกฝ่ายที่รับผิดชอบในเรื่องงบประมาณของประเทศ เพราะเวลานี้ประเทศไทยก็ประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ การหารายได้ทำได้ยาก แต่ในโอกาสแรกที่สภาวะทางเศรษฐกิจฟื้นฟูขึ้น อัตราเงินเดือน ค่าตอบแทน และสวัสดิการของตำรวจจะต้องรีบปรับปรุง ถ้าปรับปรุงในเรื่องนี้ไม่ได้ แม้จะปรับปรุงแก้ไขในเรื่องอื่นได้ ปัญหาระบบราชการตำรวจก็จะยังคงมีอยู่ต่อไป

อีกปัญหาหนึ่งที่มีความสำคัญและเกี่ยวพันกับการดำรงชีพของข้าราชการตำรวจคือเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตำรวจเช่นอาวุธประจำกายเครื่องมือสื่อสารยานพาหนะหรือน้ำมันเชื้อเพลิงโดยทางราชการจะต้องจัดหาสิ่งเหล่านี้ให้แก่ข้าราชการตำรวจทุกนายอย่างเพียงพอและเหมาะสมมิฉะนั้นแล้วการปฏิบัติหน้าที่ย่อมไม่มีประสิทธิภาพ และข้าราชการตำรวจบางส่วนต้องนำเงินส่วนตัวมาใช้จ่ายในส่วนนี้แทน ซึ่งดังที่กล่าวไว้แล้วว่า ลำพังข้าราชการตำรวจเองก็มีเงินเดือนไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพอยู่แล้ว หากจะต้องนำเงินที่ใช้ในการดำรงชีพส่วนตัวมาใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่อีกก็จะยิ่งกระทบต่อขวัญกำลังใจของข้าราชการตำรวจและประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยทั้งยังเป็นการผิดหลักการบริหารราชการแผ่นดินที่กำหนดให้เรื่องการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานนี้ต้องเป็นความรับผิดชอบของหน่วยราชการโดยเฉพาะมิใช่เรื่องที่จะต้องใช้เงินส่วนตัวปัญหาเรื่องอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สมควรได้รับการพิจารณาแก้ไขโดยเร็ว

หากพิจารณาจากข่าวสารที่ปรากฏในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าข้าราชการตำรวจมีปัญหาภาพลักษณ์ที่ไม่โปร่งใสกล่าวคือประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าข้าราชการตำรวจบางส่วนมีการเรียกรับผลประโยชน์ในทางมิชอบเพื่อแลกกับการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายเป็นต้นว่าการพนันหรือสถานบริการและมีการนำเงินรายได้ส่วนหนึ่งส่งให้แก่ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นและอีกส่วนก็เก็บไว้ใช้จ่ายส่วนตัวเป็นรายได้พิเศษนอกระบบหรือที่เรียกว่า"ส่วยตำรวจ"อันเป็นปัญหาที่เลวร้ายอย่างยิ่ง ซึ่งข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยได้รับความกดดันให้จัดหาส่วยตำรวจเหล่านี้ให้ได้ ถ้าไม่ทำก็จะไม่มีความก้าวหน้าในชีวิตราชการ ทำให้แทนที่ข้าราชการตำรวจจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ให้สมดังภารกิจของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ได้อย่างเต็มที่ กลับต้องใช้เวลาเพื่อหาเงินในทางที่มิชอบเหล่านี้ สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก