PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ข่าว1/2/60

ปยป.-ปฏิรูป

นายกฯ เข้าทำเนียบแล้ว ประชุมขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พิจารณาลำดับความสำคัญวาระไปอีก 1 ปี ข้างหน้า

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ในช่วงเช้าวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้เดินทางเข้ามายังทำเนียบรัฐบาลตั้งแต่ในช่วงเช้า

เพื่อเป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ โดยการประชุมดังกล่าวมีรองนายกรัฐมนตรีทั้ง 6 คน ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พร้อมรองประธานสภาขับ

เคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) พร้อมรองประธาน ตัวแทนคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ของ สนช. 12 คณะ ตัวแทน กมธ. ของ สปท. 16 คณะ กรรมการประสานงาน ในส่วนของ สปท. และ สนช.

รวมถึงคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) บางคนเข้าร่วมประชุมฯ

สำหรับสาระสำคัญของการประชุมดังกล่าวนั้น จะมีการพิจารณา ลำดับความสำคัญของวาระปฏิรูป ที่จะขับเคลื่อนประเทศจากนี้ไปอีก 1 ปี ข้างหน้า โดยปรับกระบวนการพิจารณาและจำแนกว่า

การปฏิรูปเรื่องใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย เรื่องใดเป็นการใช้อำนาจบริหารจัดการ และมีเรื่องใดที่หน่วยราชการสามารถทำได้ทันที รวมถึงดำเนินการทั้งหมดให้มีความกระชับ ขั้นตอนสั้นที่สุด เพื่อให้เรื่องสำคัญถูกขับเคลื่อนไปได้อย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตาม ในการจัดลำดับความสำคัญวาระการปฏิรูปนั้น จะต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ด้วยว่า ประชาชนจะได้อะไรจากการปฏิรูปในเรื่องนั้น ๆ
---------
นายกฯ หารือนอกรอบ "พรเพชร - ร.อ.ทินพันธุ์" ยัน ปฏิรูปประเทศมีความคืบหน้า เห็นผลเป็นรูปธรรม

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศแล้ว โดยก่อนการประชุม นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พร้อมด้วย ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) หารือนอกรอบกับนายกรัฐมนตรีที่ตึกไทยคู่ฟ้าก่อน

ทั้งนี้ ก่อนการประชุมดังกล่าว ผู้สื่อข่าวได้ถามว่าการประชุมวันนี้จะมีความคืบหน้าและเห็นผลเป็นรูปร่างหรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ พยักหน้ายอมรับ พร้อมกล่าวสั้น ๆ ว่า จะต้องเป็นรูปธรรม ประเทศจะถอยหลังได้อย่างไร ก็ต้องเดินหน้าต่อไป
----------------
นายกฯ บอกปฏิรูปประเทศต้องเดินหน้า ย้ำ รับฟังแนวคิด เร่งออกกฎหมายสร้างความปรองดอง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในช่วงเริ่มการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ว่า วันนี้เป็นการประชุมเพื่ออนาคต เพื่อการปฏิรูปประเทศไปข้างหน้า ซึ่งเบื้องต้นอยากเริ่มด้วยการรับฟังแนวความคิดต่าง ๆ ในการทำงาน และการปฏิรูปประเทศ ที่จะทำให้ประเทศมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นการปฏิรูปประเทศเพื่อวางรากฐานในอนาคต

แต่ในวันนี้ประชาชนยังไม่เข้าใจถึงการปฏิรูป รวมถึงการออกกฎหมายเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้โดยเร็วในระยะเวลา 20 ปี ดังนั้นในปี 2560จะต้องรวบรวม ข้อมูลพื้นฐานทั้งหมดของแม่น้ำทั้ง 5 สาย เพื่อนำปัญหาออกมาสร้างการรับรู้ และเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ย.ป. ที่จะสร้างความชัดเจนกับสังคม
----------

นายกฯ บอกตั้ง ป.ย.ป. ลุยปฏิรูปเร็วขึ้น ปัดรัฐบาลอยากอยู่ต่อ - ชี้กฎหมายลูกยึดกรอบเวลา

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ว่า วันนี้เป็นการประชุมแม่น้ำ 5 สาย อย่างครบถ้วน ในการทำงานของคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) เพื่อสร้างเข้าใจในการบริหาราชการแผ่นดินในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการปฏิรูปและการวางยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อวันนี้ วันข้างหน้าและวันต่อไป ๆ รวมถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่ต้องอำนวยความสะดวกให้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ และวันนี้มี ป.ย.ป. เพื่อทำในเรื่องเร่งด่วนให้เร็วขึ้น อะไรที่ติดขัดหรือเป็นปัญหาต้องปลดล็อกให้ได้

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า วันนี้ทุกคนต้องเรียนรู้ เพราะสิ่งที่ทำมาไม่ง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากหากร่วมมือกัน เพื่อสานต่อ 2 ปีครึ่งที่รัฐบาลทำมา และที่ต้องทำต่ออีก 1 ปี ก่อนจะส่งต่อให้รัฐบาลต่อไป โดยทั้งหมดเป็นสิ่งที่รัฐบาลคิดและทำ ไม่ใช่ทำเพื่อต้องการทอดเวลา และดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงกฎหมายลูกต่าง ๆ ที่ต้องใช้เวลา และมีกรอบเวลาอยู่แล้ว ซึ่งส่วนตัวสั่งการอะไรไม่ได้
และไม่ใช่รัฐบาลอยากอยู่ต่อ แต่จะทำตามเวลาที่มีอยู่
-----------
นายกฯ เร่งแก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างยั่งยืน ชี้ ข้าราชการพอใจเปิดโอกาสรับฟังความเห็น เตรียมนำมาปรับแก้ พร้อมจัดทำแผน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ว่า ที่ผ่านมามีความขัดแย้ง ซึ่ง

ไม่ใช่เพียงความขัดแย้งทางการเมืองเท่านั้น แต่รวมถึงความขัดแย้งในการบริหารราชการแผ่นดิน จึงต้องแก้ไขปัญหาให้ได้อย่างยั่งยืน และต้องสร้างการรับรู้กับประชาชนให้ได้ โดยให้แนวคิด เพื่อให้
เกิดความร่วมมือจากข้างล่าง ซึ่งในทางปฏิบัติที่ผ่านมารัฐบาลมีการดำเนินการไปแล้วตามงานฟังก์ชั่นและบูรณาการงานกลุ่มงานของรองนายกรัฐมนตรี และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (

สปท.)

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวว่า ผู้เข้าร่วมประชุมและข้าราชการ พอใจที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น ซึ่งได้เสนอแผนงานตามที่ต้องการจริง เพราะที่ผ่านมามีการดำเนินการ แต่ไม่ได้รับการ

ปฏิบัติเท่าที่ควร ดังนั้น รัฐบาลนำมาปรับแก้โดยส่วนตัวได้มอบนโยบายและให้ข้าราชการจัดทำแผนขึ้นมา และการบริหารงานแบบนี้ทุกคนต่างพอใจ เนื่องจากข้าราชการมีศักดิ์ศรี
---------
"วิษณุ" ส่งคำสั่ง ม.44 เพื่อปฏิรูปตำรวจ ให้นายกฯ พิจารณาขั้นสุดท้ายแล้ว คาดประกาศใช้เร็วนี้ 

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกรณีการวางแนวทางการออกคำสั่งมาตรา 44 เพื่อปฏิรูปตำรวจ ว่า ขณะนี้ได้ส่งคำสั่งดังกล่าวให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว ซึ่งได้ส่ง

กลับมาให้แก้ไขเพียงเล็กน้อย คาดว่าจะสามารถออกคำสั่งได้ในไม่ช้า

ทั้งนี้ คำสั่งดังกล่าว จะเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ไม่เกี่ยวกับอำนาจสืบสวนสอบสวน เนื่องจากในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 260 ได้ระบุไว้ว่า

การปฏิรูปตำรวจต้องตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบตำรวจขึ้นมาทำหน้าที่ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี จึงจะดำเนินการก่อนไม่ได้
---------------
กฤษฎีกา ปรับขั้นตอนการจัดทำกฎหมาย รองรับเรื่องเร่งด่วนสนับสนุนการปฏิรูป ขอคนช่วยทำงานเพิ่ม ยันเสร็จทันตามวาระสนช.

นายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวภายหลังการประชุมเวิร์กช็อปขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ ว่า วันนี้ที่ประชุมได้หารือแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ

ซึ่งในส่วนของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น ได้ลดขั้นตอนการจัดทำกฎหมาย โดยประเด็นใดที่ สปท. เสนอเป็นเรื่องเร่งด่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย นายกรัฐมนตรี สามารถสั่งให้คณะกรรมการ

กฤษฎีกาตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาได้ก่อน แล้วค่อยส่งให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ

ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้ทำยุทธศาสตร์จัดทำกฎหมายเพื่อรองรับงานที่เพิ่มเป็น 3 เท่า ทั้งกฎหมายจากคณะรัฐมนตรี กฎหมายปฏิรูป และกฎหมายตามรัฐธรรมนูญ เสนอให้ นายวิษณุ เครืองาม

รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย พิจารณาแล้ว โดยอาจหาบุคลากรมาช่วยทำงานและลดระยะเวลาให้เร็วขึ้น โดยยืนยันจะสามารถจัดทำกฎหมายที่เกี่ยวข้องทันวาระ สนช. ชุดนี้แน่นอน

ส่วนบัญชีข้อเสนอของ สปท. ที่ยังค้างคาอยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ขณะนี้ได้ทยอยออกไปเกือบหมดแล้ว ทั้งการแก้ไขโทษทางอาญา การตั้งศาลคดีทุจริต และเรื่องการมีผลประโยชน์ขัดกัน
-------------------
"สุวิทย์" เผย เวิร์กช็อปหารือจัดลำดับข้อเสนอ สปท. 27 เรื่อง พร้อมตั้ง คกก.ขับเคลื่อนฯ ลดขั้นตอนการทำงานให้กระชับ

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารราชแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง

หรือ ป.ย.ป. เปิดเผยว่า ที่ประชุมเวิร์กช็อปการปฏิรูปประเทศในวันนี้ ได้หารือถึงการจัดลำดับความสำคัญข้อเสนอ สปท. ทั้ง 27 เรื่อง เช่น กลไกภาครัฐ เศรษฐกิจอนาคต โครงสร้างพื้นฐาน รวม
ทั้งเรื่องที่ต้องเสนอเพิ่มเติม คือ การบริหารราชการแผ่นดินและท้องถิ่น  รวมถึงการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เพื่อลดขั้นตอนการทำงานให้กระชับ รวดเร็ว และไม่ซับซ้อน

ด้าน ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ ประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. กล่าวว่า จะมีวาระเร่งด่วนปฏิรูป 27 วาระ จากวาระเร่งด่วนของกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ทั้ง 12

ด้าน โดยได้จัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนเพื่อให้อยู่ในกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 10 วาระ พร้อมทั้งเสนอวาระเร่งด่วนเพิ่มเติมเข้ามาพิจารณาด้วย
----------
"เสรี" ย้ำ ปฏิรูปการเมืองต้องพัฒนานักการเมือง ส่วนปรองดองต้องไม่แถลงจนกว่าจะได้ข้อยุติ หวั่น สร้างความขัดแย้งใหม่ 

นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง และสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวว่า ในส่วนของ สปท.การเมือง จะเสนอคณะ

กรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ว่า จะต้องทำอย่างไรให้การเมืองดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะต้องพัฒนาทั้ง

ประชาชนและนักการเมือง โดยสิ่งเหล่านี้จะตอบโจทย์ทำให้การเมืองดีขึ้นระดับหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ได้ตั้งอนุกรรมการศึกษาด้านการเมืองและยุทธศาสตร์ ส่วนการปรองดองก็จะเดิน
หน้าต่อ แต่จะไม่มีการแถลงจนกว่าจะได้ข้อยุติไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันไปมา นอกจากนี้ ในส่วนของ 27 วาระการปฏิรูป ส่วนใหญ่รัฐบาลได้ดำเนินการไปแล้ว และในส่วนที่จะ

ต้องทำต่อก็ต้องลำดับความสำคัญ ซึ่งในส่วน สปท. ต้องหารือกันใหม่อีกครั้ง ร่วมกับวิป 3 ฝ่าย ซึ่งต่อไปเมื่อมีคณะกรรมการ ป.ย.ป. วิป 3 ฝ่าย ก็จะยกเลิกไป เพื่อลดความซ้ำซ้อน และนายก

รัฐมนตรีได้กำชับให้วิปทำงานให้สอดคล้องกัน
-----------------
"พล.ท.สรรเสริญ" หวัง ไม่มีใครนำผลตัดสินศาลอาญาแสดงความเห็นเชื่อมโยง "ปรองดอง" ชี้ จำเลยยังมีสิทธิ์อุทธรณ์

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่ศาลอาญาพิพากษาให้ชายชุดดำในเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553 จำนวน 2 คน มีโทษจำคุก 10 ปี ว่า คำ

พิพากษาดังกล่าวเป็นสิ่งยืนยันว่า ชายชุดดำได้ทำความผิดจริง ตามข้อเท็จจริงและหลักฐานที่ปรากฏ ดังนั้น การที่กลุ่มการเมือง ระบุว่า การชุมนุมในช่วงวันที่ 10 เม.ย.2553 เป็นการชุมนุมที่สงบ
ปราศจากอาวุธนั้น จึงสวนทางกับความเป็นจริง หรือต้องการบิดเบือนการกระทำของตนเอง เพราะศาลได้พิเคราะห์แล้ว พบอาวุธปืนหลายประเภท และเครื่องยิงระเบิด ซึ่งหมายถึงการมีเจตนา

ประสงค์ร้ายต่อชีวิตของผู้อื่น โดยเฉพาะการใช้ยิงเจ้าหน้าที่ทหารที่ขอคืนพื้นที่การชุมนุมบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และบริเวณใกล้เคียง

นอกจากนี้ พล.ท.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า รัฐบาลหวังว่าจะไม่มีผู้ใดออกมาแสดงความเห็นเชื่อมโยงกรณีนี้กับการสร้างความปรองดองที่กำลังเดินหน้าอยู่ในขณะนี้ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน โดยการ

สร้างความปรองดองเป็นผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า เช่นเดียวกับการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ ส่วนผู้กระทำผิดก็ยังต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และรับโทษตามกฎหมาย

ทั้งนี้ จำเลยมีสิทธิ์จะอุทธรณ์เพื่อต่อสู้คดี เพราะเป็นขั้นตอนที่สามารถทำได้ แต่เชื่อมั่นว่าศาลจะใช้ดุลยพินิจพิจารณาตามพยานหลักฐานที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
-----------
"องอาจ" ย้ำ ปชป. สนับสนุน ป.ย.ป. เดินหน้าปรองดอง แต่ค้านนิรโทษกรมม แนะต้องศึกษาข้อมูลในทุกด้าน 

นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยสนับสนุนข้อเสนอเรื่องการปรองดองของ นายคณิต ณ นคร ประธานกรรมการปฏิรูปกฎหมายและข้อเสนอของ

สถาบันพระปกเกล้า ว่า คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ควรนำผลการศึกษาเรื่องการสร้างความ

ปรองดองทุกด้าน มาวิเคราะห์เพื่อหาข้อสรุป และเผยแพร่ให้สาธารณะรับทราบ เพราะผลการศึกษาเรื่องการปรองดองนั้น มีหลายภาคส่วนเคยศึกษาไว้ จึงไม่อยากให้นำเพียงบางส่วนมาเป็น
ข้อสรุป เพราะอาจทำให้เกิดความสับสนได้

ทั้งนี้ นายองอาจ ยังย้ำว่า พรรคประชาธิปัตย์ ไม่สนับสนุนเรื่องการนิรโทษกรรม เพื่อสร้างความปรองดอง โดยเฉพาะในคดีที่เกี่ยวข้องกับประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา 112 และคดีที่เกี่ยวข้อง

กับการทุจริต
---------------
นายกฯ นำ ขรก.ทำเนียบออกกำลัง พร้อมมีการเตรียมรถพยาบาลหน่วยกู้ชีพศูนย์นเรนทร เพื่อรองรับหากเกิดกรณีฉุกเฉิน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้นำข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ทำเนียบรัฐบาล ออกกำลังกายประจำสัปดาห์ทุกวันพุธ ที่บริเวณสนาม

หญ้าหน้าตึกไทยคู่ฟ้า ภายในทำเนียบรัฐบาล เพื่อเป็นการกระตุ้นร่างกายในการทำงานในช่วงวันที่เหลือของสัปดาห์ แม้ว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาผู้อำนวยการเขตพระนคร ได้เกิดอาการวูบระหว่าง

ออกกำลังกายเนื่องจากโรคหัวใจ จนทำให้เสียชีวิตในเวลาต่อมา แต่ทางทำเนียบรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ก็ยังคงออกกำลังกายตามปกติ เพียงแต่มีการตั้งข้อสังเกตว่าได้มีการเตรียมรถพยาบาล

หน่วยกู้ชีพศูนย์นเรนทร เพื่อรองรับหากเกิดกรณีฉุกเฉิน

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมเต้นแอโรบิก วอร์มอัพที่บริเวณสนามหญ้า เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นได้ใช้เวลาเพียง 5 นาที เตะฟุตบอล กับ พล.ท.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายก

รัฐมนตรี คณะทำงาน ก่อนจะร่วมเตะตระกร้อวง กับคณะทำงาน และข้าราชการทำเนียบฯ
//////
แก้ รธน.

กรธ. เร่งหารือประเด็นกรรมการสรรหา ป.ป.ช. ให้เป็นที่ยอมรับทุกฝ่าย พร้อมเตรียมรับฟังความเห็น พ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจฯ 15 ก.พ. นี้

ศ.ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

(ป.ป.ช.) โดยได้หารือประเด็นคณะกรรมการสรรหา เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และพิจารณาเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ เพื่อให้มีประสิทธิภาพ

และความรวดเร็ว รวมถึงเป็นธรรมกับทุก ๆ ฝ่าย

ทั้งนี้ ศ.ดร.ชาติชาย กล่าวถึง วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ว่า จะต้องมีการสอบถามไปยังศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อให้ตรงต่อเจตนารมณ์ และป้องกัน

การที่จำเลยหลบหนี โดยมีการหารือว่าจะสามารถพิจารณาคดีลับหลังได้หรือไม่

นอกจากนี้ ในส่วน พ.ร.ป.ว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน นั้น จะมีการรับฟังความคิดเห็นในวันพุธที่ 15 ก.พ. ที่รัฐสภา ขณะวันที่ 4 - 5 ก.พ. จะเป็นการรับฟังความคิดเห็นของ พ.ร.ป.ว่าด้วย ส.ส. และ

พ.ร.ป.ว่าด้วย ส.ว. ที่ จ.อุดรธานี และที่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 18 - 19 ก.พ. นี้
-----------
ผู้ตรวจการแผ่นดิน จัดสัมมนา "เหลียวหน้า แลหลัง จริยธรรมตามรัฐธรรมนูญ" พร้อมเชิญแม่น้ำ 3 สาย ร่วมวงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

บรรยากาศที่สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี วันนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน จัดเวทีสัมมนา "เหลียวหน้า แลหลัง จริยธรรมตามรัฐธรรมนูญ" โดยมี พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่

แทนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานเปิดงานสัมมนา พร้อมปาฐกถาพิเศษเรื่อง "งานจริยธรรมในมุมมองของผู้ตรวจการแผ่นดิน" ส่วนในช่วงบ่ายเป็นการเสวนาเรื่อง "อนาคตจริยธรรมตาม
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่" ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี นายทวีศักดิ์ สูทกวาทิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นายอมร วาณิชวิวัฒน์ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ นายจรัญ

ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ นายมานิจ สุขสมจิต ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนาการ
สื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย

สำหรับการจัดสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม และรณรงค์ส่งเสริมจิตสำนึกด้านจริยธรรมให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคม ตลอดจนการสร้างกระบวนการมีส่วน

ร่วม
----------
เลขาธิการผู้ตรวจการแผ่นดิน ยันตลอด 10 ปี มุ่งทำงานด้านจริยธรรม ชี้ รัฐธรรมนูญใหม่ ไม่ให้อำนาจตรวจสอบจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว

นายรักษเกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวรายงานในเวทีสัมมนา "เหลียวหน้า แลหลัง จริยธรรมตามรัฐธรรมนูญ" ว่า ตามรัฐธรรมนูญใหม่ อำนาจการตรวจสอบจริยธรรม

ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ได้เป็นของผู้ตรวจการแผ่นดินอีกต่อไป โดยจะเป็นอำนาจของ ป.ป.ช. จึงถือเป็นการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญทางการเมือง ดังนั้น
การสัมมนาในวันนี้ จึงเป็นการส่งต่องานและสรุปผลงานการตรสจสอบด้านจริยธรรมกว่า 10 ปี ของผู้ตรวจการแผ่นดิน อีกทั้งเป็นการรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวจริยธรรม เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับ

ใหม่ กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ ร่วมกำหนดมาตรฐานจริยธรรม เพื่อบังคับใช้กับองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้มอบอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินการด้านจริยธรรมนั้น ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญในการส่งเสริมจริยธรรมให้กับกลุ่ม

เป้าหมายต่างในสังคมไทย
-------------
ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ยอมรับตรวจสอบจริยธรรม ยังมีช่องว่างในผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง หวังหน่วยงานในอนาคตเร่งแก้ปัญหา

พล.อ.วิทวัส รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ปฏิบัติหน้าที่แทนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นประธานเปิดงานสัมมนา "เหลียวหน้า แลหลัง จริยธรรมตามรัฐธรรมนูญ" ว่า การจัดงานครั้งนี้ เป็น

โอกาสสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ ตลอดจนประมวลผลงานของผู้ตรวจการแผ่นดินในการดำเนินการด้านจริยธรรมกว่า 10 ปี ที่ผ่านมา ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นให้ผู้ดำรงตำแหน่ง

ทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เกิดจิตสำนึกด้านจริยธรรมและประยุกต์ใช้แก่องค์กรของตนเท่านั่น แต่เป้าประสงค์หลัก คือ การกระตุ้นให้ประชาชนในสังคมไทยตระหนักถึงความ

สำคัญของการร่วมรณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม จากองค์ความรู้ จนเกิดผลปฏิบัติเป็นรูปธรรม

ส่วนการตรวจสอบจริยธรรม ยังมีช่องว่างในการตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งในระดับสูง ซึ่งในอนาคตหน่วนงานที่รับผิดชอบการตรวจสอบการละเมิดจริยธรรม อาจต้องกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหานี้
-------------
ประธาน ป.ป.ช. รับการทำงานในอนาคตท้าทาย ปรับกรอบทำงานต้องเสร็จภายใน 6 เดือน ให้สอดรับรัฐธรรมนูญ

พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวในวงเสวนา "อนาคตจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" ที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจัดขึ้น

โดยยอมรับว่าการทำงานของ ป.ป.ช. ในอนาคต มีความท้าทายมากยิ่งขึ้น เพราะมีการปรับแก้ กรอบระยะเวลาการดำเนินงาน ตั้งแต่การแสวงหาข้อเท็จจริง การไต่สวน ตลอดจนการชี้มูลความผิด

โดยขั้นตอนของการแสวงหาข้อเท็จจริง ได้ปรับแก้กำหนดกรอบระยะเวลา ทำงานภายใน 6 เดือน แต่สามารถขยายเวลา ได้ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน โดยจะต้องมีเหตุผลและความจำเป็น

ส่วนขั้นตอนของการไต่สวน และการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนนั้น ถือเป็นขั้นตอนสำคัญที่ ป.ป.ช. ต้องใช้เวลา โดยปรับแก้ใน ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เสนอไป ได้กำหนด

กรอบระยะเวลา 2 ปี ซึ่งก็สามารถขยายกรอบเวลาได้เช่นกัน เพราะอาจจะต้องประสานความร่วมมือทั้งทางอาญา รวมไปถึงบางคดีที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญฉบับ

ใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ในอนาคตด้วย
-------------
"มีชัย" ยัน ไม่เคยพูด พ.ร.บ.คุมสื่อ ขัดร่าง รธน. แนะ สปท. ยึดหลักตาม รธน.ใหม่ ออกกฎหมาย

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณี พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ว่า ตนเองไม่เคยกล่าวว่ากฎหมายฉบับนี้ขัดกับ

รัฐธรรมนูญใหม่ตามที่บางสื่อได้นำเสนอบิดเบือน เนื่องจากตนยังไม่เห็นรายละเอียด และขอแนะนำให้สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ยึดหลักการตามที่รัฐธรรมนูญใหม่กำหนดไว้
------------------
รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยัน พร้อมรับนโยบาย รัฐใช้ มาตรา44 ปฏิรูปตำรวจ เพื่อประโยชน์ของประชาชน

พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผย กรณีที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีแนวคิดใช้มาตรา 44 ในการปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันว่า ตำรวจยินดีให้

เกิดการปฏิรูป เพื่อประโยชน์ของประชาชน ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานบังคังใช้กฎหมาย จึงมีหน้าที่ที่ต้องสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในทุกรูปแบบ ซึ่งเบื้องต้นยังไม่ทราบราย

ละเอียดของคำสั่ง จึงต้องรอดูก่อน ว่าการปฏิรูปตำรวจที่รัฐบาลต้องการ เป็นในทิศทางใด จึงจะสามารถตอบสนองนโยบายได้อย่างถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปตำรวจ มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่ผ่านมา อยู่ในกรอบทั้ง 10 ด้าน อาทิ การพัฒนาบุคลากร การบริการประชาชน การบริหารงานบุคคล ซึ่งได้รับฟังความเห็น

จากส่วนต่าง ๆ ก่อนที่รัฐบาลจะออกคำสั่ง ส่วนการกระจายอำนาจการแต่งตั้งในแต่ละสถานีตำรวจนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะทำงานปฏิรูปองค์กรตำรวจว่าจะมีแนวทางการดำเนินการ

อย่างไร โดยมองว่าการกระจายอำนาจไม่เป็นการลดทอนอำนาจการตัดสินใจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ แต่อย่างใด

/////////////
ปมทุจริต

"วัฒนา" โพสต์เฟซบุ๊ก เรียกร้องทุกฝ่ายตรวจสอบปมโรลส์รอยซ์อย่างจริงจัง พร้อมนำข้อมูลทั้งหมดมาเปิดเผย - ไม่เลือกปฏิบัติ

นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Watana Muangsook" ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความฉุนเฉียวรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

ที่เสนอให้รัฐบาลรับเป็นเจ้าภาพตรวจสอบปมสินบนที่สำนักงานปราบปรามการทุจริตของอังกฤษ (SFO) ออกมาเปิดเผยว่า โรลส์ - รอยซ์ ติดสินบนเจ้าหน้าที่ในการขายเครื่องยนต์ให้การบินไทย

ระหว่างปี พ.ศ. 2534- 2548 ทั้งที่ พล.อ.ประยุทธ์ มีอำนาจหน้าที่โดยตรง เพราะเป็นประธานคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานและติดตามผลการ

ดำเนินร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยสินบนถูกจ่ายเพื่อให้การบินไทยซื้อเครื่องยนต์โรลส์ - รอยซ์ จึงเป็นเรื่องทางเทคนิคที่อาจมีนักการเมืองเกี่ยวข้องด้วยน้อย ส่วนที่พอจะโยงถึงพรรค

ไทยรักไทยได้ คือ การจ่ายในปี 2547 เพราะสองครั้งแรกเป็นรัฐบาลอื่นและยังมีคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เกี่ยวข้อง หากรับเป็นเจ้าภาพอาจกระทบพวกเดียวกันและต้องเปิดเผย

ข้อมูลที่ได้มา แต่หากปล่อยให้ ป.ป.ช. รับผิดชอบจะสามารถควบคุมข้อมูลได้ เพราะถือเป็นความลับในสำนวนการสอบสวน

ทั้งนี้ นายวัฒนา กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายจริงจังกับการตรวจสอบและนำข้อมูลทั้งหมดมาเปิดเผย ไม่เลือกปฏิบัติหรือปล่อยให้เงียบหาย ส่วนถ้ามีนักการเมืองเกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลที่

จะต้องรับผิดชอบกันเอง แต่สิ่งที่ภาครัฐแสดงออกไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธความรับผิดชอบของนายกฯ หรือการที่ ป.ป.ช. จะขอข้อมูลเฉพาะการจ่ายสินบนครั้งสุดท้าย คือ การเลือกปฏิบัติ เพราะ

ข้อมูลการจ่ายสินบนทุกครั้งจะทราบถึงผู้เกี่ยวข้องและใช้ป้องกันเหตุในอนาคตได้ การปราบปรามการทุจริตเป็นเพียงผลงานเดียวที่เหลืออยู่ อย่าให้เป็นเพียงวาทกรรมสร้างภาพที่เลือกปฏิบัติ

ประเทศชาติเสียหายเพราะการยึดอำนาจมากพอแล้ว
----------
เลขาฯ สภา ยัน ไร้ทุจริตกล้องซีซีทีวี ชี้ สื่อเสนอรายชื่อไม่ตรง 10 บริษัทยื่นประมูล ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการถูกต้อง 

นายสรศักดิ์ เพียรเวช เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีการจัดซื้อกล้องวงจรปิดภายในรัฐสภา ว่า จากการตรวจสอบไม่พบการทุจริต เนื่องจากชื่อบริษัทที่สื่อนำเสนอไม่ตรงกับ 10 บริษัท ที่

ยื่นซองประมูล พร้อมยืนยันเป็นไปตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างอย่างถูกต้อง โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้สั่งตั้งกรรมการ

มาสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งได้ส่งชื่อกรรมการไปแล้ว แต่ยังไม่มีคำสั่งใด ๆ ลงมาเพิ่มเติม ส่วนระบบวงจรปิดของรับสภาแห่งใหม่ ยังไม่ถึงขั้นตอนที่จะจัดเตรียม เพราะต้องให้ระบบโครงสร้างอาคาร

แล้วเสร็จก่อน เพราะเป็นหน้าที่ฝ่ายไอซีทีของรัฐสภา
///////////////
เคลื่อนไหวกองทัพ

พล.อ.ประวิตร นำคณะ ตรวจความพร้อมโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ ที่นครราชสีมา ยืนยันไม่มีความลับ ขออย่าคิดมาก

บรรยากาศที่ฝูงเครื่องบินกรมการบิน กรมการขนส่งทหารบก (ขส.ทบ.) พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พล.อ.อุดมเดช

สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล ปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ผู้บัญชาการทหารบก เดินทางตรวจความพร้อมโรงงานซ่อมสร้าง

ยุทโธปกรณ์ ที่ กรมสรรพาวุธ ทหารบก จ.นครราชสีมา

ทั้งนี้ ก่อนออกเดินทาง พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า เป็นการเตรียมการความร่วมมือของ 4 เหล่าทัพ และกองบัญชาการกองทัพบก ในการพัฒนาคุณภาพยุทโธปกรณ์ภายในประเทศเอง โดยจะร่วมมือกับ

ประเทศที่ประเทศไทยเคยซื้ออาวุธด้วย เช่น จีน และยูเครน

อย่างไรก็ตาม พล.อ.ประวิตร ยืนยันว่า การก่อตั้งโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์นี้ ไม่มีความลับใด ๆ ขออย่าคิดมาก
///////////
ทหาร มีไว้ทำไม....

(31/1/60)นายกฯร่วมบริจาค ซื้อดอกป๊อปปี้ วันทหารผ่านศึก 3 กพ....คุณหญิงแสงเดือน ณ นคร มาเองที่ทำเนียบฯ ครม.ติดดอกป้อปปี้ นั่งประชุมวันนี้‬ มีน้องๆ นักเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริ

ยาธิราช ชั้นปี3 มาจำหน่ายดอกป้อปปี้
นายกฯถาม"มีทหารไว้ทำไม" ตอบมีไว้ใช้งาน น้ำท่วม ฝนแล้ง วาตภัย แยกแยะคนไม่ดี อย่าเหมารวม ทำองค์กรเสียหาย ขรก.คนไหนไม่ดี ก็สอบสวน แยกแยะ
ถาม"ตำรวจ"มีไว้ทำไม "มีไว้โกงหรือ?" แล้วที่จับคดีได้ล่ะ‬ ทำบ้านเมืองสงบ ตีองแยก 2 อย่าง อย่าเหมารวม ใครทำผิดกม. ก็ต้องเข้ากระบวนการยุติธรรม แต่ถ้ารู้สึกผิด guilty ก็ต้องปรับปรุงแก้ไขตน

เอง ถามมีใครไม่เคยทำผิดบ้าง

อย่าถอยหลังเข้าคลอง -บทนำไทยรัฐ

องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนคัดค้านมาอย่างต่อเนื่อง เรื่องการออกกฎหมายครอบงำและลิดรอนเสรีภาพสื่อ แต่ดูเหมือนจะไม่ได้รับความสนใจ คณะกรรมาธิการของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ยังคงเดินหน้าผลักดันต่อไป วงการสื่อจึงต้องระดม 30 องค์กรวิชาชีพออกมาคัดค้าน และประกาศว่าจะยกระดับมาตรการคัดค้านจนถึงที่สุด หากไม่มีใครไยดี

แถลงการณ์ของ 30 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนระบุว่า ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชนของคณะกรรมาธิการ สปท. ไม่ได้อยู่บนหลักการคุ้มครองเสรีภาพ สื่อ แต่เน้นการควบคุมสื่อ โดยใช้อำนาจรัฐแทรกแซงในการทำหน้าที่โดยอิสระของสื่อ ไม่สอดคล้องกับร่างรัฐธรรมนูญ ที่ให้สื่อกำกับดูแลกันเองโดยอิสระ

ผู้นำในการคัดค้านวิจารณ์ว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ ไม่ใช่การปฏิรูปสื่อ แต่เป็นการถอยหลังเข้าคลอง มีปลัดกระทรวงถึง 4 คน เป็นกรรมการในสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ มีอำนาจออกใบอนุญาตและถอนใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพ อันอาจทำให้สื่อตกอยู่ใต้อิทธิพลทางการเมือง เนื่องจากปลัดกระทรวงมาจากการแต่งตั้ง ของนักการเมือง

ระบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับสื่ออาจแบ่งได้เป็น 2 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่ ระบบอิสรภาพนิยม ซึ่งถือว่าสื่อมวลชนมีเสรีภาพตามหลักประชาธิปไตยเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป อีกระบบหนึ่งคือ “อำนาจนิยม” มองว่าประชาชนทั่วไปรวมทั้งสื่อไม่รู้เรื่องรู้ราวเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของรัฐ จึงต้องควบคุมการเผยแพร่ข่าวและความคิดเห็น ด้วยมาตรการต่างๆ

มาตรการควบคุมสื่อยอดนิยมในยุคเผด็จการ คือการออกและถอนใบอนุญาตของผู้ดำเนินกิจการสื่อ การตรวจข่าวหรือข้อความก่อนนำออกเผยแพร่ หรือเซ็นเซอร์ การฟ้องต่อศาลยุติธรรมในข้อหาอาญา รวมทั้งยุยงให้ประชาชนกระด้าง กระเดื่อง จนถึงล้มรัฐบาล การออกกฎหมายพิเศษ เช่น คำสั่ง ปร.ที่ 42 ของไทย และการใช้สื่อเป็นกระบอกเสียงรัฐบาล

ขณะนี้ สมาชิกสภาที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. นอกจากจะพยายามจะออกกฎหมายสภาวิชาชีพสื่อแล้ว ยังอาจจะแก้ไข พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ซึ่งออกมาในช่วงรัฐบาลที่มาจากเลือกตั้ง และถอยหลังกลับไปใช้หลักการของ พ.ร.บ.การพิมพ์ 2484 ที่เป็นกฎหมายอำนาจนิยมเต็มตัว นัยว่า แนวความคิดแบบนี้มาจากสมาชิกที่มาจากวงการตำรวจ

ขอเตือนความจำว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และนายกรัฐมนตรี เคยประกาศหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง จะวางรากฐานการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งด้านการเมือง เพื่อนำประเทศสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่แท้ และยั่งยืน รากฐานที่แท้ของประชาธิปไตยส่วนหนึ่ง คือหลักอิสรภาพนิยม ประชาชนและสื่อมีเสรีภาพในการข่าวและแสดงความคิดเห็น.

สลัด‘ระแวง’ไม่หลุด

เพื่อความเป็นธรรม ในมุมที่ได้จากการสัมผัสจริง ไม่ได้ “มโน”

อย่างน้อยก็เป็นช็อตเบื้องหลังที่มีการเดินสายพูดคุยวงนอกวงในหลายๆเวที โดยความตั้งใจที่สะท้อนผ่านท่าทีของ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯและ รมว.กลาโหม

จะใส่ใจกับรายละเอียดปรองดองรอบนี้มากเป็นพิเศษ

แม้แต่บทสัมภาษณ์แบบคำต่อคำที่ออกสื่อ เจ้าตัวจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้มีถ้อยคำแรงๆลักษณะเสียดแทงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดออกจากปากตัวเอง

อันจะก่อให้เกิดแรงเสียดทาน กระตุกอารมณ์เขม่นจากหัวขั้วขัดแย้งต่างๆ

สร้างบรรยากาศเข้าโหมดปรองดองเต็มที่

อุตส่าห์กลั้นใจลุ้นซะขนาดนี้ มันก็ไม่แปลกที่ “พี่ใหญ่” จะหลุดอาการหงุดหงิด ในจังหวะบอกปัดปมร้อน “รัฐบาลแห่งชาติ” กระแสข่าวการส่งนายหน้าไปเปิดดีลกับพรรคการเมือง

ตามสูตร “ฮั้ว” ปรองดองแบบขอไปที

ซัดพวกมโนเขียนข่าว อย่าทำให้คนทำงานปรองดองต้องเสียกำลังใจ

เรื่องของเรื่อง โดยพื้นฐานจากความไม่ไว้วางใจในฟอร์มของ “พี่ใหญ่” ผู้กว้างขวาง

ครบเครื่องทั้งเบื้องหน้าเบื้องหลัง

แทนที่จะเป็นผลบวกกับงานสานสัมพันธ์ มันกลับกลายเป็นเงื่อนไขที่ขัดกับบท “คนกลาง” ของ พล.อ.ประวิตร ที่หวังจะสร้างผลงานประวัติศาสตร์ เป็นเครดิตก่อนลงหลังเสือ

โดนตั้งแง่ เตะตัดขา เจาะยางตั้งแต่เริ่มต้นออกตัว

และประเมินตามรูปการณ์ หยั่งแรงเสียดทานการนั่งเป็นคนกลางปรองดองของ พล.อ.ประวิตร หนักสุดก็เกิดจากขั้วอำนาจฝ่ายต้าน “ทักษิณ” นั่นเอง ที่พยายามตีกัน

ตามอาการระแวง “พี่ใหญ่” จะเดินหมากปรองดองไปเข้าทางฝ่าย “นายใหญ่”

ภายใต้เงื่อนสถานการณ์แบบที่มีข้อมูลกระเส็นกระสายมาเป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็นการต่อสายกับ “นายหญิง” บ้านจันทร์ส่องหล้า หรือการประสานผ่านเจ้าแม่เมืองหลวงอย่าง “เจ๊หน่อย” คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำพรรคเพื่อไทย

“บิ๊กป้อม” ถูกโยงติดอยู่กับฝ่าย “ทักษิณ” ตัดใยไม่ขาด

ไม่ว่าจะออกตัวแก้ต่างว่าสนิทกับทุกฝ่ายยังไง หรือเทียบกันด้วยสายตาคนนอก “พี่ใหญ่” น่าจะสนิทกับฝ่าย “ลุงกำนัน” นายสุเทพ เทือกสุบรรณ หัวขั้ว กปปส. มากกว่าด้วยซ้ำ

เพราะร่วมตั้งรัฐบาลในค่ายทหารด้วยกันมา

สรุปกลายเป็นว่า “บิ๊กป้อม” โดนระแวงจากทุกค่าย

และก็ตามฟอร์มพระเอกอย่าง “นายกฯลุงตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช. ได้เสียงเชียร์ให้คุมวงปรองดองด้วยตัวเอง

เพราะได้รับความไว้วางใจ จะไม่เข้าใครออกใคร

โดยเฉพาะจากบทที่แสดงออกถึงความเกลียดกลัวนักการเมืองเข้าไส้

แต่นั่นก็เป็นอะไรที่เดาทางได้ ด้วยสไตล์แบบ “นายกฯลุงตู่” ผู้มาคนเดียว โอกาสจะคุยกับหัวขั้วขัดแย้งในเรื่องปรองดอง น่าจะเป็นงานยาก

ที่แน่ๆจากสถานการณ์ที่ไม่ได้มีพัฒนาการคืบหน้าไปไหนเลย

พรรคประชาธิปัตย์ยัง “แผ่นเสียงตกร่อง” ปรองดองต้องไม่นิรโทษกรรม

พรรคเพื่อไทยก็รำอยู่กับมุกเก่า ปรองดองต้องเคลียร์ 2 มาตรฐาน

ขณะที่ล่าสุดนักวิชาการนำทีมโดยนายอนุสรณ์ อุณโน คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำคณาจารย์นับสิบคน เข้ายื่นหนังสือเปิดผนึกต่อประธานศาลฎีกา พร้อมรายชื่อนักวิชาการและนักศึกษาทั่วประเทศ 350 กว่ารายชื่อ

เพื่อขอให้ประธานศาลฎีกาและผู้พิพากษาทั่วประเทศพิจารณาเรื่องความเสื่อมถอยของระบบนิติรัฐและการละเมิดสิทธิ

สืบเนื่องจากกรณีนายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ “ไผ่ ดาวดิน” ผู้ต้องหากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไม่ได้รับการประกันตัวในชั้นสอบสวน หลังยื่นประกันตัวมาแล้ว 5 ครั้ง

เงื่อนไขความขัดแย้งยังวนเป็นวัวพันหลัก แถมมีแต่จะขยายวงลงลึก

ณ ห้วงนี้ยังนึกภาพ มโนฉากการจับมือปรองดองไม่ออกเลย.

ทีมข่าวการเมือง

"เวิร์คช้อป เพื่ออนาคต"

"เวิร์คช้อป เพื่ออนาคต"
นายกฯ กลัวเหนื่อยเปล่า ทำกันแทบแย่ แต่ประชาชนไม่เข้าใจ สังคมไม่เข้าใจ งานแม่น้ำ5สาย แล้วก็จะขัดแย้งไปทุกเรื่อง เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำ หรือเคยทำไม่ได้ ขอปีนี้ เร่งสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ /ชี้เวิร์คช้อป เพื่ออนาคต
ก่อนการประชุม เวิร์คช็อป ขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ นายกฯและหัวหน้า คสช. กล่าวว่า การประชุมวันนี้ เป็นการประชุมเพื่ออนาคต เพื่อการปฏิรูปประเทศไปข้างหน้า
พรัอมเผยว่า เมื่อสักครู่ได้หารือกับคณะทำงาน ประธาน สนช. ประธาน สปท.แล้ว ว่าจะเดินหน้ากันอย่างไร เบื้องต้นจึงอยากเริ่มด้วยการรับฟังว่า แนวความคิดต่าง ๆ ในการทำงาน และการปฏิรูปประเทศ ที่จะทำให้ประเทศมั่นคง มั่งคั่ง อย่างยั่งยืนนั้นต้องทำอย่างไร ทั้งการแก้ปัญหาที่ผ่านมา งานที่ทำในปัจจุบัน และการวางรากฐานในอนาคต ซึ่งเป็นการปฏิรูปประเทศ
สิ่งสำคัญอีกอย่าง คือ วันนี้ประชาชนยังไม่เข้าใจ ว่าอะไรคือการปฏิรูป หรือ อะไรคือการแก้ปัญหา เช่นปัญหาเร่งด่วน ปัญหาบรรเทาความเดือดร้อน ที่ดินทำกินเหล่านี้ ที่เป็นเพียงปัญหารายชิ้น แต่การแก้ปัญหาเชิงบูรณาการ ที่ประกอบไปด้วยการบริหาราชการแผ่นดินเชิงรุก การมีวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน
อีกทั้งการออกกฎหมาย เพื่อทำการปฏิรูปให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้โดยเร็วในระยะเวลาที่กำหนดไว้ทั้งหมด คือ 20 ปี ข้างหน้า
แต่สิ่งที่ ให้ความสำคัญขณะนี้ คือ 1 ปีจากนี้ ในปี 2560 จะต้องรวบรวม ข้อมูลพื้นฐานทั้งหมด ไม่ว่าจะจากรัฐบาล คสช. สปท. กรธ. ทั้งกฎหมาย รัฐธรรมนูญ และ กฎหมายลูก ในกิจกรรมทั้งหมดของแม่น้ำ ทั้ง 5 สาย เพื่อนำมาคลี่ แล้วสร้างการรับรู้ว่าของเดิมทำอะไร เพราะประชาชนยังไม่เข้าใจ
เพราะประชาชนมองเพียงว่า การรับรู้ คือการที่จะมีรายได้สูงขึ้น โดยไม่ได้เข้าใจภาพรวมทั้งหมด ดังนั้นในการทำงานของพวกเรา ที่ตั้งขึ้นมา 4 คณะ ในความมุ่งหมาย ของนายกรัฐมนตรีคือ เพื่อต้องการสร้างความชัดเจนกับสังคม เพราะกลัวว่าเราจะเหนื่อยเปล่า ถ้าสังคมไม่เข้าใจ แล้วก็จะขัดแย้งไปทุกเรื่อง เพราะทุกเรื่องเป็นสิ่งที่ไม่เคยทำ หรือทำแล้ว ทำไม่ได้

กอ.รมน.เรียกประชุม ผู้ว่าฯ77จังหวัด ฝ่ายทหาร ปรับแผนการทำงาน บูรณาการความมั่นคง

กอ.รมน.เรียกประชุม ผู้ว่าฯ77จังหวัด ฝ่ายทหาร ปรับแผนการทำงาน บูรณาการความมั่นคง ตามแผน ยุทธศาสตร์ กอ.รมน.5ปี
บิ๊กต้อ พล.อ.สสิน ทองภักดี เสธ.ทบ./เลขาธิการ กอ.รมน. และ นาย ประยูร รัตนเสนีย์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าและชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติของ กอ.รมน.จังหวัดเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ ที่ อาคารรื่นฤดี กอ.รมน.

โดยมี รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้รับผิดชอบงานด้านความมั่นคง และ รอง ผอ.รมน.จังหวัด(ทหาร) จาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวมไปถึงผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสิ้น 200 คน ร่วมประชุม
พ.อ.พีรวัชฌ์ แสงทอง โฆษก กอ.รมน. ได้เปิดเผยว่า การประชุมในครั้งนี้ เพื่อติดตามความคืบหน้า และชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติของ กอ.รมน.จังหวัด รวมไปถึงการบูรณาการการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ กอ.รมน. พ.ศ.2560 - 2564
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ มีขอบเขตพื้นที่ดำเนินการครอบคลุม ทั้ง 76 จังหวัด(เว้น กทม.) โดยแบ่งเป็น 32 จังหวัดชั้นใน, 32 จังหวัดชายแดน และ 22 จังหวัดชายฝั่งทะเล ยกเว้น กทม. ในการขับเคลื่อนฯจะพิจารณาพื้นที่ที่มีปัญหาด้านความมั่นคงในทุกมิติ และจัดทำแผนงานด้านความมั่นคงให้สามารถบรรจุเข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัด ในกรณีที่พื้นที่ใดที่มีปัญหาที่ซับซ้อนหลากหลายมิติหรือครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัด ให้จังหวัดได้จัดทำแผนงาน/โครงการเสนอไปยังหรือร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาเพื่อความมั่นคงในระดับพื้นที่(พมพ.)ในเขต กองทัพภาค กองเรือภาค หรือกองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรี-ตราด ซึ่งจะเป็นการขับเคลื่อนงานด้านความมั่นคงไปพร้อมๆกันทั้ง 76 จังหวัด
เลขาฯ กอ.รมน. และ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้เน้นย้ำให้ทุกจังหวัดได้ตรวจสอบสภาพแวดล้อม ปัญหาความมั่นคงในพื้นที่ และจัดทำแผนการปฏิบัติรองรับอย่างบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหา
รวมถึงให้ความสำคัญในการชี้แจงข้อมูลข่าวสารต่างๆให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบอย่างถูกต้องและทันเวลาเพื่อสร้างความเข้มแข็งและองค์ความรู้ต่างๆให้กับประชาชน

ทำนายไทยเสี่ยงรัฐประหารปี60

ทั่วโลก พบไทยขึ้นอันดับสองในกลุ่มท็อปเทนกลุ่มเสี่ยงเกิดการยึดอำนาจในปี 2560 ขณะอีกเก้าประเทศล้วนเป็นชาติแอฟริกัน-ตะวันออกกลาง

 

เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ เผยแพร่บทวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดรัฐประหารใน 161 ประเทศ ชี้ว่า ประเทศไทยมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการยึดอำนาจในปี 2560 โดยมีความน่าจะเป็นอยู่ในอันดับที่สองของโลก รองจากบุรุนดี

 

 

บทวิเคราะห์ซึ่งเผยแพร่เมื่อ 31 มกราคม แสดงให้เห็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงสุด 30 อันดับแรก โดยสิบอันดับแรกสุดเป็นประเทศในแอฟริกาและตะวันออกกลางทั้งหมดยกเว้นไทย เรียงตามลำดับคือ บุรุนดี ไทย สาธารณรัฐแอฟริกากลาง ชาด ตุรกี ซีเรีย ซูดาน กินี-บิสเชา แกมเบีย และไลบีเรีย

 

แอนเดรียส บีการ์ นักสถิติของบริษัทวิจัย Ward Associates กับไมเคิล ดี. วอร์ด อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยดุกในมลรัฐนอร์ทแคโรไลนา ผู้ก่อตั้งบริษัทวิจัยดังกล่าว บอกว่า ผลการทำนายดังกล่าวมาจากแบบจำลองทางสถิติซึ่งวิเคราะห์แบบแผนของความพยายามก่อรัฐประหารในอดีต โดยใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2503-2560

 

 

ผู้เขียนทั้งสองอธิบายว่า เครื่องมือทำนายการยึดอำนาจดังกล่าวอาศัยข้อมูลตัวแปรหลายอย่าง เช่น ผู้นำคนปัจจุบันครองอำนาจมาแล้วยาวนานแค่ไหน มาจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ลักษณะการปกครองเป็นแบบใด รวมถึงดูอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจ จำนวนประชากร อัตราการตายของทารก เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยเฉพาะการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และการเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือ.

 

Source: Washington Post