PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

คำสั่งหน.คสช.ที่10/58 ตั้ง'ศูนย์บัญชาการแก้ประมงผิดก.ม.'

คำสั่งหน.คสช.ที่10/58 ตั้ง'ศูนย์บัญชาการแก้ประมงผิดก.ม.'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

บังคับใช้แล้ว! "ประยุทธ์" ออกคำสั่งหน.คสช.ที่10/58 ใช้ม.44 ตั้ง "ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย"
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ (29เม.ย.) คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๘ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม
จากการที่ประเทศไทยได้รับการประกาศเตือนจากสหภาพยุโรปถึงการจัดให้มีมาตรการในการป้องกันยับยั้ง และขจัดการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing : IUU Fishing) ซึ่งหากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังโดยเร่งด่วนภายในหกเดือน อาจมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าสัตว์น้ําของประเทศไทยในอนาคตและความมั่นคงของประเทศไทยในภาพรวม
ดังนั้น เพื่อให้สามารถเร่งดําเนินการแก้ปัญหาให้การทําการประมงสามารถดําเนินการได้อย่างยั่งยืนและเป็นระบบ และยกระดับมาตรฐานการประมงของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการประมง อุตสาหกรรมต่อเนื่องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หากมิได้มีการป้องกันและแก้ไขโดยเร่งด่วน จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เพื่อดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้จัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย” (Command Center for Combating Illegal Fishing) เรียกโดยย่อว่า ศปมผ. (CCCIF) เป็นศูนย์เฉพาะกิจ ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย (ผบ.ศปมผ.) และทั้งนี้ ให้ ศปมผ. เริ่มปฏิบัติการตามคําสั่งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ข้อ ๒ ศปมผ. มีโครงสร้างการปฏิบัติการดังต่อไปนี้
(๑) ให้คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทําประมงผิดกฎหมายซึ่งจัดตั้งขึ้นตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๕๒/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๘ทําหน้าที่กําหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในระดับรัฐบาล
(๒) ให้กองทัพเรือ และศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ซึ่งจัดตั้งโดยมติสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ทําหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของ ศปมผ. ในการปฏิบัติการทางทะเลและชายฝั่ง และปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๓) ให้มีศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า - ออก (Port In - Port Out Controlling Center) และศูนย์ให้บริการและอํานวยความสะดวกแก่เรือประมงแบบเบ็ดเสร็จ (Fishing One Stop Service) ประจําในแต่ละจังหวัดชายทะเล ทั้งนี้ ตามที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด
ข้อ ๓ ให้ ศปมผ. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดแนวทางของไทยและจัดทําแผนปฏิบัติการแห่งชาติในการแก้ปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Thailand’s National Plan of Action to Prevent, Deter and Eliminate IUU Fishing, NPOA - IUU) ตลอดจนกํากับดูแลการปฏิบัติ ให้เป็นไปตามแผนนั้น รวมถึงดําเนินงานทําความเข้าใจกับสหภาพยุโรป
(๒) ควบคุม สั่งการ กํากับดูแล และประสานการปฏิบัติการทั้งปวงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สํานักงานตํารวจแห่งชาติและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม
(๓) พิจารณาเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งพัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมายให้เป็นมาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันการทําการประมงที่ผิดกฎหมายและบทลงโทษที่เหมาะสม
(๔) กําหนดโครงสร้างและอัตรากําลังของ ศปมผ. โดยในโครงสร้างนี้ต้องกําหนดให้มีศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า - ออก รวมถึงศูนย์ให้บริการและอํานวยความสะดวกแก่เรือประมงแบบเบ็ดเสร็จประจําในแต่ละจังหวัดชายทะเล
(๕) แต่งต้ังเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติงานใน ศปมผ. จากข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม
(๖) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทํางาน เพื่อดูแลรับผิดชอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะได้ตามความเหมาะสม
(๗) เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ หรือภาคเอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อร่วมประชุมแนวทางการดําเนินงาน ประสานการปฏิบัติและติดตามผลการดําเนินงานตามความเหมาะสม
(๘) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งยกระดับความร่วมมือกับประเทศที่สามโดยเฉพาะประเทศที่เรือที่ชักธงไทยเข้าไปทําการจับปลาในน่านน้ําของประเทศนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ
(๙) รายงานผลการปฏิบัติให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบอย่างต่อเนื่องจนกว่าสหภาพยุโรปได้ยกเลิกประกาศเตือนประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่ไม่มีมาตรการอย่างเพียงพอในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทําประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม
(๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
ข้อ ๔ ให้ ศรชล. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นใน ศรชล. ประกอบด้วยกําลังทั้งเรือ อากาศยาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ ใน ศรชล. ปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่เพื่อบังคับใช้กฎหมายในทะเลและควบคุมการปฏิบัติต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดโดยเร็วที่สุด
(๒) ควบคุมและสั่งการหน่วยงานที่มาปฏิบัติการภายใต้ ศรชล.
(๓) บูรณาการข้อมูลข่าวสารทางทะเลที่เกี่ยวข้อง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเล
(๔) จัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ประจําในศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางทะเล (ศขท.)จากหน่วยงานต่าง ๆ ใน ศรชล. ปฏิบัติหน้าที่เฝ้าติดตาม พิสูจน์ทราบ และตรวจสอบพฤติกรรมการทําประมงผิดกฎหมายของเรือประมง โดยปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์ติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง(Monitoring Control and Surveillance Center : MCS) ด้วย เพื่อให้ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability System) มีความครบถ้วนสมบูรณ์โดยเร็วที่สุด
(๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่ ศปมผ. มอบหมาย
ข้อ ๕ ให้สํานักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับ ศปมผ. และ ศรชล.เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน โดยเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบของทางราชการ
ข้อ ๖ ให้เจ้าของหรือผู้ประกอบการเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ําทุกชนิดที่ใช้ทําการประมง ขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ําที่ได้จากยานพาหนะทางน้ําทุกชนิดที่ใช้ทําการประมง ที่มีขนาดตั้งแต่ ๓๐ ตันกรอสส์ขึ้นไป หรือตามขนาดที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดทําสมุดบันทึกการทําการประมง ตามรูปแบบ ระยะเวลา และวิธีการที่ ศปมผ.ประกาศกําหนด
(๒) ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง (Vessel Monitoring System : VMS) ซึ่งมีมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกําหนดเชิงหน้าที่ (Performance Standards and Functional Requirements) ตามที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด โดยจะต้องติดตั้งให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด
(๓) แจ้งการเข้า - ออก ท่าเทียบเรือทุกครั้ง ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า - ออก ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดเมื่อได้ดําเนินการติดตั้ง VMS แล้ว ให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง แจ้งรหัส
การเข้าถึงระบบการติดตามเรือ (Access Code) ให้ ศปมผ. ทราบ และต้องเปิดเครื่องไว้ตลอดเวลาขณะอยู่ในทะเล เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามตําบลที่เรือได้ ในกรณีที่อุปกรณ์ดังกล่าวขัดข้องหรือไม่สามารถส่งตําบลที่เรือได้ด้วยประการใด ๆ ให้ปฏิบัติตามแนวทางที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดเจ้าของหรือผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเข้าระบบเพื่อตรวจสอบจุดพิกัดของเรือ
ข้อ ๗ ให้นายทะเบียนเรือตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยมีคําสั่งเพิกถอนทะเบียนเรือไทยสําหรับการประมงหรือเรืออ่ืนตามที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด และจําหน่ายทะเบียนเรือออกจากสมุดทะเบียนในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย พุทธศักราช ๒๔๘๑
(๒) เจ้าของเรือแสดงความประสงค์เป็นหนังสือขอเลิกใช้ทะเบียนเรือไทยต่อนายทะเบียนเรือ
(๓) เรือไทยที่ได้จดทะเบียนแล้วแต่ไม่ได้รับใบอนุญาตใช้เรือ หรือใบอนุญาตใช้เรือสิ้นอายุเป็นเวลาต่อเนื่องกันตั้งแต่สามปีขึ้นไป เมื่อได้มีคําสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนเรือแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของเรือส่งคืนใบทะเบียนเรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสอจากนายทะเบ ื ียนเรือ
ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหาการทําประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ห้ามมิให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเรือประมงยินยอมให้บุคคลใด ๆ กระทําการดังต่อไปนี้ในเรือประมงของตน
(๑) ครอบครองเครื่องมือทําการประมงที่ไม่ได้รับอนุญาตในเรือประมง
(๒) นําเรือประมงซึ่งมีเครื่องมือทําการประมงท่ีไม่ถูกต้องตรงกับเครื่องมือที่ได้รับอาชญาบัตรหรือไม่ได้รับอาชญาบัตรหรือเครื่องมือทําการประมง ออกจากท่าเทียบเรือไปทําการประมง
(๓) นําเรือประมงซึ่งปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ําไทยกฎหมายว่าด้วยเรือไทย กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองออกจากท่าเทยบเร ี ือจนกว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านั้นให้ครบถ้วน
ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เรือประมงออกไปทําการประมงในน่านน้ําของรัฐต่างประเทศและในทะเลหลวง หรือนําเรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ออกไปน่านน้ําต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ศปมผ. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ศปมผ. อาจมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้อนุญาตแทนได้
ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เรือประมงออกไปทําการประมงในน่านน้ําของรัฐต่างประเทศและในทะเลหลวงโดยฝ่าฝืนกฎข้อบังคับด้านการประมงของรัฐชายฝั่งที่เข้าไปทําการประมงหรือขององค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาค
ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะนําเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ําทุกชนิดทุกขนาดที่ใช้ทําการประมง ขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ําที่ได้จากยานพาหนะทางน้ําทุกชนิดที่ใช้ทําการประมง ออกนอกน่านน้ําไทยหรือเดินทางมาจากน่านน้ําต่างประเทศหรือทะเลหลวงเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องออกจากท่าเรือหรือเข้าจอดเรือ ณ ท่าเรือหรือแพปลาที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด
ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ผู้ใดนําเรือประมงต่างประเทศ หรือเรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็นที่อยู่ในบัญชีเรือที่ห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด เข้ามาเทียบท่าในราชอาณาจักร

ข้อ ๑๓ เจ้าของท่าเรือและเจ้าของแพปลาในทุกจังหวัดชายทะเล รวมถึงตามเกาะแก่งต่าง ๆ ต้องจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ําทุกชนิดทุกขนาดที่ใช้ทําการประมง ขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ําที่ได้จากยานพาหนะทางน้ําทุกชนิดท่ใชี ้ทําการประมงทุกลําที่เข้าใช้บริการจอดเรือหรือขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ําเก็บไว้เพื่อการตรวจสอบในกรณีเรือตามวรรคหนึ่ง เป็นเรือที่ต้องปฏิบัติตามข้อ ๑๑ เจ้าของเรือและเจ้าของแพปลาต้องดําเนินการรวบรวมและจัดส่งรายงานการเข้า - ออกเรือ มาที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า - ออกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดรายงานตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดให้ครอบคลุมกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองเรือปฏิเสธแจ้งการเข้า - ออก ซึ่งเจ้าของท่าเทียบเรือหรือเจ้าของแพปลาจะต้องทําหน้าที่รายงานฝ่ายเดียว
ข้อ ๑๔ ให้ ศปมผ. และ ศรชล. แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามคําสั่งนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งมีอํานาจขึ้นตรวจสอบเรือ หรือกักเรือทุกลําที่กระทําความผิดตามที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้ กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ําไทย กฎหมายว่าด้วยเรือไทยกฎหมายว่าด้วยการประมง กฎหมายว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประมงและการเดินเรือในการขึ้นตรวจสอบเรือตามข้อ ๑๒ หากมีเหตุสงสัยว่าเรือดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งห้ามการขนถ่ายสัตว์น้ํา
หรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ําขึ้นจากเรือ และในกรณีที่เป็นเรือประมงต่างประเทศจะสั่งให้นําเรือออกไปจากราชอาณาจักรก็ได้ และให้ ศปมผ. แจ้งให้รัฐเจ้าของธงและองค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาคเพื่อดําเนินการต่อไป
ข้อ ๑๕ พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ ศปมผ. และ ศรชล. ที่กระทําการไปตามอํานาจหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจําเป็น ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทําผิดกฎหมายแต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าท่ี
ข้อ ๑๖ ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในการป้องกันปราบปรามผู้กระทําผิดด้านการทําประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมและปฏิบัติตามแผน NPOA - IUU อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องเร่งดําเนินการในเรื่องการจดทะเบียนเรือประมง การออกใบอนุญาตใช้เรือ การต่อใบอนุญาตใช้เรือ การออกอาชญาบัตรและใบอนุญาตทําการประมงและเอกสารทางราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทําผิด
ข้อ ๑๗ เพื่อให้การปฏิบัติตามคําสั่งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ ศปมผ.และเจ้าหน้าที่ ศรชล. ได้สั่งการให้ส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งในการปฏิบัติตามคําสั่งนี้ แต่ส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเพิกเฉยหรือละเลยไม่กระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามคําสั่งของเจ้าหน้าที่ตามคําสั่งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ ศปมผ.หรือเจ้าหน้าที่ ศรชล. รายงานพฤติกรรมดังกล่าวไปยัง ผบ.ศปมผ. และ ผบ.ศปมผ. มีอํานาจสั่งย้ายหัวหน้าส่วนราชการแห่งนั้นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นออกจากพื้นที่รับผิดชอบได้ทันที และให้แจ้งรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่หัวหน้าส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดทราบพร้อมด้วยเหตุผลในการนี้ ให้รัฐมนตรีหรือหัวหน้าส่วนราชการดําเนินการเพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นพ้นจากตําแหน่งหน้าที่ หรือพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยเร็ว และในกรณีที่มีมูลความผิดทางวินัย
ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุของหัวหน้าส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นพิจารณาดําเนินการ
ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นต่อไป คําสั่งของ ผบ.ศปมผ. ตามวรรคหนึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาในศาลปกครอง
พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๖ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ข้อ ๑๙ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามสิบล้านบาท
ข้อ ๒๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๗ วรรคสอง และข้อ ๑๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข้อ ๒๑ ผู้ใดกระทําความผิดตามที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้ ถ้าได้กระทําความผิดนั้นซ้ําอีกต้องระวางโทษเป็นทวีคูณ
ข้อ ๒๒ ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ประกอบการเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็นตลอดจนยานพาหนะทางน้ําทุกชนิดที่ใช้ทําการประมง ขนถ่าย หรือเก็บรักษาสัตว์น้ําที่ได้จากยานพาหนะทางน้ําทุกชนิด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งนี้ นอกจากจะต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามคําสั่งนี้ ให้ ศปมผ. มีอํานาจสั่งให้มีการยกเลิกเอกสารทางราชการหรือใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้ด้วย โดยห้ามมิให้หน่วยงานที่มีอํานาจออกใบอนุญาตออกเอกสารทางราชการหรือใบอนุญาตให้ใหม่เป็นเวลาหนึ่งปี หรือตามระยะเวลาที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด
ข้อ ๒๓ ประกาศของ ศปมผ. ที่ออกตามคําสั่งนี้ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ทั้งนี้ นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

รธน.ม.181,182 ที่ฝ่ายเดียวกันเองบอกว่าเผด็จการ


"วิษณุ" รับ มาตรา 181-182 ในร่างรธน.อาจเป็นปัญหา
วันพุธที่ 29 เมษายน 2015 เวลา 17:53 น.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอของนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้ตัดมาตรา 181 และ 182 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี เสนอกฎหมายพิเศษ ถ้าไม่มีการอภิปรายไมไว้วางใจให้ถือว่าผ่านความเห็นชอบ และการให้อำนาจนายกรัฐมนตรียื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตัวเองได้ โดยที่ฝ่ายค้านจะไม่สามารถดำเนินการได้ในสมัยประชุมนั้น ออกไป ว่าเป็นความคิดเห็นของท่าน ซึ่งหลายคนก็วิจารณ์ว่ามาตราเหล่านั้นเป็นของใหม่ที่ไม่เคยมี ทั้งนี้ยอมรับว่า มาตราเหล่านี้เป็นของใหม่ที่อาจเป็นปัญหา ทั้งนี้ทางรัฐบาลเตรียมตั้งข้อสังเกตเสนอไปยังกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ถึงขนาดว่าจะให้ตัดออกหรือไม่นั้นตนยังไม่ตัดสินใจ
         
ส่วนการเสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญไปก่อน 5 ปี แล้วค่อยแก้ไขตามที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอนั้น เห็นว่า ประชาชนเริ่มไม่แน่ใจ เพราะการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมาก็พูดแบบนี้ แล้วสุดท้ายจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้รึเปล่าก็ไม่รู้ หรือว่าจะเกิดความเสียหายก่อนครบ 5 ปีหรือไม่ ทั้งนี้มาตราใหม่ที่เขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเข้าใจว่ากรรมาธิการนกร่างฯหวังว่าจะให้มันแก้ปัญหาได้ แต่ต้องเร่งทำความเข้าใจให้มากว่ามาตราแต่ละมาตราที่คิดขึ้นใหม่ มีไว้เพื่อแก้ปัญหาอะไร
       
ส่วนการทำประชามติ    นายวิษณุกล่าวว่า หากมีการทำประชามติจริง ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก่อนวันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ส.ค.นี้
/////////////
ซัดสร้างเผด็จการรัฐสภาเต็มรูปแบบ


นายสมบัติ กล่าวอีกว่า มาตรา 181 และ 182 ซึ่งให้นายกยื่นญัตติไว้วางใจตัวเอง ถ้าไม่ได้รับความไว้วางใจมีอำนาจยุบสภาได้ เป็นการกีดกันไม่ให้ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้จะอ้างว่าเป็นการบล็อกไม่ให้พรรคร่วมรัฐบาลไปร่วมกับฝ่ายค้านก็ไม่สมเหตุผล อีกทั้งเห็นว่ากลไกนี้ไม่เหมาะสม มาตรา 182 ยิ่งน่ากลัวเรื่องการเสนอกฎหมายเร่งด่วนออก พ.ร.ก.ได้ แต่ให้อำนาจพิเศษในการเสนอกฎหมายพิเศษในหนึ่งสมัยประชุม อันตรายมากคล้ายพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะถ้าฝ่ายค้านไม่อภิปรายไม่ไว้วางใจภายใน 48 ชั่วโมงก็ถือว่ากฎหมายผ่าน หรือถ้าผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ถือว่ากฎหมายฉบับนี้ผ่านไปโดยปริยาย แม้จะอ้างว่ามี ส.ว.กลั่นกรองแต่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อประเทศจึงต้องถามว่ากรรมาธิการฯ กำหนดไว้เพื่ออะไร เพราะเป็นการส่งเสริมให้รัฐบาลมีอำนาจเผด็จการ เท่ากับรัฐธรรมนูญรองรับเผด็จการรัฐสภาเต็มร้อย ส่วนการแปรญัตติจะมีผลในทางปฏิบัติหรือไม่ เพราะอำนาจการตัดสินใจเป็นของกรรมาธิการยกร่างฯ นั้น นายสมบัติ ออกตัวว่ายังไม่พูดถึงอนาคตเพราะอาจมีการปรับแก้ไขก็ได้ แต่ถ้ายังดำรงร่างรัฐธรรมนูญเช่นนี้จะเป็นระเบิดเวลาสำหรับประเทศตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นไว้ ซึ่งกรรมาธิการควรจะรับฟังและนำไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจด้วย


“มาร์ค” จวกสร้างเผด็จการรัฐสภา


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงภาพรวมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกตลอด 7 วันที่ผ่านมาว่า ถ้าทางกรรมาธิการยกร่างฯ จะรับฟังเสียงท้วงติงทั้งในและนอกสภาปฏิรูปฯ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะหลายเรื่องเป็นการท้วงติงที่ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้ที่แสดงความเห็น อีกทั้งไม่มีเหตุผลชัดเจนที่ต้องบัญญัติมาตราที่สร้างปัญหา ผมยืนยันต้องเอามาตรา 181 และ 182 ที่ให้อำนาจนายกฯ เสนอกฎหมายพิเศษ ถ้าไม่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจให้ถือว่าผ่านความเห็นชอบ และการให้อำนาจนายกฯ ยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตัวเองได้ โดยที่ฝ่ายค้านจะไม่สามารถดำเนินการได้ในสมัยประชุมนั้น เพราะถือเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างเผด็จการรัฐสภาที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ


โวย คกก.ปรองดองอำนาจล้น


นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงอำนาจของคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดองฯ 15 คนที่จะเกิดขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญว่า การกำหนดอำนาจหน้าที่ใน (6) ที่ระบุว่ากรรมการสามารถอภัยโทษให้กับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หรือสำนึกผิดต่อกรรมการและก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อ ครม. นั้นจะเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงแน่นอน ซึ่งตนไม่เข้าใจว่าเหตุใดกรรมาธิการฯ จึงไม่เรียนรู้จากวิกฤติประเทศที่ผ่านมาว่าประชาชนต่อต้านการนิรโทษกรรมให้กับคนที่ทำผิดร้ายแรง แม้แต่มาตรา 182 ที่ให้นายกฯ เสนอกฎหมายพิเศษได้หนึ่งฉบับต่อหนึ่งสมัยประชุม ก็อาจมีเจตนาเดียวกันคือให้เสนอกฎหมายนิรโทษกรรมได้ แม้จะอ้างว่ากฎหมายดังกล่าวต้องไปผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา ก็ต้องถามว่าทำไมกีดกันเสียงข้างน้อย ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เท่ากับกลายเป็นว่า ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการร่างกฎหมาย มีแต่ฝ่ายบริหารกับ ส.ว.ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกตั้งมีอำนาจในการพิจารณา ผมไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมต้องเขียนไว้แบบนี้ เช่นเดียวกับเรื่องอำนาจพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ เพราะการเขียนรัฐธรรมนูญเช่นนี้นักการเมืองโกงที่บ้าอำนาจจะชอบมาก ไม่ใช่ว่าคนที่ออกมาท้วงติงเสียประโยชน์อย่างที่กล่าวอ้างในขณะนี้


ตือน รธน.ระเบิดเวลาหากไม่แก้


นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรี แสดงความหงุดหงิดต่อข้อเสนอของพรรคการเมืองว่าให้เลื่อนเลือกตั้งเพื่อทำรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยและให้มีการลงประชามติ โดยเห็นว่านักการเมืองไม่มีสิทธิ์มาต่อรองนั้น เบื้องต้นกรรมาธิการฯ ต้องแก้ไขในส่วนที่เป็นปัญหาก่อน เพราะในการอภิปรายกรรมาธิการฯไม่สามารถชี้แจงได้ในหลายประเด็นสำคัญ แต่ตนยังให้เกียรติเพราะกรรมาธิการฯ บอกว่าจะรับฟังและนำไปแก้ไข อย่างไรก็ตามหากไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนและไม่มีการลงประชามติด้วย รัฐธรรมนูญนี้จะกลายเป็นระเบิดเวลาประเทศไทยที่สร้างความขัดแย้งไม่เบาไปกว่าในอดีต และความตั้งใจของ คสช.ในการทำรัฐประหารก็จะสูญเปล่า
/////////////////////
ถึงคุณสลิ่มทั้งหลาย ถ้ามาตรา 181-182 ที่มอบอำนาจล้นฟ้าให้กับ นายกรัฐมนตรี ชื่อ " ทักษิณ"
กระทู้คำถาม
การเมือง
" กึ่งหนึ่ง" หมายถึง ครึ่งหนึ่งจำนวน สส ทั้งหมดทั้งที่เข้ามาหรือไม่เข้ามาร่วมประชุมในวันนั้น

1. สามารถขอมติไว้วางใจเกินเสียงที่กำหนดไว้
ไม่ให้"ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจว่ารัฐบาลทำผิดถูกอย่างไร"
ต้องการจะตัดตอนการตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎรโดยเฉพาะ

2. ตามมาตรา 182 วรรคแรก ถ้านายกแถลง พรบ แล้วไม่ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ภายในสี่สิบแปดชั่วโมงให้ถือว่า "ผ่านสภา" ไปเลย ทั้งที่สภาผู้แทนราษฎรไม่มีโอกาสพิจารณา

3. มาตรา 182 วรรค2 ตีความได้ว่าถ้านายกแถลง พรบ และมีการรวมชื่อกันอภิปรายไม่ไว้วางใจ "และมีมติไม่ไว้วางใจ" หากไม่เป็นคะแนนไว้วางใจแบบสมบูรณ์ด้วยคะแนน"เกินกึ่งหนึ่ง" ก็ต้องถือว่า "ผ่านร่าง" นั้น!!

4. เปิดช่องให้"พรรคเล็กพรรคน้อย"มีโอกาสล็อบบี้ต่อรองผลประโยชน์ในการยกมือไว้วางใจ, การเข้าร่วมมติไม่ไว้วางใจ ไปจนถึงการเข้าร่วมประชุมสภาได้เลยทีเดียว!

สิ่งที่เกิดขึ้น คือ "การตรวจสอบของฝั่งนิติบัญญัติเป็นง่อย" ในทันที
กล่าวคือ การวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อดีข้อเสียของ พรบ. จะแทบไม่มี จะเหลือแค่การลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจหรือไม่เท่านั้น

ลองคิดดูนะครับว่ามันจะเลวร้ายแค่ไหน??????

ส่วนสลิ่มคิดไม่ออกว่ามันเลวร้ายยังไง????
ให้นึกถึงนายกคนนอกชื่อ "ทักษิณ" มีอำนาจออกกฏหมายที่สามารถเอื้อพวกพ้องยังไงก็ได้
แล้วมีกฏหมายให้อำนาจ"ไอ้แม้ว"ในการทำแบบนั้นล้นฟ้าก็แล้วกัน อีโมติคอน colonthree
แล้วถามตัวเองดูว่ารับได้หรือไม่ได้??   5555555  กะลาเเลนด์

'ชวน'ชี้ใช้ร่างรธน.นี้อดเป็นส.ส.

'ชวน'ชี้ใช้ร่างรธน.นี้อดเป็นส.ส.

'ชวน'ชี้ใช้ร่างรธน.นี้อดเป็นส.ส.

'ชวน' ชี้หากเมื่อก่อนใช้ ร่างรธน.ฉบับนี้ อดเป็น ส.ส.แน่ ขณะที่ รองประธานศาลฎีกา ระบุ ไม่อยากให้ตั้งองค์กรอิสระมากเกินจำเป็น จะกลายเป็นงูกินหาง สร้างภาระมากมาย

 
                           29 เม.ย. 58  เมื่อเวลา 11.20 น.  ในงานศาลรัฐธรรมนูญ ครบรอบ 17 ปี เป็นการอภิปรายของนักศึกษาหลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) รุ่นที่ 3 ศาลรัฐธรรมนูญ เรื่อง แนวทางการปฏิรูปประเทศ 
 
                           โดยนายปิยะ ปะตังทา ปฏิบัติหน้าที่ประธานศาลปกครองสูงสุด กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปด้านสังคม ว่า หากเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญ 2540 2550 และร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน จะเห็นว่า ผู้ยกร่างล้วนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน จำนวนมาตรามีความใกล้เคียงกัน เนื้อหาส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันมาก โดยรัฐธรรมนูญ 2540 มีจุดเด่น คือ ลดจุดบกพร่องของฝ่ายบริหารที่มีความอ่อนแอ มีการจัดตั้งองค์กรตรวจสอบขึ้นมาทำหน้าที่คอยตรวจสอบฝ่ายต่างๆ มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ขณะที่รัฐธรรมนูญ 2550 มีจุดเด่น คือ กำหนดให้ตุลาการมีบทบาทที่สูงมาก สามารถเข้าไปมีส่วนคัดเลือกบุคคลในองค์กรต่างๆ ได้ สำหรับการปฏิรูปครั้งนี้ ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้จัดตั้ง กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาดำเนินการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีจุดเด่น คือ เพิ่มอำนาจประชาชนในการตรวจสอบ เกิดสมัชชาพลเมือง รวมทั้งองค์กรใหม่หลายองค์กรขึ้นมาทำหน้าที่ มีการคุ้มครองสิทธิ์ประชาชนขั้นพื้นฐานไว้มากขึ้น
 
                           นายปิยะ กล่าวอีกว่า อยากเสนอให้เน้นเรื่องสามัญและจิตสำนึกให้กับเด็กและเยาวชน เพราะแม้จะมีตัวกฎหมายที่ดี หากไม่ได้สร้างจิตสำนึก ก็จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายบกพร่องได้ ควรเน้นหลักธรรมาภิบาลและคุณธรรม ทำให้ประชาชนเห็นประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตน ยึดประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก เน้นการใฝ่รู้และจิตอาสา เพิ่มพูนหลักนิติธรรม สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนทุกระดับ ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม กำหนดแผนดูแลผู้สูงวัยที่ครบวงจรรับกับอาเซียน มีหลักประกันสาธารณสุข ส่วนการปฏิรูปนั้นมองว่า ควรกำหนดหลักสำคัญไว้ให้ชัดเจนว่าจะปฏิรูปเรื่องใดไว้ในรัฐธรรมนูญ และอยากให้รับฟังความเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ให้ครบถ้วน เพื่อทำให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นที่ยอมรับ
 
                           ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ ว่า ประเทศชาติจะก้าวหน้าได้ต้องมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เพราะปัญหาเศรษฐกิจเป็นห่วงโซ่สำคัญหากเศรษฐกิจไม่ดี ประชาชนก็จะดิ้นรนเพื่อให้ได้เงินมาเลี้ยงชีพ ทำให้เป็นต้นตอของการทุจริตการเลือกตั้งได้ ดังนั้น ถ้ารัฐบาลบริหารประเทศได้ดี ปัญหาการทุจริต การซื้อสิทธิ์ขายเสียงก็จะลดน้อยลง ขณะเดียวกันพบว่าปัจจุบันนี้ประเทศไทยถูกกดดันทางเศรษฐกิจจากต่างประเทศ คือ 1. สหรัฐอเมริกา ในการลดระดับประเทศไทยเรื่องการค้ามนุษย์ 2. องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ เตือนประเทศไทยให้แก้ปัญหามาตรฐานความปลอดภัยทางการบิน สาเหตุเกิดจากการปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่เรื่องการบินพลเรือน และ 3. สหภาพยุโรป (อียู) ได้แจกใบเหลืองแก่ประเทศไทยเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย โดยให้เวลาปรับแก้ไข ก่อนที่จะมีมาตรการคว่ำบาตรไม่รับซื้ออาหารทะเลจากประเทศไทย
 
                           นายศุภชัย กล่าวอีกว่า จากการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดที่ผ่านๆ มา พบว่า เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจหลายประการ อาทิ ปัญหาการผูกขาดทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเน้นภาคอุตสาหกรรมจนเกินความพอดี ปัญหาการละเว้นการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อม มีการระบายทิ้งขยะ จับสัตว์น้ำอย่างผิดกฎหมาย ปัญหาทุนนิยมผูกขาด ปัญหาระบบการศึกษาที่สร้างคนเก่งมากกว่าคนดี และการบังคับใช้กฎหมายขาดประสิทธิภาพ ขาดการพัฒนา จึงขอเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา คือ กรณีระยะสั้น ควรนำมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) 2557 มาใช้บังคับกับกรณีที่อียูเตือนให้ไทยเข้มงวดกับเรือประมงที่ผิดกฎหมาย และปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาล ส่วนระยะปานกลางและระยะยาว ควรเสนอร่างกฎหมายเฉพาะทางให้สภานิติบัญญัติ (สนช.) พิจารณากฎหมาย ทรัพยากรงบประมาณแผ่นดินต้องได้รับการจัดสรรอย่างเป็นธรรม และปฏิรูประบบภาษีให้สอดคล้องกับประเทศ
 
                           ส่วนนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปด้านการเมือง ว่า ไม่ได้ประสงค์ที่จะพูดถึงรัฐธรรมนูญ เพราะไม่ได้ผ่านมือ แต่เห็นความหวังดีในบางเรื่อง เช่น รูปแบบการเลือกตั้ง ถ้าเอาการเลือกตั้งตามร่างรัฐธรรมนูญนี้ไปใช้ตอนสมัครเป็นผู้แทนราษฎรครั้งแรก คงไม่ได้รับเลือก
 
                           นายชวน กล่าวต่อว่า สัจธรรมความจริงบ้านเมืองมีทั้งคนดีและไม่ดี การทำให้บ้านเมืองปกติเรียบร้อย ไม่ได้แปลว่าทุกคนเป็นคนดี เพียงแต่ให้คนดีมาปกครอง การปฏิรูปประเทศ คือ การปรับปรุงให้เหมาะสม ที่ผ่านมาไม่ดีอย่างไร มีจุดอ่อนอย่างไร ก็ให้ไปดูการยึดอำนาจแต่ละครั้ง ที่มักจะมีเหตุผลว่า ฝ่ายการเมืองทุจริต ประพฤติไม่ชอบ แทรกแซงองค์กรอิสระ แตกแยกอย่างรุนแรง และหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ทั้งหมดนี้จริงตามนั้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่พวกเราต้องร่วมกันพิจารณา ส่วนคำถามว่า ทำไมต้องยึดอำนาจ เป็นเพราะพฤติกรรมของผู้ใช้อำนาจ ผู้ใช้รัฐธรรมนูญ พฤติกรรมของผู้ปกครอง คือ ฝ่ายการเมือง เราจึงต้องกำหนดให้กฎหลักนั้นมีความเหมาะสมกับคนไทยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล คือ เป็นประชาธิปไตย
 
                           นายชวน กล่าวอีกว่า มองบ้านเมืองของเราไปในทางบวก หากยึดเอาตั้งแต่ 24 มิ.ย. 2475 ตลอด 82 ปีที่ผ่านมา บ้านเมืองเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีมากหากเมื่อมองในภาพรวม แต่ถ้ามองย่อย ระบอบประชาธิปไตยของเรามีอุปสรรคมาก คือ การที่ทหารยึดอำนาจ แต่ในวันที่มีการเผาบ้านเผาเมืองพอทหารไม่ได้ออกมายึดอำนาจ จึงคิดว่าทหารไม่เป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตยอีกแล้ว เมื่อเราคิดว่าการยึดอำนาจไม่เป็นอุปสรรคแล้ว แต่เราลืมนึกไปว่ามีโรคใหม่ทางการเมือง คือ โรคธุรกิจทางการเมือง ไม่ได้ซื้อแต่นักการเมือง แต่ซื้อทั้งพรรค ซื้อวุฒิสภา แม้จะไม่ปฏิเสธที่สภามีเสียงข้างมาก เพราะเป็นสิ่งจำเป็น ระบบนี้ คุณสมบัติของนักการเมืองควรที่จะต้องมีวินัย การให้ ส.ส.เป็นอิสระไม่ต้องสังกัดพรรค จะทำให้พรรคการเมืองไม่มีวินัย แต่การเมืองไทยที่มักจะมีการซื้อ ส.ส.เพื่อให้โหวตตามมติหัวหน้า หรือนายทุนพรรค ซึ่งพรรคการเมืองประเภทนั้นไม่อาจเอามาเป็นมาตรฐาน ฉันใดที่เราพูดว่าคนดีมีมากคนไม่ดีก็มีอยู่ ฉันนั้นพรรคการเมืองที่ไม่เป็นหลักก็มีให้เห็น
 
                           นายชวน กล่าวต่อว่า เห็นการพัฒนาทางของบ้านเมืองในทางที่ดี แม้มีความเลวร้ายในบางเรื่อง ความเหมาะสมในการกำหนดแนวทางการปฏิรูปจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ การคิดออกนอกกรอบไม่ผิด แต่ถ้าออกนอกกรอบกฎหมายเมื่อไหร่ปัญหาจะเกิดขึ้น การยึดมั่นในหลักนิติธรรมภายใต้ประชาธิปไตยไม่เคยสร้างปัญหาให้ประเทศ แต่ปัญหาที่เกิดเพราะคนไม่ยึดหลักนี้ ภูมิใจที่เป็นคนหนึ่งที่ยึดมาตลอด แต่การใช้นโยบายนอกหลักนิติธรรม เช่น การที่ปราบผู้ก่อความไม่สงบ เตือนเสมอว่าบ้านเมืองไม่ใช่ของทดลองนโยบาย ภาคใต้เห็นได้ชัดที่สุด ปัญหาที่เรากำลังเผชิญหน้าต่อแนวทางการปฏิรูป คือ ทำอย่างไรที่จะหันกลับมายึดหลักนิติธรรม อย่างการนิรโทษกรรมไม่ต้องคิด ใครผิดก็ควรต้องรับโทษ
 
                           "มูลเหตุของการชุมนุม ผมชื่นชมที่คนเหล่านั้นกล้าออกมา ไม่ใช่ช่างหัวมัน หรือไม่สนใจ เคยมีคนกล่าวว่า บ้านเมืองนี้ดีทุกอย่าง ยกเว้นคนไทย แต่ผมเห็นว่าบ้านเมืองนี้ดีทุกอย่าง ดีที่สุด คือ มีคนไทย เพียงแต่คนไทยบางส่วนยังไม่ได้ลึกซึ้ง ทำไมยังมีคนโกง เพราะมีแต่คนพูดไม่ปฏิบัติ เราจึงต้องทำให้หลักนิติธรรมเป็นภาคปฏิบัติ ถ้าใช้หลักนิติธรรมปกครอง ป่านนี้ไฟใต้ดับหมดแล้ว" นายชวน กล่าวและว่า วันที่บ้านเมืองจะสงบ ไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ แต่อยู่ที่การยึดหลักนิติธรรม เพราะถ้ายึดหลักนี้คงไม่มีการยึดอำนาจ ไม่มีเงื่อนไขให้ทหารเข้ามา แนวทางข้างหน้า เมื่อมีการเลือกตั้งในปี 2559 ทหารต้องถอนออกไป ไปไล่จับคนรุกป่า ยาเสพติด ไม่ได้เป็นหน้าที่ของตำรวจ ทำไมวันนี้ทหารทำหน้าที่นี้ เป็นเพราะความบกพร่องของตำรวจไม่สามารถทำหน้าที่ได้ เพราะติดบุญคุณผู้ที่แต่งตั้ง ดังนั้นเมื่อทหารออกไป ตำรวจก็ต้องเตรียมพร้อม
 
                           นายวีระพล ตั้งสุวรรณ รองประธานศาลฎีกา กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปด้านรัฐธรรมนูญ ว่า การที่เราบัญญัติกฎหมาย หลักนิติธรรมในการใช้อำนาจสามฝ่าย นอกจากนี้เอกชนและภาคธุรกิจ หรือทุกภาคส่วนต้องมีหลักนิติธรรม ตั้งแต่เรามีรัฐธรรมนูญ เราหวังว่าจะมีหลักนิติธรรม แต่ตลอดระยะเวลา 82 ปี เราไม่เคยได้ มีการเปลี่ยนแปลงสั่นคลอนตลอดเวลา การที่เรามาร่างรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของคนใช้ทั้งนั้น ถ้าเราปฏิรูปคนปัญหาบ้านเมืองไม่เกิด ระยะแรกเป็นระยะเฉพาะหน้า ที่ชัดเจนว่าเราต้องสร้างกฎเกณฑ์ให้คนที่เข้ามามีอำนาจใช้หลักนิติธรรม สิ่งที่อยากเห็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ยืดเยื้อ เขียนด้วยภาษาง่ายๆ ไม่อยากเห็นการตั้งองค์กรอิสระที่ทำหน้าที่ตรวจสอบเยอะจนเกินความจำเป็น เพราะจะกลายเป็นการตรวจสอบแบบงูกินหาง องค์กรโน้นมาองค์กรนี้ ยิ่งสร้างเยอะจะสร้างภาระมากมาย ไม่อยากเห็นรัฐธรรมนูญ บังคับ เสนอแนะ หรือสั่งสอนให้คนเป็นคนดี อย่าเขียนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายภายในที่แก้ปัญหาเรื่องคน เพราะจะแก้ไปไม่มีสิ้นสุด อย่าคิดว่าเขียนทีเดียวจะแก้ได้ กฎหมายภายใน ประมวล หรือ พ.ร.บ.เขียนชัดเจนอยู่แล้ว จำเป็นหรือไม่ที่ต้องมาใส่ในรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายลูกไม่เคยถูกยกเลิก แต่รัฐธรรมนูญถูกยกเลิกได้ง่ายกว่า

ศาลฎีกาฯรับฟ้อง"ชูชีพ หาญสวัสดิ์-วิทยา เทียนทอง"ทุจริตซื้อปุ๋ย 367 ล.

ศาลฎีกาฯรับฟ้อง"ชูชีพ หาญสวัสดิ์-วิทยา เทียนทอง"ทุจริตซื้อปุ๋ย 367 ล.
ศาลฎีกาฯ นักการเมืองรับฟ้อง คดี “ชูชีพ หาญสวัสดิ์ - วิทยา เทียนทอง ” อดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย ทุจริตฮั้วประมูลซื้อปุ๋ยปลอม มูลค่า 367 ล้าน นัดสอบคำให้การจำเลย 6 ก.ค.นี้
ที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ถ.แจ้งวัฒนะ เมื่อเวลา 10.00 น. วันนี้ (29 เม.ย.) องค์คณะผู้พิพากษามีคำสั่งประทับฟ้องคดีหมายเลขดำ อม.27/2558 ที่นายตระกูล วินิจนัยภาค อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ อดีตรมว.เกษตรและสหกรณ์ และอดีตส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย และนายวิทยา เทียนทอง อดีตเลขานุการ รมว.เกษตรและสหกรณ์ และอดีตส.ส.สระแก้ว พรรคเพื่อไทย เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ. 2542 มาตรา 17 กรณีเมื่อระหว่างวันที่ 17 ก.พ.44 - 20 ก.ย. 2545 พวกจำเลยได้ร่วมกันทุจริตซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดว่า นายชูชีพ หาญสวัสดิ์ ขณะดำรงตำแหน่ง รมว.เกษตรและสหกรณ์ และนายวิทยา เทียนทอง เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง เลขานุการ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกันกระทำผิด
โดยองค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คน ได้ประชุมปรึกษาคดีแล้วเห็นว่า คดีดังกล่าวอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาฯ ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 และคำฟ้องถูกต้องตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2543 ข้อ 8 จึงมีคำสั่งให้ประทับฟ้องคดีดังกล่าว และกำหนดนัดพิจารณาครั้งแรกเพื่อสอบคำให้การจำเลยทั้งสองในวันที่ 6 ก.ค.นี้ เวลา 09.30 น. ขณะเดียวกันวันนี้องค์คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนก็ได้ลงคะแนนลับ เพื่อเลือกผู้พิพากษา 1 คนเป็นเจ้าของสำนวน ซึ่งผลปรากฏว่า นายปริญญา ดีผดุง ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ได้รับเลือกให้เป็นผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนคดีดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีดังกล่าว ป.ป.ช.ได้มีมติชี้มูลเมื่อวันที่ 12 ก.ค.2555 โดยชี้มูลความผิดนักการเมือง 2 ราย ร่วมกับข้าราชการประจำและเอกชนหลายรายทุจริตฮั้วประมูลปุ๋ยอินทรีย์ปลอม จำนวน 1.31 แสนตัน วงเงิน 367 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติ ปี 2545 ของกรมส่งเสริมการเกษตร

"บิ๊กจิ๋ว"กับสถานการณ์ เพลานี้และก่อนหน้าเมื่อนานมา

'บิ๊กจิ๋ว'แนะร่างรธน.2ฉบับให้เลือก!

'บิ๊กจิ๋ว' ปัดเอี่ยวคาร์บอมบ์เกาะสมุย แนะ ร่างรธน. 2 ฉบับ ให้ปชช.เลือก ชี้ รัฐบาลต้องยุติความขัดแย้งให้ได้ก่อนแก้ปัญหา-เดินหน้าปฏิรูป

                           29 เม.ย. 58  เมื่อเวลา 09.30 น.  พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางไปให้สัมภาษณ์พิเศษทางสถานี Peace TV โดยนายเผด็จ ภูรีปฏิภาณ หรือ พญาไม้

                           พล.อ.ชวลิต ให้สัมภาษณ์ว่า ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุคาร์บอมบ์ที่เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตระกูลรับใช้สถาบันมาโดยตลอด จึงไม่มีแนวคิดที่ทำให้ประเทศชาติเสียหาย

                           "ทั้งนี้ขอแนะนำให้รอหลักฐานให้ชัดเจนก่อนค่อยออกมาเปิดเผย หรือให้ข่าว เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสน ถ้าไม่ชัด อย่าพูด ไม่ใช่อยากจะพูดก็พูด ต้องดูหลักฐานให้ชัดก่อน ทำแบบนี้

ไม่เหมาะสม เร่งพูดไปก็จะยิ่งแตกแยก"

                           พล.อ.ชวลิต ยังกล่าวถึงร่างรัฐธรรมนูญที่ยังมีความเห็นต่างจากหลายฝ่ายด้วยว่า ขอแนะนำให้เขียนรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับ เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐธรรมนูญถูกฉีกอีกในอนาคต อย่างไรก็

ตาม สุดท้ายแล้วต้องรับฟังเสียงประชาชน เพื่อไม่ให้บ้านเมืองวิกฤต ส่วนข้อเสนอของนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะให้ใช้รัฐธรรมนูญใหม่ 5 ปี แล้วค่อย

แก้ไขนั้น มองว่า อาจจะไม่ทันต่อสถานการณ์ ขอย้ำว่า ควรร่างไว้ 2 ฉบับ เพื่อให้ประชาชนเลือก

                           ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ชวลิต ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษทางสถานี Peace TV โดยแนะนำรัฐบาล ให้ยุติความขัดแย้งให้ได้ก่อน จึงจะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ รวมถึงการเดินหน้าปฏิรูปได้

ด้วย และควรให้อำนาจอธิปไตยกับประชาชน รวมทั้งใช้หลักนิติธรรมในการบริหารราชการ
/////////////
“บิ๊กจิ๋ว” ร่วมงานรำลึกครบรอบ 28 ปี ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย หรือ อดีต จคม. แนะรัฐเข้าไปส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว  "ปัดไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์คาร์บอมบ์เกาะสมุย"  หลังมี

กระแสพาดพิงถึงกลุ่มการเมือง

เมื่อเวลา16.30 น. วันที่ 27 เม.ย. 58 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีประธานในงานเลี้ยงสังสรรค์ครบรอบ 7 ปี การก่อตั้งชมรมปิยะมิตรไทย และรำลึกครบรอบ 28 ปี การเข้าร่วมพัฒนา

ชาติไทย ของอดีตกลุ่มโจรคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.) ที่ โรงแรม ลี การ์เด้นส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่  มีกลุ่มชมรมปิยะมิตรเข้าร่วมประมาณ 300 คน จาก 5 หมู่บ้าน ในพื้นที่ จ.ยะลา และ จ.สงขลา

พล.อ.ชวลิตกล่าวว่าการเข้าร่วมพัฒนาชาติไทยของอดีตกลุ่มโจรคอมมิวนิสต์มลายา(จคม.)มีขึ้นตั้งแต่ปี2530ในสมัยที่ตนดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. ได้ผลักดันจนเกิดความสำเร็จ โดยกลุ่ม จคม. ยอม

วางอาวุธ และเข้าร่วมในการพัฒนาชาติไทย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา และ อ.นาทวี จ.สงขลา และตนก็จะเดินทางมาร่วมงานรำลึกเป็นประจำทุกปี เนื่องจากเปรียบ

เสมือนเป็นสัญญาใจระหว่างกันและกัน

"ขณะที่จากการพูดคุยกับคณะกรรมของแต่ละหมู่บ้านทราบว่าอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูแลและส่งเสริมในด้านการท่องเที่ยวให้กับหมู่บ้านปิยะมิตรโดยเฉพาะในพื้นที่อ.เบตง จ.ยะลา พื้นที่รอยต่อ

ระหว่างชายแดนไทย-มาเลเซีย และมีหมู่บ้านปิยะมิตรอยู่รวม 3 แห่ง ซึ่งที่ผ่านมาสามารถดึงนักท่องเที่ยวมาเลเซียเข้ามาท่องเที่ยวใน อ.เบตง ได้กว่า 1 แสนคน ต่อปี มีแหล่งท่องเที่ยว “อุโมงค์ปิยะ

มิตรและสวนดอกไม้เมืองหนาว” คาดว่าหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ดีขึ้น เนื่องจากเหตุผลหนึ่งที่ จคม. ยอมเข้าร่วมพัฒนาชาติไทย

เพราะมองเห็นแล้วว่าจะมีช่องทางในการทำมาหากิน เพื่อความอยู่รอด"

พล.อ.ชวลิต ยังเปิดเผยกรณีเหตุคาร์บอมบ์ที่ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี เมื่อวันที่ 10 เม.ย.  โดยมีบางกระแสข่าวที่ออกมาในลักษณะพาดพิงถึงตนและกลุ่มการเมืองต่างๆ เข้าไป

พัวพัน  แต่ตนยืนยันได้ว่าไม่ทราบ และไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งการสันนิษฐานก็สามารถคาดเดาไปได้ต่างๆ นานา และตนก็เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าโจรก่อการร้ายมาแล้ว

เหมือนกัน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะก่อนเกิดเหตุ  ตนได้เดินทางไปทำภารกิจในพื้นที่ จ.สุราษฏร์ธานีก็เป็นได้  แต่ตอนนั้นก็อยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม ควรให้เจ้าหน้าที่บ้าน

เมืองเป็นผู้สืบหาความจริง ผู้ร้ายที่แท้จริงเป็นใครกันแน่ ซึ่งคาดว่าคงจะไม่นานเกิดรอ และตนเชื่อว่าทุกคนก็ไม่อยากจะให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น
////////////////
คนสนิท ยัน 'บิ๊กจิ๋ว' เตือนระวังปฏิวัติซ้อน หมายถึงปฏิวัติ ปชช.

คนสนิท ยัน "บิ๊กจิ๋ว" เตือนระวังปฏิวัติซ้อน หมายถึงการปฏิวัติจากประชาชน ปมเหตุมาจากเลือก นายกฯ-ครม.โดยตรง ขณะไฟใต้เห็นว่ารัฐบาลยังแก้ไม่ถูกทาง ย้ำต้องใช้การเมืองนำการทหาร   

(8ธ.ค.2557))พล.ท.พิรัช สวามิวัศดุ์ คนสนิท พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีและอดีตผู้บัญชาการทหารบก กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ถึงกรณีที่ พล.อ.ชวลิต ออกมาเตือนให้รัฐบาล
ระวังอาจเกิดเหตุปฏิวัติซ้อนนั้น ในความเป็นจริง ท่าน พล.อ.ชวลิต หมายถึง ให้ระวังการปฏิวัติของประชาชน โดยเฉพาะปมการที่จะร่าง รธน.ฉบับใหม่ ให้ประชาชนเลือกนายกฯ และ ครม.โดยตรง

ลักษณะคล้ายกับระบบประธานาธิบดีนั้น อาจเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจหรือไม่ ต้องลองไปคิดทบทวนดูให้ดี หากเป็นเช่นนั้น เชื่อว่าจะมีพี่น้องประชาชนที่ไม่เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก และอาจออกมาต่อต้านรัฐบาลและ คสช. จนอาจเลยเถิดไปกลายเป็นการปฏิวัติประชาชน หรือเป็นการปฏิวัติซ้อนได้ ทั้งนี้ ไม่ใช่หมายถึงมาจากการปฏิวัติจากกำลังทหาร

"สิ่งนี้ต่างหากที่ท่าน พล.อ.ชวลิต อยากออกมาเตือน ท่านนายกฯ พล.อ.ประยุทธ์ เพราะความเป็นจริงแล้ว คสช.และรัฐบาล ขณะนี้มีความตั้งใจทำงานดีอยู่แล้ว แต่ก็ไม่อยากให้มีเรื่องอะไรที่ไม่คาดคิดเข้ามาทำให้ คสช.และรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ต้องมาประสบวิกฤติทางการเมือง หากยังฝืนทำ หรือดำเนินการต่อไป" พล.ท.พิรัช กล่าว

ทั้งนี้ พล.ท.พิรัช กล่าวต่อถึงกรณีการเดินหน้าแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จว.ชายแดนภาคใต้ ในขณะนี้ของรัฐบาลว่า ส่วนตัวเห็นว่า เดินมาไม่ถูกทาง เนื่องจากเห็นว่าไม่ควรใช้การทหารนำการเมือง แต่ต้องใช้การเมืองนำการทหาร จึงจะสามารถแก้ปัญหาได้ แต่ตอนนี้กลายเป็นความขัดแย้งทางการเมืองไปแล้ว การที่ยิ่งส่งกำลังเข้าไปในพื้นที่ ถูกตัวบ้าง ไม่ถูกตัวบ้าง เป็นการสร้างศัตรูโดยใช่เหหตุ เป็นการบ่มเพราะศัตรูไปโดยไม่จำเป็น อย่างกรณีที่สะบ้าย้อย เป็นต้น ความจริงปัญหา 3 จว.ใต้ แต่เริ่มไม่ใช่แบ่งแยกดินแดน แต่เป็นเพราะพี่น้องมุสลิมต้องการออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมต่อสังคมเท่านั้น แต่พอต่อสู้ ก็เลยกลายเป็นเอาเรื่องศาสนาขึ้นมา จากนั้นปัญหาจึงเลยเถิดไป ฉะนั้น ส่วนตัวยังเห็นว่าต้องเอาการเมืองมาแก้ไข

/////////////
วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
ลึกสุดใจ"พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ" ความลับ"สงครามครั้งสุดท้าย"


สัมภาษณ์พิเศษ

โดย สุเมศ ทองพันธ์

"ผมพยายามทำให้ทักษิณเขากลับเข้ามาอยู่ในประเทศไทยให้ได้ แล้วก็รับโทษ จากนั้นจะนิรโทษหรืออภัยโทษอะไรก็แล้วแต่"...

"ผมตั้งใจจะแก้ปัญหาทั้งหมดให้ได้ภายใน 1 ปี 1 ปีเท่านั้นแล้วจบ...ผมก็ไป"

ก่อนยึดอำนาจ "19 กันยายน 2549" เพื่อโค่นล้ม "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีและรัฐบาลพรรคไทยรักไทย

"พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ" อดีตนายกรัฐมนตรี เดินเคียงข้าง "พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ

ซึ่งถูกฝ่าย "พ.ต.ท.ทักษิณ" ประทับตราว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจ

แต่ หลังจากนั้นอีก 2 ปีเมื่อ "พรรคพลังประชาชน" ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งและกลับมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล "พล.อ.ชวลิต" กลับก้าวเข้ามารับตำแหน่ง "รองนายกรัฐมนตรี" ใน "รัฐบาลสม

ชาย วงศ์สวัสดิ์"

แล้วหลังหมดอายุขัย "รัฐบาลสมชาย" ซึ่ง พรรคประชาธิปัตย์ ได้โอกาสจัดตั้งรัฐบาล โดยที่ "พรรคเพื่อไทย" ตกอยู่ในฐานะ "ฝ่ายค้านพรรคเดียว"

"พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ" ได้ตัดสินใจเดินกลับเข้ามาสู่วังวนการเมืองอีกครั้ง ด้วยการเข้าสวมเสื้อ "พรรคเพื่อไทย" ประกาศตัวสู้ใน "สงครามครั้งสุดท้าย" อยู่ฝ่าย "พ.ต.ท.ทักษิณ" ซึ่งเท่ากับว่า ต้องยืน

คนละฟากฝั่งกับ "พล.อ.เปรม" อย่างเต็มตัว

แล้วหลังจากนั้น ในแต่ละก้าวที่ "พล.อ.ชวลิต" เดิน ไม่ว่าจะเหยียบย่างไปที่ไหน อดีต "ขงเบ้งแห่งกองทัพไทย" สามารถกำหนดเกมสั่นคลอน "รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ได้ทุกครั้ง

ซึ่งเขาเปิดใจให้ "มติชน" ได้ฟังทุกกลเกมเบื้องหลังหมากร้อยชั้นทุกการเคลื่อนไหว ตั้งแต่ตัดสินใจเข้ามาเขียนใบสมัครสมาชิกพรรคเพื่อไทย มีอะไรซ่อนอยู่ เพื่ออะไร เพื่อใคร แล้วสุดท้ายจะเป็น

อย่างไร

@ การตัดสินใจเข้ามาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย?

ผมมีเรื่องสำคัญ 5 ข้อที่จะต้องแก้ไขและพิสูจน์ให้ได้ คือ 1.ผมจะพิสูจน์ว่าพรรคการเมืองนี้ เสื้อสีนี้ คนคนนี้ อยู่ที่ไหนรู้อยู่แล้ว จงรักภักดีจริงหรือไม่ 2.ผมจะพิสูจน์ให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหาความ

ขัดแย้งในแผ่นดินที่กำลังเกิดขึ้น 3.ผมตั้งใจจะมาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในภาคใต้ ซึ่งก็ได้ทำไปแล้ว 4.ผมจะแก้ปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน และ 5.ผมจะเข้ามาเพื่อแก้ไขปัญหาความ

ยากจน ส่วนเรื่องอื่นๆ เรื่องเล็กๆ เรื่องการเมือง อย่าง ส.ส.คนไหน จะลงที่ไหน อย่างไร ผมไม่ยุ่ง พวกคุณไปจัดการกันเอง ผมจะมาแก้ปัญหาของแผ่นดิน เรื่องนี้ผมบอกกับคุณทักษิณเขาไว้ตั้งแต่

แรกแล้ว และผมตั้งใจจะแก้ปัญหาทั้งหมดให้ได้ภายใน 1 ปี 1 ปีเท่านั้นแล้วจบ...ผมก็ไป

วันนี้ผมก็พยายามพิสูจน์ข้อที่ 1 เรื่องความจงรักภักดีให้ได้ ตอนนี้กำลังดำเนินการ แอพโพรช (วิธีการเข้าหา) ผู้หลักผู้ใหญ่ กำลังหาช่อง ยังไม่ชัดเจน

ตอนที่ผมเข้ามาพรรคเพื่อไทย ก็มีคนที่ผมเคารพให้ บิ๊กหมง (พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์) มาบอก ผมก็เคารพท่านอยู่แล้ว ผมก็ฝากบอกบิ๊กหมงไปว่า ผมรับทราบ แต่วันนี้เหตุการณ์ ไปไกลแล้ว

เรามาแก้ปัญหาความขัดแย้งกัน ผมว่าเรื่องนี้น่าเป็นห่วงมาก เราเห็นแล้วว่าความขัดแย้งในประเทศนั้น ถ้าเราไม่แก้ไขโดยด่วน วิกฤตใหญ่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ ผมมองว่ามีเพียง 3 สถาบัน

เท่านั้นที่แก้ไขปัญหาความขัดแย้งครั้งนี้ได้ คือ 1.สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งวันนี้พระองค์ทรงพระราชกรณียกิจอย่างหนักมานานแล้ว เราจะรบกวนเบื้องพระยุคลบาทอีกหรือ 2.สถาบันทหาร ซึ่งที่

ผ่านมาไม่สามารถแก้ปัญหามัวแต่ทำอะไรอยู่ก็ไม่รู้ ยุ่งเหยิง น่าจะไปบอกป๋า (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ) ให้ป๋าทำเองสัก 90 วัน แก้รัฐธรรมนูญสัก 2 มาตรา แล้วถอนตัว

ปล่อยให้เขาไปลงเลือกตั้งกัน ถ้าทำได้จะเป็นวีรบุรุษ ไปให้ พล.อ.สุรยุทธ์ (จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี) มาทำ ปัญหาของชาติมัน Very simple แต่ทหารทำไม่ได้ ทำมาเละ! ผ่านมาแล้วรัฐธรรมนูญ

18 ฉบับ ต้องสร้างอำนาจให้ประชาชน ผมพยายามเสนอผู้มีอำนาจ บอกว่าอย่าไปยุ่งตรงนั้น ทำเพื่อประชาชนก่อน แล้วค่อยโดยประชาชน เหมือนรัฐบาลจีน แต่ก็ยังทำไม่ได้ แล้วเราจะยอมให้เข้ามา

อีกหรือ ดังนั้นจึงเหลือเพียงสถาบันที่ 3.คือรัฐบาล ซึ่งวันนี้ก็เห็นแล้วว่ายังไม่มีการดำเนินการที่จะแก้ไข ไม่ได้ทำในสิ่งที่เป็นปัญหาของชาติที่สะสมมานานกว่า 77 ปี ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการ

ปกครอง ดังนั้นวิกฤตใหญ่จะเกิดขึ้นแน่นอน

วันนี้ยังมีความขัดแย้งเรื่องสีเสื้อ ตีกันด้วยไม้หน้าสาม ผมออกจากราชการก่อนเกษียณ 4 ปี ได้เข้ามาแก้ไขปัญหา ยุติปัญหาปฏิวัติ ยุติสงครามประชาชนได้แล้ว แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ กำลังจะแก้

ปัญหาพื้นฐาน เรื่องความไม่เป็นธรรมในสังคม ผมเอากองทัพมาพัฒนาประเทศ ทุกคนชนะหมด ไม่มีแพ้ จากนั้นก็เอากองทัพไปสร้างระบบการปกครองที่เป็นธรรม ให้ความรู้คน...แต่ยังไม่สำเร็จ

แต่ขณะนั้นเขาก็ยึดอำนาจไม่ได้ เพราะตลอดเวลาเราปราบการปฏิวัติตลอด นี่เป็นสาเหตุที่เราออกจากราชการก่อน 4 ปี แล้วเดินต๊อกๆ เข้าไปสู่อำนาจ

การแก้ปัญหาของชาติวันนี้รัฐบาลเป็นสถาบันสุดท้ายที่จะแก้ปัญหาให้ได้ แต่ต้องรู้ว่าปัญหาคืออะไร ต้องมีเครื่องมือที่เหมาะสม การแก้ปัญหามันก็เหมือนกับเราจะไปสร้างถนน คือเราจะต้องมีรถ

แทร็กเตอร์ ถึงจะใช้สร้างถนนได้ ไม่ใช่มีแค่สิ่ว-ขวาน ดังนั้นเราต้องไปจัดภาพรัฐบาลให้เหมาะสำหรับการแก้ไขปัญหา จัดภาพรัฐบาลให้เห็นกันไปเลยว่ารัฐบาลนี้จะมาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่ง

เราจะเรียกรัฐบาลนั้นว่ารัฐบาลเฉพาะกาลหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่จะเป็นรัฐบาลที่เราจะมาช่วยกันหาทางลง เป็นรัฐบาลที่ไม่ได้คิดถึงพวกถึงพ้อง แต่จะมาแก้ปัญหา

"สถานการณ์ทุกอย่างขณะนี้กำลังจะนำไปสู่การปฏิวัติ โอกาสที่จะเกิดการปฏิวัติ เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นมีสูงมาก เพราะะ 1.ผู้ปกครองเอง 2.ผู้อยู่ภายใต้การปกครอง เริ่มไม่ยอมให้ปกครอง และ 3.

พวกที่เคยล้าหลังเริ่มก้าวหน้า ก็คือพวกนายทุนที่เริ่มก้าวขึ้นมา ซึ่งทั้ง 3 อันดูเหมือนจะทำให้ใกล้เข้าสู่การปฏิวัติเต็มที เมืองไทยกำลังจะไม่มีทางออกอื่น ผมก็ดีใจ ที่ผมก้าวเข้ามาในจังหวะที่สามารถ

ยุติสงครามปฏิวัติได้ทันท่วงที ป้องกันความขัดแย้งเฉพาะหน้าได้เร็ว"

อย่างปัญหาภาคใต้ ผมทำสำเร็จแล้วนะ หลังจากนี้ก็จะมีวงวิชาการในพื้นที่ออกมาพูดเรื่องนครปัตตานี กำลังลงไปสัมผัสใจประชาชน สัปดาห์หน้าจะลงพื้นที่ ไปใช้บ้าน นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

เปิดรับฟังความคิดเห็น สะท้อนปัญหาในพื้นที่กัน อีกไม่กี่วันนี้ก็คงจะมีเกิดขึ้น ทราบว่า บิ๊กบัง (พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน) ไปเสนอว่า จังหวัดชายแดนภาคใต้มี 10 ล้านคน เอาไปเลย 1 ทบวง คนเขา

หัวเราะกันตกเก้าอี้ นึกไม่ถึงว่าบิ๊กบัง มุสลิมแท้ๆ จะคิดแต่เรื่องผู้ปกครอง เรื่องอำนาจ

ส่วนเรื่องอื่นๆ ก็ทำสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว พรรคนี้หรือไม่จงรักภักดี แต่เรื่องแบบนี้เขาไม่ต้องพูดกัน ผมตั้งใจว่าจะเปลี่ยนคนเสื้อแดง ที่วันนี้เขาชูรูปทักษิณ ให้มาเป็นการชูพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่ง

ตอนนี้ทำได้แล้ว แล้วก็จะให้ ส.ส.ที่มีอยู่ 180 กว่าคนเนี่ย ลงพื้นที่ไปทำโครงการพระราชดำริ หลายๆ โครงการ อย่างโครงการป่ารักน้ำ ของสมเด็จฯท่าน ก็กำลังจะให้พวกนี้เขาลงไปทำ ทำไปเลย

โครงการชลประทาน แก้มลิงในภาคอีสาน โดยไม่ต้องพูดว่าจงรักภักดียังไง พวกเราทำถวายฯ

ส่วนข้อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ วันนี้เราก็เห็นว่าเป็นปัญหามาก อย่างกัมพูชา ผมจะรู้จักกับ ฮุน เซน (สมเด็จฯฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา) มานาน ตั้งแต่ 30 ปีก่อน พล.อ.ศรีสวัสดิ์ แก้วบุญ

พัน ของประเทศลาว บอกผม เฮ้ย จิ๋วเอ้ย เอ็งมาลาวหน่อย มีคนอยากพบ ผมก็ไป ก็พาไปก็แนะนำกับ ฮุน เซน บอกว่าฮุน เซน อยากพบผม แล้วก็ขอให้ผมสรุปโครงการต่างๆ ที่กำลังทำอยู่ในเมือง

ไทยให้ฟัง ตอนนั้นนั่งกัน 3 คน ขวาเป็น รณฤทธิ์ (สมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา) ซ้ายเป็นฮุน เซน พบกันแบบ Six eyes เลย ซึ่งที่ผมไปกัมพูชา ผมก็ไปในระดับความ

สัมพันธ์ระหว่างพรรคกับพรรค ประคองความสัมพันธ์ของรัฐบาลต่อรัฐบาล ผมก็ไม่เข้าใจว่ามาโกรธผมทำไม เราเป็นประเทศใหญ่จะต้องใจเย็น ... จ๊ะจ๋า... เดี๋ยวก็ดีกันไปเอง

"ความขัดแย้งระหว่างเรากับกัมพูชาในสายตาอินเตอร์เนชั่นแนล เราใหญ่กว่าเขา ทำไมไร้ความอดทน ยิ่งกรณียกเลิกเอ็มโอยู นี่ร้ายกาจมาก ไปดูรายละเอียดยิ่งเยอะ ประเทศเพื่อนบ้านนี่ เราต้องให้

ความสำคัญ ประเทศใกล้สำคัญกว่าประเทศไกล เรื่องในบ้านสำคัญกว่าปัญหานอกบ้าน เสียดายมาร์ค (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) มาว่าผม เอาความลับไปขาย สมัยก่อนตอนผมเริ่มเข้ามาทำงานสนองคุณ

แผ่นดิน ตอนนั้นมาร์คอยู่ไหนก็ไม่รู้"

ท่านเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ (อดีตนายกรัฐมนตรี) บอกว่าเมืองไทย อะไรๆ ก็ดีหมด ยกเว้นผู้นำ (หัวเราะ) น่าสงสารประเทศไทย (หัวเราะอีก)

อย่างไปมาเลเซียก็เหมือนกัน เขากับเราก็มีความเห็นร่วมกันว่าสมควรจะแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งพวกเราที่อยู่ในที่ก็ตระหนักกันดีว่าถ้าไม่ทำตั้งแต่วันนี้ปัญหาจะหนักขึ้นแน่นอน

เราจึงต้องใช้ยาแรงหน่อย ต้องคิดว่าจะทำยังไงให้ไปอยู่ในหัวใจเขา เพราะจริงๆ แล้วพื้นตรงนั้นเป็นพื้นที่ที่น่ารัก ผมจะผลักดันให้เป็นภูมิภาคที่ยิ่งใหญ่ ทำภาคใต้ให้เป็นแลนด์มาร์คใหญ่ในภูมิภาค

ให้ตรงนั้นเป็นเกียรติประวัติในชีวิตของเขา เพื่อเอาสังคมภูมิบุตร มาสู่การแก้ไขปัญหา

"ทำไมเราจะทำไม่ได้ ถ้าข้างหนึ่งเป็นโบสถ์ใหญ่ของวัดช้างไห้ เป็นศาสนาพุทธ ตรงกลางเป็นมัสยิดกรือเซะ ทำให้ใหญ่ไปเลยของพี่น้องมุสลิม ถัดไปก็เป็นศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่เขาจะไป

สักการบูชากัน อย่างนี้น่ารักไหม ทำไมเราจะทำไม่ได้ แต่วันนี้มันน่ากลัวที่ภาคเหนือ มันก็บอกว่าเป็นล้านนามา 800 ปีแล้ว ภาคอีสาน ... ศรีโคตรบูร ก็บอกว่ามีมาเป็นพันๆ ปี ไอ้ ลังกาสุกะ ก็ว่ามัน

มีมาเป็นพันปีเหมือนกัน อย่างนี้แล้วประเทศไทยมันมีมากี่ปี เป็นเนชั่นสเตทมากี่ปีเอง นี่คือจุดอ่อนที่ต้องแก้ไขให้ได้"

นอกจากกัมพูชาและมาเลเซียแล้วก็จะมีไปเวียดนาม ตั้งใจจะไปพบเพื่อนเก่าของผม รัฐบุรุษ โงเหวี่ยนเกี๊ยป ซึ่งเวียดนามเนี่ยผมบอกได้เลยว่าตอนนี้สำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว คือเขารู้ว่าเราเป็นเพื่อนเขา

ถ้าจะจำกันได้ เมื่อไม่กี่ปีที่แล้วเวียดนามมาประชุม ครม. นอกสถานที่ที่ประเทศไทยนะ มาประชุมกันนครพนม บ้านผมนะ สมัยผมเป็น ผบ.ทบ.ใหม่ๆ ตอนนั้นผมไปเวียดนาม ไปกัน 7 คนมีบิ๊กจ๊อด

(พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ อดีต ผบ.ทบ.) บิ๊กสุ (พล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรี) ก็ไปด้วย มี รมว.กลาโหม มี ผบ.ส.ส. มีนายพลอีก 400 นายมาต้อนรับเรา เขาพูด 1 ชั่วโมง ผมพูดแค่ 5

นาที ปรบมือกันเกรียวเลย

"ผมพูดว่าในภูมิภาคนี้ถ้าไทยกับเวียดนามเป็นศัตรูกัน ภูมิภาคนี้ไม่มีวันสงบสุข แต่ภูมิภาคนี้มีศัตรูตัวฉกาจอยู่ตัวหนึ่ง...แล้วผมก็หยุดพักหนึ่ง ในห้องเงียบกันหมด ผมก็บอกว่า ศัตรูตัวนี้คือความยาก

จน เขาปรบมือกันไม่หยุด เหมือนที่มอสโคว์ เราก็เป็นนายทหารกลุ่มแรกที่ไปคุยกับเขา"

@ จะเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหรือไม่?

(หัวเราะๆ) พอแล้ว....ไม่เอาแล้ว มาครั้งนี้ผมมาทำให้บ้านเมือง ถ้าสำเร็จแล้วผมก็ไป ก่อนที่จะเข้ามาที่พรรคเพื่อไทย ผมเขียนจดหมายบอกทักษิณเขาไว้ เป็นเงื่อนไข 10 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือผมจะไม่

รับตำแหน่งอะไรเลย แล้วจะไม่ยุ่งกิจการภายใน ท่านไปจัดการกันเอง ถ้าจะให้เป็นหัวหน้าพรรคมันก็ขึ้นอยู่กับว่าถ้าจะให้เป็นอีกก็ต้องมีการเรียกประชุมแล้วก็เลือกกันด้วยโหวตเตอร์ เรื่องอะไรผม

จะให้โดนด่า มันก็จะมาด่าว่านอมินีทักษิณ ส.ส.มันก็จะมาด่า แต่ก็พลาดไปแล้ว ออกมาแล้วเขาให้เป็นประธานพรรค แต่ผมยืนยันเลยนะ คนอย่างผมทำอะไรก็ต้องทำด้วยตัวเอง

"ผมบอกทักษิณเขาแล้ว ว่าผมขอเป็นแค่สมาชิกพรรคคนหนึ่ง เป็นสมาชิกอย่างเดียว ผมก็ไม่รู้ว่าเขาคิดอย่างไร เขาก็ไม่รู้ว่าผมคิดอะไร ผมบอกไปเลยนะ ผมจะไม่ยุ่งเรื่องภายในพรรค ส.ส.คนไหนจะ

ลงสมัครที่ไหนยังไง ให้ไปจัดการกันเอง ในจดหมายผมบอกชัดว่าทุกอย่างให้เขา คงเอาไว้ต่อไป เรื่องเลือกคนเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เขาเลือกเองนะ...รู้สึกว่าเขาจะเลือกไว้แล้วด้วย...ผมไม่ยุ่ง

มีผู้หลักผู้ใหญ่หลายคนมาถามผมเหมือนกันนะว่า ได้ 3,000 ล้านจากทักษิณจริงไหม...งง! ผมงงเลย บาทนึงยังไม่ได้ ทุกวันนี้ก็ใช้เงินคุณหญิงหลุยส์ (คุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ ภริยา) อยู่เลย

@ 10 ข้อที่เขียนเป็นจดหมายถึง พ.ต.ท.ทักษิณ นั้นมีอะไรบ้าง?

อืม...ผมจำไม่ได้แล้วสิ ว่ามีอะไรบ้าง... แต่นี่เป็นหนึ่งข้อในนั้น คือผมบอกเขาขอเป็นแค่สมาชิกธรรมดา

ทักษิณอยากให้เป็นอะไร ก็ขอให้เป็นไปตามครรลอง มีการโหวต ลงคะแนน มีการประชุมพรรค เป็นระบบ

@ พ.ต.ท.ทักษิณ ตอบจดหมายมาว่าอย่างไร?

เขาก็ยอมรับ ต้องคุยกัน ให้เข้าใจตรงกัน แหม ... คนในพรรคเขาทำงานกันเกือบตายแล้วเราจะมาเอาได้ไง

คือมันเป็นข้อตกลง และเราต้องทำแบบนี้ เพื่อไม่ให้คนนอก-คนใน เขาเข้าใจผิด เพราะพรรคนี้พวกเขาทำกันมา เราเพิ่งเข้ามาแล้วจะมาเป็นนั่นเป็นนี่ไม่ได้

@ พ.ต.ท.ทักษิณ ส่งขุนพลข้างกาย ที่เป็น 111 อดีต กก.บห.ไทยรักไทยมาช่วยงานในทีมวอร์รูมบ้างหรือไม่?

ไม่มีเลย ... ไม่มี

@ ประเมินไว้ว่าจะมีการยุบสภาเลือกตั้งใหม่เมื่อไร?

เราจะประเมินไม่ได้ ต้องรู้ไปเลยว่ายุบสภาเมื่อไร วันไหน เราต้องเป็นผู้กำหนด ไม่ใช่ให้รัฐบาลมากำหนด

@ สถานการณ์ความขัดแย้งจะไปถึงจุดไหน อย่างไร?

ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างก็จะเหมือนที่ผมได้พูดมาทั้งหมดแล้วตั้งแต่ต้น แต่ตอนนี้กำลังพยายามทำให้ทุกอย่างมันซอฟต์ลง

"ผมพยายามทำให้ทักษิณเขากลับเข้ามาอยู่ในประเทศไทยให้ได้ แล้วก็รับโทษ จากนั้นจะนิรโทษหรืออภัยโทษอะไรก็แล้วแต่ คนที่มีอำนาจในเมืองไทยก็ควรจะ well come (ต้อนรับ) ท่านทักษิณด้วย

นะ โดยเราจะต้องไม่ไปทำอะไรให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทพระเจ้าอยู่หัว เพราะเรื่องแบบนี้พวกเราก็ทำกันเองได้อยู่แล้วนี่"

@ เคลียร์กับ พล.อ.เปรม หรือยัง?

มันต้องได้พบกันถึงจะเคลียร์กันให้ได้ แต่ถ้ายังอยู่ห่างๆ กันอย่างนี้ ลำบาก!

ท่านทักษิณก็เหมือนกัน ถ้าท่านจะไปหาป๋า บอกป๋าให้มาช่วย อ่อนน้อม ถ่อมตนไม่ได้เหรอ ท่าทีตอนนี้มันแข็งไปนิดหนึ่ง

@ นโยบายในประเทศที่ต้องการเสนอให้พรรคเพื่อไทยขับเคลื่อนมีอะไรบ้าง?

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือจุดอ่อนของเราอยู่ในกระบวนการ ซึ่งทุกคนรู้อยู่ อย่างพรรคการเมืองวันนี้ มวลชนมันนำพรรค ซึ่งความจริงมวลชนมันต้องเดินตามพรรค โดยพรรคจะต้องเป็นผู้ควบคุมมวลชน

เป็นมวลชนของพรรค แต่กลายเป็นว่าตอนหลังพรรคเดินตามมวลชน อย่างคนเสื้อแดงวันนี้ พรรคเพื่อไทยจะต้องไม่ทิ้ง เพราะคนเสื้อแดงมีคุณูปการต่อพรรค เวลาพรรคตกอับก็ยังมีคนพร้อมที่จะ

เดินให้พรรค ดังนั้นพรรคจะทิ้งไม่ได้ ซึ่งสิ่งที่ผมจะเสนอคือ พรรคเพื่อไทยจะต้องทำให้คนยากคนจนทั้งหลายที่เขานิยมชมชอบในพรรคเพื่อไทย จะต้องให้มวลชนพื้นฐานมาขึ้นอยู่กับพรรค ทำให้มา

เป็นฐานรากของพรรคให้ได้ ส่วนเรื่องที่เหลือยังพูดไม่ได้ ผมยังพูดตอนนี้ไม่ได้จริงๆ ขอร้องๆ มันเป็นความลับยังพูดไม่ได้

ส่วนการแก้ไขปัญหาความยากจนเรื่องหนึ่งใน 5 ข้อผมพูดมาตลอดว่าอยากให้ชาวนาขับรถเก๋งให้ได้ ชาวนาจะต้องส่งลูก ส่งหลานไปเรียนเมืองนอกให้ได้ ชาวนาต้องขึ้นเครื่องบินไปเที่ยวเมืองนอก

ได้ อย่าง อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) ผมเป็นคนผลักดันนะ ผลักดันมาตั้งแต่แรก แรกๆ มีแต่ ตาสี ตาสา ยายมี ยายมา ตอนนี้ไปดูสิ อบต. มีแต่ดอกเตอร์นะครับ

@ มองพรรคการเมืองใหม่อย่างไรบ้าง?

พรรคสนธิ (ลิ้มทองกุล) เหรอ เขาด่าผมมากไปหน่อย ...ผมว่าลำบากนะ ไม่ใช่ง่ายๆ การตั้งพรรคการเมือง น่าจะรอก่อน ก็ไม่เอา ผมก็อยากจะคุยกับเขานะ เขาก็คือเพื่อนเราทั้งนั้น
////////////////////////////

ป.ป.ช.ยึดทรัพย์ลูกสาวพลเอกคนสนิท“บิ๊กจิ๋ว”รวยผิดปกติ 68 ล้าน

เขียนวันที่ วันพฤหัสบดี ที่ 06 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 12:04 น.
เขียนโดยisranews

ป.ป.ช.ส่งอัยการฟ้องยึดทรัพย์ลูกสาวพลเอกคนสนิท“บิ๊กจิ๋ว”รวยผิดปกติ 68 ล้าน-อ้างวุ่นเงินจากอดีตนายกฯส่งให้พ่อ-ตัวเองใช้ 52 ล้าน พบเคยประจำสำนักเลขาฯนายกฯ ผู้สมัคร ส.ส. ผู้ช่วย“ชิดชัย-สุรนันทน์”

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า วันที่ 12 ธันวาคม 2556 ที่ผ่านมาที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินของนางสาวณฐกมล นนทะโชติ อดีตข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่เพิ่มขึ้นผิดปกติตก จำนวน 68 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน

ทั้งนี้ เว็บไซต์ของสำนักงาน ป.ป.ช.ระบุว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณารายงานผลการตรวจสอบ ในการประชุม ครั้งที่ 528 – 93/2556 วันที่ 12 ธันวาคม 2556 มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า จากการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ฟังได้ว่า นางสาวณฐกมล นนทะโชติ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ รวม 3 กรณี ดังนี้

1.กรณีรับเงินมาจาก พลเอกสัมฤทธิ์ นนทะโชติ (บิดา) ซึ่งเป็นเงินที่พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ มอบให้กับ พลเอกสัมฤทธิ์ นนทะโชติ ไว้ใช้จ่ายตามโครงการต่างๆ จำนวน 40 ล้านบาท โดยอ้างว่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินดังกล่าว รับฟังไม่ได้

2.กรณีขายบ้านเลขที่ 35/150 – 151 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 20470 – 20471 ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 16 ล้านบาท โดยอ้างว่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินดังกล่าว รับฟังไม่ได้

3. กรณีรับให้เงินจำนวน 12 ล้านบาทเศษ จากพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ โดยอ้างว่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินดังกล่าวรับฟังไม่ได้ ให้ส่งเอกสารทั้งหมดที่มีอยู่พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสอบไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินของนางสาวณฐกมลนนทะโชติ ที่เพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดินต่อไป ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 38 วรรคสอง

รายละเอียดที่เผยแพร่ในเว็บไซต์สำนักงาน ป.ป.ช.มีดังนี้

ด้วยคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ตรวจบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางสาวณฐกมล นนทะโชติ กรณีเข้ารับตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2546  กรณีพ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2548  และกรณีพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2549

ผลการตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำแหน่ง

โดยการเปรียบเทียบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินกรณีพ้นจากตำแหน่งกับบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินกรณีเข้ารับตำแหน่ง ปรากฏว่า มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นสุทธิ 57,027,812.19 และผลการ

ตรวจสอบความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี โดยการเปรียบเทียบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน กรณีพ้นจากตำมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปีกับบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินกรณีเข้ารับตำแหน่ง ปรากฏว่า มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น 70,547,260.82 บาท เป็นทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นระหว่างพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี สุทธิ 13,519,448.63 บาท

ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน เพื่อดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน พร้อมทั้งจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณา

คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณารายงานผลการตรวจสอบ ในการประชุมครั้งที่ 528 – 93/2556 วันที่ 12 ธันวาคม 2556 มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า จากการตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน ฟังได้ว่า นางสาวณฐกมล นนทะโชติ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ รวม 3 กรณี ดังนี้

1.กรณีรับเงินมาจาก พลเอก สัมฤทธิ์ นนทะโชติ (บิดา) ซึ่งเป็นเงินที่พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ มอบให้กับ พลเอกสัมฤทธิ์ นนทะโชติ ไว้ใช้จ่ายตามโครงการต่างๆ จำนวน 40 ล้านบาท โดยอ้างว่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินดังกล่าว รับฟังไม่ได้

2. กรณีขายบ้านเลขที่ 35/150 – 151 พร้อมที่ดินโฉนดเลขที่ 20470 – 20471ตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 16 ล้านบาท โดยอ้างว่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินดังกล่าว รับ
ฟังไม่ได้

3. กรณีรับให้เงินจำนวน 12 ล้านบาทเศษ จากพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ โดยอ้างว่าทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินดังกล่าว รับฟังไม่ได้ ให้ส่งเอกสารทั้งหมดที่มีอยู่พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสอบไปยังอัยการสุงสุดเพื่อดำเนินคดีในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์สินของนางสาวณฐกมลนนทะโชติ ที่เพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดินต่อไป ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 38 วรรคสอง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า น.ส.นฤมล นนทะโชติ เป็นบุตรสาวของ พล.อ.สัมฤทธิ์ นนทะโชติ (อดีต ผบช.มณฑลทหารบกที่ 24 อุดรธานี , อดีตที่ปรึกษา รมว.กลาโหม พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ) กับนางมน
ทรัตน์ นนทะโชติ เคยลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เขต 1 อุดรธานี ในปี พ.ศ. 2544 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยรัฐมนตรีรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์) และ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) ปี 2552 ลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส. จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคเพื่อแผ่นดิน
////////////////////////
พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 — ) เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 22 ของไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อดีตรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงมหาดไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อดีตผู้บัญชาการทหารบกและอดีดรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด

เป็นเจ้าของสมญา "ขงเบ้งแห่งกองทัพบก" เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ขณะดำรงตำแหน่งทางทหาร เป็นผู้ก่อตั้ง และหัวหน้า พรรคความหวังใหม่ คนแรก และเป็นอดีต ส.ส.หลาย

สมัย มีคะแนนเสียงหนาแน่นในจังหวัดนครพนม

สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไป เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "บิ๊กจิ๋ว" และในพื้นที่ภาคอีสาน เรียก พล.อ.ชวลิต ว่า "พ่อใหญ่จิ๋ว" นอกจากนี้แล้วยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า "จิ๋วหวานเจี๊ยบ" จากการมีบุคคลิกพูดจา

อ่อนนิ่ม นุ่มนวล

ประวัติ

พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ (ชื่อเล่น: ตึ๋ง)[1] เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2475 ที่ จังหวัดนนทบุรีเป็นบุตรของ ร้อยเอกชั้น ยงใจยุทธ และนางสุรีย์ศรี (นามเดิม: ละมุน) ยงใจยุทธ มีพี่สาวต่างบิดาชื่อ สุมน

สมสาร และน้องชายต่างมารดาชื่อธรรมนูญ ยงใจยุทธ[1] สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เมื่อ พ.ศ. 2496 และ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่อ พ.ศ. 2507

พลเอก ดร.ชวลิต สมรสครั้งแรกกับวิภา[1] ครั้งที่สองกับพิมพ์นิภา มนตรีอาภรณ์ (นามเดิม: ประเสริฐศรี จันทน์อาภรณ์)[2][3][4] และสมรสครั้งที่สามกับคุณหญิงพันธุ์เครือ ยงใจยุทธ (ลิมปภมร)

ชวลิตมีบุตร 3 คนกับภรรยาคนแรก คือ นายคฤกพล ยงใจยุทธ นางอรพิณ นพวงศ์ (ถึงแก่กรรม) และพันตำรวจตรีหญิงศรีสุภางค์ โสมกุล

การเมือง

พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออกจากตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด แล้วเข้าสู่การเมือง ก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 พล.อ.ชวลิต เป็นหนึ่งในผู้ที่ปราศรัยขับไล่

พลเอกสุจินดา คราประยูร ที่สนามหลวง เป็นคนแรกด้วย การเมืองหลังจากนั้น พรรคความหวังใหม่กลายเป็นพรรคที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดในภาคอีสาน ก่อนที่จะย้ายพรรคมาสังกัดพรรคไทยรักไทย

ในปี พ.ศ. 2544 และ พลเอก ดร.ชวลิต ก็รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรสมัยแรกด้วย

หลังเหตุการณ์รัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 พล.อ.ชวลิต พยายามจะเป็นผู้เสนอตัวไกล่เกลี่ยทำความเข้าใจระหว่างกลุ่มผู้ที่ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ และกลุ่มผู้ที่สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ "สมานฉันท์"

กัน โดยเรียกบทบาทตัวเองว่า "โซ่ข้อกลาง" รวมทั้งมีการข่าวว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน แต่แล้วตำแหน่งนี้ในที่สุดก็ตกเป็นของ นายสมัคร สุนทรเวช

ในรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ พล.อ.ชวลิตได้เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพื่อทำหน้าที่เจรจากับฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยโดยเฉพาะ แต่หลังจากรับตำแหน่งเพียงไม่กี่วัน ก็

เกิดเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ที่หน้าอาคารรัฐสภา พล.อ.ชวลิตก็ขอลาออกทันที

ในกลางปี พ.ศ. 2552 หลังจากถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดในกรณีเหตุการณ์นองเลือดเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม แล้วนั้น พล.อ.ชวลิตก็ได้สมัครเข้า

สู่พรรคเพื่อไทย โดยให้เหตุผลว่าต้องการเข้ามาเพื่อสมานฉันท์ โดยไม่ต้องการเป็นคู่ขัดแย้งกับใคร[6] และหลังจากนั้นทางพรรคเพื่อไทยก็ได้มีมติให้ พล.อ.ชวลิตดำรงตำแหน่งประธานพรรค

ต่อมาในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554 ท่ามกลางข่าวลือที่มีมาช่วงระยะหนึ่ง พล.อ.ชวลิตก็ได้ลาออกจากทุกตำแหน่งในพรรคเพื่อไทย ทั้งนี้ คนใกล้ชิดของ พล.อ.ชวลิตอ้างว่า พล.อ.ชวลิตไม่พอใจที่

มีสมาชิกพรรคเพื่อไทยบางคนที่เข้าทำกิจกรรมร่วมกับทางแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ กลุ่มคนเสื้อแดง และมีพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ก่อนหน้า

นั้นไม่นาน[7]

ข้อวิจารณ์[แก้]
เมื่อครั้งประเทศไทยประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 เกิดขึ้นในสมัย พล.อ.ชวลิต ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้รับการวิจารณ์ว่าตัดสินใจอย่างผิดพลาดที่ไปประกาศลดค่า

เงินบาท ซึ่งก่อให้เกิดเป็นปัญหาเศรษฐกิจระดับชาติตามมาหลังจากนั้นอย่างวิกฤต ซึ่ง พล.อ.ชวลิต ก็ได้แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก หลังจากเกิดมีนักธุรกิจและชนชั้นกลางรวมตัวกันขับ

ไล่ที่ถนนสีลม แต่ทว่าก็ยังมีข้อสงสัยอยู่ว่า เหตุใดธุรกิจของคณะรัฐมนตรีและนักการเมืองร่วมรัฐบาลกลับไม่ได้รับผลกระทบต่อวิกฤตกรณ์แต่อย่างใด ในขณะที่ธุรกิจของบุคคลโดยทั่วไปที่ไม่มี

ความเกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาลนั้น ได้รับผลกระทบถึงขั้นล้มละลายเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ [15]
ได้รับการวิจารณ์ว่า แม้จะเป็นบุคคลที่มีบุคคลิกพูดจาอ่อนหวาน น่าฟัง แต่ทว่ากลับพูดไม่รู้เรื่อง หรือมักลืมคำถามหรือสิ่งที่ตนพูดอยู่เสมอ ๆ จนได้รับฉายาว่า "จิ๋ว อัลไซเมอร์"[16]
ก่อนการเข้ารับตำแหน่งประธานพรรคเพื่อไทย ได้รับคำเตือนจาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรีว่า คิดให้ดี อย่าทรยศต่อชาติ[17][18]
เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ใด ๆ ที่ พล.อ.ชวลิต รับหน้าที่อยู่ มักจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกเสมอ จนได้รับฉายาว่า "พ่อใหญ่ลา"[19]
หลังการการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2552 จบลง ได้เดินทางไปยังประเทศกัมพูชา เข้าพบ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เพื่อปรึกษาเกี่ยวกับความมั่น

คงของชาติ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่หน้าที่ อีกทั้งในขณะนั้นประเทศไทยมีปัญหาระหว่างประเทศกับกัมพูชาอยู่ จนได้รับการกล่าวหาว่า "ขายชาติ"[20][21]
ในช่วงการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้เสนอทางออกของปัญหา คือ การขอพึ่งพาพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเรื่องนี้ได้ก่อให้เกิดการ

วิจารณ์ตามมามากมายว่าไม่บังควรอย่างยิ่ง แม้เจ้าตัวจะได้ปฏิเสธในภายหลังว่ามิได้มีเจตนาเช่นนั้น[22]

"บิ๊กจิ๋ว" ปฏิเสธไม่มีส่วน "คาร์บอมบ์" เกาะสมุย

“บิ๊กจิ๋ว” ร่วมงานรำลึกครบรอบ 28 ปี ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย หรือ อดีต จคม. แนะรัฐเข้าไปส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว  "ปัดไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์คาร์บอมบ์เกาะสมุย"  หลังมีกระแสพาดพิงถึงกลุ่มการเมือง


เมื่อเวลา16.30 น. วันที่ 27 เม.ย. 58 พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีประธานในงานเลี้ยงสังสรรค์ครบรอบ 7 ปี การก่อตั้งชมรมปิยะมิตรไทย และรำลึกครบรอบ 28 ปี การเข้าร่วมพัฒนาชาติไทย ของอดีตกลุ่มโจรคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.) ที่ โรงแรม ลี การ์เด้นส์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่  มีกลุ่มชมรมปิยะมิตรเข้าร่วมประมาณ 300 คน จาก 5 หมู่บ้าน ในพื้นที่ จ.ยะลา และ จ.สงขลา



พล.อ.ชวลิตกล่าวว่าการเข้าร่วมพัฒนาชาติไทยของอดีตกลุ่มโจรคอมมิวนิสต์มลายา(จคม.)มีขึ้นตั้งแต่ปี2530ในสมัยที่ตนดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. ได้ผลักดันจนเกิดความสำเร็จ โดยกลุ่ม จคม. ยอมวางอาวุธ และเข้าร่วมในการพัฒนาชาติไทย ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ในพื้นที่ อ.เบตง จ.ยะลา และ อ.นาทวี จ.สงขลา และตนก็จะเดินทางมาร่วมงานรำลึกเป็นประจำทุกปี เนื่องจากเปรียบเสมือนเป็นสัญญาใจระหว่างกันและกัน



"ขณะที่จากการพูดคุยกับคณะกรรมของแต่ละหมู่บ้านทราบว่าอยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยดูแลและส่งเสริมในด้านการท่องเที่ยวให้กับหมู่บ้านปิยะมิตรโดยเฉพาะในพื้นที่อ.เบตง จ.ยะลา พื้นที่รอยต่อระหว่างชายแดนไทย-มาเลเซีย และมีหมู่บ้านปิยะมิตรอยู่รวม 3 แห่ง ซึ่งที่ผ่านมาสามารถดึงนักท่องเที่ยวมาเลเซียเข้ามาท่องเที่ยวใน อ.เบตง ได้กว่า 1 แสนคน ต่อปี มีแหล่งท่องเที่ยว “อุโมงค์ปิยะมิตรและสวนดอกไม้เมืองหนาว” คาดว่าหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ดีขึ้น เนื่องจากเหตุผลหนึ่งที่ จคม. ยอมเข้าร่วมพัฒนาชาติไทย เพราะมองเห็นแล้วว่าจะมีช่องทางในการทำมาหากิน เพื่อความอยู่รอด"



พล.อ.ชวลิต ยังเปิดเผยกรณีเหตุคาร์บอมบ์ที่ห้างเซ็นทรัลเฟสติวัล เกาะสมุย จ.สุราษฏร์ธานี เมื่อวันที่ 10 เม.ย.  โดยมีบางกระแสข่าวที่ออกมาในลักษณะพาดพิงถึงตนและกลุ่มการเมืองต่างๆ เข้าไปพัวพัน  แต่ตนยืนยันได้ว่าไม่ทราบ และไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งการสันนิษฐานก็สามารถคาดเดาไปได้ต่างๆ นานา และตนก็เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นหัวหน้าโจรก่อการร้ายมาแล้วเหมือนกัน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งก็อาจเป็นเพราะก่อนเกิดเหตุ  ตนได้เดินทางไปทำภารกิจในพื้นที่ จ.สุราษฏร์ธานีก็เป็นได้  แต่ตอนนั้นก็อยู่ภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ อย่างไรก็ตาม ควรให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นผู้สืบหาความจริง ผู้ร้ายที่แท้จริงเป็นใครกันแน่ ซึ่งคาดว่าคงจะไม่นานเกิดรอ และตนเชื่อว่าทุกคนก็ไม่อยากจะให้เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น

"บิ๊กตู่" ไม่ตัดสินทำประชามติ โยน กมธ.ยกร่าง-สปช. ตัดสินใจเอง

"บิ๊กตู่" ไม่ตัดสินทำประชามติ โยน กมธ.ยกร่าง-สปช. ตัดสินใจเอง ชี้ถ้าจะทำประชามตืก็เสนอแก้รธน.ชั่วคราวมา ออกตัวแรงไม่ใช่ชี้นกเป็นนก หวั่นผิดพลาดต้องรับเอง แจงแทน "บวรศักดิ์" ใช้ รธน.5 ปี หวังเป็นช่วงปฏิรูป ชี้อาจไม่ใช่ฉบับถาวร เตือนอะไร แก้ ไม่ใช่แก้ในสิ่งที่ไม่ควรแก้ จะเอาอะไรกันอีก เสรีภาพเอาอย่างไร ไม่ต้องมีแล้วมั้งกฎหมาย อยากจะไปทำอะไรกันก็ทำ ก็เอาตามใจ" แฉในสปช.มีทุกพวกไปดู มีทุกสี

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ ภายหลังการประชุมเอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ทั่วโลก ประจำปี 2558
นายกฯ กล่าวถึงการเดินหน้าตามโรดแมปฝพของรัฐบาลและคสช.ว่า การเดินตามโรดแมพทุกอย่างเป็นไปตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว ถ้ายังไม่แก้รัฐธรรมนูญก็เป็นไปตามนั้น อย่าถามอีก
ถามถึงกรณีที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่างในขณะนี้เป็นเวลา 5 ปีก่อนแล้วจึงแก้ไขข้อบกพร่องอีกครั้ง แสดงว่ารัฐธรรมนูญนี้ยังไม่มีความสมบูรณ์ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ผมเข้าใจว่าถ้าเป็นรัฐธรรมนูญปกติไม่ต้องเขียนมาก เปิดสิทธิเสรีภาพเยอะๆ ประชาชนเป็นใหญ่ แต่ทรัพยากรมนุษย์ของต่างประเทศ เหมือนเราไหม เขาเข้าใจบริบทพื้นฐานของเราหรือไม่ คุณคิดเหมือนฝรั่งคิดหรือไม่ ก็ไม่เหมือน
การทำรัฐธรรมนูญถ้าจะให้เหมาะสมกับคนไทยด้วยและคนต่างประเทศด้วย มันเป็นเรื่องยาก
ส่วนเสนอ 5 ปีของนายบวรศักดิ์ นั้นความหมายตามที่ผมเข้าอาจจะหมายถึงช่วงเวลาการปฏิรูปที่อาจจะจบภายใน 5 ปีซึ่งกฎหมายฉบับนี้เท่าที่ผมดู มีความเข้มข้นหลายอย่าง เพื่อจะแก้ปัญหาทั้งหมด ทั้งเรื่องการทุจริต ความไม่โปร่งใส การใช้จ่ายงบประมาณ การเข้าสู่อำนาจ ซึ่งเขาต้องการล้มภาพเก่าไม่ให้เกิดขึ้นอีก
"ผมจึงบอกว่าอาจจะเป็นรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปก็ได้ ซึ่งการปฏิรูปที่ว่า หมายถึงระยะเวลา 5 ปี 10ปี หรือ20 ปีก็แล้วแต่ หากท่านอยากจะแก้ใหม่ก็แก้เถอะ ท่านเลือกตั้งมาแล้ว จะแก้รัฐธรรมนูญก็แก้ได้ เขาเขียนไว้หรือเปล่าว่าห้ามแก้ ก็ต้องแก้ในสิ่งที่ควรจะแก้ ไม่ใช่แก้ในสิ่งที่ไม่ควรแก้ จะเอาอะไรกันอีก เสรีภาพเอาอย่างไร ไม่ต้องมีแล้วมั้งกฎหมาย อยากจะไปทำอะไรกันก็ทำ ก็เอาตามใจ"
เมื่อถามว่า เท่าที่ดู 315 มาตรา เยอะไปหรือไม่ เพราะนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมายระบุว่า จำนวนมาตราเยอะเกินไปสามารถตัดทอนลดลงได้ นายกฯ กล่าวว่า ผมพูดหลายครั้งแล้วว่าคนไทยชอบกฎหมายอยากมีกฎหมายโน่นกฎหมายนี่ แล้วบังคับใช้ไม่ได้ ตนถึงบอกว่าต้องยกระดับความคิดความเข้าใจ ปรับทัศนคติกันใหม่ ตนไม่ได้ว่าบ้านเราไม่ฉลาด คนไทยฉลาดจะตายเข้าใจหมด แต่มองมุมเดียว ทั้งนี้เราต้องเอาผลประโยชน์มาร่วมกัน แล้วสังคายนาดูว่าควรจะถ่วงดุลอย่างไร พวกไหนได้เท่าไร แค่ไหน ไม่มีใครได้ทั้งหมดหรอก
"ในความคิดของผมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อาจจะไม่ใช่รัฐธรรมนูญถาวรก็ได้หากจะปฏิรูป เพราะถ้าเป็นรัฐธรรมนูญธรรมดาปฏิรูปไม่ได้แน่นอน ทำมากี่รัฐบาลแล้วทำได้หรือไม่ แล้วก็มีเรื่องมีราวกันมา ถ้าไม่ปฏิรูปท่านก็ร่างไปแบบเดิม เผลอๆไม่ต้องร่างก็ได้ ก็รบกันแบบเก่าก็ตามใจ" นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า เรื่องทำประชามติจะว่าอย่างไร นายกฯ กล่าวว่า ไปดูรัฐธรรมนูญ เขาเขียนว่าอย่างไร เขาไม่ได้เขียนให้ทำประชามติ ถ้าจะทำก็ไปแก้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ซึ่งคนตัดสินใจไม่ใช่ตน แต่อยู่ที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญหรือสปช. ตนบอกแล้วเราไม่ได้มีอำนาจสั่งเขาตรงนั้น รัฐธรรมนูญเขียนไว้อย่างนั้น วันนี้เหมือนมี สองสภา ถ้ามีความเห็นต้องแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว ก็ต้องขอมาที่ตน ซึ่งตนจะส่งไปที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไปทำเรื่องแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว จะทำอะไรก็ทำกันตรงนั้น
"ถ้าเขาคิดว่า ถ้าปล่อยให้ผ่านตอนนี้ก็ตีกัน ผมจะไปสั่งให้ผ่านได้หรือไม่ ถ้ามันจะตีกันมันก็ตี ทำอย่างไรให้ผ่านโดยไม่ต้องตี หรือถ้าไม่ผ่านก็ร่างกันใหม่แค่นั้น" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ตกลงจะเป็นช่วงเวลาไหนที่จะตัดสินใจทำประชามติ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า วันไหนก็วันนั้น เขากำหนดวันสุดท้ายไว้วันไหน แต่ผมไม่ตัดสินใจ เขาต้องตัดสินใจมา เพราะหน้าที่ของเขาคือการร่างรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ เมื่อรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ต้องให้สปช.ทบทวน ถ้าเขาไม่แก้ เขาก็ทูลเกล้าฯ ถวาย เขาก็ต้องรับผิดชอบเอง เข้าใจหรือยัง ไม่ใช่ผมจะชี้นกเป็นนก ถ้าผิดพลาดก็ผมอีกซิ ให้เข้ามาร่างแล้วไง แล้วคุณรู้ไหมสปช.มีกี่พวก ในสปช.มีทุกพวกไปดู มีทุกสี ถ้าตกลงกันไม่ได้ ก็เหมือนเดิม ผมถึงบอก นี่คือส่งที่เขาต้องเรียนรู้จะทำกันอย่างไร ไปทำมา ไม่ใช่ผมต้องมาคอยตัดสิน ผมจะอยู่กับเขาจนแก่เฒ่าหรืออย่างไร ไม่ใช่ เข้าใจหรือยัง "


30เม.ย.40ปีวันไซง่อนแตก