PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

รธน.ม.181,182 ที่ฝ่ายเดียวกันเองบอกว่าเผด็จการ


"วิษณุ" รับ มาตรา 181-182 ในร่างรธน.อาจเป็นปัญหา
วันพุธที่ 29 เมษายน 2015 เวลา 17:53 น.
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอของนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ให้ตัดมาตรา 181 และ 182 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรี เสนอกฎหมายพิเศษ ถ้าไม่มีการอภิปรายไมไว้วางใจให้ถือว่าผ่านความเห็นชอบ และการให้อำนาจนายกรัฐมนตรียื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตัวเองได้ โดยที่ฝ่ายค้านจะไม่สามารถดำเนินการได้ในสมัยประชุมนั้น ออกไป ว่าเป็นความคิดเห็นของท่าน ซึ่งหลายคนก็วิจารณ์ว่ามาตราเหล่านั้นเป็นของใหม่ที่ไม่เคยมี ทั้งนี้ยอมรับว่า มาตราเหล่านี้เป็นของใหม่ที่อาจเป็นปัญหา ทั้งนี้ทางรัฐบาลเตรียมตั้งข้อสังเกตเสนอไปยังกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แต่ถึงขนาดว่าจะให้ตัดออกหรือไม่นั้นตนยังไม่ตัดสินใจ
         
ส่วนการเสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญไปก่อน 5 ปี แล้วค่อยแก้ไขตามที่นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอนั้น เห็นว่า ประชาชนเริ่มไม่แน่ใจ เพราะการรัฐประหารครั้งที่ผ่านมาก็พูดแบบนี้ แล้วสุดท้ายจะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้รึเปล่าก็ไม่รู้ หรือว่าจะเกิดความเสียหายก่อนครบ 5 ปีหรือไม่ ทั้งนี้มาตราใหม่ที่เขียนไว้ในร่างรัฐธรรมนูญเข้าใจว่ากรรมาธิการนกร่างฯหวังว่าจะให้มันแก้ปัญหาได้ แต่ต้องเร่งทำความเข้าใจให้มากว่ามาตราแต่ละมาตราที่คิดขึ้นใหม่ มีไว้เพื่อแก้ปัญหาอะไร
       
ส่วนการทำประชามติ    นายวิษณุกล่าวว่า หากมีการทำประชามติจริง ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว ก่อนวันที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 6 ส.ค.นี้
/////////////
ซัดสร้างเผด็จการรัฐสภาเต็มรูปแบบ


นายสมบัติ กล่าวอีกว่า มาตรา 181 และ 182 ซึ่งให้นายกยื่นญัตติไว้วางใจตัวเอง ถ้าไม่ได้รับความไว้วางใจมีอำนาจยุบสภาได้ เป็นการกีดกันไม่ให้ฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ แม้จะอ้างว่าเป็นการบล็อกไม่ให้พรรคร่วมรัฐบาลไปร่วมกับฝ่ายค้านก็ไม่สมเหตุผล อีกทั้งเห็นว่ากลไกนี้ไม่เหมาะสม มาตรา 182 ยิ่งน่ากลัวเรื่องการเสนอกฎหมายเร่งด่วนออก พ.ร.ก.ได้ แต่ให้อำนาจพิเศษในการเสนอกฎหมายพิเศษในหนึ่งสมัยประชุม อันตรายมากคล้ายพ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพราะถ้าฝ่ายค้านไม่อภิปรายไม่ไว้วางใจภายใน 48 ชั่วโมงก็ถือว่ากฎหมายผ่าน หรือถ้าผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ถือว่ากฎหมายฉบับนี้ผ่านไปโดยปริยาย แม้จะอ้างว่ามี ส.ว.กลั่นกรองแต่เป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อประเทศจึงต้องถามว่ากรรมาธิการฯ กำหนดไว้เพื่ออะไร เพราะเป็นการส่งเสริมให้รัฐบาลมีอำนาจเผด็จการ เท่ากับรัฐธรรมนูญรองรับเผด็จการรัฐสภาเต็มร้อย ส่วนการแปรญัตติจะมีผลในทางปฏิบัติหรือไม่ เพราะอำนาจการตัดสินใจเป็นของกรรมาธิการยกร่างฯ นั้น นายสมบัติ ออกตัวว่ายังไม่พูดถึงอนาคตเพราะอาจมีการปรับแก้ไขก็ได้ แต่ถ้ายังดำรงร่างรัฐธรรมนูญเช่นนี้จะเป็นระเบิดเวลาสำหรับประเทศตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นไว้ ซึ่งกรรมาธิการควรจะรับฟังและนำไปพิจารณาประกอบการตัดสินใจด้วย


“มาร์ค” จวกสร้างเผด็จการรัฐสภา


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงภาพรวมการอภิปรายร่างรัฐธรรมนูญร่างแรกตลอด 7 วันที่ผ่านมาว่า ถ้าทางกรรมาธิการยกร่างฯ จะรับฟังเสียงท้วงติงทั้งในและนอกสภาปฏิรูปฯ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะหลายเรื่องเป็นการท้วงติงที่ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ของผู้ที่แสดงความเห็น อีกทั้งไม่มีเหตุผลชัดเจนที่ต้องบัญญัติมาตราที่สร้างปัญหา ผมยืนยันต้องเอามาตรา 181 และ 182 ที่ให้อำนาจนายกฯ เสนอกฎหมายพิเศษ ถ้าไม่มีการอภิปรายไม่ไว้วางใจให้ถือว่าผ่านความเห็นชอบ และการให้อำนาจนายกฯ ยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตัวเองได้ โดยที่ฝ่ายค้านจะไม่สามารถดำเนินการได้ในสมัยประชุมนั้น เพราะถือเป็นครั้งแรกที่มีการสร้างเผด็จการรัฐสภาที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ


โวย คกก.ปรองดองอำนาจล้น


นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงอำนาจของคณะกรรมการเสริมสร้างความปรองดองฯ 15 คนที่จะเกิดขึ้นใหม่ตามรัฐธรรมนูญว่า การกำหนดอำนาจหน้าที่ใน (6) ที่ระบุว่ากรรมการสามารถอภัยโทษให้กับผู้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หรือสำนึกผิดต่อกรรมการและก่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อ ครม. นั้นจะเป็นประเด็นที่นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างรุนแรงแน่นอน ซึ่งตนไม่เข้าใจว่าเหตุใดกรรมาธิการฯ จึงไม่เรียนรู้จากวิกฤติประเทศที่ผ่านมาว่าประชาชนต่อต้านการนิรโทษกรรมให้กับคนที่ทำผิดร้ายแรง แม้แต่มาตรา 182 ที่ให้นายกฯ เสนอกฎหมายพิเศษได้หนึ่งฉบับต่อหนึ่งสมัยประชุม ก็อาจมีเจตนาเดียวกันคือให้เสนอกฎหมายนิรโทษกรรมได้ แม้จะอ้างว่ากฎหมายดังกล่าวต้องไปผ่านการพิจารณาของวุฒิสภา ก็ต้องถามว่าทำไมกีดกันเสียงข้างน้อย ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนไม่ให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย เท่ากับกลายเป็นว่า ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการร่างกฎหมาย มีแต่ฝ่ายบริหารกับ ส.ว.ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้เลือกตั้งมีอำนาจในการพิจารณา ผมไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมต้องเขียนไว้แบบนี้ เช่นเดียวกับเรื่องอำนาจพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ เพราะการเขียนรัฐธรรมนูญเช่นนี้นักการเมืองโกงที่บ้าอำนาจจะชอบมาก ไม่ใช่ว่าคนที่ออกมาท้วงติงเสียประโยชน์อย่างที่กล่าวอ้างในขณะนี้


ตือน รธน.ระเบิดเวลาหากไม่แก้


นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.และนายกรัฐมนตรี แสดงความหงุดหงิดต่อข้อเสนอของพรรคการเมืองว่าให้เลื่อนเลือกตั้งเพื่อทำรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยและให้มีการลงประชามติ โดยเห็นว่านักการเมืองไม่มีสิทธิ์มาต่อรองนั้น เบื้องต้นกรรมาธิการฯ ต้องแก้ไขในส่วนที่เป็นปัญหาก่อน เพราะในการอภิปรายกรรมาธิการฯไม่สามารถชี้แจงได้ในหลายประเด็นสำคัญ แต่ตนยังให้เกียรติเพราะกรรมาธิการฯ บอกว่าจะรับฟังและนำไปแก้ไข อย่างไรก็ตามหากไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนและไม่มีการลงประชามติด้วย รัฐธรรมนูญนี้จะกลายเป็นระเบิดเวลาประเทศไทยที่สร้างความขัดแย้งไม่เบาไปกว่าในอดีต และความตั้งใจของ คสช.ในการทำรัฐประหารก็จะสูญเปล่า
/////////////////////
ถึงคุณสลิ่มทั้งหลาย ถ้ามาตรา 181-182 ที่มอบอำนาจล้นฟ้าให้กับ นายกรัฐมนตรี ชื่อ " ทักษิณ"
กระทู้คำถาม
การเมือง
" กึ่งหนึ่ง" หมายถึง ครึ่งหนึ่งจำนวน สส ทั้งหมดทั้งที่เข้ามาหรือไม่เข้ามาร่วมประชุมในวันนั้น

1. สามารถขอมติไว้วางใจเกินเสียงที่กำหนดไว้
ไม่ให้"ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจว่ารัฐบาลทำผิดถูกอย่างไร"
ต้องการจะตัดตอนการตรวจสอบของสภาผู้แทนราษฎรโดยเฉพาะ

2. ตามมาตรา 182 วรรคแรก ถ้านายกแถลง พรบ แล้วไม่ขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ภายในสี่สิบแปดชั่วโมงให้ถือว่า "ผ่านสภา" ไปเลย ทั้งที่สภาผู้แทนราษฎรไม่มีโอกาสพิจารณา

3. มาตรา 182 วรรค2 ตีความได้ว่าถ้านายกแถลง พรบ และมีการรวมชื่อกันอภิปรายไม่ไว้วางใจ "และมีมติไม่ไว้วางใจ" หากไม่เป็นคะแนนไว้วางใจแบบสมบูรณ์ด้วยคะแนน"เกินกึ่งหนึ่ง" ก็ต้องถือว่า "ผ่านร่าง" นั้น!!

4. เปิดช่องให้"พรรคเล็กพรรคน้อย"มีโอกาสล็อบบี้ต่อรองผลประโยชน์ในการยกมือไว้วางใจ, การเข้าร่วมมติไม่ไว้วางใจ ไปจนถึงการเข้าร่วมประชุมสภาได้เลยทีเดียว!

สิ่งที่เกิดขึ้น คือ "การตรวจสอบของฝั่งนิติบัญญัติเป็นง่อย" ในทันที
กล่าวคือ การวิพากษ์วิจารณ์ถึงข้อดีข้อเสียของ พรบ. จะแทบไม่มี จะเหลือแค่การลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจหรือไม่เท่านั้น

ลองคิดดูนะครับว่ามันจะเลวร้ายแค่ไหน??????

ส่วนสลิ่มคิดไม่ออกว่ามันเลวร้ายยังไง????
ให้นึกถึงนายกคนนอกชื่อ "ทักษิณ" มีอำนาจออกกฏหมายที่สามารถเอื้อพวกพ้องยังไงก็ได้
แล้วมีกฏหมายให้อำนาจ"ไอ้แม้ว"ในการทำแบบนั้นล้นฟ้าก็แล้วกัน อีโมติคอน colonthree
แล้วถามตัวเองดูว่ารับได้หรือไม่ได้??   5555555  กะลาเเลนด์

ไม่มีความคิดเห็น: