PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เวทีประวัติศาสตร์อีกครั้งคสช.-พรรคการเมือง


เวที ประวัติศาสตร์ 

พลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช.  นำ ครม.-คสช.-กกต.-สนช.-กกต. ประชุมชี้แจงแผนและ ขั้นตอนการดำเนินการทางการเมือง
 
กกต.ทำหนังสือเชิญได้ 97 พรรค จากที่มี พรรคการเมืองทั้งหมด111 พรรค 
ส่วนที่เหลือติดต่อไม่ได้ โดยมีพรรคที่ตอบรับมาร่วมหารือวันนี้ 75 พรรคการเมือง

เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไป  กับตัวแทนพรรคการเมือง ที่ ห้องมัฆวานรังสรรค์ สโมสรทหารบกวิภาวดี ถนนวิภาวดีรังสิต
///
เรียบโร้ยยยย.....คสช.

“นายกฯบิ๊กตู่” ลงมาจากการประชุมแม่น้ำ5 สาย กับ 75 พรรคการเมือง  ใช้เวลา 2ชม.ครึ่ง ลงมา ไม่แถลงข่าว แต่ยกนิ้วโป้ง บอก“เรียบร้อยดี”.....”เขาเข้าใจกันดี”
///
เอ๊ะ?! ยังไง

ทั้ง “น้องตู่” และ “พี่ใหญ่ป้อม” ออกมาบอกว่า ...”เรียบร้อยดี” เหมือนกันเลย!!....แต่หน้าตา ทั้งคู่ ก็กลับดู ไม่ได้ แฮปปี้ มากมาย เท่าใดนัก!!

คงมิใช่ “ใจหาย” ว่า ใกล้เวลา คสช. บ๊ายบาย
เพราะยังไง ก็กลับมาใหม่....แต่จะเป็นอย่างที่คาดคิด ไว้มั้ย....รอดู คืนวันเลือกตั้ง 24 กพ.2562.....ก่อนมีเวลา 1เดือน ให้ กกต.รีบรองผล ใน25 เมย.62
///
หลังปีใหม่...”บิ๊กตู่” ต้องตัดสินใจ...จรดปากกา เซ็นชื่อ ให้พรรคพลังประชารัฐ เสนอขื่อเป็นนายกฯ14-18 มค.2562 

ไทม์ไลน์  กกต.ในที่ประชุม แม่น้ำ5 สาย. ครม.-คสช.-สนช.-กรธ.-กกต. 7ธันวาคม2561 สโมสรทบ.วิภาฯ

ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง 2 มกราคม 2562
เลือกตั้ง24กพ.2562
///
“สีแดง” นอกรั้ว สโมสรทหารบก

“เอกชัย​ หงส์กังวาน” และ “คนอยากเลือกตั้ง” สวมเสื้อแดง  มาเรียกร้องให้จัดการเลือกตั้ง 24 กพ.2562 ด้านหน้า สโมสร ทหารบก  วิภาวดีฯ

ก่อนที่การประชุมร่วมแม่น้ำ 5 สายและตัวแทน 75 พรรคการเมืองจะหารือกันในสโมสรทหารบก....ที่เต็มไปด้วยทหารหลายร้อยนาย โดยเฉพาะทหารบกมากที่สุด เขียวพรึ่บ!!

ยังไม่ถึงเวลา

ดู......ท่าที “บิ๊กป้อม” เมื่อถูกถามเรื่อง” นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์......ยิ้ม  หัวเราะ อารมณ์ดี เรียก “นายกฯอภิสิทธิ์”บ้าง เรียก”ท่าน” บ้าง !! ยัน มี “ไมตรี” กับ ทุกพรรค !!

“บิ๊กป้อม” หัวเราะร่า.....นักข่าวทัก ว่า อารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ผิดปกติ...มี ข่าวดีอะไรหรือไม่.....โดยเฉพาะ ข่าวดีทางการเมือง และ พรรคประชาธิปัตย์. และโดยเฉพาะกับ”นายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” พร้อมพบปะพูดคุย  ย้ำคำมาร์ค “ยังไม่ถึงเวลา” เปล่าปิดประตู ร่วมรัฐบาล หนุน “บิ๊กตู่”  ยัน มีไมตรี กับ ทุกพรรค

เผย เหตุอารมณ์ดี ก็ไม่มีอะไร ก็ไม่เล่นการเมืองแล้ว ก็ต้องอารมณ์ดี เพราะตัดสินใจแล้วว่าจะไม่เล่นการเมือง 

แต่จะรับตำแหน่งทางการเมืองหลังการเลือกตั้งหรือไม่นั้น ยังไม่ทราบ ก็ไม่รู้อนาคตแต่วันนี้ทำตรงนี้ให้ดีที่สุด

สนช. นัดแถลงผลงาน 4 ปี ออกกฎหมายกว่า 300 ฉบับ ย้ำเวลาที่เหลือจะมุ่งมั่นเพื่อชาติ ประชาชน

27/9/18
นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เป็นประธานเปิดการแถลงผลงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. 4 ปี โดยกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ที่สำคัญของ สนช. ว่า สนช. มีหน้าที่ตรากฎหมาย ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน และให้ความเห็นชอบให้บุคคล ดำรงตำแหน่งที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้นับแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2557 มีการประชุม สนช. นัดแรกนั้น สนช. ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่มีการปิดสมัยประชุม

ซึ่งนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช. กล่าวว่า ผลงานของ สนช. แบ่งเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย

ผลงานด้านนิติบัญญัติ มีกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. จำนวน 347 ฉบับ แบ่งเป็น ร่างกฎหมายที่ให้ความเห็นชอบและประกาศใช้เป็นกฎหมายแล้ว 315 ฉบับ โดยประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว 306 ฉบับ อยู่ระหว่างรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา 9 ฉบับ นอกนั้นอยู่ระหว่างบรรจุระเบียบวาระการประชุม โดยการพิจารณากฎหมายแต่ละฉบับได้ดำเนินการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญในการรับฟังความเห็นรอบด้าน กฎหมายที่สำคัญ เช่น พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พระราชบัญญัติภาษีมรดก พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาและพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังภาครัฐ

ผลงานด้านการดูแลประชาชนมีโครงการ สนช. พบประชาชน รับเรื่องร้องผ่านโครงการดังกล่าวถึง 10,523 เรื่อง เช่น ปัญหาที่ดิน ปัญหาแหล่งน้ำ การเกษตร คมนาคม เศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีเรื่องร้องเรียนผ่านคณะกรรมาธิการ สนช. 948 เรื่อง พิจารณาแล้วเสร็จ 832 เรื่อง และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ปัญหา

ผลงานด้านการต่างประเทศ มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีและถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองของไทยในเวทีระหว่างประเทศ โดยส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมในต่างประเทศ และการเดินทางไปเยือนระดับทวิภาคี ทำให้ไทยยังคงสถานะในเวทีระหว่างประเทศ

ผลงานด้านการส่งเสริมและเผยแพร่ระบอบประชาธิปไตย มีโครงการส่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชน เยาวชน ผ่านโครงการพัฒนาผู้นำ ประชาธิปไตย สำหรับเยาวชนด้วยกระบวนการลูกเสือ โครงการเสริมสร้างความพร้อมแก่ท้องถิ่น โครงการเผยแพร่ความรู้ประชาธิปไตยผ่านโรงเรียนต่างๆ

นอกจากนี้ยังมีกระทู้ถามรัฐบาล 87 กระทู้ เช่น การขอพักชำระหนี้เกษตร การแก้ไขปัญหาขยะพิษ ทั้งนี้ สนช. ยังมีภารกิจรวบรวมความเห็นประกอบการพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ส่วนห้วงเวลาที่เหลือ สนช. ทุกคนจะอุทิศตนด้วยความมุ่งมั่นเข้มแข็ง เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชน ตามคำขวัญ ‘ใส่ใจประชา นำพาสู่การปฏิรูปประเทศ’

4 ปี สนช.ออโต้โหวต รูดปรื๊ด กม. 300 ฉบับ ตีตั๋ว “บิ๊กตู่” อยู่ต่อ

4 ปี สนช.ออโต้โหวต รูดปรื๊ด กม. 300 ฉบับ ตีตั๋ว “บิ๊กตู่” อยู่ต่อ

กว่า 4 ปี ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เป็นมือ-ไม้ เป็นหนึ่งในแม่น้ำสายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ทำหน้าที่ผ่านกฎหมายทั้งเศรษฐกิจ-การเมือง ให้กับรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในสถานการณ์พิเศษ ละเอียดอ่อน
อนุมัติ-แต่งตั้ง บุคคลในองค์กรอิสระต่าง ๆ ไม่ว่า ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คุมเกมการเมืองหลังเลือกตั้ง
วางกฎกติกาอนาคตหลังเลือกตั้ง ไม่ว่ากฎหมายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กฎหมายแผนและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน และอาจกล่าวได้ว่า สนช.เป็นผู้สร้างบันได “นายกฯนอกบัญชี” ผ่านคำถามพ่วงประชามติ เป็นตัวเลือกหนึ่ง หาก พล.อ.ประยุทธ์ตัดสินใจเดิมพันเก้าอี้นายกฯต่ออีกสมัย
4 ปี ผ่าน กม.เกือบ 300 ฉบับ
อย่างไรก็ตาม เส้นทางสายนิติบัญญัติยุค คสช. มีการบันทึกไว้เป็นสถิติว่า สนช.ได้รับร่างกฎหมายมาพิจารณาทั้งสิ้น 364 ฉบับ แบ่งเป็น กฎหมายจาก คสช. 21 ฉบับ และกฎหมายจากคณะรัฐมนตรี 299 ฉบับ และ สนช.เสนอเอง 44 ฉบับ สนช.เห็นชอบให้เป็นกฎหมายแล้ว 284 ฉบับ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 278 ฉบับ รอประกาศในราชกิจจานุเบกษา 6 ฉบับ
นอกจากนี้พิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ 13 ฉบับ โดยรับมาจากคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) 10 ฉบับ ประธาน ป.ป.ช.เสนอมา 2 ฉบับ และ ครม.เสนอมา 1 ฉบับ
ออก กม.คุมม็อบ-โซเชียล
อย่างไรก็ตาม ในจำนวนกฎหมายนับร้อยฉบับที่ สนช.ทำหน้าที่มา 4 ปี มีกฎหมายประเภท “ติดดาบ” ให้ คสช.คุมการเมืองได้สงบราบคาบ เป็นกฎหมายที่พรรคการเมืองไม่ว่าขั้วไหน ก็ไม่สามารถออกได้ นั่นคือ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558
สาระสำคัญกฎหมายฉบับนี้ หัวใจสำคัญอยู่ที่หากจะจัดการชุมนุมสาธารณะ ให้แจ้งการชุมนุมต่อหัวหน้าสถานีตำรวจแห่งท้องที่ก่อนเริ่มการชุมนุมไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง พร้อมกับต้องระบุวัตถุประสงค์ วันที่ ระยะเวลา สถานที่ชุมนุม จำนวนผู้เข้าร่วมชุมนุม การขอใช้เครื่องขยายเสียงที่ต้องระบุกำลังขยายและระดับเสียงที่จะใช้สำหรับการชุมนุมให้ชัดเจน ถ้าไม่แจ้งการชุมนุม ผลลัพธ์สุดท้ายก็นำไปสู่การดำเนินคดีอาญา

พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2560 ก็เป็นอาวุธอีกชิ้นหนึ่งที่ปรามการเคลื่อนไหวการเมืองบนโลกโซเชียล ที่ปัจจุบันมีความสำคัญอย่างยิ่ง หัวใจสำคัญของ พ.ร.บ.คอมพ์ เช่น ในกรณีที่มีการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย สามารถตั้งคณะกรรมการ กลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์จะมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลาย หรือลบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ได้
ขณะเดียวกันยังวางกลไกล็อก “ประชานิยม” ไม่ให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ฉวยโอกาสใช้งบฯ-เงินประเทศในการหาความนิยมทางการเมือง โดยไม่คิดถึงเงินในกระเป๋า ผ่าน พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ 2561 ในมาตรา 9 ที่บัญญัติว่า
“ในการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายการคลัง การจัดทํางบประมาณ การจัดหารายได้ การใช้จ่าย การบริหารการเงินการคลัง และการก่อหนี้ คณะรัฐมนตรีต้องพิจารณาประโยชน์ที่รัฐ หรือประชาชนจะได้รับ ความคุ้มค่า และภาระการเงินการคลังที่เกิดขึ้นแก่รัฐ รวมถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐอย่างรอบคอบ”
“คณะรัฐมนตรีต้องไม่บริหารราชการแผ่นดินโดยมุ่งสร้างความนิยมทางการเมือง ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและประชาชนในระยะยาว”
เตะถ่วงกฎหมายเหลื่อมล้ำ
ทว่า “พล.อ.ประยุทธ์” ตั้งธงออกกฎหมายในเรื่องที่ “รัฐบาลนักเลือกตั้ง” ไม่สามารถออกได้ แต่กฎหมายที่มุ่งแก้ปัญหาอันเป็นรากฐานสังคม มาจากความเหลื่อมล้ำระหว่างชนชั้น ยังไปไม่ถึงไหน ก็เพราะใน สนช.เต็มไปด้วยนายทุน-แลนด์ลอร์ด
โดยเฉพาะร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ และร่าง พ.ร.บ.พัฒนาและกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ หรือกฎหมายซูเปอร์โฮลดิ้ง ยังถูก “เตะถ่วง” อยู่ใน สนช.
“พรเพชร วิชิตชลชัย” ประธาน สนช.
กล่าวถึงกฎหมายภาษีที่ดินฯว่า กำลังดูอยู่ว่าจะจัดให้เป็นธรรมอย่างยิ่ง ส่วนกฎหมายทรัพยากรน้ำยังไม่ได้ดูละเอียด 3-4 ฉบับมีข่าวว่าจะเลื่อนใช้ไปถึงปี 2563 ก็เป็นเพียงข่าว แต่กฎหมายภาษีที่ดินฟังดูแล้ว รัฐบาลอยากจะดูว่า ฟังเสียงประชาชนเพียงพอไหม อยากจะฟังเสียงขององค์ประกอบต่าง ๆ อาจจะเลื่อนก็ได้ แต่ สนช.เสนอกันว่า อยากให้กฎหมายออกภายในปีนี้ เราจะไม่ทิ้งกฎหมายไว้เพื่อไปช่วยใคร อย่างไรรัฐบาลใหม่ก็ต้องนำมาทบทวน ถ้าไม่เสร็จจริง ๆ แล้วจะเห็นปัญหา
“กฎหมายขัดกันแห่งผลประโยชน์น่าจะออก แต่ต้องดูให้เหมาะสม เพราะกฎหมายที่ร่างมา ถ้าออกมาปั๊บ ผิดปุ๊บเลย จึงอาจจะต้องมีข้อยกเว้นให้ ยกตัวอย่าง ภรรยาทำวันนี้อยู่ แต่พอกฎหมายมีผลบังคับใช้ ผิดเลยนะ หรือบางคนยังไม่รู้ แต่ใช้รถราชการอยู่ แวะไปนิดเดียว แวะข้างทางกินก๋วยเตี๋ยวนิดเดียว ผิดเลยนะ ไม่ได้ ต้องมีเวลาเตรียมตัว”
ยังไม่นับ พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดกที่เก็บภาษีจากคนรวยในอัตราที่เบาหวิว
ชงคำถามพ่วง ส.ว.เลือกนายกฯ
นอกจากเนื้องานด้านกฎหมาย สนช.ยังมีบทบาทสำคัญต่อเส้นทางการเมืองของ “พล.อ.ประยุทธ์” ในอนาคตย้อนกลับไปช่วงที่ทุกฝ่ายพุ่งเป้าไปที่การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ ฝ่าย สนช.ได้มีมติครั้งสำคัญ ให้มี “คำถามพ่วง” ประชามติ ถามประชาชนไปในคราวเดียวกันว่า
“ท่านเห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเกิดความต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”
ดังนั้น ที่ประชุม สนช.มีมติเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2559 เห็นชอบให้มีคำถามพ่วง 152 เสียง ต่อ 0 งดออกเสียง 16 เสียง จากผู้เข้าประชุม 167 คน
หลังจากรัฐธรรมนูญมีชัย ผ่านการลงประชามติ ทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จึงต้องมาแก้ไขในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ เปิดทางให้มีวิธีการเลือกนายกฯคนนอก-นอกเหนือนายกฯในบัญชีที่พรรคการเมืองเสนอ โดยให้ ส.ว. 250 คน ที่มาจากการแต่งตั้งโดย คสช. มีส่วนร่วมโหวต “นายกฯ” ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ในช่วง “เปลี่ยนผ่านการเมือง 5 ปี”
“พรเพชร” ประธาน สนช. ให้เหตุผล ส.ว.ร่วมเลือกนายกฯว่า “บทบาทของ ส.ว. เราเห็นว่า ส.ว.ต้องมีบทบาท มิเช่นนั้น แผนการปฏิรูปตามรัฐธรรมนูญจะเดินต่อไปไม่ได้ จึงต้องให้ ส.ว.มีบทบาทมากขึ้น มีการแก้ไขในบทเฉพาะกาลให้ ส.ว.มีส่วนเลือกนายกฯ แต่ทำไปด้วยความมุ่งหวังให้ประเทศไทยมีรอยต่อ เชื่อมต่อที่ไปได้โดยไม่ถูกพับฐาน และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ”
ส่วนถูกมองเป็นนายกฯรอบสองหรือไม่ “พรเพชร” ชี้แจงว่า “ถูกมองได้อย่างนั้น แต่จะไม่ได้สะดวก ที่จะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เพียงแต่ต้องการให้มี ส.ว.เปลี่ยนผ่าน ให้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปดำเนินการต่อไป”
ตั้งองค์กรอิสระคุมการเมือง
อีกหน้าที่หนึ่งของ สนช. คือ การลงมติให้ความเห็นชอบบุคคลที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ อันถือเป็นองค์กรที่ถ่วงดุลอำนาจฝ่ายบริหาร ผูกพันยาวไปถึงฝ่ายบริหารหลังเลือกตั้ง
ซึ่งการลงมติเห็นชอบบุคคลที่เป็นองค์กรอิสระครั้งสำคัญครั้งหนึ่งในยุค คสช. คือ การเห็นชอบ 5 ป.ป.ช.ใหม่ แทนกรรมการ ป.ป.ช.บางรายที่อยู่ในตำแหน่งมาครบ 9 ปี หนึ่งในบุคคลที่ สนช.เห็นชอบ คือ พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (สตช.)
ซึ่งก่อนที่จะมารับตำแหน่งใน ป.ป.ช. “พล.ต.อ.วัชรพล” เป็นรองเลขาธิการนายกฯ ฝ่ายการเมือง ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม จึงถูกมองว่าได้รับตั๋วพิเศษให้มานั่งเก้าอี้ประธาน ป.ป.ช. และเมื่อ “พล.อ.ประวิตร” เจอมรสุมแหวนเพชร-นาฬิกาหรู “พล.ต.อ.วัชรพล” จึงถอนตัวไม่อยู่ในห้องประชุมเมื่อถึงวาระดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เรื่องฉาว ๆ ของ “พล.อ.ประวิตร” ก็ยังไม่มีความคืบหน้าจนถึงปัจจุบัน
แถม ป.ป.ช.ยังไม่ถูกพิษ “เซตซีโร่”
ล้างไพ่เหมือนกรรมการในองค์กรอิสระองค์กรอื่นอย่าง กกต. และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็เพราะ สนช.ในฐานะองค์กรที่ร่วมร่างกฎหมายลูกขององค์กรอิสระต่าง ๆ ไฟเขียวให้กรรมการ ป.ป.ช.ชุด พล.ต.อ.วัชรพล ทำหน้าที่ต่อไปได้จนกว่าจะครบวาระ 9 ปี ผิดจาก กกต. และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา สนช.ได้เลือก กกต.ชุดใหม่ 5 คน จาก 7 คน ให้มาคุมการเลือกตั้ง ปี 2562 แทน กกต.ชุดศุภชัย สมเจริญ ที่ต้องพ้นตำแหน่งเพราะ สนช.ให้เหตุผลว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เพิ่มอำนาจหน้าที่ กกต.มากขึ้น คุณสมบัติจึงเข้มข้นตามมาด้วย และควรเริ่มดำเนินการเลยเพื่อให้ได้ กกต.ชุดใหม่มาปฏิบัติหน้าที่ต่างไปจากตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่ไม่ถูก สนช.เซตซีโร่ สนช.ให้เหตุผลว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่องค์กรอิสระตลอด 4 ปี สนช.ทำหน้าที่อย่างแข็งขัน เป็นผู้กำหนดเกม เป็นมือ-ไม้ออกกฎหมาย ออกแบบช่องทางเข้าสู่อำนาจให้ พล.อ.ประยุทธ์สำเร็จ สำหรับกฎหมายแก้ความเหลื่อมล้ำ
ที่บรรจุเป็นวาระต้น ๆ ยังไปไม่ถึงไหน

คสช. ใช้ ม.44 ตั้ง คกก.ขับเคลื่อนการปฏิรูป ด้าน สนช. ผ่านกฎหมาย 3 ฉบับ

NLA Weekly (26 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2561): คสช. ใช้ ม.44 ตั้ง คกก.ขับเคลื่อนการปฏิรูป ด้าน สนช. ผ่านกฎหมาย 3 ฉบับ

ความเคลื่อวไหวในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) สัปดาห์นี้ พบว่า สนช. มีการพิจารณากฎหมายจำนวน 8 ฉบับ แบ่งเป็น การเห็นชอบให้ผ่านเป็นกฎหมายจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) สหกรณ์ ร่าง พ.ร.บ.สำนักงานศาลยุติธรรม และร่าง พ.ร.บ.การจำหน่ายที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในท้องที่ตำบลคลองประเวศ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 
 
ด้านหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวฯ พ.ศ.2557 ประกอบมาตรา 265 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช. 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 19/2561และ 20/2561
 
26 พฤศจิกายน 2561
 
คสช. ใช้ ม.44 ตั้งสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศฯ
 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ออกคำสั่งฉบับที่ 19/2561 โดยให้จัดตั้งสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสำมัคคีปรองดอง มีสถานะเทียบเท่ากรมที่ไม่ได้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการต่างๆ ที่นายกรัฐมนตรีเคยแต่งตั้ง หรือ แต่งตั้งตามคำสั่งหัวหน้าคสช. เช่น คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) และคณะกรรมการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล (กขร.) เป็นต้น
 
 
นอกจากนี้ ให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศฯ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรองนายกรัฐมนตรี  และรัฐมนตรีอีก 3 คน พร้อมกับ ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาธิการสภาพัฒน์ เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการ ก.พ.ร. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชนจำนวนไม่เกิน 3 คน กำหนดนโยบายขับเคลื่อนการปฏิรูป รวมถึงเร่งรัดและกำกับดูแลการทำงานของคณะกรรมการชุดต่างๆ
 
 
27 พฤศจิกายน 2561
 
คสช. ใช้ ม.44 คุ้มครองคำสั่งแต่งตั้งตำรวจ
 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 20/2561 โดยกำหนดให้การแต่งตั้งข้าราชการตํารวจที่เป็นไปตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการตํารวจ ปี พ.ศ.2561 และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับกำรแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่วาระการแต่งตั้งประจำปี พ.ศ. 2559 เป็นการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงของชาติ และให้ถือว่าการดำเนินการนั้น เป็นการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญและเป็นที่สุด และให้ให้ คสช. กำหนดตำแหน่งข้าราชการบริหาร ตามต้องการโดยไม่ต้องย้ายตำแหน่งทุก 4 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด
 
ที่มา: ไอลอว์
 
29 พฤศจิกายน 2561
 
สนช. พิจารณากฎหมายสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
 
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาตินัดพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยสาระสำคัญ แก้ไขมาตรา 9 ของพ.ร.บ.สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีเลขาธิการ 1 คน รับผิดชอบการปฏิบัติงานของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญและขึ้นตรงต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างสำนักงาน โดยจะให้มีตำแหน่งรองเลขาธิการด้วยก็ได้
 
 
สนช. พิจารณากฎหมายขายที่ดินมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ
 
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาตินัดพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการขายที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. .... โดย สาระสำคัญคือ การขายที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ได้มาโดยการอุทิศให้ โฉนดที่ดินเลขที่ 5748 เล่มที่ 58 หน้าที่ 48 อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่ 2 ไร่ และเมื่อได้จัดการขายแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
ที่มา: สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
 
สนช.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สหกรณ์ เตรียมประกาศใช้เป็น ก.ม.ต่อไป
 
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.สหกรณ์ โดยสาระสำคัญเป็นการแก้ไขบทบัญญัติบางประการของพระราชบัญญัติสหกรณ์ปี 2542 เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยกำหนดคุณสมบัติของสมาชิกสหกรณ์ เพิ่มคุณสมบัติของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ แก้ไขอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนสหกรณ์เพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กำหนดประเภท ลักษณะของสหกรณ์ วัตถุประสงค์และขอบเขตในการดำเนินกิจการสหกรณ์ รวมถึงกำหนดให้สหกรณ์จังหวัดเป็นนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรประจำจังหวัด เพื่อประสิทธิภาพในการกำกับดูแลกลุ่มเกษตรกรและปรับปรุงบทกำหนดโทษและอัตราโทษให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
 
ที่มา: ผู้จัดการ
 
สนช. รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.เทคโนโลยีป้องกันประเทศ
 
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติมมีมติรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.เทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อเพื่อแทนที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และให้กองทัพเข้าคุมนโยบาย ได้แก่ ให้รัฐมนตรีและปลัดกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ส่วนสถานบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศแห่งใหม่ยังคงสามารถกู้เงิน ร่วมทุน ถือหุ้นด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยไม่ต้องส่งรายได้กลับคลัง
 
ที่มา: ประชาไท
 
สนช.รับหลักการแก้ พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์ ยกเครื่องเอกซเรย์ทางการแพทย์ให้ สธ.ดูแล
 
ที่ประชุมสนช.รับหลักการวาระ 1 ร่าง พ.ร.บ.พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติฉบับแก้ไข ยกเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทางการแพทย์ที่ไม่มีวัสดุกัมมันตรังสีเป็นส่วนประกอบให้กระทรวงสาธารณสุขกำกับดูแล ด้านคณะกรรมาธิการวิสามัญ (กมธ.) ซึ่งมี นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นประธานกำหนดกรอบพิจารณาให้เสร็จวันที่ 6 ธัวาคมนี้และเสนอให้ สนช.พิจารณาก่อนสิ้นเดือน
 
ที่มา: ประชาไท
 
สนช.มีมติรับหลักกากฎหมายการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นการสอบสวน 
 
ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติรับหลักการร่างกฎหมาย การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นการสอบสวน ไว้พิจารณา
 
สำหรับสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นการนำกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางแพ่งซึ่งมีทุนทรัพย์ไม่มากนักและข้อพิพาททางอาญาบางประเภท มากำหนดเป็นกฎหมายกลาง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ หรือศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนใช้ยุติหรือระงับข้อพิพาท โดยคำนึงถึงความยินยอมของคู่กรณี
 
ส่วน ร่าง พ.ร.บ.การไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นการสอบสวน ว่าควรให้มีการไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นสอบสวนที่เกี่ยวกับความผิดที่ยอมความได้ ความผิดลหุโทษ และความผิดที่อัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 3 ปี 
 

"มาตรา 44" ครบ 200 ฉบับ ใช้ทุกประเด็นปัญหาแบบตามใจชอบ

"มาตรา 44" ครบ 200 ฉบับ ใช้ทุกประเด็นปัญหาแบบตามใจชอบ


26 พฤศจิกายน 2561 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ใช้อำนาจพิเศษตาม "มาตรา 44" ลงนามออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 19/2561 และ 20/2561 สองฉบับรวดในวันเดียว ทำให้นับถึงเวลาที่ คสช. เข้าปกครองประเทศมาได้ 4 ปี 6 เดือน พล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจพิเศษนี้ ออกคำสั่งไปแล้วนับได้ยอดรวมทั้งหมดอย่างน้อย 200 ฉบับ

"มาตรา 44" เป็นอำนาจพิเศษตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ที่เขียนขึ้นโดย คสช. ให้อำนาจกับหัวหน้า คสช. ออกคำสั่งอะไรก็ได้ที่มีผลในทางบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ แม้ต่อมารัฐธรรมนูญ 2560 ประกาศใช้ ก็ยังมีมาตรา 265 ในบทเฉพาะกาล รับรองให้อำนาจพิเศษของ คสช. ทั้งหลายยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ภายหลังการเลือกตั้งเข้ารับหน้าที่ หมายความว่า คสช. ก็ยังสามารถใช้อำนาจพิเศษเช่นนี้ไปได้เรื่อยๆ เพื่อวางรากฐานอำนาจของตัวเองให้มั่นคงก่อนและระหว่างเข้าสู่การเลือกตั้ง
 
ในปี 2557 ปีแรกที่ คสช. เข้ายึดอำนาจ คสช. รออกประกาศและคำสั่งส่วนใหญ่กว่า 200 ฉบับ โดยอ้างอิงอำนาจตัวเองในฐานะรัฏฐาธิปัตย์ และออกคำสั่งหัวหน้า คสช. อ้างอิงอำนาจมาตรา 44 ไปฉบับเดียว ในปี 2558 คสช. ใช้มาตรา 44 มากขึ้น ออกคำสั่งไปอย่างน้อย 48 ครั้ง และในปี 2559 ใช้อำนาจมาตรา 44 บ่อยที่สุดออกคำสั่งไปอย่างน้อย 78 ครั้ง ต่อมาในปี 2560 คสช. ใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งไปอย่างน้อย 57 ครั้ง และในปี 2561 ยังไม่ทันถึงวันสิ้นปี คสช. ใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งไปแล้วอย่างน้อย 20 ฉบับ 
 
ยอดรวมนี้ยังไม่รวมคำสั่งบางฉบับที่ควรจะมีแต่หาไม่พบ เช่น คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 1/2558 และ 2/2558 ทั้งสองฉบับนี้ไม่ปรากฏในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งไอลอว์เคยสอบถามทางโทรศัพท์ไปยังสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบก็ยังหาคำสั่งทั้งสองฉบับไม่พบ แต่คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 2/2558 เคยปรากฏการอ้างอิงถึงอยู่ในคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 33/2558
 
 
 
 
"มาตรา 44" ใช้กับทุกประเด็นปัญหาแบบ "ตามใจชอบ" 
 
แม้อำนาจมาตรา 44 จะจำกัดการใช้เฉพาะ "ในกรณีที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเห็นเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปในด้านต่าง ๆ การส่งเสริมความสามัคคีและความสมานฉันท์ของประชาชนในชาติ หรือเพื่อป้องกัน ระงับ หรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความสงบเรียบร้อย หรือความมั่นคงของชาติ ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน" แต่ก็เป็นขอบเขตที่วางไว้ที่กว้างขวางมาก และเป็นเหตุให้ พล.อ.ประยุทธ์ ใช้อำนาจไปอย่างน้อย 200 ครั้ง รวมแล้วครอบคลุมสารพัดประเด็นปัญหาตามความชอบใจของคนที่ออกคำสั่ง
 
เริ่มจาก คำสั่งฉบับแรกที่ใช้มาตรา 44 คือ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 1/2557 เป็นการแช่แข็งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ให้เลือกตั้งหาผู้บริหารชุดใหม่ ใครที่หมดวาระลงแล้วก็ยังให้ดำรงตำแหน่งยาวๆ กันต่อไป ตามมาด้วย คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 3/2558 ซึ่งเป็นฉบับสำคัญออกมาใช้แทนที่กฎอัยการศึก ให้ทหารเข้ามามีอำนาจจับกุม คุมขังประชาชนไว้ในค่ายทหาร เรียกคนไปรายงานตัว สั่งห้ามชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และให้ทหารเข้ามามีอำนาจดำเนินคดีทางการเมืองแทนตำรวจได้ ซึ่งต่อมาคำสั่งฉบับนี้กลายเป็นฐานอำนาจสำคัญที่ประชาชนเข้าใจว่า ทหารมีอำนาจ "มาตรา 44" ที่จะบุกเข้าค้นบ้านเรือนและจับกุมประชาชนได้
 
จากคำสั่งอย่างน้อย 200 ฉบับ ยังบ่งบอกได้ยากว่า คสช. ต้องการจะใช้อำนาจพิเศษนี้เพื่อควบคุมหรือนำพาประเทศไปทางไหนบ้าง เพราะเนื้อหาของคำสั่งที่ออกมาค่อนข้างสะเปะสะปะ และครอบคลุมหลายเรื่อง ตามแต่สถานการณ์บ้านเมือง และขึ้นอยู่กับว่า คนใกล้ชิดจะสามารถชงเรื่องใดให้พล.อ.ประยุทธ์ เร่งใช้อำนาจทางลัดเช่นนี้ได้ เท่าที่พอสังเกตจาก 200 ฉบับ ก็จะเห็นความพยายามออกคำสั่งในประเด็นเดิมๆ ต่อเนื่องหลายฉบับอยู่บ้าง เช่น
 
1. ความพยายามแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม รวมแล้วอย่างน้อย 10 ฉบับ เช่น ให้ทหารมีอำนาจจับกุมผู้ต้องสงสัย ตั้งข้อหาดำเนินคดี ไม่ใช่เฉพาะคดีทางการเมือง แต่รวมถึงคดียาเสพติดด้วย และยังยกเว้นความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานให้ คสช. 
 
2. ความพยายามปฏิรูปการศึกษา รวมแล้วอย่างน้อย 19 ฉบับ เช่น การโยกย้ายแต่งตั้งบุคลากรในคุรุสภา และองค์กรต่างๆ เกี่ยวกับครู เปลี่ยนระบบบริหารงานจากระบบเขตพื้นที่การศึกษา มาเป็นคณะกรรมการจังหวัด ควบรวมสถาบันอาชีวศึกษาภาครัฐและเอกชนเข้าด้วยกัน รวมทั้งการออกคำสั่งเพื่อแก้ไขคำสั่งเดิมกลับไปกลับมา  
 
3. ความพยายามแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย และแรงงานข้ามชาติ รวมแล้วอย่างน้อย 21 ฉบับ เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบาย แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประสานงาน การปลดและโยกย้ายข้าราชการ การผ่อนผันการจดทะเบียนแรงงาน ฯลฯ โดยมีเป้าหมายสร้างการยอมรับจากต่างชาติ ปลด "ธงแดง" แต่ก็ยังไม่สำเร็จ 
 
4. ความพยายามจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ รวมแล้วอย่างน้อย 12 ฉบับ เช่น การจัดหาที่ดิน การยกเว้นการใช้ผังเมือง การข้ามขั้นตอนอีไอเอ และแต่งตั้งคณะกรรมการดูแลการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เริ่มจาก 10 จังหวัดชายแดนและต่อมาเป็นการผลักดันระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) 
 
5. ความพยายามควบคุมสื่อ รวมแล้วอย่างน้อย 9 ฉบับ นอกจากจะออกประกาศ คสช. มาควบคุมเนื้อหาก่อนหน้านี้แล้ว มาตรา 44 ยังถูกใช้เพื่อให้อำนาจกับ กสทช. ควบคุุมเนื้อหาทางการเมือง ขยายเวลาการถือครองคลื่นความถี่ แทรกแซงขั้นตอนการสรรหา กสทช. และการตัดสินใจของ กสทช.  
 
6. ความพยายามเข้ายึดองค์กรอิสระ รวมแล้วอย่างน้อย 17 ฉบับ เช่น การกำหนดวิธีการสรรหา และกรรมการสรรหา ป.ป.ช. ระหว่างยังไม่มีรัฐธรรมนูญ, การต่ออายุให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่หมดวาระ, การขยายวาระให้กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน, การให้ กกต. พ้นจากตำแหน่ง ฯลฯ 
 
7. ความพยายามควบคุมการเลือกตั้ง รวมแล้วอย่างน้อย 3 ฉบับ เช่น การแก้ไขกฎหมายเลือกตั้ง ยกเลิกการทำ Primary Vote, การขยายเวลาให้พรรคการเมืองทำกิจการทางธุรการ, การสั่งห้ามหาเสียงออนไลน์, การให้อำนาจ กกต. แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ได้  
 
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายเรื่องที่ไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้ เช่น ในประเด็นการปฏิรูปตำรวจ หรือการปฏิรูปองค์กรกำกับดูแลด้านพลังงาน ก็มีคำสั่งหัวหน้า คสช. หลายฉบับที่เกี่ยวข้อง แต่ยังไม่เห็นทิศทางการเดินหน้าปฏิรูปที่ชัดเจน คำสั่งหัวหน้า คสช. อีกอย่างน้อย 20 ฉบับ เป็นเรื่องการแต่งตั้งหรือถอดถอนคณะกรรมการเพื่อดำเนินกิจการต่างๆ ทั้งองค์กรที่มีอยู่แล้วและตั้งขึ้นใหม่ และคำสั่งหัวหน้า คสช. อีกหลายฉบับยังเขียนขึ้นเพื่อหวังจะแก้ปัญหาไปเป็นเรื่องๆ ไป เช่น ปัญหาการจุดพลุช่วงปีใหม่ ปัญหาราคาสลากกินแบ่ง ปัญหาร้านเหล้าใกล้สถานศึกษา ปัญหาหาบเร่แผงลอย ปัญหาการบุกรุกป่า ปัญหาการบินพลเรือน ฯลฯ เป็นเวลาล่วงเข้าปีที่ 5 ของ คสช. แล้ว หลายประเด็นปัญหาก็ยังไม่อาจถูกแก้ไขสำเร็จได้ จากการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จออกคำสั่งเช่นนี้
 
 
จะออกเมื่อไรไม่มีใครรู้ล่วงหน้า
 
แม้ คสช. จะเป็นผู้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขึ้นมาด้วยตัวเอง ซึ่งทั้ง ครม. และ สนช. พร้อมจะใช้อำนาจตามที่ คสช. ต้องการอยู่แล้ว แต่ คสช. เองก็ยังใช้ "มาตรา 44" ทับซ้อนกับอำนาจของ ครม. และ สนช. เช่น การออกคำสั่งแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ซึ่งเป็นอำนาจโดยตรงของฝ่ายบริหารที่นายกรัฐมนตรีสามารถทำได้ รวมทั้งการแก้ไขกฎหมายระดับพระราชบัญญัติหลายฉบับ ซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติที่ สนช. เป็นผู้ถืออยู่
 
นอกจากการออกคำสั่งโดย "มาตรา 44" จะขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ตามมา คือ ไม่มีใครทราบและคาดเดาได้ว่า หัวหน้า คสช. จะลงนามในคำสั่งเรื่องอะไร และเมื่อใด ซึ่งต่างกับการพิจารณากฎหมายของ สนช. ทีประชาชนและผู้เกี่ยวข้องยังติดตามการถ่ายทอดสดและการพิจารณาตามวาระที่บรรจุไว้ล่วงหน้าได้ ประชาชนทั่วไปจะได้รู้ว่ามี คำสั่งหัวหน้า คสช. ออกมาบังคับใช้ก็ต่อเมื่อเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษานำมาเผยแพร่ ส่วนใหญ่จะไม่ทราบเวลาแน่ชัดที่คำสั่งแต่ละฉบับถูกประกาศใช้ 
 
ในยุคการเข้ายึดอำนาจใหม่ๆ คสช. นิยมการนั่งอ่านประกาศและคำสั่งผ่านหน้าจอโทรทัศน์ทุกฉบับ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ประกาศและคำสั่งที่ คสช. ก็ไม่ค่อยเป็นข่าวหรือเป็นที่พูดถึงกันทั่วไปนัก ด้านเฟซบุ๊กเพจ “กองอำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย” ช่องทางประชาสัมพันธ์ผลงานบนโลกออนไลน์ของ คสช. ก็มักจะเลือกนำมาเผยแพร่เพียงบางฉบับในบางเวลา และมักจะนำคำสั่งมาแจ้งแก่ประชาชนในช่วงเวลากลางคืน ตั้งแต่ช่วงค่ำถึงช่วงดึก
 
ตัวอย่างเช่น วันที่ 20 เมษายน 2560 เพจของ คสช. เผยแพร่คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 24/2560 เรื่องเกี่ยวกับการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ในเวลา 21.02 น. หรือกรณี วันที่ 10 พฤศจิกายน 2559 เพจดังกล่าวโพสต์คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 67/2559 เรื่องเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจรักษาความปลอดภัย บนเฟซบุ๊กในเวลา 22.33 น.
 
ส่วนใหญ่คำสั่งตาม "มาตรา 44" ไม่ได้ระบุวันที่เริ่มใช้บังคับเอาไว้ ซึ่งก็หมายความว่า เมื่อประกาศลงราชกิจจานุเบกษาแล้วก็ให้มีผลบังคับใช้ได้ทันที 
 
 
แก้ไขคำสั่งฉบับก่อนหน้า แก้ปัญหาที่ตัวเองสร้างไว้เอง
 
ในบรรดาการออกคำสั่งทั้ง 200 ฉบับ ใช่ว่า จะเป็นคำสั่งที่สมบูรณ์แบบไร้ที่ติเสมอไป ข้อผิดพลาดของคำสั่งหัวหน้า คสช. ทั้งหลายสามารถเห็นได้จากคำสั่งฉบับถัดๆ ที่ทาง คสช. ต้องออกมาเพื่อแก้ไขคำสั่งก่อนหน้าของตัวเอง มีอย่างน้อย 5 ครั้ง ที่ต้องมีการ "แก้ไขคำผิด" แสดงให้เห็นถึงปัญหาความละเอียดรอบคอบในการตรวจทานก่อนประกาศใช้ เช่น คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 43/2559  เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติมครั้งที่ 7 ต้องแก้ไขยศของเจ้าหน้าที่ที่ถูกตรวจสอบจาก "ว่าที่ร้อยตรี"  ให้เป็น "ว่าที่เรือตรี" หรือกรณี คําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 34/2559  ที่ระบุตำแหน่งของข้าราชการที่ถูกไล่ออก แต่เขียนชื่อตำแหน่งผิด ไม่ใช่ตำแหน่งที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน เป็นต้น
 
ในแง่เนื้อหา มีคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่เมื่อออกมาใช้แล้วก็ต้องออกคำสั่งฉบับใหม่มาเพื่อแก้ไขเนื้อหาในฉบับก่อนเอง อย่างน้อย 12 ครั้ง เช่น คําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 38/2558 ออกมาเพื่อแก้ไขคําสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 37/2558 จากเดิมสั่งให้ นัฑ ผาสุข ย้ายจากตำแหน่งที่ปรึกษาด้านกฎหมาย สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา ไปเป็น เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร แต่หลังมีกระแสคัดค้านก็ให้ย้ายกลับหลังออกคำสั่งแรกไป 3 วัน หรือกรณี คำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 23/2560 สั่งให้สรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปได้เลย โดยไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญและกฎหมายลูก แต่คำสั่งดังกล่าวยังไม่ทันได้ทำงาน 5 วันถัดมา หัวหน้า คสช. ก็เปลี่ยนใจออกคำสั่งฉบับที่ 24/2560 ให้งดเว้นการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามคำสั่งก่อนหน้านี้เอาไว้ก่อน และยืดอายุให้ตุลาการที่หมดวาระแล้วทำงานยาวต่อไป
 
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ คสช. ต้านกระแสไม่ไหว เมื่อใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งแล้วกลับใช้งานไม่ได้ เช่น กรณีคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 14/2560 เรื่อง มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ที่ออกมาในช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ ห้ามประชาชนนั่งท้ายกระบะ แต่หลังออกมาโดยไม่ถามความคิดเห็นประชาชนก่อนก็ถูกกระแสคัดค้านอย่างหนักจนสุดท้ายต้องถอยโดยผ่อนปรนการบังคับใช้ออกไปก่อน
 

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คืออะไร? เข้าใจกันแบบย่อๆ

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คืออะไร? เข้าใจกันแบบย่อๆ

3K536
 
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี คืออะไร
 
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็น ภาพฝันของแผนการพัฒนาประเทศ ที่จะกำหนดกรอบและแนวทางการพัฒนาให้หน่วยงานของรัฐทุกภาคส่วนต้องทำตาม เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ "ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" หรือตามคติพจน์ "มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" โดยมีระยะเวลาบังคับนานถึง 20 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2579
 
ตามร่างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ฉบับสรุปย่อ ที่เผยแพร่ต่อประชาชน มีการแบ่งยุทธศาสตร์ออกเป็น 6 ด้าน คือ
 
1. ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
2. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
4. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม 
5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6. ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ 
 
 
ที่มาของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
 
คำว่า "ยุทธศาสตร์ชาติ" ถูกพูดถึงบ่อยครั้งในยุครัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)  จนกระทั่งยุทธศาสตร์ชาติถูกเขียนขึ้นอย่างเปิดเผยครั้งแรกใน ตามรัฐธรรมนูญ 2560 หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา 65 โดยเขียนว่า
 
"มาตรา 65 รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทําแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็น พลังผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
 
การจัดทํา การกําหนดเป้าหมาย ระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าหมาย และสาระที่พึงมีในยุทธศาสตร์ชาติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงด้วย
 
ยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้"
 
จากมาตรา 65 นี้เอง ทำให้ต้องออกกฎหมายอีกฉบับหนึ่ง เรียกว่า "พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2560" เพื่อเป็นกรอบการดำเนินการจัดทำตัวยุทธศาสตร์ชาติของจริง เช่น การแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ และคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินงานของยุทธศาสตร์ชาติของหน่วยงานราชการต่าง ๆ 
 
ทำไมต้องมี ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เคยกล่าวไว้ว่า เราต้องกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันว่าใน 20 ปีข้างหน้า เราต้องการให้บ้านเมืองของเราเป็นอย่างไรแล้วเดินไปตามนั้น มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและเป็นเรื่องที่รัฐบาลทุกรัฐบาลต้องเดินไปตามนั้น มาจัดสรรทำแผนงาน แผนคน แผนเงิน ไปสู่จุดหมายที่วางไว้ทุกปี ทุกๆ 5 ปี โดยมียุทธศาสตร์พาประเทศพ้นกับดักรายได้ปานกลางให้เร็วที่สุด และใน 20 ปี เราต้องเป็นประเทศที่มีรายได้ที่เพียงพอ
 
พล.อ.สุชาติ หนองบัว สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะกรรมาธิการพิจารณา ร่างพ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.... อธิบายว่า การจัดยุทธศาสตร์ชาติต้องมีระยะยาว อย่างน้อย 10 ปี ขึ้นไป ซึ่งกรอบที่วางไว้ 20 ปีนั้นไม่ถือว่านานเกินไป และที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่มียุทธศาสตร์ชาติ มีเพียงยุทธศาสตร์เฉพาะหน่วยงาน เช่น ยุทธศาสตร์ความมั่นคง ยุทธศาสตร์ด้านสาธารณสุข ยุทธศาสตร์กลาโหม การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติจะทำให้สามารถวางแผนพัฒนาประเทศ และสามารถกำหนดการดำเนินงานในการพัฒนาประเทศได้ เพราะยุทธศาสตร์ได้กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องทำอะไรใน 20 ปีที่ยุทธศาสตร์ชาติบังคับใช้ 
 
จากแผนภาพของพล.อ.วิลาศ อรุณศรี ประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อธิบายว่า เมื่อมียุทธศาสตร์ชาติแล้ว ก็ยังคงมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายความมั่นคงแห่งชาติอยู่ด้วย โดยยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ยังคงมีสถานะใหญ่ที่สุด ทุกอย่างต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงนโยบายของรัฐบาล แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ ด้วย
 
 
ปัญหาของการมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
 
 
 
3. ยุทธศาสตร์ชาติตัวจริง ไม่ได้ร่างขึ้นตามรัฐธรรมนูญ 2560 เท่านั้น แต่แอบจัดทำไว้ก่อนแล้ว โดยคณะกรรมการชุดหนึ่งที่ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2558 แต่ร่างฉบับที่เขียนกันไว้ก่อนแล้วก็ไม่เปิดเผยให้ประชาชนได้รับรู้ จนกระทั่งไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
 
 
 
 
 
 
 
What is Thailand’s 20-Year National Strategy?
 
The 20-Year National Strategy is a national development plan, setting out frameworks and directions for the all public sectors to follow. All this to be completed in order to achieve the vision of “Thailand, a nation of Stability, Prosperity, and Sustainability, is a developed nation according to the economic philosophy”, or to achieve as the slogan of “Stability, Prosperity, Sustainability”. The plan will be enforced for 20 years, from 2017 – 2036.         
 
The 20-Year National Strategy Draft summary that has been publicized consists of six strategies; 
1. Security 
2. Competitiveness enhancement
3. Human resource development
4. Social equality
5. Green growth
6. Rebalancing and public sector development.