PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2560

"สุเทพ"ตอบคำถามสีข้อ

‘สุเทพ’ ตอบ 4 ข้อบิ๊กตู่ ลั่น นักการเมืองชั่วร้ายไม่ควรได้รับโอกาสทางการเมืองอีก


“สุเทพ” ตอบคำถาม “บิ๊กตู่” 4 ข้อ ย้ำ เลือกตั้งคือหัวใจสำคัญของปชต. ชี้ นักการเมืองโกงไม่ควรได้รับโอกาสทางการเมือง เตือน กรธ.-สนช. เขียนกม.ลูกให้คำนึงเจตนารมณ์
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (มปท.) ได้โพสเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) เกี่ยวกับคำถาม 4 ข้อของรัฐบาลที่ให้ประชาชนร่วมแสดงความเห็น โดยนายสุเทพได้ตอบคำถามในแต่ละข้อว่า 1. ท่านคิดว่าการเลือกตั้งครั้งต่อไป จะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่ นายสุเทพ ระบุว่า ประชาชนชาวไทย คาดหวังที่จะเห็น การเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้น เป็นการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ สุจริต เที่ยงธรรมและต้องไม่มีการทุจริตในการเลือกตั้ง ไม่มีการซื้อสิทธิ์ ขายเสียง หรือการกระทำผิดกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้น จึงคาดหวังได้ว่า ภายหลังการเลือกตั้ง จะได้รัฐบาลที่ดี มีธรรมาภิบาลมาทำหน้าที่ปกครอง บริหารประเทศ
นายสุเทพ กล่าวว่า 2. หากไม่ได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลจะทำอย่างไร นายสุเทพ กล่าวว่า หากไม่สามารถสร้างกลไกในการกำกับควบคุมการเลือกตั้งที่ประกันได้ว่า การเลือกตั้งทั่วไปจะบริสุทธิ์ เที่ยงธรรม เป็นไปโดยสุจริต และถ้าหากการเลือกตั้งจะทำให้ได้รัฐบาลที่ไม่มีธรรมาภิบาล ก็ไม่ต้องมีการเลือกตั้ง ดังนั้น ในช่วงเวลานี้ ผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบ จะต้องช่วยกันคิดแก้ไขดำเนินการปฏิรูปการเมือง สร้างระบบการเมือง และกลไกการเลือกตั้งที่สมบูรณ์แบบให้จงได้ ก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไป ประชาชนชาวไทย ต้องไม่ยินยอมให้การเลือกตั้งเป็นเพียงแบบพิธีการ เพื่อให้นักการเมืองเข้ายึดครองอำนาจในการปกครองประเทศไทย โดยไม่เคารพยำเกรง กฎหมายบ้านเมืองอีกต่อไปโดยเด็ดขาด
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า 3. การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงอนาคต ของประเทศ และเรื่องอื่น ๆ เช่น ประเทศชาติจะมียุทธศาสตร์ และการปฏิรูป ถูกต้องหรือไม่ การเลือกตั้ง เป็นกระบวนการที่เป็นโอกาสของประชาชนในการร่วมกันใช้สิทธิแสดงเจตจำนงในการมอบหมายอำนาจให้ผู้ที่ประชาชนไว้วางใจ เข้าทำหน้าที่แทนประชาชนทั้งในด้านการใช้อำนาจในการปกครองบริหารประเทศ และการตรากฎหมาย เพื่อบังคับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติ และประชาชนโดยรวม การเลือกตั้งจึงเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย การตัดสินใจในการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน ผู้เป็นเจ้าของประเทศที่แท้จริง จึงต้องคำนึงถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนทั้งชาติ
นายสุเทพ กล่าวว่า ประชาชน เห็นพ้องกันทั่วไปแล้วที่จะต้องเร่งรัดปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ จึงเป็นหน้าที่ของ คสช. และรัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ ที่จะต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศ ตามเจตนารมณ์ของประชาชน การปฏิรูปด้านใดที่จำเป็นต้องใช้เวลานาน ให้กำหนดไว้เป็นยุทธศาสตร์ของชาติ เจตนารมณ์ ของประชาชนชายไทยในเรื่องนี้ ได้แสดงชัดแจ้งโดยการร่วมกันลงประชามติรับรองเห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญ อันได้ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 ทุกฝ่าย ทุกคน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยเคร่งครัด หลีกเลี่ยง บิดพลิ้วไม่ได้
นายสุเทพ กล่าวต่อว่า 4. ท่านคิดว่านักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในทุกกรณี ควรจะมีโอกาสเข้ามาสู่การ เลือกตั้งอีกหรือไม่ หากคนเหล่านี้เข้ามา และเกิดปัญหาจะให้ใครแก้ไข และแก้ไขด้วยวิธี อย่างไรนั้น นักการเมืองที่มีพฤติกรรมชั่วร้าย เช่น ทุจริต ประพฤติมิชอบ ไม่เคารพกฎหมาย บริหารราชการแผ่นดิน โดยมุ่งประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ต้องไม่ได้รับโอกาส ใดๆ ให้เข้ามามีอำนาจหน้าที่ในทางการเมืองอีกต่อไป เพราะคนเหล่านี้ ไม่สามารถสร้างสรรค์ จรรโลง ระบอบประชาธิปไตยได้ ในช่วงเวลาขณะนี้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติสนช.) จึงต้องทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ในการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ที่มีการกำหนดมาตรการป้องกันไม่ให้นักการเมืองที่ไม่สุจริต เข้ามามีอำนาจในทางการเมือง สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติและประชาชนอีกต่อไป
“พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ที่จะนำไปสู่การปฏิรูปการเมือง อันได้แก่ กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายเลือกตั้ง และกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง จึงต้องตราขึ้นโดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนที่ต้องการปฏิรูปประเทศ ไม่ใช่ตรากฎหมายตามความต้องการของนักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษในการควบคุมจัดการเลือกตั้งด้วยความเป็นกลาง เป็นธรรม โปร่งใส และบริสุทธิ์ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความสมานฉันท์ และสันติสุขให้แก่ประเทศชาติ ตามเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนชาวไทย ทั้งแผ่นดิน” นายสุเทพ ระบุ

สโมสร50ส.ส.

เบื้องลึก 50 อดีตส.ส.เคลื่อนพล..

“50 อดีตส.ส.วงแตก/นัดกินข้าว/เจอตำรวจขู่มีระเบิด”...
      นสพ.เดลินิวส์ รายวัน ฉบับเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมาดหัวตัวเป้ง  แถมมีภาพประกอบด้านบนเป็นภาพอดีตส.ส.ชื่อดัง 7 คนนำโดย วิวรรธนไชย  ณ กาฬสินธ์,จักรพันธ์  ยมจินดา,สุพัฒน์  ธรรมเพชร... ยืนกอดอกถ่ายภาพโก้หร่าน..
      ครับ เมื่อค่ำวันเสาร์ที่ 10 มิ.ย.กลุ่มส.ส.ดังกล่าวนัดเลี้ยงสังสรรค์กันที่โรงแรมดังย่านลาดพร้าว ขึ้นป้ายว่า “สโมสรส.ส.” แต่จู่ๆตำรวจ มากันพรึ่บขอตรวจค้นวัตถุระเบิดตามที่ได้รับแจ้ง  แต่ไม่พบสิ่งใดๆ..กระนั้นงานเลี้ยงก็ยกเลิก...คนที่เป็นแกนนำจัดงานก็ออกอาการกระฟัดกระเฟียดนิดหน่อย...
      ผมพอจะรู้จักอดีตส.ส.แกนนำกลุ่มนี้อยู่บ้างบางส่วน  ก็พอจะสรุปได้ว่าอดีตส.ส.กลุ่มนี้รวมตัวกันมา2ปีกว่าแล้วมีประมาณ50-60คน  จัด  งานเลี้ยงพบปะแลกสังสรรค์แลกเปลี่ยนความเห็นการบ้านการเมืองกันเงียบๆ กันหลายครั้ง  แม้ประมาณครึ่งหนึ่งจะเป็นอดีตส.ส.เพื่อไทย  แต่ก็ใช่ว่ากลุ่มนี้จะเคลื่อนไหวเพื่อเชิดชู”ทักษิณ”และพรรคเพื่อไทย  หากแต่เป็นการเกาะกลุ่มกันเพื่อตรวจสอบ  ติดตามทิศทางลม  ดมกลิ่นการเมือง..เพื่อการตัดสินใจของตัวเองมากกว่าอย่างอื่น
     หนึ่งในแกนนำกลุ่ม”สโมสรส.ส.”อย่าง วิวรรธนไชย   ณ  กาฬสินธุ์  วิเคราะห์การเมืองไว้อย่างน่าสนใจว่า  แนวโน้มหลังการเลือกตั้งรอบหน้า พล.อ.ประยุทธ  จันทร์โอชา จะเป็นนายกฯอีกรอบ พรรคเพื่อไทยแม้จะชนะเลือกตั้งก็ไม่ได้จัดตังรัฐบาล ไม่ได้เป็นนายกฯ...แต่กระนั้นหากเพื่อไทยได้รับเลือกตั้งใกล้ๆกับกึ่งหนึ่งของจำนวนส.ส.ทั้งหมด(500) ก็อาจทำให้รัฐบาลไมมีเสถียรภาพได้...ซึ่งเป็นการวิคราะห์ทีน่าสนใจ..
       และถ้าให้อ่านทิศทางลมของกลุ่มอดีต50ส.ส.กลุ่มนี้  ผมเชือว่าด้วยความเป็นนักการเมืองพวกเขาหลายคนน่าจะกำลังเงี่ยหูฟังว่า  ทหาร/คสช.จะตั้งพรรคหรือไม่...หากตั้งพวกเขาส่วนหนึ่งก็คงพร้อมที่จะขอร่วมด้วยช่วยกัน..
        ..หลายครั้งที่การเมืองเป็นเรืองของนาทีสุดท้าย..นาทีสุดท้ายที่จะตัดสินใจ..เปลี่ยนใจ.
         เรื่องวงแตกเมื่อคืนวันเสาร์เป็นแค่ดรามาการเมือง..

(นิว108-วันที่ 12 มิ.ย.2560)

50 อดีต ส.ส.วงแตก! ตร.บุกค้นห้องประชุม อ้างมีบึ้มแต่ไม่พบ แล้วสั่งงดใช้

50 อดีต ส.ส.วงแตก! ตร.บุกค้นห้องประชุม อ้างมีบึ้มแต่ไม่พบ แล้วสั่งงดใช้

โดย MGR Online   
10 มิถุนายน 2560 21:25 น. (แก้ไขล่าสุด 11 มิถุนายน 2560 10:32 น.)
50 อดีต ส.ส.วงแตก! ตร.บุกค้นห้องประชุม อ้างมีบึ้มแต่ไม่พบ แล้วสั่งงดใช้
        วงแตก! กลุ่มสโมสร ส.ส.รวมตัวอดีต ส.ส.เกือบ 50 คนสังสรรค์ เจอทหารไล่จดชื่อดะ สุดงง ตำรวจนับสิบโผล่ค้นห้อง อ้างต้องสงสัยมีระเบิด แต่สุดท้ายก็ไม่พบ ก่อนสั่งปิดห้องไม่ให้ใช้ ด้าน “วิวรรธนไชย” ลั่นรวมกันกินอีกแน่ ส่วน “วัฒนา เซ่ง” คาด จนท.คงไม่สบายใจในการประชุม
      
       วันนี้ (10 มิ.ย.) ที่ห้องกรุงเทพ 2 โรงแรมเซนทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว เมื่อเวลา 18.00 น. กลุ่ม “สโมสร ส.ส" ซึ่งมีอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กว่า 50 คน ได้นัดพบปะสังสรรค์ รับประทานอาหารร่วมกัน เช่น นายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ นายจักรพันธ์ ยมจินดา อดีต ส.ส.ระยอง นายเอกภาพ พลซื่อ อดีต ส.ส.ร้อยเอ็ด นายดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ นางลลิตา ฤกษ์สำราญ อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคไทยรักไทย นายวิชาญ มีนไชยนันท์ อดีต ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคเพื่อไทย นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร อดีต ส.ส.มหาสารคาม พรรคภูมิใจไทย นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร อดีต ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ฯลฯ สำหรับกลุ่ม ส.ส.ดังกล่าวได้รวมตัวกันมาประมาณ 2 ปีแล้ว
      
       นายจักรพันธ์กล่าวว่า สโมสร ส.ส.นั้นเกิดการรวมตัวกันของ ส.ส.พรรคต่างๆ เมื่อ 2 ปีก่อนด้วยความคิดถึงเพื่อนมีสมาชิก 76 คน และมีการนัดหมายพบปะสังสรรค์กันมาตลอดโดยหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ แต่ก็หยุดไประยะหนึ่งและกลับมาพบกันอีกครั้งหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ซึ่งเมื่อรัฐธรรมนูญมีการเปลี่ยนแปลงกติกาการเลือกตั้ง และสมาชิกที่มาวันนี้มีฐานเสียงไม่น้อยกว่า 30,000 คน ดังนั้นจึงมาคุยว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ยืนยันว่าไม่มีอะไรไปกระทบรัฐบาล เราให้กำลังใจรัฐบาลในการทำงาน
      
       เมื่อถามว่า แสดงว่าพร้อมที่จะลงสู้ศึกเลือกตั้งครั้งใหม่ใช่หรือไม่ นายจักรพันธ์กล่าวว่า นักการเมืองทุกคนจะต้องพร้อมสำหรับการเลือกตั้งทุกเมื่ออยู่แล้ว อย่างไรก็ตามในส่วนของการรวมตัวนั้นได้ทำกันมากกว่าสองปีแล้ว ส่วนเรื่องตั้งพรรคใหม่นั้นยาก ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ ยืนยันว่าวันนี้ไม่ใช่ประเด็นการตั้งพรรคการเมือง สมาชิกในกลุ่มยังคงเป็นสมาชิกพรรคเหมือนเดิม
      
       มีรายงานว่า ระหว่างการสัมภาษณ์ได้มีเจ้าหน้าที่ทหารนอกเครื่องแบบมาเฝ้าสังเกตการณ์ตลอดเวลา พร้อมทั้งได้สอบถามรายชื่ออดีต ส.ส.ที่มาร่วมงาน และจดรายชื่อของสำนักข่าวที่มาทำข่าวในวันนี้กลับไปด้วย
      
       ต่อมาตำรวจประมาณ 10 นายได้เชิญทุกคนออกจากห้องจัดงานแล้วเข้าตรวจสอบ โดยทางผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก ร.ต.ท.ไพรัช พลหาญ ตำรวจ สน.พหลโยธิน ว่าได้รับแจ้งว่ามีวัตถุต้องสงสัยคล้ายระเบิดอยู่ในห้องจัดงาน ขณะนี้อยู่ระหว่างเจ้าหน้าที่อีโอดีเข้าตรวจสอบ แต่ไม่มีความจำเป็นต้องอพยพผู้พักอาศัยในโรงแรมทั้งหมด ขอให้ผู้ที่อยู่บริเวณชั้นสองเท่านั้นที่อยู่บริเวณพื้นที่
      
       กระทั่งเวลา 19.23 น. เจ้าหน้าที่ชุดตรวจสอบวัตถุระเบิดใช้เวลาตรวจสอบพื้นที่เพียงไม่นานก็ไม่พบวัตถุต้องสงสัยจึงเดินทางออกจากพื้นที่ จากการสอบถามพนักงานโรงแรมระบุว่าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว พร้อมระบุด้วยว่าวันนี้บริเวณชั้นสองของโรงแรมไม่มีการจัดงานอื่น มีเพียงงานเดียวคืองานเลี้ยงของกลุ่ม ส.ส.เท่านั้น ขณะนี้เปิดให้ใช้บริการชั้น 2 ตามปกติ แต่ยังปิดไม่ให้มีการใช้งานห้องกรุงเทพ 2 ซึ่งเป็นห้องจัดเลี้ยง
      
       ด้านนายวิวรรธนไชยกล่าวว่า ไม่รู้ว่ามีวัตถุคล้ายระเบิดจริงหรือไม่ แต่การเลือกปฏิบัติกับแขกชั้น 2 เท่านั้นเป็นการไม่ให้เกียรติกันแต่คงจะนัดรวมกลุ่มกันกินอีก
      
       ด้านนายวัฒนา เซ่งไพเราะ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ระหว่างที่มาถึงงานก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้จัดการโแรงแรมมาแจ้งว่ามีตำรวจอีโอดีขอเข้ามาตรวจพื้นที่หลังรีบแจ้งว่ามีวัตถุต้องสงสัย หลังจากยืนรอสักพักผู้จัดการโรงแรมก็ขอให้ออกจากพื้นที่ ตนก็เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอาจไม่มีวัตถุต้องสงสัยจริง แต่เจ้าหน้าที่อาจไม่สบายใจถึงการนัดพบปะจึงสร้างประเด็น สมาชิกที่มาจึงพูดทีเล่นทีจริงว่าหากเราไม่แยกย้ายเขาก็จะตรวจสามสี่ชั่วโมงและแจ้งว่าไม่มีอะไร ทั้งนี้ที่นัดกันไม่มีการพูดคุยการเมือง 
50 อดีต ส.ส.วงแตก! ตร.บุกค้นห้องประชุม อ้างมีบึ้มแต่ไม่พบ แล้วสั่งงดใช้
        
50 อดีต ส.ส.วงแตก! ตร.บุกค้นห้องประชุม อ้างมีบึ้มแต่ไม่พบ แล้วสั่งงดใช้
        
50 อดีต ส.ส.วงแตก! ตร.บุกค้นห้องประชุม อ้างมีบึ้มแต่ไม่พบ แล้วสั่งงดใช้
        
50 อดีต ส.ส.วงแตก! ตร.บุกค้นห้องประชุม อ้างมีบึ้มแต่ไม่พบ แล้วสั่งงดใช้
        
50 อดีต ส.ส.วงแตก! ตร.บุกค้นห้องประชุม อ้างมีบึ้มแต่ไม่พบ แล้วสั่งงดใช้
        
50 อดีต ส.ส.วงแตก! ตร.บุกค้นห้องประชุม อ้างมีบึ้มแต่ไม่พบ แล้วสั่งงดใช้
        
50 อดีต ส.ส.วงแตก! ตร.บุกค้นห้องประชุม อ้างมีบึ้มแต่ไม่พบ แล้วสั่งงดใช้
      

       
       
       
       
        

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายชื่ออดีตส.ส.ที่มาร่วมงานวันนี้ อาทิ 1.นายวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ 2. นายจักรพันธุ์ ยมจินดา 3. ร.อ.รชฏ พิสิษฐบรรณกร 4. นายสุชาติ บรรดาศักดิ์ 5. นายเอกพร รักความสุข 6. นางพิมพา จันทรประสงค์ 7. นายมานะ มหาสุวีระชัย 8. นายโสภณ เพชรสว่าง 9. นายสุพัฒน์ ธรรมเพชร 10. นายศิริ หวังบุญเกิด 11. นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร 12. นายปิติพงศ์ เต็มเจริญ 13. นายปัญญา จีนาคำ 14. นายวิสันต์ เดชเสน 15. นางลลิตา ฤกษ์สำราญ 16. นายเทิดภูมิ ใจดี 17. นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ 18. นายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธ์ 19. นายธีรยุทธ วานิชชัง 20. นายประสิทธิ์ จันทาทอง 


21. นางชมภู จันทาทอง 22. นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ 23. นายรณฤทธิชัย คานเขต 24. นายประสพ บุษราคัม 25. นายสาคร พรหมภักดี 26. นายธีระชัย ศิริขันธ์ 27. นายศุภชัย โพธิ์สุ 28. นายจำลอง รุ่งเรือง 29. นายสันทัด จีนาภักดิ์ 30. นายยงยุทธ นพเกตุ 31. นางศุภมาส อิศรภักดี 32. นายฉลาด ขามช่วง 33. นายวิชาญ มีนชัยนันท์ 34. นายไพโรจน์ ทุ่งทอง 35. นายบัวสอน ประชามอญ 36. นายสฤต สันติเมทนีดล 37. นพ.ประจวบ อึ๊งภากรณ์ 38.นายเอกภาพ พลซื่อ 39. นายไชยา พรหมา 40. นายกุศลหมีเทศริ์ ศรีอารวงศา 41. นายวัฒนา เซ่งไพเราะ 42. นายเฉลิมชาติ การุญ 43. นายปัญญา ศรีปัญญา 44. นายยุทธพงษ์ แสงศรี 45. พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ 46.นายเอกพจน์ วงศ์อารยะ 47.นายดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ 48.นายพูลสวัสดิ์ โหตระไวศยะ 49.นายศักดิ์ชัย จินตะเวช 50.นายธีรโชติ กองทอง

ปรากฏการณ์ ปาร์ตี้ 50 อดีต ส.ส. ช่องระบาย 1 ในยุค “รัฐประหาร”

ปรากฏการณ์ ปาร์ตี้ 50 อดีต ส.ส. ช่องระบาย 1 ในยุค “รัฐประหาร”


ไม่ว่าจะชอบ ไม่ว่าจะชัง แต่บทบาทของ “สโมสร ส.ส.”เป็นปรากฏการณ์ควรให้ความสนใจ
เหมือนกับเป็นเรื่องธรรมดาอย่างยิ่ง
“นับจากนี้จะมีนักการเมืองรวมกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องและจะทำในรูปแบบแปลกๆมาบังหน้าว่าไม่ใช่เรื่องการเมือง”
เป็นคำทำนายจาก นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
เช่นเดียวกับ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล
“เป็นนักการเมืองไม่ให้คุยการเมืองจะให้คุยเรื่องอะไร แต่เราไม่ได้จะจับกลุ่มพูดคุยถึงขนาดโค่นล้มรัฐบาล หรือไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล”
มาอย่างเป็นระบบ มาอย่างเป็นกระบวน

หากสดับตรับฟังจากแกนนำไม่ว่า นายวิวรรธนชัย ณ กาฬสินธุ์ ไม่ว่า นายวัฒนา เซ่งไพเราะ
จุดเริ่มมาจากการเยี่ยมอาการป่วย พ.อ.สมคิด ศรีสังคม
ความเป็นจริงที่ต้องยอมรับว่า วันที่ 10 มิถุนายน มิได้เป็นหนแรกที่มี”ปาร์ตี้”แบบนี้
ก่อนหน้านี้มีมาแล้วหลายหน
บางหนเคยเชิญ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสปท.คนที่ 1 มาพูดเรื่องปรองดอง มาพูดเรื่องปฏิรูป
ทั้ง นายอลงกรณ์พลบุตร ก็เป็น”สมาชิก”สโมสร
ที่ระบุว่า “ปาร์ตี้ 50 อดีต ส.ส.”นั้นอาจคลาดเคลื่อนเพราะว่าปัจจุบัน สมาชิกทะลุไปถึง 70 อดีต ส.ส.แล้ว
สถานีกลางติดต่อกันผ่าน”ไลน์กลุ่ม”

หากมองในทางวิทยาศาสตร์ ปรากฏการณ์”สโมสร ส.ส.” คือ 1 ในช่องระบายทางการเมือง
หลังรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557
เมื่อมีคำสั่งคสช.ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน ห้ามพรรคการเมืองมีกิจกรรม “นักการเมือง”ย่อมหา”ช่องทาง”
ไม่ว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าพรรคภูมิใจไทย ไม่ว่าพรรคชาติไทยพัฒนา ล้วนคึกคักด้วย”ไลน์กลุ่ม”
เห็นจากแกนนำ”กปปส.”ตบเท้าเข้าพบ”อภิสิทธิ์”
เฉพาะแกนนำกปปส.ก็ 8 คนเกิน 5 ไปแล้ว 3 มิใช่หรือ

พ.ร.ป.พรรคการเมือง ฉบับ กรธ. พรรคการเมืองตั้งยาก เสี่ยงโดนลงโทษง่าย

พ.ร.ป.พรรคการเมือง ฉบับ กรธ. พรรคการเมืองตั้งยาก เสี่ยงโดนลงโทษง่าย


ไฟล์แนบขนาดไฟล์
Political Party Bill by CDC.pdf411.13 KB
ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง (พ.ร.ป.พรรคการเมือง) เป็นกฎหมายสำคัญที่จะนำไปสู่การเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญ 2560 โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในการจัดทำร่างพ.ร.ป.ฉบับนี้  สำหรับการพิจารณาร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง รอบสุดท้ายของกรธ. สิ้นสุดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2560 ก่อนส่งเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
 
วันที่ 7 ธันวาคม 2559 กรธ.เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง ที่กรุงเทพมหานคร อุดม รัฐอมฤต โฆษก กรธ. แถลงว่า ร่างพ.ร.ป.ฉบับนี้พยายามสร้างกลไกให้ประชาชนเป็นเจ้าของพรรคการเมืองอย่างแท้จริง และให้สมาชิกพรรคมีส่วนร่วมในการบริหารพรรคโดยที่ไม่ถูกครอบงำจากนายทุน โดย อุดม ยกข้อกำหนดสำคัญคือ "การให้สมาชิกพรรคทุกคนต้องจ่ายเงินบำรุงพรรค" ว่าจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ ส่วนประเด็นที่มองกันว่าพรรคการเมืองขนาดเล็ก จะอยู่ลำบากหรือไม่ อุดม กล่าวว่า การจะส่งผู้สมัครหรือนำแนวคิดทางการเมืองไปสู่การบริหารประเทศ จำเป็นต้องมีกำลังหรือองคาพยพที่ใหญ่พอสมควร ดังนั้นพรรคเล็กต้องทำงานมวลชนให้คนที่มีความคิดร่วมอุดมการณ์เข้ามาร่วมเอง
 
ขณะที่พรรคการเมืองต่างๆ ก็ออกมาแสดงความเห็นโดยเฉพาะการกำหนดให้สมาชิกต้องจ่ายค่าบำรุงพรรคว่า จะเป็นการทำลายเสรีภาพของประชาชน รวมทั้งตีค่าอุดมการณ์ของประชาชนต่ำเกินไป ขณะที่ในทางปฏิบัติอาจเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลา ซึ่งประชาชนยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเสียเงินบำรุงพรรคการเมือง นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขต่างๆ เช่น การประชุมพรรค การจัดทำนโยบาย การตั้งสาขาพรรค อาจทำให้พรรคขนาดเล็กมีปัญหาในการจัดการ
 
 
จัดตั้งพรรคใหม่ต้องใช้คนอย่างน้อย 500 รายชื่อ พร้อมเงินทุนหนึ่งล้าน 
 
ในการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ถือเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ โดยร่างพ.ร.ป.พรรคการเมืองของ กรธ.กำหนดให้ บุคคลไม่น้อยกว่า 500 คน ซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวทางเดียวกันอาจร่วมกันดำเนินการเพื่อจัดตั้งพรรคการเมือง แต่การการตั้งพรรคการเมืองใหม่ได้ต้องมีทุนประเดิมไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท โดยผู้ร่วมกันจัดตั้งพรรคการเมืองทุกคนต้องร่วมกันจ่ายเงินเพื่อเป็นทุนประเดิมคนละไม่น้อยกว่า 1,000 บาท แต่ไม่เกินคนละ 300,000 บาท (มาตรา 9) ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปดู พ.ร.ป.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 จะพบว่าการจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นไปอย่างง่ายดายมากกว่า เพราะประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 15 คน ก็สามารถตั้งพรรคการเมืองได้ และไม่มีบทบัญญัติให้พรรคการเมืองต้องมีทุนตั้งต้นประเดิมมาก่อน
 
กำหนดข้อบังคับให้สมาชิกพรรคต้องจ่ายค่าบำรุงอย่างน้อยปีละ 100 บาท
 
การกำหนดให้สมาชิกพรรคการเมืองต้องจ่ายค่าบำรุงพรรคเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างมาก ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง ของกรธ. กำหนดไว้ว่าการจ่ายเงินบำรุงพรรคการเมือง แต่ละพรรคต้องกำหนดลงในข้อบังคับการประชุม โดยระบุใน มาตรา 15 (15) ว่า “รายได้ของพรรคการเมือง และอัตราค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรคการเมืองต้องเรียกเก็บจากสมาชิกไม่น้อยกว่าปีละ 100 บาท” หรืออาจกำหนดให้เรียกเก็บค่าบำรุงพรรคจากสมาชิก แบบตลอดชีพก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 2,000 บาท อย่างไรก็ตาม ในบทเฉพาะกาล มาตรา 136 ระบุว่า ในการเรียกเก็บค่าบำรุงพรรคการเมืองสำหรับปีแรก พรรคจะเรียกเก็บต่ำกว่า 100 บาท ก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 50 บาท
 
ตั้งพรรรคหนึ่งปีต้องมีสมาชิก 5,000 คน สี่ปีต้องเพิ่มเป็น 10,000 คน
 
เมื่อรวบรวมสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งได้ครบจำนวน 500 คนขึ้นไป และได้ทำการจดทะเบียนพรรคการเมืองเรียบร้อย ร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง ฉบับกรธ. กำหนดให้ภายในหนึ่งนับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนพรรคการเมือง พรรคการเมืองต้องดำเนินการตาม มาตรา 33 คือ  1) ดำเนินการให้มีจำนวนสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 คน และต้องเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มีจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนภายในสี่ปี และ 2) จัดให้มีสาขาพรรคในแต่ละภาคตามบัญชีรายชื่อภาคและจังหวัด ที่กกต. กำหนดอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขา โดยสาขาพรรคการเมืองแต่ละสาขาต้องมีสมาชิกที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของสาขานั้นตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
 
พรรคเก่าระดมสมาชิกใหม่ 180 วัน ต้องให้สมาชิก 500 คน จ่ายค่าบำรุงพรรค
 
สำหรับพรรคการเมืองเก่าตาม พ.ร.ป.พรรคการเมือง พ.ศ.2550 แม้ กรธ.ยืนยันว่าจะไม่มีการ “เซตซีโร่” พรรคการเมืองเก่าให้เริ่มนับหนึ่งใหม่ แต่พรรคการเมืองเก่าต้องทำการเคลียร์สมาชิกเก่า และระดมสมาชิกใหม่ให้ได้ 500 คน สำหรับพรรคการเมืองเก่าที่ยังมีสมาชิกไม่ถึง 500 คน ต้องดำเนินการให้มีสมาชิกให้ครบ 500 คนภายใน 180 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ป.ฉบับใหม่ใช้บังคับ และจัดให้มีทุนประเดิมจำนวน 1,000,000 บาท เช่นเดียวกับพรรคการเมืองที่ตั้งใหม่
 
นอกจากนี้พรรคการเมืองเก่า ต้องจัดให้สมาชิกพรรคจำนวนไม่น้อยกว่า 500 คน ชำระค่าบำรุงพรรคภายในเวลา 180 และจัดให้สมาชิกพรรคชำระเงินค่าบำรุงพรรคให้ได้จำนวน ไม่น้อยกว่า 5,000 คนภายในหนึ่งปี และให้ได้จำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนภายในสี่ปี เมื่อพ้นระยะเวลาสี่ปีแล้ว ให้สมาชิกภาพของสมาชิกที่มิได้ชำระค่าบำรุงพรรค เป็นอันสิ้นสุดลง
 
สำหรับการจัดตั้งสาขาพรรค และตัวแทนพรรคประจำจังหวัดต้องทำให้ครบถ้วนภายใน 180 อย่างไรก็ดี พรรคการเมืองอาจทำหนังสือขอขยายเวลาออกไปได้ แต่ต้องไม่เกินสามปี นับแต่วันสิ้นกำหนดระยะเวลา 180 วัน เมื่อครบระยะเวลาแล้วพรรคการเมืองใดยังไม่ได้ดำเนินการให้เสร็จ ให้พรรคการเมืองนั้นสิ้นสภาพไป (มาตรา 131)
 
เลือกผู้สมัคร ส.ส. ต้องรับฟังความเห็นตัวแทนพรรคประจำจังหวัดประกอบด้วย
 
ประเด็นหนึ่งที่สำคัญของร่างพ.รป.พรรคการเมือง ฉบับกรธ.ที่แตกต่างจากพ.ร.ป.พรรคการเมืองฉบับก่อนหน้า คือ วิธีการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่เดิมให้เป็นอำนาจของ "คณะกรรมการบริหารพรรค" และ "คณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง" ของพรรคเท่านั้น แต่ กรธ.กำหนดวิธีการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้เป็นหน้าที่และอำนาจของ "คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง" ของพรรคการเมือง (มาตรา 49)
 
โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่เกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง และหัวหน้าสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดซึ่งเลือกกันเองจนครบจำนวน โดยวิธีการเลือกกันเองและจำนวนหัวหน้าสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดให้เป็นไปตามข้อบังคับของแต่ละพรรคการเมือง แต่อย่างน้อยต้องมีหัวหน้าสาขาพรรคการเมืองไม่น้อยกว่าสี่สาขาซึ่งมาจากภาคต่างกัน ทั้งนี้ ในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งรับฟังความคิดเห็นของหัวหน้าสาขาพรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด และสมาชิก มาประกอบการพิจารณาในการสรรหาด้วย 
 
สำหรับ พรรคการเมืองซึ่งจัดตั้งใหม่ ในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง หากยังไม่มีสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ให้คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรค ประกอบด้วยกรรมการบริหารพรรคการเมืองจำนวนสี่คน และตัวแทนสมาชิกจำนวนเจ็ดคน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีตัวแทนสมาชิกพรรคในแต่ละภาคตามที่ กกต.กำหนด (มาตรา 135)
 
เสนอนโยบายต้องชี้แจงวงเงิน ที่มาของเงิน และความคุ้มค่าของนโยบาย
 
อีกสิ่งหนึ่งที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในร่างพ.ร.ป.พรรคการเมือง คือ การกำหนดให้การโฆษณานโยบายของพรรคการเมืองที่ต้องใช้จ่ายเงิน อย่างน้อยต้องมีการแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1) วงเงินที่ต้องใช้ และที่มาของเงินที่จะใช้ในการดำเนินการ 2) ความคุ้มค่าและประโยชน์ในการดำเนินนโยบาย 3) ผลกระทบและความเสี่ยงในการดำเนินนโยบาย ในกรณีพรรคการเมืองไม่ได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้กกต.สั่งให้ดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด (มาตรา 51)
 
ตัดสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค 20 ปี
 
บทลงโทษในร่างพ.ร.ป.ฉบับนี้ ที่ค่อนข้างจะรุนแรงอย่างหนึ่งคือ ในระหว่างที่มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา หากคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองไม่ควบคุมและกำกับดูแลสมาชิกจนกระทำการฝ่าฝืนกฎหมายต่างๆ กกต.สามารถมีคำสั่งให้คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และห้ามไม่ให้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมืองจนกว่าจะพ้นเวลา 20 ปี อย่างไรก็ตาม กรรมการบริหารพรรคการเมืองซึ่งพ้นจากตำแหน่งมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของกกต. ต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ภายใน 30 วัน (มาตรา 22)
 
ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญยุบพรรค หากมีหลักฐานอันควรเชื่อว่ากระทำผิด
 
การยุบพรรคการเมืองถูกกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อ กกต.มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทำผิด โดยให้ กกต.ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น เมื่อศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการไต่สวนแล้ว มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองกระทำผิด ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง และเพิกถอน สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น การกระทำผิดที่จะนำไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญ เช่น กระทำการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือ ให้บุคคลอื่น ซึ่งไม่ใช่สมาชิกพรรคกระทำการควบคุม ครอบงำ หรือชี้นำ กิจกรรมของพรรคในลักษณะที่ทำให้พรรคหรือสมาชิกของพรรคขาดความอิสระ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม เป็นต้น (มาตรา 86)

'จักรทิพย์' สั่งตรวจสอบข้อมูลวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งตร.

'จักรทิพย์' สั่งตรวจสอบข้อมูลวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งตร.



12 มิถุนายน 2560
430
ผบ.ตร.สั่งตรวจสอบข้อมูลวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งตำรวจ ประสานข้อมูลทั้งฝ่ายตำรวจ-บุคคลที่กล่าวอ้าง ลั่นอะไรเป็นประโยชน์ต้องดำเนินการ

 ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เมื่อเวลา 10.40 น. วันที่12 มิถุนายน พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. กล่าวถึงกรณี นายวิทยา แก้วภราดัย อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และอดีตแกนนำ กปปส. ออกมาระบุว่ามีการวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่ง การแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจตั้งแต่ระดับสารวัตร (สว.) ถึงรองผู้บังคับการ วาระ 2559 ว่า เรื่องดังกล่าว พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) รับทราบเรื่องนี้แล้ว และไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมทั้งฝากขอบคุณผู้ให้ข้อมูลด้วยว่าอะไรที่เป็นประโยชน์ก็ต้องดำเนินการให้อยู่แล้ว แต่คงต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ว่าเป็นไปตามที่กล่าวอ้างมาหรือไม่

“การแต่งตั้งโยกย้ายนั้นเป็นอำนาจของ ผบ.ตร. แต่เพียงผู้เดียว ท่านเป็นคนดำเนินการแต่งตั้ง ท่านเป็นคนรับผิด และรับชอบอยู่แล้ว หากเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต้องมีการตรวจสอบด้วย แต่อย่างไรก็ตามการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจทุกครั้งที่ผ่านมา มีหลักเกณฑ์ ระเบียบ วิธีการ ในการแต่งตั้งที่โปร่งใส โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำสั่งล่าสุดที่7/2560 เรื่องการพัฒนาและปรับปรุงระบบพิจารณาแต่งตั้ง มีความชัดเจนความในการถ่วงดุลอำนาจกันหลายฝ่าย” รองโฆษก ตร. กล่าว

เมื่อถามว่า นายวิทยา ระบุว่าได้รับข้อมูลว่ามีตำรวจบางนายจ่ายเงินไปแล้ว แต่ไม่ได้รับการเลื่อนขั้น รองโฆษก ตร. กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นประเด็นอะไรก็แล้วแต่ที่มีการพาดพิงการแต่งตั้งโยกย้าย ก็ต้องมีการตรวจสอบ และจะต้องมีการประสานขอข้อมูลทั้งฝ่ายตำรวจและบุคคลที่กล่าวอ้าง

ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ไพรวัลย์ อายุวงษ์ สว.กก.สส.3 บก.สส.ภ.4 ซึ่งเป็นชุดจับกุม น.ส.ปรียานุช หรือเปรี้ยว โนนวังชัย กับพวก ในคดีฆ่าหั่นศพ มีคำสั่งให้ย้ายให้ไปดำรงตำแหน่ง สวป.สภ.ท่าช้าง จว.สิงห์บุรี ภายหลังมีการถอนคำสั่งนั้น ยืนยันว่าเป็นข้อมูลที่ได้มาจากกระบวนการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา แต่ก็ได้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา และได้ให้กลับมาดำรงตำแหน่งเดิมแล้ว