PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

"การเปลี่ยนแปลงโลกของสื่อ เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่มาก" ในยุคที่โซเชียลเน็ตเวิร์คบุกมาถึง

"สุทธิชัย" ร่วมเปิดมุมมองธุรกิจยุคเทคโนโลยีหมุนเร็ว ซึ่งเขาเชื่อว่า "โซเชียล มีเดีย" ที่มีพลังอิทธิพลสูงต่อเกมทางธุรกิจ พร้อมประเมินโลกยุคใหม่ไร้พรมแดน การเปลี่ยนแปลงเกิดเรียลไทม์ หากไม่พร้อมรับมือมีผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจ ขณะที่ IBM เผยผลสำรวจชี้อีก 5 ปีข้างหน้า ซีอีโอทั่วโลกกว่า 57% จะหันมาใช้โซเชียล เน็ตเวิร์ค ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจรับโลกเปลี่ยนสู่ยุคเศรษฐกิจเชื่อมโยงถึงกัน (connected economy) ส่งผลให้ซีอีโอยุคใหม่-องค์กรธุรกิจไทย ต้องเร่งปรับตัว หาแนวทางใหม่สร้างความความเติบโต แข่งขันได้ในตลาดโลก

โดยเฉพาะบทบาทและหน้าที่ของสื่อ ที่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเสริมความน่าเชื่อถือ บทบาทของสื่อจะไม่หายไป ขณะเดียวกันจรรยาบรรณวิชาชีพยิ่งสำคัญมากขึ้น เพื่อจะได้มีคนที่คอยกลั่นกรองเนื้อหา

สุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่น กรุ๊ป กล่าวว่า โซเชียล มีเดีย ทำให้อำนาจการสั่งการเดิมของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) เบาบาง และอาจหายไปในที่สุด นับเป็นการปฏิวัติกระบวนการบริหารที่ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน และเป็นไปได้ว่าอีก 2 ปีข้างหน้า อาจได้เห็นการเปลี่ยนแปลงไปแบบโดยสิ้นเชิง โดยมีพลังของกลุ่มฝูงชนเป็นตัวขับเคลื่อน

"โซเชียล มีเดีย มีพลังมหาศาลหากใช้เป็น เราใช้โครงสร้างที่มีอยู่ทั่วโลกนี้ มาสร้างประสบการณ์ร่วมกัน เชื่อว่า จะทำให้เกิดพลังที่มหาศาลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน"

โดยเขากล่าวต่อว่า รูปแบบของบริษัทจะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบคอนเวอร์เซชั่น คอมพานี (Conversation Company) ที่มีการพูดคุยกันตลอดเวลา ขณะที่การบริการลูกค้าจะกลายเป็นแบบถึงลูกถึงคนผ่าน โซเชียล มีเดีย มีลูกค้าเป็นตัวตัดสินความอยู่รอดของธุรกิจแบบทุกที่ ทุกรูปแบบ และทุกเวลา

"การปรับตัววงการสื่อเองมีลักษณะเปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ แนวโน้มในไทยสื่อสิ่งพิมพ์ยังอยู่ได้ เนื่องจากลักษณะนิสัยการอ่านรวมถึงพฤติกรรมยังมีอยู่ ขณะที่โซเชียลมีเดียที่เป็นทางใหม่เข้ามาเสริมการบริหารเพื่อต่อยอดธุรกิจต่อไป"

จึงเป็นหน้าที่ของสื่อที่ต้องใช้เทคโนโลยีเสริมความน่าเชื่อถือ บทบาทของสื่อจะไม่หายไป ขณะเดียวกันจรรยาบรรณวิชาชีพยิ่งสำคัญมากขึ้น เพื่อจะได้มีคนที่คอยกลั่นกรองเนื้อหา จัดแจงให้ดูดีเรียบร้อย ท่ามกลางโลกโซเชียล อินเทอร์เน็ตทำให้ข้อมูลล้นหลาม ผู้บริโภครู้สึกได้ว่ามีคนที่รู้ข้อมูลจริงจัดแจง จัดการให้ เครือเนชั่นเองได้หลอมรวมทุกแพลตฟอร์มเข้าไว้ด้วยกันเพื่อพัฒนาคอนเทนท์ทั้งแบบเอ็กซ์คลูซีฟ และที่ประชาชนทั่วไปต้องการ พูดได้ว่าเป็นเรื่องการหลอมรวมฝูงชนและความเป็นมืออาชีพเข้ามาไว้ด้วยกัน

"ความน่าเชื่อถือคือตัวกำหนดความอยู่รอด เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิดความยั่งยืน ไม่ว่าเทคโนโลยีจะมารูปแบบไหนก็ตาม เชื่อว่าหากทำได้ฝูงชนจะเข้ามาหาเราเอง ผมเชื่อว่าแนวโน้มเทคโนโลยีนั้นมาแน่ ขึ้นอยู่ว่าจะช้าหรือเร็ว ฉะนั้นบริษัทจึงขอขึ้นรถไฟก่อนดีกว่าอยู่ชานชาลาแล้วรอให้เกิดความเสียหายมากเกินกว่าจะรับมือได้" สุทธิชัย กล่าว

IBMเผยCEOยุคใหม่ใช้ "โซเชียล เน็ตเวิร์ค" ขับเคลื่อนธุรกิจ

ทั้งนี้ ไอบีเอ็มได้ทำการสำรวจความเห็นซีอีโอทั่วโลกกว่า 1,700 คน จาก 64 ประเทศ และ 18 กลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งระบุว่าบรรดาซีอีโอกำลังเปลี่ยนแปลงลักษณะการทำงานด้วยการเพิ่มความโปร่งใส เปิดกว้าง และขยายขีดความสามารถพนักงาน รวมถึงการหันมาใช้เครื่องมือสื่อสารยุคใหม่ เช่น โซเชียล เน็ตเวิร์ค ในธุรกิจมากขึ้นรับยุคที่เศรษฐกิจมีความเชื่อมโยงถึงกัน (Connected Economy) ผลสำรวจดังกล่าวนี้ ถือเป็นแนวทางพาองค์กรให้เตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ทั้งนี้ ไอบีเอ็มเผยผลสำรวจชี้อีก 5 ปีข้างหน้า ซีอีโอทั่วโลกกว่า 57% หันใช้โซเชียล เน็ตเวิร์ค ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจมากขึ้น รับโลกเปลี่ยนสู่ยุคเศรษฐกิจเชื่อมโยงถึงกันชัดเจน (connected economy) ส่งผลให้ซีอีโอยุคใหม่-องค์กรธุรกิจไทย ต้องเร่งปรับตัว หาแนวทางใหม่สร้างความความเติบโต แข่งขันได้ในตลาดโลก

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า ไอบีเอ็มสำรวจความเห็นซีอีโอทั่วโลกกว่า 1,700 คน จาก 64 ประเทศ และ 18 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า เทคโนโลยีถูกมองเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร โดยซีอีโอกว่าครึ่งหนึ่งทั้งจากทั่วโลก และในอาเซียน มีแผนใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความสะดวกในการร่วมมือและประสานงานกับองค์กรภายนอก ขณะที่ 47% ของซีอีโอในอาเซียนกำลังปรับเปลี่ยน เพื่อส่งเสริมการประสานงานร่วมกันภายในองค์กรอย่างเหมาะสม

แนวโน้มดังกล่าวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีข้อดีที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยผลสำรวจ ระบุว่า บริษัทที่มีผลประกอบการดีกว่าบริษัทอื่น มีแนวโน้มมากกว่า 30% ที่บอกว่าการเปิดกว้างการใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือสำคัญในการประสานงาน และสร้างสรรค์นวัตกรรมร่วมกัน ถือเป็นปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลต่อองค์กรของตน ซึ่งปัจจุบัน ผู้บริหารซีอีโอกำลังปรับใช้รูปแบบใหม่ในการทำงาน โดยใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกภายในองค์กรและเครือข่ายเพื่อคิดค้นแนวคิดและโซลูชั่นใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลกำไรและขยายธุรกิจให้เติบโต

ชี้ซีอีโอใช้โซเชียลเพิ่ม 57% ใน 5 ปี

ผลสำรวจยังพบว่า ซีอีโอจะเปลี่ยนการใช้อีเมล และโทรศัพท์ ที่แต่เดิมเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารเพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับลูกค้า คู่ค้า และพนักงานรุ่นใหม่ในอนาคต โดยหันไปใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ หรือ โซเชียล เน็ตเวิร์ค เป็นช่องทางใหม่สำหรับติดต่อสื่อสารโดยตรง

ปัจจุบันมีซีอีโอเพียงแค่ 16% ที่ใช้แพลตฟอร์มโซเชียล บิซิเนส (Social Business) เพื่อเชื่อมต่อกับลูกค้าแต่ละราย แต่คาดว่า ตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มเป็น 57% ภายในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า แนวโน้มนี้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอาเซียน ทั้งนี้เพราะคาดว่า การใช้โซเชียล เน็ตเวิร์คในอาเซียนจะเพิ่มเป็น 68% จากอัตราปัจจุบัน 25% ขณะที่ผู้บริหารซีอีโอในอาเซียนมีแผนปรับเปลี่ยนจากการติดต่อสื่อสารรูปแบบเดิมๆ ไปสู่การใช้โซเชียลมีเดีย ควบคู่ไปกับการติดต่อพบปะกันเป็นการส่วนตัว

ขณะที่ ผู้บริหารซีอีโอตระหนักว่า การควบคุมสั่งการอย่างเข้มงวดไม่ได้ช่วยส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการปรับปรุงผลประกอบการด้านการเงิน ผู้บริหารเหล่านี้ พบว่า โซเชียล เน็ตเวิร์ค ซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สามารถรองรับการประสานงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารซีอีโอในอาเซียนสามารถใช้ประโยชน์จากโซเชียล เน็ตเวิร์ค และมุ่งเน้นการประสานงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกองค์กรร่วมกับลูกค้าและคู่ค้า

สำหรับข้อมูลอื่นๆ ที่สำรวจพบครั้งนี้ เช่น ซีอีโอหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบัน 71% ของซีอีโอทั่วโลกมองว่าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะส่งผลกระทบต่ออนาคตขององค์กรในช่วง 3 ปีข้างหน้า โดยนับเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญกว่าสภาพเศรษฐกิจและสภาพตลาด

ขณะที่ผู้บริหารซีอีโอในอาเซียน 68% เห็นว่า เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรของตน แต่ขณะเดียวกัน ผู้บริหารจากทั่วโลก 69% ผู้บริหารในอาเซียน 87% มองว่าทักษะ เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยเกี่ยวกับตลาด นอกจากนี้ ผู้บริหารในภูมิภาคอาเซียน 72% ยังระบุด้วยว่าทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนสำหรับองค์กร ดังนั้นจึงคาดการณ์ได้ว่าจะมีความต้องการที่สูงมากสำหรับบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในภูมิภาคอาเซียน

ไอบีเอ็ม ชี้ 3 ปัจจัยหลักคิดซีอีโอ

3 ปัจจัยหลักที่ซีอีโอ ต้องคำนึง ได้แก่ 1.บุคลากร โดยคุณลักษณะที่เป็นที่ต้องการ คือ ความสามารถการทำงานร่วมกับผู้อื่น 75% ความสามารถการสื่อสาร 67% ความคิดสร้างสรรค์ 61% และความยืดหยุ่น 61% 2.ความสัมพันธ์กับลูกค้าจากเดิมที่มองเชิงแมส เปลี่ยนเป็นเข้าถึงเชิงปัจเจกบุคคลมากขึ้น โดยการใช้สื่อที่จะถูกให้ความสำคัญสูงสุด 3 อันดับแรกในอีก 3-5 ปีข้างหน้า คือ พบปะโดยตรง 67% โซเชียลมีเดีย 57% และเว็บไซต์ 55% จากปัจจุบันใช้อยู่ 80%, 16% และ 47% ตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ 3.ความร่วมมือกันระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจที่จะกลายเป็นรูปแบบของคอมมูนิตี้และแบบไม่เคยพบมาก่อนมากขึ้น

นอกจากนี้ คุณลักษณะของผู้นำที่จะประสบความสำเร็จในยุคแห่งการเชื่อมโยงนี้ 61% มองว่า ต้องหายใจเข้าออกเป็นลูกค้า 60% เป็นผู้นำที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจไม่ใช่แค่สั่งการ และ 58% เป็นคนที่เปิดกว้างไม่คิดที่จะทำงานคนเดียว

สมรภูมิ "ละคร" เดือด ดาวเทียมเปิดศึก "ฟรีทีวี"


วันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2556, 11:43 น.
กลายเป็นคอนเทนต์ "แรง" และช่วยสร้างชื่อให้กับทีวีไทย สำหรับคอนเทนต์ละครที่วันนี้ไม่ว่าจะเป็นช่องฟรีทีวี ทีวีดาวเทียม หรือเคเบิลทีวี ต่างต้องมีคอนเทนต์ละครมาเรียกเรตติ้งจากผู้ชมกันอย่างคึกคัก ส่วนหนึ่งมาจากวันนี้ การแข่งขันของอุตสาหกรรมบรอดแคสต์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งเท่านั้น แต่ทุกแพลตฟอร์มล้วนเป็นคู่แข่งในสมรภูมิเดียวกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การช่วงชิงเม็ดเงินโฆษณา 6-7 หมื่นล้านบาท มาครอบครองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ประกอบกับด้วยพื้นฐานของทีวีไทยที่ได้วางรากฐานกันไว้ตั้งแต่แรก โดยที่ฟรีทีวีช่องต่าง ๆ ได้จัดผังรายการ ด้วยการวางช่วงไพรมไทม์ไว้สำหรับคอนเทนต์นี้โดยเฉพาะ และจนกลายเป็นความเคยชินของผู้ชมว่า เวลาหลัง 20.00 น. คือช่วงเวลาดูละคร

กลายเป็นคอนเทนต์ "แรง" และช่วยสร้างชื่อให้กับทีวีไทย สำหรับคอนเทนต์ละครที่วันนี้ไม่ว่าจะเป็นช่องฟรีทีวี ทีวีดาวเทียม หรือเคเบิลทีวี ต่างต้องมีคอนเทนต์ละครมาเรียกเรตติ้งจากผู้ชมกันอย่างคึกคัก ส่วนหนึ่งมาจากวันนี้ การแข่งขันของอุตสาหกรรมบรอดแคสต์ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงเฉพาะแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่งเท่านั้น แต่ทุกแพลตฟอร์มล้วนเป็นคู่แข่งในสมรภูมิเดียวกัน โดยมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การช่วงชิงเม็ดเงินโฆษณา 6-7 หมื่นล้านบาท มาครอบครองให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ประกอบกับด้วยพื้นฐานของทีวีไทยที่ได้วางรากฐานกันไว้ตั้งแต่แรก โดยที่ฟรีทีวีช่องต่าง ๆ ได้จัดผังรายการ ด้วยการวางช่วงไพรมไทม์ไว้สำหรับคอนเทนต์นี้โดยเฉพาะ และจนกลายเป็นความเคยชินของผู้ชมว่า เวลาหลัง 20.00 น. คือช่วงเวลาดูละคร ยิ่งถ้าละครเรื่องไหนที่โดนใจผู้ชม สนุกสนาน ออกรส ได้ใจผู้ชม จะส่งผลให้เรตติ้งแรงแบบฉุดไม่อยู่ จนขนาดว่าสินค้าต่าง ๆ ต้องวิ่งซื้อเวลาลงโฆษณากันแบบฝุ่นตลบ

ด้วยโอกาสจากเม็ดเงินโฆษณาที่วิ่งเข้าหา ทำให้ฟรีทีวีทุกช่อง เคเบิลทีวีทุกค่าย ต่างหันมาให้ความสำคัญและชูคอนเทนต์ละคร เป็นทัพหน้าในการกระชากเรตติ้งและเม็ดเงินโฆษณา ล่าสุดเป็นรายของ "ทรูวิชั่นส์" ที่กระโดดเข้ามาแจมอย่างเต็มตัว      "อาณัติ เมฆไพบูลย์วัฒนา" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทรูวิชั่นส์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันแม้บริษัทจะมีคอนเทนต์ที่หลากหลายและมีความแข็งแกร่ง ทั้งภาพยนตร์ ข่าวสารและกีฬา แต่สำหรับคอนเทนต์ละคร ถือว่าเพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น ยังคงต้องศึกษารายละเอียดอีกมาก 

ล่าสุดได้เริ่มเปิดกล้องละครเรื่องบ่วงมาร จะออกอากาศประมาณต้นปี 2557 ทางช่อง ทรู 10 ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับพฤติกรรมผู้ชมไทยที่ชอบดูรายการสด เรียลิตี้โชว์ และละครก็เป็นส่วนหนึ่งที่คนไทยชื่นชอบ 

"ช่องทรู 10 จะมีคอนเทนต์ที่หลากหลาย โดยการผลิตละครนั้นจะเน้นเป็นการจ้างบริษัทผู้จัดรุ่นใหม่ เพื่อผลิตละครให้แก่ทรูฯ โดยแต่ละปีคาดว่าจะใช้งบประมาณ 350 ล้านบาท ซึ่งยังมีละครที่กำลังพิจารณาอีก 10 เรื่อง และอยู่ระหว่างวางแผนว่าจะวางละครให้ออกอากาศทุกวัน หรือเฉพาะแค่ 5 วันเท่านั้น" 

อย่างไรก็ตามบริษัทได้วางตำแหน่งทางการตลาด ช่องทรู 10 ให้เป็นช่องรายการวาไรตี้ ฟรีทูแอร์ที่ออกอากาศในทุกแพลตฟอร์มก่อน หวังตอบโจทย์ผู้ชมทุกเพศทุกวัย มีคอนเทนต์ที่หลากหลายทั้งบันเทิง กีฬา ข่าว ภาพยนตร์ และละครที่กลายเป็นไฮไลต์ของช่อง

นอกจากนี้ ในอนาคตยังต่อยอดด้วยการปั้นช่องทรู 10 สำหรับพัฒนาเป็นช่องวาไรตี้ระบบความคมชัดสูง (เอชดี) เพื่อออกอากาศในระบบดิจิทัลทีวี หากบริษัทชนะการประมูลดิจิทัลทีวีที่กำลังจะเริ่มต้นขึ้น ทั้งนี้ บริษัทได้เตรียมงบฯลงทุนสำหรับการประมูลดิจิทัลทีวีรวม 3 ช่องไว้กว่า 2,000 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้คอนเทนต์โพรไวเดอร์อย่าง บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ก็วางช่อง 8 ให้เป็นช่องรายการวาไรตี้ ด้วยการผลิตคอนเทนต์เอง ทั้งหนัง เกมโชว์ ข่าว รวมถึงละคร ซึ่งสร้างกระแสให้ช่อง 8 เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้ชมจำนวนหนึ่ง

เช่นเดียวกับบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ที่รีแบรนด์ช่องวัน ให้เป็นช่องรายการวาไรตี้ เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ด้วยการระดมยอดฝีมือในเครือแกรมมี่ทั้งหมด มานั่งแท่นผู้บริหารช่องวัน และจุดติดด้วยกระแสละคร "Hormones วัยว้าวุ่น" 

"สุรพล พีรพงศ์พิพัฒน์" ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาดช่องวัน บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ให้มุมมองว่า ปรากฏการณ์กระแสตอบรับจากซีรีส์ "Hormones วัยว้าวุ่น" ถือเป็นมาตรฐานใหม่ของผู้ผลิตคอนเทนต์ทีวีดาวเทียม ที่ต้องคำนึงถึงคุณภาพที่ดี ถ้าคอนเทนต์ดี ไม่ว่าจะออกอากาศผ่านแพลตฟอร์มไหน ผู้ชมก็จะติดตาม

ขณะที่เจ้าตลาดฟรีทีวี สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ก็ไม่นิ่งอยู่เฉยๆ กินบุญเก่าแต่กำลังเดินหน้า "บาลานซ์" ระหว่างฐานผู้ชมกลุ่มคนเมืองและต่างจังหวัดในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะ "คนเมือง" ที่ยังเป็นจุดอ่อนของค่ายนี้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับคอนเทนต์เกมโชว์-วาไรตี้ และละคร โดยวางนโยบายใหม่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตรายใหม่ ๆ เข้ามามากขึ้น เพื่อปิดช่องว่างช่วงชิงฐานผู้ชมกลุ่มคนเมืองมาให้จงได้ 

สอดรับกับ "สุบัณฑิต สุวรรณนพ" ผู้จัดการฝ่ายผลิตรายการ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด กล่าวว่า หัวใจความสำเร็จของช่อง คือ ความครบครันของคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการผู้ชม แต่ต้องยอมรับว่าละคร คือคอนเทนต์ที่อยู่ในช่วงไพรมไทม์ ทำให้แบรนด์สินค้าและเอเยนซี่โฆษณาต่างให้ความสำคัญ 

ล่าสุดช่อง 7 ยังเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตหน้าใหม่เข้ามาสร้างสีสันให้ช่องมากขึ้น เช่น บริษัท ดูมันดี จำกัด ของ "อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร" บริษัท มงคลการละคร จำกัด ของ "ตะวัน จารุจินดา" หรือ "นิรัตติศัย กัลย์จาฤก" ที่แยกออกจากบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด มารับผลิตละครเรื่องใหม่ให้แก่ช่อง 7 ด้วย รวมถึงยังมีนักแสดงในสังกัดอีกหลายรายที่เตรียมขึ้นแท่นเป็นผู้จัดละครให้แก่สถานี

ขณะที่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ก็เพิ่มเวลาการออกอากาศของละครช่วงวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เพิ่มขึ้นอีก 1 เบรก หรือประมาณ 15 นาทีในครึ่งปีหลังนี้ นั่นก็หมายถึงเม็ดเงินโฆษณาจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น หากจะเรียกว่า "ละคร" กลายเป็นขุมทรัพย์สำคัญไม่เพียงแต่ฟรีทีวี แต่รวมถึงทีวีดาวเทียม ก็คงไม่ผิดนัก
    ร่วมเป็นแฟนเพจเฟสบุ๊คกับประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/prachachat
หรือติดตามผ่านทวิตเตอร์ @prachachat
   


กทค. พิจารณาปรับการคำนวณร่างไอซี พร้อมตอกย้ำซิมไม่ดับ


วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2556, 13:43 น.
บอร์ด กทค. พิจารณา 2 วาระ สำคัญเรื่องร่างประกาศมาตรฐานการคำนวณอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม และไม่เห็นควรอนุญาตให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม รับโอนเลขหมายโทรคมนาคมสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ย้ำมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคผู้ใช้บริการ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ หลัง 15 กันยายน 2556 ซิมไม่ดับแน่นอน
บอร์ด กทค. พิจารณา 2 วาระ สำคัญเรื่องร่างประกาศมาตรฐานการคำนวณอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม และไม่เห็นควรอนุญาตให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม รับโอนเลขหมายโทรคมนาคมสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ย้ำมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคผู้ใช้บริการ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ หลัง 15 กันยายน 2556 ซิมไม่ดับแน่นอน รศ.ประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการ กทค. กล่าวว่า ในที่ประชุมกทค. ครั้งที่ 32/2556 มีการพิจารณา 2 วาระสำคัญดังนี้ 1. ร่างประกาศมาตรฐานการคำนวณอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม หรือ ค่าไอซี (Interconnection Charge : IC) ซึ่งร่างประกาศดังกล่าวนี้ได้ดำเนินการมาเป็นลำดับต่อเนื่อง โดยมาตรฐานในการคำนวณนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปใช้หลักสากลเข้ามาคำนวณ ซึ่งร่างประกาศดังกล่าวได้นำไปรับฟังความคิดเห็นจากการประชุมกลุ่มย่อย Focus Group มา 2 ครั้ง จึงผ่านมติบอร์ด กทค. จากนั้นจะนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช. ต่อไป โดยสาระสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงก็คือมาตรฐาน การคำนวณที่นำมาใช้คือ ต้นทุนค่าโครงข่าย และต้นทุนทางการเงิน ซึ่งถ้าร่างประกาศนี้ผ่านบอร์ด กสทช.แล้ว ก็จะใช้สูตรนี้มาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณค่าไอซี เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันสำหรับผู้ประกอบการ และป้องกันข้อพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ทาง กสทช. ได้ขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการ ให้ใช้อัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม คือ 45 สตางค์ เป็นการชั่วคราว หากร่างประกาศใหม่ผ่านมติของ กสทช. แล้ว จะนำมาคำนวณหาอัตราราคากลางที่น่าจะราคาต่ำกว่า 45 สตางค์ ภายในเดือนกันยายนนี้ หลังจากนั้นจะประกาศทางเว็บไซต์ และในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการ กทค. กล่าวว่า ในที่ประชุมยังได้พิจารณาวาระสำคัญที่ 2. เรื่องการขอรับโอนเลขหมายโทรคมนาคม สำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กรณีสัญญาสัมปทาน หรือการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ "คลื่น 1800 MHz" (เมกะเฮิร์ตซ์) จะสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน 2556 นี้

โดยสืบเนื่องมาจากทางบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้ขอว่า หลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง จะขอรับโอนเลขหมาย ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตใช้สิทธิ์ขอโอนเลขหมายโทรคมนาคม ตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรและการบริหารเลขหมายโทรคมนาคม ข้อ 71(1) ที่กำหนดห้ามผู้รับการจัดสรรโอนเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานระหว่างกันเอง เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก กสทช. ก่อน ซึ่งทางสำนักงาน กสทช. ได้เสนอข้อพิจารณาคำขอของบริษัท กสท โดยผลออกมาว่าไม่เห็นควรอนุญาตให้บริษัท กสท รับโอนเลขหมายโทรคมนาคมสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด สาเหตุมาจากทาง กสทช. ได้ออกประกาศ เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีการสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.2556 (ประกาศห้ามซิมดับ) แล้ว โดยที่ประชุมได้รับทราบและได้เห็นชอบ
นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. ภารกิจโทรคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในที่ประชุมกทค. ยังได้พิจารณาเรื่องการขอต่ออายุการใช้เลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด โดยให้ต่ออายุจนถึงวันที่ 15 ก.ย. 2556 อย่างไรก็ตามหลังจากวันดังกล่าว ทาง กสทช. ได้ออกประกาศห้ามซิมดับ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการ ให้บริการเป็นไปโดยไม่หยุดชะงัก และเพื่อให้เป็นไปตามอำนาจของ กสทช. ตามประกาศ กทช.เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรและบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 ที่ได้กำหนดไว้ว่า ให้เลขหมายโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรโทรคมนาคม ซึ่งในการบริหารและการจัดสรรนั้นต้องคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และประโยชน์สาธารณะ ตลอดจนในข้อ 6(10) ของตัวประกาศดังกล่าว ให้ กสทช. นั้น มีอำนาจกำหนดมาตรการเพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ

ดังนั้นที่ประชุมจึงเห็นด้วยกับข้อเสนอของสำนักงาน ที่กำหนดมาตรการประโยชน์สาธารณะให้สอดคล้องกับประกาศห้ามซิมดับ โดยการให้บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ใช้งานเลขหมายโทรคมนาคมมาตรฐานสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 2556 จนกว่าสิ้นสุดระยะเวลาการคุ้มครองตามประกาศห้ามซิมดับของ กสทช.ดังกล่าว และยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรรและการบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 ดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 27(7) แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 และประกาศ กทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดสรร และการบริหารเลขหมายโทรคมนาคม พ.ศ. 2551 ข้อ 5 ข้อ 6(10) และข้อ 7(3) ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติตามเรื่องประกาศห้ามซิมดับซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ


8เดือนยอดโฆษณาโต7.57หมื่นล.

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2556, 00:00 น.

นีลเส็นเผย 8 เดือนแรกปี 2555 เม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อทะลุ 7.57 หมื่นล้าน โต 0.88% แจงทีวียังครองแชมป์ มียอดโฆษณาสูงถึง 4.6 หมื่นล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 2.15% 

รายงานข่าวจากบริษัท นีลเส็น (ประเทศไทย) จำกัด แจ้งว่า ภาพรวมโฆษณาในช่วง 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2556 นี้ เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน มีมูลค่า 75,700 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 0.88% โดยสื่อที่มีการเติบโตมากที่สุดคือ กลุ่มโทรทัศน์ มีมูลค่า 46,156 ล้านบาท เติบโต 2.15% รองลงมาคือ กลุ่มนิตยสาร มูลค่า 3,531 ล้านบาท เติบโต 0.20% สื่อโฆษณาเคลื่อนที่ มูลค่า 2,269 ล้านบาท เติบโต 20.56% และสื่ออินเทอร์เน็ต มูลค่า 583 เติบโต 52.22% 

“ในช่วง 8 เดือนที่ผ่านมานั้นพบว่า สื่อหลายประเภทอยู่ในภาวะที่มีการเติบโตลดลง เช่น กลุ่มวิทยุ มูลค่า 4,090 ล้านบาท ลดลง 0.80% หนังสือพิมพ์ มูลค่า 9,799 ล้านบาท ลดลง 1.63% สื่อโรงภาพยนตร์ มูลค่า 4,767 ล้านบาท ลดลง 8.66% ป้ายโฆษณา มูลค่า 2,753 ล้านบาท ลดลง 9.71% และสื่ออินสโตร์ มูลค่า 1,762 ล้านบาท ลดลง 6.43%

สำหรับการใช้งบโฆษณาเดือน ส.ค.2556 นั้นมีมูลค่ารวม 10,117 ล้านบาท ลดลง 1.89% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยกลุ่มสื่อที่ใช้งบโฆษณาลดลงมากสุดคือ กลุ่มโทรทัศน์ มีมูลค่า 6,108 ล้านบาท ลดลง 1.04% รองลงมาคือ กลุ่มวิทยุ มูลค่า 557 ล้านบาท ลดลง 0.54% นิตยสาร มูลค่า 456 ล้านบาท ลดลง 5.79% สื่อในโรงภาพยนตร์ มูลค่า 680 ล้านบาท ลดลง 15.53% ป้ายโฆษณา มูลค่า 345 ล้านบาท ลดลง 12.66% และสื่ออินสโตร์ มูลค่า 235 ล้านบาท ลดลง 29.64%

ในขณะนี้งบโฆษณาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์กลับมีการเติบโตเพิ่มขึ้น โดยหนังสือพิมพ์ มูลค่า 1,365 ล้านบาท เติบโต 9.73% โฆษณาเคลื่อนที่ มูลค่า 286 ล้านบาท เติบโต 6.32% สื่ออินเทอร์เน็ต มูลค่า 86 ล้านบาท เติบโต 75.51%

นายนิธิ พัฒนภักดี ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื่อโฆษณา บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป กล่าวว่า ตลาดรวมสื่อโฆษณานอกบ้านทั้งหมดในปีที่ผ่านมามีมูลค่า 10,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.สื่อเอาต์ดอร์ 40% 2.สื่ออินสโตร์ 20% 3.สื่อทรานซิท 20% และ 4.สื่อป้ายดิจิตอล 20% สำหรับทิศทางการเติบโตในปีนี้กลุ่มป้ายดิจิตอลมีอัตราการเติบโตมากสุดถึง 30% ส่วนสื่อเอาต์ดอร์จะตกลงจากปีก่อน 5% ส่งผลให้ทั้งปีนี้ภาพรวมสื่อป้ายโฆษณานอกบ้านน่าจะเติบโตได้ถึง 10-15% หรือมีมูลค่าราว 12,000 ล้านบาท.

สถิติคนใช้เวปต่างๆในประเทศไทย2555

วันก่อนนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพ์เห็น @jiraz โพสต์ลิงค์นี้มาครับ Digital Media in Thailand ดูแล้ว อืมมม ดีจัง มีคนมาช่วยรวบรวมข้อมูลให้คนไทยด้วย บ้านเราเองทำไมไม่เห็นมีใครทำบ้างหละ ข้อมูลดิบส่วนหนึ่งเราก็มี บางส่วนถึงเราเก็บเองไม่ได้ก็หาได้จากอินเทอร์เน็ตนะ ซึ่งถ้าคนไทยเราทำกันเองช่วยกันแก้เอง ข้อมูลมันก็น่าจะถูกต้องกว่าที่ให้คนอื่นทำให้นะครับ ว่าไหม ว่าแล้วก็เลยมานั่งรวบรวมดู source ต่างๆ ที่ผมใช้เวลาหาข้อมูลเพื่อไปบรรยาย มาลองสรุปเบื้องต้นให้ เผื่อมีใครใจดีช่วยทำ Infographic ต่อจะขอบคุณมากมายครับ และขอบคุณบีสำหรับ Infographic สวยๆ ครับ
เริ่มจากข้อมูลทางประชากร ที่แรกที่ผมจะนึกถึงคือ สำนักงานสถิติแห่งชาติ แต่พอไปดูแล้วก็พบว่าเค้าอ้างอิงมาจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย อีกที ว่าแล้วก็ไปตามลิงค์เลยครับ คลิกต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเจอ ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 พบว่า
ประเทศไทยมีประชากรอยู่ 64,076,033 คน
เป็นชาย 31,529,148 คน
เป็นหญิง 32,546,885 คน
ก็ประมาณครึ่งๆ เลยก็ว่าได้
เจาะมาที่กรุงเทพก็มีประชากร 5,674,843 คน (ตามทะเบียนราษฎรครับ) ซึ่งเข้ามาอยู่จริงคาดว่าน่าจะ 8 – 10 ล้านคนได้ (ตามการมั่วของผม)
ถัดมาจากจำนวนประชากรก็จะนึกถึงจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ผมคิดถึงเนคเทคก่อนเลย ก็ลองเข้าไปเช็คที่ Internet Information Research Netwrok Technology Lab ของทางเนคเทค พบว่าข้อมูลอัพเดตถึงแค่ปี 2009 ที่มีการคาดว่า ประเทศไทยน่าจะมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 18.3 ล้านคน (แล้ว internetworldstats.com ก็เอาตัวเลขนี้ไปใช้โดยไม่ได้เปลี่ยนมา 3 ปีแล้วครับ ดังนั้นใครอ้างจากแหล่งที่กล่าวมา เชยมาก!)
เมื่อข้อมูลไม่อัพเดต ว่าแล้วก็คิดต่อ คิดๆๆไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีหน่วยงานลูกพี่ลูกน้องแห่งหนึ่งก็คือ บริษัทศูนย์วิจัยนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตไทยจำกัด ก็ลองเข้าไปดูในเว็บดูพบว่า ดร. ปิยะ ตัณฑวิเชียร (พี่ป็อก) ได้การประกาศสถิติที่น่าสนใจไว้เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2555 ในงาน Truehits.net Web Award 2011 ซึ่งสามารถดาวน์โหลด presentation มาดูได้ครับ
ตอนนั้นได้มีการประเมินว่าประเทศไทยน่าจะมีประชากรอินเทอร์เน็ตอยู่ 25 ล้านคนโดยประมาณ
Search engine ที่คนไทยนิยมใช้กันคือ Google ซึ่งมากถึงกว่า 99% และมีปริมาณการใช้งานกว่า 19.2 ล้านครั้งต่อวัน (วันไหนถ้า Google ไม่ให้ใช้ วันนั้นคนไทยขาดใจแน่ครับ ฟันธง!)
Web browser อันนี้น่าสนใจ มีการใช้งานดังต่อไปนี้ครับ
IE 44% Chrome 31% Firefox 14% และ Safari 9%
จะเห็นได้ว่า IE อาจจะไม่ใช่เจ้าตลาดอีกต่อไป Chrome และเพื่อนๆ เริ่มตามมาติดๆ ครับ
แล้วผมก็ไปสะดุดอยู่ที่ตัวเลขจำนวนการใช้ smartphone ที่ใช้ Wi-Fi หรือ GPRS ในการเข้าชมเว็บ พบว่า
มีประเทศไทยมี iPhone อยู่มากกว่า 5 แสนเครื่อง
iPad อีกกว่า 3 แสนเครื่อง
ตามมาด้วย Nokia ที่ประมาณแสน และ BB ที่ห้าหมื่น
(ที่น่าสงสัยคือ Android ยังไม่อยู่ในกลุ่มนี้เลยหรือ ฮืมมม มันหายไปไหนเนี่ย ???)
ใจจริงถ้าพูดถึงเรื่องมือถือ ผมก็อยากจะค้นจำนวน Mobile penetration จาก กสทช. แต่หาไม่มีเจอครับ หาไปหามาก็เจออันนี้ที่น่าสนใจมันคือ รายชื่อผู้ได้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการโทรคมนาคม ที่พบว่าประเทศไทยมีผู้ให้บริการอยู่ถึง 282 รายเลยทีเดียว
และที่เกือบลืมใน Internet Information Research Netwrok Technology Lab ยังมีตัวเลขที่น่าสนใจอีกชุดเกี่ยวกับการปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ต ที่อัพเดตเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2555 คือ
แบนด์วิธไปต่างประเทศ 405,860 Mbps (ผลรวมของแบนด์วิธทั้งหมดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกตเวย์ภายในประเทศ (National Internet Exchage:NIX))
แบนด์วิธในประเทศ 1,006,140 Mbps (ผลรวมของแบนด์วิธของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งหมดที่เชื่อมต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ เกตเวย์ไปต่างประเทศ (International Internet Gateway:IIG) และจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อไปต่างประเทศโดยตรง)
แล้วถ้าสนใจอยากทราบจำนวนโดเมน .th ก็สามารถตรวจสอบได้จาก All in Thai ครับ
สิ้นเดือนสิงหาคม 2555 มีข้อมูลดังต่อไปนี้
.th ทั้งหมด 63,705 และ .ไทย 14,283 แบ่งเป็น
.co.th 29,072 .ธุรกิจ.ไทย 5,146
.in.th 21,530 .ไทย 4,664
.go.th 6,017 .รัฐบาล.ไทย 2,014
.ac.th 5,997 .ศึกษา.ไทย 2,217
.or.th 1,033 .องค์กร.ไทย 225
.mi.th 28 .ทหาร.ไทย 11
.net.th 28 .เน็ต.ไทย 6
ที่แน่ๆ คือ .th และ .ไทย มีสงวนไว้เฉพาะสำหรับคนไทย และคนที่ทำธุรกิจธุรกรรมในไทย ข้อมูลเลยชัดเจนครับ
ส่วนข้อมูลโดเมน .com ไม่สามารถตรวจสอบได้จากไหนนะครับ เพราะผู้ดูแลคือ Verisign ให้บริการเป็นแบบ thin registry คือแยกกันเก็บข้อมูลเองในแต่ละ registrar ที่รับลงทะเบียน แล้วมันมีเป็นร้อยแห่งเลยซึ่งไม่ได้เปิดเผยข้อมูล จึงทำให้ไม่สามารถทราบได้แน่ชัดว่า คนไทยไปจดโดเมนดอทอื่นๆ ที่ไม่ใช่ .th หรือ .ไทย มีอยู่จำนวนเท่าไร
ย้อนกลับมาที่ข้อมูลจากสำนักงานสถิตแห่งชาติอีกนิด จริงๆ เค้ามีทำสำรวจหลายอย่างนะ ลองค้นๆ ดูก็จะได้ว่ามีการจัดทำ สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2554 เอาไว้ ก็น่าสนใจดีทีเดียวครับ ข้อมูลเพียบ
ส่วนถ้าจะดูสถิติเว็บไซต์ไทย ผมจะดูอยู่ 2 แหล่งคือ truehits.net (จะได้เฉพาะแต่เว็บที่ติด truehits ซึ่งก็จะเป็นเว็บไซต์ใหญ่ๆ ที่มีรายได้หลักจากการโฆษณา) ได้ข้อมูลดังต่อไปนี้
truehits.net เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2555
1. sanook.com 845,894 IP/day
2. kapook.com 795,152
3. mthai.com 728,366
4. dek-d.com 466,117
5. yengo.com 441,423
6. manager.co.th 360,043
7. bloggang.com 332,133
8. weloveshopping.com 309,038
9. exteen.com 292,006
10. thairath.co.th 282,809
สังเกตไหมครับว่ามีเว็บใหญ่บางเว็บก็ไม่ได้ติดทรูฮิต อย่าง pantip.com เป็นต้น ถ้าอยากรู้ทำไมต้องถาม @macroart ดูครับ เหมือนเค้าจะเคยบอกแต่ผมจำไม่ได้
และเครื่องมืออีกตัวที่ใช้ก็คือ alexa.com (เป็นการเก็บสถิติจากผู้ใช้ที่ติดตั้ง alexa toolbar เลยอาจจะไม่เที่ยงตรง แต่ก็พอจะเห็นภาพรวมทั้งหมด)
1. facebook.com
2. google.co.th
3. google.com
4. youtube.com
5. live.com
6. blogspot.com
7. yahoo.com
8. sanook.com
9. pantip.com
10. Wikipedia
แล้วถ้าอยากจะรู้เทรนด์คร่าวๆ ก็อาจจะดูจาก Google trends เอาก็ได้ครับ เพราะสมัยนี้คนขี้เกียจจำ URL ก็ใช้วิธีการ search ในการเข้าเว็บ ดังนั้นมันก็พอจะเห็นได้ว่ามีคนพิมพ์ชื่อเว็บที่ต้องการมองน้อยแค่ไหน
เช่น http://www.google.com/trends/?q=facebook,+google,+youtube,+sanook,+kapook&ctab=0&geo=TH&date=all&sort=0
แล้วอย่าลืมเลือก region และ year ที่สนใจด้วยนะครับ
เพิ่มเติม @mormmam แนะนำ Google insigths อีกตัว และถ้าจะเปรียบเทียบอาจจะต้องใช้คำไทยมาบวกด้วย เนื่องจาก มีทั้งคนใช้คำอย่าง “sanook” และ “สนุก” ในการเข้าถึงด้วยเช่นกันครับ
ส่วนสถิติการใช้งาน Social network นั้น ส่วนใหญ่ผมมักจะดูจาก 2 แหล่งประกอบกัน ได้แก่
socialbakers.com
พบว่าประเทศไทย มีการใช้ facebook อยู่ที่อันดับที่ 16 ของโลก โดยมีจำนวน account อยู่ที่ 16,403,280 user
และสถิติที่ฮือฮากันที่สุดคือ กรุงเทพ ที่เมืองอันดับที่ 1 ในโลก ที่มีการใช้ facebook มากที่สุด ถึง 8,682,940 ซึ่งเค้าประเมินว่ามี penetration rate สูงถึง 104.74% เลยทีเดียว (แปลว่าคนนึงใช้มากกว่า 1 account)
ถ้าเป็นเรื่องการจัดอันดับต่างๆ ใน Social media ของคนไทยเองผมจะมาดูที่ zocialrank.com ครับ
สำหรับ Facebook page มีอันดับ Top 5 ดังต่อไปนี้
1. ไพ่เท็กซัส http://www.facebook.com/tltexas
2,094,859 Likes
137,626 Talking about this
2.NerKoo.com เนื้อคู่ แชท หาคู่ หาแฟน http://www.facebook.com/NerkooTH
2,020,033 Likes
1,819,791 Talking about this
3.ตัน ภาสกรนที http://www.facebook.com/tanmaitan
1,869,634 Likes
322,348 Talking about this
4. อัพยิ้มดอทคอมบริการเติมรอยยิ้ม 24 ชม. http://www.facebook.com/upyimfc
1,851,687 Likes
764,927 Talking about this
5. แฮปปี้คนเลี้ยงหม http://www.facebook.com/th.cutepig
1,618,073 Likes
7,766 Talking about this
ตัวเลขสองตัวที่ต้องดูคู่กันคือ จำนวน Like และ จำนวน Talking about this นะครับ จะเห็นถึงความ active ของ community ในแต่ละเพจ
สำหรับ Twitter ใน blog ของ zocialinc เคยประเมินไว้ว่ามีคนไทยใช้อยู่  909,631 account เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 ผ่านมาหลายเดือน ในวันที่ 10 กันยายน 2555 ตอนนี้มีอันดับ Top 5 ดังต่อไปนี้
1. @Khunnie0624
1,451,327 Follows
151 Followings
2. @Woodytalk
805,441 Follows
480 Followings
3. @Domepakornlam
631,216 Follows
86 Followings
4. @Tukky_ching100
619,549 Follows
104 Followings
5. @vajiramedhi
614,394 Follows
1 Followings
หลักๆ น่าจะประมาณนี้แหละครับ ยังมีของเล่นให้อีกเพียบใน zocialrank ใครสนใจก็ลองๆ คลิกดูนะครับ เอาเป็นว่าผมได้รวบรวมข้อมูลมาบันทึกไว้เท่าที่เวลาจะอำนวยสำหรับช่วงนี้ ซึ่งถ้าใครคิดว่ามีประโยชน์สามารถเอาไปใช้งานต่อได้ก็อนุโมทนาสาธุครับ ส่วนใครอยากช่วยกันเสริมตรงจุดไหน มีข้อมูลเพิ่มเติมส่วนไหนก็จะเมนต์หรือติดต่อมาได้เลยนะครับ ตาม Social network ต่างๆ ของผม ได้เลย สุดท้ายเน้นกันอีกครั้งเรื่องการแบ่งปันความรู้ครับ “ใครรู้อะไร ไม่สู้รู้วิชา มีปัญญา ไม่สู้มีมิตรแท้ครับ” ถ้าใครอยากแลกเปลี่ยนอะไร ก็เชิญได้ทุกเมื่อนะครับ ขอบคุณครับ