ศาลจังหวัดทหารบกเชียงราย ตัดสินจำคุกคนต้านรัฐประหาร3เดือน ปรับ5พันบ. รอลงโทษ1ปี
รายงานจากกลุ่มทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดเผยว่า วันนี้ 14 สค. ศาลทหารบกที่เชียงรายได้อ่านคำพิพากษาคดีที่ถูกกล่าวหาว่าฝ่าฝืนกฎอัยการศึกที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน คดีนี้นับเป็นคดีแรกที่ศาลทหารมีคำพิพากษาแล้วสำหรับกรณีพลเรือนที่ประท้วงการยึดอำนาจและถูกจับนำตัวขึ้นศาลทหาร
จำเลยในคดีนี้คือนายสราวุทธิ์ (ไม่ทราบนามสกุล) ถูกตัดสินจำคุก 6 เดือนและปรับ 10,000 บาท เนื่องจากจำเลยรับสารภาพ ศาลจึงลดโทษลงกึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 3 เดือน ปรับ 5,000 บาท จำเลยได้ยื่นคำร้องให้ศาลรอการลงโทษเพราะมีครอบครัวต้องเลี้ยงดู และได้แนบหนังสือรับรองความประพฤติจากผู้ใหญ่บ้านที่รับรองที่อยู่ การประกอบอาชีพที่สุจริต มีความประพฤติดี และไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน ศาลจึงให้รอการลงโทษในส่วนของการจำคุกไว้หนึ่งปี
จากข้อมูลของกลุ่มไอลอว์เกี่ยวกับคดีนี้ระบุว่า จำเลยมีร้านขายของในเชียงราย และรณรงค์เคลื่อนไหวผ่านทางอินเตอร์เนท เคยร่วมกับกลุ่มที่ฟ้องร้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณว่าปราศรัยปลุกระดมประชาชนให้ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย หลังมีรัฐประหาร ได้ออกไปชูป้ายประท้วงตามสถานที่ต่างๆหลายแห่งในเมือง ต่อมาได้มีเจ้าหน้าที่ทหารไปตามหาตัวที่บ้าน เมื่อไม่พบก็ได้ประกาศเรียกตัว นายสราวุทธิ์ถูกจับและกักตัวไว้นานเจ็ดวัน หลังจากนั้นจนท.ทหารได้ส่งตัวต่อให้กับตำรวจเพื่อให้ดำเนินคดี ถูกขังต่ออีกสิบสามวัน เขาได้ยืนขอประกันตัวเองพร้อมกับโพสต์ในเฟสบุ๊กว่าจะถูกดำเนินคดีในศาลทหาร
updated: 14 ส.ค. 2557 เวลา 12:28:58 น.
วันที่ 13 ส.ค. ที่อาคารรัฐสภา นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ว่า ตน นายพรเพชร วิชิตชลชัย ว่าที่ประธาน สนช. และนายพีระศักดิ์ พอจิต ว่าที่รองประธาน สนช. ได้นัดหารือกันถึงการประชุม สนช. หากมีการโปรดเกล้าฯตำแหน่งประธานและรองประธาน สนช. ลงมาภายในวันที่ 14 สิงหาคม จะนัดประชุมวันที่ 15 สิงหาคม
มีเรื่องเร่งด่วน คือ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 จะให้สมาชิกพิจารณารับหลักการวาระแรกภายในวันเดียว พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา และเปิดให้ยื่นแปรญัตติภายใน 7 วัน พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สนช. เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีข้อบังคับถาวร จะเป็นหลักเกณฑ์เชื่อมโยงไปถึงการเลือกนายกรัฐมนตรีว่าจะมีวิธีการเลือกอย่างไร การประชุม สนช.นัดที่ผ่านมา อนุโลมใช้ข้อบังคับของ สนช.ปี 2549 แต่การเลือกนายรัฐมนตรีครั้งนี้เป็นอำนาจของ สนช. ต่างไปจากปี 2549 ให้หัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นคนเลือก

นายสุรชัยกล่าวว่า สำหรับกรณีที่มีการเสนอให้เลือกนายกรัฐมนตรีโดยไม่ต้องรอข้อบังคับ ก็จะหารือเรื่องนี้ในที่ประชุม อาจจะยกรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มาเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ให้อำนาจ สนช. ทำหน้าที่ ส.ส.และ ส.ว. เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี ก็น่าจะเทียบเคียงกันได้
ส่วนการกำหนดวันเลือกนายกรัฐมนตรี ตั้งใจว่าควรจะเป็นวันที่ 21-22 สิงหาคม หรืออย่างช้าคือไม่เกินสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม เพราะนายกรัฐมนตรีจะต้องไปแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกทั้งยังมีขั้นตอนการทูลเกล้าฯ ครม. จึงอยากให้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารงานในปีงบประมาณใหม่ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป จะได้เป็นไปตามโรดแมประยะที่ 2 และนำไปสู่ระยะที่ 3 ของ คสช.ต่อไป
ที่มา นสพ.มติชน
มีเรื่องเร่งด่วน คือ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 จะให้สมาชิกพิจารณารับหลักการวาระแรกภายในวันเดียว พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณา และเปิดให้ยื่นแปรญัตติภายใน 7 วัน พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการยกร่างข้อบังคับการประชุม สนช. เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีข้อบังคับถาวร จะเป็นหลักเกณฑ์เชื่อมโยงไปถึงการเลือกนายกรัฐมนตรีว่าจะมีวิธีการเลือกอย่างไร การประชุม สนช.นัดที่ผ่านมา อนุโลมใช้ข้อบังคับของ สนช.ปี 2549 แต่การเลือกนายรัฐมนตรีครั้งนี้เป็นอำนาจของ สนช. ต่างไปจากปี 2549 ให้หัวหน้าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นคนเลือก
นายสุรชัยกล่าวว่า สำหรับกรณีที่มีการเสนอให้เลือกนายกรัฐมนตรีโดยไม่ต้องรอข้อบังคับ ก็จะหารือเรื่องนี้ในที่ประชุม อาจจะยกรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มาเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ให้อำนาจ สนช. ทำหน้าที่ ส.ส.และ ส.ว. เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี ก็น่าจะเทียบเคียงกันได้
ส่วนการกำหนดวันเลือกนายกรัฐมนตรี ตั้งใจว่าควรจะเป็นวันที่ 21-22 สิงหาคม หรืออย่างช้าคือไม่เกินสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคม เพราะนายกรัฐมนตรีจะต้องไปแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกทั้งยังมีขั้นตอนการทูลเกล้าฯ ครม. จึงอยากให้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารงานในปีงบประมาณใหม่ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป จะได้เป็นไปตามโรดแมประยะที่ 2 และนำไปสู่ระยะที่ 3 ของ คสช.ต่อไป
ที่มา นสพ.มติชน