PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

แคร์รี ยืนยันสัมพันธ์ไทย-สหรัฐยังดี แต่ถูกรบกวน เรียกร้องให้คืนประชาธิบไตยโดยเร็ว ผ่อนคลายการจำกัดเสรีภาพทางการเมือง





แคร์รี ยืนยันสัมพันธ์ไทย-สหรัฐยังดี แต่ถูกรบกวน เรียกร้องให้คืนประชาธิบไตยโดยเร็ว ผ่อนคลายการจำกัดเสรีภาพทางการเมือง



เมื่อวันที่ 14 ส.ค. จอห์น แคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ได้ออกแถลงการณ์ที่ เมืองฮอนโนลูลู รัฐฮาวายแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ประชาธิบไตยและการลิดรอนสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย



พร้อมเรียกร้องให้ไทยกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด



"สำหรับประเทศไทย ผู้เป็นมิตรเก่าแก่และพันธมิตรของสหรัฐ ความสัมพันธ์ของเราถูกรบกวนด้วยความล้มเหลวของระบอบประชาธิบไตย และเราหวังอย่างยิ่งว่าจะสถานการณ์ดังกล่าวจะมีขึ้นชั่ว



คราวเท่านั้น" แคร์รี กล่าว



นอกจากนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐยังได้เรียกร้องให้ ทางการไทยผ่อนคลายข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวทางการเมืองและการแสดงความเห็น รวมถึงการฟื้นฟูการปกครองโดยประชาชน และคืน



ประชาธิบไตยให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุดผ่านการเลือกตั้งที่มีความเสรีและเท่าเทียมกัน



ความเคลื่อนไหวดังกว่าวมีขึ้น ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอยู่ในระหว่างการเดินทางเยือนประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิก ทั้ง อัฟกานิสถาน ออสเตรเลีย พม่า และหมู่เกาะ โซโลมอน อันเป็น



ส่วนหนึ่งของนโยบาย "คืนสมดุลแก่เอเชีย"  ซึ่งนอกจากไทยแล้ว แคร์รียังแสดงความกังวลต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า และจีนอีกด้วย



รัฐบาลวอชิงตันให้ความสำคัญแก่เอเชียในประเด็นด้าน การเติบโตทางเศรษฐกิจ การปฏิรูปพลังงาน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความร่วมมือด้านความมั่นคงในภูมิภาค และการพัฒนาความสัมพันธ์



ในระดับบุคคล



ที่มา : PostToday



2222222222

จอห์น แคร์รี ติงประชาธิปไตยไทยถอยหลัง



จอห์น แคร์รี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ กล่าวสุนทรพจน์ที่ อีสต์-เวสต์ เซนเตอร์ ในเมืองฮอนโนลูลู รัฐฮาวายของสหรัฐเมื่อวาน(13 ส.ค.2557) โดยเปิดเผยถึงยุทธศาสตร์ขั้นต่อไปของสหรัฐต่อ



ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และกล่าวถึงสถานการณ์ประชาธิปไตยในชาติต่างๆในภูมิภาคนี้ด้วย



เขาเยือนฮาวายเป็นจุดสุดท้ายของการเดินสายเยือนทั่วโลกเริ่มตั้งแต่อัฟกานิสถาน ออสเตรเลีย เมียนมาร์และหมู่เกาะโซโลมอน ซึ่งเป็นแผนส่วนหนึ่งของความพยายามเพิ่มดุลอำนาจของสหรัฐใน



เอเชีย โดยรัฐบาลสหรัฐมุ่งให้ความสำคัญต่อภูมิภาคนี้ใน 4 เรื่องได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจ การปฏิวัติพลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือด้านความมั่นคงในระดับ



ภูมิภาค และการเพิ่มบทบาทของภาคพลเมือง



ส่วนเรื่องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนนั้น แคร์รีบอกว่า บางประเทศมีสถานการณ์ก้าวหน้าดีขึ้น แต่บางประเทศกลับถอยหลัง เช่น ไทย ที่มีการรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อเดือนพ.ค. เขาบอกด้วยว่า



ในฐานะที่ไทยเป็นชาติพันธมิตรใกล้ชิด สหรัฐรู้สึกเป็นกังวลต่อการถอยหลังของประชาธิปไตย และหวังว่าจะเป็นเพียงอุปสรรคชั่วคราวเท่านั้น พร้อมกับร้องขอให้ทางการไทยยกเลิกคำสั่งห้าม



การทำกิจกรรมทางการเมืองและการแสดงความเห็นในที่สาธารณะ คืนอำนาจปกครองแก่พลเรือน และคืนประชาธิปไตย โดยเร็วผ่านการจัดเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม



นอกจากนี้เขาพูดถึงเมียนมาร์ ที่เขาเพิ่งไปเยือนช่วงสุดสัปดาห์เพื่อร่วมประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก โดยบอกว่า เมียนมาร์ยังต้องเดินทางอีกยาวไกลกว่าจะไปถึงจุดที่เป็นชาติประชาธิปไตยโดย



สมบูรณ์



ขณะเดียวกันเขากล่าวถึงจีนด้วยว่า จีนพยายามพัฒนาประชาธิปไตยโดยยังคงยึดหลักอดทนอดกลั้นของตัวเองไว้ ถือเป็นแบบอย่างที่ทำให้เห็นว่าค่านิยมตามแบบชาวเอเชียและหลักการ



ประชาธิปไตยส่งเสริมซึ่งกันและกันได้อย่างไร



ที่มา : เนชั่น

//////////////

ข้อมูลท่าทีต่างประเทศก่อนหน้านี้



    -๒๓ พ.ค.๕๗ "นายจอห์น แคร์รี" รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐแถลง

    "ข้าพเจ้ารู้สึกผิดหวังกับการตัดสินใจของกองทัพไทยในการประกาศงดใช้รัฐธรรมนูญ และเข้ามาควบคุมรัฐบาลภายหลังภาวะโกลาหลทางการเมืองที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่มีเหตุผลอัน



ชอบธรรมใดๆ ให้แก่การก่อรัฐประหารโดยกองทัพ..."

    -๒๙ พ.ค.๕๗ "นางแคทรีน แอชตัน" ผู้แทนระดับสูงสหภาพยุโรป (อียู) แถลง

    ".........เราเรียกร้องให้ผู้นำทหาร ปล่อยตัวผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยเหตุผลทางการเมืองในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาทั้งหมด และยกเลิกการจำกัดเสรีภาพสื่อ เราขอร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างสูง



สุด และเคารพปฏิบัติตามสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานและสิทธิมนุษยชน การจัดทำแผนที่น่าเชื่อถืออย่างเร็วที่สุดในการคืนสู่การปกครองภายใต้รัฐธรรมนูญ และการเลือกตั้งเท่านั้นที่จะช่วยให้การสนับ



สนุนของสหภาพยุโรปต่อประเทศไทยดำเนินต่อไปได้”

    -๓๐ พ.ค.๕๗ น.ส.เจน ซากี โฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐแถลง

    "...........การแถลงแผนยุทธศาสตร์มุ่งสู่ความเป็นประชาธิปไตยของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.เมื่อค่ำวันที่ ๓๐ พ.ค.ที่ผ่านมานั้น ยังขาดรายละเอียดบางอย่างไป สหรัฐยืนยันว่าหน



ทางที่ดีที่สุดในการก้าวไปข้างหน้าคือ การกำหนดเวลาให้มีการเลือกตั้งเร็วกว่าที่ระบุ และควรช่วยอำนวยการให้เกิดความโปร่งใสในกระบวนการเลือกตั้ง"

    -นายชัค เฮเกล รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ

    "..........ให้คืนอำนาจให้ประชาชนคนไทย ด้วยการกำหนดให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมในทันที และจนกว่าจะทำตามที่สหรัฐเรียกร้อง สหรัฐขอระงับการสนับสนุนทางการทหาร และการ



ซ้อมรบร่วมกับไทย รวมทั้งทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพของทั้ง ๒ ประเทศ"

    -นายเดวิด จอห์นสตัน รัฐมนตรีกลาโหมออสเตรเลีย     ".........ออสเตรเลียขอลดความร่วมมือกับกองทัพไทยและลดระดับความสัมพันธ์กับผู้นำทางทหารของไทย......ยังจัดกลไกป้องกันไม่ให้ผู้นำ



รัฐประหารเดินทางไปยังออสเตรเลียด้วย  ขอให้กองทัพไทยจัดทำแผนการคืนประชาธิปไตยและหลักนิติธรรมให้เร็วที่สุด...."

////////



เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ฯ ได้กล่าวแถลงนโยบายของสหรัฐฯ โดยให้รายละเอียดถึงวิสัยทัศน์ของสหรัฐฯ ในด้านความสัมพันธ์กับภูมิ



ภาคเอเซีย-แปซิฟิก ณ ศูนย์ East-West Center ในมหาวิทยาลัยฮาวาย วิทยาเขต Manoa จากการเดินทางมายังภูมิภาคนี้ซึ่งรวมถึงการเยือนพม่าและออสเตรเลียด้วย

เชิญฟังรัฐมนตรีแคร์รีกล่าวถึงพม่าในนาทีที่ 7.50 และ 40.53 และกล่าวถึงไทยในนาทีที่ 38.13 และ 40.26

On August 13th, U.S. Secretary of State John Kerry delivered a policy address detailing the U.S. vision for Asia-Pacific engagement at the East-West Center on the University of Hawaii-Manoa



campus following a trip to the region which included visits to Myanmar and Australia.

Hear his remarks about Myanmar at minute marker 7:50 and 40:53 and on Thailand at minute marker 38.13 and 40:26






ไม่มีความคิดเห็น: