PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บิ๊กตู่ ท่อง "ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่พูด "ไพบูลย์ นิติตะวัน" ตั้งพรรคการเมือง รองรับ อ้างไม่ปิดกั้น การแสดงความเห็น



บิ๊กตู่ ท่อง "ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่พูด "ไพบูลย์ นิติตะวัน" ตั้งพรรคการเมือง รองรับ อ้างไม่ปิดกั้น การแสดงความเห็น ยันผมยังไม่ใช่นักการเมือง / ปิดประตูคนคิดตั้งพรรคใหม่ บอกยังไม่ถึงเวลา จะรีบร้อนอะไรนักหนา
พลเอกประยุทธ์. กล่าวถึงการตั้งพรรคการเมืองของนายไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) ว่า "ก็เป็นเรื่องของท่าน. เป็นการพูดจากันในทางการเมือง

"ผมยังไม่ใช่นักการเมือง เพราะฉะนั้นผมไม่ตอบ ผมไม่พูด ผมไม่ได้ยิน ก็เป็นเรื่องของแต่ละคน ที่จะพูดก็พูด และนี่คือการที่ผมเปิดให้แสดงความคิดเห็นกัน อยากพูดอะไรก็พูดไป"

เมื่อถามว่า แสดงว่าเป็นเรื่องในอนาคตใช่หรือไม่พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ก็เป็นเรื่องที่นายไพบูลย์ พูด ตนเองไม่ได้พูดแล้วสื่อก็มาบอกว่าปิดกั้น ไม่ให้มีการพูด

"ถ้าปิดกั้นจริง ผมก็คงบอกไปแล้วว่าไม่ต้องมาพูด ยังไม่ให้พูด หยุดพูดทั้งหมด แต่ผมก็เห็นพูดกันตลอดทุกเรื่อง แล้วมาบอกว่าตนปิดกั้น สื่อต้องช่วยกันพูดให้ต่างประเทศเขาได้ยินบ้าง ไม่ใช่แต่มาขยายความว่าปิดกั้นไม่ให้พูดจำกัดสิทธิเสรีภาพ มันใช่ที่ไหน"

เมื่อถามว่า แสดงว่าจากนี้ไปใครต้องการตั้งพรรคการเมืองใหม่ก็สามารถทำได้อย่างนั้นหรือพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "มันถึงเวลา หรือได้เวลา หรือยัง วันนี้ไม่ต้องมาแต่ หรือสมมติ อะไรทั้งสิ้นเขาประกาศเมื่อไรก็เมื่อนั้น ใครอยากจดทะเบียนพรรคใหม่ก็จด

" วันนี้เขาให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้หรือยัง รัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้หรือยัง ก็ยัง แล้วจะรีบร้อนอะไรกันนักหนา มันทำอะไรให้มันดีขึ้นหรือเปล่า หรือจดพรรคใหม่พรุ่งนี้ ถ้ามันดีขึ้นประเทศชาติปลอดภัย แข็งแรง ไม่มีข้อขัดแย้งประชาชนไม่ตีกัน ในอนาคตอีกจะทำอะไรก็ทำไป ถ้ามีการรับประกันแล้วต้องมีการบันทึกไว้ด้วย"
@@@
(ย้อนข่าว)

data10Aug16สามัคคีธรรม

ย้อนรอย “สามัคคีธรรม” ยุคสุรยุทธ์-สนธิ ฟื้นคืนชีพ!?

โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์  
 17 กุมภาพันธ์ 2550 10:25 น.

 
ย้อนรอย “สามัคคีธรรม” ยุคสุรยุทธ์-สนธิ ฟื้นคืนชีพ!?
        ประเด็นการสืบทอดอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) กลายเป็นจุดสนใจของสังคมอีกครั้งหนึ่งกับการเคลื่อนไหวจากภาคการเมืองท่ามกลางกระแสการพิจารณาคดียุบพรรค 

ที่ส่อเค้าว่าอาจจะมีการ “สืบทอดอำนาจ” เกิดขึ้น แม้ว่าจะมีการยืนยันหลายครั้งทั้งจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรี และพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช.ว่า “ไม่มีการสืบทอดอำนาจ

อย่างแน่นอน” แต่ก็ยังมีการเพ่งเล็งไปที่ พล.อ.วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหมและเลขาธิการ คมช.เป็นคนแรกใน คมช.ที่จะออกมาเล่นการเมือง
       
       สอดคล้องกับการลาออกจากพรรคไทยรักไทยของสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และ พินิจ จารุสมบัติ และร่วมตัวกันตั้งกลุ่ม “สมานฉันท์” ขึ้น การเคลื่อนไหวดังกล่าวถูกจับตามองจากสังคมอย่างมาก 

เนื่องจากเค้าเงารางๆของ “พรรคสามัคคีธรรม” ที่ทำหน้าที่เป็น “พรรคนอมินี” ในการสืบทอดอำนาจของคณะปฏิวัติในอดีตเริ่มเด่นชัดขึ้นในทุกขณะ เมื่ออดีตลูกพรรคทั้งสองอย่าง สุวัจน์ และพินิจ 

จับมือกันอีกครั้ง ประเด็นการสืบทอดอำนาจจากฝ่ายทหารจึงยิ่งเป็นที่หวาดระแวงมากขึ้น
       
       เมื่อได้มีการทบทวนประวัติศาสตร์ ในช่วงของเหตุการณ์สำคัญอย่าง “พฤษภาทมิฬ ปี 35” จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ในอดีตมีความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยมีที่มาจากการรัฐประหาร

ของฝ่ายทหาร ด้วยฝีมือของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) และปัจจุบันในพ.ศ.2549 ก็มี คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (

คปค.) และภายหลังเปลี่ยนชื่อมาเป็น “คณะมนตรีความมั่นคงชาติ” หรือ (คมช.) ด้วยความคล้ายคลึงกับเหตุการณ์ในอดีต “ผู้จัดการรายสัปดาห์” จึงขอย้อนรอยประวัติศาสตร์หน้าเก่าเพื่อเทียบเคียง

กับหน้าใหม่ของประวัติศาสตร์ที่กำลังจะเกิดขึ้น
       
       รัฐประหาร “น้าชาติ”
       
       จุดเริ่มที่ใกล้เคียงกันคือการบริหารประเทศของรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ที่ล้มเหลวจากเรื่องของการทุจริตกันอย่างมโหฬารจนได้รับสมญญานามว่า "บุฟเฟต์ คาบิเนต" สร้างความเสีย

หายต่อประเทศชาติอย่างมาก
       
       ร้อนไปถึงฝ่ายกองทัพ ต้องลุกขึ้นมาก่อการรัฐประหารขึ้นในวันที่ 23 ก.พ.2534 เมื่อ พล.อ.ชาติชาย มีกำหนดการเดินทางด้วยเครื่องบินเพื่อไปเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ จ.เชียงใหม่ 

และถูกควบคุมตัวที่สนามบินกองทัพอากาศก่อนการเดินทาง โดยคณะปฏิวัติที่เรียกตนเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งมี พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด

เป็นหัวหน้าคณะ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบกเป็นรองหัวหน้าคณะ พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.ร.อ.ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็น

รองหัวหน้าคณะ และ พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบกเป็นเลขานุการ
       
       เหตุผลในการรัฐประหารที่ รสช.ยกขึ้นมาเพื่อก่อการรัฐประหารก็คือ คณะรัฐบาล พล.อ.ชาติชายมีพฤติกรรมการทุจริตคอรัปชันอย่างกว้างขวาง ข้าราชการการเมืองรังแกข้าราชการประจำ 

รัฐบาลเป็นเผด็จการทางรัฐสภา รวมถึงพยายามทำลายสถาบันทหาร และสุดท้ายคือบิดเบือนคดีวันลอบสังหารซึ่งมีจุดมุ่งหมายล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์
       
       ภายหลังรัฐประหารสำเร็จ รสช.ได้ประกาศว่าจะไม่สืบทอดอำนาจอย่างเด็ดขาด และแต่งตั้งอานันท์ ปันยารชุนเป็นนายกรัฐมนตรี และจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ นอก

จากนี้ยังได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินผู้มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติโดยมีอดีตรัฐมนตรีตกอยู่ในข่ายผู้ต้องสงสัยหลายคน ในห้วงเวลาเดียวกันก็มีการเคลื่อนไหวเพื่อตั้งพรรคการเมือง

ของสมาชิกบางคนของ รสช.เป็นสมาชิก
       
       จะเห็นได้ว่า เหตุผลในการรัฐประหารของรสช.และคมช.มีความคล้ายกันอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นของการทุจริตคอรัปชันในการบริหารประเทศ หรือการจ้าบจ้วงหมิ่นเบื้องสูงของ พ.ต.ท.

ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกยกมาเป็นเหตุผลเช่นเดียวกัน และสิ่งที่ยิ่งคล้ายกันก็คือ การออกยืนยันเสียงแข็งว่าจะไม่สืบทอดอำนาจของ คมช. ซึ่งการสืบทอดอำนาจจะเป็นไปหรือไม่นั้นยังไม่อาจสรุปได้ แต่

การเคลื่อนไหวทางการเมืองของอดีตลูกพรรคสามัคคีธรรมอย่าง สุวัจน์และพินิจ ก็ได้เกิดขึ้นแล้วภาพของการเมืองในปัจจุบันจึงใกล้เคียงกับในอดีตมากขึ้น
       
       กำเนิด “สามัคคีธรรม” 
       
       การเคลื่อนไหวทางการเมืองภายหลังการรัฐประหารของคณะรสช.ค่อนข้างคึกคักเมื่อได้มีการก่อตั้ง พรรคสามัคคีธรรม โดย น.ต.ฐิติ นาครทรรพ อดีตนายทหารผู้มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ

พล.อ.อ.เกษตรเป็นเลขาธิการพรรค ณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตหัวหน้าพรรคเอกภาพที่เป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกสั่งอายัดทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีสุวัจน์ ลิปตพัลลภ และพินิจ จารุสมบัติ เป็นหนึ่งในสมาชิก

พรรคในขณะนั้นด้วย
       
       นอกจากนี้ รสช.ยังเข้ามาบริหารพรรคการเมืองอื่นๆด้วย โดยพล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ เข้าคุมพรรคชาติไทยแทน พล.อ.ชาติชาย และพรรคกิจสังคมก็เปลี่ยนตัวเลขาธิการพรรคใหม่ เป็น พล.ท.

เขษม ไกรสรรณ์ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอำนายศิลป์เช่นเดียวกับพล.อ.สุจินดา
       ต่อมา รัฐบาลของอานันท์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จสิ้น โดยมีข้อขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและรสช.เกิดขึ้นจากกรณี “การสืบทอดอำนาจ” โดยเฉพาะในบทเฉพาะกาลที่เปิดทางให้ข้าราชการ

ประจำดำรงตำแหน่งข้าราชการเมืองได้ ความขัดแย้งยังคงรุนแรงจนกระทั่ง พล.อ.สุจินดา และพล.อ.อ.เกษตร ประกาศไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ สุดท้ายรัฐธรรมนูญจึงผ่านสภาทั้งสามวาระ

และได้
       
       สามัคคีธรรมชนะเลือกตั้ง “อัปยศ”
       
       การเลือกตั้งการเลือกตั้งขึ้นในวันที่ 22 มี.ค.2535 กลายเป็นการเลือกตั้งครั้งสกปรกอีกครั้งหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยเมื่อพบว่าแต่ละพรรคการเมืองทุจริตการเลือกตั้งโดยใช้เงิน “

ซื้อเสียง” กันอย่างเปิดเผยและวงเงินที่ใช้ก็เป็นจำนวนสูงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งรายงานลับของหน่วยงานผู้ดูแลการเลือกตั้งหน่วยหนึ่งระบุว่า “ทานตะวัน” หมดเงินไปกว่า 1,600 ล้านบาท 

ในขณะที่ “ดอกบัว” ใช้เงินประมาณ 900 ล้านบาท
       
       ภายหลังการเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่ได้จำนวน ส.ส.มากเป็นอันดับ 1 คือ พรรคสามัคคีธรรม 79 คน พรรคชาติไทย 74 คน พรรคความหวังใหม่ 72 คน พรรคประชาธิปัตย์ 44 คน พรรคพลัง

ธรรม 41 คน พรรคกิจสังคม 31 คน พรรคประชากรไทย 7 คน พรรคเอกภาพ 6 คนพรรคราษฎร 4 คน พรรคปวงชนชาวไทยและพรรคมวลชนได้ ส.ส.พรรคละ 1 คน และการดำเนินการเสนอชื่อ

นายกรัฐมนตรีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
       
       “เสียสัตย์เพื่อชาติ”
       เกิด “พฤษภาทมิฬ”
       
       วันที่ 17 เม.ย.2535 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งรัฐบาลชุดนี้มีพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสิ้น 5 พรรค ได้แก่ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรค

ประชากรไทย และพรรคราษฎรมีจำนวน ส.ส.รวมกันถึง 195 เสียง โดยมีรัฐมนตรีที่ถูกยึดทรัพย์รวมอยู่ด้วยถึง 3 คนจึงเกิดข้อครหาขึ้น เนื่องจากคณะรสช.อ้างเหตุผลในการทำรัฐประหารว่า เพื่อ

ต้องการขจัดรัฐมนตรีที่มีพฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชัน
       
       ทั้งนี้ ณรงค์ ในฐานะหัวหน้าพรรคสามัคคีที่เป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาล ถูกเสนอชื่อให้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของไทย แต่การทูลเกล้าฯ ก็ไม่เกิดขึ้น เมื่อมีการยืนยันจากนางมาร์กาเร็ต 

แทตไวเลอร์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นว่าณรงค์เป็น “บุคคลต้องห้าม” ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯได้ เพราะมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด ดังนั้น 5 

พรรคร่วมรัฐบาลจึงมองไปที่ พล.อ.สุจินดา และตัดสินใจเสนอชื่อของ พล.อ.สุจินดาขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน
       
       ในวันที่ 7 เมษายน 2535 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.สุจินดา ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารบก เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของ

ประเทศ ท่ามกลางเสียงขัดค้านของประชาชนจนเกิดวลีอมตะ “เสียสัตย์เพื่อชาติ” ผลจากการขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ ของ พล.อ.สุจินดาจึงนำมาซึ่งการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ในระหว่างวันที่ 17-

20 พ.ค.เพื่อต่อต้านการ “สืบทอดอำนาจ” และถูกขนานนามว่า “พฤษภาทมิฬ” และเป็นเหตุบานปลายที่สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงในเวลาต่อมา 
///////////
รื่องเก่าเล่าใหม่ นายกรัฐมนตรีคนกลาง โดย ลม เปลี่ยนทิศ 19 ธ.ค. 2556 05:00

วันนี้ผมขอนำเรื่องราว “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” มาเล่าสู่กันฟัง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในวงการเมืองไทย 22 ปีแล้ว เมื่อ พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์  ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ร่วมกับ พล.อ.สุจินดา คราประยูร 

ผู้บัญชาการทหารบก ปฏิวัติรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ  เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534

เมื่อปฏิวัติเสร็จ พล.อ.สุจินดา ก็ได้ทาบทามให้ คุณอานันท์ปันยารชุน มาเป็น นายกรัฐมนตรี เพราะเห็นว่าเป็นบุคคลที่มีภาพพจน์ดี มีความรู้ ความสามารถ เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ

คุณอานันท์  เป็น “นายกรัฐมนตรีคนกลางคนแรก” ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม 2534 จนถึง 21 เมษายน 2535 หน้าที่หลักของ นายกฯอานันท์  คือ การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับ

ใหม่ และ จัดการเลือกตั้ง ในยุครัฐบาลอานันท์ ได้มีการแต่งตั้งคนเก่งคนดีท่มีความรู้ความสามารถขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีกันมากมาย อาทิ คุณนุกูล ประจวบเหมาะ, คุณเสนาะ อูนากูล, คุณโฆสิต ปั้น

เปี่ยมรัษฎ์, คุณสิปนนท์ เกตุทัต เป็นต้น บริหารประเทศโดยเน้น “ความโปร่งใส” เป็นหลัก

เมื่อจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จ และจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปเรียบร้อยแล้ว นายกฯอานันท์ ก็พ้นจากตำแหน่ง

ผลการเลือกตั้งในปี 2535 พรรคสามัคคีธรรม  ของ คุณณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับเลือกตั้งเข้ามากที่สุด 79 เสียง แต่ คุณณรงค์ หัวหน้าพรรค ไม่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้  เพราะ ถูก

สหรัฐฯประกาศขึ้นบัญชีดำ ไม่สามารถวีซ่าเข้าสหรัฐฯได้ คุณณรงค์ จึงรวบรวมเสียงข้างมาก ประกอบด้วย พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และพรรคราษฎร 

สนับสนุนให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร   ขึ้นเป็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 19  แทน ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ พล.อ.สุจินดา  เคยประกาศว่า จะไม่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เลยเกิดกรณี “เสียสัตย์เพื่อชาติ” 

ขึ้นมาในยุคนั้น

การเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา ก่อให้เกิดกระแสการคัดค้านอย่างรุนแรงจากประชาชน มีประชาชนออกชุมนุมประท้วงกันมากมาย ตามข่าวสมัยนั้นบอกว่า มีประชาชนออกมาชุมนุมคัด

ค้านถึง 5 แสนคน ไม่น้อยกว่ามวลมหาประชาชนในยุคนี้เลย แต่ พล.อ.สุจินดา ก็ไม่ยอมลาออก จนนำไปสู่การปราบปรามและการใช้กำลังปะทะกัน นำไปสู่ความสูญเสียมากมาย จนเรียกกันว่า “

พฤษภาทมิฬ”

หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พล.อ.สุจินดา ก็ยอมลาออกจากตำแหน่ง ฝ่ายพรรคเสียงข้างมากก็ลงมติเห็นชอบให้สนับสนุน พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน 

ทุกอย่างดูเหมือนจะราบรื่น วันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี พล.อ.อ.สมบุญ ระหงษ์ แต่งตัวเต็มยศพร้อมลูกพรรค เตรียมรับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายก

รัฐมนตรี

แต่แล้ว พล.อ.อ.สมบุญ ก็ต้องแต่งตัว รอเก้อ 

เพราะ คุณอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งเป็น ประธานสภาผู้แทนราษฎร ในสมัยนั้น และเป็น ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ได้ตัดสินใจเปลี่ยนชื่อ พล.อ.อ.สมบุญ ระ

หงษ์ เป็น คุณอานันท์ ปันยารชุน  ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯโดยไม่มีพรรคการเมืองไหนรู้ 

จนกระทั่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง  คุณอานันท์ ปันยารชุน เป็น นายกรัฐมนตรี ทำเอาทุกคนช็อกกันทั้งประเทศเพื่อให้ คุณอานันท์ จัดตั้ง รัฐบาลเฉพาะกิจ เพื่อ จัดการเลือกตั้งใหม่

คุณอานันท์ เป็นนายกฯเฉพาะกิจแค่ 3 เดือนเศษ ตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน 2535 ถึงวันที่ 23 กันยายน 2535 

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งเข้ามามากที่สุด และ นายหัวชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 20

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในช่วงปี  2534–2535  ก็ไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญมาตราไหนรองรับ  แต่ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้มีอำนาจ ว่า จะช่วยกันแก้ปัญหาวิกฤติของชาติได้อย่างไร   เป็นเรื่อง

ที่สำคัญยิ่งกว่าบทบัญญัติในกฎหมายใดๆทั้งสิ้น.

“ลม เปลี่ยนทิศ”
 /////////////////////////////////
นายกฯ คนกลาง เสร็จ “บูรพาพยัคฆ์”
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
29 มีนาคม 2557 06:35 น.

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - กลายเป็นประเด็นร้อนฉ่าขึ้นมาในทันที เมื่อ ฯพณฯ อำมาตย์เต้น-ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ออกมาเปิดรายชื่อ 

3 ตัวเต็ง 7 ตัวสอดแทรกและม้ามืด “นายกรัฐมนตรีคนกลาง” พร้อมกล่าวหาว่า ทั้ง 10 รายชื่อคือคนที่ “ฝ่ายอำมาตย์” ตระเตรียมเอาไว้ในกรณีที่ “นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” มีอันเป็นไปต้องพ้นจาก

เก้าอี้นายกรัฐมนตรีพร้อมกับคณะรัฐมนตรี
       
       การเคลื่อนไหวและการเปิดประเด็นของ ฯพณฯ อำมาตย์เต้นย่อมไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะถ้า “ไม่มีมูลฝอย หมาย่อมไม่ขี้” แม้จะตั้งอยู่บนสมมติฐานของ “การมโน” เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มิได้

หมายความว่าไม่มีโอกาสเกิดขึ้นเลยเสียทีเดียว
       
       นายกฯคนกลาง : เกมท้ารบของคนเสื้อแดง
       
       สำหรับรายชื่อนายกรัฐมนตรีคนกลางที่นายณัฐวุฒิเปิดออกมามีทั้งหมด 10 คนด้วยกัน โดย 3 ตัวเต็งประกอบไปด้วย
       
       เต็ง 1 นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี
       
       เต็ง 2 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่ของบูรพาพยัคฆ์
       
       เต็ง 3 นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย
       
       ส่วน 7 ตัวสอดแทรกและม้ามืดประกอบไปด้วย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสุรเกียรติ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายอาสา สารสิน อดีตราชเลขาธิการ นายวิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าของนิคมอุตสาหกรรมเครืออมตะ 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน
       
       คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ทำไม ฯพณฯอำมาตย์เต้นถึงจงใจและตั้งใจหยิบเรื่องนายกฯ คนกลางมาเป็นประเด็น
       
       ตอบได้ทันทีเลยว่า เป็นเพราะระบอบทักษิณได้ประเมินแล้วว่า สุดท้ายนางสาวยิ่งลักษณ์และคณะรัฐมนตรีจะหมดอำนาจวาสนาจากผลแห่งกรรมที่ได้ทำเอาไว้ในอีกไม่ช้า
       
       ดังจะเห็นได้จากคำให้สัมภาษณ์ของระดับแกนนำคนสำคัญของระบอบทักษิณหลายต่อหลายคน ยกตัวอย่างเช่น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขยนักโทษชายหนีคดีทักษิณชินวัตรและสามีสุดที่

รักของเจ๊แดง นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ที่ประกาศในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2557 ของพรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 26 มีนาคมในบางช่วงบางตอนเอาไว้ว่า...
       
       “พรรคเพื่อไทยไม่มีใครเป็นที่พึ่ง มีแต่พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศให้การสนับสนุน วันนี้เราอาจจะแพ้ ประชาชนรู้ว่าอะไรคืออะไร เราแพ้มาหลายครั้ง ถึงแพ้ก็แพ้ไม่นาน ก็จะกลับเข้า

มาด้วยการเลือกตั้ง อยากให้สมาชิกพรรคไปชี้แจงประชาชนในพื้นที่ของตัวเองว่าเกิดอะไรขึ้น มีความจำเป็นต้องต่อสู้ จะทำในวิถีทางประชาธิปไตย ส่วนเรื่องนายกฯ คนกลางที่ไม่ได้มาจากการ

เลือกตั้ง คงอยู่ได้ไม่นาน เพราะไม่ได้มาจากประชาชน”
       
       คำกล่าวของนายสมชายคือการส่งสัญญาณชัดเจนว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ระบอบทักษิณกำลังเดินทางไปถึงจุดจบจริงๆ โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
       
       แน่นอน ไม่ใช่มีเฉพาะนายสมชายเท่านั้นที่ยอมรับชะตากรรม แม้กระทั่งเจ้าของฉายา “โกร่งกางเกงแดง” นายวีรพงษ์ รามางกูร ซึ่งเป็นคนของระบอบทักษิณก็ยอมรับเช่นกันว่า “รู้ว่าแพ้ แต่ยัง

ไม่จบนะ”
       
       ส่วนถามว่า รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะพังด้วยเหตุอะไร ก็คงต้องหยิบยกความเห็นของ “นายคำนูณ สิทธิสมาน” ส.ว.สรรหาที่วิเคราะห์เอาไว้ในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “กรณีจำนำข้าวถึงแม้ ปปช. จะชี้มูล

นายกยิ่งลักษณ์ ก็จะยังไม่ทำให้พ้นจากตำแหน่ง เพียงแต่ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น ในระหว่างนั้น รองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง ก็สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนไปพลางได้ ส่วนกรณีคุณถวิล เปลี่ยนศรี 

ศาลปกครองได้ตัดสินแล้ว ว่าเป็นการไม่ชอบ
       
       หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นพ้อง ว่าเป็นการดำเนินการเพื่อเอื้ออำนวยประโยชน์ ในการเลื่อนตำแหน่งให้แก่คุณเพรียวพันธ์ (พล.ต.อ.เพรียวพันธุ์ ดามาพงศ์)ซึ่งเป็นญาติของนายกฯยิ่งลักษณ์ ศาลรัฐ

ธรรมนูญจะถือว่าเข้าข่ายมาตรา 268 นายกยิ่งลักษณ์จะพ้นตำแหน่งไปตามมาตรา 182 (7) ทันที ไม่ต้องมีขบวนการถอดถอนแต่อย่างใดอีกแล้ว และเมื่อความเป็นนายกรัฐมนตรีของคุณยิ่งลักษณ์สิ้น

สุดลง คณะรัฐมนตรีก็จะพ้นตำแหน่งไปทั้งหมด ต้องมีการแต่ตั้งนายกฯ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ทันที”
       
       ดังนั้น ระบอบทักษิณซึ่งมีเนติบริกรรับใช้อยู่เป็นพะเรอเกวียนย่อมต้องรับรู้และมองขาด ดัวยเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการเล่นเกมเพื่อปลุกเร้าคนเสื้อแดงพร้อมทั้งดิสเครดิตอำมาตย์จนเฮือก

สุดท้ายด้วยการกล่าวหาว่ามีความพยายามผลักดันนายกรัฐมนตรีคนกลางโดยอาศัยมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญ
       
       นี่คือ “เกม” ที่ระบอบทักษิณกำลังใช้เพื่อดิ้นรนในการรักษาอำนาจที่พวกเขารู้อยู่เต็มอกว่า ความพ่ายแพ้กำลังจะมาเยือนในช่วงเดือนเมษายนนี้
       
       **นายกฯ คนกลาง สุดท้ายเสร็จบูรพาพยัคฆ์
       
       คำถามที่เกิดตามมาคือ โอกาสที่จะเกิดนายกรัฐมนตรีคนกลางมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
       
       แน่นอน ถ้าหากเป็นไปตามไทม์ไลน์ที่ ส.ว.คำนูณและส.ว.ไพบูลย์ นิติตะวันวิเคราะห์ไว้จากคดีนายถวิล เปลี่ยนศรี โอกาสที่จะเกิดนายกรัฐมนตรีคนกลางก็เป็นไปได้สูง เนื่องจากรัฐบาลชุด

ปัจจุบันกระทำผิดรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน
       
       ทว่า นั่นไม่ใช่ปัจจัยเดียว เพราะการเมืองย่อมไม่ใช่ 1+1 เท่ากับ 2 และถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงๆ ก็ยังไม่มีหลักประกันอะไรให้มั่นใจว่า ทุกอย่างจะจบ บ้านเมืองจะเป็นปกติ และระบอบทักษิณจะ

สูญสลายไปจากบ้านนี้เมืองนี้ โดยเฉพาะคนเสื้อแดงที่ประกาศชัดเจนว่า จะไม่ยอมรับคำตัดสินของอ้ายอีหน้าไหนที่จะทำให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ต้องพ้นไปจากอำนาจ และพร้อมจะใช้ความรุนแรงตอบ

โต้
       
       ที่สำคัญคือ เมื่อประเมินสถานการณ์ทางการเมือง ณ ขณะนี้ก็จะเห็นได้ชัดว่า ฝ่ายระบอบทักษิณที่มีรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจและฝ่ายคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยน

แปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่มีฝ่ายหนึ่งสามารถช่วงชิงความมีเปรียบเหนือฝ่ายตรงข้ามได้แบบ

เบ็ดเสร็จเด็ดขาด
       
       แม้ระบอบทักษิณและรัฐบาลยิ่งลักษณ์จะอ่อนล้าและเพลี่ยงพล้ำอย่างหนัก แต่ฝ่าย กปปส.ของนายสุเทพก็ไม่สามารถขุดรากถอนโคนได้ ยิ่งเมื่อ กปปส.ไม่สามารถปฏิวัติประชาชนได้สำเร็จทั้งๆ 

ที่ผู้คนแห่แหนกันออกมาจากบ้านนับเป็นล้านๆ คน ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ศึกครั้งนี้จะยืดเยื้อยาวนานจนมองไม่เห็นว่า จะยุติลงได้อย่างไร
       
       ขณะที่ฝ่ายระบอบทักษิณก็พยายามทำให้สังคม “มโน” ไปว่า กองกำลังเสื้อแดงของเขายังคงมีพลัง ยังคงมีราคาและมีอำนาจมากพอที่จะต่อรองได้ดังปรากฏให้เห็นจากความเคลื่อนไหวของคน

เสื้อแดงที่จัดชุมนุมใหญ่ตามจังหวัดต่างๆ รวมถึงการประกาศชุมนุมใหญ่ที่จะเกิดขึ้นวันที่ 5 เมษายน 2557 ซึ่งถ้าดูจังหวะเวลาที่คนเสื้อแดงจัดการชุมนุมก็สามารถมองเห็นเค้าลางแห่งความรุนแรง

ซึ่งรออยู่เบื้องหน้า เพราะทุกครั้งที่เสื้อแดงชุมนุมในช่วงเดือนเมษายนล้วนแล้วแต่เกิดความวุ่นวายทั้งสิ้น
       
       นี่ไม่นับรวมถึงการใช้กองกำลังชายชุดดำสร้างความรุนแรง ข่มขู่องค์กรอิสระและหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการป้องกันและ

ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ซึ่งมีผลต่อความเป็นไปของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
       
       เมื่อนายสุเทพปฏิวัติประชาชนไม่สำเร็จ ระบอบทักษิณก็ง่อยเปลี้ยเสียขาแต่ยังไม่หมดฤทธิ์ หนทางสุดท้ายจึงมาหยุดลงตรงที่ “การเจรจา” เพื่อหาทางออก เพราะทั้งสองฝ่ายต่างก็เหนื่อยล้าเต็มที
       
       แต่การเจรจาเพื่อนำไปสู่การมีนายกรัฐมนตรีคนกลางก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต่างมีเงื่อนไขที่ไม่สามารถถอยกันคนละหลายๆ ก้าวได้ ดังนั้น จึงจะต้องทำให้ทั้งสองฝ่าย “วิน-วิน” 

ด้วยกันทั้งคู่
       
       เงื่อนไขที่ระบอบทักษิณต้องการมีอยู่ 2 ข้อคือ
       
       หนึ่ง-นายกรัฐมนตรีคนกลางและรัฐบาลคนกลางที่จะเกิดขึ้นจะต้องไม่ถอนรากถอนโคนตระกูลชิน และระบอบทักษิณ
       
       สอง-ขอคำมั่นสัญญาว่า เมื่อมีนายกรัฐมนตรีคนกลางและรัฐบาลคนกลางแล้ว จะต้องประกาศวันเลือกตั้งออกมาให้ชัดเจนว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เพราะนายใหญ่มั่นใจว่า ไม่ว่าจะเลือกตั้งสักกี่

ครั้งกี่คน พรรคเพื่อไทยก็จะรับได้ชัยชนะและกลับมาเป็นรัฐบาลได้ทุกครั้ง
       
       ส่วนเงื่อนไขที่ฝ่ายกำนันสุเทพต้องการก็มี 2 ข้อเช่นกันคือ
       
       หนึ่ง-รัฐบาลยิ่งลักษณ์จะต้องหยุดรักษาการ
       
       และสอง-จะต้องเกิดการปฏิรูปก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง
       
       ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงยิ่งว่า ระบอบทักษิณจะสามารถรับเงื่อนไขของนายสุเทพได้ เพราะเมื่อประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่า แม้จะมีนายกรัฐมนตรีคนกลางจริงหรือจะมีนายกรัฐมนตรีที่มา

จากการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลใหม่ก็จะอยู่ในอำนาจได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ และรัฐบาลชุดนี้มีภารกิจสำคัญคือทำให้ประเทศไทยเดินหน้าต่อไป และเดินหน้าปฏิรูปประเทศตามกระแสเรียกร้อง
       
       หนึ่งในสัญญาณที่ถูกส่งออกมาคือการปล่อยข่าวว่านางสาวยิ่งลักษณ์จะไม่ลงสมัคร ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย
       
       หนึ่งในสัญญาณที่ถูกส่งออกมาคือการปล่อยข่าวเรื่องโมเดลรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นว่า จะมีอายุไม่เกิน 1 ปีครึ่งและมีภารกิจสำคัญคือการปฏิรูปประเทศ โดยเป็นแนวทางร่วมกันของพรรคร่วม

รัฐบาล
       
       อย่างไรก็ตาม การเจรจาก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะมวลชนของทั้งสองฝ่ายต่างจับตาความเคลื่อนไหวของแกนนำว่า จะเล่นเกมปาหี่รักแท้ในคืนหลอกลวงหรือไม่
       
       จะให้มาตั้งโต๊ะเชิญทั้งสองฝ่ายมาหาทางออกร่วมกัน ยิ่งเป็นเรื่องยาก
       
       ถามว่า แล้วใครหรือหน่วยงานใดจะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับเงื่อนไขซึ่งกันและกันได้
       
       คำตอบย่อมหนีไม่พ้น “ทหาร” และทหารที่ทั้งฝ่ายระบอบทักษิณและฝ่ายกำนันสุเทพ “เชื่อใจ” ก็คงหนีไม่พ้น “บูรพาพยัคฆ์” ของพี่น้อง 3 ป.คือ ป.ประวิตร ป.ป๊อก อนุพงษ์ และป.ประยุทธ์
       
       เหตุที่กล่าวว่า ระบอบทักษิณเชื่อมั่นในบูรพาพยัคฆ์ก็คงหนีไม่พ้นคำพูดอมตะในคลิปถั่งเช่า “ผมไว้ใจไอ้ตู่มาก”
       
       เหตุที่กล่าวว่า ลุงกำนันเชื่อใจบูรพาพยัคฆ์ก็เพราะนับตั้งแต่มีการชุมนุมมาเป็นเวลากว่า 5 เดือน เวที กปปส.ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์หรือสร้างแรงกดดันใดๆ ต่อทหารเลย มีแต่ชื่นชมและให้กำลัง

ใจมาโดยตลอด
       
       แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ชั่วโมงนี้ บูรพาพยัคฆ์ก็ไม่อาจเปิดหน้าแสดงตัวเป็นตัวกลางในการเจรจาได้เช่นกัน เว้นเสียแต่ว่าจะมีเงื่อนไขอะไรบางประการที่เป็นการเชิญชวนให้ทหารออกมา
       
       และเงื่อนไขที่ว่านั้นก็หนีไม่พ้น “สงครามกลางเมือง” เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับทหารที่จะเคลื่อนทัพออกจากกรมกองมารับหน้าที่เป็นท้าวมาลีวราชด้วยข้ออ้างเรื่องความสงบเรียบร้อย

ของบ้านเมือง ซึ่งนั่นก็จะเป็นปลดเปลื้องภาระของทั้งสองฝ่ายออกไปอย่างหมดจดงดงาม
       
       บูรพาพยัคฆ์นี้จึงเป็นผู้มีบารมีตัวจริงของประเทศไทย เพราะไม่ว่าใครจะขึ้นมามีอำนาจ พรรคเพื่อไทยหรือพรรคประชาธิปัตย์ บูรพาพยัคฆ์ก็ยังคงใหญ่คับประเทศไทยอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
       
       ส่วนการปฏิรูปประเทศไทยที่มวลมหาประชาชนต้องการให้เกิดก็คงเป็นเพียงความฝันบนแผ่นกระดาษที่จะถูกส่งผ่านต่อไปยังรัฐบาลใหม่ให้เป็นผู้รับผิดชอบ ขณะที่ระบอบทักษิณที่กลายเป็น

มะม่วงหล่นก็มิได้ล้มหายตายจากไปไหน เป็นเพียงมะม่วงที่หล่นบนฟูก แม้ในช่วงแรกจะกระเทือนอยู่บ้าง และตราบใดที่การปฏิวัติโดยประชาชนไม่สำเร็จ ระบอบทักษิณก็ไม่มีวันตาย
       
       26 มีนาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก
       ให้สัมภาษณ์กรณีกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) และกลุ่มแนวร่วม

ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จะนัดชุมนุมใหญ่ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า จุดยืนของ พล.อ.ประยุทธ์เป็นเช่นไรและสุดท้ายสถานการณ์ทางการเมืองของไทยจะยุติลงในลักษณะไหน
       
       “หากไม่มีการทำผิดกฎหมายก็สามารถชุมนุมได้อยู่แล้ว เป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญ แต่มองว่าทั้งสองฝ่ายมีการทำผิดด้วยกันทั้งคู่ ส่วนที่กังวลว่าจะมีการปะทะกันนั้น แกนนำทั้งสองฝ่ายจะต้อง

ควบคุมการชุมนุมให้อยู่ในกรอบ และไม่ให้มีการเผชิญหน้าหรือการปะทะกัน รวมถึงการใช้อาวุธต่อกัน แต่วันนี้แกนนำยังไม่สามารถควบคุมตรงนี้ได้ และสุ่มเสี่ยงจะเกิดเหตุการณ์ขึ้น ซึ่งผู้ที่บาด

เจ็บส่วนใหญ่เป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์ ที่มาร่วมชุมนุมของทั้งสองฝ่าย เพราะต่างเชื่อมั่นว่าฝ่ายตัวเองถูกต้องและชอบธรรม ถือว่าเป็นความคิดที่บริสุทธิ์ของประชาชน ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับแกนนำ ผู้

รักษากฎหมายว่าจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้เกิดความปลอดภัย”
       
       “ถ้าคนไทยทุกคนยอมให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด แล้วทุกคนไม่ฝ่าฝืน กฎหมายจะเป็นกฎหมาย แต่วันนี้ใช้กฎหมายเล่นงานอีกฝ่ายหนึ่ง และใช้กฎหมายมาสู้กัน แล้วถามว่ากฎหมาย 

องค์กรต่างๆ ศาลได้รับการยอมรับหรือไม่ ก็มองว่าเอียงข้างไปหมด ถ้าตัดสินเข้าข้างตัวเองก็ดี แต่ถ้าไม่ถูกใจตัวเองก็บอกเอียงข้าง แล้วใครจะตัดสินอะไรได้ เราต้องอาศัยกลไกทางกฎหมายให้ได้ 

แล้วทุกคนกลับมาเคารพกฎหมาย ศาลตัดสินอย่างไรต้องมาต่อสู้ทางคดีกัน คดีมีตั้งกี่แสน กี่ล้านคดี ทุกคนบอกศาลไม่เป็นธรรมหมดจะได้หรือไม่ ถ้าสู้กันบนถนนไม่มีวันจบ กฎหมายตัดสินให้ไม่ได้ 

พอตัดสินไปต้องมีข้างหนึ่งชนะ ข้างหนึ่งแพ้ เพราะศาลต้องตัดสินตามครรลองตัวบทกฎหมาย”
       
       “คนไทยเป็นคนสบายๆ เป็นคนที่ค่อนข้างศิลปิน ใช้อารมณ์เป็นหลัก ตัดสินอะไรง่ายๆ จะรัก ชอบหรือเกลียดใครก็ไม่นาน อย่างนี้ต้องมีหลักการของตัวเอง ต้องมีวิสัยทัศน์ไปข้างหน้าว่า 

ประเทศชาติจะเดินได้อย่างไร จะแก้ปัญหาอย่างไร ใครจะเป็นผู้เสียสละ ใครจะเป็นผู้ยอมเล็กน้อยเพื่อให้ได้ความสงบสุขคืนมา แต่ผมไม่รู้ว่า ใครจะต้องเป็นคนเสีย และใครเป็นคนยอม ถ้าคิดว่า เสีย

เปรียบหรือพ่ายแพ้ไม่มีวันจบ แต่ถ้าคิดว่าเสียสละ ไม่ว่าจะเป็นใคร มันก็คือ เหตุการณ์จบแล้วค่อยไปแก้กันต่อ ดีกว่าเอามายันกันอย่างนี้ ถ้ารบกันทั้งสองฝ่ายเจ็บตายทั้งคู่ และจะไม่มีใครได้อะไร ไม่

มีใครชนะ บ้านเมืองก็นิ่งสนิทอยู่แบบนี้
       ”
       คำว่า เสียสละของ พล.อ.ประยุทธ์หมายความว่า ต้องการให้มีการเจรจาใช่หรือไม่
       
       คำว่า ใครจะเป็นผู้ยอมเล็กน้อยเพื่อให้ได้ความสงบสุขคืนมาของ พล.อ.ประยุทธ์หมายความว่า ต้องการให้มวลมหาประชาชนที่เคลื่อนไหวเพื่อต้องการให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทาง

ที่ดีขึ้นยอมถอยให้รัฐบาลที่ทำความผิดสารพัดเช่นนั้นหรือ
       
       พล.อ.ประยุทธ์กำลังส่งสัญญาณถึงนายสุเทพใช่หรือไม่ และการที่นายสุเทพประกาศยุบทุกเวทีและไปปักหลักชุมนุมใหญ่โดยมีเป้าหมายอยู่ที่สวนลุมพินีเพื่อรอมะม่วงหล่นตามกระบวนการ

ยุติธรรม ใช่เป็นเพราะข้อเสนอแนะ ของ พล.อ.ประยุทธ์ ใช่หรือไม่
       
       และที่ต้องขีดเส้นใต้เอาไว้ก็คือ พล.อ.ประยุทธ์เห็นว่า การชุมนุมของทั้งสองฝ่ายดำเนินไปด้วยความบริสุทธิ์ ต่างฝ่ายต่างเชื่อมั่นว่าฝ่ายตัวเองถูกต้องและชอบธรรม หมายความว่า การชุมนุมของ

คนเสื้อแดงที่ประกาศบนเวทีว่าจะมีการแบ่งแย่งประเทศ มีการตั้ง สปป.อีสานล้านนาเป็นสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรมเช่นนั้นหรือ
       
       ถ้าเป็นเช่นนั้น สังคมจะไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมขุนทหารผู้นี้ถึงกับเป็นเดือดเป็นแค้นการตัดต่อภาพเพื่อสะท้อนพฤติกรรมของตนเองว่า “ก็จิตใจมันต่ำ ทราม” แต่มิเคยเอาจริงเอาจังอะไรกับ

เรื่องการแบ่งแยกดินแดน มิเคยเอาจริงเอาจังกับการหมิ่นสถาบันจากฝีมือของคนเสื้อแดงที่มีมากมายเกลื่อนประเทศ
       
       และนี่กระมังจึงเป็นเหตุว่า ทำไมรัฐบาลยิ่งลักษณ์และระบอบทักษิณจึงยังคงอยู่ได้ในบ้านนี้เมืองนี้โดยที่มวลมหาประชาชนไม่สามารถทำอะไรได้
       
       ชำแหละที่มา 10 นายกคนกลาง
       
       สำหรับรายชื่อนายกรัฐมนตรีคนกลางที่นายณัฐวุฒิเปิดออกมามีทั้งหมด 10 คนด้วยกัน โดย 3 ตัวเต็งประกอบไปด้วย นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พี่ใหญ่ของ

บูรพาพยัคฆ์ และนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัย
       
       ส่วน 7 ตัวสอดแทรกและม้ามืดประกอบไปด้วย ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี

ว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสุรเกียรติ เสถียรไทย อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายอาสา สารสิน อดีตราชเลขาธิการ นายวิกรม กรมดิษฐ์ เจ้าของนิคมอุตสาหกรรมเครืออมตะ 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์คนปัจจุบัน
       
       เห็นรายชื่อแล้วก็ทำให้สังคมย้อนถามกลับไปว่า นายณัฐวุฒิหยิบรายชื่อทั้งหมดขึ้นมาโดยมีสมมติฐานในใจอย่างไร เพราะบางรายชื่อก็เห็นว่า เหลวไหลเลอะเทอะ ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือกรณีของ

นายวิกรม กรมดิษฐ์ที่ไม่ว่าจะใช้อวัยวะเบื้องต่ำหรือเบื้องสูงคิดก็มองไม่ออกว่า นายวิกรมจะเข้าสู่เก้าอี้ นายกฯ คนกลางจากการสนับสนุนของใคร เช่นเดียวกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะที่ไม่มีสิทธิ์คิด

แม้จะจินตนาการ ซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับแล้วว่า เป็นไปไม่ได้
       
       เช่นเดียวกับบรรดาตัวสอดแทรกและม้ามืดที่เหลือคือ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร นายสมคิดและพล.อ.ประยุทธ์
       
       แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องบอกว่า รายชื่อที่เปิดมา “บางคน” มิใช่แค่ฝ่ายนายสุเทพยอมรับได้เท่านั้น หากแต่ระบอบทักษิณก็ยอมรับได้เช่นกัน
       
       กรณีนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ชื่อนี้กลายเป็นเต็ง 1 ด้วยปัจจัยหลายประการ แต่ประการสำคัญคือ ต้องการดิสเครดิตฝ่ายที่คนเสื้อแดงเรียกว่าอำมาตย์โดยตรง เพราะนายพลากรคือ

องคมนตรี นอกจากนี้ที่ผ่านมานายพลากรยังเคยพบกับนายสุเทพที่แปซิฟิกคลับ ย่านสุขุมวิท รวมถึงคนสนิทของนายพลากรคือนายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยเคยขึ้นเวที

ปราศรัยของ กปปส.หลายครั้ง
       
       อีกทั้งเส้นทางเดินของนายพลากรยังเป็นไปในท่วงทำนองเดียวกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรีที่ลาออกมานั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีหลังการรัฐประหารของบิ๊กบัง พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน

ในปี 2549
       
       ด้วยเหตุดังกล่าวเพื่อตัดไฟเสียแต่ต้นลม นายพลากรจึงให้สัมภาษณ์ตัดบทในทันทีว่า “เป็นองคมนตรีมา 12 ปี ถือเป็นมงคลสูงสุดในชีวิตแล้ว ไม่ปรารถนาตำแหน่งอื่นใด” แต่ก็ยอมรับว่าเคยพบ

กับนายสุเทพที่แปซิฟิกคลับจริง เมื่อประมาณ 5 เดือนที่ผ่านมาจริง
       
       เช่นเดียวกับนายอานันท์ที่เคยก้าวขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยถึง 2 ครั้ง 2 คราโดยที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งคนเสื้อแดงมองว่าเป็นตัวแทนของฝ่ายอำมาตย์ 
       
       ด้านบิ๊กป้อม ด้วยความที่เป็นพี่ใหญ่บูรพาพยัคฆ์ที่มีอำนาจสูงสุด เพราะมีน้องรักเป็นที่ไว้วางใจทั้งฝ่ายลุงกำนันและฝ่ายเจ้ามูลเมือง จึงทำให้ปรากฏชื่อของ พล.อ.ประวิตรมาทุกครั้งที่มีการเปิด

ประเด็นเรื่องนายกฯคนกลาง ซึ่งก็ใช่ว่าจะไม่มีความเป็นไปได้
       
       ขณะที่คนสุดท้ายคือนายอาสา สารสิน แม้จะเป็นอดีตราชเลขาธิการ แต่ก็ต้องยอมรับว่า สายสัมพันธ์ของเขากับระบอบทักษิณอยู่ในระดับที่ไม่ธรรมดาเช่นกัน โดยพงศ์ สารสินผู้เป็นพี่ชายก็เคย

เป็นอดีตประธานบริษัทชินคอร์ปช่วงสั้นๆ หลังนักโทษชายหนีคดีขายหุ้นชินคอร์ปให้เทมาเส็ก อีกทั้งยังมีคอนเนกชั่นกับพรรคประชาธิปัตย์ในระดับที่ไม่ธรรมดา เมื่อหลานชายที่ชื่อ “พรวุฒิ สารสิน” 

เคยเป็นอดีต ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคที่เก่าแก่พรรคนี้ รวมถึงจัดเป็นนายทุนพรรคคนสำคัญในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
       
       และที่ผ่านมานายอาสาก็พยายามทำตัวเป็นคนกลางในการหาทางออกให้กับประเทศไทย โดยมีนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ พี่ภรรยาของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และนายวิษณุ เครืองาม ร่วมวง เพียง

แต่หลังคุยจบไม่สามารถปฏิบัติภารกิจที่ตั้งเป้าไว้ให้สำเร็จลงได้
       
       แต่ที่เด็ดสะระตี่เหนือคำบรรยายคือ ขณะที่ผู้เป็นพ่อบุญธรรมคือนายสุเทพประกาศว่านายกฯ คนกลางคือการมโนของคนเสื้อแดง โดยยืนยันว่า ทางกปปส.ไม่เคยหาเรือหรือทาบทาบบุคคลที่จะ

มาเป็นนายกฯ คนกลาง แต่ “ขิงขิง” เอกนัฎ พร้อมพันธุ์ ผู้เป็นลูกและทำงานใกล้ชิดราวกับเป็นเงาของนายสุเทพกลับยอมรับว่า ทางกปปส.มีนายกฯ คนกลางไว้ในใจแล้ว พร้อมระบุเอาไว้เสร็จ

สรรพว่ามีคุณสมบัติอย่างไร
       
       แปลว่า การเปิดประเด็นของดาวตลกสภาโจ๊กก็มิได้เป็นเพียงแค่จินตนาการโดยไร้หลักฐานรองรับเลยเสียทีเดียว
       
       อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้วเชื่อว่า สถานการณ์การเมืองจะเดินเข้าสู่มุมอับอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ส่วนจุดจบจะลงเอยในรูปลักษณ์ใด เป็นนายกฯ คนกลางตามมาตรา 7 นายกฯ ที่มาจากการ

เลือกตั้ง หรือนายกฯ คนกลางด้วยวิธีการนอกรัฐธรรมนูญ คนที่ได้รับประโยชน์สูงสุดก็หนีไม่พ้นพรรคการเมืองสีเขียวที่ชื่อ “บูรพาพยัคฆ์”
       
       เอวัง.....ประเทศไทย