PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

องคมนตรีปีที่ ๑ ในรัชกาลที่ ๑๐ ดาวพงษ์ -ธีรชัย-ไพบูลย์

หลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งองคมนตรี โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๕๗ ประกอบกับมาตรา๑๒ มาตรา๑๓  และมาตรา๑๖ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งดังต่อไปนี้
๑. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นองคมนตรี
๒.นายเกษม วัฒนชัย เป็นองคมนตรี
๓.นายพลาพร สุวรรณรัฐ เป็นองคมนตรี
๔.นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ เป็นองคมนตรี
๕.นายศุภชัย ภู่งาม เป็นองคมนตรี
๖. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เป็นองคมนตรี
๗.พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข เป็นองคมนตรี
๘.พลเอกดาวพงษ์ รัตนสุวรรณ เป็นองคมนตรี
๙.พลเอกธีรชัย นาควานิช เป็นองคมนตรี
๑๐.พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็นองคมนตรี

ภายหลังการประกาศก็มีคำถามตามมาต่างๆมากมาย โดยเฉพาะรายชื่อองคมนตรี 3 ท่านได้แก่ พลเอกดาวพงษ์ รัตนสุวรรณ พลเอกธีรชัย นาควานิช และพลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา ว่าทั้ง3ท่านมีความเหมาสมอย่างไร ซึ่งวันนี้ได้รวบรวมประวัติทั้ง3 มาให้ได้อ่านกัน
 


เริ่มกันที่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา (บิ๊กต๊อก) เกิดวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2498 ที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนอู่ทอง พ.ศ.2515 จากนั้นเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 15 (ตท.15) ขณะศึกษาอยู่ มีผลการศึกษายอดเยี่ยม เมื่อจบนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2517 ซึ่งสามารถไปศึกษาแพทย์ได้ และเหตุการณ์บ้านเมืองปี 2516 จึงไม่เลือกไปศึกษา
จากนั้นได้เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ รุ่นที่ 26 (จปร.26) ขณะศึกษาอยู่ เป็นนักเรียนนายร้อยเรียนดีเหรียญทอง และเป็นนักเรียนผู้บังคับบัญชา จบ จปร. เมื่อ พ.ศ.2522 ด้วยผลการศึกษาเป็นที่ 1 ของรุ่น ศึกษาต่อปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับราชการตำแหน่งหลักของกองทัพบก ผู้บังคับกองพัน ผู้บังคับการกรม ทั้ง 3 กรม (คนเดียวของกองทัพบก) ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ แม่ทัพภาคที่ 1 ก่อนขึ้นสู่ผู้ช่วย ผู้บัญชาการทหารบก เป็น ผบ.หน่วย ฉก.เพชราวุธ เป็นทหารหน่วยแรกนอก ทภ.4 ที่ไปปฏิบัติงาน 3 จชต. ตั้งแต่ปี 47 เป็นนายทหารที่ใช้ชีวิตอย่างสมถะ เรียบง่าย เข้มงวด วินัยเคร่งครัด เป็นทหารอาชีพ ยังอยู่บ้านชั้นนายร้อย ไม่เคยเปลี่ยนตั้งแต่
เป็นว่าที่ร้อยตรี ใช้นาฬิกาถูก ขับรถเอง สิ่งที่คนไทยจะเห็นและจดจำได้ตลอดไปก็คือ การสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ อย่างสง่างามที่ลานพระบรมรูปทรงม้านั้น พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา (บิ๊กต๊อก) ได้เป็นผู้บังคับกองผสมในการสวนสนามถึง 2 ครั้ง ในขณะดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งต่อจากนั้น รูปแบบการสวนสนามก็ได้เปลี่ยนไป นำทหารเข้าเฝ้าแทน จึงเป็นความภาคภูมิใจและเกียรติยศสูงยิ่งของท่าน .
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า จากที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง ผช.ผบ.ทบ.ถือเป็นความปลาบปลื้มใจ ตนขอตั้งสัจจะวาจา ว่าจะเทิดทูลและรักษาไว้ ซึ่งพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์เจ้าด้วยชีวิต และจะเป็นทหารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตลอดไป ช่วงระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา จนปฏิบัติงานลุล่วง อยากให้ทุกคนทุ่มเท เพื่อให้กองทัพบกบรรลุจุดมุ่งหมาย

ด้าน พล.อ.ธีรชัย นาควานิช หรือ บิ๊กหมู เตรียมทหารรุ่น 14 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก คนที่ 39 เพื่อนร่วมรุ่น พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร ผู้บัญชาการทหารบก น้องรัก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นนายทหารจากถิ่นบูรพาพยัคฆ์ ที่ขึ้นนั่งเก้าอี้แม่ทัพบกเป็นคนที่ 5
เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 มีบทบาทสำคัญในช่วงรัฐประหาร ถือว่าได้ร่วมเสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย รวมทั้งเคยเป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบ ซึ่งมีความคุ้นเคยกับ ผบ.หน่วยคุมกำลังหลักในกรุงเทพฯ นอกจากความอาวุโสแล้ว ผบ.ทบ.คนใหม่ ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของบ้านเมืองที่ยังมีความขัดแย้ง จึงต้องทำงานเข้าขากับทุกฝ่าย และคำนึงถึงมิติความมั่นคงด้วย
ทั้งนี้  พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ.เข้ารับตำแหน่ง ได้ระงับคำสั่งปรับย้ายนายทหารและสั่งรื้อปรับภูมิทัศน์ใน บก.ทบ. ของอดีต ผบ.ทบ.คนก่อนที่สั่งสร้าง ทำเอาลูกน้องในกองทัพ "อกสั่นขวัญแขวน" ไปตามๆ กัน
นอกจากนี้ จากปัญหารถติดทางออกประตูด้านหลัง บก.ทบ. เนื่องจากกำลังพลแห่ไปเติมน้ำมันเพราะ "นายๆ" ใจดีแจกโควต้า งานนี้ "บิ๊กหมู" เลยสั่งระงับ ไม่ต้องเติม แก้ปัญหารถติด พร้อมให้เอากุญแจไปล็อกหัวจ่ายน้ำมัน เรียกว่าเฉียบขาดเกินบรรยาย

ส่วน พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ หรือ “บิ๊กหนุ่ย” อดีต รองผู้บัญชาการทหารบก และอดีตเสนาธิการทหารบก เกิดเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายของ พันเอก (พิเศษ) ศิริ รัตนสุวรรณ และนางชม้อย รัตนสุวรรณ จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12-รุ่นเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา, พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป, พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์, โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 23 (จปร.23) และโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พล.อ.ดาว์พงษ์ เริ่มต้นชีวิตราชการทหารครั้งแรกกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร. 11 รอ.) จนกระทั่งได้เป็นถึงผู้บังคับการกรม ในปี พ.ศ. 2530 ได้เป็นราชองครักษ์เวร จากนั้นได้เป็นฐานะผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.1 รอ.) ซึ่งมีอำนาจในการควบคุมกำลังรบหลักของกรุงเทพมหานคร ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาค 1 ก่อนที่ในปีถัดมาจะได้เป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ และได้เลื่อนขึ้นมาเป็นรองเสนาธิการทหารบก และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาธิการทหารบกในวันที่ 1 ต.ค. 2553 พร้อมกับเลื่อนยศเป็น พลเอก (พล.อ.) ด้วย
หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549 พล.อ.ดาว์พงษ์ ในขณะนั้นมียศเป็น พลตรี (พล.ต.) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
พล.อ.ดาว์พงษ์ เริ่มมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน พ.ศ. 2553 ซึ่งขณะนั้นนั้น พล.อ.ดาว์พงษ์ ในยศ พลโท (พล.ท.) ในตำแหน่งเป็นเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร อีกทั้งกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนกรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ออกแถลงการณ์ผ่านทางโทรทัศน์ ถึงเหตุการณ์การกระชับพื้นที่และการสลายการชุมนุม

บิ๊กตู่ ใช้ ม.44 ให้ "ถวิล เปลี่ยนศรี" นั่ง กก.ต้านทุจริตแห่งชาติ แทน "บรรยง พงษ์พานิช"

บิ๊กตู่ ใช้ ม.44 ให้ "ถวิล เปลี่ยนศรี" นั่ง กก.ต้านทุจริตแห่งชาติ แทน "บรรยง พงษ์พานิช"
Prev
1 of 1
Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 06 ธ.ค. 2559 เวลา 18:35:04 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันนี้ (7 ธ.ค.) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๖/๒๕๕๙ เรื่อง แก้ไขบุคคลตามองค์ประกอบคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เพื่อให้การดําเนินงานของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และแนวทางในการกําหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ตามคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๒๗/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ให้มีผู้ดํารงตําแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย และแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้ง ร่วมเป็นคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ จึงให้ยกเลิกความในข้อ ๒ ๖), ๘) และ ๑๑) ของคําสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๔/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตามองค์ประกอบคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ และให้ใช้ข้อความ ต่อไปนี้แทน

“๖) พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท กรรมการ ฯลฯ
๘) พลอากาศเอก จอม รุ่งสว่าง กรรมการ ฯลฯ
๑๑) นายถวิล เปลี่ยนศรี กรรมการ”

ทั้งนี้ เดิมตำแหน่งที่ ๖ เป็นของ พลเอก ธีรชัย นาควานิช อดีต ผบ.ทบ.ปัจจุบันได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี และตำแหน่งที่ ๘ พลอากาศเอก ตรีทศ สนแจ้ง อดีต ผบ.ทอ. ขณะที่ตำแหน่งที่ ๑๑ เดิมเป็นของ นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน), กรรมการ คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด

ด่วน!!! ตำรวจบุก ออฟฟิศ บีบีซีไทย ที่อาคารมณียา แต่ไหวตัวชิงปิดบริษัทหนีไปก่อน

2016-12-06 17:38:39
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ (6ธ.ค.) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้บุกไปที่ สำนักงาน บีบีซีไทย ที่อาคารมณียา ถนนเพลินจิต แต่บีบีซีไทยได้ใช้วิธีปิดบริษัทหนี ทำให้เจ้าหน้าที่ ยังไม่สามารถทำอะไรได้
ขณะเดียวกันในวันนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ให้สัมภาษณ์กรณีที่สำนักข่าวบีบีซีไทย นำเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จนนำไปสู่การจับกุมนายจตุภัทร บุญภัทรรักษา หรือไผ่ ดาวดิน ที่แชร์รายงานดังกล่าวในเฟซบุ๊ค ว่า อะไรที่ทำผิดกฎหมายหรือสร้างความเสียหายก็ต้องถูกดำเนินการทั้งหมด เคยบอกเจ้าหน้าที่ไปแล้วว่าต้องทำตามกฎหมาย ไม่มีปล่อยไว้และไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ในภาพรวมมีเจ้าหน้าที่หลายฝ่ายไปดำเนินการกับเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว เพราะมีทั้งข่าวจริงและไม่จริง
ขณะที่ก่อนหน้า มีรายงานข่าวจากหน่วยงานความมั่นคงระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลการเผยแพร่เนื้อหา ของสำนักข่าวบีบีไทย ที่มีการเผยแพร่ข้อมูลที่อาจเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยเตรียมข้อมูลดังกล่าว เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาคดีด้านความมั่นคง ส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย และความมั่นคงต่อไป
บุญชัย ธนะไพรินทร์ เรียบเรียง
http://deeps.tnews.co.th/contents/y/215925/

เปิดประวัติ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรีใน พระเจ้าอยู่หัว ร.๑๐ มือปราบพวกหมิ่นสถาบันฯและผู้ชงเรื่องถอดยศ ทักษิณ ชินวัตร

วันที่ 6 ธ.ค.59  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์  บดินทรเทพยวรางกูร   มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า  โดยที่คณะองคมนตรีได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งองคมนตรีและมีพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรี จำนวน 10 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มี พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งในครั้งนี้ด้วย

สำหรับพล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เกิดเมื่อวันที่  21 มิถุนายน พ.ศ. 2498  ปัจจุบันอายุ  ปี เป็นชาวอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของนายลออ คุ้มฉายา กับนางจันทร์ คุ้มฉายา สมรสกับนางพจนี คุ้มฉายา จบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนอู่ทอง ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ และจบจาก โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15) และ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 26 (จปร.26) รุ่นเดียวกับพลตำรวจเอก สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลเอก ปรีชา จันทร์โอชา อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม
สำหรับประวัติ พล.อ.ไพบูลย์ นั้นเคยดำรงตำแหน่ง ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ,ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ , แม่ทัพภาคที่ 1 , ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก , รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด , หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ คสช.และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2558
และยังได้รับการแต่งตั้งเป็นราชองครักษ์พิเศษวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบันอีกด้วย

เมื่อครั้งพล.อ.ไพบูลย์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้รับภารกิจสำคัญในการติดตามบุคคลที่กระทำความผิดฐานจาบจ้วงล่วงละเมิดสถาบันฯ ที่หลบหนีอยู่ต่างประเทศ พบเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการทำงานทั้งการติดต่อประสานผ่านช่องทางระหว่างประเทศ ,ผ่านตำรวจนานาชาติ เพื่อทำความเข้าใจกฎหมายของไทยในการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน และการดำเนินการประสานงานผู้ให้บริการโซเชียลออนไลน์ ในการขอความร่วมมือปิดกั้นและยับยั้งการกระทำความผิด
ส่วนคดีสำคัญอย่างการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายของคดี พระธัมมชโย ที่เป็นผู้ต้องหาในความผิดร่วมฟอกเงินและรับของโจรซึ่งปัจจุบันก็อยู่ระหว่างการกดดันบังคับใช้กฎหมาย
การเป็นประธานศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอ.ตช.) ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการติดตามดำเนินการเอาผิดกับข้าราชการ ที่กระทำทุจริตคอรั่ปชั่น จนส่งรายชื่อข้าราชการ ให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคสช. ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ดำเนินการเอาผิดกับบุคคลที่กระทำทุจริตคอรัปชั่นนั้นแล้ว
นอกจากพล.อ.ไพบูลย์ ยังดำเนินการในการถอดยศ พ.ต.ท. ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีอีกด้วย โดยจัดการประชุมตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนสุดท้ายมีความเห็นว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติสามารถที่จะถอดยศ พ.ต.ท. ของนายทักษิณ ชินวัตร ได้จึงมีมติส่งเรื่องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในการถอดยศของนายทักษิณอีกด้วย
เรียบเรียง  อุดร แสงอรุณ สำนักข่าวทีนิวส์

พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นทหาร และนักการทหาร และ กษัตริย์ผู้ทรงเป็น จอมทัพไทย

"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร" พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นทหาร และนักการทหาร และ กษัตริย์ผู้ทรงเป็น จอมทัพไทย
ทั้งนี้ พระองค์ทรงเป็นทหาร ทรงมีพระยศทหารสามเหล่าทัพ ทั้ง พลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก และทรงฉลองพระองค์ด้วยเครื่องแบบทหารอยู่เสมอๆ
ที่สำคัญ ทรงตั้งใจที่จะเป็นทหาร ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ โดยศึกษาด้านการทหาร จาก รร.เตรียมทหาร King's School ที่Parramatta ออสเตรเลีย และThe Royal Military College - Duntroon อันเลื่องชื่อของออสเตรเลีย
และ ทรงรับการฝึกหลักสูตรทางทหาร ทั้งที่ ออสเตรเลีย และ อังกฤษ ทรงฝึกบิน เฮลิคอปเตอร์ และเรียน วปอ.อังกฤษ
นอกจากนี้ ยังทรงศึกษา หลักสูตร รร.เสนาธิการทหารบก ด้วย .....ทรงรับราชการทหาร ในกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทรงมีส่วนสำคัญในการกำหนดแบบปฏิบัติของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และทหารรักษาพระองค์ รวมถึงการตั้ง หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
ที่สำคัญคือ ทรงเป็นนักบิน F5 ที่มีชม.บิน มากกว่า 2พันชม.บิน....จนทรงได้รับสมัญญานามว่า เป็น "เจ้าฟ้านักบิน".....มา ตอนนี้ ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ แล้ว จึงทรงเป็น"กษัตริย์นักบิน" โดยที่พระองค์มาทำการบินเครื่องลำเลียง Boeing 737 ของการบินไทย อีกกว่า3พันชม.บิน อีกด้วย
ไม่แค่นั้น พระองค์ทรงเป็น กษัตริย์นักรบ ที่ทรงออกปฏิบัติการทางทหารที่ชายแดนภาคเหนือ ทรงประทับแรมที่ฐานทหาร บ้านหมากแข้ง จ.เลย และทรงใช้ชีวิตแบบทหาร และ ออกลาดตระเวณ รักษาอธิปไตย ในสมรภูมิคอมมิวนิสต์ เมื่อปี2519 และทรงปฏิบัติภารกิจ ดูแลชายแดน ไทย-กัมพูชา ด้วย
นอกจากนั้นทุกครั้งที่ ในหลวงรัชกาลที่9 เสด็จเยี่ยมทหาร ที่ชายแดน พระองค์ ก็โดยเสด็จด้วยเสมอ รวมถึงการยกพลขึ้นบก ของทหารนาวิกโยธิน ที่ จ.นราธิวาส เมื่อปี2512 ด้วย
จึงทรงเป็นกษัตริย์ทหาร ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ กับทั้งทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ

บิ๊กป้อม สั่งฟัน BBCไทย

‪ฟัน BBC ไทย
บิ๊กป้อม สั่งจนท.ดำเนินการตามกม. เวบไซต์ข่าว BBCไทย เผยแพร่ บทความละเอียดอ่อน เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ชี้จนท.ดำเนินคดี "ไผ่ ดาวดิน" ตามกม.ยันจนท.ดำเนินการ ไม่มีปล่อย ต้องทำตามกม.ทุกเว็บ‬ไซต์
พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ/รมว.กห. กล่าวถึง การเสนอบทความของ เวบ BBC ไทย ที่ละเอียดอ่อนต่อสถาบันกษัตริย์ และมีการดำเนินคดีกับ "ไผ่ ดาวดิน" นั้นว่า อะไรที่ผิดกม. เราก็ต้องดำเนินคดี อะไรที่ทำให้เกิดความเสียหาย ทุกเริ่อง ผมบอกเจ้าหน้าที่ไปแล้ว ถ้าอะไรที่ผิดกม. ไม่มีปล่อย ไม่มีปล่อยไว้ ไม่เลือกปฏิบัติ
ส่วนการที่ BBC ไทย และ สำนักข่าว ตปท. มักเสนอข่าวเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ของไทย ในประเด็นที่อ่อนไหวนั้น พลเอกประวิตร กล่าวว่า ในภาพรวมเราต้องดำเนินการ เพราะมีจนท.ดูแลอยู่. เรามีจนท.หลายฝ่าย เพราะตัองดูว่า ข่าวไหน จริงไม่จริง

เปิดประวัติ 11 องคมนตรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10

เปิดแฟ้มประวัติ 11 องคมนตรีในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ‘เปรม-สุรยุทธ์-เกษม-พลากร-อรรถนิติ-ศุภชัย-ชาญชัย-ชลิต-ดาว์พงษ์-ธีรชัย-ไพบูลย์’
PIC aongkamontree 6 12 59 1
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรีจำนวน 10 ราย ดังต่อไปนี้
1.พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็น องคมนตรี
2.นายเกษม วัฒนชัย เป็น องคมนตรี
3.นายพลากร สุวรรณรัฐ เป็น องคมนตรี
4.นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ เป็น องคมนตรี 
5.นายศุภชัย ภู่งาม เป็น องคมนตรี
6.นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เป็น องคมนตรี
7.พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก เป็น องคมนตรี
8.พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เป็น องคมนตรี
9.พล.อ.ธีรชัย นาควานิช เป็น องคมนตรี
10.พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็น องคมนตรี 
ทั้งนี้ ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานองคมนตรี มาก่อนหน้านี้แล้ว
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รวบรวมประวัติขององคมนตรีทั้งหมดซึ่งเป็นคนเก่าที่ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง 8 คน และเป็นองคมนตรีใหม่ 3 คนมาให้ทราบ ดังนี้ 
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี (96 ปี)
เกิดเมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2463 รัฐบุรุษ อดีตนายกรัฐมนตรี 3 สมัย อดีตผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองมาหลายตำแหน่ง บุคลิกส่วนตัวเป็นคนพูดน้อย จนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีว่า “เตมีย์ใบ้”
ในช่วงเหตุการณ์กบฏเมษาฮาวาย “พล.อ.เปรม” ได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินไปประทับที่ กองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา ตั้งกองบัญชาการตอบโต้ จนรอดพ้นการก่อกบฏของทหาร “กลุ่มยังเติร์ก”
ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมีผลงานสำคัญคือการผลักดันนโยบายการเมืองนำการทหาร ที่รู้จักกันในนามคำสั่ง 66/23 เพื่อยุติการทำสงครามสู้รบ ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับฝ่ายรัฐบาล
“พล.อ.เปรม” ยังอยู่เป็นหลักให้กับนายทหารรุ่นหลัง ๆ ในกองทัพมาอย่างยาวนาน คอยให้กำลังใจแม่ทัพนายกองเมื่อต้องทำงานใหญ่ อย่างเช่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ “พล.อ.เปรม” เคยขอให้เข้มแข็งเมื่อต้องทำงานใหญ่
ที่สำคัญ "พล.อ.เปรม"รับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทมาตลอด จนได้รับความไว้พระราชหฤทัยโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นองคมนตรี หลังจากพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และประธานองคมนตรี ตามลำดับ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ (73 ปี)
เกิดเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2486 ได้ชื่อเป็นลูกรักของ “ป๋าเปรม” ขณะดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพมาโดยตลอด ขณะดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ก็อด อาร์มี่ บุกยึดสถานทูตพม่า เมื่อปี 2542 และโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อปี 2543 และสามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้โดยไม่มีคนไทยเสียชีวิต 
ขณะที่เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อปี 2546 เกิดกรณีมีข่าว “สุวนันท์ คงยิ่ง” ดารานักแสดง พูดกล่าวหาว่ากัมพูชาขโมยนครวัดไปจากไทย จนทำให้เกิดเหตุจลาจลที่สถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ โดย “พล.อ.สุรยุทธ์” เป็นผู้เสนอให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นำเครื่องบินซี 130 ไปรับคนไทยในกรุงพนมเปญกลับมายังประเทศไทยทั้งหมด จนทุกคนได้รับความปลอดภัย
“พล.อ.สุรยุทธ์” ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2546 และลาออกเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2549 เพื่อไปดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้กลับมาดำรงตำแหน่งองคมนตรีอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน
นพ.เกษม วัฒนชัย (75 ปี)
เกิดเมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2484 เคยดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล และนายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในยุครัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ภายหลังพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี ได้รับการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี มีบทบาทดูแลงานด้านการศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นหลัก 
พลากร สุวรรณรัฐ (68 ปี)
เกิดเมื่อปี 2491 อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย ภายหลังโดนปลดออกจากตำแหน่ง ฝ่ายกิจการพิเศษ และผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในช่วงรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และบทบาทในฐานะองคมนตรีช่วยงานด้านโครงการพระราชดำริ ทั้งการพัฒนาโครงการและการเผยแพร่
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (72 ปี)
เกิดเมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2487 อดีตประธานศาลฎีกา ประธานสมาคมกฎหมายอาเซียน มีบทบาทช่วยงานกลั่นกรองด้านกฎหมาย โดยก่อนหน้านี้เป็นผู้พิพากษามาอย่างยาวนาน กระทั่งเกษียณอายุราชการ ได้เป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ นายอรรถนิติ ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์หลายลำดับชั้น รวม 10 ลำดับ โดยก่อนเกษียณราชการได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เมื่อวันที่ 5 พ.ย.2547 นอกจากนั้น ยังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 นายอรรถนิติได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550
ศุภชัย ภู่งาม (71 ปี)
เกิดเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2488 อดีตประธานศาลฎีกา และเป็นผู้นำคณะผู้พิพากษาเข้ารับพระราชกระแสรับสั่งให้ตุลาการศาล ยุติธรรมช่วยแก้ไขวิกฤตของบ้านเมืองในช่วงกลางปี เมื่อปี 2548 ต่อมาในเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี
ชาญชัย ลิขิตจิตถะ (70 ปี)
เกิดเมื่อวันที่ 25 เม.ย. 2489 อดีตประธานศาลฎีกา มีบทบาทในการแก้ไขวิกฤตการเมืองช่วงต้นปี 2549 หลังจากที่เกษียณอายุราชแล้วได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาอาวุโสศาลแพ่งธนบุรี แต่ทำงานได้เพียง 2 วันจึงได้ลาออกจากตำแหน่ง
ภายหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทย เมื่อปี 2549 เคยถูกทาบทามจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ 
หลังจากที่พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีแล้ว ชาญชัยยื่นหนังสือถึงประธานศาลฎีกา เพื่อขอกลับรับราชการเป็นผู้พิพากษาอาวุโส ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นองคมนตรีจนถึงปัจจุบัน บทบาทในฐานะองคมนตรีคอยกลั่นกรองงานด้านกฎหมาย โดยเฉพาะการพระราชทานอภัยโทษ
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก (68 ปี)
เกิดเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2491 จบโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 6 มีบทบาทสำคัญการรัฐประหารในประเทศไทย เมื่อปี 2549 เป็นรองหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ต่อมา ในปี 2550 เมื่อ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้ลาออกจาก คมช. ไปดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี “พล.อ.อ.ชลิต” จึงได้รับตำแหน่งรักษาการประธาน คมช. 
และภายหลังหลังเกษียณแล้ว พล.อ.อ.ชลิต ได้เข้าไปทำงานในมูลนิธิรักษ์เมืองไทย และมูลนิธิรัฐบุรุษ จนกระทั่งได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2554 
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ (63 ปี) 
เกิดเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2496 “พล.อ.ดาว์พงษ์” เพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันกับ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถือเป็นทหารสาย ‘วงศ์เทวัญ’ ขนานแท้ เริ่มต้นชีวิตราชการทหารครั้งแรกกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ร. 11 รอ.) จนกระทั่งได้เป็นถึงผู้บังคับการกรม ในปี 2530 ได้เป็นราชองครักษ์เวร ได้เป็นฐานะผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (ผบ.พล.1 รอ.) ซึ่งมีอำนาจในการควบคุมกำลังรบหลักของกรุงเทพมหานคร 
ดำรงตำแหน่งรองแม่ทัพภาค 1 ต่อมาเป็นผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ และได้เลื่อนขึ้นมาเป็นรองเสนาธิการทหารบก หลังจากนั้นในช่วงการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เมื่อปี 2553 “พล.อ.ดาว์พงษ์” ในฐานะเสนาธิการทหารบก ถือเป็นคีย์แมนคนสำคัญที่บัญชาเหตุการณ์ในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
ภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็น รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่อด้วย รมว.ศึกษาธิการตามลำดับ กระทั่งได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรีเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2559
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา (61 ปี)
เกิดเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2498 เป็นทหารสายวงศ์เทวัญเลือดแท้อีกคน ผ่านการดำรงตำแหน่งสำคัญในกองทัพ อาทิ อดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก แม่ทัพภาคที่ 1 อดีตผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ อดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ และอดีตผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
“พล.อ.ไพบูลย์” ถือเป็นลูกรัก “ป๋าเปรม” อีกคนหนึ่งจนมีกระแสข่าวว่าขณะที่ขับเคี่ยวขึ้นเป็น “ผบ.ทบ.” แข่งกับ “พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร” ทหารเสือราชินี “บิ๊กต๊อก” ถึงขั้นต้องเข้าพบ “ป๋าเปรม” เพื่อขอนั่งเก้าอี้ ผบ.ทบ. มาแล้ว แต่ก็ต้องยอมถอยให้ พล.อ.อุดมเดช นั่งเก้าอี้ ผบ.ทบ. ไป
และถือเป็นตัวตั้งตัวตีในการถอดยศ “พ.ต.ท.” ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยจัดการประชุมตัวแทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนมีความเห็นว่า สตช. สามารถที่จะถอดยศได้ ก่อนส่งเรื่องให้ “พล.อ.ประยุทธ์” ใช้อำนาจม. 44 ดำเนินการ
ทั้งนี้ “พล.อ.ดาว์พงษ์” และ “พล.อ.ไพบูลย์” ถือว่ามีความสนิทสนมกันมาก เพราะโตมาจากทหารสายวงศ์เทวัญเหมือนกัน และไม่ว่าจะประชุมนัดสำคัญระดับชาติครั้งไหน ทั้งสองคนต้องนั่งใกล้กันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลต่อที่ประชุมเกือบทุกครั้ง
พล.อ.ไพบูลย์ ได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2559
พล.อ.ธีรชัย นาควานิช (61 ปี)
เกิดเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2498 เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ถือเป็นน้องรักของ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการการประปาส่วนภูมิภาค กระทั่งได้รับการโปรดเกล้าฯให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2559

หมายเหตุ : ภาพประกอบจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

โปรดเกล้าตั้ง10องคมนตรีมีพล.อ.ไพบูลย์,พล.อ.ดาว์พงษ์,พล.อ.ธีรชัย

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่า โดยที่คณะองคมนตรี ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งองคมนตรีและทรงพระราชดำริเห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งองคมนตรีอาศัยอำนาจตามความในมาตรา๒ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช ๒๕๕๗
ประกอบกับมาตรา๑๒ มาตรา๑๓ และมาตรา๑๖ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช ๒๕๕๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งดังต่อไปนี้
๑. พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นองคมนตรี
๒.นายเกษม วัฒนชัย เป็นองคมนตรี
๓.นายพลาพร สุวรรณรัฐ เป็นองคมนตรี
๔.นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ เป็นองคมนตรี
๕.นายศุภชัย ภู่งาม เป็นองคมนตรี
๖. นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ เป็นองคมนตรี
๗.พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข เป็นองคมนตรี
๘.พลเอกดาว์พงษื รัตนสุวรรณ เป็นองคมนตรี
๙.พลเอกธีรชัย นาควานิช เป็นองคมนตรี
๑๐.พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา เป็นองคมนตรี
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙
เป็นปีที่ ๑ ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระราชโองการ
พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ประธานองคมนตรี