PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สมาชิกรัฐสภา 312 คน ประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ


ส.ส. - ส.ว. 312 คนแถลงคัดค้านและไม่ยอมรับอำนาจศาล รธน. ระบุการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของรัฐสภา และการรับคำร้องของศาล รธน. เป็นการก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ
19 พ.ย. 2556 - สำนักข่าวแห่งชาติ รายงานวันนี้  (19 พ.ย.) ว่า สมาชิกรัฐสภา ประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว. ที่ร่วมลงชื่อร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นที่มา ส.ว. 312 คน นำโดยนายอำนวย คลังผา ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล และนายกฤช อาทิตย์ แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร แถลงข่าว "คัดค้านและไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ" ที่เตรียมวินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา ส.ว.ขัดมาตรา 68 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่เนื่องจากเชื่อมั่นว่า สมาชิกรัฐสภาทำหน้าที่อย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจของสมาชิกรัฐสภาที่สามารถทำได้ ตามมาตรา 291 โดยไม่มีข้อบัญญัติของกฏหมาย ให้อำนาจศาลวินิจฉัย ซึ่งเห็นว่า การรับคำร้องไว้วินิจฉัย เป็นการก้าวล่วงการทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ และกังวลว่า อาจมีการขยายอำนาจให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต และอาจกลายเป็นปัญหาให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย
ทั้งนี้ หากศาลวินิจฉัยทางหนึ่งทางใด จะไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัย แต่จะยังไม่แสดงท่าทีอื่นใด รวมถึงการยื่นถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย
สำหรับแถลงการณ์สมาชิกรัฐสภา "เรื่อง แจ้งเหตุผลการปฏิเสธและไม่ยอมรับอำนาจการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" มีใจความระบุว่า
"ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติรับคำร้องเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้พิจารณาหลายคดีด้วยกัน ซึ่งสมาชิกรัฐสภาอันประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ผู้ถูกร้องได้ปฏิเสธและไม่รยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญในการรับคดีไว้พิจารณาดังกล่าว โดยไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนุญอันเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปนั้น"
"ข้าพเจ้าทั้งหลายในนามของผู้แทนปวงชนชาวไทย ขอแถลงการณ์มายังพี่น้องประชขาชนที่เคารพทุกท่าน เพื่อชี้แจงเหตุผลแห่งการไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ดังนี้"
"1. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา โดยที่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญที่จะเข้าไปตรวจสอบการดำเนินการดังกล่าวได้ ซึ่งแตกต่างจากการตราพระราชบัญญัติทั่วไป"
"2. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะเป็น มาตร 190 การแก้ไขที่มาของ ส.ว. หรือเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองตาม มาตรา 23/ ไม่อยู่ในข้อห้ามของการแก้ไขเพิ่มเติมตามรัฐธรรมนจูญมาตรา 291 วรรคสอง รัฐสภาย่อมสามารถดำเนินการได้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา เป็นอำนาจของรัฐสภาที่สามารถดำเนินการได้"
"3. การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มิใช่การใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญอันจะอยู่ในบังคับ มาตรา 68 วรรคแรก ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะเข้าไปตรวจสอบและวินิจฉัยได้ แต่เป็นเรื่องของการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาพและสมาชิกรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้อำนาจไว้"
"4. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับคำร้องในกรณีที่มีผู้ยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ เนื่องจากตาม มาตรา 68 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ ผู้ทราบผลการกระทำจะต้องยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน"
"5. การที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่าตนเองมีอำนาจรับคำร้องได้โดยตรงนั้น เป็นการทำลายหลักการและสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสอง ที่กำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้ยื่นคำร้อง กรณีจึงถือว่าศาลรัฐธรรมนูญกระทำการอันเป็นขัดต่อรัฐธรรมนูญเสียเอง และส่งผลกระทบต่อการใช้อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด"
"นอกจากนี้การตีความขยายเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ถือเป็นการใช้อำนาจตุลาการล่วงล้ำ แทรกแซงการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ อันนับเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
"ดังนั้น หากยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญขยายเขตอำนาจของตนเองเรื่อยไป อันมีผลเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญบัญญัติรัฐธรรมนูญขึ้นเอง"
"ดัวยเหตุดังกล่าว สมาชิกรัฐสภาจึงไม่ยอมรับอำนาจการพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้  จึงแถลงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน สมาชิกรัฐสภา 18 พฤศจิกายน 2556"

"จตุพร" ยัน ไม่นำเสื้อแดงกดดันศาลรธน. ขอแค่ความยุติธรรม



นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้มีการพูดคุยกับคนที่รู้จักว่าไม่ควรนำสีที่เป็นสัญลักษณ์มาใช้ในการชุมนุม โดยเฉพาะสีเหลือง แต่มาวันนี้ พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)เอาใหญ่เอาสีธงไตรรงค์มาใช้ หากเราขืนปล่อยให้ ปชป. ไปในที่สุดก็จะเป็นเจ้าของธงชาติ อยากบอกไปยังปชป.ว่า สีธงชาติไม่มีวันยกให้ ปชป. เพราะธงชาติเป็นของคน 64 ล้านคน ส่วนที่มีการเป่านกหวีดใส่รมต. แต่ก็เจอการตอบโต้ของคนเสื้อแดงโดยการเป่าแตร และพบว่าไม่มีคนหยุดงาน แม้แต่บริษัทที่เกี่ยวกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ยังไม่เชื่อ ไม่มีใครดื้อแพ่งไม่จ่ายภาษี เพราะคนติดคุกไม่ใช่นายสุเทพ แต่เป็นประชาชนที่ไม่จ่ายภาษี ยกระดับครั้งแรกไม่ได้ซักข้อ ต่อมาก็ยกระดับอีกรอบให้มีการเข้าชื่อถอดถอนส.ส. 310 คน ให้เป่านกหวีดใส่ ส.ส. เกิดมาเพิ่งเคยเจอข้อเรียกร้องที่ปัญญาอ่อนที่สุด และยังพยายามสร้างกระแสสังคมว่าถ้าประชาชนมาถึง 1 ล้านคน ข้าราชการจะหยุดงานทั้งประเทศ ซึ่งเชื่อว่าคน 1 ล้านคนจะไม่มีใครออกมาเพราะประเทศจะเสียหาย อยากบอกว่าที่ยืมมือคนเสื้อแดงให้มาทำร้ายคนเสื้อแดง ท้ายที่สุดคนที่ตายคือ ปชป. ที่เรามาชุมนุมวันนี้เพราะต้องการความยุติธรรม และส่งเสียงไปยังศาลรัฐธรรมนูญ พวกเราจะไม่ไปศาลรัฐธรรมนูญ หรือไปกดดันใด แต่เวทีที่สนามรัชมังคลาฯ คือความยุติธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมาได้สร้างความเคลือบแคลงใจให้ประชาชนตลอด การแก้ไขรธน.ในประเด็นที่มาส.ว. เพื่อให้ส.ว.มาจากประชาชน และการแก้ไขเพียงมาตราเดียวจะเป็นการล้มล้างการปกครองได้อย่างไร ทำไมไม่เขียนว่า รธน.50 ห้ามแก้ไขโดยเด็ดขาดจะได้เป็นที่รับรู้กัน

นายจตุพร กล่าวอีกว่า การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญพรุ่งนี้ (20 พ.ย.) จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของประเทศไทย ระบอบทักษิณไม่มีในสารบบการเมืองไทย ถ้ามีก็ต้องมีระบอบสุเทพ ระบอบอภิสิทธิ์ ถ้าเป็นระบอบอภิสิทธิ์ใครๆ ก็ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร ปชป.เก่งสุดในวันที่เป็นฝ่ายค้าน แต่โง่ในวันที่เป็นรัฐบาล การอภิปรายไม่ไว้วางถ้าจะอภิปรายในประเด็นทุจริตต้องยื่นประธานวุฒิสภา และส่งเอกสารแนบ แต่ปราฏว่า ปชป.ไม่ส่งเอกสารแนบ พยายามสร้างเงื่อนไขไม่ให้มีการอภิปราย และเดินเกมทุกอย่างเพื่อสร้างเงื่อนไขปฏิวัติโดยประชาชน ความจริงน่าจะปฏิสังขรณ์ปชป.มากกว่า ดังนั้นวันที่ 24 พ.ย.ที่นายสุเทพประกาศนั้น หวังว่าคำตัดสินในวันพรุ่งนี้ จะเลวน้อย เลวกลาง เลวมาก จะพ้นเฉพาะร่างแก้ไขรธน. จะตัดสินเฉพาะสว. หรือจะตัดสินพรรคการเมือง แต่ขอให้สบายใจว่าในจำนวน 310+2 ไม่มีชื่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และนายกฯไม่ได้เป็นกก.บห.พรรค แม้จะยุบพรรคตัดสิทธิ์ กก.บห. น.ส.ยิ่งลักษณ์ก็ยังอยู่ และสิ่งที่จะจบแน่นอนคือสุเทพจบ ประเทศชาติและคนเสื้อแดงจะเดินต่อไป ถ้าอยากให้ประเทศไทยจบ วันที่ 30 พ.ย.ตนจะเอาเชือกไปให้นายสุเทพผูกคอตาย อย่างไรก็ตาม พรุ่งนี้ไม่ว่าออกมุมไหนเราพร้อมเผชิญชะตากรรม และรักษาอำนาจให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์บริหารประเทศครบ 4 ปี

อุทธรณ์ยกฟ้อง "วัฒนา อัศวเหม" คดีลวงขายที่ดินคลองด่าน

ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง "วัฒนา อัศวเหม" คดีลวงขายที่ดิน 1,900 ล้านบาท ใช้สร้างบ่อบำบัดคลองด่าน เหตุไม่มีหลักฐานเข้ามาเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการคัดเลือกจัดซื้อจัดจ้างที่ศาลแขวงดุสิต

วันที่ 19 พ.ย. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง 1. กิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี 2. บริษัทวิจิตรภัณฑ์ ก่อสร้าง 3. นายพิษณุ ชวนะนันท์ กรรมการบริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง 4. บริษัทประยูรวิศว์การช่าง 5. นายสังวรณ์ ลิปตพัลลภ กรรมการบริษัทประยูรวิศว์การช่าง 6. บริษัทสี่แสงการโยธา (1979) 7. นายสิโรจน์ วงศ์สิโรจน์กุล กรรมการ บริษัทสี่แสงการโยธา 8. บริษัท กรุงธนเอนยิเนียร์ 9. นายนิพนธ์ โกศัยพลกุล กรรมการบริษัทกรุงธนเอนยิเนียร์ 10. บริษัทเกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ 11. นายรอย-อิศราพร ชุตาภา กรรมการบริษัทเกตเวย์ดิเวลลอปเมนท์ 12. บริษัท คลองด่านมารีน แอนด์ ฟิชเชอรี่ 13. นายชาลี ชุตาภา กรรมการบริษัทคลองด่านมารีนฯ 14. นายประพาส ตีระสงกรานต์ กรรมการบริษัทคลองด่านมารีนฯ 15. นายชยณัฐ โอสถานุเคราะห์ กรรมการบริษัทคลองด่านมารีนฯ 16. บริษัท ปาล์ม บีช ดิเวลลอปเมนท์ 17. นางบุญศรี ปิ่นขยัน กรรมการบริษัท ปาล์ม บีชฯ 18. นายกว๊อกวา โอเยง สัญชาติฮ่องกง ในฐานะผู้แทนบริษัท ปาล์ม บีชฯ และ 19. นายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย เป็นจำเลยที่ 1-19 ฐานฉ้อโกงขายที่ดิน อ.
คลองด่าน จ.สมุทรปราการ ในโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านเมื่อปี 2531-2533

คดีนี้โจทก์ฟ้องใจความว่า พวกจำเลย ได้ร่วมกันขอออกโฉนดที่ดินทับคลองและถนนสาธารณะโดยผิดกฎหมาย โดยนายวัฒนาร่วมดำเนินการจัดหาที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์ประกวดราคาซื้อที่ดินโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ปรากฏว่าจำเลยที่ 12 ผ่านการคัดเลือก ต่อมาจำเลยที่ 12 เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขาย แล้วพวกจำเลย สมรู้กัน ตั้งกิจการร่วมค้า เอ็นวีพีเอสเคจี มาค้าขายกับโจทก์ เมื่อได้ชนะประมูลงานแล้ว ก็ยังได้เสนอต่อโจทก์ว่าจะจัดหาที่ดินเพื่อนำมาใช้เป็นที่ตั้งของโครงการดังกล่าว โดยเอาที่ดินของจำเลยที่ 12 มาเสนอขายแก่โจทก์ รวม 17 แปลง แต่มีเนื้อที่จริงเพียง 5 บางส่วนเป็นคลอง และออกโฉนดโดยมิชอบ เป็นเหตุให้โจทก์หลงเชื่อรับซื้อ และชำระเงินค่าที่ดินให้กับจำเลยที่ 12 ไปเป็นจำนวน 1,956,600,000 บาท แล้วจำเลยที่ 1-19 ได้นำเงินดังกล่าวไปแบ่งปันกัน เพื่อประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต

ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยที่ 3, 5, 7, 9, 11, 13, 14, 15, 17, 18 และจำเลยที่ 19 คนละ 3 ปี และปรับจำเลยที่ 2, 4, 6, 8, 10, 12 และ 16 รายละ 6 พันบาท จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงหลายประเด็น ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ที่จำเลยอ้างว่าศาลไม่มีอำนาจพิจารณา ศาลเห็นว่า คดีนี้เป็นการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนและฟ้องคดีอาญาที่มีโทษทางอาญาฐานฉ้อโกง จึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงดุสิตและศาลอุทธรณ์ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลฎีกา แผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่จำเลยอ้างว่า ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณาคดีซ้ำเพราะนายวัฒนารับ
โทษจำคุกฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบและถูกจำคุก 10 ปีนั้น ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นความผิดต่างกรรมต่างฐานกับคดีของศาลฎีกาฯ ดังนั้นศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาคดี

จึงมีประเด็นว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลเห็นว่าข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าเมื่อระหว่างปี 37 ถึง 41 มีการประกวดราคาและมีผู้เสนอราคาตามขั้นตอน มีการเข้าทำสัญญาก่อสร้างโดยมีการก่อสร้างและดำเนินการ ไม่มีเจตนาทุจริตปกปิดข้อเท็จจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งโดยประการให้โจทก์เสียทรัพย์สินทั้งไม่มีพยานโจทก์ยืนยันว่า นายวัฒนา ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับคณะกรรมการคัดเลือกจัดซื้อจัดจ้างอย่างไร และไม่มีหลักฐานอื่นที่จะฟังได้ว่าจำเลยอื่นผิดตามฟ้องโจทก์เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงแล้ว คดีจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยในประเด็นอื่น เพราะไม่ทำให้รูปคดีเปลี่ยนแปลงไป พิพากษายกฟ้อง

หลังฟังคำพิพากษาพวกจำเลยถึงกับเฮกันลั่น ก่อนแยกย้ายกันกลับ โดยนายวัฒนา อัศวเหม ไม่มาฟังคำพิพากษา เนื่องจากยังหลบหนีในคดีที่นายวัฒนาใช้อำนาจข่มขู่หรือชักจูงให้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่ดิน ซึ่งเป็นที่สงวนหวงห้าม เพื่อนำไปขายให้กรมควบคุมมลพิษ ก่อสร้างโครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ สมุทรปราการ และศาลแขวงดุสิตได้เพิกถอนหมายจับนายวัฒนาเฉพาะในคดีนี้แล้ว

การไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ

โดย สุชาติ ศรีสังข์

รัฐธรรมนูญ มาตรา ๓ บัญญัติว่า อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
.....รัฐสภา มีหน้าที่หลักคือ การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและการตราพระราชญัญญัติ หรือพูดกันประสาชาวบ้านก็คือมีหน้าออกกฎหมายมาใช้บังคับแก่ประชาชน ตามที่บัญญัติไว้

ในรัฐธรรมนูญ หมวด 6 รัฐสภา ส่วนที่ 6 และส่วนที่ 7 มาตรา 138 ถึงมาตรา 153
.....คณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรามนูญ หมวด 9 คณะรัฐมนตรี มาตรา 171 ถึงมาตรา 196 โดยมาตรา มาตรา 171 วรรคแรก บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรง

แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งและรัฐมนตรีอื่นอีก ไม่เกินสามสิบห้าคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
.....ศาล มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดี ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หมวด 10 ศาล มาตรา 197 ถึงมาตรา 228 โดยมาตรา 197 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอํานาจของ

ศาลซึ่งต้องดําเนินการให้เป็นไป โดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
.....นี่คือหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดอำนาจหน้าของอำนาจแต่ละฝ่ายคือรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ไว้ชัดเจน เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน

.....รัฐสภาต้องยอมรับอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล
.....คณะรัฐมนตรีต้องยอมรับการตรากฎหมายออกมาใช้บังคับของรัฐสภาและการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล
.....ศาลต้องยอมรับการตรากฎหมายออกมาใช้บังคับของรัฐสภาและการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี

.....วันนี้ที่ 19 พฤศจิกายน 2556 ที่รัฐสภาเวลา 10.50 นาฬิกา นายอำนวย คลังผา ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย และนายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ได้นำตัวแทน ส.ส.และ ส.ว.ที่สนับสนุนการ

แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในฐานะตัวแทน ส.ส. และ ส.ว. จำนวน 312 คน แถลงข่าวว่า จะไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะมีคำวินิจฉัยคำร้องที่ขอให้พิจารณาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่มาของ ส.ว.

นั้นเป็นไปตามกระบวนการของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 20 พฤศจิกายน เวลา 11.00 นาฬิกา
.....เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556 พรรคเพื่อไทย ก็แถลงว่า ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

.....ทั้ง ส.ส.และ ส.ว. ต่างก็พูดว่า รัฐสภามีอำนาจที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้
.....ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจเข้ามาก้าวก่ายการทำหน้าที่ของรัฐสภา

.....รัฐสภามีอำนาจที่จะแก้รัฐธรรมนูญ ไม่มีผู้ใดเถียง
.....แต่ที่ ส.ส. และ ส.ว. กลุ่มหนึ่ง ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า การแก้รัฐธรรมนูญของรัฐสภาดังกล่าว ไม่ได้ดำเนินการไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
..........มีการลงคะแนนโดยการเสียบบัตรแทนกัน
..........ผู้ทำหน้าที่เป็นประธานรัฐสภาและทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมรัฐสภา ไม่ได้ดำเนินประชุมให้เป็นไปตามข้อบังคับการประชุม และตามบทบัญญัตืของรัฐธรรมนูญ
.....เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้พิจารณาและส่งคำร้องให้บรรดา ส.ส. และ ส.ว. ทั้ง 312 คน
.....ส.ส. และ ส.ว.ดังกล่าวต่างก็ไม่ให้การแก้ข้อกล่าวหา
.....แสดงว่า ยอมรับว่า มีการกระทำผิด ตามคำร้องที่ ส.ส. และ ส.ว. ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญจริง

.....เมื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ได้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
.....ก็เป็นการเพื่อให้ได้อำนาจมาในการปกครองประเทศโดยวิธีซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
.....ศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้

.....การที่พรรคเพื่อไทย ส.ส. และ ส.ว. ออกมาแถลงว่า ไม่ยอมรับคำวินิจของศาลรัฐธรรมนูญ
.....ก็คือการไม่ยอมรับอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของ ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งกระทำในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ มาตรา 197

.....ถ้าวันนี้สมาชิกรัฐสภาไม่ยอมรับอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
.....ต่อไปตุลาการไม่ยอมรับกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้นมา
.....ฝ่ายบริหารดำเนินคดีแก่ผู้กระผิดกฎหมายที่รัฐสภาบัญญัติขึ้นมา เมื่อนำมาฟ้องต่อศาล
.....ศาลปฏิเสธที่จะพิจารณาพิพากษาคดี โดยอ้างว่าไม่ยอมรับกฎหมายดังกล่าว

.....บ้านนี้ เมืองนี้ จะดำรงอยู่ได้อย่างไร ครับ !