PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560

‘วิษณุ-มีชัย-บวรศักดิ์-พรเพชร-อสส. -ปธ.ศาลฎีกา’นั่ง กก.พิเศษแก้ร่าง รธน.ใหม่

เปิดชื่อ 10 คนนั่ง กก.พิเศษแก้ร่าง รธน.ฉบับใหม่ ให้เป็นไปตามพระราชกระแสรับสั่ง ‘วิษณุ-มีชัย-บวรศักดิ์-พรเพชร-อำพน-ปธ.ศาลฎีกา-อสส.-เลขาธิการกฤษฎีกา-2 กรธ.’ ย้ำไม่แตะเรื่องสิทธิเสรีภาพ แต่จำเป็นต้องปรับใหม่ให้ทันเหตุการณ์
PIC wisanu 11 1 60 4
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติว่า ภายหลังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 แล้วเสร็จในวันที่ 13 ม.ค. 2560 แล้ว นายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ต้องรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวกลับลงมาภายใน 30 วัน เมื่อรับพระราชทานแล้วจะแต่งตั้ง คณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อดำเนินการยกร่างมาตราที่จะมีการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวให้เป็นไปตามข้อสังเกตพระราชทานทันที โดยกรรมการชุดนี้มีหน้าที่ 2 อย่าง ได้แก่ ยกร่างเฉพาะมาตรา และตรวจสอบให้เป็นไปตามข้อสังเกตพระราชทาน หลังจากแก้ไขแล้วต้องทูลเกล้าฯภายใน 30 วัน จากนั้นเป็นเวลาที่อยู่ในพระราชอำนาจ 90 วัน
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า คณะกรรมการชุดนี้มี 8-10 คน และต้องเป็นกรรมการกฤษฎีกา ประกอบด้วย ตน (นายวิษณุ) นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) นายอภิชาต สุขัคคานนท์ รองประธาน กรธ. นายอัชพร จารุจินดา กรธ. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ นายอำพน กิตติอำพน อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และ สนช. นายวีระพล ตั้งสุวรรณ ประธานศาลฎีกา ร.ต.ต.พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาค อัยการสูงสุด (อสส.) และนายดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
นายวิษณุ ยืนยันว่า ไม่แก้ไขมาตราอื่น ๆ แต่อาจกระทบกับหมวดอื่นที่เกี่ยวพันกับพระราชอำนาจ ยืนยันไม่แก้ไขเรื่องสิทธิเสรีภาพ แนวนโยบายแห่งรัฐ ศาล การเลือกตั้ง องค์กรอิสระ พรรคการเมือง ส.ส. ส.ว. บทเฉพาะกาล และเรื่องประชามติ ไม่ยืดเวลาการเลือกตั้ง ส่วนมาตราที่จะแก้ไขล้วนเป็นเรื่องที่อาจไม่ได้ให้ความสนใจ และตอนยกร่างลอกมาจากของเดิม อย่างไรก็ดีปัจจุบันบ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ต้องปรับใหม่ให้เข้ากับเหตุการณ์ เพราะถ้าไม่แก้เท่ากับว่าใช้หลักที่มีมาตั้งแต่ปี 2475 

กางมาตรา 5-17-182 รธน.ใหม่ ก่อนนายกฯสั่งแก้ให้เป็นไปตามพระราชกระแสรับสั่ง

เปิดมาตรา 5-17-182 ร่าง รธน.ใหม่ หลัง ‘วิษณุ’ รับนายกฯเตรียมตั้ง กก.พิเศษฯ มาแก้ไข ให้เป็นไปตามพระราชอำนาจ เกี่ยวกับการวินิจฉัยตามประเพณีการปกครอง-ตั้งผู้สำเร็จราชการแทนฯ-การรับสนองพระบรมราชโองการ
 PIC rtnn 11 1 60 1
กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมร่วมคณะรัฐมนตรี และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีมติรับสนองพระบรมราชโองการ พระราชกระแสรับสั่งให้แก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติ ในหมวดพระมหากษัตริย์ 3-4 รายการ โดยต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 เพื่อเปิดช่องขอพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวกลับคืนมาเพื่อแก้ไขให้เป็นไปตามพระราชอำนาจ
โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้บรรจุวาระด่วนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ในวันที่ 13 ม.ค. 2560 แล้ว โดยมีสาระสำคัญคือการแก้ไขมาตรา 3 และมาตรา 4
โดยมาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ เป็นวรรคสามของมาตรา 2 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 
ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
ส่วนมาตรา 4 ห้ยกเลิกความในวรรคสิบเอ็ดของมาตรา 39/1 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เดิม และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“เมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายตามวรรคเก้าประกอบกับวรรคสิบแล้ว หากมีกรณีที่พระมหากษัตริย์พระราชทานข้อสังเกตว่าสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อความใดภายในเก้าสิบวัน ให้นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญนั้นคืนมา เพื่อดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเฉพาะประเด็นตามข้อสังเกตนั้น และแก้ไขเพิ่มเติมคำปรารภของร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกัน แล้วให้นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายใหม่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชทานคืนมาตามที่ขอ เมื่อนายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายและทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้ โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชทานคืนมาหรือเมื่อพ้นเก้าสิบวันที่นายกรัฐมนตรีนำร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้วแต่กรณี ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแล้วมิได้พระราชทานคืนมาให้ร่างรัฐธรรมนูญหรือร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นอันตกไป"
ขั้นตอนต่อจากนี้ เมื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 แล้วเสร็จ นายกรัฐมนตรีขอรับพระราชทานร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติกลับคืนมาเพื่อแก้ไขตามทรงมีข้อสังเกต 
นายวิษณุ เครืองาม ให้สัมภาษณ์ยอมรับว่า อาจมีการแก้ไขในมาตรา 5 มาตรา 17 และมาตรา 182 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติดังกล่าว โดยยืนยันว่า ไม่แตะต้องในหลักการเกี่ยวกับการเมือง หรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน
สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติเดิม ระบุทั้งสามมาตราดังกล่าว ดังนี้
มาตรา 5 อยู่ในหมวด 1 บททั่วไป บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ห้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัย กรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เมื่อมีกรณีตามวรรคสองเกิดขึ้น ให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญจัดให้มีการประชุมร่วมระหว่างประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานองค์กรอิสระเพื่อวินิจฉัย
ในการประชุมร่วมตามวรรคสาม ให้ที่ประชุมเลือกกันเองให้คนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมแต่ละคราว ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งใด ให้ที่ประชุมร่วมประกอบด้วยผู้ดำรงตำแหน่งเท่าที่มีอยู่ 
การวินิจฉัยของที่ประชุมร่วมให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
คำวินิจฉัยของที่ประชุมร่วมให้เป็นที่สุด และผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ
มาตรา 17 อยู่ในหมวด 2 พระมหากษัตริย์ บัญญัติว่า ในกรณีที่พระมหากษัตริย์มิได้ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา 16 หรือในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่สามารถทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพราะยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะหรือเพราะเหตุอื่น ให้คณะองคมนตรีเสนอชื่อผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งสมควรดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประธานรัฐสภาประกาศในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ แต่งตั้งผู้นั้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(มาตรา 16 บัญญัติว่า ในเมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม จะได้ทรงแต่งตั้งผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ)
ส่วนมาตรา 182 อยู่ในหมวด 8 คณะรัฐมนตรี บัญญัติว่า บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญ
ให้ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้รับผิดชอบในกิจการทั้งปวงบรรดาที่ได้รับสนองพระบรมราชโองการ 
(อ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับเต็มประกอบ :http://cdc.parliament.go.th/draftconstitution2/ewt_dl_link.php?nid=429&filename=index)
ทั้งหมดคือขั้นตอน-เนื้อหาสาระสำคัญในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ แจ้งว่า เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกระแสรับสั่ง
ท้ายสุดจะมีการแก้ไขอย่างไร ต้องติดตามกันต่อไป

จุดสำคัญกว่าการเลือกตั้ง

ก็ตกไป จะทำอย่างไรก็ต้องพิจารณากัน อาจต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราว

ตามความชัดเจนในเบื้องต้นที่ระบุโดยคนระดับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย รัฐบาล คสช. ตอบคำถามนักข่าวกรณีหากพ้น 90 วันตามกำหนดรัฐธรรมนูญยังไม่มีการประกาศบังคับใช้ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์

สรุปว่าไม่มีทางตัน หากเกิดปัญหาทางเทคนิคกับรัฐธรรมนูญใหม่

ล่าสุด มีการประสานทางลึก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หัวหน้า คสช.ได้แจ้งต่อที่ประชุม คสช. และจะมีการแจ้ง ครม. และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ว่า จะมีการปรับแก้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เรื่องเงื่อนเวลา 90 วัน ในการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

เปิดช่องให้มีการปรับแก้ไขได้ จากเดิมที่ต้องตกไป

เป็นอะไรที่ต่อเนื่อง ตามเค้าโครงเรื่องที่เจ้าตัวนายวิษณุได้เกริ่นไว้ล่วงหน้าแล้ว กับปมปัจจัย “ตัวแปร” ที่อาจทำให้โรดแม็ปเลือกตั้งต้องเปลี่ยนไป

และสังเกตนายวิษณุจะออกตัวตลอดว่า เป็นเรื่องไม่เหมาะที่จะเอามาพูดกัน

นั่นหมายถึงบางเงื่อนไขก็อยู่นอกเหนือการเมือง

แต่เรื่องของเรื่อง มันเป็นฟอร์มบังคับของ พล.อ.ประยุทธ์ในฐานะผู้รับผิดชอบสัญญาประชาคมที่ประกาศให้รับรู้กันทั่วโลก

ยังไงก็ต้องยืนยันประเทศไทยจะมีการเลือกตั้งตามโรดแม็ป

ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้จะไม่อยู่ในโหมดประชาธิปไตย กำหนดเลือกตั้งยังไม่ชัด แต่รัฐบาลทหาร คสช.ก็ยังมีจุด
ขายที่งัดออกมาแลกกับการซื้อเวลาต่อไป

แม้จะเป็นมุกเก่าๆแต่ก็เป็นอะไรที่เห็นกันด้วยตา

แบบที่นักลงทุนเชื่อมั่นได้ในเสถียรภาพทางการเมือง สถานการณ์ด้านความมั่นคง ไม่มีม็อบป่วนเมือง ประชาชนทำมาหากิน ใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
ไม่เหมือนช่วงการเมืองวิกฤติ ม็อบปิดถนน มีระเบิด ยิงกันรายวัน ไร้ความปลอดภัย
เทียบกับรัฐบาลประชาธิปไตยหลังเลือกตั้งรอบต่อไปที่ยังรับประกันไม่ได้ว่า ประเทศไทยจะไม่กลับมาวุ่นวาย จากเหตุที่ขั้วขัดแย้งยังไม่ยอมเลิกรา
ขณะเดียวกัน ถ้าอดทนรอเกมยาวๆ
ตามความจริงใจของผู้นำรัฐบาลทหารที่พยายามให้เห็นถึงความคืบหน้าตามสัญญาที่ดีลไว้
จากการที่ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ใช้เวลาในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่
ร่าง “โมเดล” ด้วยลายมือตัวเอง พร้อมตั้งคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศในระยะที่ 2 ในการเดินหน้ายุทธศาสตร์ปฏิรูปและปรองดองให้จับต้องเนื้องานได้
ล่าสุดก็มีการปล่อยพิมพ์เขียวกฎหมายปรองดองฉบับของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ที่มีนายเสรี สุวรรณภานนท์ เป็นประธาน ชงแนวทางปลดล็อกเงื่อนไขขัดแย้ง
เปิดโอกาสให้คนหนีคดีกลับมาต่อสู้คดี สามารถประกันตัวได้
คดีการเมืองตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 หากมามอบตัวยอมรับผิดให้พักคดีไว้แบบมีเงื่อนไขห้ามยุ่งการเมือง ส่วนคดีอาญาร้ายแรงให้ศาลดำเนินคดีต่อไป รวมถึงกรณีบุกสนามบิน สถานที่ราชการ ก่อการร้ายที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย ถือเป็นคดีไม่ร้ายแรง
อานิสงส์ส่งผลบุญถึงหัวโจกทุกขั้วทุกสี
อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ที่หนีคดีอยู่ต่างประเทศ
นายสนธิ ลิ้มทองกุล และแกนนำม็อบพันธมิตรฯ ที่ติดชนักคดีบุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง รวมทั้งทำเนียบรัฐบาล
ไปยัน “ลุงกำนัน” นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำม็อบ กปปส. ที่เจอคดีกบฏ นำม็อบปิดเมืองชัตดาวน์กรุงเทพฯ
หรือล่าสุดศาลอุทธรณ์ได้พิพากษาจำคุกนายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำ นปช. และพวกรวม 4 คน เป็นเวลา 2 ปี 8 เดือน คดีชุมนุมล้อมบ้านพักสี่เสาเทเวศร์ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เมื่อปี 2550
พวกลุ้นติดคุก ชูจั๊กแร้เชียร์ในใจเต็มที่อยู่แล้ว.
ทีมข่าวการเมือง