PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ไพศาล:ศอรส.แถลงว่าปึ้ง-เหลิม ไม่พ้นจากตำแหน่งตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

Paisal Puechmongkol.
หลายท่านถามมาหลังไมด์จนตอบเป็นรายท่านไม่ไหวว่า การที่ ศอรส.แถลงว่าปึ้ง-เหลิม ไม่พ้นจากตำแหน่งตามที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยและจะทำหน้าที่ต่อ แล้วจะทำอย่างไร ผมขอตอบรวมกันนะครับว่า ไม่ต้องทำอะไร

ปล่อยให้ ๒ คนนี้เข้าประชุม กับคณะที่พยายามตั้งตนเป็น ครม เสี่ยก่อน ปล่อยให้ สั่งราชการต่างๆเสียก่อนให้พอเป็นหลักฐานสัก ๕ วัน ๗วัน
จากนั้นก็คอยดูต่อไปว่าจะเกิดอะไรขึ้น ผมคาดหมายว่าจะมีเรื่องต่อไปนี้
๑ สว.ที่ร้องเรื่องย้ายนายถวิล อาจยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญอธิบายความหมายของคำวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของสองคนนี้สิ้นสุดลงหรือไม่ ซึ่งคงใช้เวลา ๓-๗ วันก็เรียบโร้ย
๒ สว. คณะดังกล่าวหรือคณะอื่นๆอาจไปร้องศาลรัฐธรรมนูญกล่าวหา เพื่อไทย และรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่อยู่ว่าทำผิดรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๘ แล้วขอยุบพรรคและขอให้ตัดสิทธิทางการเมืองไปเลย
คอยดูการคาดการณ์ของผมกันต่อไป แต่อย่าเพิ่งปักใจ ให้คอยดูว่าปึ้ง-เหลิม จะทำอย่างไรให้แน่นอนเสียก่อน

วันเวลาที่ตรงกันแผ่นดินไหว

War Room Falkman เพิ่ม 2 รูปภาพใหม่
1 ชม. · 
เนื่องจาก คุณ Siam Chye ได้แบ่งปัน ใบบันทึกที่ระฤก หมายเหตุธรณีไหว ณ วันจันทร์ ที่ 5 พฤษภาคม 2473
วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม 2473 (5 May 1930)
ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๒๙๒
เป็นเวลากลางคืน ๒ ทุ่ม ๒๐ นาทีเศษ ได้เกิดแผ่นดินไหวบนแผ่นดินประเทศสยาม ..... ประมาณ ๒ นาทีเศษก็สงบลง นับเอาว่าไหวมากกว่าที่เคยมีมาแล้วแต่ก่อน
ทีนี้แผ่นดินไหวเชียงรายครั้งนี้ตรงกับ
วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม 2557
ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๗ ค่ำเดือน ๖ ปีมะเมีย
เวลาประมาณ 18.08 น. ขนาด 6.3 ริกเตอร์สเกล
และถ้าย้อนกลับไปในอดีต 5 may 1930 มีแผ่นดินไหวที่พม่า
Country : Myanmar (Burma)
Region Code : S. and SE. Asia and Indian Ocean
Compare S. and SE. Asia and Indian Ocean Earthquakes
Latitude 17.3
Longitude 96.5
Date May 5
Year 1930
Time 13:45:58 (20.45 น.เวลาไทย)
Magnitude 7.3 (ขนาดความรุนแรง)
Total Damage (Earthquake and Tsunami, Volcano, etc.)
Total Deaths 500 (จำนวนคนเสียชีวิต)
Total Deaths Description Many (~101 to 1000 deaths)
Total Damage Description
Severe (~>$5 to $24 million)
Total Houses Destroyed Description Many (~101 to 1000 houses) จำนวนบ้านที่พัง
สรุป
1) จาก ใบบันทึกที่ระฤก หมายเหตุธรณีไหว ณ วันจันทร์ ที่ 5 พฤษภาคม 2473 คือ ศูนย์กลางอยู่ที่พม่า
2) ในปีนั้น 1930 มีแผ่นดินไหวขนาดแรงหลายที่ในโลก และมีคนตายจำนวนมาก แสดงว่าปีนั้นน่าจะเป็นปีที่สำคัญว่ามีบางสิ่งเป็นเหตุ เราต้องหาเหตุไห้ได้ เดี๋ยวจะลองดูว่ามีแนวดาวสำคัญเรียงตัวไหม
3) วันเวลาเกิด มันตรงกับปีนี้ที่ไหวที่เชียงราย 84 ปีพอดี คือ ครบ 7 รอบวัฏจักร ต้องหาอีกว่าวัฎจักรของอะไร
...................... แนวไอเดียเฉยๆ ช่วยกันวิเคราะห์ต่อ...........
** จาก Warroom Falkman **
The 1930 Salmas earthquake occurred on May 6, 1930 in Salmas, West Azerbaijan Province (Iran). Occurring about a year after the 1929 Baghan-Gifan earthquake, the earthquake measured 7.2 on the Richter scale and 7.4 surface wave magnitude and resulted in 2,500 direct fatalities. One foreshock occurred prior to the rupture, and multiple aftershocks also occurred. The earthquake is also listed within the strongest eight earthquakes to occur in Iran since 1900.[2]
The 1930 Irpinia earthquake occurred at 00:08 UTC on 23 July 1930. It had a magnitude of 6.6 and caused 1,404 deaths.[1] The epicenter was close to the borders between the regions of Basilicata, Puglia and Campania.
The 1930 Pyu earthquake occurred on December 3, 1930 at 18:51 UTC (December 4, 1930 at 01:21 local time). The epicenter was located north to Bago, Burma, then part of British India. The magnitude of the earthquake was put at Mw 7.3, or Ms 7.3.


อธิบดีกรมอัยการ แถลงสั่งฟ้อง สุเทพ-แกนนำกปปส. 45 คนเป็นกบฏ

อธิบดีกรมอัยการ แถลงสั่งฟ้อง สุเทพ-แกนนำกปปส. 45 คนเป็นกบฏ อีก 5 คนสั่งฟ้องฐานร่วมสนับสนุน-ไม่ฟ้องนักวิชาการ 1 คน-ฟ้องแล้วสนธิญาณ-สกลธี !!!

ความเสียหายที่เกิดจากการตัดสินของศาล : Pluto...

ความเสียหายที่เกิดจากการตัดสินของศาล
Pluto...
พุธ, พฤษภาคม 7, 2014 - 23:23

ระหว่างการที่นายถวิล ถูกโยกย้ายออกจากตำแหน่ง
กับการที่นายกรัฐมนตรีถูกตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง ในฐานะผู้ลงนามโยกย้าย
ซึ่งรวมถึงรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
อย่างไหนก่อให้เกิดความเสียหายกับประเทศ
นายถวิลถูกโยกย้าย
(สุดท้ายก็ได้รับตำแหน่งคืน)
มีใครได้รับผลกระทบใด ๆ หรือไม่
ส่งผลกระทบอื่นต่อระบบหรือกระบวนการบริหารประเทศ
หรือความสงบสุขของประเทศหรือไม่
มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนเพราะนายถวิลไม่ได้ดำรงตำแหน่งเลขา สมช.หรืออย่างไร
มีประชาชนไปเข้าชื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้นายถวิลหรือไร

การโยกย้ายนายถวิลส่งผลเสียอย่างร้ายแรงอย่างไรต่อประชาชนและประเทศนี้อย่างไร
ท่านต้องอธิบายให้ชัดแจ้ง
การที่จะมาบอกว่าโยกย้ายไม่เป็นธรรม เพราะต้องการสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งหน้าที่ให้กับเครือญาติ
นั้นไม่ถูกต้องกับหลักธรรมาภิบาล เหตุผลมันพอเพียงหรือยัง
ผู้ถูกร้องอธิบาย ก็ไม่มีผู้ใดรับฟัง
กลับอ้างลำดับเครือญาติมาเป็นประเด็น

จริงอยู่ว่าท่านอาจไม่คำนึงถึงหลักการบริหาร
และอาจจริงตามที่ท่านกล่าวอ้างมา
แต่การโยกย้ายดังกล่าวส่งผลร้ายแรงจนประเทศเสียหายอย่างร้ายกาจหรือไม่
หรือส่งผลดีต่อการบริหารประเทศ
ผู้ถูกเลื่อนหน้าที่ ถึงแม้จะเป็นเครือญาติกันก็ตาม
แต่ก็ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดีเยี่ยม ไม่มีด่างพร้อย
มีผลงานเด่นชัด และที่สำคัญทำงานด้วยกันได้ดี
หากเป็นท่านจะเลือกใครทำงานด้วย ระหว่างมิตร กับผู้ที่ประกาศเป็นศัตรู
ผู้บริหารย่อมมีอำนาจและดุลพินิจในการเลือกผู้ร่วมปฏิบัติงาน
ผู้ใดร่วมงานไม่ได้ ไม่สามารถ หรือไม่มีความภักดี ก็ย่อมถูกปฏิเสธ

หากว่าการโยกย้ายดังกล่าว มีผลเสียต่อประเทศจริง
ก็ควรต้องให้พิจารณากันตามความผิด
เกิดทุจริตอันเนื่องจากการนี้ เอาคนไม่เก่งมาทำงานแทนคนที่เก่งกว่า
มีอีกหลายศาลที่สามารถฟ้องร้อง ดำเนินการเอาผิด หรือแก้ต่างกันได้
มิใช่ตัดสิน ตัดสิทธิ์ ตัดญาติขาดมิตรกับประชาชน
ประชาชนซึ่งอาจเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ

***
ประชาชนคนไทยเขาได้เลือก ว่าผู้ใดสมควรเป็นตัวแทนในการบริหารประเทศ
เป็นคนที่สามารถทำงานแทน เป็นเสียงหนึ่งของพวกเขา เป็นคนที่เขาเชื่อใจ ศรัทธา
ใครที่ประชาชนเชื่อมั่น ก็ได้รับเลือก
เขามอบสิทธิ์ให้คน ๆ นั้นทำงานแทนเขา
และเป็นสิทธิ์ของตัวแทนที่จะตัดสินให้ใครก็ได้แบ่งทำงานในหลากหลายงาน ตามเหมาะสม
ประชาชนเขาไม่ได้เลือกนายถวิล (รวมถึงตัวท่าน) เขาให้ตัวแทนเขาเลือก
เลือกเพื่อมาทำงาน มาพัฒนาประเทศ
ไม่ใช่มาเตะถ่วงความเจริญอย่างที่เป็นอยู่

"ลิขิต ธีรเวคิน" วิพากษ์ศาลรธน. "ผู้วินิจฉัยแบบนี้นั้นจะรับผิดชอบทางใจหรือทางจิตวิญญาณหรือไม่"

วันที่ 08 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 16:45:00 น.


หมายเหตุ ผู้สื่อข่าวมติชนออนไลน์ สัมภาษณ์ ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน นักรัฐศาสตร์อาวุโสและราชบัณฑิต หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

-วิจารณ์คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ

คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญนั้นเป็นสิ่งที่ผูกผันกับทุกองค์กรเป็นประเด็นที่บัญญัติไว้อย่างชัดเจนแต่ประเด็นก็คือ คำตัดสินนั้นต้องมีความชัดเจน มีหลักเกณฑ์ ซึ่งมีหลักสำคัญอยู่ที่ว่า คำตัดสินต้องสอดคล้องอยู่กับหลักความเป็นสากลหรือหลักความยุติธรรม มิเช่นนั้น คำตัดสินนั้นๆ จะไม่มีน้ำหนัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งไว้ว่า กฎหมายนั้นมีไว้ซึ่งการดำรงความยุติธรรม ไม่ใช่เพื่อการรักษากฎหมายเอง และการตีความกฎหมายนั้นมันต้องใช้สมองตีความมองหลายๆด้าน แล้วต้องมีความยืดหยุ่น ไม่ใช่ตีความเถรตรง...

ประเด็นก็คือว่า ในเบื้องต้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องมาเป็นคดีนั้น ศาลทำถูกหรือไม่ เพราะในความเป็นจริงแล้ว นายกรัฐมนตรีนั้นหลุดจากความเป็นนายกฯ แล้วก็มาเป็นรักษาการนายกฯ ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญม.181 ที่บัญญัติว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งต้องอยู่ในตำแหน่ง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่ จะเข้ารับหน้าที่

ในประเด็นนี้ เมื่อนายกฯประกาศยุบสภาแล้ว การจะถอดถอนนายกฯ ซึ่งไม่ได้เป็นนายกฯ แต่เป็นเพียงนายกฯ ชั่วคราวที่รอการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดรัฐบาลใหม่นั้น ทำได้หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญนั้นบอกว่า สามารถปฏิบัติได้ ซึ่งเมื่อศาลรัฐธรรมนูญบอกว่าปฏิบัติได้ ก็ไม่สามารถมีใครขัดได้เลย เพราะว่าองค์กรนี้สูงสุด

และที่สำคัญก็คือ โดยหลักแล้วการใช้กฎหมายนั้นต้องมีตัวกฎหมายใหญ่กำกับอยู่ เช่น การใช้กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง ก็ต้องมีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและแพ่ง แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีสิ่งนี้ รัฐธรรมนูญนั้นบัญญัติให้ผ่านกฎหมายนี้ภายใน 1 ปี แต่ตอนนี้ก็ 7 ปีมาแล้ว กฎหมายเหล่านี้ก็ยังไม่เกิดขึ้น พอไม่มีกฎหมายนี้ก็ทำให้ศาลสามารถตีความได้อย่างไม่มีขอบเขต กลายเป็นว่า ไม่มีกฎหมายมากำหนดการใช้กฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญ ทุกอย่างอยู่ที่ดุลยพินิจของศาลฯ แล้วแต่จะตีความ ซึ่งในประเด็นนี้จะเห็นได้ว่า คำตัดสินของศาลฯ นั้นขาดน้ำหนักแล้ว

การวินิจฉัยออกมาว่านายกฯ และรัฐมนตรี 9 คน ต้องพ้นจากตำแหน่ง ถ้ามีหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นเช่นนั้น ก็อาจจะมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ แต่ประเด็นก็คือว่า กรณีนี้ เลขาฯ สมช.ที่ถูกโยกย้ายก็เข้ามาดำรงตำแหน่งนี้ในสมัยรัฐบาลอื่น ซึ่งรัฐบาลนั้นก็ต้องให้คนอื่นออกไปจากตำแหน่งเลขาฯ สมช.เหมือนกัน

ซึ่งทั้งหมดนี้โดยสรุปก็คือ แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะมีอำนาจ และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้นจะมีผลผูกผันกับทุกองค์กร แต่อย่าลืมว่า หลักการสากลนั้นมีอยู่ว่า อะไรก็ตามแต่ที่มีการกระทำขึ้น ต้องมีความถูกต้องตามหลักกฎหมาย (Legality) และความชอบธรรมทางการเมือง (Legitimacy) จะมีแต่ความถูกต้องตามกฎหมายไม่ได้ ซึ่งเมื่อขาดสองหลักการนี้เมื่อใด จะไม่มีธรรมแห่งอำนาจ (moral authority) ประเด็นก็คือว่า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแบบนี้นั้นถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ซึ่งในเมื่อบอกว่าศาลรัฐธรรมนูญนั้นมีอำนาจ แต่ในเมื่อประชาชนนั้นไม่เห็นด้วย ก็ไม่รู้ที่จะใช้อำนาจอะไรไม่คัดค้านศาล เพราะศาลเป็นองค์กรสูงสุด

ประเด็นเรื่องความชอบธรรมทางกฎหมาย (Legality) นั้น เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันมากในหมู่นักวิชาการ ซึ่งเมื่อมีการถกเถียงกันว่ากฎหมายนั้นมีอำนาจหรือไม่ มีความถูกต้องหรือไม่ มีคงเส้นคงวาหรือไม่ ตั้งแต่เรื่องของคุณสมัคร สุนทรเวช และอีกในหลายๆ กรณี ซึ่งในประเด็นนี้จะเห็นได้ว่า กฎหมายนั้นไม่มีความคงเส้นคงวา เพราะฉะนั้นจึงไม่มีความชอบธรรม

ซึ่งเมื่อบุคคลที่ใช้กฎหมายเป็นที่สงสัย ความชอบธรรมทางการเมืองเป็นที่สงสัย ธรรมแห่งอำนาจจะไม่มี ถึงแม้ว่าผลของอำนาจนั้นจะผูกพันกับทุกองค์กร แต่ความชอบธรรมนั้นไม่ผูกพันคนที่จะคิด จะจับคนไปติดคุกนั้นย่อมได้ แต่จะติดคุกความคิด ความคิดเสรี ความคิดที่เป็นธรรมนั้นไม่ได้

พูดตรงๆ ว่า การตัดสินอะไรก็ตามที่คนไม่สามารถยอมรับได้ เพราะว่าผิดหลักการนั้น ถ้านำไปสู่ผลในทางเสีย ถึงแม้ไม่ต้องรับผิดชอบทางกฎหมาย แต่จะต้องรับผิดชอบทางคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม ซึ่งถ้าหากว่าเกิดปัญหาหนักเกิดขึ้น จนนำไปสู่การสูญเสียอย่างมหาศาล อยากจะตั้งคำถามต่อว่า ผู้วินิจฉัยแบบนี้นั้นจะรับผิดชอบทางใจหรือทางจิตวิญญาณหรือไม่ แล้วมันจะหลอกหลอนไปตลอดชีวิต กฎหมายเอาอะไรไม่ได้ แต่กฎแห่งกรรมเอาเรื่องได้

-การเมืองต่อจากนี้จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร ในเมื่อกปปส. ก็ยังเดินหน้าชุมนุมต่อไป

ปัญหาเกิดขึ้นนั้นมันเป็นเรื่องปกติในสังคม แต่จะต้องมีกลไกที่จะนำไปสู่ข้อยุติ ซึ่งเมื่อใดที่หาข้อยุติไม่ได้ มนุษย์ก็จะข้ามแดนจากการมีเหตุผล เข้าไปสู่สภาวะตามธรรมชาติ นั่นก็คือการใช้กำลัง แล้วผลสุดท้าย บ้านเมืองจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ซึ่งนี่ไม่ใช่การมองโลกในแง่ร้าย ทุกวันนี้ ความไม่คงเส้นคงวา ความไม่เป็นธรรม ความต้องการที่จะปกปักรักษาอำนาจของตนเองนั้น ทำให้คนตาบอดหมด

ในขณะนี้ คนไทยใช้สมองข้างขวา ใช้แต่อารมณ์ มากกว่าสมองข้างซ้ายที่ใช้เหตุผลรวมไปถึงนักวิชาการหลายๆคนที่ขาดจริยธรรม ขายจิตวิญญาณทั้งความเป็นนักกฎหมายและนักรัฐศาสตร์ คนพวกนี้ทรยศต่อวิชาชีพและจรรยาชีพของตัวเอง

-คิดว่าการเลือกตั้งจะสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อทางฝั่งกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. ยังคงเดินหน้าชุมนุมอยู่

ในเรื่องของการเลือกตั้งนั้น ถ้าตีความกันตามศาลรัฐธรรมนูญในขณะนี้ หมายถึงแค่เอาคนมาขวางที่คูหาหนึ่งเขต ก็ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว นี่คือคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นก็ไม่ต้องมีกันแล้วระบบการเลือกตั้ง แต่ถ้าไม่มีระบบการเลือกตั้ง แล้วจะใช้ระบบอะไรกัน ถ้าไม่มีระบบการเลือตั้งก็ต้องกลับไปสู่สภาวะธรรมชาติกันหรือไม่

คำถามนี้เราต้องกลับมาถามกันว่า เราต้องการให้ประเทศเราเดินต่อไปข้างหน้า ทนอยู่กันหน่อย อย่างน้อยส่วนหนึ่งก็กล่อมแกล้มกันไป แต่อยู่กันด้วยสันติ หรือต้องการให้ประเทศพังทลายเหมือนกับในซีเรีย ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ เราต้องการกันเช่นนี้หรือไม่ แล้วใครจะเป็นผู้ได้ประโยชน์ ประชาชนคนที่อยู่ตรงกลางนั้น ต้องมาคอยรับผลของความไม่ได้เรื่องของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ใครจะรับผิดชอบในเรื่องนี้ เพราะเมื่อถึงจุดๆ หนึ่ง จุดที่ทุกคนมีสิทธิ์เท่ากันโดยธรรมชาติในการป้องกันตัวเอง ลองจิตนาการดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น

-ต่อจากนี้ไป อะไรคือสิ่งที่รัฐบาลรักษาการควรทำและไม่ควรทำ

รัฐบาลรักษาการ ก็ต้องรักษาการอย่างเดียว และจัดการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด เพราะนี่คือวิถีทางเดียวที่เหลืออยู่ ถ้าไม่มีสิ่งนี้ ก็คือต้องรัฐประหาร แล้วรัฐประหารเสร็จจะเกิดอะไรขึ้นนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าอยากให้บ้านเมืองสงบก็จัดให้มีการเลือกตั้ง แล้วใครจะแพ้ จะชนะก็ว่ากันไป

ส่วนใครจะมีการกำหนดให้เกิดข้อสัญญาระหว่างรณรงค์เลือกตั้งว่าจะอยู่แค่6 เดือน แล้วจะมีการปฏิรูปอย่างรวด จากนั้นก็จะลาออก แบบนี้ก็ทำได้เช่นกัน เหมือนกับกรณีที่นายอานันท์ ปันยารชุน มาเป็นนายกฯ สมัยที่ 2 ก็เข้ามาแก้รัฐธรรมนูญเพียงบางมาตรา แล้วก็ลาออกและยุบสภาไป เพราะฉะนั้นมีทางเดียว คือ 1.เลือกตั้ง 2.รัฐประหาร 3. เสนอมาตรา 7 ขอนายกฯ คนกลาง ซึ่งอยากจะตั้งคำถามต่อว่า เป็นคนกลางบนพื้นฐานของอะไร รัฐธรรมนูญมาตราใด

ตอนนี้เรากำลังเขาสู่สภาวะทางตันทางการเมือง (Political coup d’etat) กันอยู่ ยังไม่รู้ตัวอีกหรือว่าเรากำลังยืนอยู่บนปากเหว ตนเป็นคนไทยคนหนึ่งที่เสียภาษี ทำหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีสิทธิไปเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ แล้วคุณมีสิทธิอะไรมาปล้นเสียงผม ปล้นเสียงคน 20 ล้านคน วันหนึ่งคนไทยจะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิ์ตรงนี้ เพราะไม่สามารถมีใครเอาสิทธิ์นี้ไปได้

-สถานะของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม

ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ต้องตีความกันคนส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นเข้าใจ"ความเป็นนายกรัฐมนตรี" ไม่ถูกต้อง 

ถ้ายึดตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ระบบรัฐสภาอังกฤษแล้ว นายกรัฐมนตรี คือ หัวหน้าคณะรัฐมนตรีและเป็นรัฐมนตรี โดยถือว่านายกรัฐมนตรีนั้นเป็น "คนที่หนึ่งในผู้ที่เท่าๆ กัน" (First among equals) ทำหน้าที่คอยประสานงานในการบริหารประเทศ ดังนั้น นายกรัฐมนตรีไม่ได้มีอำนาจเด็ดขาดในการบริหารประเทศ แต่นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการผ่านมติของคณะรัฐมนตรี

ดังนั้น เมื่อ "ความเป็นนายกรัฐมนตรี" ของนางสาวยิ่งลักษณ์ได้สิ้นสุดลง จึงเป็นปัญหาที่ต้องตีความกันว่า "ความเป็นรัฐมนตรี" ที่หมายถึงรัฐมนตรีที่ยืนอยู่ตรงหัวแถวเป็นหัวหน้าของรัฐบาล หรือหมายรวมถึงความเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกะลาโหมนั้น สิ้นสุดลงไปด้วยหรือไม่

ตามความเข้าใจของผม เมื่อคุณสมบัตินายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ความเป็นรัฐมนตรีก็น่าจะต้องสิ้นสุดลงด้วยเช่นกัน

อุกฤษออกแถลงการณ์ แนะ′ปู-ครม.′รอคำวินิจฉัยกลางศาล รธน.

วันที่ 8 พฤษภาคม นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) อดีตประธานรัฐสภา แถลงการณ์ ประธาน คอ.นธ.เรื่อง แนวทางปฏิบัติภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นที่ร่วมประชุมและมีมติสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามมาตรา 182 (7) โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัย เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2557 กรณีมีผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 (2) และ (3) กรณีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวและวินิจฉัยว่ารัฐมนตรีอื่นที่ร่วมประชุมและมีมติในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 มีส่วนโดยอ้อมในการก้าวก่ายและแทรกแซงอันเป็นการกระทำต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีเหล่านั้นต้องสิ้นสุดเป็นการเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญด้วย นายกฯและรัฐมนตรีดังกล่าวจึงไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้  ในส่วนรัฐมนตรีอื่นที่ไม่ส่วนเกี่ยวข้องกับการประชุมและมีมติให้แต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าวให้อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้นั้น
              
ประเด็นดังกล่าว เคยทำจดหมายเปิดผนึกต่อสาธารณชนแล้ว เมื่อวันที่ 18 เม.ย.2557 โดยเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจรับเรื่องดังกล่าวนี้ไว้พิจารณาตั้งแต่ต้น เพราะในเมื่อนายกฯและครม.ทั้งคณะพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีไปแล้วเมื่อมีการยุบสภา จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะรับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณาวินิจฉัยอีก และการย้ายนายถวิลเป็นการใช้อำนาจบริหารตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการแผ่นดิน มิใช่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซง และมีความเห็นต่อไปว่า 

ถึงแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะได้วินิจฉัยว่านางสาวยิ่งลักษณ์กระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญก็ไม่มีผลทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของน.ส.ยิ่งลักษณ์สิ้นสุดลงเฉพาะตัว และไม่มีผลทำให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งไปโดยอัตโนมัติตามคำวินิจฉัยเพราะความเป็นรัฐมนตรีของนางสาวยิ่งลักษณ์จะสิ้นสุดลงหรือรัฐมนตรีทั้งคณะจะพ้นจากตำแหน่งก็ต่อเมื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีแล้วเท่านั้น ประกอบกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่า นายกฯและรัฐมนตรีต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่

 แต่ในเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องและมีคำวินิจฉัยออกมาดังกล่าวก็ขอเสนอแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากคำวินิจฉัยดังกล่าวว่าจะต้องดำเนินการหรือปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไปอย่างไรเพื่อผดุงไว้ซึ่งหลักนิติธรรมส่งเสริมให้มีการใช้กฎหมายด้วยความเป็นธรรม ความเสมอภาค และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล กับทั้ง เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในการใช้กฎหมายของประเทศ อันจะนำไปสู่สังคมที่มีความเป็นปกติสุข ดังนี้
                
1.ก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะได้ดำเนินการต่อไปอย่างไร ในเบื้องต้นควรที่จะต้องรอคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญฉบับที่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า “คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญและความเห็นในการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทุกคนให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา”เสียก่อน
               
2.เมื่อคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญและคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วคณะรัฐมนตรีควรที่จะนำคำวินิจฉัยนั้นหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายของคณะรัฐมนตรีว่าคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้มีการพิจารณาและวินิจฉัยโดยเป็นไปตามหลักนิติธรรมหรือไม่ เพียงใด และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ถือเป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ หรือไม่ 

เนื่องจากตุลาการที่เป็นองค์คณะในการพิจารณาและทำคำวินิจฉัยเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับเรื่องที่พิจารณาวินิจฉัยและที่สำคัญการพิจารณาวินิจฉัยคดีดังกล่าวได้กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญรองรับตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 วรรคหก ซึ่งการที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญดังกล่าว คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีปัญหาความไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และทำให้คำวินิจฉัยดังกล่าวตกไปทั้งฉบับ
                
3.ระหว่างที่รอคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญประกาศในราชกิจจานุเบกษา และรอความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีทั้ง หมดอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ที่มีเจตนารมณ์ให้มีความต่อเนื่องในการบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ให้มีช่องว่างแห่งการใช้อำนาจมหาชน
              
4.ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วเพื่อที่จะได้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินต่อไปอันเป็นการยุติบทบาทหรือยุติการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีชุดเดิมตามที่หลายฝ่ายต้องการ ในการเลือกตั้งดังกล่าวควรที่จะมีการทำประชามติไปในคราวเดียวกันว่าคณะรัฐมนตรีชุดเดิมจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หรือไม่

รายละเอียดมติป.ป.ช. 7:0ชี้มูลความผิด ถอดถอน"ยิ่งลักษณ์"

รายละเอียดมติป.ป.ช. 7:0ชี้มูลความผิด ถอดถอน"ยิ่งลักษณ์" ว่าจงใช้ใช้ตำแหน่งหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหาย





จาตุรนต์ ฉายแสง:ถ้าองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ยังสมคบกันที่จะสร้างสุญญากาศทางการเมือง

“...ถ้าองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ ยังสมคบกันที่จะสร้างสุญญากาศทางการเมือง เพื่อให้มีนายกฯคนนอกอย่างที่พวกเขาเปิดเผยมาบ้างแล้วนี้ เขาจะขาดความชอบธรรมอย่างรุนแรงและจะพบกับการต่อต้านครั้งใหญ่อย่างแน่นอน”.


ปปช.มีมติ ชี้มูลผิดทุจริตจำนำข้าว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต่อหน้าที่ 7:0

8พ.ค.2557 ปปช.มีมติ ชี้มูลผิดทุจริตจำนำข้าว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต่อหน้าที่ 7:0 ส่งวุฒิสภาถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี ส่วนคดีอาญา ส่งต่อศาลคดีอาญาผู้ดำลงตำแหน่งทางการเมือง ส่วนความเสียหายทางแพ่ง จะพิจารณาอีกที
//////////
ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ 7:0 เสียง ให้ส่งวุฒิสภาถอดถอน “ยิ่งลักษณ์”พ้นตำแหน่ง ฐานปล่อยมีทุจริตจำนำข้าว
เมื่อเวลา 15.00 น.วันนี้ 8 พ.ค.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. แถลงถึงกรณีโครงการทุจริตจำนำข้าวรัฐบาลว่า ที่ประชุมใหญ่ ป.ป.ช.มีมติเป็นเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 ชี้ว่ามีมูลเพียงพอที่จะส่งเรื่องให้ที่ประชุมวุฒิสภาดำเนินการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวไปต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม หากวุฒิฯ มีมติถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องเว้นวรรคการเมือง 5 ปี
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังมีมติให้ไต่สวนข้อเท็จจริงในคดีอาญา ต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในโครงการจำนำข้าวด้วย


ด่วน! กาชาดปรับแผนการรับบริจาคโลหิต วันที่ 9 พฤษภาคม 2557

ด่วน! กาชาดปรับแผนการรับบริจาคโลหิต วันที่ 9 พฤษภาคม 2557
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เตรียมพร้อมแผนสำรองโลหิต วันที่ 9 พฤษภาคม 2557 โดยการจัดหน่วยรับบริจาคโลหิตออกรับบริจาคโลหิตรอบนอก กทม. และปริมณฑล 4 แห่ง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ ผู้บริจาคโลหิต
แพทย์หญิงสร้อยสอางค์ พิกุลสด ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า เนื่องจากขณะนี้มีการระดมพลใหญ่บริเวณถนนอังรีดูนังต์ และบริเวณใกล้เคียง และคาดว่าประชาชนส่วนใหญ่อาจไม่สะดวกในการเดินทางมาบริจาคโลหิต ที่ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ถนนอังรีดูนังต์ ซึ่งทำให้ไม่สามารถจัดหาโลหิตได้ตามเป้าหมาย คือ วันละ 1,600 -2,000 ยูนิต และ ไม่มีโลหิตสำรองเพียงพอสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ จึงปรับแผนการรับบริจาคโลหิตเพิ่มเติมบริเวณรอบนอกในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 4 แห่ง ในวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 11.30 -15.30 น. ดังนี้
1. ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ บางแค (สถานที่รับบริจาค หน้าห้าง)
2. ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล บางนา (สถานที่รับบริจาค ลานจอดรถฝั่งประตูทางเข้า KFC)
3. ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า (สถานที่รับบริจาค หน้าลิฟท์แก้ว ชั้น 4)
4. ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล พระราม 2 (สถานที่รับบริจาค โถงลิฟท์แก้ว ชั้น G)
จึงขอเชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคโลหิต ได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ หน่วยรับบริจาคโลหิตดังกล่าว สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์และจัดหาผู้บริจาคโลหิต โทร. 0 2256 4300, 0 2263 9600-99 ต่อ 1101

ชมรมแพทย์ชนบท แจ้งเครือข่ายระดมคนอุปกรณ์ร่วมชุมนุม๙พ.ค.กับกปปส.จนกว่าชนะ

แจ้งทีมโรงพยาบาลต่างๆที่จะมาร่วมทำหน้าที่หน่วยแพทย์โรงพยาบาลสนาม
ขอให้ทุกโรงพยาบาลจัดเตรียมบุคลากรและเวชภัณฑ์ประจำรถมาด้วย
รายการการเตรียมโรงพยาบาลสนาม Mobile สำหรับสถานการณ์ปกติ
องค์ประกอบ
1. รถพยาบาล Advance 1 คัน ต้องมีอุปกรณ์ดังนี้ (รถโรงเรียนแพทย์)
- sets CPR, Defbrillator
- Mobile Ventilator +
- อุปกรณ์ Basic : O2, BP
รถพยาบาล Basic or Advance 2 คัน (รถแพทย์ชนบท)
รถมูลนิธิ 2 คัน
รวม 5 คันต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม
2. บุคลากร
2.1 แพทย์ : อย่างน้อย 1 คน ต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม (เหมาะสมที่ 2-3 คน ต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม)
2.2 พยาบาลวิชาชีพ/ ผู้ช่วย : อย่างน้อย 2 คน ต่อ 1 โรงพยาบาล สนาม รวม 6 คนต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม
2.3 เจ้าหน้าที่กู้ภัย/คนขับ : อย่างน้อย 1 คน ต่อรถทุกขนาด รวม 5 คน ต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม
คุณสมบัติอุปกรณ์
1. รถพยาบาล Advance
o สามารถทำการกู้ชีพระดับ Advance ได้
o จากโรงเรียนแพทย์ กทม.
รถพยาบาล Basic
o ทำ Basic life support ได้
o จากโรงพยาบาลต่างจังหวัด หรือ กทม.
2. แพทย์ทั่วไป + Surgeon
เวชภัณฑ์
A. มวลชลขนาดใหญ่
- Ammonia 24 ขวดใหญ่ ต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม
- สำลีก้อน 20 ถุงใหญ่ ต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม
- กล่องโฟมขนาดใหญ่ใส่น้ำแข็ง 3 กล่อง ต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม บรรจุน้ำแข็งพร้อม
- ผ้าเย็นเช็ดหน้า 2,000 แผ่น ต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม
- สเปรย์ ย่านาง 3 กล่อง ต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม
- น้ำดื่มขวดเล็ก/ใหญ่ ปริมาณมาก
- น้ำหวาน/น้ำอัดลม ปริมาณมาก
o เฮลส์บลูบอย 3 ขวด ต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม
o น้ำอัดลมขนาดเล็ก 100 ขวด ต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม
- เกลือแร่ซอง 100 ซอง ต่อ 1 โรงพยาบาลสนาม
B. เวชภัณฑ์เฉพาะ
1. ยากู้ชีพ
o Adrenaline (IV)
o Atropine (IV)
o Naloxone (IV)
o MO (IV), Pethidine (IV)
o Lasix (IV)
o Diazepam (IV)
o NaHCO3 (IV)
2. ยา IHD
o Isordil Sublingual tab (5mg) = 20 tabs
o ASA gr V = 20 tabs
3. ยา Anaphylaxis
o Dexamethazone IV 5 mg. or 4 mg./vial = 5 vials
o CPM IV = 5 doses
o CPM = 20 tabs
4. ยา Diabetic
o 50% glucose 50 ml. = 5 doses
5. ยาพ่น
o Berodual or Ventolin inhaler = 3
o Berodual or Ventolin nebule = 10 doses
6. ยา GI
o Alum milk = 3 bottles
o Air-X = 100 tabs
o Imodium = 100 tabs
7. ยา Motion sickness
o Dimenhydrinate = 100 tabs
o Plasil = 50 tabs
8. อุปกรณ์การแพทย์
8.1 ชุดพ่นออกซิเจน/ พ่นยา = 30 sets
8.2 Airway = 3 sets
8.3 Endotracheal Tube No. 6-8 อย่างละ 3 อัน
8.4 Ambu bag = 3 sets
8.5 Oxygen Sat monitor = 2 sets
8.6 Dextrostick = 1 set
8.7 ICD = 2 sets
8.8 Splint = 2 sets
9. เครื่องมือทำแผล / เย็บแผล
9.1 set dressing = 100 sets
9.2 Plaster ปิดแผล = 100 pieces
9.3 Set Suture or Skin stapler = 5 sets
9.4 Sterile gauze
9.5 Sterile cotton ball
9.6 Antiseptic
o Chlorhexidine in alcohol = 3 bottles
o Betadine solution = 1 bottle
o Saline irrigation 1000 ml. = 10 bottles
9.7 Transpore
o Elastic bandage
o Conform
9.8 ยาชา + อุปกรณ์อื่น ๆ
o 1% Xylocaine without adrenaline
o Syringe 3cc.,5cc.,10cc. อย่างละ 3 pieces
o Needle No.18, 21, 25 อย่างละ 3 pieces
o Blade = 10 pieces
10. IV fluid
o 5% D/ NSS 1000 ml. = 5 bottles
o 5% D / NSS/2 1000 ml. = 5 bottles
o LRS 1000 ml. = 5 bottles
o Set IV fluid = 15 sets
o Needle
o Medicut No.16, 18,20 อย่างละ 5 pieces
ระบบสื่อสาร
1. วิทยุระบบ VHF/FM = ติดรถ(Mobile) , มือถือ
Set ระบบวิทยุภายใน
มีวิทยุทุกคัน = 5 วิทยุ/ โรงพยาบาลสนาม
2. โทรศัพท์มือถือ 3 ระบบ (AIS, DTAC, True)
3. โทรศัพท์บ้านที่ศูนย์??
อุปกรณ์ยาเวชภัณฑ์ (จำนวนมาก) สำหรับอาสาฯเดินเท้า
- กระเป๋าพยาบาลหรือเป้
- สำลี, แอมโมเนีย (มากหน่อย) ยาดม
- อุปกรณ์ First Aid เช่น EB, Plaster
- ยาพื้นฐาน Para, Dimen, CPM
- Ventolin Puff 1 (จากประสบการณ์มีคนไข้หอบหืดเยอะมากครับ)
ส่วนกลางเตรียม Spray ย่านางให้ครับ


รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ร่วมออกพรฎ.กับปธ.กกต.ไม่ได้


ไม่ใช่แฟน ทำแทนกันไม่ได้ ??
พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 มาตรา 5 กำหนดให้ 'นายกรัฐมนตรี' และประธานกกต.เป็นผู้รักษาการณ์ตามพระราชกฤษฎีกา
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 2/2557 วินิจฉัยโดยเสียงข้างมากให้การกำหนดวันเลือกตั้งใหม่เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของ 'นายกรัฐมนตรี' และประธานกกต.
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2557 วินิจฉัยว่าพระราชกฤษฎีกายุบสภา พ.ศ. 2556 เฉพาะในส่วนกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปให้เป็น 2 กุมภาพันธ์ 25567 (มาตรา 4) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การจะกำหนดวันเลือกตั้งใหม่แทนวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 จึงเป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของ 'นายกรัฐมนตรี' และประธานกกต. โดยการตราพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ในมาตรา 4 เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2549
ประเด็นพิจารณาคือในขณะนี้ไม่มี 'นายกรัฐมนตรี' มีแต่ 'รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี' เท่านั้น
และการปฏิบัติหน้าที่แทนไม่สามารถกระทำแทนได้ในทุกเรื่อง !