PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”

พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
25 มิถุนายน 2558 06:01 น.
พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”
        พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ซึ่งถูกตำรวจของญี่ปุ่นควบคุมตัว ในข้อหาพกพาอาวุธปืนที่สนามบินนาริตะ อาจต้องพบกับชะตากรรมที่ยุ่งยากที่สุดในชีวิต เนื่องจากกฎหมายควบคุมอาวุธของญี่ปุ่นมีความเข้มงวดมาก ถึงระดับที่แม้แต่ยากูซ่ายังไม่อยากใช้ปืน
      
       ในประเทศญี่ปุ่น การมีปืนสักหนึ่งกระบอกเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญ กฎหมายควบคุมอาวุธของญี่ปุ่นที่ประกาศใช้ตั้งแต่ ค.ศ.1958 ระบุไว้ชัดเจนว่า “ประชาชนไม่มีสิทธิ์ครอบครองอาวุธปืนและมีดดาบ” ซึ่งเป็นหลักการที่ทำให้การมีอาวุธของชาวญี่ปุ่นนั้นแทบเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แตกต่างจากบางประเทศตะวันตกที่อนุญาตให้ประชาชนพกอาวุธเพื่อป้องกันตัวเองและทรัพย์สินได้
      
       ตามกฎหมายของญี่ปุ่น ผู้ที่ครอบครองอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตจะต้องโทษจำคุก 1 ถึง10 ปี และหากมีกระสุนปืนด้วยก็จะเพิ่มโทษขึ้นอีกอย่างน้อย 3 ปี
พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”
        ตำรวจแทบไม่พกปืน ยากูซ่าไม่อยากใช้ปืน
       

       เจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นคนกลุ่มเดียวที่ได้รับอนุญาตให้มีปืนในครอบครองได้ หากแต่ตำรวจญี่ปุ่นก็แทบจะไม่พกปืน มีเพียงตำรวจหน่วยพิเศษและสายตรวจเท่านั้นที่สามารถพกปืนได้ นอกจากนี้หากจำเป็นตำรวจต้องใช้ปืน จะต้องเก็บปลอกกระสุนกลับมาทุกครั้งเพื่อรายงานต่อผู้บังคับบัญชา กฎเกณฑ์ที่เข้มงวดนี้ทำให้ตำรวจบางรายแทบจะไม่มีโอกาสใช้ปืนจริงๆ เลยสักครั้งตลอดชีวิต
      
       แก็งค์อาชญากรรมหรือยากูซ่าเคยเป็นกลุ่มที่ใช้ปืนเข่นฆ่ากันเองมากที่สุด แต่หลังจากเกิดเหตุ “กระสุนลูกหลง” ทำให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต รวมทั้งเหตุสังหารนายกเทศมนตรีเมืองนางาซากิเมื่อหลายปีก่อน กฎหมายของญี่ปุ่นได้เพิ่มโทษพิเศษสำหรับผู้ครอบครองปืนที่มีประวัติอาชญากรรม
      
       นายคาเนโยชิ คูวาตะ เจ้าพ่อรายหนึ่งของญี่ปุ่น ถูกตัดสินจำคุก 7 ปี หลังจากตำรวจตรวจพบปืน 1 กระบอกในรถของเขา ถึงแม้ไม่มีหลักฐานว่าเขาได้ก่อเหตุอาชญากรรมใดๆเลย หลังเหตุครั้งนั้น หัวหน้ายากูซ่ารายหนึ่งยอมรับว่า “มีปืนไว้กับตัวเหมือนกับมีระเบิดเวลา”
พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”
        
       ฝ่าด่านหิน หากอยากมีปืนในญี่ปุ่น

       ประชาชนชาวญี่ปุ่นแทบจะไม่สามารถครอบครองปืนได้ โดยกฎหมายเปิดช่องให้มีปืนสำหรับการล่าสัตว์ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ขั้นตอนการขออนุญาตยากมาก เป็นต้นว่า
      
       1. ต้องเข้ารับการอบรมภาคทฤษฎีเรื่องปืนและกฎหมาย โดยผ่านการสอบข้อเขียน
       2. ทดสอบยิงปืนในสนาม โดยต้องผ่านเกณฑ์ความแม่นยำ 95%
       3. เข้ารับการตรวจสุขภาพกายและจิตใจที่โรงพยาบาล เพื่อยืนยันว่าไม่เคยเกี่ยวข้องกับสารเสพติด หรือมีปัญหาสุขภาพจิต
       4. ยื่นประวัติส่วนตัวและเครือญาติกับตำรวจ โดยผู้ที่เคยมีประวัติอาชญากรรม, เป็นสมาชิกกลุ่มการเมืองหรือนักกิจกรรมที่ก้าวร้าว รวมทั้งบุคคลล้มละลาย ไม่สามารถครอบครองอาวุธปืนได้
       5. ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ครอบครองปืน ยังต้องขออนุญาตเพื่อซื้อกระสุนปืนอีกด้วย ซึ่งการซื้อทุกครั้งจะมีการลงบันทึกรายละเอียดของผู้ซื้อ และจำนวนกระสุนที่ซื้อไป
       6. จะต้องแยกเก็บปืนและกระสุนไว้คนละสถานที่ โดยต้องมีตู้เก็บปืนเฉพาะ รวมทั้งต้องวาดแผนที่สถานที่เก็บปืนและกระสุนให้กับตำรวจในพื้นที่ด้วย
       7. ใบอนุญาตมีอายุ 3 ปี และเจ้าของปืนจะต้องเข้ารับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่ต่ออายุ
       8. ถ้ามีบุคคลในครอบครัว หรือผู้ใดร้องเรียนว่า เจ้าของปืนมีพฤติกรรมสะกดรอยตาม, ข่มขู่ หรือใช้ความรุนแรง จะถูกยกเลิกใบอนุญาตครอบครองปืนทันที
      
       ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบประวัติผู้ที่ต้องการมีปืนอย่างละเอียด โดยสัมภาษณ์ทั้งครอบครัว, หัวหน้างาน, เจ้าของบ้านเช่า ไปจนถึงเพื่อนบ้าน และแทบจะไม่ออกใบอนุญาตใหม่ ยกเว้นแต่ผู้ที่เคยครอบครองปืนอยู่แล้วเท่านั้น
      
       กฎหมายควบคุมปืนที่เข้มงวดทำให้ทั่วประเทศญี่ปุ่น มีปืนที่ได้รับอนุญาตเพียงแค่ 271,100 กระบอกเท่านั้น จากจำนวนประชากรทั้งประเทศมากกว่า 126 ล้านคน
พลิกกฎหมายควบคุมปืนของญี่ปุ่น รอชี้ชะตา “คำรณวิทย์”
        บ้านเมืองปลอดภัย ทำไมต้องมีปืน?
       กฎหมายของญี่ปุ่นมุ่งที่จะ “ปลดอาวุธ” ประชาชนทั้งหมด หลังจากยุคของนักรบและซามูไรที่ต่อสู้แย่งชิงพื้นที่ต่างๆ จนแดนอาทิตย์อุทัยแทบจะหาความสงบสุขไม่ได้ แต่ทุกวันนี้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอาชญากรรมต่ำที่สุดในโลก ซึ่งการควบคุมปืนอย่างเข้มงวดทำให้ความรุนแรงในการก่อเหตุลดลง
      
       สถิติล่าสุดเมื่อปี 2011ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติญี่ปุ่น ระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืนเพียงแค่ 11 คน และบาดเจ็บ 28 คน โดยผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดจากปืนลั่นขณะล่าสัตว์ ส่วนผู้เสียชีวิต 5 รายเป็นการฆ่าตัวตาย ที่เหลือเป็นการฆ่าล้างแค้นของแก็งค์อาชญากรรม
      
       ชาวญี่ปุ่นจึงไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องมีอาวุธใดๆ และไม่อาจเข้าใจที่คนไทยบางคนต้องพกปืนติดตัวตลอดเวลา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่นรายหนึ่ง ระบุว่า “ในญี่ปุ่นมีเพียงยากูซ่าและตำรวจเท่านั้นที่มีปืน. 

ไม่มีความคิดเห็น: