PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เปิดปม “ปรส.” อภิมหาฮั้วแสนล้าน ตำนานสุมหัวถลุงทรัพย์สินชาติ ตราบาป ประชาธิปัตย์!?

เปิดปม “ปรส.” อภิมหาฮั้วแสนล้าน ตำนานสุมหัวถลุงทรัพย์สินชาติ ตราบาป ประชาธิปัตย์!

“องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)” ในยุครัฐบาลชวน หลีกภัย ของพรรคประชาธิปัตย์ นำทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการมูลค่า 851,000 ล้านบาท ไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับประเทศไทยกว่า 660,000 ล้านบาทนั้น ในด้านของคดีอาญากำลังจะขาดอายุความวันที่ 30 พฤศจิกายน 2557 แบบที่ยังไม่สามารถจับมือใครดมได้
“คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)” ซึ่งมีหน้าที่ในการ “ตรวจสอบการทุจริต” ที่เกิดจากภาครัฐ ภาคการเมือง กลับไม่มีความชัดเจนว่า จะสามารถจัดการกับ “ตัวการใหญ่” ที่ทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศชาติ
ท้ายที่สุดสังคมไทย อาจจะต้องยอมให้ ความเสียหาย 8.5 แสนล้านบาท มลายหายไปพร้อมกับ “ตัวการใหญ่” ที่ลอยนวลไปเพราะ “คดีหมดอายุความ”
ซึ่งสะท้อน มาตรฐานการทำงานและศักยภาพการทำงานของ องค์กรตรวจสอบและกระบวนการยุติธรรมของไทยได้เป็นอย่างดี
แต่กรณี ปรส.ขายทรัพย์สินของชาติ นั้น “กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)” เคยแถลงไว้เมื่อ 15 พ.ย.2549 ระบุว่า สอบสวนพบการดำเนินการหลายกรณี ไม่เป็นไปตามกฎหมายระเบียบ หลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน10 ประเด็น 1.ปรส.ยินยอมให้นิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ ปรส.เข้าประมูลซื้อทรัพย์สินจากปรส.โดยมิชอบ
2.คณะกรรมการ ปรส.บางคนมีส่วนเกี่ยวข้องปกปิดข้อเท็จจริง กระทำการโดยไม่โปร่งใส
3.ข้อกำหนดของปรส.ที่ให้ผู้ชนะการประมูลโอนสิทธิได้ขัดต่อกฎหมาย
4.การโอนสิทธิของผู้ชนะการประมูล ไม่ชอบ ขัดต่อพรก.ปรส.
5.ข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของคณะกรรมการปรส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
6.คณะกรรมการปรส.และกลุ่มนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรส.ฝ่าฝืนข้อสนเทศการขายทรัพย์สิน
7.กองทุนรวมที่รับโอนสิทธิจากผู้ชนะการประมูลซื้อทรัพย์สินจากปรส. ยังไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
8.มีการทำสัญญาไม่ชอบด้วยกฎหมาย
9.สิทธิของนิติบุคคลที่ชนะการประมูลไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามข้อกำหนดการขายทรัพย์สินของปรส
และ 10. ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ปรส.บางคนขาดคุณสมบัติเนื่องจากดำรงตำแหน่งทับซ้อนกับสถาบันการเงินอีกแห่ง
ซึ่งประเด็นที่ “ถูกจับตา” มากที่สุดประเด็นหนึ่งมาตลอดเวลา ตั้งแต่ ปรส. ก่อการขายทรัพย์สินของ 56 สถาบันการเงิน
คือกรณีที่ “บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้ง อิ้งค์” ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์ประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยจาก ปรส. โดยยอดคงค้างทางบัญชี 24,616.95 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 11,520 ล้านบาท และ กรณี บริษัท โกลด์แมน แซคส์ เอเชีย ไฟแนนซ์ จำกัด ผู้ชนะการประมูลซื้อสินทรัพย์จาก ปรส. โดยยอดคงค้างทางบัญชี 115,890.96 ล้านบาท แต่ประมูลขายไปเพียง 22,454.87 ล้านบาท
โดยในส่วนของ “เลห์แมนบราเดอร์ โฮลดิ้งฯ” นั้นอีกด้านหนึ่ง “ผู้บริหารบริษัท” ก็ได้รับการแต่งตั้งจาก ปรส. ให้เป็น “ที่ปรึกษา ของ ปรส.” เอง 
ซึ่งเมื่อสอบสวนข้อมูลเพิ่มเติมย้อนหลังกลับไป ก็จะพบว่า สื่อมวลชนยุคนั้นหลายสำนักได้รายงานเอาไว้ตรงกันว่า เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2541 “นายอมเรศ ศิลาอ่อน ประธาน ปรส.ของรัฐบาลประชาธิปัตย์ ได้ เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายอำนวย ยศสุข เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ ถึงค่าใช้จ่ายที่ ปรส.ต้องเสียให้กับที่ปรึกษา คือ บริษัท เลห์แมนบราเดอร์ส ว่าเป็นจำนวนเงินที่ถูกมากๆ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่เคยจ้าง เลห์แมนบราเดอร์ส เป็นที่ปรึกษา ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงการคลังควรต้องขอบคุณ ปรส. ที่ช้วยประหยัดเงินในส่วนนี้ได้มาก”
ดังนั้นจึงต้องถามกันให้ชัดเจนว่า รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ที่ ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี นั้นคิดเห็นอย่างไรกับการที่ “ปรส.” ปล่อยให้ บริษัทในเครือของ “ที่ปรึกษา” ของตัวเอง เข้าร่วมประมูลทรัพย์สินของชาติ ในราคาถูกแสนถูก
และเหล่านี้ “พรรคประชาธิปัตย์” ที่มี “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง” ชื่อ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็น “มือ 1 ทางด้านเศรษฐกิจ” นั้นมองว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคนั้นเป็นการอำนวยความสะดวก-สมยอม-ฮั๊ว-รวมหัว หรือที่ในยุคนี้เรียกกันว่า  “ผลประโยชน์ทับซ้อน” กับ “ขบวนการเร่ขายทรัพย์สินชาติหรือไม่ ?
ซึ่ง นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รมว.คลัง ของรัฐบาล ชวน หลีกภัย ในขณะนั้นก็สนิทชิดเชื้อดีกับ “วาณิชธนกิจ” ยักษ์ใหญ่ต่างชาติ เป็นอย่างดี โดยมีภาพข่าวปรากฏ ตามสื่อสารมวลชนไทยหลายสำนักว่า ในวันที่ 11 ธันวาคม 2540 นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รมว.คลัง นำ “นายเจอร์ราด คอร์ลิแกน กก.ผจก.โกลด์แมน แซคส์” ในฐานะ “ที่ปรึกษาส่วนตัว” เข้าหารือกับ “นายชวน หลีกภัย” นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล
“ที่ปรึกษาส่วนตัว รมว.คลัง” ระดับที่ “ชื่อ โกลด์แมน แซคส์”  น่าจะช่วยให้  “รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์” ยุคนั้น เข้าใจเทคนิควิธีการประมูลซื้อทรัพย์สินของชาติ จากการเร่ขายของ ปรส.ได้เป็นอย่างดี!
ที่มา : https://www.hereandthere.today/?p=1368


1qws

ไม่มีความคิดเห็น: