PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

ข่าว24/1/60

"เจตน์" เชื่อทุกพรรคการเมืองเข้าร่วมปรองดองแน่ แม้ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ไม่จำเป็นต้องมีการบังคับให้ทำMOU 

นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะโฆษกกรรมาธิการกิจการ สนช. (วิป สนช.) เปิดเผยกับสำนักข่าว INN  ว่า ตามที่รัฐบาล และ คสช.เดินหน้าสร้างความ

ปรองดองให้คนในชาติ และมีหลายฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง และแตกต่างกันนั้น โดยส่วนตัว เชื่อว่าเรื่องดังกล่าว เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ และเป็นไปตามที่รัฐบาล และ คสช.

ได้กำหนดไว้ในโรดแม็ปแล้ว ทำให้มั่นใจว่า พรรคการเมืองต่างๆ จะไม่ปฏิเสธการเข้าร่วม แต่ในทางปฏิบัติก็จำเป็นต้องมีหลายแนวทางในการดำเนินการ ส่วนจะมีการทำMOU หรือไม่นั้น คงไม่

สำคัญเท่ากับการมีส่วนร่วม การยอมรับ ในการปรองดองของทุกฝ่าย และไม่จำเป็นต้องมีการบังคับให้ทำMOU แต่อย่างใด

นอกจากนี้ นพ.เจตน์ ยังกล่าวด้วยว่า สนช.พร้อมเข้าร่วมเวทีรับฟังความเห็น ที่ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จะจัดขึ้น เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการทำกฏหมายลูกในฉบับต่างๆ เพื่อ

เป็นข้อมูล และเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการพิจารณา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พรป.)ทั้ง 10 ฉบับของ สนช.ด้วย
--------
นายกฯ บอกปรับภูมิทัศน์เพิ่มอ่างบัว แค่เพื่อสวยงาม ติงต้องเปลี่ยนแปลงเสมอ ด้าน "พล.อ.ประวิตร" ปัดตอบปมจัดซื้อเรือดำน้ำ

บรรยากาศที่ทำเนียบรัฐบาลล่าสุด อยู่ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้ ก่อนการประชุมนั้น สื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาล ได้พยายามสอบถามนายกรัฐมนตรี ถึงการปรับภูมิทัศน์ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยการนำอ่างบัวสีมาตั้งไว้บริเวณจุดต่าง ๆ ที่สวนหย่อมทำเนียบรัฐบาล จำนวน 10 ใบ ว่า เป็นปรับเปลี่ยนเพื่อให้มีความสวยงาม ให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง โดยเปรียบเปรยว่า ผู้ที่สมองไม่เปลี่ยน ก็จะเป็นอาหารของเต่า ปลาใต้น้ำ

ด้าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปฏิเสธตอบคำถามสื่อมวลชน ถึงกรณีโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ จากประเทศจีน จำนวน 3 ลำ ตามแผนการจัดซื้อ โดยเป็นเเผนลำแรกในการจัดซื้อ ซึ่งจะใช้งบประมาณปี 2560

ขณะที่บรรยากาศก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี ในช่วงเช้าวันนี้ นายศุภณัฐ สิรันทวิเนติ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำ นายฮาซัน สาเมาะ เยาวชนผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศการทดสอบท่องจำพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอาน นานาชาติ ประเทศซูดาน เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี ณ ห้องรับรอง 1 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล
----------
"พล.อ.อนุพงษ์" ยัน เร่งสอบสินบนจัดซื้อสายเคเบิล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ย้ำทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์ในพื้นที่ภาคใต้เบาบางลง แต่ได้มีการประเมินไว้ว่า จะมีฝนลงมาอีกในช่วงนี้ ถ้ายังไม่ตกลงมามากกว่านี้

สถานการณ์น้ำคงจะดีขึ้น และจะมีการเตรียมพร้อมเพื่อเข้าฟื้นฟูในทันที ส่วนข้อเสนอการสร้างเขื่อนในพื้นที่ภาคใต้นั้น ถ้าหากมีส่วนที่กระทรวงมหาดไทย เข้าไปเกี่ยวข้องก็จะต้องนำมาพิจารณา

นอกจากนี้ พล.อ.อนุพงษ์ ยังกล่าวถึงกรณีการให้สินบนเจ้าพนักงานในการจัดซื้อสายเคเบิล การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ว่า เรื่องนี้ได้มีการหารือกับผู้ว่าฯ กฟภ. แล้ว ว่าจะต้องมีการตั้งกรรมการ

สอบข้อเท็จจริง อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย
---------------
นายกฯ หวังทุกคนร่วมปรองดอง ย้ำยึดหลักการ ปัดนิ่งนอนใจแก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ เตรียมลงพื้นที่อีกสัปดาห์นี้ 

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวชื่นชมเยาวชนผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศการทดสอบท่องจำพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอานนานาชาติ ประเทศซูดาน ที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศ ซึ่งการแข่งขันดังกล่าว เป็นการแข่งขันระดับโลก ถือเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ พร้อมยังฝากไปยัง ผู้อาวุโส เด็ก เยาวชน ให้ช่วยกันทำบ้านเมือง สงบสุข

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงแนวทางการสร้างความปรองดอง ว่า จะต้องมีหลักการด้านการทำงาน จึงขอฝากทุกคน รวมถึงคณะกรรมการที่ทำงานทั้งหมด พร้อมถึงระบุเหตุการณ์ในภาคใต้ เป็นเรื่องอัตลักษณ์ แม้ประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม จะมีจำนวนน้อยแต่ก็มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะมุสลิมสมัยใหม่ ที่ใช้ความทันสมัยควบคู่กับการคงอัตลักษณ์ไว้

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจ ตั้งแต่วันแรกจนถึงวันนี้ ซึ่งจะลงพื้นที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ในสัปดาห์นี้ เพื่อติดตามการช่วยเหลือ ทั้งหมดที่เป็นความช่วยเหลือเร่งด่วน รวมทั้งแนวทางการฟื้นฟู และการแก้ปัญหาระยะยาวอย่างยั่งยืน รวมทั้งจะไปติดตาม โครงการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงรับสั่งไว้นานแล้ว ว่า จะสามารถประยุกต์ใช้ได้หรือไม่ จึงต้องขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ด้วย เพราะหลายอย่างต้องทำใหม่ เช่น ขุดลอกคูคลอง ทำทางระบายน้ำ
------------------
นายกฯ ยินดีพรรคการเมืองร่วมสร้างปรองดอง ยันไม่โยงป๋าเปรมโมเดล หากคุยกันไม่ได้ ก็ขอให้สังคมเป็นผู้ตัดสิน

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงประเด็นเรื่องการปรองดอง ที่หากพรรคการเมืองใหญ่บางพรรคไม่เข้าร่วม จะทำให้การปรองดองเกิดประโยชน์ได้หรือไม่ ว่า เป็นการพูดจา เพื่อหาทางออก และเพื่อความสงบสุขให้แก่ประเทศ หากพรรคการเมืองไม่เข้าร่วม ก็ถือว่าไม่เห็นสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญกับประเทศชาติ

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ขอขอบคุณพรรคการเมืองหลายพรรค ที่ตอบรับเข้าร่วมพูดคุยในการสร้างความปรองดอง ซึ่งหลังจากนี้หากคุยกันไม่ได้ ก็ขอให้สังคมเป็นผู้ตัดสิน

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึง ข้อเสนอที่ให้นำสูตรการปรองดอง 66/23 ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาใช้ ว่า เป็นคนละส่วนกัน เพราะขณะนี้ไม่ใช่เป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธ และทำสงคราม หรือลัทธิความเชื่อ แต่ทั้งนี้ ยืนยันว่า จะเดินหน้าปรองดองเพื่อให้ประเทศเดินต่อไปได้ตามกลไกปกติ

ส่วนรายชื่อคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ขณะนี้รายชื่อต่าง ๆ ยังไม่เรียบร้อย โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปลายเดือนนี้
-----------------
"พล.อ.ประวิตร" ยังไม่ชัด กรรมการ ป.ย.ป. ยัน ไม่ใช้คำสั่ง 66/23 นำปรองดอง ปัดตอบซื้อเรือดำน้ำ 

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ ไม่มีการพิจารณารายชื่อคณะกรรมหารบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ต้องรอภายหลังการประชุมคณะกรรมการเตรียมการสร้างความปรองดองจึงจะมีความชัดเจน ส่วนกรณีที่กรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง เสนอให้ใช้คำสั่ง 66/23 และ 66/25 เช่นเดียวกับสมัยที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ใช้ยุติสงครามคอมมิวนิสต์กับรัฐบาลในขณะนั้น

พล.อ.ประวิตร ระบุว่า จะไม่ใช้วิธีการดังกล่าว เพราะแนวทางของตนเองจะไม่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมาย แต่เน้นการสร้างความเข้าใจของทุกฝ่าย เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

ขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยังเปิดเผยว่า ไม่มีการเสนอเรื่องการจัดซื้อเรือดำน้ำของกองทัพเรือ เข้าที่ประชุม ครม. เพราะเป็นเรื่องที่ใช้งบประมาณของกองทัพเรือเอง ซึ่งได้ผ่าน

ความเห็นชอบจาก สนช. แล้ว ขณะนี้จึงอยู่ในระหว่างการเตรียมการ แต่จะต้องเสนอรายงานให้ ครม. รับทราบก่อนดำเนินการจัดซื้อ
----------------
"มีชัย" เผย มติกฤษฎีกาให้ "วิษณุ" แจงคืบหน้าแก้ไข รธน. คนเดียว - ขออย่ากังวลคณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ

นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรธ. กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา มีมติให้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขร่าง

รัฐธรรมนูญฉบับผ่านประชามติ เพียงคนเดียว เพื่อให้ข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนกรณีที่สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. ขอให้ กรธ. กำหนดให้ชัดเจนว่า หากคณะ

กรรมการการเลือกตั้งชุดเก่าคนใดขาดคุณสมบัติแล้ว ต้องพ้นจากตำแหน่งทันที เพราะกังวลว่าคณะกรรมการสรรหา ที่มีตัวแทนจากคณะกรรมการองค์กรอิสระอื่น ร่วมเป็นคณะกรรมการด้วยนั้น

อาจมีช่องให้เกิดการช่วยเหลือกันได้ นายมีชัย ระบุว่า ขออย่าเป็นกังวล เนื่องจากการจะพิจารณาเรื่องใด ต้องมีหลักฐานและพิสูจน์ได้ นอกจากนี้ บุคคลระดับประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครอง

ร่วมเป็นคณะกรรมการ จึงขอให้เชื่อมั่นในตัวของบุคคลเหล่านี้

ขณะเดียวกัน ในวันพรุ่งนี้ กรธ. ได้จัดสัมมนารับฟังความเห็น ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยได้เชิญ ผู้แทนจาก กสม. และตัวแทนจาก

องค์กรภาคประชาชนด้านสิทธิมนุษยชนเข้าร่วมให้ความคิดเห็น โดยมี ประธาน กรธ. เป็นผู้กล่าวเปิดสัมมนา
-----------------
"สุเทพ" ยัน พร้อมสนับสนุน รบ. เดินหน้าปรองดอง ชี้ MOU ไม่ใช่สิ่งสำคัญ แนะต้องวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริงให้ได้

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย (กปปส.) กล่าวว่า ตนเอง และแกนนำ กปปส. พร้อมที่จะสนับสนุนรัฐบาลในการสร้างความปรองดอง เพราะเห็นถึงความตั้งใจจริงของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช) ที่จะปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ และเพื่อที่จะทำให้ประเทศเกิดความปรองดองและเดินไปข้างหน้า สนับสนุนให้มีการปฏิรูปประเทศให้สำเร็จ เพราะทุกอย่างคืออนาคตของประเทศไทย

ทั้งนี้ นายสุเทพ ยังระบุด้วยว่า หากมีการเชิญให้ไปร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรองดอง ก็ยินดี พร้อมเสนอให้รัฐบาลหาแนวทางเพื่อทำให้เกิดความปรองดองในระยะยาวให้ได้ และขอให้มีการวิเคราะห์อย่างละเอียดถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ก่อให้เกิดความแตกแยก ส่วนการลงนามเอ็มโอยูนั้น ไม่ใช่สิ่งสำคัญ และไม่อยากตอบในขณะนี้ว่าจะลงนามหรือไม่ เพราะจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเพื่อความปรองดองได้อย่างแท้จริง ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความปรองดองมากกว่า

นอกจากนี้ นายสุเทพ ปฏิเสธมีส่วนเกี่ยวข้องกับสินบนของบริษัทโรลส์-รอยซ์ โดยระบุให้ดูปีที่มีการติดสินบนอย่างชัดเจนก่อน พร้อมยืนยันว่ากรณีดังกล่าวนั้นไม่ได้เกิดขึ้นในระหว่างที่ตนเองดำรงตำแหน่ง และขณะนี้อยู่ในระหว่างการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ จึงไม่สามารถแสดงความคิดเห็นใด ๆ ได้ ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามขั้นตอน

-------------
"อภิสิทธิ์" ได้รับหนังสือขอความเห็นปรองดองจาก สปท. แล้ว ย้ำยึดหลักการเดิมต้องมองอนาคต เรื่องในอดีตให้กระบวนการ ยธ. ดำเนินการ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เกินทางลงพื้นที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อมอบถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วม พร้อมกับเปิดเผยว่า ได้รับหนังสือขอความเห็นเกี่ยวกับแนว

ทางการสร้างความปรองดอง จากคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ หรือ สปท. แล้ว โดยจะมีการหารือกับแกนนำพรรค อย่างไม่เป็น

ทางการในวันพรุ่งนี้ (25 ม.ค.) ก่อนที่จะส่งความเห็นเป็นเอกสารกลับไปภายในวันที่ 31 ม.ค. ต่อไป

ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวด้วยว่า ส่วนตัวยังยืนยันหลักการเดิมที่เคยเสนอต่อสาธารณชนไปแล้วว่า การปรองดองต้องมองไปที่อนาคต ส่วนเรื่องอดีตก็ปล่อยให้กระบวนการยุติธรรมทำงาน  ยกเว้น

คดีที่เกี่ยวข้องกับประชาชนที่มาชุมนุมทำผิดกฎหมายพิเศษ ก็ควรจะได้รับนิรโทษกรรม และกระบวนการยุติธรรมทำงานได้ข้อยุติในกรณีอื่น ๆ แล้ว ทั้งในเรื่องข้อเท็จจริง และความรับผิดชอบต่อ

ผลจากการกระทำ จะมีช่องทางอภัยโทษอย่างไร ก็ยึดตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่มีอยู่
------------------
"วีระ" FB ท้าทายนายกฯ ใช้ ม.44 ประกาศให้คดีการทุจริตไม่มีอายุความ เหน็บเรื่องที่ควรทำกลับไม่ทำ

นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว "Veera Somkwamkid" ว่า ถ้ารัฐบาล คสช. มีความจริงใจและจริงจังในการปราบปรามการทุจริต

ควรใช้อำนาจตามมาตรา 44 ประกาศให้คดีการทุจริตไม่มีอายุความ ตรวจสอบพบเมื่อใด ดำเนินคดีได้ทันที ทำให้ได้อย่างประเทศจีน นายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา กล้าทำไหม

นายวีระ ยังกล่าวอีกว่า เรื่องที่ไม่ควรทำ เพราะอาจเข้าข่ายเป็นการเอื้อประโยชน์โดยมิชอบ ยังกล้าทำ เช่น กรณี ครม. แก้สัญญาเช่าที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ จากเดิม 25 ปี เป็น 50 ปี ให้แก่ธุรกิจ

ในกลุ่มของเจริญ สิริวัฒนภักดี ผู้ซื้อที่ดินของพ่อนายกฯ โดยไม่มีการประมูลแข่งขัน ไม่กลัวคนทั่วไปจะเข้าใจผิด ว่า อาจจะเป็นการเอาผลประโยชน์ของชาติ ไปตอบแทนบุญคุณส่วนตัว แต่
เรื่องที่สมควรทำ กลับไม่รีบทำ

////////////
สินบน

"อาคม" อุบตอบสินบนโรลส์รอยซ์ - บินไทยโยงการเมือง ระบุต้องรอผลการตรวจสอบตามขั้นตอน 

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณี บริษัท โรลส์-รอยซ์ ยอมรับว่ามีการจ่ายสินบนให้กับคนในบริษัทการบินไทย ว่า ได้ให้การบินไทยรายงานผลการตรวจสอบภายใน 30 วัน หลังตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมา 2 ชุด ชุดแรก ทำหน้าที่ตรวจสอบผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นที่นอกจากการบินไทย ส่วนชุดที่สองจะดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการซึ่งจะต้องประสานข้อมูลจาก สำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ (Serious Fraud Office : SFO) และขณะนี้การบินไทยกำลังขอข้อมูลจากทางบริษัท โรลส์-รอยซ์ ส่วนจะเชื่อมโยงกับนักการเมืองหรือไม่นั้น นายอาคม กล่าวว่า จะต้องรอการตรวจสอบตามที่บริษัท โรลส์-รอยซ์รายงานกับ SFO แต่จะต้องดูมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2547 ที่ให้การจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 มาพิจารณาทั้งหมดเพื่อความกระจ่างจึงต้องดูรายละเอียดทั้งหมดเพื่อความมั่นใจ แม้เหตุการณ์ดังกล่าวจะผ่านมานาน ถึง 20 ปี แล้วก็ตาม
-------------
นายกฯ สั่ง ตรวจสอบสินบนโรลส์รอยซ์ - บินไทย ตามขั้นตอน อาคม ระบุที่ผ่านมา บินไทยจัดซื้อผ่านระบบนายหน้า สั่งแก้ไขแล้ว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการจัดซื้อจัดจ้างของ บริษัท การบินไทย ที่มักจะดำเนินการผ่านนายหน้า ว่า ได้สั่งการให้การบินไทยซื้อของจากผู้ผลิตโดยตรงแล้ว ส่วนจะมอบหมายเรื่องนี้ให้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ดูแลหรือไม่นั้น ต้องรอดู เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่เริ่มเข้ามาตรวจสอบเรื่องนี้ เช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. เพราะหน่วยงานเหล่านี้จะมีอำนาจโดยตรงในการขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ขณะที่นายกรัฐมนตรีก็ได้สั่งให้ดำเนินการตามขั้นตอนของหน่วยงาน
------------
นายกฯ แจงปมโรสลส์ - รอยซ์ ชี้ ให้ คค. ตรวจสอบองค์กรการบินไทยอยู่แล้ว ยัน รบ. พยายามปรับแก้การจัดซื้อจัดจ้างไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวถึงกรณีที่ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการตรวจสอบการติดสินบนของบริษัท โรลส์ - รอยซ์ ให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า รัฐบาลนี้อยู่ภายใต้การตรวจสอบ มีคณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ตัดสินตามหลักฐาน วัตถุพยาน ซึ่งต้องมีการตรวจสอบ และรัฐบาลนี้ก็ถูกตรวจสอบจาก ป.ป.ช. รวมทั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ก็มีการตรวจสอบเช่นกัน และหน่วยงานต่าง ๆ ก็ต้องมีการชี้แจงให้เข้าใจ

ทั้งนี้ ในคดีดังกล่าว รัฐบาลมีหน้าที่ตรวจสอบอยู่แล้ว โดยให้กระทรวงคมนาคมตรวจสอบภายในองค์กร คือ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รวมถึง ป.ป.ช. และ สตง. ก็จะทำหน้าที่ตรวจสอบเช่นกัน โดยจะดำเนินการลงโทษตามความผิด ซึ่งขณะนี้รัฐบาลก็พยายามอุดช่องโหว่ และปรับแก้เรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง ให้รัดกุมเพื่อไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น
---------
ป.ป.ช. ตั้ง คกก.สอบสวน สรุปข้อเท็จจริงคดีสินบนโรลส์ - รอยซ์ 15 คน "สรรเสริญ" เป็นประธาน

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. เปิดเผย ว่า เมื่อวันที่ 23 มกราคม ที่ผ่านมา นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ลงนามในคำสั่งสำนักงาน ป.ป.ช. ที่ 33/2560 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานสืบสวนและรวบรวมข้อมูล กรณี บริษัท โรลส์ - รอยซ์ (Rolls-Royce) จ่ายสินบนในการซื้อขายเครื่องยนต์อากาศยานและเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรม ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในประเทศไทย ในช่วงที่มีการจัดซื้อเครื่องยนต์เครื่องบินโบอิ้ง 777 รวม 3 ครั้ง ในช่วงปี พ.ศ.2534 - 2548 โดยมี นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธาน และประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ พนักงานไต่สวนชำนาญการพิเศษ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ พนักงานไต่สวนชำนาญการ เจ้าหน้าที่การต่างประเทศปฏิบัติการ นิติกรปฏิบัติการ ผู้ช่วยพนักงานไต่สวนปฏิบัติการ รวม 15 ราย เพื่อให้การดำเนินการรวบรวมข้อมูลเป็นไปด้วยความรวดเร็วและรอบคอบ

ทั้งนี้ ในคำสั่งกำหนดให้คณะทำงานมีหน้าที่สืบสวนและรวบรวมข้อมูล สรุปข้อเท็จจริงที่ได้จากการสืบสวนและรวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณา
-----------
"วัฒนา"FBย้ำสินบนโรลส์รอยส์จ่ายบินไทยล็อต 3 ไม่เกี่ยว ครม."ทักษิณ" เหน็บ รบ.เป็นคนที่มาจาก ปชช.พร้อมให้ตรวจสอบเสมอ 

นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว"Watana Muangsook" ว่า หลังจากได้ชี้แจงเรื่องที่โรลส์รอยส์จ่ายเงินสินบน 254 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนการซื้อเครื่องยนต์ไอพ่นล็อต 3 ว่า ไม่เกี่ยวข้องกับ ครม. ทักษิณ เพราะคุณสมบัติของเครื่องยนต์เป็นเรื่องทางเทคนิคเฉพาะที่การบินไทยจะเป็นผู้กำหนดและจัดซื้อจัดจ้างเองโดยไม่ต้องเข้า ครม. แต่ยังมีคอลัมน์นิสต์และสำนักข่าวแห่งหนึ่งพยายามโยงเรื่องให้มาเกี่ยวข้อง อ้างว่า ครม. เคยมีมติเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2547 อนุมัติการจัดซื้อฝูงบินจำนวน 14 ลำ ในวงเงินลงทุน 96,355 ล้านบาท นั้น ข้อเท็จจริง คือ  มติ ครม. ดังกล่าวเป็นการเห็นชอบการจัดซื้อเครื่องบินจากแอร์บัสและโบอิ้งตามข้อเสนอของการบินไทย เหตุที่ต้องเข้า ครม. เพราะเป็นวงเงินสูงถึง 96,355 ล้านบาท การบินไทยน่าจะใช้เงินกู้ที่รัฐบาลต้องเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งถือเป็นการก่อหนี้สาธารณะจึงต้องเสนอเรื่องให้ ครม. เห็นชอบ ส่วนสินบนเป็นเรื่องที่การบินไทยสั่งซื้อเครื่องยนต์ไอพ่น ล็อต 3 ของโรลส์รอยส์ และ แผนการที่จะซื้อเครื่องบินแบบไหน รุ่นอะไร จำนวนกี่ลำ และจะใช้เครื่องยนต์ของใครจึงจะเหมาะกับภารกิจและคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด เป็นเรื่องทางเทคนิคที่การบินไทยพิจารณาเองมาโดยตลอด

ทั้งนี้ นายวัฒนา ยังระบุ เห็นด้วยที่สังคมจะช่วยกันตรวจสอบเรื่องการทุจริต แต่จะต้องอยู่บนข้อเท็จจริงและมีความเป็นกลาง เรื่องสินบนมีการจ่ายรวม 3 ครั้ง คือครั้งที่ 1 ปี 2534-2535 จำนวน 663 ล้านบาท ครั้งที่ 2 ปี 2535-2540 จำนวน 336 ล้านบาท และครั้งที่ 3 ปี 2547-2548 จำนวน 254 ล้านบาท เหตุที่ชี้แจงเพียงครั้งที่ 3 เพราะเกี่ยวข้องกับตัวเองเพียงแค่นี้และถือเป็นมารยาทที่จะไม่ไปพาดพิงถึงคนอื่น การบินไทยเป็นองค์กรที่เข้มแข็งเห็นได้จากการออกมาเป่านกหวีดกู้ชาติครั้งล่าสุด จึงเชื่อว่าจะหาคนที่เกี่ยวข้องกับการรับสินบนได้ไม่ยาก ส่วนที่บอกว่าไม่เกี่ยวข้องก็คือการพูดความจริงไม่ได้กลัวการตรวจสอบ เพราะคนที่มาจากประชาชนพร้อมเสมอที่จะให้มีการตรวจสอบและไม่เคยนิรโทษกรรมตัวเองหนีความผิด
------------------
"สุวพันธุ์" รอหน่วยงานเกี่ยวข้องรายงานผลสอบสินบนโรลส์ - รอยซ์ ยัน รบ. ไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบเพิ่มเติม

นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงความคืบหน้าการตรวจสอบการทุจริตติดสินบนพนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมือง ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องยนต์ของบริษัท โรลส์ - รอยซ์ ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.), คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กำลังตรวจสอบ ส่วนกรณีที่ สตง. ระบุว่า มีรายชื่อของเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองที่เกี่ยวข้อง ได้ส่งรายชื่อไปตรวจสอบกับเอสเอฟโอของอังกฤษ แต่ยังไม่ได้ส่งมายังศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ดั้งนั้น ศอตช. จึงรอหน่วยงานรัฐส่งข้อมูลเพื่อพิจารณาต่อไป

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อตรวจสอบกรณีดังกล่าว เพราะหน่วยงานที่ตรวจสอบขณะนี้ล้วนอยู่ใต้กำกับของภาครัฐอยู่แล้ว ส่วนการแก้ไขปัญหาในระยะยาว เมื่อประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างที่ชัดเจน น่าจะส่งผลให้การทุจริตในภาครัฐและรัฐวิสาหกิจลดลง
////////////////////
เปิดมติครม.ปี47โยงคดีสินบนโรลส์รอยซ์ พบสุริยะชงเปลี่ยนซื้อโบอิ้ง777 วิษณุรับเป็นรองนายกฯสมัยนั้นขอสำนึกรับผิดชอบช่วยรวบรวมข้อมูล???

2017-01-23 17:17:50
 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีบริษัท โรลส์รอยซ์ ยอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ (ป.ป.ช. อังกฤษ)ว่า ได้จ่ายสินบนในหลายประเทศที่ทำการซื้อขายเครื่องยนต์ของโรลส์รอยซ์ รวมถึงประเทศไทยในช่วงปี 2534-2548 ว่า เมื่อปี 2547 ตนเป็นรองนายกรัฐมนตรี แต่จำไม่ได้ว่าคณะรัฐมนตรีขณะนั้นอนุมัติอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไปบ้าง แต่หลังจากนี้ด้วยความสำนึกรับผิดชอบของตนจะได้รวบรวมและหาข้อมูล โดยทราบว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ตั้งกรรมการสอบขึ้นมา 2 ชุด เช่นเดียวกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะประสานข้อมูลกับทางป.ป.ช.อังกฤษ ทั้งนี้ การบินไทย มีข้อมูลอยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่เพียงพอ จึงต้องรวบรวมหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง เนื่องจากกินระยะเวลาหลายปี จึงต้องให้เวลาทำงาน อย่าเพิ่งไปตำหนิ และการรวบรวมข้อมูลส่วนนี้ ยังไม่ใช่ขั้นตอนเพื่อเอาผิด

       ขณะที่สำนักข่าวอิศรา ได้เปิดเผยข้อมูลบางส่วนด้วยว่า มติครม.วันที่ 23 พ.ย.2547  มีวาระการพิจารณาโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 ของบริษัทการบินไทย
ของกระทรวงคมนาคม ลงนามโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ลงนามในเอกสารเสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม. มีการขออนุมัติดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 -2552/53  จำนวน 14 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกลขนาดใหญ่มาก แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท โดยจะลงทุนในปี 2547/2548 จำนวน 7,818 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การนำเสนอครม.ขออนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 จำนวน 14 ลำ ดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดจากมติ ครม. เดิม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 ที่ให้ การบินไทย ดำเนินโครงการจัดซื้อเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2545/2546-2549/2550 เพื่อจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติม 15 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบินใช้แล้ว แบบ B747-400 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ 7 ลำ เครื่องบิน แบบ A340-500 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินA340-600 จำนวน 5 ลำ แต่การบินไทยไม่สามารถรับมอบเครื่องบินใช้แล้วแบบ B747-400 จำนวน 7 ลำ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตในปี 2546/2547 -2547/2548 จึงได้เลื่อนการรับมอบเครื่องบิน แบบ A340-500/600  และปรับปรุงแผนวิสาหกิจฉบับเดิม (ปี 2545/46-2549/50)เป็นแผนวิสาหกิจฉบับใหม่ ปี 2548/49 -2552/53  ตามที่นำเสนอครม. เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547

       อย่างไรก็ตาม ในรายงานการสอบสวนของสำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ไม่ได้มีการระบุชื่อของนายสุริยะ ว่าเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของสินบนหรือไม่ ดังนั้นนายสุริยะ จึงยังถือว่า
เป็นผู้บริสุทธิ์อยู่

เรียบเรียงโดย : ศิริพงศ์ สำนักข่าวทีนิวส์

ขอบคุณ : สำนักข่าวอิศราhttp://www.isranews.org/
////////////
 รองนายกฯ วอนให้เวลา “การบินไทย” รวบรวมข้อเท็จจริงปมสินบน “โรลส์-รอยซ์” ใครเอี่ยว คาดสัปดาห์หน้า ป.ป.ช.ได้ข้อมูลจาก ป.ป.ช.อังกฤษ เพื่อรู้ตัวคนรับ-คนให้
     
       (23 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.45 น. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีบริษัท โรลส์-รอยซ์ ยอมรับต่อสำนักงานปราบปรามการทุจริตของประเทศอังกฤษ (ป.ป.ช.

อังกฤษ) ระบุว่าได้จ่ายสินบนในหลายประเทศที่ทำการซื้อขายเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยซ์ รวมถึงประเทศไทยในช่วงปี 2534-2548 ว่า เมื่อปี 2547 ตนเป็นรองนายกรัฐมนตรี แต่จำไม่ได้ว่าคณะ

รัฐมนตรีขณะนั้นอนุมัติอะไรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไปบ้าง แต่หลังจากนี้ด้วยความสำนึกรับผิดชอบของตนจะได้รวบรวมและหาข้อมูล ทั้งนี้ ทราบว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ตั้ง

กรรมการสอบขึ้นมา 2 ชุด เช่นเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่จะประสานข้อมูลกับทาง ป.ป.ช.อังกฤษ ส่วนการรวบรวมข้อมูลของ ป.ป.ช.นั้น

คาดว่าสัปดาห์จะได้ข้อมูล ส่วนการบินไทยมีข้อมูลอยู่แล้ว แต่อาจจะยังไม่เพียงพอ จึงต้องรวบรวมหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง เนื่องจากครอบคลุมระยะเวลาหลายปี จึงต้องให้เวลา

ทำงาน อย่าเพิ่งไปตำหนิ และขณะนี้ไม่ใช่ขั้นตอนเพื่อเอาผิด แต่เป็นขั้นตอนรวบรวมข้อเท็จจริงของการบินไทย จึงต้องใช้คนในก่อน เมื่อได้ผลเช่นไรจะรายงาน รมว.คมนาคมต่อไป แต่วันนี้มี

ข่าวออกมาว่าไม่ยอมเอาคนนอกเข้าไปสอบ ซึ่งความจริงถ้าจะเอาผิดโดยให้คนนอกมาร่วมสอบนั้นไม่ได้
     
       “ผู้แทนของโรลส์-รอยซ์เคยให้ข้อมูลกับการบินไทยแล้ว แต่ยังไม่ได้เปิดเผย เนื่องจากข้อมูลบางอย่าง หากจะเปิดเผยได้ต้องขออนุญาต ป.ป.ช.อังกฤษก่อน จึงเป็นเรื่องของ ป.ป.ช.ไทยที่ต้องขอ

ให้เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวว่ามีใครให้สินบน หรือรับเงิน เมื่อไหร่ วันใด” นายวิษณุกล่าว
     
       ผู้สื่อข่าวถามว่า เวลาผ่านมาเนิ่นานแล้วจะเอาผิดได้หรือไม่ รองนายกฯ กล่าวว่า อย่าเพิ่งไปถึงขั้นว่าผิดหรือไม่ผิด เพราะเรายังไม่พูดกันเลยว่าจะตั้งข้อหาอะไร อย่างไรก็ตาม รัฐบาลถ้าจะดำเนิน

การอย่างไรต่อไปคงต้องรอข้อมูลจากการบินไทยก่อน แต่ตนไม่คิดว่าการบินไทยจะได้ข้อมูลมาก เพราะเป็นการรวบรวมข้อมูลภายในเท่านั้น และไม่มีสิทธิขอข้อมูลจาก ป.ป.ช.อังกฤษ เหมือน

ป.ป.ช.ไทย ส่วนที่มีการระบุว่า บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ถูกพาดพิงว่ามีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันนี้ก็จะได้ตรวจสอบว่าเป็นอย่างไร และมีหน่วยงานใดที่ถูกพาดพิงอีกบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น: