PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

หลักฐานเด็ด!มติ ครม.ปี 47 คดีสินบนโรลส์รอยส์-'สุริยะ'ชงเปลี่ยนซื้อ'B777' 6 ลำ

เปิดมติ ครม. 23 พ.ย.47  ในสำนวนสอบคดีสินบน'โรลส์-รอยซ์' จ่ายเงินก้อน 3 เผยชื่อ 'สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ' ในฐานะ รมว.คมนาคม ชงอนุมัติเปลี่ยนแผนซื้อเครื่องบิน 14 ลำ 9.6 หมื่นล.
pichnhdddddddd88.jp
จากกรณีสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ได้แปลเนื้อหาผลสอบสวนกรณีบริษัทโรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนให้กับบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 3 จำนวน 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 254 ล้านบาท) ช่วงปี 2547-2548 ของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ประเทศอังกฤษ พบว่า มีการระบุข้อมูลเกี่ยวกับมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 23 พ.ย.2547 เกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ แอร์บัส A340 และ โบอิ้ง 777 และส่วนแบ่งจำนวน 4 % จากการอนุมัติของของรัฐบาลด้วย 
โดยมีการระบุว่า " จดหมายภายในบริษัทRR ฉบับลงวันที่ 19 พฤจิกายน 2547 บันทึกการประชุมซึ่งเป็นการประชุมร่วมกันระหว่าง นายหน้า 3 และนายหน้าส่วนภูมิภาค และคนในรัฐบาลไทย (the Thai Government) ซึ่งระบุบรรยากาศการประชุมครั้งนั้นว่า
“ช่างเป็นการประชุมที่ดีเหลือเกิน การจัดซื้อเครื่องบินรุ่นใหม่ แอร์บัส A340 และ โบอิ้ง 777 กำลังอยู่ในวาระการประชุมของคณะรัฐมนตรีในวันที่ 23 พฤจิกายนนี้ (2547)”
118. อีเมล์ฉบับเดียวกันยังพูดถึงเรื่องข้อตกลงค่าส่วนแบ่งคอมมิสชั่น โดยที่นายหน้า3 และนายหน้าส่วนภูมิภาค ได้ปฏิเสธข้อเสนอของบริษัท RR โดยทั้งสองยื่นข้อเสนอใหม่ว่า
“ต้องการส่วนแบ่งเป็น 4% จากการอนุมัติของรัฐบาลในครั้งนี้ ลงวันที่ ธันวาคม 2547” ("4% on Government approval, i.e. Dec 04".)

(อ่านประกอบ : แกะรอย บ.โรลส์-รอยซ์ จ่ายสินบนครั้งที่ 3 ช่วงปี 47-48 "ดินเนอร์กับคนในรัฐบาล" (จบ))

ล่าสุด สำนักข่าวอิศรา สืบค้นมติการประชุม ครม.ย้อนหลัง ในวันที่ 23 พ.ย.2547 พบว่า มีวาระการพิจารณาโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 ของบริษัทการบินไทย ของกระทรวงคมนาคม ลงนามโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นผู้ลงนามในเอกสารเสนอเรื่องต่อที่ประชุม ครม. ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่การขออนุมัติดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 -2552/53  จำนวน 14 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกลขนาดใหญ่มาก แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท โดยจะลงทุนในปี 2547/2548 จำนวน 7,818 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในการนำเสนอครม.ขออนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี 2548/49 -2552/53 จำนวน 14 ลำ ดังกล่าว มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดจากมติ ครม. เดิม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2546 ที่ให้ การบินไทย ดำเนินโครงการจัดซื้อเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2545/2546-2549/2550 เพื่อจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติม จำนวน 15 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบินใช้แล้ว แบบ B747-400 ของสายการบินยูไนเต็ดแอร์ไลน์ จำนวน 7 ลำ เครื่องบิน แบบ A340-500 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบินแบบA340-600 จำนวน 5 ลำ แต่การบินไทยไม่สามารถรับมอบเครื่องบินใช้แล้วแบบ B747-400 จำนวน 7 ลำ ทำให้การบินไทย ไม่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตในปี 2546/2547 -2547/2548 การบินไทย จึงได้เลื่อนการรับมอบเครื่องบิน แบบ A340-500/600 ให้เร็วขึ้น และปรับปรุงแผนวิสาหกิจฉบับเดิม (ปี 2545/46-2549/50)เป็นแผนวิสาหกิจฉบับใหม่ ปี 2548/49 -2552/53  ตามที่นำเสนอครม. เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547  
จึงเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจ ปี 2548/49 -2552/53  จำนวน 14 ลำ ดังกล่าว ประกอบด้วย เครื่องบินพิสัยไกลขนาดใหญ่มาก แบบ A380 จำนวน 6 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลพิเศษ แบบ A340-500 จำนวน 1 ลำ เครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ A340-600 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบินพิสัยไกลขนาดกลาง แบบ B777-200 ER จำนวน 6 ลำ ในวงเงินลงทุนทั้งสิ้น 96,355 ล้านบาท ดังกล่าว
picnhbggggg1333
picbhhdnjuiiiiiii
ขณะที่ผลการประชุม ครม.เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547 มีมติอนุมัติหลักการให้การบินไทย ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจปี พ.ศ. 2548/49-2552/53 ของการบินไทย จำนวน 14 ลำ วงเงินลงทุน 96,355 ล้านบาท และดำเนินงานตามแผนการเงินและแผนเงินกู้ของการบินไทย ส่วนการจัดทำข้อตกลง หรือลงนามในสัญญาจัดหาเครื่องบิน ให้การบินไทยรายงานความคืบหน้าการดำเนินการดังกล่าวและนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินการด้วย
picnjhgg23 1 17
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้ ในผลการสอบสอนของ สำนักงานต่อต้านการทุจริต (SFO) ระบุว่า การจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง B777 ครั้งที่สามของสายการบินไทย ได้เริ่มหารือตั้งแต่ต้นปี 2539 แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปจนกระทั่งปลายปี 2547 ซึ่งในขณะนั้น บริษัท โรลส์-รอยซ์ ยืนยันว่า มีงบประมาณเพียงพอสำหรับจ่ายให้นายหน้าในภูมิภาคและนายหน้า 3 ทั้งนี้ บริษัทได้ติดสินบนเงินจำนวนหนึ่งเพื่อจูงใจให้สายการบินไทยซื้อเครื่องบินพร้อมเครื่องยนต์รุ่นT-800 เพิ่มเติมจากเดิม ส่วนแบ่งของเงินจำนวนนี้ได้ส่งต่อไปยัง คนในรัฐบาลไทย และมีการระบุถึงการนำเรื่องเข้าเสนอที่ประชุมครม. ในวันที่ 23 พ.ย.2547 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่นายสุริยะ ดำรงตำแหน่งรมว.คมนาคม และเป็นผู้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุม ส่วนบุคคลที่ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย ในช่วงเวลาดังกล่าว  คือ  นายกนก อภิรดี (2545-2549)  นายทนง พิทยะ เป็น ประธานบอร์ด ตั้งแต่ช่วงมิ.ย. 2545 - มี.ค. 2548
อย่างไรก็ตาม ในรายงานการสอบสวนมิได้มีการระบุชื่อ ของนายสุริยะ นายกนก และนายทนง ว่าเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของสินบนหรือไม่ นายสุริยะ นายกนก และนายทนง  จึงยังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ 

ไม่มีความคิดเห็น: