PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สมรภูมิอิรัก กับกลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี”




Cr:ไพศาล พืชมงคล
สมรภูมิอิรัก กับกลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี”
16 ธันวาคม 2558
ในสมรภูมิซีเรีย พันธมิตรรัสเซียใช้กลยุทธ์ตีโดยไม่ล้อม ประสานกับการวางกำลังเพื่อสกัดกำลังหนุนที่จะมาช่วยเหลือขบวนการก่อการร้าย ทำให้พันธมิตรรัสเซียสามารถยึดครองซีเรียได้โดยพื้นฐานแล้ว และกำลังเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูซีเรีย
สำหรับสมรภูมิอิรัก พันธมิตรรัสเซียใช้กลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” และทนกับปฏิบัติการยั่วยุทางการทหารอย่างถึงที่สุด ทำให้ขบวนการก่อการร้ายหวั่นเกรงว่าหากล่าช้าต่อไปก็อาจจะหนีไม่ทัน จึงเคลื่อนย้ายกำลังหนีออกไปจากอิรักระลอกแล้วระลอกเล่า จนกำลังเหลืออยู่น้อยมาก ในขณะที่พันธมิตรรัสเซียวางกำลังล้อมอิรักกระชับเข้ามาทุกที ดังนั้นตุรกีจึงทำหน้าที่เป็นกองหน้าของนาโต้ส่งกำลังรถถังเข้าไปในอิรักโดยมีกำลังภาคพื้นดินจำนวนหนึ่งของสหรัฐสนับสนุน แต่แทนที่พันธมิตรรัสเซียจะใช้ปฏิบัติการทางทหารโจมตี กลับนิ่งเฉย และใช้สงครามเศรษฐกิจประสานกับการปฏิบัติการรุกรบของชาวเคิร์ดทางตอนใต้ของตุรกี รวมทั้งเปิดสมรภูมิทางการทูตในคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ให้มีมติจัดการกับผู้รุกรานอิรัก ทำให้ไม่มีชาติใดออกหน้าปกป้องการรุกรานนั้นได้
ในสมรภูมิอิรัก มีศูนย์กลางที่จะแตกหักชี้ขาดในสมรภูมินี้ที่เมืองโมซุล ทางตอนเหนือของอิรัก ใกล้กับชายแดนตุรกีและอิหร่าน แต่ถึงวันนี้พันธมิตรรัสเซียก็ยังไม่ปฏิบัติการทางทหารใด ๆ ยังคงเดินหน้าปฏิบัติการปิดล้อมให้กระชับและแน่นหนาขึ้น นั่นหมายถึงกระชับกลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” ล่าสุดมีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจดังนี้
1. รัสเซียได้ขนย้ายรถถังรุ่นใหม่เข้าไปยังอิรัก โดยขนส่งไปอย่างเงียบ ๆ ทางเรือ ผ่านอ่าวโอมานเข้าไปยังอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แสนยานุภาพอิหร่านสามารถดูแลความปลอดภัยได้ และรัสเซียก็ได้วางกำลังจำนวนหนึ่งที่จะดูแลความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย รถถังชุดนี้ได้ส่งขึ้นที่ท่าเรือในพื้นที่อันเหมือนกับปากขวด ที่อยู่ปากอ่าวเปอร์เซีย ใกล้กับคูเวต ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าจะนำไปวางกำลังไว้ในพื้นที่ที่ใกล้ที่สุดกับเมืองโมซุล การนำรถถังเข้าไปทางพื้นที่นี้สะท้อนว่าพันธมิตรรัสเซียสามารถยึดครองพื้นที่ทางตอนใต้ของอิรักต่อเนื่องจากพื้นที่อ่าวเปอร์เซียไว้แล้ว และคงมีการเตรียมขีปนาวุธเพื่อคุ้มครองการเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์และกำลังภาคพื้นดินอีกด้วย ที่สำคัญคือ สะท้อนว่าพันธมิตรอาหรับที่นำโดยซาอุดิอาระเบียวางเฉยและปล่อยให้รัสเซียเคลื่อนย้ายยุทโธปกรณ์ผ่านทางอ่าวเปอร์เซียได้โดยสะดวก ไฟเขียวตลอด ซึ่งอาจทำให้นาโต้ผวาหนักขึ้นไปอีก
2. จะเป็นเพราะการข่าวกรองที่ตุรกีรู้เอง หรือรู้จากชาติอื่น หรือโดยการคาดคะเนสถานการณ์เอาเอง ปรากฏว่าเมื่อวานนี้ (15 ธ.ค.58) ตุรกีได้ถอนกำลังรถถังออกจากเมืองโมซุลเป็นส่วนใหญ่แล้ว เพราะสภาพจากการวางกำลังของพันธมิตรรัสเซียนั้น ใคร ๆ ก็เห็นได้ชัดว่ากำลังรถถังและกำลังทหารของตุรกีรวมทั้งบางชาติแถบเมืองโมซุลไม่ครนามือที่จะรับมือกับการวางกำลังที่ปิดล้อมและกระชับเข้ามาได้เลย คงเหลือว่าวันไหนที่จะถอนออกไปทั้งหมด หรือจะถูกกวาดล้างทั้งหมด
3. โอบามาตัดสินใจส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเดินทางไปมอสโกเพื่อเจรจาหาทางยุติสงครามในซีเรียและอิรัก ซึ่งความเคลื่อนไหวนี้ใคร ๆ ก็รู้ได้แล้วว่าใครเป็นต่อ ใครเป็นรอง เพราะ “กำลังในการเจรจาขึ้นอยู่กับกำลังในสนามรบ” ดังนั้นการไปงอนง้อขอเจรจาครั้งนี้ จึงยากที่จะมีอะไรติดไม้ติดมือกับไปวอชิงตัน จึงต้องจับตาดูว่าตุรกีและอเมริกาจะถอนทหารออกไปจากอิรักหรือว่าจะเป็นผลให้รัสเซียตัดสินใจลงมือปฏิบัติการในอิรัก เพราะการเคลื่อนกำลังรถถังของรัสเซียเข้าอิรักนั้นส่อว่ารัสเซียได้ตอบรับคำขอของรัฐบาลอิรัก ในการขับไล่ผู้รุกรานแล้ว จึงคงเหลือแต่ว่าจะเป็นวันเวลาใดเท่านั้น
4. ในขณะที่เคลื่อนกำลังรถถังเข้าอิรัก รัสเซียก็ได้ส่งกำลังทหาร 7,000 คนเข้าไปที่อาร์เมเนีย ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของตุรกี เมื่อประกอบเข้ากับแนวดินแดนจอร์เจีย อาร์เมเนีย และอิหร่านถึงอิรักแล้ว ก็ก่อเป็นแนวปิดล้อมตุรกีทางด้านตะวันออกขึ้นมา ในขณะที่แนวดินแดนซีเรีย อิรัก ก็กำลังก่อตัวเป็นแนวปิดล้อมทางด้านใต้ของตุรกี โดยที่พันธมิตรรัสเซียยังวางกำลังทางนาวีไว้ที่ทะเลดำด้านเหนือของตุรกี และในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนด้านตะวันตกของตุรกี โดยมีกรีกเป็นไม้เบื่อไม้เมากับตุรกีอยู่ทางด้านตะวันตกอีก สภาพทั้งหมดนั้นหากลากเส้นเชื่อมโยงกันก็จะกลายเป็นเส้นที่ปิดล้อมตุรกีให้เห็นชัดขึ้นทุกทีแล้ว สภาพดังกล่าวนี้ดูทีท่าว่ากลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” ไม่เพียงแต่จะใช้ปฏิบัติในสมรภูมิอิรักเท่านั้น มันกำลังก่อตัวขึ้นต่อประเทศตุรกีด้วย
กลยุทธ์ “ตีแต่ไม่ล้อม” เป็นสภาพการสงครามที่เห็นได้โดยง่าย มีความรุนแรง และมีความเสียหายมาก ในขณะที่กลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” เป็นสภาพการสงครามที่เห็นได้ยาก มีพลังแต่ไม่รุนแรง และอาจป้องกันความเสียหายได้โดยการเจรจายุติสงครามโดยไม่ต้องรบ กลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” นี้แม้ไม่ต้องใช้ทหารรบ หรือยิงกระสุนสักนัดเดียว แต่เป็นกลยุทธ์ที่สามารถเอาชนะโดยไม่ต้องรบ ซึ่งพิชัยสงครามถือว่าเป็นชัยชนะชั้นเลิศด้วย
นักการทหารในอดีตที่นิยมและสันทัดในการใช้กลยุทธ์ “ล้อมแต่ไม่ตี” ประสานกับ “ตีโดยไม่ล้อม” ที่เด่นชัดมากที่สุดก็คือจูกัดเหลียงขงเบ้ง ในยุคสามก๊ก และเหมาเจ๋อตุง ประธานคณะกรรมการการทหารกองทัพปลดแอกประชาชนจีน.

ไม่มีความคิดเห็น: