PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สนช. มติเอกฉันท์ 168 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.คอมพ์

 สนช. มติเอกฉันท์ 168 เสียง ผ่าน พ.ร.บ.คอมพ์

สนช.ผ่าน พ.ร.บ.คอมพ์ ฉลุย 168 เสียง ย้ำม.14(1)ไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท พร้อมตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองเพิ่มเป็น 9 คน ชี้การสอนฆ่าตัวตาย-ปล้น-ทำอาวุธ ขัดความสงบและศีลธรรมอันดี

เมื่อเวลา 10.20 น. วันที่ 16 ธันวาคม ที่รัฐสภา มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช.คนที่1 เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วย
การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ที่คณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว ในวาระที่ 2 และ 3

ทั้งนี้ที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปราย โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้ ในมาตรา 11 วรรคสอง สมาชิกส่วนใหญ่ขอความชัดเจนของคำว่า “ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ” ว่ามีความ
หมายว่าอะไร และอะไรที่ทำให้เกิดความรำคาญ นอกจากนี้นายวัลลภ ตั้งคุณานุรักษ์ สมาชิกสนช. ได้สอบถามถึงเจตนารมณ์ของมาตราดังกล่าวว่า เป็นอย่างไร อีเมล์ขยะควรจะต้องขออนุญาตประชาชนก่อนส่งหรือไม่ ไม่ใช่ว่ากฎหมายนี้อนุญาตให้ส่งอีเมล์ขยะมาก่อน แล้วค่อยเปิดช่องให้ผู้รับสามารถยกเลิกได้โดยง่าย

ขณะที่ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์ ในฐานะประธานวิสามัญฯ ชี้แจงว่า ร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้รับปฏิเสธอีเมล์ขยะตั้งแต่ต้น เพราะคิดว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากจะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์สซึ่งเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ส่งให้ผู้รับ เช่นเดียวกับนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญ กล่าวว่า ในประกาศกระทรวงที่กำลังจะออกจะระบุว่าเรื่องใดที่ทำได้และไม่ก่อให้เกิดความรำคาญ

ส่วนมาตรา 12 สมาชิกส่วนใหญ่ อาทิ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ นายดนัย มีชูเวท นายสมชาย แสวงการ นายเจตน์ ศิรธรานนท์ และนายวัลลภ ตั้งคณานุรักษ์ ขอความชัดเจนของคำว่า การกระทำต่อข้อมูลหรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับ “การบริการสาธารณะ” ว่ามีความหมายอย่างไร รวมทั้งท้วงติงมาตรา 12 วรรคสี่ การทำให้ผู้อื่นตายแต่ไม่ได้เจตนา เป็นการบัญญัติซ้ำกับประมวลกฎหมายอาญาที่มีอยู่หรือไม่ ซึ่งพล.ต.อ.ชัชวาล ชี้แจงว่า การทำให้ผู้อื่นตายแต่ไม่ได้เจตนา ไม่มีการบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ขณะเดียวกับกฎหมายอาญาบัญญัติในเรื่อง การทำร้ายเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ไม่ได้ทำร้ายร่างกายโดยตรง แต่เป็นการทำร้ายต่อระบบจนทำให้คนอื่นตาย ดังนั้น การบัญญัติว่า ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแต่มิได้มีเจตนา จึงไม่ซ้ำซ้อนกับประมวลกฎหมายอาญา

ด้านนางสุรางคณา วายุภาพ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญ ชี้แจงถึงการเพิ่มคำว่า “การบริการสาธารณะ” ว่า ที่เพิ่มคำนี้ เพราะคำว่าโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะนั้นไม่ครอบคลุม
ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น สำนักทะเบียนของกรมการปกครอง บางคนมองว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐาน แต่บางคนบอกไม่เข้าข่าย ฉะนั้นเส้นแบ่งของ 2 คำนี้บางครั้งไม่ชัดเจน จึงทำให้กมธ.เติมคำว่าการบริการสาธารณะเข้าไป เพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้น ทั้งนี้ ไม่กระทบกับเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลทั่วไป

สำหรับมาตรา 14 (1) ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการหลอกลวงหรือทุจริต ปลอม บิดเบือนทั้งหมดหรือบางส่วนข้อมูลคอมพิวเตอร์ นางสุรางคณา กล่าวว่า เจตนารมณ์เดิมของมาตรานี้ตั้งใจเอาผิดกับเรื่องฉ้อโกง ปลอมแปลง แต่การบัญญัติตามพ.ร.บ.คอมพ์ฯ พ.ศ.2550 นั้นทำให้เกิดความเข้าใจผิดและนำไปใช้กับความผิดฐานหมิ่นประมาท ครั้งนี้กมธ.จึงแก้ไขให้ตรงกับเจตนารมณ์ ทั้งนี้ พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าวเสริมว่า มาตราดังกล่าวถือว่ามีความชัดเจน ไม่เกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท

ส่วนในมาตรา 20/1 ให้รัฐมนตรีตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 คน โดยมาจากภาคเอกชน 2 คน และหากเห็นว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลขอให้มีคำสั่งระงับการแพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์นั้น

โดยนายวัลลภ อภิปรายว่า การตั้งคณะกรรมการเพียง 5 คน หากมาประชุมเพียงแค่ 3 คนก็สามารถลงมติได้แล้ว ถามว่าจะให้ 3 คน ตัดสินชีวิตใครคนใดคนหนึ่งใช่หรือไม่ ดังนั้นขอความกรุณา กมธ.ช่วยปรับจำนวนเป็น 7 หรือ 9 คน และเชื่อว่าหากมีที่มาชัดเจนจะช่วยลดแรงต้านของสังคมได้ นอกจากนี้สมาชิกสนช.ยังสอบถามถึงคำจำกัดความ คำนิยมของคำว่า “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” หมายถึงอะไร

พล.ต.อ.ชัชวาลย์ จึงชี้อแจงว่า มาตรา 20/1 บัญญัติว่าข้อมูลอันขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีเป็นเรื่องที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจไปกระทบสิทธิส่วนบุคคล ส่วนความหมายของคำว่า “ขัด
ต่อความสงบเรียบร้อยฯ” และอะไรที่ขัดต่อความสงบฯนั้น ไม่เคยมีการบัญญัติไว้ในกฎหมาย ซึ่งที่ประชุมกมธ.ได้หารือกันแล้ว พบว่าศาลจะมีแนวทางพิจารณาอยู่แล้วว่าเรื่องใดขัดต่อความสงบบ้าง ซึ่งมาตราดังกล่าวศาลจะพิพากษาให้ระงับหรือลบข้อมูลเท่านั้น ไม่มีความผิดใดๆ แต่ถ้าไม่ทำตามที่ศาลสั่งถึงจะมีความผิด

“สำหรับตัวอย่างความผิดตามมาตราดังกล่าว เช่น สอนวิธีการฆ่าตัวตาย วิธีการปล้น หรือวิธีทำอาวุธ ซึ่งไม่ผิดกฎหมาย แต่เมื่อเผยแพร่แล้วถือว่าขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี เป็นต้น”
พล.ต.อ.ชัชวาลย์ กล่าว

ผู้สือข่าวรายงานว่า เมื่อที่ประชุมพิจารณาถึงมาตราดังกล่าว นายพรเพชร ได้สั่งพักการประชุม 30 นาที เพื่อขอให้กมธ.และผู้ที่ติดใจปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าวในเรื่องที่มาและจำนวนของคณะกรรมการกลั่นกรอง จนกระทั่งเปิดประชุมอีกครั้ง พล.ต.อ.ชัชวาลย์ ชี้แจงว่า หลังจากที่หารือแล้ว เห็นว่าการที่มีคณะกรรมการกลั่นกรอง จำนวน 5 คน แม้คำตัดสินจะไม่มีผลต่อการกระทำผิดหรือถูก แต่นำไปสู่การยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งระงับหรือลบข้อมูลดังกล่าวออกไป ซึ่งกมธ.เห็นว่าควรปรับเปลี่ยนจำนวนคณะกรรมการกลั่นกรองจาก 5 เป็น 9 คน และคำตัดสินต้องมีคะแนนเกินครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการกลั่นกรอง หรือ 5 คน นอกจากนี้คุณสมบัติของคณะกรรมการฯ ที่มาจากภาคเอกชน จำนวน 3 คน ให้มาจากด้านสิทธิมนุษยชน ด้านสื่อสารมวลชน และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

สุดท้ายที่ประชุมได้ลงมติเป็นรายมาตราในวาระ 2 และลงมติในวาระ 3 เห็นชอบร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ ด้วยคะแนน 168 ต่อ 0 งดออกเสียง 5 เสียง ประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
------------
ผอ.ไซเบอร์ ทบ. ยัน พ.ร.บ.คอมพ์ช่วยปกป้อง ปชช. จัดการคนผิด พัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล

ผอ.ไซเบอร์ ทบ. เชื่อ สนช. พ.ร.บ.คอมพ์ผ่านวาระ 3 โดยได้ปรับแก้ตามข้อเสนอฯ และมั่นใจไม่กระทบ ปชช.ทั่วไป

วันที่ 16 ธันวาคม 2559 ที่กองบัญชาการกองทัพบก พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์ กองทัพบก (ศซบ.ทบ.) กล่าวถึงกรณีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะมีการพิจารณา พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่…พ.ศ. ….เข้าสู่การพิจารณาวาระ 3 ว่า ทางเจ้าหน้าที่มีความเข้าใจถึงความกังวลต่อร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังเข้าถึงข้อมูลรายละเอียดในร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่น้อยมาก และขาดการประชาสัมพันธ์ชี้แจงทำความเข้าใจแก่ประชาชนจากหน่วยงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในข้อกฎหมายต่างๆ รวมถึงประโยชน์ของประเทศชาติที่จะได้รับจาก พ.ร.บ.ฉบับนี้ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดิจิทัล ตลอดจนประโยชน์ด้านการคุ้มครองและให้ความเป็นธรรม และดูแลปกป้องประชาชนส่วนรวมจนถึงผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ปกติทั่วไป ยกเว้นผู้ที่จงใจฝ่าฝืนในการกระทำความผิดและละเมิดกฎหมายเท่านั้น

พล.ต.ฤทธีกล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าสมาชิก สนช. และกรรมาธิการ (กมธ.) จะรับข้อเสนอและข้อคิดเห็นต่างๆ มาพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนผ่านใน วาระ 3 เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล การจำกัดเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลและการแสดงออกที่ไม่ละเมิดกฎหมาย การกำหนดมาตรการปฏิบัติด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด การตีความข้อกฎหมายต่างๆ การใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมตามข้อทักท้วง เพราะทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน

“ประเด็นแนวคิด มุมมองของฝ่ายความมั่นคง คงจะพิจารณาถึงความจำเป็นในการควบคุมเส้นทางการจราจรทางอินเตอร์เน็ตแบบช่องทางเดียว เพื่อป้องกันและสกัดกั้นข้อมูลและการกระทำที่เป็นภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่มาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งหลายประเทศกำลังถูกโจมตีอย่างหนักอยู่ในขณะนี้ และก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางเศรษฐกิจ ความเชื่อมั่น และความมั่นคงของประเทศ” พล.ต.ฤทธีกล่าว

พล.ต.ฤทธีกล่าวต่อว่า ในทางปฏิบัติ ซิงเกิลเกตเวย์ของไทยคงเป็นเพียงแนวทางการศึกษาตามที่ทางนายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงไปนานแล้ว โดยให้ไปศึกษาดูทั้งในด้านกฎหมายและด้านเทคนิคที่จะรวมเส้นทางอินเตอร์เน็ตจากหลายช่องทางปัจจุบันมาเป็นแบบช่องทางเดียวว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด รวมถึงผลกระทบทั้งด้านการลงทุน ด้านการบริการ ด้านการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และด้านความเชื่อมั่นต่างๆ เมื่อศึกษาแล้ว ก็ต้องนำมาพิจารณาและผ่านขั้นตอนทางกฎหมายแบบ พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาดังกล่าว คงไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะมีหลายขั้นตอน และมีผลกระทบกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดิจิทัลของประเทศ

เมื่อถามว่า มีประเด็นข้อกฎหมายที่มีการทักท้วงและคัดค้านกันอยู่ในหลายประเด็น เช่น เรื่องของการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว มองว่าอย่างไร ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ ทบ.กล่าวว่า ต้องขอชี้แจงทำความเข้าใจแก่ประชาชน ในประเด็นที่ 1.เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจะปิดเว็บไซต์หรือมีอำนาจเข้าถึงข้อมูลได้ทันที แต่ทำโดยคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลฯ ซึ่งมีภาคเอกชนร่วมเป็นกรรมการ 2 ใน 5 คน เพื่อพิจารณาว่าเป็นข้อมูลที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ จากนั้นจึงไปขอความเห็นชอบต่อรัฐมนตรี และพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องไปยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อพิจารณาว่าเป็นข้อมูลที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ ซึ่งศาลก็มีแนวทางในการใช้ดุลพินิจ

พล.ต.ฤทธีกล่าวต่อว่า ประเด็นที่ 2.ข้อมูลที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ ประชาชนโดยทั่วไปในวงกว้าง ไม่ใช่กระทบแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งหากปล่อยให้ข้อมูลดังกล่าวแพร่หลายแล้วจะเกิดความเสียหาย และประเด็นที่ 3 กรณีตาม ม.14 (2) เป็นการขยายถ้อยคำว่าจากกฎหมายเดิมที่บัญญัติเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ แต่ตามในร่างที่แก้ไขเพิ่มรายละเอียดว่า ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศมีเรื่องใดบ้าง เพื่อให้ชัดเจนขึ้น และไม่นำมาใช้กับเรื่องหมิ่นประมาท เมื่อนำข้อมูลอันเป็นเท็จแล้วจะเกิดความเสียหายขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อความมั่นคง เศรษฐกิจ การบริการสาธารณะของประเทศและประชาชนส่วนใหญ่ได้รับความเสียหาย
----------
ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ ทบ.เตือน ปชช. โพสต์-แชร์ ข้อความบิดเบือน พรบ.คอมฯ เข้าข่ายผิด พรบ.คอมฯปี 50 เชื่อ ฝีมือกลุ่มป่วนเดิม ปลุกผี ซิงเกิลเกตเวย์ หาแนวร่วมป่วนเว็บไซต์ราชการ

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พล.ต.ฤทธี อินทราวุธ ผู้อำนวยการศูนย์ไซเบอร์ กองทัพบก กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนบางส่วนโพสต์หรือแชร์ข้อความที่เป็นเท็จในโซเชียลมีเดีย กรณี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์

พ.ศ.2559 ของบางกลุ่มบางบุคคล ว่า จากพฤติกรรมดังกล่าวถือเป็นการกระทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความคึกคะนอง ซึ่งอาจจะเข้าข่ายการกระทำความผิดทางกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 50

เดิม เนื่องจากมีการตรวจพบข้อมูลในโซเชียลมีเดีย มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงทั้งในด้านข้อกฎหมายต่างๆ ที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด โดยเฉพาะประเด็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และ

การนำเอาเรื่องซิงเกิลเกตเวย์ Single Gateway มาผูกโยงกับ ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2559 เพื่อให้เกิดกระแสการคัดค้าน ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่มีปรากฎข้อความเกี่ยวข้องกับเรื่อง Single
Gateway แม้แต่น้อย

พล.ต.ฤทธี กล่าวต่อว่า ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี และรัฐบาลยืนยันมาตลอดว่าไม่มีแนวคิดที่จะดำเนินการ Single Gateway แต่อย่างใด พร้อมทั้งเชื่อว่าเป็นการปลุกกระแสดังกล่าวเป็นพฤติกรรมของคนกลุ่มเดิมที่คัดค้าน และพยายามปลุกผี Single Gateway มาหลอกหลอนประชาชนให้หลงเชื่อและตื่นตระหนก เพื่อดึงเข้ามาเป็นแนวร่วมในขบวนการก่อกวน ป่วนเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการเพื่อเป็นการตอบโต้มติ สนช. ในการผ่านร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งการกระทำของกลุ่มดังกล่าว เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย สร้างความเสียหาย และไม่เกิดประโยชน์ต่อสังคมเลย จึงขอให้หยุดพฤติกรรมการป่วนเว็บไซต์หน่วยราชการของกลุ่มดังกล่าว

“ผมใคร่ขอแนะนำประชาชนที่บริโภคข้อมูลข่าวสารบนโซเชียลมีเดียอย่างมีสติ พึงตระหนักในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แบบฟังหูไว้หู ควรตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงเสียก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นหรือแชร์ข้อมูลใดๆ อ่านดูเฉยๆ ปลอดภัยที่สุด จะได้ไม่หลวมตัวตกเป็นเครื่องมือของคนบางกลุ่ม หากต้องการแสดงความคิดเห็น ควรพิจารณาข้อความที่จะโพสต์ลงไปว่าจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือไปละเมิดกฎหมาย อย่ากระทำไปด้วยอารมณ์ ความคึกคะนอง หรือตามกระแส ” ผอ.ศูนย์ไซเบอร์ ทบ.กล่าว

--------
F5เว็บล่มคุก5ปีปรับ1แสนบาท

รองโฆษก ตร.เตือน ปชช.ต้าน “Single Gateway” กด F5 ทำเว็บล่ม มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน
               16 ธ.ค. 59  จากกรณีเพจ @OpSingleGateway “ พลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway ” ได้มีการนัดหมายผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ร่วมกันแสดงออกในการต่อต้าน ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ในการทำปฏิบัติการ “ F5 for All Thai People ” จนทำให้เว็บไซต์ของรัฐสภา www.parliament.go.th ล่ม ไม่สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ นอกจากนี้เพจดังกล่าวได้นัดปฏิบัติการอีกครั้งในวันที่ 16 ธ.ค. เวลา 14.00 น. ซึ่งเป็นวันที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ วาระ 2 - 3 นั้น

  ล่าสุด เมื่อเวลา 10.30 น. ที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.)  พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. กล่าวว่า มีบุคคลบางกลุ่มพยายามดำเนินการก่อกวน โดยนัดกันไปป่วนเว็บไซต์ของหน่วยงานราชการ จนไม่สามารถเข้าชมได้ เพื่อแสดงการต่อต้านร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ในช่วงเมื่อวานนี้ตามที่ปรากฏตามข่าวนั้น สำหรับผู้ที่เข้าไปกระทำความผิด ที่หลงเชื่อเข้าไปกระทำความผิดนั้นจะมีความผิดตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ในการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดนระงับชะลอขัดขวางหรือถูกรบกวนจนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ มีความผิดจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อีกส่วนคือผู้ยุยงส่งเสริมปลุกปั่นเพื่อให้กลุ่มคนกระทำความผิดจะสุ่มเสี่ยงต่อความผิดมาตรา 116 (3) ฐานยุยงปลุกปั่นเพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี

               “ทั้งนี้ อยากฝากเตือนประชาชนว่า ไม่ควรหลงเชื่อกลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมยุยงปลุกปั่นให้เกิดความเสียหายต่อเว็บไซต์ต่างๆ หากประชาชนต้องการแสดงความไม่เห็นด้วยในกรณีดังกล่าว

มีช่องทางมากมายที่สามารถแสดงความเห็นอยู่แล้ว เช่น ช่องทางการแสดงออกตามกระทู้ต่างๆ หรือการยื่นหนังสือทักท้วง และการลงชื่อร่วมกันเพื่อนำไปยื่นกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ฝ่าย

นิติบัญญัติสามารถออกกฎหมายให้มีความสมบูรณ์ แต่การเข้าไปดำเนินการกดคีย์บอร์ด F5 เพื่อให้เว็บไซต์ต่างๆ ล่มนั้น เป็นการกระทำที่มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน โดยเจ้า

หน้าที่ตำรวจจะเข้าไปตรวจสอบหาผู้กระทำผิด รวมถึงสืบสวนสอบสวนหาเจ้าของเพจที่ยุยงปลุกปั่นดังกล่าวว่าอยู่ในประเทศหรือนอกประเทศก่อนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป”
------------------
สนช.เห็นชอบ ร่าง พรบ.คอมฯ ให้เป็นกฎหมาย ไร้เสียงไม่เห็นชอบในสภา

เมื่อเวลา 15.50น. ของวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติเห็นชอบ ประกาศให้ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เป็นกฎหมาย ด้วยองค์ประชุม 172 ผลการลงมติ 168 เสียงเห็นด้วย ใน

ขณะที่เสียงไม่เห็นด้วยั 0 เสียง แม้ว่าจะมีประชาชนยื่นหนังสือคัดค้านพร้อมรายชื่อ 3 แสนกว่ารายเมื่อ 15 ธันวาคม 2559 ก็ตาม

โดย พรบ.คอมพิวเตอร์ จะมีผลบังคับใช้ใน 120 วันหลังจากประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา

จากการรายงานของเพจ เครือข่ายพลเมืองเน็ต ที่นำรายชื่อผู้ร่วมคัดค้าน พรบ.คอม ผ่านทาง Change.org กว่า 3 แสนราย ได้โพสต์ facebook รายงานว่า “ หลังจากนี้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ

สังคม จะออกประกาศกระทรวงดิจิทัลอีก 5 ฉบับซึ่งเป็นกฎหมายลูกของมาตรา 11, 15, 17/1, 20 และ 20/1 ต่อไป “

ในขณะที่ Hashtag twitter พรบ.คอม มีคนจำนวนมากแสดงความเห็นในประเด็นที่ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงมติเห็นชอบ อย่างกว้างขวาง และทางด้านเพจ พลเมืองต่อต้าน Single Gateway :

Thailand Internet Firewall #opsinglegateway ก็จะมีประกาศแถลงการณ์เตรียมเคลื่อนไหวในเวลา 19.00
---------------

ไม่มีความคิดเห็น: