PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์ข่าว28ม.ค.58

นายกฯ

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ คาดติดตามงานแก้ปัญหา ตั้งคณะทำงานพูดคุยสันติสุข 3 จ.ชายแดนใต้

ความเคลื่อนไหวที่ทำเนียบรัฐบาล ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เดินทางมาที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. ภายใน

ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเป็นประธานการสภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก นายอนุสิษฐ์ คุณากร เลขาธิการ สมช. รวมถึงหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียง

อย่างไรก็ตาม สำหรับวาระการประชุมครั้งนี้ คาดว่าเป็นการหารือเพื่อติดตามสถาการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงติดตามความคืบหน้าการแต่งตั้งคณะทำงานพูดคุยสันติสุขในพื้นที่

จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มี พล.อ.อักษรา เกิดผล ประธานคณะที่ปรึกษากองทัพบก เป็นหัวหน้าคณะพูดคุยของฝ่ายรัฐบาล
-------------
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เผย ผู้แทน IMF ชม รบ.ทำถูกต้องเรื่องภาษีแล้ว ลดความเหลื่อมล้ำ พอใจแผน แนะเร่งลงทุน   

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังผู้แทนกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เข้าพบ ว่า IMF มีความพอใจในแผนการลงทุนของไทยในปีนี้ และแนะนำให้ไทยเร่งลงทุน ซึ่งไทยมีแผนการใช้จ่ายได้ดีกว่าที่ปีผ่านมา ขณะเดียวกัน IMF ทราบว่า ไทยมีการปรับโครงสร้างภาษี โดยระบุว่า ไทยได้ดำเนินการถูกต้องแล้ว โดยเฉพาะในเรื่องของการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตน้ำมัน

ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี ยังระบุว่า นอกจากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแล้ว ยังมีการปรับโครงสร้างในส่วนอื่นๆ ที่เป็นมาตรการในการลดความเหลื่อมล้ำ ส่วนการปรับภาษีขึ้นนั้น เพื่อให้รัฐมีรายได้ที่เพียงพอกับรายจ่าย

นอกจากนี้ สถานการณ์การส่งออกของไทยนั้น ยืนยันว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่แล้ว แต่ที่การส่งออกยังไม่ดีขึ้นนั้น เกิดจากภาพรวมเศรษฐกิจที่มีความอ่อนแอมากกว่าประเทศไทย เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รวมไปถึงจีน ที่เศรษฐกิจชะลอตัวลง ซึ่ง กระทรวงพาณิชย์ ได้เตรียมหาตลาดส่งออกใหม่ๆ เพิ่ม เช่น ตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และแอฟริกา
-----------------------
กต. แถลงยืนยัน สหรัฐ ยังไม่ปรับลดความสัมพันธ์กับไทย แจง ถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" ตามกฎหมายไม่ใช่เรื่องการเมือง คงอัยการศึกเพื่อความเรียบร้อย

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แถลงภายหลังการรือระหว่างนายแพทริค เมอร์ฟี อุปทูตสหรัฐประจำประเทศไทย รักษาการเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย โดยยืนยันว่าสหรัฐไม่ได้ปรับลดความสัมพันธ์กับไทยลง พร้อมได้ชี้แจงถึงการถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายรัฐมนตรี ว่า ไม่ใช่เรื่องของการเมืองแต่เป็กระบวนการตามกฏหมายที่ดำเนินการมาก่อนที่จะเกิดการรัฐประการ

ขณะที่กฏอัยการศึกนั้นชี้แจงว่าภาพรวมคนไทย ไม่รู้สึกว่ามีผลกระทบ ขณะเดียวกันได้ตั้งคำถามว่าหากยกเลิกกฏอัยศึกแล้ว เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นในประเทศใครจะเป็นผู้รับผิดชอบส่วนกรณีที่นายแดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่ากระทรวงต่างประเทศของสหรัฐ ไปปาฐถาและมีการพูดถึงเรื่องการเมืองของประเทศไทยนั้น มองว่าอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาและอาจถูกใช้เป็นประโยชน์ทางการเมืองได้ อย่างไรก็ตามไทยไม่ได้เมินเฉยต่อท่าทีของสหรัฐ แต่ไทยกำลังพยายามก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มีรากฐานมั่นคง
-------------------------
นายกฯ เสียใจ US ไม่เข้าใจกระบวนการ ย้ำถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" เป็นกระบวนการ กม. ระบุ ไปนอกต้องขออนุญาต เตรียมเรียก "สุรพงษ์" รายงานตัว

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวว่า รู้สึกเสียใจ ที่ทางสหรัฐฯ ไม่เข้าใจการทำงานของเรา ซึ่ง ไทยและสหรัฐฯ เป็นมิตรประเทศกันมานาน ทั้งนี้ ได้ให้กระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงทำความเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ของไทย ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ยังเป็นไปอย่างปกติ โดยเฉพาะการค้าการลงทุน และเชื่อว่า ทางสหรัฐฯ สามารถแยกเรื่องการเมืองได้ พร้อมย้ำว่า คดีถอดถอนอดีตนักการเมืองเป็นไปตามกระบวนการปกติ และไม่ได้เป็นการไล่ล่าใคร ทั้งนี้ ได้สั่งให้คดีสำคัญต่างๆ เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติ

ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ระบุว่า หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปต่างประเทศ ก็ให้ทำหนังสือขออนุญาตตามปกติ แต่หากติดคดีอาญา ก็ต้องขึ้นอยู่กับศาลที่จะพิจารณา หากศาลไม่อนุญาต ก็ไม่สามารถออกนอกประเทศได้ ทั้งนี้ นางสาวยิ่งลักษณ์ ยังไม่มีการขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศ แต่อย่างใด

พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ทาง คสช. จะมีการเรียกตัว นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี รวมถึงบุคคลอื่นๆ ที่ออกมาวิจารณ์ข่มขู่รัฐบาลให้มารายงานตัวเพื่อมาพูดคุย ซึ่งหากยังคงออกมาเคลื่อนไหวอีก อาจจะมีมาตรการต่างๆ เพิ่มเติม เช่น การห้ามเดินทางไปต่างประเทศ
-----------------------
สมช.เสนอกรอบแก้ไข-พูดคุยสันติสุข 3 จ.ชายแดนใต้ เชื่อผู้เห็นต่างรู้ข้อมูลดีแล้ว ขอความร่วมมือสื่อ

นายอนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวภายหลังการประชุม สมช. ว่า การประชุมวันนี้ เป็นการวางกรอบแนวทางให้กับหน่วยงานของรัฐในการเข้าไปแก้ไขปัญหาและพูดคุยเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งมีขั้นตอนและกระบวนการที่ชัดเจน ขณะเดียวกัน การทำงานครั้งนี้ ได้ทำแผนขับเคลื่อนที่มีความชัดเจน มีการรับรู้ทั้งมาเลเซีย และไทย ซึ่งเชื่อว่า ผู้ที่เห็นต่างในจังหวัดชายแดนใต้ คงได้รับรู้รับทราบข้อมูลแล้ว ซึ่งทางออกที่ดีที่สุด คือ การพูดคุยกัน

ทั้งนี้ รัฐบาลไม่ได้ทำเพียงแค่การพูดคุย ได้ทำเรื่องการพัฒนา การเข้าถึงประชาชน ร่วมกับ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และส่วนกลาง ก็ร่วมลงไปทำงาน นอกจากนี้ ยังมีหน่วยต่างๆ ที่ลงไปใกล้ชิดในพื้นที่อีก อาทิ สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ก.พ. และ กพน. เป็นต้น

ส่วนการพูดคุยกับทางมาเลเซีย นั้น นายอนุสิษฐ กล่าวว่า ต้องถามทางคณะพูดคุย เชื่อว่าคงวางแผนเตรียมความพร้อมไว้แล้ว แต่ทั้งนี้ อยากให้สื่อมวลชนนำเสนอในเรื่องการพูดคุยสันติสุขด้วยว่า ต่อจากนี้ไป การเข้าหาความสงบสุขเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งคาดหวังว่าทุกกลุ่มจะลงมาช่วยแก้ปัญหา เพื่อประชาชน โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนใต้
------------------
พล.อ.ประวิตร ย้ำถอดถอน "ยิ่งลักษณ์" เป็นเรื่องกระบวนการกฎหมาย ห่วงแตกแยก เรียก "สุรพงษ์" ปรับทัศนคติ

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวก่อนจะเป็นประธานการประชุมสภากลาโหม ถึงกรณีที่ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เตรียมเรียก นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้ารายงานตัว ว่า ต้องดูที่เจตนาการกระทำของ นายสุรพงษ์ ว่าต้องการให้เกิดความแตกแยกขึ้นในสังคมหรือไม่ ถ้าหากเป็นเจตนาที่จะสร้างความแตกแยกก็สมควรที่จะต้องมีการเรียกมาปรับทัศนคติ ส่วนกรณีที่ทางผู้ช่วยรัฐมนตรีสหรัฐอเมริการมองการถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีว่าเป็นเรื่องทางการเมืองมากกว่านั้น พล.อ.ประวิตร กล่าวย้ำว่า เรื่องการถอดถอนนั้นเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

นอกจากนี้ พล.อ.ประวิตร ยังกล่าวถึงกรณีที่ทางสหรัฐอเมริกาต้องการให้ไทยยกเลิกกฎอัยการศึกว่า เป็นเรื่องของประเทศไทย ซึ่งตนเองไม่รู้สึกกดดันหรือกังวลแต่อย่างใด เนื่องจากคนไทยทุกคนเข้าใจและต้องการให้บ้านเมืองเกิดความสงบเรียบร้อย
--------------------
พล.อ.ประวิตร ปธ.ประชุม สภากลาโหม ผบ.เหล่าทัพ เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง เน้นแก้ 3 จ.ใต้

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมสภากลาโหมประจำเดือนมกราคม โดยมี พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม และผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.วรพงษ์ สง่าเนตร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม และสมาชิกสภากลาโหม เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง โดยในวันนี้ มีวาระที่สำคัญคือ การรายงานสรุปสถานการณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการพิจารณากฎหมายระเบียบรองรับการยกระดับจังหวัดทหารบก เป็นมณฑลทหารบก
----------------------
นายกฯ เดินหน้าสร้างสันติสุขใต้ - กำลังเร่งแก้ปัญหายาง หวังชาวสวนยาง อยู่ในความสงบ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. กล่าวถึงความคืบหน้าการพูดคุยสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า ขั้นตอนการพูดคุยกับผู้เห็นต่างจะมี 3 ขั้นตอน คือ 1. การสร้างความไว้วางใจ โดยทางมาเลเซีย เป็นผู้อำนวยความสะดวกโดยประสานกลุ่มผู้เห็นต่าง 2.การลงสัตยาบัน เช่น ข้อตกลงยุติความรุนแรง และแสวงหาทางออก และ 3.ดำเนินการตามโรดแมป เช่น ยุติความรุนแรงในพื้นที่ต่างๆ การพัฒนาลดความเหลื่อมล้ำและอำนวยความยุติธรรม ซึ่งในการพูดคุยระดับขับเคลื่อนจะนำข้อเสนอต่างๆ มาสรุปให้ระดับนโยบายตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดวันพูดคุย เนื่องจากจะต้องรอทางมาเลเซีย ประสานกลุ่มผู้เห็นต่าง ทั้งนี้ ขออย่านำเรื่องดังกล่าวมากดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยยืนยันจะเร่งแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ยุติโดยเร็วที่สุด และไม่ต้องการให้ต่างชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะเป็นเรื่องภายในประเทศ

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกระแสข่าวที่เกษตรกรชาวสวนยาง จะมีการรวมตัวที่จังหวัดตรัง ในวันที่ 30 ม.ค.นี้ว่า ได้สั่งการให้ทาง คสช. ไปติดตามแล้ว ซึ่งไม่กังวลว่าจะมีการมาชุมนุม และเชื่อว่าจะมีความเข้าใจ เนื่องจากที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเต็มที่ เช่น การส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศ จึงขอให้อยู่ในความสงบ เพราะต้องใช้เวลา อย่างไรก็ตาม อยากให้เกษตรกรชาวสวนยางรวมกลุ่มกัน เพื่อให้มีเอกภาพในการเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ
///////////////
กมธ.ยกร่าง

"คำนูณ" FB แจงเหตุผล คงวาระ ป.ป.ช. 9 ปี ต่างจากองค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐอื่น ชี้ เป็น องค์กรกึ่งตุลาการ

นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สปช.) และโฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Kamnoon Sidhisamarn" ในเช้าวันนี้ว่า ไฮไลท์ของการพิจารณาในช่วงค่ำของวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา กมธ.มีฉันทมติให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังคงมีวาระ 9 ปี และอยู่ได้วาระเดียวตามบรรทัดฐานที่วางไว้ตั้งแต่ปี 2540 ไม่ลดลงมาเหลือ 6 ปี เท่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐองค์กรอื่นที่ถูกปรับลดลงมา เพราะ ป.ป.ช. ไม่ใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐแบบองค์กรอื่น แต่เป็น "องค์กรกึ่งตุลาการ" ที่ทำหน้าที่เสมือนการไต่สวนมูลฟ้องในชั้นศาล มีอำนาจโดยเปรียบเทียบแล้วเหนือกว่าอัยการ ดังนั้น การทำคดีในลักษณะ "องค์กรกึ่งตุลาการ" จึงต้องใช้เวลาต่อเนื่อง วาระควรจะยาวกว่าองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ จึงมีฉันทมติบัญญัติไว้ที่ 9 ปีตามเดิม
------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณา กำหนด สัดส่วน เพศ วาระดำรงตำแหน่ง และการสรรหา กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ล่าสุด ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราในภาค 3 นิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาในส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทั้งเรื่องสัดส่วน เพศ และวาระการดำรงตำแหน่ง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของคณะกรรมการสรรหาให้เพิ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนเพิ่มเติม

โดยก่อนหน้านี้ ได้มีการหารือเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งประธานขององค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หลังจากที่มีการกำหนดในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้ดำรงตำแหน่งประธานวาระละ 3 ปี ว่าจะให้องค์กรอื่นๆ ใช้หลักการเดียวกันหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันให้แขวนเรื่องนี้ไว้ก่อน

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้ตั้งอนุกรรมาธิการเพิ่มขึ้น 1 คณะ ไม่เกิน 9 คน เพื่อดูแลเรื่องกฎหมายลูกทั้งหมด โดยจะเชิญผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายโดยตรง เพื่อให้การยกร่างรัฐธรรมนูญรวดเร็วขึ้น
-----------------
กมธ.ยกร่าง พิจารณา เสนอให้ รวม ผู้ตรวจการแผ่นดิน-กรรมการสิทธิ์ เข้าด้วยกัน 

บรรยากาศการประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรมนูญ ล่าสุด ในช่วงบ่าย ยังคงอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราในภาค 3 นิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ หมวด 2 การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในส่วนการทำหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญทั้งหมด โดยสมาชิกส่วนใหญ่ได้เสนอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน ควบรวมทั้งสององค์กรนี้ให้อยู่ที่เดียวกัน เนื่องจากมีการทำงานที่คล้ายกัน และเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งลดงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน

ขณะที่ สมาชิกบางส่วนเสนอให้ไปศึกษาข้อมูลและโครงสร้างของทั้ง 2 องค์กร ให้เห็นถึงข้อดี-ข้อเสียก่อนที่จะควบรวม ว่าจะมีประสิทธิภาพขึ้นกว่าเดิมอย่างไร ทั้งนี้ สมาชิกได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง
------------------
โฆษก กมธ.วิสามัญ วิป สปช. เเถลงปฏิรูป 36 วาระ ยกร่างประกอบรัฐธรรมนูญภายใน 31 ก.ค.

นายวันชัย สอนสิริ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิป สปช.) แถลงว่า ในการประชุมคณะกรรมการสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มี นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ทำหน้าที่ประธาน

โดยที่ประชุมมีมติกำหนดวาระในการปฏิรูปเป็น 36 วาระ วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 7 วาระ โดยวางกรอบการดำเนินการดังนี้ คณะกรรมาธิการฯ ต้องกำหนดกรอบและหลักการในการปฏิรูปเสนอต่อที่ประชุม สปช. ในวันที่ 27 ก.พ. กำหนดหลักการและวิธีการปฏิรูปทั้งหมดภายในวันที่ 10 เม.ย. เพื่อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด และดำเนินการยกร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเสนอภายในวันที่ 31 ก.ค.

ส่วนการประชุม สปช. ในวันจันทร์ที่ 2 ก.พ. นี้ มีการกำหนดวาระเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค หลังจากนั้นจะเปิดอภิปรายทั่วไปในประเด็นจะทำอย่างไรให้กลไกของรัฐให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวกรวดเร็ว ส่วนในอังคารที่ 3 ก.พ. เป็นการเปิดอภิปรายในประเด็นจะทำอย่างไรให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นธรรม
--------------------
นายคำนูณ เผย รธน.ใหม่ อาจควบรวมกรรมการสิทธิ์ฯ เเละ สตง. เข้าด้วยกัน โดย สตง. เเละ ผู้ว่าฯ สตง. เป็นกลางเเละอิสระ 

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงความคืบหน้า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญรายมาตรา ในภาค 3 หลักนิติธรรม ศาล และองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ในเรื่องคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มีการแก้ไข โดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเป็นอิสระและเป็นกลาง

ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินต้องประกอบด้วยประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการอื่น 6 คน รวมทั้งหมด 7 คน ส่วนโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และผู้ตรวจการแผ่นดิน มีการทำงานที่คล้ายกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และลดงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน ที่ประชุมจึงมีมติให้ควบรวมทั้ง 2 องค์กรเข้ารวมกัน พร้อมตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางในการควบรวม จำนวน 5 คน คือ นายปกรณ์ ปรียากร, นายเจษฎ์ โทณะวณิก, นางถวิลวดี บุรีกุล, นางสาวสุภัทรา นาคะผิว และ นางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์
-----------
คำนูณ เผย องค์กรตรวจสอบอำนาจรัฐใน รธน.ใหม่ ต่างจากเดิม 5 ประการ - เตรียมถกการคลังงบประมาณต่อ

นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า องค์กรการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ มีความแตกต่างไปจากเดิม 5 ประการ คือ ผู้ที่ดำรงตำแหน่งในองค์กรการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญต้องยื่นบัญชีรายการแสดงทรัพสินย์และหนี้สินต่อสาธารณชนให้ทราบโดยเร็ว/ มีระบบการสรรหาแบบใหม่โดยประกอบด้วยองค์กรตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ จำนวน 12 คน อาทิ กกต. ป.ป.ช. และ คตง./ มติในการสรรหาต้องมีเสียง 2 ใน 3/ ผู้ที่เคยทำหน้าที่องค์กรการตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญมีหน้าที่การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐไม่มีสิทธิ์เข้ารับการสรรหา และต้องได้รับการประเมินผลจากองค์กรประเมินผลทุกปี

อย่างก็ไรตาม ในวันพรุ่งนี้ (29 ม.ค.) จะมีการพิจารณาในภาค 2 หมวด 5 เรื่องการคลังงบประมาณ ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาเสร็จในวันเดียวอย่างแน่นอน
-------------------
วิษณุ บอกรัฐธรรมนูญยึดตามโรดแมป หากนิรโทษกรรมต้องรอเวลาเหมาะสม ขณะปัดยัดเยียดความผิด ยิ่งลักษณ์ หรือไล่ล่าใคร

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย ให้สัมภาษณ์ภายหลังปาฐกถาพิเศษที่สโมสรทหารบก วิภาวดี ว่า รัฐธรรมนูญใหม่เป็นไปตามโรดแมปของ คสช. ซึ่งขณะนี้การร่างรัฐธรรมนูญคืบหน้าเร็วกว่าที่คิด แต่ในเดือนเมษายนการร่างฉบับเต็มที่จะส่งไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติต้องแล้วเสร็จ และการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ คาดว่า ช่วงกุมภาพันธ์ ปี 2559 หากมีการทำประชามติ ต้องยืดเวลาออกไปอีก ส่วนการนิรโทษกรรมจะทำได้ก็ต่อเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ตอบไม่ได้ว่าเมื่อใด นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงกรณีมติถอดถอน นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งกรณีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ขอย้ำว่าเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ได้เป็นการไล่ล่า หรือยัดเยียดความผิดแต่อย่างใด จึงควรทำความเข้าใจกันใหม่ อีกทั้งหวังว่าจะไม่มีกลุ่มมวลชนออกมาเคลื่อนไหว
------------
พล.ท.กัมปนาท เผย ทราบนายกฯ สั่ง สุรพงษ์ เข้าปรับทัศนคติ หากไม่ให้ความร่วมมือ เตรียมตรวจสอบธุรกรรมการเงิน

พล.ท.กัมปนาท รุดดิษฐ์ แม่ทัพภาคที่ 1 ในฐานะผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย(ผบ.กกล.รส.) กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษา
ความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งการให้ คสช. เชิญ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เข้ามาพูดคุยทำความเข้าใจนั้น ขณะนี้ตนเอง
ได้รับทราบคำสั่งของ พล.อ.ประยุทธ์ แล้ว สำหรับรายละเอียดจะเชิญมาพูดคุยวันใดนั้น ตนเองไม่สามารถเปิดเผยได้ โดยจะมีทีมเจ้าหน้าที่ทหารของกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย เป็นผู้พูดคุย
ส่วนจะถึงขั้นต้องนำเข้าค่ายทหารเพื่อปรับทัศนคติหลายวันหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือ ถ้าให้ความร่วมมือก็ให้กลับบ้านได้ หากไม่ให้ความร่วมมือก็จะมีขั้นตอนต่อไปคือการตรวจสอบ
ธุรกรรมทางการเงิน
////////////////
สนช./ถอดถอน

รัฐบาล เร่งรัด สนช.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอางฉบับใหม่ หลังมีผู้ร้องเรียน มีเครื่องสำอางปลอมระบาดจำนวนมาก

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ มีการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีวาระพิจารณาการออกร่างพระราชบัญญัติเครื่องสำอางฉบับใหม่ โดยยกเลิกเนื้อหาในพระราชบัญญัติฉบับเก่าของปี 2535 ทั้งหมด เนื่องจากมีช่องโหว่ของกฎหมาย ทำให้เกิดปัญหาเครื่องสำอางปลอม และละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งรายละเอียดของกฎหมายล่าสุด จะมีหลักเกณฑ์ให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องขึ้นทะเบียน และมีรายละเอียดการนำเข้า การผลิต และการจัดจำหน่ายที่รัดกุมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลได้เร่งรัดกฎหมายฉบับนี้มายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนจำนวนมาก และทำให้เกิดปัญหาต่อชื่อเสียงของประเทศไทย
------------------
สนช. รอความชัดเจน 38 อดีต ส.ว. แถลงเปิดคดี ทีละคน หรือ ส่งตัวแทนแถลง 3 กลุ่ม ยังไม่สามารถระบุวันลงมติได้

นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่หนึ่ง กล่าวถึงความคืบหน้า การดำเนินกระบวนการถอดถอนอดีตสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 38 คน กรณีร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐรรมนูญ ประเด็นที่มาของ ส.ว. ขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานกับ 38 อดีต ส.ว. ว่า ต้องการจะแถลงเปิดสำนวนคดีทีละคน หรือ จะส่งตัวแทนทำหน้าที่แถลงเปิดคดีในส่วนของข้อหาตนเอง ซึ่งจะมีทั้งสิ้น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลุ่มที่ลงมติ รวมทั้งกลุ่มที่ร่วมลงชื่อและลงมติ โดยกระบวนการพิจารณาคดี อาจจะล่าช้ากว่าคดีที่ผ่านมา เพราะหากผู้ถูกกล่าวหาประสงค์ จะแถลงเปิดคดีครบทุกคน ก็ต้องรอจนคนสุดท้ายแถลงเสร็จสิ้น จึงจะกำหนดวันลงมติได้

ไม่มีความคิดเห็น: