PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

บัวแก้ว แจง มะกัน พูดที่จุฬาฯ แทรกแซงการเมืองไทย ย้ำ อัยการศึก ไม่ทำเดือดร้อน


http://www.matichon.co.th/online/2015/01/14224166611422416671l.jpg


(28/1/58)เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมามีการพบหารือระหว่างนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กับ นายแพทริค เมอร์ฟี่ อุปทูตสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ที่กระทรวงการต่างประเทศ

โดยนายดอน แถลงผลการหารือโดยกล่าวว่า การเชิญมาคุยเพื่อพูดคุยกรณีการเดินทางมาเยือนของ นายเดเนียล รัสเซล ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เพื่อรับทราบร่วมกันว่าการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยกับ สหรัฐฯเป็นไปด้วย ดี ทั้งนี้มีบางเรื่องที่ทางการไทยผิดหวังซึ่งเป็นเสียงสะท้อนของคนไทยที่รู้สึกเกิดบาดแผลจากการมาเยือนดังกล่าวโดยเฉพาะเรื่องการที่นายรัสเซลไปพูดที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะช่วงท้ายที่พูด เป็นการพูดเรื่องการเมือง แทนที่จะใช้โอกาสนั้นพูดเรื่องดีๆโดยเฉพาะเรื่องที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ เพราะการพูดดังกล่าวไม่เกิดประโยชน์จนตกเป็นข่าวที่ไม่ดีงามต่อภาพลักษณ์ประเทศ จึงเป็นเรื่องที่น่าผิดหวังอย่างมาก ถือเป็นการแทรกเเซงการเมืองไทย
ทั้งนี้ตนชี้แจงอีกว่าการถอดถอนนางสาวยิ่งลักษณ์ ไม่ใช่เรื่องทางการเมือง แต่เป็นกระบวนการทางกฏหมาย ถือว่าสหรัฐฯไม่มีความเข้าใจการเมืองไทย โดยมีการพูดคุยเรื่องกฏอัยการศึกนั้น กรณีที่สหรัฐอยากให้ไทยเลิก แต่ในความเป็นจริง คนไทยไม่รับรู้เลยว่ามีกฏอัยการศึก คนไทยส่วนใหญ่รับได้ และไม่มีความกังวล ส่วนคนที่วิตก ก็มีเพียงส่วนน้อย ทั้งนี้หากมีการยกเลิกก็ต้องถามว่าสหรัฐฯจะรับผิดชอบได้หรือไม่ แค่ไหน ยืนยันว่าไทยไม่ได้เมินเฉยข้อเสนอของสหรัฐฯ แต่ไทยกำลังก้าวเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มีศักดิ์ศรีและมีความชัดเจน และสหรัฐฯก็ยังคงดำเนินความสัมพันธ์กับไทยเช่นเดิม เพราะสถานการณ์ในไทย ก็ไม่ได้ทำให้ สังคม เศรษฐกิจของสหรัฐได้รับผลกระทบหรือเดือดร้อนเลย แต่กลับได้รับความร่วมมือที่ดีกว่าเดิมด้วย เพียงแต่สหรัฐฯอาจจะรู้สึกไม่เห็นด้วยเเค่เชิงหลักการ เท่านั้น

นอกจากนี้นายดอนยังตอบคำถามผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ยืนยันว่าการยึดอำนาจในไทยไม่ใช่การรัฐประหารแบบในหลักการ แต่เป็นการปฏิวัติเพื่อเสถียรภาพ หลังการยึดอำนาจทุกประเทศเข้าใจ ทั้งนี้ไทยจำเป็นเข้าสู่การทำให้ประเทศมีความมั่นคง เพื่อทำให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อ

นอกจากนี้ ยืนยันว่าไทยยังคงให้ความร่วมมือและพัฒนาความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ ต่อไป ทั้งยังฝากกรณีที่นายกรัฐมนตรีไทยจะไปเยือนสหรัฐฯบนเวทีสหประชาชาติ ว่าน่าจะมีกิจกรรมที่นายกรัฐมนตรีไทยจะสามารถทำอะไรได้บ้าง

ไม่มีความคิดเห็น: