PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

ระวัง! ฝรั่งใช้เงินเก๊แทนเงินจริง

ระวัง! ฝรั่งใช้เงินเก๊แทนเงินจริง
โดย สิริอัญญา
วันพุธที่ 28 มกราคม 2558
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เรียกประชุมผู้เกี่ยวข้องกับการเงินของประเทศเพื่อเตรียมรับมือกับเงินสกุลต่างประเทศบางสกุล โดยเฉพาะดอลลาร์ เยน และยูโร ที่อาจจะไหลบ่าเข้าท่วมประเทศไทย
ต้องขอสดุดีว่าเป็นการตื่นตัวและเตรียมรับมือกับสถานการณ์ได้อย่างฉับพลันทันด่วน แทนที่จะปล่อยให้บรรดา “นักการเงิน” เล่นเกมการเงินจนประเทศล่มจม ประชาชนพินาศ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2540
และเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศจะต้องตื่นตัวทั่วพร้อม ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด สนับสนุนการเตรียมการทั้งปวงของรัฐบาลอย่างเอาการเอางาน และลงมือปฏิบัติการในทิศทางที่รัฐบาลกำหนด ก็จะรักษาบ้านเมืองและระบบการเงินของประเทศเอาไว้ได้อย่างแน่นอน
ก็ต้องทำความเข้าใจในสิ่งที่เรียกว่า QE เสียก่อน และจะเข้าใจได้ง่ายที่สุดถ้าเข้าใจว่า QE ก็คือเงินกงเต๊กชนิดหนึ่งนั่นเอง
สหรัฐอเมริกาได้ใช้มาตรการ QE เป็นครั้งแรก อันเป็นผลเนื่องมาจากสหรัฐอเมริกากำลังเป็นประเทศหนี้สินล้นพ้นตัว ชาวอเมริกันก็มีหนี้สินล้นพ้นตัว เฉพาะประเทศเองมีหนี้สินมากมายมหาศาล จนไม่สามารถชำระหนี้ได้ แม้กระทั่งดอกเบี้ยที่จะพึงจ่ายให้กับหนี้ก้อนมหาศาลนั้นก็ไม่สามารถชำระได้แล้ว
เป็นเหตุให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาต้องออกพันธบัตรที่ไม่มีดอกเบี้ยมาค้ำจุนและใช้มาตรการทางการเมืองและการทหารบังคับกดดันเพื่อการขายพันธบัตรเหล่านั้น แต่ในที่สุดก็มาถึงจุดที่ขายไม่ได้
เมื่อจะชำระหนี้ก็ไม่ได้ แค่ดอกเบี้ยของหนี้ก็ไม่สามารถชำระได้ และไม่สามารถกู้ยืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ยมาแปลงหนี้ใหม่ได้อีก จึงมีการใช้มาตรการพิสดารที่เรียกว่า QE นั่นคือการพิมพ์ธนบัตรนอกเหนือกฎเกณฑ์ที่จะพิมพ์ได้ตามกฎหมายว่าด้วยการเงินการคลัง และโดยไม่มีทองคำหรือเงินตราต่างประเทศค้ำจุนหนุนหลังเลย
ตราสารที่ออกมานี้ก็เพื่อการชำระหนี้ที่เป็นหนี้อยู่แต่เดิม และใช้ในการจับจ่ายใช้สอยประจำวัน ประจำเดือน ประจำปีด้วย ดังนั้น QE จึงเป็นเงินกงเต๊กที่ออกมาเพื่อซื้อหาสินค้าและบริการรวมทั้งชำระหนี้ มีสภาพเหมือนกันกับเงินที่ญี่ปุ่นพิมพ์ขึ้นใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และพอสิ้นสงครามก็ต้องเอาไปเผาแทนเงินกงเต๊ก
สหรัฐอเมริกาออก QE มากมายมหาศาล ญี่ปุ่นซึ่งตกอยู่ในสภาพร่วมหัวจมท้ายกับสหรัฐก็เอาตาม และลุกลามไปถึงสหภาพยุโรป
ดังนั้นเมื่อเงินกงเต๊กออกมามากจึงไหลท่วมบ่าไปยังประเทศต่าง ๆ แต่เพราะเงินดังกล่าวมีฐานะเป็นแค่เงินกงเต๊ก จึงอ่อนค่าลง แล้วฉุดเอาเงินสกุลอื่นที่ผูกมัดติดตรึงกันอยู่กับเงินสกุลนั้น ๆ ให้แข็งค่าขึ้น
เพราะคนทั้งหลายไม่มีใครอยากได้เงินกงเต๊ก ต่างพากันไปถือเงินจริงจนทำให้เงินจริงแข็งค่าจนเกินจริง ดังเช่นที่สวิสเซอร์แลนด์ ชาวยุโรปแห่กันไปเอาเงินกงเต๊กไปแลกเอาเงินของสวิสเซอร์แลนด์ จนไม่อาจรองรับได้ไหว ในที่สุดธนาคารกลางของสวิสเซอร์แลนด์ก็ต้องลอยตัวและทำให้สกุลเงินของประเทศที่เกี่ยวข้องทรุดหนักลงไปอีก
ประเทศไทยของเรามีเงินบาทเป็นสกุลเงินที่ใช้สอย จะดีจะร้ายอย่างไรก็เป็นเงินจริง เพราะมีทั้งทองคำ และเงินตราต่างประเทศเป็นประกันค้ำจุนหนุนหลังอยู่ ดังนั้นจึงเป็นเป้าหมายที่จะมีการเงินกงเต๊กมาแลกเงินบาทด้วยวิธีการต่าง ๆ มากหลาย ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นโดยลำดับ
อะไรที่แข็งนั้นคนมักจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องดี แต่สำหรับค่าเงินแล้วหากแข็งค่าผิดปกติก็อาจจะทำให้ชาติล่มจมได้ เพราะอย่างเบาที่สุด
สินค้าส่งออกและการท่องเที่ยวของประเทศพังพินาศหมด เพราะเมื่อเงินบาทแข็ง สินค้าไทยก็แพง การท่องเที่ยวไทยก็แพง จะกระชากเอาระบบเศรษฐกิจของประเทศพังครืนลงไปอย่างง่ายดาย
หาก “นักการเงิน” กระทำการบัดซบเหมือนที่เคยทำกับประเทศเมื่อปี 2540 เข้าแทรกแซงพยุงค่าเงินบาทให้ผิดจากธรรมชาติ ก็จะซ้ำรอยปี 2540 เพราะเมื่อถึงจุดหนึ่งเงินที่เข้าแทรกแซงก็จะผลาญเอาเงินสำรองของประเทศจนหมดสิ้น เงินบาทก็จะกลายเป็นเงินกงเต๊กด้วย จากนั้นก็จะถูกทุบค่าเงินบาทจนพินาศวายวอดเหมือนเมื่อปี 2540
คสช. และรัฐบาลนี้ไม่ได้โง่เง่าเต่าตุ่นและไม่ได้หูหนวกตาบอดเหมือนนักการเมือง จึงรู้ทันเกมทันกล รู้ผล รู้เหตุ ที่กำลังจะเกิดเป็นเพศภัยแก่ชาติบ้านเมืองและประชาชน ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงได้เรียกประชุมเตรียมการรับมือในเรื่องนี้อย่างฉับพลันทันด่วนในเรื่องนี้อย่างทันท่วงที
ก็ได้แต่วาดหวังว่า “นักการเงิน” ที่เกี่ยวข้องจะไม่แทรกแซงค่าเงินบาททำความผิดพลาดซ้ำรอยปี 2540 เพราะในบัดนี้เงินบาทไม่ได้ผูกติดอยู่กับเงินดอลลาร์สหรัฐเหมือนอดีต แต่ได้มีการลอยตัวค่าเงินบาท มาตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 แล้ว
ดังนั้นถ้ามีไอ้โม่งคนไหนกระทำการซ้ำรอยปี 2540 ก็ต้องรับผิดชอบ เช่นเดียวกับอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยท่านหนึ่ง แต่ความรับผิดชอบลม ๆ แบบนั้นไม่สามารถกอบกู้สถานการณ์ได้ หากจำเป็นก็อาจต้องใช้อำนาจพิเศษเพื่อหยุดยั้งการแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ซ้ำรอยปี 2540 อีก.

ไม่มีความคิดเห็น: