PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

คืนความเป็นธรรมให้ชาวเลราไวย์

"..ขณะนี้ที่ดินบางแปลงถูกขายไปแล้วหลายทอด แต่ทั้งหมดหากยืนบนหลักการว่าชาวบ้านถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ควรคืนความเป็นธรรมให้พวกเขา ส่วนคนที่ซื้อที่ดินรายต่อๆมากรัฐก็ควรเยียวยากันไป.."
12654510 1038055409571077 1665235370964969222 n
"จากการศึกษาบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และผู้อาวุโสอายุกว่า 80 ปี มีข้อมูลที่รับฟังเกี่ยวกับการครอบครองเอกสารสิทธิ์ที่ได้นได้ว่า เดิมพื้นที่ชุมชนที่ศึกษามีขอบเขตจากสะพานราไวย์ยาวตามชายฝั่งถึงแหลม ระยะทางราว 2 กิโลเมตร ความกว้างลึกเข้าไป 1 กิโลเมตร
"มีเฉพาะชุมชนชาวเล เมื่อชาวเลจับสัตว์น้ำได้ก็จะนำไปแลกข้าวสารและของใช้ที่ร้านค้าซึ่งห่างออกไปราว 5 กิโลเมตร
"ต่อมาปี 2495 มีนายล.ซึ่งเป็นคนนครศรีธรรมราช มาตั้งบ้านเรือนระหว่างชุมชนกับร้านค้า เห็นชาวบ้านแลกของเป็นประจำ ในราวปี 2497 นายล.จึงมาตั้งร้านค้าใกล้ชุมชน
"ต่อมานายล.ได้เป็นกำนันและมีลูกชื่อนางลล. ซึ่งช่วงที่ทางราชการได้ให้แจ้งการเข้าครอบครองที่ดิน ก็ได้ไปขอออกสค.1 จำนวน 4 ไร่ และในปี 2505 นางลล.ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในชุมชน
"หลังจากนั้นนางลล.ได้นำที่ดินออกเป็นน.ส.3 เนื้อที่กว่า 7 ไร่ "
ผมคัดลอกบางตอน ซึ่งเป็นที่มาที่ไปของเรื่องราวความไม่เป็นธรรมในชุมชนชาวเลหาดราไวย์มาจากงานวิจัยที่สำคัญชิ้นหนึ่งเรื่อง "ความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมคดีที่ดินราษฏรยากจน" ซึ่งม.ร.ว.อคิน รพีพัฒน์ เป็นหัวหน้าคณะวิจัย และมีดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์และดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ เป็นนักวิจัย (ดาวโหลดได้ที่http://transbordernews.in.th/home/?p=4814 โดยเรื่องชาวราไวย์อยู่หน้า 53-73)
ทั้งหมดเป็นรากเหง้าและปฐมเหตุของการเกิดเผชิญหน้าระหว่างผู้อ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาดราไวย์และชาวเลเจ้าของพื้นที่เดิม จนกระทั่งต้องเลือดตกยากออก
ขณะนี้ที่ดินบางแปลงถูกขายไปแล้วหลายทอด แต่ทั้งหมดหากยืนบนหลักการว่าชาวบ้านถูกเอารัดเอาเปรียบและไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็ควรคืนความเป็นธรรมให้พวกเขา ส่วนคนที่ซื้อที่ดินรายต่อๆมากรัฐก็ควรเยียวยากันไป
ที่สำคัญคือต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนว่ากระบวนการออกเอกสารสิทธิ์ครั้งนี้ใครมีส่วนร่วมบ้าง
ขณะนี้ที่ดินแปลงที่ชุมชนราไวย์อาศัยอยู่ ดีเอสไอได้ตรวจสอบเสร็จแล้วโดยหลักนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการขุดกระดูบรรพบุรุษชาวเลมาพิสูจน์ถึงความเป็นเจ้าของที่ดินและเห็นว่าที่ดินผืนนี้เป็นที่ดินดั้งเดิมของชาวเลอยู่มาก่อนที่จะมีการออกเอกสารสิทธิ์
ดังนั้นกรมที่ดินจึงควรเพิกถอนโฉนด
แต่ขณะนี้กรมที่ดินยังไม่ทำหน้าที่ของตัวเองเพราะไม่ค่อยยอมรับความผิดพลาด ซึ่งเป็นพฤติกรรมเคยชินที่เป็นมานาน และชาวบ้านหลายที่ต้องเผชิญอยู่
วันนี้ทางการควรรีบเข้าไปแก้ปัญหาและคืนความเป็นธรรมให้ชาวลในชุมชนราไวย์ได้แล้วครับ
เพราะพยานหลักฐานและผลการตรวจสอบมีอยู่หลายสำนักและยืนยันตรงกันว่า
"ชาวเลคือเจ้าของที่ดินดั้งเดิม ณ หาดราไวย์"
---------------
หมายเหตุ-ภาพแผนที่จากมูลนิธิชุมชนไท

ไม่มีความคิดเห็น: