PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ประยุทธถามปชป.จี้ถอดยศทักษิณตอนอยู่ทำไมไม่ทำล่ะ..


Siriwanna Jill

ลุงตู่ปล่อยหมัดเด็ด ตั้งคำถาม พรรคสีฟ้า ว่ากดดัน คสช. ให้ถอดยศ และ ยึดเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตอนเป็นรัฐบาลทำไมไม่ทำ ...... 

นั่นซินะ พี่มาร์ค ใจปลาซิว ไม่กล้าทำ ขนาดว่า สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา มีหนังสือยืนยัน ตรงกันถึง 2 รอบ ชุดแรก แจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่อง แนวทางการขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาต ถอดยศตำรวจ และเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สืบเนื่องมาจาก ทักษิณ ถูก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีคำพิพากษาเมื่อ 21 ต.ค. 51 ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่า เมื่อ ทักษิณ ต้องคำพิพากษา ถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก ไม่ว่าเป็นคำพิพากษา ของศาลใด ย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ให้ถอดยศ พ.ต.ท. ของ ทักษิณได้ รวมไปถึงการเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย การขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พ.ศ. 2548

ต่อมา คณะกรรมการกฤษฎีกา ชุดที่ 2 ความเห็นเหมือนเดิมว่า การกำหนดเหตุแห่งการถอดยศ มุ่งหมายถึงผล ที่ผู้นั้นได้รับจากคำพิพากษาถึงที่สุด ให้ลงโทษจำคุกเท่านั้น โดยไม่ได้มุ่งหมายถึงสถานะของบุคคล กระบวนการพิจารณา พิพากษาคดี หรือฐานความผิดว่า จะต้องเป็นไปตามกฎหมายใด ดังนั้น ถ้าข้าราชการตำรวจผู้ใด มีกรณีต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าเป็นคำพิพากษาของศาลใด ย่อมอยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ 1(2) แห่งระเบียบ สตช.ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ.2547
ส่วนกรณีที่มีการคัดค้านว่า ทักษิณมิได้รับราชการใน สตช.แล้วนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา ยืนยันว่า ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งยศตำรวจ ข้าราชการตำรวจ แม้ว่าจะพ้นจากราชการไปแล้ว ก็ยังสามารถ ใช้ยศตำรวจต่อไปได้ จนกว่าจะถูกถอดออกจากยศ ซึ่งการถอดยศตำรวจนั้น ส่วนมาตรา 28 บัญญัติให้การถอด หรือการออกจากยศตำรวจ ชั้นสัญญาบัตรเป็นไปตามระเบียบ สตช. และให้ทำโดยประกาศ พระบรมราชโองการ จึงเห็นได้ว่าการถอด หรือการออกจากยศตำรวจ เป็นการดำเนินการ ให้ผู้ที่ยังใช้ยศตำรวจอยู่ ไม่มีสิทธิใช้ยศตำรวจอีกต่อไป ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นข้าราชการตำรวจ หรือไม่ก็ตาม
การออกระเบียบ สตช.ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 เป็นการกำหนดขั้นตอน วิธีการให้ข้าราชการของ สตช.ที่มีหน้าที่ปฏิบัติ เช่น กองวินัยหรือกองกำลังพล ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งถือเป็นการกำหนดกระบวนการ ที่ใช้ภายใน สตช. สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเดิม ที่เคยดำเนินการตามข้อบังคับที่ 4/2499 เรื่อง วางระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ตามพระราชบัญญัติยศตำรวจ พ.ศ.2480 ต่อมา เมื่อได้ยกเลิกกฎหมายว่า ด้วยยศตำรวจ และใช้พ.ร.บ. ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 แทน จึงมีการออกระเบียบ สตช. ว่าด้วยการถอดยศตำรวจ พ.ศ. 2547 ขึ้นใช้แทน ดังนั้น การดำเนินการของ สตช. จึงไม่ถือเป็นการใช้อำนาจเกิน ขอบเขตที่กฎหมายกำหนด


ไม่มีความคิดเห็น: