PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

อภิมหาโปรเจคท์ พ.ร.บ. เงินกู้ 2.2 ล้านล้าน รัฐบาลจะนำไปใช้อะไรบ้าง

         สภาผู้แทนราษฎร จะมีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.เงินกู้2.2 ล้านล้านบาทที่รัฐบาลจะนำร่างเข้าสู่สภาเพื่อพิจารณากันต่อไป แต่ร่างพ.ร.บ.นี้ก็กำลังถูกหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์กันไปต่างๆนานา โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความเหมาะสมและการคอรัปชั่นที่อาจจะเกิดขึ้นตามมา

         การกู้เงินจำนวนมหาศาล 2.2 ล้านล้านบาทครั้งนี้ จะทำให้การใช้หนี้คืนต้องใช้เวลานานมากอาจจะเป็นเวลาถึง 50 ปี หรือ 100 ปีก็ได้ จึงเป็นผลกระทบต่อทั้งตัวเราและลูกหลานของเราอีกด้วยซึ่งในเรื่องของความเหมาะสมโดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงนั้น ฝ่ายค้านชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าโครงการนี้จะไม่ได้ผลดีตามที่คาดหวัง เพราะโครงการไม่ต่อเชื่อมกับรางของต่างประเทศแต่อย่างไร เป็นการเสี่ยงต่อการล้มเหลวเพราะกิจการอาจจะขาดทุนอย่างบักโกรกเสียอีกด้วยซ้ำไป ซึ่งจะตกเป็นภาระให้ประชาชนไทยรุ่นต่อๆไปต้องรับกรรมอย่างไม่รู้อิโหน่อิเหน่ไปตามกัน นอกเหนือจากการที่มีช่องทางทุจริตกันอย่างขนานใหญ่อีกด้วย
         อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ฝ่ายค้านโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะผู้นำฝ่ายค้านก็ยอมรับบนเวทีผ่าความจริงแล้วว่า ฝ่ายค้านไม่สามารถต้านการออกพ.ร.บ.นี้ได้อย่างแน่นอน เพราะถึงอย่างไรรัฐบาลก็จะใช้เสียงข้างมากในสภาเอาชนะจนได้ ดังนั้น นายอภิสิทธิ์จึงเอ่ยปากขอร้องให้ประชาชนช่วยกันออกมาต่อต้านการออกพ.ร.บ.นี้ด้วย แต่เสียงชักชวนของนายอภิสิทธิ์ก็ดูเหมือนจะยังไม่ทั่วถึงประชาชนสักเท่าไรเลย
         สำหรับการชี้แจงของรัฐบาลนั้น ได้จัดนิทัศน์การไปแล้ว ดังที่ผมคัดลอกมาจากเว็บไซต์Kapook.com เพื่อให้ทุกท่านได้อ่านแล้วใช้วิจารณญาณพิจารณากันคร่าวๆอีกด้านหนึ่งก่อนครับ หากเห็นว่ารัฐบาลยังชี้แจงไม่ละเอียดพอก็ช่วยกันคัดค้านด้วยก็แล้วกัน เพราะขณะนี้รัฐบาลก็ยังมิได้ทำประชาพิจารณ์แต่อย่างใด ในขณะเดียวกันยังไม่มีรายละเอียดของโครงการอย่างเพียงพอนอีกด้วย
         อย่าลืมว่าเมื่อรัฐบาลลงมือกู้แล้วแต่ยังไม่ลงมือทำอะไร ดอกเบี้ยมันก็จะเบ่งบานขึ้นมาด้วยแล้วนะครับ.


อภิมหาโปรเจคท์ พ.ร.บ. เงินกู้ 2.2 ล้านล้าน รัฐบาลจะนำไปใช้อะไรบ้าง

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


**
             เปิดฉากอย่างยิ่งใหญ่อลังการสำหรับนิทรรศการ "THAILAND 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก การลงทุนของประชาชน...เพื่อประชาชน" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-12 มีนาคม 2556 ณ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ในวงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท แผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ รวมไปถึงการบริหารจัดการโครงการเครือข่ายต่าง ๆ

             ทั้งนี้ ทางหลายคนคงอยากทราบว่า วงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท ของ พ.ร.บ. กู้เงินเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้น ทางรัฐบาลจะนำเงินในส่วนนี้ ไปใช้จ่ายเรื่องใดบ้าง โดยวันนี้เราได้นำข้อมูลจาก กระทรวงคมนาคม ที่ได้แจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการที่จะดำเนินการในวงเงิน 2.2 ล้านล้านบาท มาให้ได้ทราบกัน

             รายละเอียดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ หรือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระยะยาว 7 ปี (ปี 2556-2563) กระทรวงคมนาคม ได้กำหนดภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการประกอบด้วย 3 ด้านสำคัญ ดังนี้

 ด้านที่ 1 : การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งทางบกเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศและเพื่อนบ้าน แบ่งออกเป็น 3 โครงข่าย คือ

โครงข่ายถนน
**

             เร่งพัฒนาระบบขนส่งทางถนน อาทิ เร่งสร้างโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) อีก 5 สายทาง คือ

             บางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา
             บางปะอิน-นครสวรรค์
             บางใหญ่-นครปฐม-กาญจนบุรี
             นครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ
             ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด

            รวมไปถึงการก่อสร้างทางหลวงสายหลักเชื่อมโยงเมืองหลักในภูมิภาค ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินทางและขนส่งสินค้า




โครงข่ายรถไฟ
**

             เร่งเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งทางราง ตามแผนการลงทุนระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2553-2558 ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาให้ระบบรถไฟเป็นระบบหลักในการขนส่งสินค้า ระหว่างพื้นที่ผลิตภายในประเทศกับท่าเรือแหลมฉบัง และพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่าย, รูปแบบการขนส่ง เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
 
             รวมไปถึงโครงการจัดทำระบบรถไฟรางคู่ และรถไฟสายใหม่ คือ
    
              บ้านไผ่-มหาสารคาม-มุกดาหาร
              อรัญประเทศ-ปอยเปต
              ท่าเรือฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน

             นอกจากนี้ ยังเตรียมการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาค

โครงข่ายขนส่งมวลชน
**

           โครงข่ายนี้จะเน้นเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยจะเร่งปรับปรุงให้ครอบคลุมพื้นที่บริการเพิ่มขึ้น และสอดคล้องกับการขยายตัวของเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน

 ด้านที่ 2 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางอากาศ

            เร่งขยายขีดความสามารถและคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ให้ทันสมัย สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นจากปีละ 45 ล้านคน เป็น 60 ล้านคน ตามโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2




 ด้านที่ 3 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งทางน้ำภายในประเทศและเป็นประตูการขนส่งของอนุภูมิภาค

           เร่งพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นประตูการขนส่งสู่ท่าเรือหลักต่าง ๆ ของโลก และเป็นส่วนหนึ่งของท่าเรือหลักในภูมิภาคอาเซียน  รวมถึงพัฒนาระบบขนส่งชายฝั่งเชื่อมโยงกับท่าเรือแหลมฉบัง และการสร้างท่าเรือใหม่ในฝั่งอันดามัน เพื่อรองรับการค้ากับอินเดีย, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา และยุโรป เช่น ท่าเทียบเรือชายฝั่ง ท่าเรือชุมพร ท่าเรือน้ำลึกสงขลา และการศึกษาก่อสร้างท่าเรือปากบารา

      

สำหรับกรอบแผนการลงทุนเบื้องต้นนั้น ทางกระทรวงคมนาคมได้แบ่งออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน ประกอบด้วย


1. ทางราง สัดส่วน 82.5 % ราว 1.6 ล้านล้านบาท

        โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการเดิมที่ได้ประกาศไว้กับรัฐสภา 4 เส้นทาง คือ ไฮสปีดเทรน รวมทั้งรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ส่วนรถไฟรางคู่ ได้เพิ่มเส้นทางใหม่ เช่น เส้นทาง เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ, บ้านภาชี-นครหลวง, บ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม



         สำหรับ รถไฟฟ้า 10 เส้นทาง มีดังต่อไปนี้

          1.รถไฟสายชานเมืองสายสีแดงเข้ม (ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต – มหาชัย)  
          2. รถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา - หัวหมาก)
          3. Airport Rail Link (สนามบินดอนเมือง – สนามบินสุวรรณภูมิ)
          4. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (ลำลูกกา - บางปู)
          5. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (ยศเส - บางหว้า)
          6. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ – หัวลำโพง, ท่าพระ -  พุทธมณฑล สาย 4)
          7. รถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ - ราษฎร์บูรณะ)
          8. รถไฟฟ้าสายสีส้ม (จรัญสนิทวงศ์ - มีนบุรี)
          9. รถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย - มีนบุรี)
         10. รถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว - สำโรง)

2. ทางถนน สัดส่วน 15% ราว 3.2 แสนล้านบาท

        ทางรัฐบาลจะปรับยุทธศาสตร์ให้เน้นขยายถนน 4 ช่องทางในสายทางหลัก ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดและภูมิภาคต่าง ๆ 

3. ทางน้ำ สัดส่วน 1.5 % ราว 2.2 หมื่นล้านบาท

        เตรียมสร้างท่าเรือเพิ่ม 3 แห่ง คือ ท่าเรือสงขลา, ท่าเรือชุมพร และท่าเรือปากบารา

 4. ทางอากาศ (ลงทุนโดยบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด มหาชน)

 5. ส่วนอื่น ๆ สัดส่วน 1%

        เป็นตั้งงบไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด นอกจากนี้เงินจำนวนดังกล่าว ยังเตรียมสร้างศูนย์กระจายสินค้าเพิ่ม 15 แห่งทั่วประเทศ และด่านศุลกากร อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: