PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

5 คำถาม ในความคลางแคลงใจต่อ มติ ปปช.!!!


ผมเห็นว่ามติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. ในคดี 381 สส.-สว. ร่วมกัจกระทำการมิชอบให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มา สว. โดยปปช.ได้แจ้งข้อกล่าวหา 308 สส.-สว.และไม่แจ้งข้อกล่าว 73 คนรวมนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรด้วย โดยอ้างว่าทั้ง 73 คนไม่มีเจตนาและร่วมโหวตเฉพาะวาระ 3 เท่านั้น

มติของ ปปช.ครั้งนี้มีข้อน่าสงสัยอย่างน้อย 5 ประการ คือ

ประการแรก ถ้า ปปช.จะใช้การโหวตร่างแก้ไข รธน.ในแต่ละวาระมาเป็นเกณฑ์ กำหนดความผิดเพื่อแจ้งข้อกล่าวหานั้น ใช้หลักคิดอะไรมาจำแนกว่าผู้เสนอญัตติและโหวตวาระ 1 มีเจตนากระทำผิด ในขณะที่ผู้โหวตเฉพาะวาระ 3 ไม่มีเจตนาและได้เอกสิทธิ์คุ้มครอง

ประการที่สอง แม้ สส.-สว.บางคนจะโหวตแค่ขั้นตอนวาระ 3 ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีเจตนากระทำผิด เพราะคนที่จะลงมติวาระ 3 จะตัองไตร่ตรอง วิเคราะห์ผลดีผลเสียของการอภิปรายในวาระที่ 1 และการแปญัตติในวาระที่ 2 มาก่อนแล้ว ที่สำคัญผู้ลงมติวาระ 3 เป็นผู้ตัดสินชี้ขาดว่าร่าง พรบ. หรือญัตตินั้นจะผ่านสภาเป็นกฎหมายได้หรือไม่

ประการที่สาม คำวินิจฉัยศาล รธน. ชี้ชัดว่า การแก้ รธน.ที่มา สว.ผิดทั้งเนื้อหาและกระบวนการ การยกประโยชน์ให้คนโหวตวาระ3 นั้น ถือว่ามติ ปปช.ครั้งนี้ปฏิเสธคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเป็นการขยายความคำวินิจฉัยจนเบี่ยงเบนออกไปจากสาระสำคัญของคำวินิจฉัยหรือไม่ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ชัดเจนว่าคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญผูกพันทุกองค์กรรวมทั้ง ปปช.ด้วย

ประการที่สี่ มติ ปปช.ครั้งนี้จะทำให้เกิดบรรทัดฐานที่ไม่ดีต่อกระบวนการนิติบัญญัติหรือการพิจารณาร่างกฎหมายในอนาคต ที่อาจทำให้ สส.-สว. ใช้ไปเป็นเครื่องมือในการทำนิติกรรมอำพราง หรือเกิดการฉ้อฉลทางกระบวนการนิติบัญญัติเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบได้

ประการที่ห้า ถ้า ปปช.จะใช้หลักเกณฑ์การลงมติแต่ละวาระเพ่ือกำหนดฐานความผิด สส.-สว.ก็ไม่เห็นจำเป็นต้องปล่อยให้เรื่องล่าช้ามาจนขนาดนี้...


ไม่มีความคิดเห็น: