PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

สื่อจีนตีข่าว ไทย-จีนลงนามข้อตกลงขุดคอคอดกระแล้ว(รอเฟิร์ม)

(ยังเป็นเพียงการเสนอข่าวจากสื่อจีนเพียงด้านเดียวครับ อาจเป็นเพียงแค่ข่าวลือ)
สื่อจีนตีข่าว ไทย-จีนลงนามข้อตกลงขุดคอคอดกระแล้ว
จีน - ไทย ลงนามในบันทึกความเข้าใจ ที่จะขุดคอคอดกระผ่านภาคใต้ของไทย ย่นระยะเวลาการเดินเรือผ่านช่องแคบมะละกา

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 เว็บไซต์วอนท์ไชน่าไทมส์ รายงานว่า ประเทศจีนและไทย ได้ลงนามกันในบันทึกความเข้าใจที่เมืองกวางโจว เกี่ยวกับการขุดคอคอดกระทางภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดในคาบสมุทรมาเลย์ และทำให้โปรเจคท์นี้ที่ถูกเก็บเอาไว้นานนี้ จะเริ่มการก่อสร้างเร็ว ๆ นี้ จากการรายงานของเว็บไซต์ Oriental Daily สื่อในฮ่องกง

จากการวิจัยและพูดคุยด้านการลงทุนร่วมในเมืองกวางโจวนั้น คาดว่าอาจต้องใช้เวลาในการก่อสร้างคอคอดกระประมาณ 10 ปีและมีงบประมาณกว่า 28,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 9.3 แสนล้านบาท) หากโปรเจคท์นี้สำเร็จ นั่นก็หมายความว่า เรือขนส่งน้ำมันและเรือขนสินค้าจะสามารถเดินทางจากตะวันออกกลางสู่จีนได้ทันที โดยที่ไม่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา

ข้อตกลงดังกล่าว เกิดจากความพยายามของจีน ที่จะบุกเบิกเส้นทางสายไหมแห่งใหม่ขึ้น ซึ่งถือเป็นโปรเจคท์ที่จีนทำไปพร้อม ๆ กับการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างจีน - ปากีสถาน และโปรเจคท์การสร้างทรงรถไฟความเร็วสูง จีน - รัสเซีย และเมื่อคอคอดกระขนาดความกว้าง 100 เมตรเปิดขึ้น ก็จะทำให้เรือขนส่งสามารถเดินทางจากมหาสมุทรแปซิฟิกผ่านอ่าวไทย ตรงเข้าสู่ทะเลอันดามันเพื่อเข้าสู่มหาสมุทรอินเดียได้ทันที ย่นระยะทางกว่า 1,200 กิโลเมตรจากเดิมที่ต้องล่องเรือผ่านสิงคโปร์

ด้านนายเหลียง หยุนเซียง ศาสตราจารย์จากสถาบันการศึกษานานาชาติ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวกับเว็บไซต์ว่า บันทึกความเข้าใจแสดงให้เห็นว่า จีนกำลังเป็นผู้สนับสนุนหลักในการเปิดคอคอดกระ ซึ่งเรื่องนี้จะมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ โปรเจคท์นี้จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ด้านการค้าเสรีระหว่างจีนและอาเซียน รวมถึงยังได้ย่นระยะทางที่เรือจะต้องใช้เดินทาง ทำให้เรือใช้เวลาเดินทางน้อยลง 2-5 วัน รวมทั้งยังลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มศักยภาพการพัฒนาท่าเรือทั้งในฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงในเรื่องการเมืองเกี่ยวกับโปรเจคท์นี้ เนื่องจากเรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุณหภูมิทางการเมืองระหว่างประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความสัมพันธ์ของไทย - สหรัฐอเมริกาด้วย

อย่างไรก็ตาม ช่องแคบมะละกา ถือเป็นเส้นทางการเดินเรือที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการขนส่งน้ำมันของจีน ซึ่งกว่า 80% ของน้ำมันในจีนนั้น มาจากตะวันออกกลางและแอฟริกาใต้ หากปล่อยให้มีเพียงเส้นทางการขนน้ำมันผ่านช่องแคบมะละกาเพียงอย่างเดียว จีนเองก็เกรงว่า สหรัฐอเมริกาจะเข้ามาปิดเส้นทางนี้สักวันก็เป็นได้


ไม่มีความคิดเห็น: