เรื่องโรฮินจาที่ถกเถียงกันนั้น มีหลายมิติ แต่มีมิติหนึ่งที่ผมอยากให้ผู้อ่านพิจารณา
ผู้อพยพแบบวิกฤตเฉพาะ Crisis refugee เช่น หนีการสู้รบ หนีภัยธรรมขาติ หนีการฆ่าล้างเผ่าพันธ์
พวกนี้เป็นการย้ายถิ่นชั่วคราว เมื่อสถานการณ์กลับสู่ปกติ ก็จะทะยอยกลับที่เดิม ถึงแม้จะมีตกค้างบ้าง ก็จะเป็นส่วนน้อย
ผู้อพยพแบบแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า Economic refugee จะย้ายถิ่นอย่างถาวร และมีน้อยประเทศที่จะใช้หลักมนุษยธรรมกับกลุ่มนี้
ด้วยเหตุผลง่ายๆ ถ้าเปิดประตูรับ จะเข้ามาอย่างไม่สิ้นสุด ถ้ารับโรฮินจา ทำไมจะไม่รับอัฟริกา
มีบางประเทศที่เปิดรับคนย้ายถิ่นฐาน แต่จะคัดเลือกเฉพาะที่มีฐานะ หรือมีความรู้เท่านั้น
มีบางประเทศที่ประชาชนยอมใช้หลักมนุษยธรรมเป็นกรณีพิเศษ ส่วนใหญ่เพราะประเทศของเขาไปก่อปัญหาไว้ในอดีต
เช่น อังกฤษ/ฝรั่งเศสต้องรับอดีตเมืองขึ้น อเมริกาต้องรับเวียดนาม/กัมพูชาเพราะไปวุ่นวายกับเขาไว้
ทุกประเทศไม่ว่าร่ำรวยเท่าใด จะมีประชาขนบางส่วนที่ยังยากจน รัฐยังต้องช่วยเหลือเพิ่ม การรับผู้อพยพเข้ามา เป็นการเบียดบังประชาชนเดิมไม่มากก็น้อย
ทำไมย้อนหลังไปหลายๆสิบปี จึงไม่มีสถานการณ์ขนคนข้ามทะเลเพื่อปัจจัยเศรษฐกิจมากมายอย่างนี้
การออกเรือสักลำไม่ใช่ชาวบ้านทำกันเอง แต่มีผู้บริหารจัดการ
การตั้งหลักในประเทศใหม่ ถ้าไม่มีเพื่อนฝูงญาติโยมช่วยเหลือ ก็ไม่ง่าย
ดังนั้น เมื่อใดที่มีคนอพยพรุ่นหนึ่ง ลงหลักปักฐานได้และมีจำนวนมากพอ ก็จะกลายเป็นแม่เหล็กดูดรุ่นที่สอง สาม ฯลฯ ปรากฏการณ์นี้เห็นได้ในยุโรป
ดร สมเกียรติ โอสถสภา เขียนว่าในอดีตช่วงหนึ่ง มาเลเซียเปิดประตูรับโรฮินจา นี่เองที่เป็นรุ่นที่หนึ่ง และดึงดูดให้เรือออกทะเล ลำแล้วลำเล่า
วิธีแก้จะต้องครบวงจร
1 อาเซียนต้องกดดันเมียนมาร์ให้ทำชีวิตโรฮินจาให้ดีขึ้นระดับหนึ่ง
ไม่ถึงกับต้องรับเป็นพลเมือง หรือใช้งบประมาณอะไร เพียงแต่เปิดพื้นที่และกระตุ้นให้เขาขยันเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ จับปลา คุมกำเนิด
พื้นที่ดินดำน้ำชุ่มอย่างเมียนมาร์ จะรองรับชีวิตพื้นฐานได้ จะแน่นอนกว่าขายถั่วขายโรตีเสียอีก
อาเซียนอาจจะส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยให้ความรู้ก็ได้
2 อาเซียนต้องทำให้เขาตระหนักว่า จะไม่สามารถใช้เรืออพยพเข้าประเทศใดได้
3 อาเซียนต้องเข้มงวดกับการปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ ที่หลอกลวงให้เขามาติดกับตกนรก
ท่านนายกสามารถเล่นบทนี้ได้อย่างสง่างามครับ และจะปิดปากอเมริกันสนิทอีกด้วย
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น