PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สภานการณ์ใต้47-55

สภานการณ์ใต้47-55

สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย เป็นเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี และยะลา ซึ่งเกิดมาจากปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยมีเหตุการณ์ลอบทำร้าย วางเพลิง วางระเบิด และจลาจลเกิด ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าจะมีความเคลื่อนไหวในลักษณะต้องการแบ่งแยกดินแดนบริเวณปัตตานีมา เป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว

แต่ความไม่สงบดังกล่าวเริ่มบานปลายขึ้นหลังจากปี พ.ศ. 2547[4]

เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2548 อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตรได้ประกาศใช้อำนาจฉุกเฉินเพื่อรับมือกับสถานการณ์ความไม่สงบ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน อดีตผู้บัญชาการทหารบก ได้รับอำนาจบริหารเพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว[5] ในวันที่ 19 เดือนเดียวกัน คณะทหารได้ก่อรัฐประหารซึ่ง ทำให้ทักษิณพ้นจากตำแหน่ง แต่แม้ว่าจะมีท่าทีปรองดองจากคณะผู้ยึดอำนาจก็ตาม สถานการณ์ก็ยังคงดำเนินต่อไปและทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจาก 1,400 คน เมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้น เป็น 2,579 คน เมื่กลางเดือนกันยายน พ.ศ. 2550[6]

ถึงแม้ว่าจะมีความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยในการจัดการกับความรุนแรงที่เกิด ขึ้น คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองประกาศว่าสันติภาพจะกลับคืนสู่ภูมิภาคในปี พ.ศ. 2551[7] ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเกิน 3,000 คน เมื่อเดือนมีนาคมปีนั้น[8] ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ ว่า เขามั่นใจว่าจะนำสันติภาพสู่ภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2553[9] แต่เมื่อถึงปลายปีนั้น ความรุนแรงได้มีเพิ่มมากขึ้น ตรงกันข้ามกับการมองโลกในแง่ดีของรัฐบาล[10] ท้ายที่สุดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 รัฐบาลจึงยอมรับว่าสถานการณ์ได้เพิ่มมากขึ้นและไม่สามารถแก้ไขได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน[11]

 ลักษณะของสถานการณ์

กลุ่มกองโจรปัตตานีเริ่มต้นสร้างสถานการณ์ความไม่สงบขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2544 เอกลักษณ์ของผู้ก่อการที่ต้องการผลักดันให้เกิดความขัดแย้งขึ้นนั้นยังคง คลุมเครือเสียเป็นส่วนใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญในระดับท้องถิ่นและภูมิภาคได้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนดั้งเดิมในภูมิภาค อย่างเช่น พูโล บีอาร์เอ็นและจีเอ็มไอพี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บีอาร์เอ็น โคออดิเนต (อันเป็นสาขาหนึ่งของบีอาร์เอ็น) และกลุ่มติดอาวุธที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับบีอาร์เอ็น คือ รันดา คัมปูรัน คีซิล[12] ส่วนคนอื่นเสนอแนะว่าความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอิสลามต่างชาติ อาทิ อัลกออิดะห์และญะมาอะห์ อิสลามียะห์ แต่ด้วยวิธีการทำงานของกองโจรในภาคใต้ ซึ่งโจมตีคลังอาวุธทหารและโรงเรียน ไม่เหมือนกับวิธีการปฏิบัติของกลุ่มอื่นซึ่งโจมตีเป้าหมายชาติตะวันตก มุมมองที่ว่ากองโจรในภูมิภาคมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มต่างชาตินั้นจึงอ่อน[13]

ในตอนแรก รัฐบาลมองว่าการสร้างสถานการณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือของโจร และอันที่จริงแล้ว ผู้สังเกตการณ์ภายนอกจำนวนมากก็เชื่อว่า กลุ่มท้องถิ่น คู่แข่งทางธุรกิจหรืออาชญากรรมมีส่วนเกี่ยว
ข้องกับสถานการณ์ในภูมิภาคดัง กล่าว เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 หลังจากตำรวจเสียชีวิตไป 14 นาย ในการโจมตีหลายครั้งซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลานานเจ็ดเดือน อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชิน
วัตร ได้ปฏิเสธถึงบทบาทของศาสนาในการโจมตีดังกล่าว เพราะตำรวจที่เสียชีวิตไปหลายคนนั้นเป็นมุสลิมด้วย[14]

ในปีเดียวกัน ทักษิณกล่าวว่า "ไม่มีการแบ่งแยกดินแดน ไม่มีผู้ก่อการร้ายอุดมการณ์ มีแต่โจรกระจอก" แต่ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้เปลี่ยนท่าที และจัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวเป็นสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศ มีการประกาศกฎอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547[15]

รัฐบาลทักษิณ 1 (พ.ศ. 2544-48) มีสมาชิกรัฐสภาเป็นมุสลิมหลายสิบคน สภาจังหวัดในจังหวัดชายแดนมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และเทศบาลหลายแห่งในภาคใต้มีนายกเทศมนตรีเป็นมุสลิม
มุสลิมเริ่มมีสิทธิ์มีเสียงในทางการเมืองอย่างเปิดเผยมากขึ้นและได้รับ เสรีภาพในการนับถือศาสนามากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลทักษิณยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแทนที่ด้วยกำลังตำรวจที่มีเรื่องฉาวโฉ่ในด้านการคอร์รัปชั่น ซึ่งได้เริ่มการปราบปรามอย่างกว้างขวางในทันที การปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชนท้องถิ่นก็ได้ถูกยกเลิกไปด้วย ความไม่พอใจต่อการละเมิดดังกล่าวได้นำไปสู่ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น ระหว่าง พ.ศ. 2547 และ 2548[16]

หลังจากรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งทำให้ทักษิณพ้นจากตำแหน่ง รัฐบาลไทยได้มีท่าทีปรองดองกับสถานการณ์มากขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจเกินควรและเริ่มต้นเจรจากับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่ เป็นที่รู้จักกันดี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์กลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวน่าจะเป็นการสนับสนุนการยืนยันที่ว่ามีกลุ่ม หลายกลุ่มมีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างสถานการณ์ และมีกลุ่มจำนวนน้อยที่สงบลงจากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของรัฐบาล[17]

[แก้] การก่อจลาจลภายในเรือนจำ

แม้ว่าจะมีการก่อจลาจลภายในเรือนจำอยู่อย่างเนืองๆ[18]ซึ่ง ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่เหตุการณ์ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตได้แก่การก่อจลาจลในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2554 นักโทษเสียชีวิต 2 ราย ที่เรือนจำ ปัตตานี[19] ปัญหาส่วนหนึ่งนอกจากพฤติกรรมของนักโทษแล้วยังพบว่าเรือนจำมีขนาดไม่มีพอกับจำนวนนักโทษที่มากขึ้นทุกวันอีกด้วย

[แก้] เหตุการณ์ทั้งหมด
[แก้] พ.ศ. 2545

30 มีนาคม - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอยุบ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และกองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 43 (พตท. 43)
30 เมษายน - รัฐบาลมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ยุบ ศอ.บต. และ พตท. 43
[แก้] พ.ศ. 2547

4 มกราคม - เกิดเหตุการณ์เผาโรงเรียน 20 แห่ง ใน จ.นราธิวาส ซึ่งเชื่อว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อปล้นปืนจากกองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.

นราธิวาส อันมีปืนไรเฟิล 400 กระบอก ปืนพก 20 กระบอก ปืนกล 2 กระบอก การจู่โจมครั้งนี้มีทหารตาย 4 นาย และทำให้รัฐบาลเสียหน้าอย่างมาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งดำรงตำแหน่งนายก

รัฐมนตรีในขณะนั้น ไม่พอใจเป็นอย่างมาก กล่าวตำหนิทหารที่ไม่ระมัดระวัง และถึงกับพูดว่า "ถ้าคุณมีกองทหารทั้งกองพันอยู่ที่นั้น แต่คุณก็ยังไม่ระวังตัว ถ้าอย่างนั้นก็สมควรตาย"[20]
เหตุระเบิดกลางตลาดจังหวัดปัตตานี โดยมีระเบิดทิ้งไว้ที่จักรยานยนต์
12 มีนาคม - สมชาย นีละไพจิตร ประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม ที่รับทำคดีเกี่ยวกับความมั่นคงในชายแดนใต้ ถูกลักพาตัว
28 เมษายน - เกิดกรณีกรือเซะ กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบกระจายกันโจมตีฐานตำรวจ-ทหาร 12 จุด คนร้ายเสียชีวิต 107 ศพ บาดเจ็บ 6 คนถูกจับกุม 17 คน เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 นาย บาดเจ็บ 15 นาย[

ต้องการอ้างอิง]
25 ตุลาคม - เกิดกรณีตากใบ เจ้าหน้าที่สลายผู้ชุมนุมมีผู้เสียชีวิต 84 ศพ แบ่งเป็นในที่เกิดเหตุ 6 ศพ ระหว่างขนย้าย 78 คน[ต้องการอ้างอิง]
5 ธันวาคม - โปรยนกกระดาษ 60 ล้านตัว ตามโครงการ "60 ล้านใจ สานสายใยพี่น้องใต้ ด้วยดอกไม้และนกกระดาษ" จากนั้น โจรใต้แจกใบปลิวในจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง ขู่ฆ่าประชาชนที่

เก็บนกกระดาษ
[แก้] พ.ศ. 2548

ภาพสรุปเหตุการณ์วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548-2554

23 กุมภาพันธ์ - ครูในจังหวัดปัตตานีขอให้รัฐบาลอนุญาตการพกปืน เพื่อป้องกันตัวจากผู้ก่อความไม่สงบ
17 กุมภาพันธ์ - เหตุการณ์ระเบิดคาร์บอมบ์ในตำบลสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 6 และบาดเจ็บมากกว่า 40 คน
3 เมษายน เกิดระเบิดพร้อมกัน 3 จุด ที่ห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ หาดใหญ่, ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ และหน้าโรงแรมกรีนเวิลด์พาเลซ สงขลา
24 มิถุนายน กอบกุล รัญเสวะ ผอ.ร.ร.บ้านตือกอ อำเภอจะแนะ นราธิวาส ถูกยิงเสียชีวิต
14 กรกฎาคม - เกิดความรุนแรงในเขตเทศบาลนครยะลา โจมตีโรงไฟฟ้าในเวลากลางคืน ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย และประชาชนบาดเจ็บ 23 คน และไฟฟ้าดับทั้งเมืองเป็นเวลาหลายชั่วโมง
15 กรกฎาคม - จังหวัดยะลา เกิดเหตุระเบิด มีผู้บาดเจ็บ 4 คน และจังหวัดนราธิวาส มีเหตุการณ์ยิงกัน ครูเสียชีวิต 2 คน
16 กรกฎาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยร่าง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548[21]
18 กรกฎาคม - รัฐบาลประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจัดตั้งตาม พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[22]
19 กรกฎาคม - สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติและสื่อหลายแขนงออกแถลงการณ์คัดค้านการออก พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[23]
21 กรกฎาคม - ยกเลิกกฎอัยการศึกในพื้นที่ จ.นราธิวาส, จ.ปัตตานี และ จ.ยะลา[24][25]
21 กันยายน- ทหารนาวิกโยธิน 2 นายจากค่ายจุฬาภรณ์ ถูกชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในหมู่บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส รุมทำร้ายเสียชีวิต หลังจากมีการจับเป็นตัวประกันนานกว่า 19 ชั่วโมง
เนื่องจากเข้าใจว่าเป็นผู้ร่วมก่อเหตุใช้อาวุธสงครามกราดยิงเข้าใส่ร้านน้ำ ชาใน อ.ระแงะ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย
26 ตุลาคม คนร้ายปล้นปืนพร้อมกันใน 3 จังหวัด ได้ปืนไป 99 กระบอก แบ่งเป็นใน จ.ปัตตานี 39 กระบอก ยะลา 41 กระบอก และนราธิวาส 19 กระบอก คนร้ายตาย 1 ศพ ถูกจับได้ 1 คน ฝ่ายรัฐผู้ใหญ่บ้านและ ชรบ.เสียชีวิต 4 ศพ บาดเจ็บอีก 4 คน
2 พฤศจิกายน คนร้ายโจมตีระบบไฟฟ้าเมืองนราธิวาส ด้วยระเบิดพร้อมกัน 16 จุด ระเบิด 8 จุด
[แก้] พ.ศ. 2549
1 สิงหาคม เวลาประมาณ 20.20 น. คนร้ายลอบวางเพลิงใน จ.ปัตตานี-นราธิวาส หลายจุดพร้อมกัน วางระเบิด ทำลายทรัพย์สินและเผายางรถยนต์ แต่ไม่มีรายงานผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[26]
31 สิงหาคม เวลา 11.20 น. เกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดธนาคาร 22 จุดทั่ว จ.ยะลา มีผู้เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 30 คน[27]
4 กันยายน มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 คนในเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2547[28]
16 กันยายน เกิดเหตุระเบิดในเวลาไล่เลี่ยกัน 4 จุด กลางเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บมากกว่า 50 คน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศกว่า 1,000 คน
ที่พักผ่อนอยู่ในโรงแรม ซึ่งตั้งอยู่ในแนวที่เกิดเหตุระเบิดมากกว่า 10 แห่ง ต่างพากันหลบหนีออกจากโรงแรม จนทำให้เกิดความโกลาหล[29]
21 กันยายน คนร้ายใช้อาวุธปืนระดมยิงใส่ชาวบ้านจนได้รับบาดเจ็บ 1 รายและเสียชีวิต 1 ราย[30]
23 กันยายน ตำรวจ 4 นาย ได้รับบาดจากระเบิดที่คนร้ายฝังไว้ที่จุดจอดรถ[31]
25 กันยายน คนร้ายประมาณ 30 คน ก่อเหตุโจมตีสถานีตำรวจที่ จ.ยะลา ทำให้ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย บาดเจ็บ 1 นาย[32]
28 กันยายน หน่วยปกป้องครูชายแดนภาคใต้ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส ถูกคนร้ายใช้ระเบิดซุ่มโจมตี ทำให้ทหาร 5 นายได้รับบาดเจ็บ ทหารนายหนึ่งได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ[33]
27 ตุลาคม คนร้ายยิงพนักงานเก็บค่าไฟของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.ยะลา อาการสาหัส[34]
28 ตุลาคม คนร้ายลงมือก่อเหตุยิง ชาวบ้านขณะกำลังออกไปกรีดยาง เสียชีวิต 1 ราย ที่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี[35]
2 พฤศจิกายน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พร้อมคณะรัฐบาล กล่าวขอโทษต่อชาวมุสลิมกรณี "กรือเซะ-ตากใบ" ที่มีความเห็นว่ารัฐบาลที่ผ่านมาทำเกินกว่าเหตุ[36]
3 พฤศจิกายน คนร้ายดักยิงรถบรรทุกนักเรียนบนถนนสาย 410 ยะลา–เบตง บ้านพงยือไร หมู่ที่ 1 ต.บันนังสาเร็ง อ.เมือง จ.ยะลา คนขับรถบาดเจ็บสาหัส ในเวลาไล่เลี่ยกัน คนร้ายก่อเหตุยิงลูกจ้าง 3

คนของ กอ.สสส.จชต ที่บริเวณริมถนนสาย 410 ยะลา–เบตง หมู่ที่ 5 บ้านบันนังสาเร็ง อ.เมือง จ.ยะลา บาดเจ็บสาหัส[37]
3 พฤศจิกายน คนร้ายประมาณ 5 คน พร้อมอาวุธปืนสงครามครบมือ ถล่มยิงชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ที่ปฏิบัติหน้าที่ รปภ.โรงเรียนคีรีบูรณ์วัฒนา ม.5 ต.ยะต๊ะ อ.รามัน จ.ยะลา ไม่มีผู้

ได้รับบาดเจ็บ[38]
4 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนอาก้ายิง รองนายกฯ อบต.บาโงสะโต เสียชีวิต[39]
4 พฤศจิกายน เกิดเหตุลอบวางเพลิงโรงเรียนอีก 3 จุด ในพื้นที่ อ.บันนังสตา คือ โรงเรียนบ้านเตาปูน ม.3 ต.บันนังสตา โรงเรียนบ้านบางลาง ม.3 ต.บาเจาะ และโรงเรียนบ้านสาคู ม.4 ต.บาเจาะ[40]
5 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงชาวบ้าน อ.บันนังสตา เสียชีวิต 1 ราย[41]
5 พฤศจิกายน ชาวบ้านใน ต.บาเจาะ อ.บันนังสตา จ.ยะลา กว่า 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิง รวมตัวเพื่อเรียกร้องให้ถอนกำลัง ตำรวจ ตชด.ที่ดูแลความปลอดภัยให้กับโรงเรียนบ้านบาเจาะ ออกจากพื้นที่ และได้ปิดถนนเส้นทางเข้าหมู่บ้าน สาเหตุมาจากมีราษฎรถูกยิงเสียชีวิต ทำให้ชาวบ้านเข้าใจว่าเป็นฝีมือของเจ้าหน้าที่[42]
5 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่ยอมรับข้อเสนอย้ายฐานปฏิบัติการ ตชด.ออกจากพื้นที่ ทำให้ชาวบ้านพอใจและสลายการชุมนุม หลังการเจรจาเสร็จสิ้นในช่วงค่ำ เจ้าหน้าที่ทหารถูกลอบวางระเบิดเสียชีวิตทันที 2 นาย ระหว่างทางกลับจากหมู่บ้าน บริเวณถนนยะลา-เบตง ต.บันนังสาเรง อ.เมือง[43]
7 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาโรงเรียนบ้านตะบิงติงงีสามัคคี บ้านบาลอบาตะ หมู่ที่ 13 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา จ.ยะลา[44]
9 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ก่อเหตุยิงผู้รับเหมาก่อสร้าง บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านดอนรัก หมู่ 2 บ้านดอนรัก ต.ดอนรัก จ.ปัตตานี เสียชีวิตคาที่[45]
9 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางระเบิดหน้าอู่ซ่อมรถ เลขที่ 83/1 ม.7 ต.บาโงสะโต อ.ระแงะ แต่โชคดีที่ระเบิดไม่ทำงาน[46]
9 พฤศจิกายน โชว์รูมรถยนต์ถูกลอบวางระเบิดพร้อมกัน 8 แห่ง ที่ อ.เมืองยะลา[47]
10 พฤศจิกายน คนร้ายขับรถตามประกบยิงชาวบ้านขณะกำลังขับรถจักรยานยนต์สามล้อพ่วงบนถนนหน้าโรงเรียนบ้านกระโด ม.1 ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี[48]
10 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้ายปาระเบิดและตามด้วยใช้อาวุธสงครามยิงถล่มฐานปฏิบัติการทหารชุด ฉก.11 ที่ยะลา[49]
11 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับจักรยานยนต์ประกบยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านโคกสะตอ ต.โคกสะตอ อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เสียชีวิต[50]
11 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับจักรยานยนต์ประกบยิงชาวบ้านปัตตานีหน้ามัสยิดอูแตกอแล ม.3 ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เสียชีวิต[51]
11 พฤศจิกายน คนร้ายกว่า 10 รายบุกโจมตีฐานปฏิบัติการตชด.33 อ.ยะหา จ.ยะลา เจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิต 2 นาย[52]
12 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คนบุกเข้าบ้านพักพ่อค้ารับซื้อไม้ยาง จ.ยะลา แล้วชักปืนพกสั้นประกบยิงจนเสียชีวิต[53]
13 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงใส่พ่อ-แม่-ลูกชาวยะลาได้รับบาดเจ็บ บริเวณบนถนนสาย 410 ยะลา-เบตง หน้าสถานีอนามัย บ้านแหร ม.1 ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา[54]
13 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงอุซตาชโรงเรียนปอเนาะใน ต.บาลอ อ.รามัน จ.ยะลา เสียชีวิตคาที่[55]
17 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิด 2 ครั้งในเวลาไล่เลี่ยกัน หน้าร้านน้ำชาบริเวณปากซอยประชานิมิตร ถนนระแงะมรรคา ใกล้ตลาดบางนาค ในเขตเทศบาลเมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 19 ราย และเสียชีวิต 1 ราย[56]
17 พฤศจิกายน คนร้ายใช้ จยย.ประกบยิงพ่อค้าขายไอศกรีมวอลล์วัย 52 ปีระหว่างทางเข้าหมู่บ้านที่ยะลา เสียชีวิตคาที่[57]
17 พฤศจิกายน คนร้ายจำนวน 6 คน สวมชุดดาวะห์ เข้าปล้นอาวุธปืนลูกซองจำนวน 1 กระบอก ของชุด ชรบ. ในบ้านเลขที่ 118 หมู่ 5 ต.กระโด อ.ยะรัง จ.ปัตตานี[58]
18 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงนายนำ ศรีพลอย อายุ 73 ปีที่ออกไปเลี้ยงวัวกลางทุ่งใกล้บ้าน เสียชีวิตแล้วเผาศพจนไหม้เกรียมทิ้งไว้ก่อนหลบหนี[59]
18 พฤศจิกายน คนร้ายลอบยิงตำรวจ ตชด. กก.ที่ 44 ค่ายพยาลิไท อ.เมืองยะลา ระหว่างเดินทางกลับบ้านเพียงลำพัง อาการสาหัส[60]
18 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ไม่มีชื่อ หมู่ที่ 1 ต.ธารโต จ.ยะลา[61]
19 พฤศจิกายน คนร้ายจำนวน 2 คน ใช้อาวุธปืนยิงใส่ชาวบ้านจำนวน 4 นัด ก่อนที่จะใช้ของมีคมฟันเข้าบริเวณลำคอ ส่งผลให้เสียชีวิตในทันที[62]
20 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดบริเวณตลาดสดใกล้โรงแรมเกนติ้ง เขตเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส มีผู้เสียชีวิต 2 ราย ได้รับบาดเจ็บสาหัส 18 ราย[63]
21 พฤศจิกายน ชาวบ้าน ต.ปะแต อ.ยะหา จ.ยะลา จำนวน 3 หมู่บ้าน กว่า 200 คน ชุมนุมเรียกร้องให้ถอนกำลังทหารพราน และ ตชด.ออกจากพื้นที่[64]
22 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้าย 7 คน จุดไฟเผาห้องเรียนในพื้นที่ ต.บาเจาะ และ ต.บันนังสตา ต่อหน้าต่อตาครูและเด็ก[65]
23 พฤศจิกายน รัฐบาลกำหนดพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ[66]
23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางเพลิง โรงอาหาร ร.ร.บ้านตันหยงลิมอ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส[67]
23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบวางเพลิงเผาอาคารเรียนโรงเรียนบ้านดอนนา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี[68]
23 พฤศจิกายน กลุ่มคนร้ายลักพาตัวเจ้าหน้าที่ ตจด. 3 นายจากฐานปฏิบัติการในหมู่บ้านสันติ 1 และหมู่บ้านสันติ 2 ต.เขื่อนบางลาง อ.บันนังสตา จ.ยะลา[69]
23 พฤศจิกายน คนร้ายลอบยิงลูกจ้างชั่วคราวชลประทานเขื่อน จ.ปัตตานี เสียชีวิต[70]
23 พฤศจิกายน คนร้ายใช้อาวุธปืนอาก้าดักซุ่มยิงใส่ชาวบ้าน ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส เสียชีวิต[71]
23 พฤศจิกายน คนร้ายขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิงครูโรงเรียนบ้านดอนรัก อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เสียชีวิต[72]
24 พฤศจิกายน คนร้ายลอบเผาอาคารเรียนอนุบาล ร.ร.บ่อทอง อ.ระแงะ จ.นราธิวาส เสียหายทั้งหลัง[73]
24 พฤศจิกายน คนร้าย 2 คน ขับรถจักรยานยนต์ตามประกบยิง ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนบ้านบางเก่า หมู่ 2 ต.บางเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เสียชีวิต ส่งผลให้โรงเรียนในอำเภอหนองจิก กว่า 40 โรง ปิดการเรียนการสอน[74]
24 พฤศจิกายน เกิดเหตุระเบิดร้านขายของชำกลางตลาดอำเภอยะหา จ.ยะลา มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 คน[75]
24 พฤศจิกายน คนร้ายก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ดับเพลิงเทศบาลนครยะลา ขณะขับขี่รถจักรยานยนต์มาที่บริเวณปากทางเข้า มสธ.ยะลา ได้รับบาดเจ็บสาหัส[76]
[แก้] พ.ศ. 2550

18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ในช่วงค่ำรวมเกิดเหตุระเบิดจังหวัดยะลา 15 ครั้ง จังหวัดปัตตานี 2 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 8 ครั้ง จังหวัดสงขลา 2 ครั้ง วางเพลิงจังหวัดปัตตานี 12 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 6 ครั้ง จังหวัดสงขลา 2 ครั้ง จังหวัดยะลา 1 ครั้ง ลอบยิงจังหวัดปัตตานี 1 ครั้ง จังหวัดนราธิวาส 1 ครั้ง จังหวัดสงขลา 1 ครั้ง เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บสาหัส 4 ราย บาดเจ็บ 62 ราย[77]
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 นายชุมพล อังกุลาภินันท์ และ นายจริย สุคตะ ถูกคนร้ายใช้อาวุธมีดฆ่าสังหารเหตุเกิดที่ เขตเทศบาลเมืองพัทลุงจังหวัดพัทลุง[78]
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกิดเหตุระเบิดที่จังหวัดยะลา ด.ต.สุบิน พฤทธิ์มงคล[79]เจ้าหน้าที่เก็บกู้วัตถุระเบิดเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 4 ราย ผู้สื่อข่าวบาดเจ็บ 4 คน ชาวบ้านและตำรวจได้รับบาดเจ็บ 11

คน[80]
26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เกิดเหตุระเบิดบริเวณสี่แยกธนวิถี2 เขตเทศบาลนครยะลา ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 15 คน บาดเจ็บสาหัส 5 คน ต่อมา เสียชีวิต 2 คน[81]
4 ธันวาคม พ.ศ. 2550 คนร้ายซุกระเบิดในรถจักรยานยนต์หน้าร้านข้าวต้มน้องเฟิร์น อ.เมือง จ.ปัตตานี ก่อนจุดชนวนระเบิดมีผู้เสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บสาหัส 25 ราย[82]
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
[แก้] พ.ศ. 2551

2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เกิดระเบิดพร้อมกันสองจุดในอำเภอหาดใหญ่และห้าจุดในเขตเทศบาลนครสงขลาอำเภอเมืองสงขลาจังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 3 จุดที่เซเว่น อีเลฟเว่น 1จุด บนทางหลวงแผ่น

ดินหมายเลข 4และ1จุด บนถนนราษฎร์อุทิศหน้าร้านอาหารและเสาไฟฟ้าอย่างละจุด [83]
21 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เหตุการณ์คาร์บอมบ์ที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้ นายชาลี บุญสวัสดิ์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ[84]
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 คนร้ายวางระเบิดคาร์บอมบ์ และจักรยานยนต์บอมบ์ 2 จุดหน้าที่ว่าการ อ.สุคิริน ขณะมีการประชุมกำนัน-ผู้ใหญ่บ้านทำให้มีผู้ ได้รับบาดเจ็บ 71 รายในนี้มีบาดเจ็บสาหัส 20 ราย เสียชีวิต 1 ราย[85]
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 บ้านซาไก หมู่ 3 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุยิง นายมาหะมะ โซ๊ะซาตู ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 ตำบลบ้านแหร คนร้ายบุกยิง รถยนต์ทหาร ส่งผลให้ อาสาสมัครทหารพราน วิชาญ ศักดิ์สุวรรณ เสียชีวิต มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัส 6 ราย บ้านจำปากอ หมู่ 1 ต.กาเยาะมาตี อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส คนร้ายก่อเหตุยิงรถยนต์ของ นายรามัน วาแมดีซ และ นางอานา วายะ บาดเจ็บสาหัส[86]
5 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ตลาดดุซงญอ ตำบลดุซงญอ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส คนร้ายก่อเหตุวางระเบิดร้านของชำ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ได้แก่ 1.นายดอเลาะฮาเร็ม ตาบู อายุ 49 ปี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านดุซงญอ 2.นายอารง คาน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 บ้านดุซงญอ อ.จะแนะ 3.นายอดุลย์ แวอุเซ็ง ครู โรงเรียนสวนพญาวิทยา อ.จะแนะ 4.นายเลอศักดิ์ ชีวะโรจน์ พี่ชายเจ้าของร้านชำ และ 5.นายชุมพล กาญวิโรจน์ มีเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 10 ราย ชาวบ้าน 2 รายได้แก่ น.ส.วิลาวัณย์ สติกรกูล เจ้าของร้านชำ และ นายรอฮิม กาพอ ผู้ช่วยผู้ใหญ่หมู่ 1 บ้านดุซงญอ อ.จะแนะ เด็ก 1 รายได้แก่ ด.ช.สารีฟ มะรอดิง[87]
27 ธันวาคม พ.ศ. 2551 คนร้ายก่อเหตุวางระเบิดส่งผลให้ ส.อ.อนุชิต ฐานโสภา และ พลทหารศราวุธ แก้วเกตุ ได้รับบาดเจ็บสาหัส และก่อเหตุวางเพลิงอบต.สะนอ และ อบต.วัด ต.วัด รวมถึงรถยนต์ของนางอัมพิกา แซ่เล่า และ นางเพ็ญศรี ศรีระสาร วางเพลิงรถดับเพลิงของ อบต.เขาตูม ในเวลาไล่เลี่ยกันคนร้ายยิงปืนและปาระเบิดเข้าไปในบ้าน ของนายนวม ส่งผลให้ทรัพย์สินเสียหาย[88]
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
[แก้] พ.ศ. 2552

26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ถนนสายเอเชีย หน้าที่ว่าการอำเภอป่าบอนคน ร้ายใช้ปืนยิงนายสถาพร ชนะสิทธิ์ นายกเทศบาลตำบลเขาหัวช้าง พัทลุง นายวิเชียร เสนเรือง รองนายก และเพื่อนรวมเสียชีวิต

5 ราย และบาดเจ็บสาหัส 2 รายที่ จังหวัดพัทลุง[89]
17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 คนร้ายใช้ปืนยิงพ่อค้าขายอาหาร นายอาเซม สาแม เสียชีวิต 1 รายที่ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส[90]
14 สิงหาคม พ.ศ. 2552 อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คนร้ายก่อเหตุยิง นายศุภชัย จิตรารุวิชญ์ เสียชีวิต และได้ขโมยทรัพย์สินในรถยนต์ไป[91]
16 กันยายน พ.ศ. 2552 อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาสเกิด เหตุคนร้ายบุกยิงผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.2 บ้านสุเป๊ะ นายมะรอซี สาเระ เสียชีวิต ส่วนนายรอยาลี สาเม๊าะ สมาชิก อบต.โคกสะตอ ได้รับบาด

เจ็บ [92]
6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาสเกิด เหตุการณ์คาร์บอมบ์มีผู้เสียชีวิต 3 ราย ส.ต.ท.วัชรพงษ์ อำไพฤทธิ์ ผบ.หมู่ ป.สภ.สุไหงปาดี นางปรียานุช โชติไพบูลย์พันธุ์ นายนา

แซ แวยูโซะ และบาดเจ็บ 39 คน[93]
10 ตุลาคม พ.ศ. 2552 บ้านบึงน้ำใส หมู่ 4 ตำบลตะโล๊ะหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา คนร้ายบุกยิง นายยากี น้อยทับทิม และ นายอันวา พุดารอ เสียชีวิต ทั้งสองคนเป็น เจ้าหน้าที่ชุดรักษาความ

ปลอดภัยหมู่บ้าน[94]
22 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โจรใต้ใช้อาวุธปืนอาก้า ดักซุ่มยิงสายข่าวทหาร นายยาการียา ดอเลาะ และชาวบ้าน นายอาหะมะสะปี สะมะ เสียชีวิต 2 คน ที่ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส[95]
25 ตุลาคม พ.ศ. 2552 คนร้ายซุ่มยิง อาสาสมัครทหารพรานธานินทร์ สุวรรณกูฎ เสียชีวิต[96]
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 คนร้ายซุ่มยิง นายมะยีดิง ดือราแม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ 3 บ้านปูตะ และ นายแวดือราแม มะสะ เสียชีวิต [97]
9 ธันวาคม พ.ศ. 2552 เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่บริเวณศาลาริมแม่น้ำปัตตานี ถนนเลียบแม่น้ำ เขต เทศบาลนครยะลามี ผู้ได้รับบาดเจ็บ 13คน เสียชิวิตสิงราย คือ ส.ต.ท.พรชัย ภูศรี ผบ.หมู่กลุ่มงานเก็บกู้ฯ

กก.ตชด.44 และ สอ.วีรวุฒิ หมุนลี สังกัดกองพันสรรพาวุธที่ 22 กองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ชุดทำลายวัตถุระเบิด ฉก.นโณทัย ที่ 11[98]
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
[แก้] พ.ศ. 2553

1 เมษายน พ.ศ. 2553 บริเวณเชิงเขาบูโด บ้านบาดง หมู่6 ตำบลบาเจาะ อำเภอบาเจาะ เกิดเหตุคนร้ายใช้ปืนเอ็ม16 ยิงใส่ชาวบ้าน ส่งผลให้ชาวบ้าน บ้านโคกตีเต ตำบลบางปอ อำเภอเมืองนราธิวาสเสีย

ชีวิต 6 รายได้แก่ นายดำรงค์ ทองจินดา นายสุคนธ์ แก้วสำอาง นายธนู เซ่งสีแดง นายนิติพงษ์ เซ่งสีแดง นายสมัย เซ่งสีแดง และ นายกำพล พรายแก้ว สุนัข 2 ตัว และหมูป่า 1 ตัว เสียชีวิต คนร้ายได้

ก่อเหตุขโมยปืนของผู้เสียชีวิตไปด้วย 2 กระบอก [99]
8 เมษายน พ.ศ. 2553 อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงคนร้ายบุกยิง นายสุนีย์ ฤทธิ์ตรีเนียม อายุ 54 ปี ส.จ. เขต 2 อ.เขาชัยสน เสียชีวิต[100]
21 เมษายน พ.ศ. 2553 คนร้ายก่อเหตุปาระเบิดชนิดเอ็ม 67 เข้าใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจขณะเคารพธงชาติ ส่งผลให้ ดต.สมพงษ์ คงดำ ผบ.หมู่ ตร.ภ.จว.ปัตตานี เสียชีวิต พ.ต.ต.หญิงกูมัณฑนา เบญจมานะ

บาดเจ็บสาหัส และตำรวจบาดเจ็บ 47 ราย และคนร้ายก่อเหตุระเบิดรถยนต์ขึ้นบริเวณหน้าร้านขายยาอ่าวไทย ฟามาซีตั้งอยู่ข้างสภ.เมืองปัตตานี มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 21 ราย สาหัส 2 ราย คือ นางวาสนา

พงษ์พิริยะกุล และ นายอาซู อาบู
[101]

8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หมู่ 2 ต.ธารโต อำเภอธารโตนายวิชิต ดวงเต็ม บาดเจ็บสาหัสจากการเหยียบทุ่นระเบิดในสวนยางซึ่งคนร้ายนำมาวางไว้[102]
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 หมู่ 2 ต.ธารโต อำเภอธารโต นายอานนท์ สกุลทอง บาดเจ็บสาหัสจากการเหยียบทุ่นระเบิดในสวนยางซึ่งคนร้ายนำมาวางไว้[103]
14 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุระเบิดที่บริเวณตู้น้ำมันหยอดเหรียญตลาดนัดบ้านนิคม อำเภอเทพาจังหวัดสงขลาเป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 9 คน ส่ง โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [104]
16 มิถุนายน พ.ศ. 2553 เกิดเหตุการณ์คนร้ายโยนระเบิดใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่บริเวณสะพานพระพุทธ บ้านบ่อเตย[105] อำเภอเทพาจังหวัดสงขลาส่งผลให้ ส.ต.ท.นเรศ แก้วศรีคำ เสียชีวิต และมี

ตำรวจได้รับบาดเจ็บอีกสองนาย[106]
6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ท้องที่บ้านซาไก หมู่ 3 ต.บ้านแหร อ.ธารโต นายจั่ว แซ่ย่าง เสียชีวิตจากการเหยียบทุ่นระเบิดในสวนยางซึ่งคนร้ายนำมาวางไว้[107]
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ท้องที่บ้านผ่านศึก หมู่ 2 ต.คีรีเขต นางแดง มณีโชติ และ ส.ต.ท.พิภพ ศรีกันยา เสียชีวิตจากการเหยียบทุ่นระเบิดในสวนยางซึ่งคนร้ายนำมาวางไว้[108]
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 พื้นที่บ้านผ่านศึก หมู่ 2 ต.คีรีเขต อ.ธารโต ด.ต.นิยม สุวรรณมณี ผู้บังคับหมู่งานป้องกันและปราบปราม สภ.ธารโต บาดเจ็บสาหัสจากการเหยียบทุ่นระเบิดในสวนยางซึ่งคน

ร้ายนำมาวางไว้ [109]
7 กันยายน พ.ศ. 2553 หน้าร้านอาหารอาบิสโภชนา ริมถนนสายนราธิวาส-ตันหยงมัส บ้านแกแม ม.4 ต.ตันหยงมัสคนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนสั้นยิง นายวิลาศ คงขำ ครู โรงเรียนบ้านมะนังกาหยี ต.มะ

นังตายอ และนางคมขำ เพชรพรม ครู โรงเรียนบ้านทุ่งโต๊ะดัง ต.มะนังตายอ เสียชีวิต[110]
7 กันยายน คนร้ายก่อเหตุวางทุ่นระเบิดส่งผลให้ นายดำ ไตรรัตน์ บาดเจ็บสาหัสเนื่องจากเหยียบทุ่นระเบิด[111]
19 กันยายน อำเภอบาเจาะคนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนเอ็ม 16ยิง นายชื่น คงเพ็ชร์ นางห้อง คงเพ็ชร์ นายเจริญศิลป์ บุญทอง นางสมศรี บุญทอง(คงเพ็ชร์) เสียชีวิต รวมทั้งเผาบ้านของผู้เสียชีวิตทั้ง 3

หลัง[112]
19 พฤศจิกายน คนร้ายไม่ทราบจำนวน บุกยิง มัสยิดดารุลอิสลาม บ้านปูโป หมู่ 3 ตำบลสามัคคี จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้ อาสาสมัครทหารพรานมะรอนิง เประเปะ เสียชีวิต[113]
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 อำเภอกรงปีนังจังหวัดยะลาคนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนสั้นยิง ชาวบ้านเสียชีวิต 1 ราย คือ นายสุชาติ โพธิ์ทอง เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 1 ราย คือ อส.ทพ.สมเกียรติ หนูสีแก้ว และ

ได้ก่อเหตุยิงรถยนต์จนมีชาวบ้านบาดเจ็บ 5 ราย ในวันเดียวกัน [114]
14 ธันวาคม เกิดเหตุชาวบ้านถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต 2 ราย ริมถนนในหมู่บ้านเจาะไอร้อง หมู่ 1 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง คือ นายอับดุลเลาะห์ มะเย็ง นางเจ๊ะแย รอนิง[115]
18 ธันวาคม เขตเทศบาลนครยะลา เกิดเหตุทหารถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต 2 ราย คือ พลทหารซันสุดี มะแซ และ สอ..สุริยะ ชัยยัณห์ ส่วน พระสวาท เขมวิโณได้รับบาดเจ็บ [116]
21 ธันวาคม อำเภอเบตงเกิดเหตุชาวบ้านถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต 2 รายคือ นายเฉลิมฤทธิ์ นันต๊ะฤทธิ์ และ นายนะวัชชา สิริธัชกุล[117]
25 ธันวาคม อำเภอระแงะจังหวัดนราธิวาสเกิด เหตุทหารถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต 2 ราย คืออส.ทพ.สุรพล เพชรแท้ อส.ทพ.ปรีชา จันทเนตร และขโมยปืนเจ้าหน้าที่ 2 กระบอก ชาวบ้านบาดเจ็บสาหัส 2

ราย คือ
นางรอกีเยาะ หะยีมะแซ และ นางซากรู ซอฮามะถูกยิงที่แขน[118]

25 ธันวาคม อำเภอระแงะจังหวัดนราธิวาส คนร้ายบุกยิงบ้านของครอบครัว สือแม ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บสาหัส 3 รายคือ นายเปาซี สือแม นางนูรีฮัน สือแม และด.ญ.นีซมี สือแม[119]
29 ธันวาคม อำเภอบาเจาะจังหวัดนราธิวาส คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมบ์ส่งผลให้พนักงานหมวดการทางบาดเจ็บสาหัส 3ราย นายอดุลย์ ดือราแม นายอาแว มะ นายมะซับรี ละเล็ง ชาวบ้านบาดเจ็บ 1 ราย

คือ นายสะตอปา มูนา [120]
Wiki letter w.svg ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้
[แก้] พ.ศ. 2554

1 มกราคม คนร้ายลอบวางวัตถุต้องสงสัยตรงข้ามร้านขายผักในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี ขณะที่เจ้าหน้าที่กำลังเข้าทำการตรวจสอบ คนร้ายที่แฝงตัวอยู่ในพื้นที่ใช้โทรศัพท์มือถือจุดชนวนระเบิด เป็นเหตุให้

ดต.กิตติ มิ่งสุข และ จ.ส.ต.กฤษฏา ทองโอ ผบ.หมู่จราจรอ.สุไหงปาตี เสียชีวิต -บาดเจ็บอีก 9 ราย[121]
3 มกราคม คนร้ายใช้ลูกระเบิดขว้างใส่ป้อมจุดตรวจมะนังดาลำ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี และใช้อาวุธปืนสงครามกราดยิงเข้าป้อมจุดตรวจ แต่ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ[122]
3 มกราคม คนร้ายลอบวางระเบิด และยิงถล่มซ้ำเจ้าหน้าที่ทหารดักสังกัด ร้อย ร.15114 ฉก.นราธิวาส 31 บนถนนสายเจาะไอร้อง-ป่าไผ่ ขณะขี่รถจักรยานยนต์ออกจากฐาน เพื่อเดินทางไปปฏิบัติ

หน้าที่ รปภ.สถานีรถไฟเจาะไอร้อง ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บ 3 นาย[123]
5 มกราคม คนร้ายใช้รถยนต์ขนอาวุธปืนสงครามกราดยิงรถยนต์ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งมีผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านโดยสารมาด้วย ขณะขับรถกลับประชุม ณ ที่ว่าการอำเภอระแงะ ทำให้ได้รับบาดเจ็บทั้งหมด 4

ราย[124]
7 มกราคม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายใช้อาวุธปืนยิง นายสิงห์ชัย สาและ ผู้ใหญ่บ้านตันหยงลิมอ เสียชีวิต[125]
8 มกราคม เทศบาลนครยะลา คนร้ายก่อเหตุยิง อาสาสมัครทหารพราน สุทธิพร กันสุริ เสียชีวิต และ อาสาสมัครทหารพราน เอกพล อินทนุพัฒน์บาดเจ็บสาหัส[126]
9 มกราคม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายใช้อาวุธยิงนายมะยุ ยะโก๊ะ และนายบาหะดี ดามิ เสียชีวิต 2 ราย[127]
10 มกราคม อำเภอสุไหงปาตี จังหวัดนราธิวาส อาสาสมัครทหารพรานหะมัดมารูวาน อาแวถูกคนร้ายลอบยิงเสียชีวิต[128]
11 มกราคม คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงส.ท.ศักดา พรรณาอดีตนักคาราเต้โดทีมชาติไทย เสียชีวิต[129]
15 มกราคม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายมาโนช ชฎารัตน์ เสียชีวิต[130]
16 มกราคม อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายมะรอซี เจ๊ะแป เสียชีวิต[131]
19 มกราคม คนร้ายราว 40 คนบุกถล่มฐานทหารที่จังหวัดนราธิวาส ส่งผลให้ทหารเสียชีวิต 4 รายได้แก่ ร.อ.กฤช คัมภีรญาณ ผู้บังคับกองร้อยทหารราบที่ 15121 2. ส.อ.เทวรัตน์ เทวา 3. พลทหาร

ประวิทย์ ชูกลิ่น และ 4.ส.อ.อับดุลเลาะ ดะหยี บาดเจ็บ 13 ราย ปืนถูกปล้น 50 กระบอก กระสุนอีก 5000 นัด [132]
7 กุมภาพันธ์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลาคนร้ายลอบวางระเบิด ส่งผลให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บสาหัสสองราย คือ สอ.ธีรเดช มหาอุต และ พลทหาร พงษกร เขื่อนรอบเขต[133]
13 กุมภาพันธ์ ถนน ณ.นคร ข้างธนาคารนครหลวงไทย จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมรถยนต์ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 18 ราย เพลิงไหม้ร้านค้า 12 หลัง[134]
21 กุมภาพันธ์ เทศบาลนครยะลา คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมจักยานยนต์ ส่งผลให้ น.ส.สุธาสินี บัวขวัญ พนักงานขายห้างซุปเปอร์ดีพาร์ทเมนท์สโตร์ เสียชีวิต มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 17ราย รถเจ้าหน้าที่ทาง

หลวงและรถจักรยานยนต์ชาวบ้าน เสียหาย รวมถึงอาคารร้านค้าบริเวณใกล้เคียงก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน[135]
22 กุมภาพันธ์ จังหวัดสตูล คนร้ายก่อเหตุใช้อาวุธปืนสั้นยิง นายอภิชาต หลงตา จนถึงแก่ชีวิต [136]
15 มีนาคม อำเภอรือเสาะจังหวัดนราธิวาสคนร้ายก่อเหตุยิงร้านน้ำชามีผู้เสียชีวิตสองรายได้แก่อส.อารมณ์ โยธาทิพย์ อส.ประจำที่ว่าการอำเภอรือเสาะ และ นายพบ ทองแก้ว [137]
22 มีนาคม คนร้ายก่อเหตุยิงเจ้าหน้าที่ทหารและขโมยปืนเอ็ม16 ไปจำนวน 2 กระบอก ที่อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส จนเป็นเหตุให้ ส.อ.ชเนรินทร์ กันทะ และ พลทหารนเรศ เพชรรัตน์ เสีย

ชีวิต[138]
25 มีนาคมอำเภอรามัน จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุยิงชดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน นายซาฟูวัน สะมะแอ เสียชีวิต[139]
1 เมษายน อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาสคนร้ายก่อเหตุยิง นายอับดุลวาฮับ สะบูดิง ผอ.โรงเรียนประทีปวิทยา เสียชีวิต[140]
2 เมษายน คนร้ายก่อเหตุคาร์บอมรถจักรยานยนต์ที่ ตลาดนัดนิคมเทพา อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ 21 ราย
5 เมษายน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานีคนร้ายก่อเหตุยิง นายอำนวย คงทอง ขณะซื้อของที่ตลาดนัดบ้านคลองขุด[141]
7 เมษายน จังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุยิง นายวิเชษฐ์ บุญชัย เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สำนักงานทหารผ่านศึกปัตตานี เสียชีวิต ในขณะที่คนร้ายนายอับดุลรอแม เจะแว ถูกยิงเสียชีวิตเช่น

กัน[142]
8 เมษายน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงคนร้ายก่อเหตุยิง นายสุนีย์ ฤทธิ์ตรีเนียม ส.จ. เขต 2 อ.เขาชัยสน เสียชีวิต [143]อำเภอมายอจังหวัดปัตตานีนายศรัทธา มะเด็ง ที่ปรึกษาของนายก อบต.มายอ

ถูกยิงเสียชีวิต[144]
18 เมษายน เขตเทศบาลนครยะลาเกิดเหตุการ์คาร์บอมบ์จนเป็นเหตุให้ทหารพรานเสียชีวิต 1 นาย บาดเจ็บ 20 คน [145]
21 เมษายน พล.ต.อัคร ทิพโรจน์ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2547 ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และพระราชกำหนดการบริหาร

ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ได้แก่จังหวัด นราธิวาส ยะลา และปัตตานี[146]
3 พฤษภาคม คนร้ายลอบวางระเบิดที่ร้านน้ำชาอำเภอบันนังสตาส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บสาหัส 2 ราย[147]
7 พฤษภาคม ริมสนามฟุตบอลหมู่บ้าน ม. 5 บ้านคอกวัว ต.ปล่องหอย อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี คนร้ายลอบวางระเบิดระหว่างการแข่งขันฟุตบอล ส่งผลให้เจ้าหน้าที่เสียชีวิต 4 ราย ส.ต.อ.​อา​ริ​ด

หวั่น​ละ​เบะ ส.ต.ต.สามารถ โสะห​สัน​สะ ส.ต.อ.เกรียงศักดิ์ ธนูรักษ์ และ ส.ต.อ.​ณรงค์​ฤทธิ์ สุวรรณศรี เสียชีวิต มีผู้บาดเจ็บ 10 ราย [148]
12 พฤษภาคม คนร้ายยิง พ.ต.เศวต เศวตโสธร สัสดีอำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เสียชีวิต[149]
16 พฤษภาคม คนร้ายลอบวางระเบิดที่อำเภอยะหาส่งผลให้ พระสงฆ์ มรณภาพสองรูป และวัดสวนแก้วจังหวัดยะลา กลายเป็นวัดร้าง เจ้าหน้าที่บาดเจ็บ 3 คน[150]
20 พฤษภาคม หลังมีชาวบ้านมาแจ้งว่ามีคนร้ายเข้ามาในพื้นที่จังหวัดยะลา, อำเภอธารโต เจ้าหน้าที่ได้นำหน่วยรบทหารพรานไปล้อมแล้วเกิดการยิงกัน คนร้ายเสียชีวิตหมด 4คน หนึ่งในนั้นคือนาย

มะแอ อภิบาลแบ, แกนนำหลักในพื้นที่ มีค่าหัวอยู่ 2,000,000บาท มี่คดีรวมแล้วทั้งหมด 28คดี รวมถึงการลอบสังหารพ.ต.อ. สมเพียร เอกสมญา เมื่อปีที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้ยึดปืน AK-47 มา

สองกระบอก แล้ว.38มาอีกกระบอกนึง ส่วนในจังหวัดนราธิวาส ได้มีการระเบิดทำให้คนได้รับบาดเจ็บ9คน [151] [152]
24 พฤษภาคม อำเภอยะหา จังหวัดยะลาคนร้ายก่อเหตุยิง นายมูฮัดหมัดกูไซ สตาปอ เสียชีวิต[153]
25 พฤษภาคม เกิดเหตุรถยนต์ทหารถูกวางระเบิดมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 รายที่ อำเภอกรงปินังจังหวัดยะลา[154]พลทหารชูชาติ แก้ววงษ์หิว ถูกคนร้ายซุ่มยิงเสียชีวิต
27 พฤษภาคม อำเภอสายบุรีจังหวัดปัตตานี คนร้ายก่อเหตุยิงนายวรรณพจน์ จินดารัตน์ ขณะขับรถจนเสียชีวิตมีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บสาหัวสองคนคือนายนภสินธุ์ ฝอยทอง และด.ต.เจ๊ะเล๊าะ ยะ

โกะ[155]
30 พฤษภาคม เกิดเหตุระเบิดถนนทางรถไฟ ริมทางรถไฟยะลาเขตเทศบาลนครยะลา มีทหารได้รับบาดเจ็บ 5 ราย ชาวบ้าน 2 ราย[156]
31 พฤษภาคม เกิดเหตุคนร้ายวางระเบิดพลาดบริเวณคอสะพาน บ้านบาลูกา หมู่ 7 ต.สามัคคี อำเภอรือเสาะส่งผลให้ นายอาบัส อาบู และ นายซอราฮูดีน ดอเลาะ คนร้ายผู้ก่อเหตุเสียชีวิต[157]คนร้าย

ที่ขับจักรยนต์ได้รับบาดเจ็บ
1 มิถุนายน นายรังสี สุภัทสรชาวบ้านถูกระเบิดได้รับบาดเจ็บระหว่างเดินทางไปกรีดยางพารา ใน อำเภอกาบังต่อมา นายอัสมัน เฮาะมะสะเอ๊ะ ปลัดอำเภอกาบังจังหวัด ยะลาได้เดินทางไปตรวจ

เหตุการณ์ชาวบ้านเหยียบกับระเบิดจนได้รับบาดเจ็บ ทันทีที่เดินทางไปถึงปรากฏว่าได้มีเหตุระเบิดขึ้นอีกครั้งเป็นเหตุให้ เสียชีวิตภายหลังถูกระเบิด รวมถึงผู้ติดตาม นายอุสมาน เจ๊ะนิ อาสาสมัคร

เสียชีวิตในที่เกิดเหตุเช่นเดียวกัน และผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 ราย[158]หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่กู้ระเบิดได้รับบาดเจ็บจากระเบิดอีก 1 ราย รวมทั้งหมด 6 ราย
5 มิถุนายน เกิดเหตุ รถตักดินประสบอุบัติเหตุพลิกคว่ำที่อำเภอเมืองยะลา ส่งผลให้ เด็กชายศราวุธ จันทร์สุก เสียชีวิต มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย [159]เหตุการณ์อยู่ระหว่างสอบสวนว่าเป็นการวางแผน

ของคนร้ายหรือไม่
7 มิถุนายน คนร้ายใช้เครื่องยิงลูกระเบิดเอ็ม 79ยิงบริเวณ ที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ 2ครั้ง มีชาวบ้านได้รับบาดเจ็บ 2 ราย เจ้าหน้าที่ 1 ราย [160]
8 มิถุนายน คนร้ายบุกยิงเจ้าของร้านชำ ส่งผลให้ นายสมพงษ์ แซ่อู๋ย นายณรงค์ บรรจงคชาธาร เสียชีวิต และเกิดเหตุระเบิด 3 ครั้งใน อำเภอเจาะไอร้องมีเจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ 5 คน ส่วนที่อำเภอ

สุไหงปาดี คนร้ายบุกยิงชาวบ้านขณะขับขี่รถยนต์ส่งผลให้ นายมณฑล สมาธิทับดี เสียชีวิต นางบุญศรี ทองคำบาดเจ็บสาหัส[161]
9 มิถุนายน อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุยิงรถยนต์ของ นายมุสตาฟา ยามูดิง เจ้าหน้าที่อาสามัครรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาส่งผลให้ นายมุสตาฟา ยามูดิง

เสียชีวิต นายรุสดี ดามูซอเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาบาดเจ็บสาหัส[162]
10 มิถุนายน อำเภอยะหา จังหวัดยะลา นายกาเดร์ วอกา ถูกคนร้าย 2 คนใช้อาวุธปืนสั้นยิงเสียชีวิตขณะเดินทางกลับบ้าน[163]
12 มิถุนายน บนถนนสายยะหา-บ้านเนียง หมู่ 1 บ้านยะลา ต.ยะลา อ.เมือง จ.ยะลา คนร้ายใช้อาวุธปืนสั้นยิง นายมะกอเซ็ง ปานิ เสียชีวิต และที่ ตำบลบาโงยซิแน อำเภอยะหา จังหวัดยะลาคนร้ายใช้

อาวุธปืนสั้นยิง นายอิสมาแอ เจ๊ะมะ และ นายสะมารูดิง ซาเมาะ เสียชีวิต [164]ทั้งหมดกำลังออกมาจากตลาดสามแยกบ้านเนียง เพื่อมุ่งหน้ากลับบ้าน
13 มิถุนายน เขตเทศบาลนครยะลาคนร้ายก่อเหตุยิง นายบือราเฮง เปาะมะ ชาวบ้านถึงแก่ชีวิตอำเภอเมืองยะลาคนร้ายก่อเหตุยิง นายอาแซ ยามู ชาวบ้านถึงแก่ชีวิตอำเภอยะรังคนร้ายก่อเหตุยิง นาย

มะกอเซ็ง บาเน็ง ชาวบ้านถึงแก่ชีวิต อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี นายนิแอ กาโบ๊ะ นางซาลีมะฮ์ วาเซะ ได้รับบาดเจ็บสาหัส[165]
14 มิถุนายน อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เกิดเหตุคนร้ายยิง นายสุดิน มามะ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 ต.ปุโละปูโย อ.หนองจิก จ.ปัตตานี และ ที่อำเภอยะรังคน้รายก่อเหตุยิง ด.ต.ธโน ชินนา สังกัดกก.

ตชด.43 อ.นาทวี จ.สงขลา ได้รับบาดเจ็บสาหัส[166]
16 มิถุนายน ตำบลตันหยงดาลอ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี เกิดเหตุคนร้ายใช้อาวุธปืนเอ็ม 16ยิง ทหารเสียชีวิต 4 นาย ได้แก่ 1.สิบเอกกิตติพงษ์ สิงหา 2.สิบเอกพิชิต คำรัต 3.พลทหารคมสัน วงกลม

และ 4. พลทหารวีวัฒน์ จันทราเทพ และขโมยปืนของทหารไปด้วย จำนวน 5 กระบอก[167]
16 มิถุนายน เขตเทศบาลนครยะลา คนร้ายลอบวางระเบิดหน้าโรงเรียนนิบงชนูปถัมภ์ กลางเมืองยะลาส่งผลให้ ด.ต.ยืนยง ดุลยเสรี บาดเจ็บสาหัส นายมาหะมะไดเดน กาสง เจ้าหน้าที่ของ สนง.

แขวงการทางยะลา และภริยาได้รับบาดเจ็บ [168]
17 มิถุนายน ตำบลชัยบุรี อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง นายสาคร ชูเพชร ถูกคนร้ายใช้อาวุธปืนยิงเสียชีวิต[169]
18 มิถุนายน เรือนจำกลางนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส นักโทษก่อเหตุทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ 20 นายและอาสาสมัคร 5 นาย จนได้รับบาดเจ็บสาหัส 11 นาย แบ่งเปนเจ้าหน้าที่ตำรวจ 9 นาย อาสาสมัคร

2 นาย ทั้งหมดต้องนำส่งโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ เนื่องจากไม่พอใจการเข้าตรวจของเจ้าหน้าที่ซึ่งพบยาเสพติดในเรือนจำ และมีเจ้าหน้าที่ทหารพรานหญิง เจ้าหน้าที่ผู้คุมขังนักโทษหญิง

อย่างละ คน ถูกจับเป็นตัวประกันในเหตุกาณ์ครั้งนี้ [170]
19 มิถุนายน จังหวัดสงขลา คนร้ายจำนวน 5 คนก่อเหตุปล้นทรัพย์และทำร้าย นายภานุ สุราตโกได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย[171]หนึ่งในคนร้ายใช้อาวุธปืนเอ็ม 16
20 มิถุนายน เขตเทศบาลนครยะลา คนร้ายก่อเหตุยิง นายโสภณ สองแก้ว กำนันตำบลยุโป เสียชีวิต[172]จังหวัดปัตตานีคนร้ายก่อเหตุยิง นายยูโซ๊ะ หะยีตาเยะ เสียชีวิต[173]
22 มิถุนายน อำเภอรามัน จังหวัดยะลา คนร้ายก่อเหตุยิงนายบือราเฮง สะดีแม อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และเป็นชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน[174]
24 มิถุนายน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสคน ร้ายก่อเหตุระเบิด ในพื้นที่ 3 จุด จนเป็นเหตุให้ นายเที่ยง ชำนาญพงศ์ และ นายวิติ๋ม ศิริ คนงานชลประทาน เสียชีวิต ตำรวจบาดเจ็บ 13 นาย [175]
28 มิถุนายน อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส อส.ทพ.นูรดิง มะทา ถูกคนร้ายซุ่มยิงเสียชีวิต[176]
29 มิถุนายน อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสนายอาหมัด ดือเร๊ะถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานีนายสมจิตร แก้วคงดี ถูกคนร้ายยิงเสียชีวิต[177]

ไม่มีความคิดเห็น: