PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เปิดโลกทัศน์ใหม่ ประวัติการณ์สะท้านฟ้า ยานนาซาโฉบใกล้พลูโต

หลังจากการเผยแพร่ภาพสุดตื่นตา ในประเด็นของปานยักษ์รูปหัวใจที่ประทับอยู่บนดาวพลูโต บนพื้นที่สีแดงกล่ำ ที่ ‘นิว โฮไรซอน’จับภาพให้ชาวโลกได้ยลโฉมสุดตระการตา…

จากกรณีที่ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา จัดการถ่ายทอดสดเหตุการณ์ยานอวกาศ นิว โฮไรซอน เดินทางผ่านดาวเคราะห์แคระ พลูโต เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญในการสำรวจ วิจัย และนำเอารายละเอียดมาพัฒนาการศึกษา ให้เกิดความเข้าใจในระบบสุริยะมากขึ้น

ภารกิจพิชิตพลูโตของ ‘นิว โฮไรซอน’ มีเป้าหมายเพื่อทำแผนที่พื้นผิวของดาวพลูโตและดวงจันทร์ชารอน พร้อมทั้งศึกษาชั้นบรรยากาศของดาวทั้ง 2 ดวงด้วย พร้อมกันนี้ นิว โฮไรซอน ออกเดินทางจากโลกในวันที่ 19 ม.ค.2549 เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่ดาวพลูโตจะถูกลดชั้นจากดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาล ให้เป็นแค่ดาวเคราะห์แคระ

ซึ่งจากผลการสำรวจพบว่า ในฐานะที่พลูโต แต่กระนั้นขนาดของพลูโต ที่ก่อนหน้านี้ สามารถวัดได้ยาก เนื่องด้วยปัจจัยทางด้านระยะทาง และชั้นบรรยากาศ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับมีขนาดใหญ่กว่าที่มนุษย์คาดการณ์ไว้ โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,473 ไมล์ (ราว 2,370 กิโลเมตร) ใหญ่กว่าที่เคยเชื่อในอดีต ส่วนในด้านของสี แม้นักวิทยาศตร์จะยังไม่ฟันธงว่า แท้ที่จริงแล้ว พลูโตมีสีใด แต่ภาพที่จับได้นั้น แสดงให้เห็นว่า ดาวพลูโต มีสีน้ำตาลแดง

พลูโต แผ่นดินที่ห่างไกลจากโลกกว่า 3,000 ล้านไมล์ (หรือราว 4,828 ล้านกิโลเมตร) จากโลก ด้วยงบประมาณ 23,829 ล้านบาท ที่นำพา ยานอวกาศ ‘นิว โฮไรซอน’ หรือ เส้นขอบฟ้าใหม่ ไปสู่ดวงดาวที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคที่เรียกว่า ‘แถบไคเปอร์’ ด้วยความเร็วกว่า 36,000 ไมล์ หรือราว 57,936 เมตร ต่อชั่วโมง ซึ่งถือเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เร็วที่สุด ในบรรดายานที่ทะยานออกจากวงโคจรโลก

‘เบรนแดน โอเวนส์’ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกันการสำรวจดาวพลูโต ว่าแม้การดำเนินการจะเป็นเรื่องยาก และอาศัยระยะเวลายาวนาน แต่กระนั้นการเรียนรู้องค์ประกอบเกี่ยวกับดาวดวงนี้ ถือเป็นปัจจัยที่ดีในการยกระดับระบบสุริยะในอนาคต

ทว่า พลูโต เป็นที่ประจักษ์ในปี 2473 โดยการค้นพบของ ‘ไคลด์ ทอมบอ’ นักดาราศาสตร์ชาวสหรัฐฯ จากการใช้เครื่องมือ กล้องโทรทรรศน์ จากหอดูดาวโลเวลล์ รัฐแอริโซนา

แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยต่าง ๆ ของการเดินทางไปยังดาวเคราะห์แคระดวงนี้ จะต้องใช้เวลาในการประมวลผลจากข้อมูลในการปฏิบัติภารกิจ เป็นระยะเวลาหลายเดือน

ทั้งนี้ทั้งนั้นยังคงมีข้อถกเถียงกันในด้านของพื้นผิวบนผืนแผ่นดินดาวพลูโต จากบทความในไซต์ ‘New HorizonsNASA’s Mission to Pluto’ที่ระบุข้อขัดแย้งในด้านของสีที่แท้จริงของดาวพลูโตที่ยังคงคลุมเครือ ทั้งข้อสันนิษฐานว่ามีสพีช สีแดงกล่ำ หรือสีน้ำตาลกันแน่

ซึ่ง เว็บไซต์ของ ‘นิว โฮไรซอน’ เผยภาพหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า สีของดาวพลูโต อาจประกอบไปด้วยสีสันอันหลากหลาย ซึ่งทางภาพตะวันตก จะมีรูปทรงกรวยสีพีช และจุดสีดำบริเวณทิศตะวันออก และส่วนกลางพบว่ามีสีฟัา และสีแดง เป็นหย่อมๆ ซึ่งเป็นไปได้ว่า สีที่แตกต่างกันไปนั้น แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางภูมิประเทศ

อย่างไรก็ตาม จากระยะเวลาในการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่เดินทางมายาวนานพร้อมด้วย ปัจจัยต่าง ๆ ของการเดินทางไปยังดาวเคราะห์แคระดวงนี้ จะต้องใช้เวลาในการประมวลผลจากข้อมูลในการปฏิบัติภารกิจ เป็นระยะเวลาหลายเดือน


ไม่มีความคิดเห็น: