PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562

กกต.มีมติส่งปมคำนวณส.ส.บช.รายชื่อให้ศาลรธน.วินิจฉัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ 11 เม.ย. 2562 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติ ส่งเรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวนเพื่อจัดสรร จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อ ที่แต่ละพรรคการเมือง จะพึงมีได้ให้ศาลรัฐธรรมนูญิพจารณาวินิจฉัย
////////////
คณะกรรมการการเลือกต้ัง มีมติส่งเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคานวณ เพื่อจัดสรรจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือท่ีแต่ละพรรคการเมืองจะพึงมีได้ ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้พิจารณาเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคานวณจานวนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่แต่ละพรรคการเมืองจะพึงมีได้ ตามมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบมาตรา 128 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ตามที่สานักงานคณะกรรมการการเลือกต้ังเสนอต่อที่ ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง เม่ือวันท่ี 11 เมษายน 2562 แล้ว มีความเห็นดังนี้
๑. ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ วรรคสาม กาหนด หลักเกณฑ์วิธีการคานวณและการคิดอัตราส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือ ให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ ซ่ึงพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ ได้กาหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการคานวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อไว้ สานักงานคณะกรรมการการเลือกต้ังได้เสนอผล การคานวณจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซ่ึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการคานวณตามแนวทางของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่ได้จัดทาวิธีการ คานวณสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อในชั้นพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ แล้ว ปรากฏว่า การคานวณดังกล่าวมีพรรคการเมืองหลายพรรคมีจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ ในเบ้ืองต้นต่ากว่าหนึ่งคน แต่เมื่อคานวณต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ (๕) แล้ว พรรคการเมืองที่มีผลการคานวณจานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะพึงมีได้ ในเบื้องต้นต่ากว่าหนึ่งคนดังกล่าว สามารถได้รับการจัดสรรจานวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อหนึ่งคน
๒. คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อ ๑ แล้วเห็นว่า
๒.๑ แม้การคานวณหาจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่สานักงานคณะกรรมการการ เลือกตั้งดาเนินการมาน้ัน สามารถจัดสรรจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้ครบ ๑๕๐ คน ซ่ึงสอดคล้องกับความเห็นของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญก็ตาม แต่การคานวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา ๑๒๘ (๕) ดังกล่าวมีผลขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ (๒) และ (๔) เนื่องจากมีผลให้พรรคการเมืองท่ีมีจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะพึงมีได้ตาม (๒) ต่ากว่าหนึ่งคน สามารถได้รับการจัดสรรให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายช่ือได้หนึ่งคน จึงอาจทาให้พรรคการเมืองบางพรรค มีจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่าจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ที่ 46/2562
วันที่ 11 เมษายน 2562
ที่จะพึงมีได้ ซึ่งต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ (๔) แต่หาก คานวณหาจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ แล้ว จะทาให้ไม่สามารถจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้ครบ ๑๕๐ คน อีกทั้งหากไม่นาจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ในเบื้องต้นของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรที่จะพึงมีได้ต่ากว่าหนึ่งคนไปคิดคานวณต่อตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ (๕) ก็ไม่สามารถคิดคานวณจัดสรรได้ครบ ๑๕๐ คนได้เช่นกัน จึงไม่มีวิธีการใดที่จะนามาคิดคานวณให้มีจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้จานวน ๑๕๐ คน ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๘๓ ได้
๒.๒ การคานวณหาจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามข้อ ๑ ซึ่งเป็นการดาเนินการ คิดคานวณตามมาตรา ๙๑ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ผลของการคานวณจะไม่สามารถนาไปประกาศผลการเลือกตั้งได้ เพราะอาจขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ (๔)
๓. อาศัยเหตุผลทั้งหมดที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงได้เสนอเรื่องตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยชี้ขาดอานาจหน้าที่ตามมาตรา ๒๑๐ (๑) และ (๒) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) ว่า กรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งจะคานวณหาจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อตามวิธีดังกล่าวข้างต้นแล้ว ไม่มีวิธีใดที่จะทาให้ได้จานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ บัญชีรายชื่อครบจานวน ๑๕๐ คนได้ มีเพียงการคานวณตามมาตรา ๙๑ วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกอบมาตรา ๑๒๘ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่สามารถจะคานวณให้ได้จานวนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อครบจานวน ๑๕๐ คนได้ ดังนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งจะคานวณหา จานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๑๒๘ โดยการคิดคานวณดังกล่าวอาจทาให้พรรคการเมืองบาง พรรคที่มีจานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ต่ากว่าค่าเฉลี่ยต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนได้ จานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อหนึ่งคน คณะกรรมการการเลือกตั้งจะสามารถดาเนินการได้หรือไม่ และการดาเนินการดังกล่าวชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มาตรา ๙๑ หรือไม่






ไม่มีความคิดเห็น: