PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ครบรอบ 4 ปี ปัญหาความขัดแย้งจีน-อุยกูร์

ครบรอบ 4 ปี ปัญหาความขัดแย้งจีน-อุยกูร์

กระทู้สนทนา
เริ่มเลยนะครับ
วันที่ 5 ก.ค.2556 จะเป็นวันครบรอบ 4 ปี เหตุการณ์จราจลครั้งใหญ่ระหว่างชาวอุย์กูร์และชาวฮั่น

การปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีนกับชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง ถือเป็นเหตุการณ์จลาจลที่มีความรุนแรงมากที่สุดของประเทศจีนนับแต่เหตุการณ์ปราบปรามนักศึกษาที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าคนส่วนใหญ่จะยังไม่รู้จักมณฑลซินเจียงและชาวอุยกูร์มากนัก

เหตุการณ์ความวุ่นวายในวันที่ 5 ก.ค. 2552 เริ่มต้นขึ้นเมื่อชาวอุยกูร์/อุ้ยเก๋อราว 1,000-3,000 คน มาชุมนุมกันที่เมืองเอกของมณฑลซินเจียง เพื่อประท้วงเรียกร้องให้ทางการจีนสอบสวนหาตัวผู้อยู่เบื้องหลังเหตุปะทะกันระหว่างคนงานชาวอุยกูร์กับคนงานชาวฮั่น จนส่งผลให้มีคนงานชาวอุยกูร์เสียชีวิต 2 คน ทั้งนี้ก่อนหน้าเหตุการณ์ดังกล่าว ได้เกิดข่าวลือว่า มีหญิงสาวชาวฮั่น 2 คน ถูกข่มขืนโดยชายชาวอุยกูร์ในโรงงาน

แต่การชุมนุมอย่างสงบก็บานปลายกลายเป็นเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งใหญ่ โดยทางการจีนอ้างว่าผู้ชุมนุมชาวอุยกูร์เป็นฝ่ายสร้างความวุ่นวาย ทำลายทรัพย์สมบัติสาธารณะ รวมทั้งจุดไฟเผารถยนต์บนท้องถนน ขณะที่กลุ่มผู้ประท้วงชาวอุยกูร์ก็เห็นว่า ความรุนแรงดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นมาจากการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมโดยทางการจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวน 156 คน บาดเจ็บ 828 คน


สภาพภูมิประเทศ มีภูเขาอาเอ่อไท่ซัน ภูเขาเทียนชาน และภูเขาคุนหลุนชานตั้งอยู่จากทิศเหนือไปยังทิศใต้ มีแม่น้ำถ่าหลี่หมู่ ซึ่งเป็นแม่น้ำภายในดินแดนที่ไม่ไหลลงทะเล ที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีทะเลสาบบ๋อซือเถิง ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของจีน และมีพื้นที่ต่ำถู่หลู่ฟัน ซึ่งเป็นพื้นที่ต่ำสุดของจีน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทราย ทะเลทรายทากลามากัน (ถ่าเค่อลาหม่ากัน) เป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดของจีน และอันดับที่สองของโลก และมีทะเลทรายกู่เอ่อบันทงกู่เท่อ เป็นทะเลทรายใหญ่อันดับที่สองของจีน อุดมด้วยทรัพยากรน้ำมันปิโตเลียม แก๊สธรรมชาติ

พื้นที่ 1.66 ล้านตร.กม แบ่งเขตการปกครองเป็น 17 เมือง 70 อำเภอ และ 844 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้มีหมู่บ้านชนส่วนน้อยถึง 42 หมู่บ้าน ในเมืองใหญ่ทั้ง 13 เมือง เป็นเขตปกครองตนเองของชนส่วนน้อยถึง 5 เมือง

มณฑลซินเจียงมีขนาดใหญ่เป็น 3 เท่าของประเทศฝรั่งเศส ในประวัติศาสตร์แล้ว   ซินเจียงถือเป็นจุดนัดพบสำคัญทางการค้าและวัฒนธรรม เนื่องจากเคยเป็นพื้นที่หยุดพักผู้คนและสินค้าของ "เส้นทางสายไหม" ส่งผลให้ดินแดนแห่งนี้ได้รับมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นอย่างยิ่ง


กลุ่มชนพื้นเมืองของมณฑลซินเจียงคือ ชาว "อุยกูร์" ซึ่งเป็นกลุ่มคนมุสลิมที่มีลักษณะชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรม เป็นพวกเติร์ก อันแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากชาวฮั่นที่เป็นผู้ปกครองและเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหญ่ที่ครอบครองดินแดนส่วนที่เหลือของจีน การดำรงอยู่ของชาวอุยกูร์นี่เองที่ทำให้  ซินเจียงกลายเป็นมณฑลเดียวของประเทศจีนที่มีชาวมุสลิมเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่


ซินเจียงถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจีนตั้งแต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศจีนได้สำเร็จในปี พ.ศ.2492 (ค.ศ.1949)  มณฑลซินเจียงก็มีสถานะเป็น "เขตปกครองตนเอง" ของสาธารณรัฐประชาชนจีน


ในมุมมองของรัฐบาลกลางพรรคคอมมิวนิสต์ที่ปักกิ่ง ซินเจียงถือเป็นส่วนหนึ่งของจีนตลอดมา โดยรัฐบาลได้มองข้ามความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ใหญ่โตมหาศาล อันเกิดขึ้นจากการที่มณฑลแห่งนี้ได้หลอมรวมตนเองเข้ากับดินแดนเอเชียกลางและรัฐต่าง ๆ ของชาวเติร์กมาโดยตลอด และจนกระทั่งปัจจุบันนี้ ชาวอุยกูร์ส่วนใหญ่ในซินเจียงก็ยังรู้สึกว่าพวกเขามีความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับชาวเติร์กทางด้านตะวันตก มากกว่ารัฐบาลกลางที่ปักกิ่งทางด้านตะวันออก


แต่รัฐบาลกลางของจีนก็พยายามกลืนกลายชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียง ด้วยนโยบายการส่งชาวฮั่นจำนวนมากเข้าไปอยู่อาศัยในมณฑลดังกล่าว  จากที่ในปี พ.ศ.2496 (ค.ศ.1953) มีชาวฮั่นอยู่ในซินเจียงเพียง 5 แสนคน แต่ในปี พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000) กลับมีชาวฮั่นในมณฑลแห่งนี้เพิ่มมากขึ้นเป็น 7.5 ล้านคน หรือถือเป็นร้อยละ 42 ของประชากรจำนวน 18 ล้านคนในมณฑล นอกจากนั้น ชาวฮั่นยังกลายเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของเมืองอูรุมชี เมืองเอกของเขตปกครองตนเองซินเจียง เสียด้วย


และยิ่งชาวฮั่นในซินเจียงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ชาวอุยกูร์ก็ยิ่งพยายามขับเน้นอัตลักษณ์ของตนเองมากขึ้น ส่งผลให้เยาวชนชาวอุยกูร์รุ่นหลังเคร่งครัดในหลักการของศาสนาอิสลามยิ่งกว่าคนรุ่นพ่อแม่ นอกจากนี้พวกเขายังหันมาเรียนภาษาอารบิกกันมากขึ้น ซึ่งนี่อาจถือเป็นการประกาศว่าอัตลักษณ์ของชาวอุยกูร์นั้นมีความผิดแผกแตกต่างไปจากอัตลักษณ์ของชาวจีนฮั่นตั้งแต่ในระดับรากฐาน


แม้ชาวอุยกูร์ในเมืองเอกของมณฑลซินเจียงอย่างอูรุมชี อาจจะเริ่มมีวิถีชีวิตประจำวันคล้อยตามแบบชาวฮั่นอันเป็นคนกลุ่มใหญ่ของเมือง และหันมาหาเรื่องราวทางโลกย์ในสังคมสมัยใหม่มากขึ้น แต่สำหรับเมืองบริเวณชายแดนที่อยู่ติดกับดินแดนเอเชียกลางแล้ว รัฐบาลกลางของจีนยังต้องจัดส่งกำลังทหารเข้าไปควบคุมกิจกรรมทางการเมืองและบรรดาอิหม่ามในมัสยิดต่าง ๆ ของเมืองเหล่านั้นอย่างเข้มงวดกวดขัน เนื่องจากรัฐบาลเห็นว่าตนเองกำลังเผชิญหน้าอยู่กับขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่เติบโตมากขึ้น 

ทั้งนี้ กิจกรรมทางการเมืองในการแบ่งแยกดินแดนของชาวอุยกูร์ในมณฑลซินเจียงได้ถูกปลุกเร้าขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ 1990 เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลาย และรัฐมุสลิมเก่าแก่ทั้งหลายในเอเชียกลางได้มีโอกาสแยกตัวออกมาเป็นรัฐอิสระที่มีเอกราชเป็นของตนเอง เช่น คาซักสถาน คีร์กิสถาน และอุซเบกิสถาน เป็นต้น ชาวอุยกูร์จึงเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะแยกตนเองออกมาเป็นรัฐอิสระในนาม "อุยกูริสถาน" หรือ "เตอร์กิสถานตะวันออก" บ้าง อย่างไรก็ตามรัฐบาลจีนได้พยายามใช้มาตรการทางด้านเศรษฐกิจและการทูตอันชาญฉลาดมาหน่วงเหนี่ยวไม่ให้รัฐอิสระในเอเชียกลางต่าง ๆ ช่วยเหลือซินเจียงในการแยกตัวออกเป็นอิสระ 

ทางการจีนส่งทหารเข้าไปรักษาความสงบเรียบร้อยในเมืองก่อนวันครบรอบเหตุจราจล


ถึงแม้จะมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดจากรัฐบาลจีน แต่ก็ยังมีเหตุการณ์ไม่สงบ วันที่ 26/28 มิ.ย. ที่ผ่านมา

ทำให้เหล่าผู้นำจากคณะกรรมการประจำกรมการเมืองฯองค์กรทรงอำนาจสูงสุดจีน
รีบเดินทางไปยังซินเจียง เพื่อคลี่คลายวิกฤขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ
       
นายอี๋ว์ เจิ้งเซิง ผู้นำใหญ่หมายเลข 4 จากคณะกรรมการประจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน นายเมิ่ง เจี้ยนจู้ แห่งคณะกรรมการการเมืองและกฏหมายกลางพรรคฯ และนายกั่ว เซิงคุน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพิทักษ์สันติราษฏร์ ได้เดินทางไปยังอูลู่มู่ฉี เมือเอกของเขตปกครองตัวเองชนชาติอุยกูร์มณฑลซินเจียง เมื่อวันเสาร์(29 มิ.ย.) เพื่อคลี่คลายปัญหาขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ ที่ปะทุกลายเป็นจลาจลใหญ่อีกครั้งเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 35 คน

เจ้าหน้าที่เดินตรวจดูสภาพความเสียหายจากการประท้วงเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว

ภาพการประท้วงในเมืองต่างๆ

ภาพการประท้วงครั้งแรก  

ภาพและคลิปมีเนื้อหารุนแรง โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม





จีนครอบครองซินเจียงทั้งหมดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ครับ ภายหลังจากสงครามอันยาวนานระหว่างราชสำนักชิงและพวกจุนเกอะเอ่อร์ (รบกันต่อเนื่องมาแต่รัชสมัยคังซีจรดเฉียนหลง) พอพวกจุนเกอะเอ่อร์พ่ายแพ้ราบคาบ ต้าชิงก็ผนวกดินแดนเกือบทั้งหมดของซินเจียงเข้ามาในอาณาเขตครับ
ทีนี้ช่วงรัชสมัยถงจื้อตอนต้น เกิดกบฎเผ่าหุยในซินเจียง และราชสำนักชิงเองก็๋ยุ่งๆกับการปราบกลุ่มไท่ผิงอยู่ ทำให้พวกซินเจียงกลายเป็นสุญญากาศทางอำนาจครับ (มีรัสเซียเข้ามาแทรกแซง) ต้องหลังปี 1875 นี่แลครับที่กองทัพชิงนำโดย จั๊วจ้งถังยกเข้ามาปราบพวกกบฏเผ่าหุยและพยายามพิชิตซินเจียงคืน ก่อนจะทำได้สำเร็จในปี 1881 
ภายหลังสนธิสัญญาอีลี่ ปี 1881 ที่ต้าชิงและรัสเซียกระทำร่วมกันนั้น รัสเซียสนับสนุนให้ต้าชิงผนวกซินเจียงเข้าเป็นมณฑลหนึ่งอย่างชอบธรรม และยอมรับอธิปไตยของต้าชิงเหนือซินเจียงครับ ต้าชิงก็เลยก่อตั้งมณฑลซินเจียง (ใช้ชื่อว่า ซินเจียง ที่แปลว่าพรมแดนใหม่) ในปี 1884 อย่างเป็นทางการ

การอพยพประชากรชาวจีนฮั่นเข้าไปในซินเจียงไม่ได้พึ่งมีมาครับ เว่ยหยวน บัณฑิตและข้าราชการในสมัยเต้ากวง ก็บันทึกว่าการที่พวกจุนเกอะเอ่อร์ลดจำนวนลง ทำให้ชาวฮั่นจำนวนหลายหมื่นครัวเรือนอพยพเข้าไปในซินเจียง (คือเว่ยหยวนได้มีโอกาสไปซินเจียง เพราะ เขาต้องติดตามหลินเจ๊อะสวี ที่ถูกจักรพรรดิเต้ากวงสั่งเด้งจากกวางโจว ไปดองเค็มที่ซินเจียง)

ตอนปลดปล่อยประเทศใหม่ๆ ซินเจียงมีประชากรชาวฮั่นประมาณ 2.5 แสนคน (คิดเป็น 6%) ตอนปี 1957 ด้วยนโยบายการแบ่งที่ดิน ทำให้มีชาวฮั่นอพยพเข้าไปตั้งรกรากในซินเจียงเพิ่มขึ้นเป็น 8 แสนคน (ราวๆ 15% ของประชากรทั้งมณฑล) และกระโดดเป็น 40% ในยุคปี 1970 (เนื่องจากการปฏิวัติวัฒนธรรม ที่มีการอพยพหนุ่มสาวจำนวนมากไปซินเจียง)

ไม่มีความคิดเห็น: