PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นิวยอร์คไทม์รายงานผู้ชุมนุมยังไม่หยุดแม้รัฐบาลยุบสภาแล้ว

โทมัส ฟุลเลอร์ New York Times บอกว่า แม้นายกฯ จะประกาศยุบสภา ก็ยังไม่เป็นที่พอใจของผู้ชุมนุม โดยอ้างคำพูดของอัญชลี ไพรีรักษ์ แกนนำการชุมนุมที่บอกว่า “มันไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของเรา” คุณอัญชลีหมายถึงการเลือกตั้งไม่ใช่เป้าหมายของการชุมนุม “เรายังจะเดินหน้าชุมนุมต่อไป”

โทมัส ฟุลเลอร์รายงานต่อไปว่า สิ่งที่ผู้ชุมนุมเรียกร้องคือการนำระบบ “สภาประชาชน” ซึ่งไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนมาใช้แทนระบอบประชาธิปไตยผ่านการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ผู้นำภาคประชาชนและนักวิชาการจำนวนมากปรามาสว่าเป็นเรื่องในอุดมคติ ทำไม่ได้จริง และเป็นการถอยหลังเข้าคลอง (idealistic, unworkable and retrograde)

พรรคฝ่ายค้านในประเทศไทยมีความไม่พอใจอย่างมากเนื่องจากที่ผ่านมาไม่เคยชนะการเลือกตั้ง และทุกครั้งต้องพ่ายแพ้ต่อเครื่องจักรกลทางการเมืองที่ทรงพลัง ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากทักษิณ ชินวัตรที่เป็นมหาเศรษฐี และอดีตนายกรัฐมนตรี รวมทั้งเป็นพี่ชายของยิ่งลักษณ์

เมื่อวันอาทิตย์ พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคการเมืองเก่าแก่สุด และเป็นพรรคที่สนับสนุนการชุมนุมในครั้งนี้ประกาศว่า จะลาออกจากตำแหน่งในรัฐสภา เพื่อเข้าร่วมเดินขบวนกับประชาชนขับไล่รัฐบาล

“เราไม่อาจเอาชนะพวกเขาได้” เทพไท เสนพงศ์ หนึ่งในสส.ซึ่งลาออกเมื่อวันอาทิตย์กล่าว “ไม่ว่าเราจะยกทั้งมือและเท้าเรารวมกันก็ยังสู้เสียงของเขาไม่ได้ เราจึงไม่เคยชนะ”

(“We cannot beat them,” said Theptai Seanapong, one of the members of Parliament who resigned on Sunday. “It doesn’t matter if we raise our hands and feet in parliamentary votes, we will never win.”)

สาทิตย์ วงศ์หนองเตย หนึ่งในแกนนำผู้ชุมนุมและอดีตสส.พรรคปชป.กล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า ยังต้องเดินขบวนต่อไปเพราะถ้าให้เป็นรัฐบาลรักษาการต่อไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ กลัวว่าจะมีการโกงการเลือกตั้ง “พวกเขาก็จะกลับมามีอำนาจเหมือนเดิม” สาทิตย์กล่าว “เราไม่อาจปล่อยให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้”

โทมัส ฟุลเลอร์รายงานต่อว่า ความไม่เชื่อมั่นในระบอบการเมืองแบบเลือกตั้งเกิดขึ้นทั่วไปในภูมิภาค ในมาเลเซีย มีการแบ่งเขตเลือกตั้งเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองบางพรรค ในกัมพูชา ฝ่ายค้านกล่าวหาว่ามีการโกงการเลือกตั้ง แต่ที่ต่างกันอย่างมากคือในไทย เป็นที่ชัดเจนอย่างมากว่าพรรคของทักษิณชนะใจเสียงส่วนใหญ่ของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง โดยการออกแบบนโยบายที่ตอบสนองความพอใจของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในต่างจังหวัด โดยเฉพาะทางภาคเหนือ เป็นเหตุให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งอย่างเด็ดขาดทุกครั้งนับแต่ปี 2544 เป็นต้นมา

ในขณะเดียวกัน นายกฯ ยิ่งลักษณ์ได้รับเสียงสรรเสริญมากมายจากรัฐบาลต่างประเทศ ต่อกรณีการรับมือกับวิกฤตครั้งนี้ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวอย่างก้าวร้าวของผู้ประท้วง ซึ่งได้บุกยึดกระทรวงการคลัง ศูนย์ราชการตรงชานเมือง ทั้งยังมีการตัดไฟฟ้าชั่วคราวในหน่วยงานของรัฐหลายแห่ง รวมทั้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ในขณะที่สหภาพยุโรป (European Union) กล่าวว่า การปฏิบัติหน้าที่ของทางการไทยมีลักษณะที่ “อดกลั้นและมีสัดส่วนเหมาะสม” (“restrained and proportionate”)

http://www.nytimes.com/2013/12/09/world/asia/members-of-thai-opposition-party-quit-parliament.html?_r=0&pagewanted=all


ไม่มีความคิดเห็น: