PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เศร้า!'สรจักร'นักเขียนดังเสียชีวิตแล้ว

เศร้า!'สรจักร'นักเขียนดังเสียชีวิตแล้ว

วงการน้ำหมึกเศร้า!นักเขียนดังเจ้าของฉายา 'สตีเฟ่น คิง เมืองไทย' เสียชีวิตแล้ว

              29 พ.ค.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สรจักร ศิริบริรักษ์ เสียชีวิตในวัย 58 ปี โดยมีผู้แจ้งเหตุเสียชีวิตไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า เมื่อเวลา 14.00 น. พบร่างผู้เสียชีวิตคว่ำหน้าอยู่ในบ่อน้ำลึกราว 2 เมตร บริเวณใกล้ห้องนอน โดยมีน้ำและขนมวางอยู่ขอบบ่อ ในบ้านพักย่านพหลโยธิน เขตสายไหม
              สำหรับ สรจักร ศิริบริรักษ์ หรือรู้จักกันในนาม สรจักร เป็น นักเขียนเรื่องสั้นแนวเขย่าขวัญ ได้รับฉายาว่าเป็น สตีเฟ่น คิง เมืองไทย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากผลงานเรื่องสั้นแนวเขย่าขวัญแล้ว ยังเขียนหนังสือสารคดีเกี่ยวกับนิติเวชศาสตร์ และโภชนาการอีกด้วย โดยมีนามปากกา อาทิ  สรจักร / สรจักร ศิริบริรักษ์ / เภสัชกรสรจักร ศิริบริรักษ์
                ทั้งนี้ สรจักร ศิริบริรักษ์ เกิดที่จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่สองของครอบครัวข้าราชการลูกห้า บิดา – นายชัยบุรี ศิริบริรักษ์ รับราชการในกรมชลประทาน และมารดา - นางสมถวิล ศิริบริรักษ์ เป็นข้าราชการครู หนึ่งปีถัดมา ครอบครัวย้ายไปตั้งถิ่นฐานที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งในขณะนั้นเศรษฐกิจกำลังรุ่งเรืองจากผลของการเข้ามาตั้งฐานทัพของกองทัพสหรัฐในช่วงสงครามเวียดนาม ครอบครัวศิริบริรักษ์มีกิจการบังกะโลให้ทหารอเมริกันเช่า และทำฟาร์มไก่เนื้อ/ไข่ หมู วัว ทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และลูกทั้งห้าคนถูกสอนให้มีส่วนช่วยในกิจการตั้งแต่เด็ก หลังจบมัธยมศึกษาปีที่สาม จากโรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา สรจักรได้ย้ายเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนต่อมัธยมปลายที่โรงเรียนวัดราชโอรส และสอบเข้าเรียนในคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีความสนใจพืชสมุนไพรไทยเป็นตัวกระตุ้น หลังจบปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2521 สรจักรเลือกทำงานในชนบท โดยเริ่มงานในตำแหน่งลูกจ้างของโรงพยาบาลขนอม อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช รับค่าจ้างเริ่มต้น ในอัตราเดือนละ 750 บาท และได้เรียนรู้การดำรงชีวิตแบบชาวบ้านชนบท ปลูกผัก จับปลาทะเล ดำน้ำ เดินป่าหาสมุนไพร ซึ่งประสบการณ์ตรงเหล่านี้ รวมทั้งการช่วยแพทย์ผ่าตัด ชันสูตรศพ ฉีดศพ ฯลฯ ได้กลายเป็นข้อมูลที่สำคัญยิ่งในการผลิตงานเขียนในเวลาต่อมา

              หลังจากศึกษาต่อปริญญาโท ด้านสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยมหิดล สรจักรขอย้ายกลับมาอยู่กรุงเทพฯ ในตำแหน่งเภสัชกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงฯ กระทรวงสาธารณสุข

              อีกทั้ง ด้านผลงาน สรจักร ได้รับการต้อนรับจากผู้อ่านด้วยดี มีการพิมพ์ซ้ำทุกเล่ม เช่น ศพใต้เตียง ได้รับการตีพิมพ์ซ้ำเป็นครั้งที่ 27 ศพท้ายรถครั้งที่ 26 ฯลฯ รายงานผลการวิเคราะห์กลวิธีการนำเสนอเรื่องสั้นแนวหักมุมจบของ สรจักร ศิริบริรักษ์ โดยผู้วิจัยนายวัฒนา ขัติวงษ์ และคณะกล่าวว่า งานเขียนมีจุดเด่นตรงที่ “กระชับ หักมุม มีเหตุผลในตัว และที่สำคัญที่สุด ความรู้วิชาการต้องเป็นจริง อ้างอิงได้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อ่าน พร้อม ๆ กับการได้รับความเพลิดเพลินในอรรถรส..... “

               ปทุมวดี ล้ำเลิศ ได้ทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาในเรื่องสั้นแนวฆาตกรรมของสรจักร ศิริบริรักษ์ งานเขียนของสรจักร จำแนกได้เป็น 4 กลุ่ม คือวรรณกรรมเรื่องสั้น งานเขียนอาชญคดี งานเขียนด้านสุขภาพ และงานเขียนจิปาถะ แต่ที่ทำให้เขามีชื่อเสียง เป็นผลงานวรรณกรรมเรื่องสั้น กับ งานเขียนอาชญคดี ผลงานเรื่องสั้นของสรจักรมีประมาณ 200 เรื่อง สำนักพิมพ์มติชนได้นำมารวมเล่มเป็นชุด เรียกกันว่า “สามศพ สามผี สามวิญญาณ” ดังนี้ -ชุดสามศพ ประกอบด้วยรวมเรื่องสั้น 3 เล่มคือ ศพใต้เตียง ศพข้างบ้าน และ ศพท้ายรถ -ชุดสามผี ประกอบด้วยรวมเรื่องสั้น 3 เล่มคือ ผีหัวเราะ ผีหัวขาด และ ผีหลอก -ชุดสามวิญญาณ ได้แก่วิญญาณครวญ คนสองวิญญาณ

              อย่างไรก็ตาม 11 ธันวาคม พ.ศ. 2550 บล็อก partybkk ได้แจ้งข่าวว่าสรจักรจะหยุดการเขียนหนังสือด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ และ นักฆ่าบ้ากาม เป็นงานเขียนอาชญาคดีเรื่องสุดท้ายของสรจักร มีการขอนำผลงานของสรจักรเผยแพร่ในเว็บไซต์เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น ศักดิ์สิทธิ์ นามสุวรรณ การทำภาพยนตร์ขนาดสั้นเพื่อประกวด การเชิญไปบรรยาย การเผยแพร่ทางวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ และยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักเขียนเรื่องสั้นรุ่นหลัง

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แดงยันทำหลักอำเภอริมถนนแค่สัญลักษณ์


แดงยันทำหลักอำเภอริมถนนแค่สัญลักษณ์

แดงยันทำหลักอำเภอริมถนนแค่สัญลักษณ์
เสื้อแดงพะเยายันทำหลักอำเภอเสื้อแดงตั้งริมถนนแต่แสดงสัญลักษณ์ ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน นายอำเภอย้ำไม่มีความขัดแย้ง
นายธนพัฒน์ ชัยชนะ ประธานกลุ่มแดงพะเยาหลังเขาจุน จ.พะเยา กล่าวว่า กรณีที่ น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ให้ข้อมูลว่ามีประชาชนในพื้นที่ อ.จุน จำนวน 500 คน ได้มีหนังสือร้องเรียนไปถึง น.ส.มัลลิกา ไม่พอใจ ที่กลุ่มเสื้อแดงได้จัดทำหลักอำเภอเสื้อแดงไว้ที่ริมถนนสายพะเยา-จุน บริเวณเนินทางเข้า อ.จุน ใกล้ประตูเวียงลอนั้น อยากชี้แจงว่า หลักอำเภอเสื้อแดงดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงออกทางสัญลักษณ์ของกลุ่มเสื้อแดง อ.จุน เท่านั้น ไม่ได้ใช้เป็นหลักเขตของทางราชการแต่อย่างใด
"ขอให้รองโฆษก ปชป.เปิดเผยรายชื่อผู้ที่ร้องเรียนเพราะหากเป็นจริงพวกผมก็ยินดีรับฟังความคิดเห็นเช่นกัน ทั้งนี้กลุ่มเสื้อแดงไม่เคยได้สร้างความเดือดร้อนให้ใครเลย ตรงกันข้ามเราทำงานช่วยเหลือสังคมมาตลอด หากต้องการจุดประกายเป็นประเด็นทางการเมือง เสื้อแดงพะเยายินดีแลกเปลี่ยนกับ น.ส.มัลลิกา"นายธนพัฒน์กล่าว
นายศิริวัฒน์ จุปะมัดถา ผู้ประสานงานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)จังหวัดพะเยา กล่าวว่า ไม่เห็นว่าหลักอำเภอเสื้อแดงที่ แดงพะเยาหลังเขาจุนทำขึ้นสร้างความเดือดร้อนกับผู้ใดเลย ตรงกันข้ามใครที่เข้า-ออก พื้นที่ อ.จุน กลับได้เห็นสัญลักษณ์ที่ชัดเจนว่าถึงพื้นที่ไหนแล้ว ดังนั้นหากจะสร้างประเด็นทางการเมือง คิดว่าปชป.ควรรับเรื่องร้องทุกข์ที่เป็นประโยชน์ช่วยเหลือประชาชนได้ สร้างสรรค์และพัฒนาบ้านเมือง
ด้านนายวราดิศร อ่อนนุช นายอำเภอจุน จ.พะเยา กล่าวว่า กำลังทำหนังสือเพื่อรายงานถึงกระทรวงมหาดไทย(มท.) เรื่องหลักอำเภอเสื้อแดง เนื่องจากได้มีหลักดังกล่าวตั้งแต่ก่อนที่ตนจะย้ายมารับตำแหน่งแล้ว ซึ่งในพื้นที่ของ อ.จุน ก็ไม่ได้มีเรื่องขัดแย้งหรือความแตกแยกใดๆ
ขณะที่นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่สอง กล่าวว่า เป็นสิทธิส่วนตัวของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันแสดงออกทางความคิดด้านการเมืองและแสดงสัญลักษณ์ และจนถึงเวลานี้เองตนคิดว่าเรื่องของสีเสื้อควรสลายสีได้แล้ว การเมืองต้องมีการเดินหน้า พัฒนาการเมือง ไม่ยึดติดและจมลึกกับอดีตที่จะเป็นความขัดแย้ง ทุกฝ่ายต้องร่วมกันพัฒนาบ้านเมืองให้ก้าวหน้า

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ดีเอสไอตั้งสำนักปฎิบัติการคดีพิเศษ 10 ภาค

ดีเอสไอตั้งสำนักปฎิบัติการคดีพิเศษ 10 ภาค

ดีเอสไอตั้งสำนักปฎิบัติการคดีพิเศษ10ภาคส่งผอ.ศูนย์เข้าประจำการเปิดที่ทำการพร้อมกันทั่วประเทศ1มิ.ย.

นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ แถลงว่า กรมดีเอสไอได้ปรับโครงสร้างภายในของสำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค โดยจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค1-9 และจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม10ภาค มีได้กำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบ และได้มีคำสั่งแต่งตั้งผอ.ศูนย์ทั้ง 10ภาค ประกอบด้วย
1.นายวสวัต ชวลิตธำรง พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค1 (พระนครศรีอยุธยา) รับผิดชอบ พื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท สระบุรี ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ

2.นายประวิทย์ ไชยบัวแดง พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค2(ชลบุรี) รับผิดชอบพื้นที่ จ.ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา และนครนายก

๓.นายนิรันดร ชัยศรี พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการ ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค3(นครราชสีมา) รับผิดชอบพื้นที่ จ.นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ

4.นายภาสกร เจนประวิทย์ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค4(ขอนแก่น) รับผิดชอบพื้นที่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มุกดาหาร สกลนคร นครพนม อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย และ เลย

5. พันตำรวจโท สมพร ชื่นโกมล พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค5 (เชียงใหม่) รับผิดชอบ พื้นที่ จ.เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ลำปาง น่าน แพร่ เชียงราย และ พะเยา

6.นายสมพร ทิพยโสตนัยนา พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค 6 (พิษณุโลก) รับผิดชอบ พื้นที่ จ.พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี และเพชรบูรณ์

7. พันตำรวจโท วีรวัชร์ เดชบุญภา พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค 7 (นครปฐม) รับผิดชอบ พื้นที่ จ.นครปฐม สมุทรสาคร กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี

8. นายอุดม เพชรคุต พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค 8 (สุราษฎร์ธานี) รับผิดชอบ พื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ และ ภูเก็ต)

9.พันตรีอภิชัย เตียยะกุล พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษภาค 9 (สงขลา) รับผิดชอบ พื้นที่ จ.สงขลา สตูล ตรัง และ พัทลุง

10. พันตำรวจตรี อิทธิพล พรหมดวง พนักงานสอบสวนคดีพิเศษชำนาญการพิเศษ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี) รับผิดชอบ พื้นที่ จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

พร้อมกันนี้ คณะกรรมการจัดหาอาคารสถานที่ทำการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว และพร้อมเปิดให้บริการแก่ประชาชนตามภารกิจได้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2556 

ทั้งนี้ กรมได้อนุมัติให้มี “ส่วนประสานงานและระบบการข่าวด่านตรวจคนเข้าเมือง และศุลกากร” ขึ้นในสำนักปฏิบัติการคดีพิเศษภาค เพื่อเป็นการบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานของรัฐอื่น ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานกรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนอีกทางหนึ่ง

วันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ส.ส.เพื่อไทยโดนสอยอีกศาลฎีกาฯสั่งถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี! ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 สุรินทร์


ศาลฎีกาฯสั่งถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี! ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 สุรินทร์ พท. 

วันนี้(17 พ.ค.) ที่ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ   ศาลได้อ่านคำสั่ง คดีหมายเลขดำที่ ลต.18/2555 ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาฯมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง ของนายกลยุทธ  เรืองกาญจนเศรษฐ์ ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 จ.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ผู้คัดค้าน มีกำหนด 5 ปี เนื่องจาก นายกลยุทธ ได้ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)พ.ศ.2550 มาตรา 53(1)

ศาลฎีกาฯ วินิจฉัยแล้วเห็นว่า ตามระเบียบของ กกต.ว่าด้วยการหาเสียง ข้อควรปฏิบัติ  และข้อห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. รวมทั้งข้อปฏิบัติต่าง ๆ และการดำเนินการใด ๆ ของพรรคการเมือง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554  ซึ่งควรจัดฝึกอบรมให้กับบุคคลผู้ช่วยในการหาเสียงเลือกตั้งโดยให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเลือกตั้ง  และอาจจัดหาเสื้อผ้า สิ่งของ เลี้ยงอาหาร หรือเครื่องดื่ม  สำหรับบุคคลผู้ช่วยในการหาเสียงเลือกตั้งได้  แต่ต้องแจ้งรายชื่อและจำนวนบุคคลให้ กกต.จังหวัดทราบด้วย  แต่ตามทางไต่สวนปรากฏว่า นายกลยุทธ  ไม่ได้คัดเลือกบุคคลที่จะมาช่วยหาเสียงเลือกตั้ง คงดำเนินการในลักษณะหาคนมาประมาณ 100- 200 คน มาฟังการปราศรัย โดยผู้มาฟังการปราศรัยที่ได้รับเงินไปนั้น นายกลยุทธ อ้างว่า  เพื่อให้ช่วยประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีประมาณ 80 คนนั้น ก็ไม่ปรากฏว่า มีการมอบหมายให้ช่วยหาเสียง แจกแผ่นพับ เพื่อประชาสัมพันธ์การสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัคร หรือพรรคการเมือง  ทั้งมิได้แจ้งรายชื่อ และจำนวนบุคคลผู้ช่วยในการหาเสียงเลือกตั้งให้ กกต. จ.สุรินทร์ ทราบแต่อย่างใด

ในส่วนเนื้อหาสาระของการบรรยายก็เป็นเพียงให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายพรรค ที่สำคัญได้ความจากพยานฝ่ายผู้ร้อง ซึ่งเข้าร่วมรับฟังการปราศรัยที่นายกลยุทธ ผู้คัดค้านจัดขึ้นก็เป็นการแนะนำนโยบายของพรรคเพื่อไทย และให้ผู้ฟังการปราศรัยช่วยลงคะแนนให้แก่นายกลยุทธ  โดยมิได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง หรือกฎหมายเลือกตั้งแต่ประการใด  ที่นายกลยุทธอ้างว่า เป็นการปราศรัยให้ผู้สนใจสมัครเป็นบุคคลผู้ช่วยในการหาเสียงเลือกตั้งนั้น ไม่น่าเชื่อถือ

การกระทำของนายกลยุทธ ผู้คัดค้าน จึงมีลักษณะเป็นการปราศรัยหาเสียงเพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิมาลงคะแนนเสียงให้ตนเอง ด้วยการให้เงินแก่ผู้มาฟังการปราศรัย หาใช่เป็นการอบรมและจัดหาบุคคลมาช่วยหาเสียงเลือกตั้ง  กรณีมีเหตุสมควรเชื่อได้ตามคำร้องของผู้ร้องว่า นายกลยุทธ ผู้คัดค้าน ได้ฝ่าฝืนพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) พ.ศ.2550 มาตรา 53(1)  มีผลทำให้การเลือกตั้ง สส.เขต1 จ.สุรินทร์มิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ดังนั้นศาลฎีกาฯ จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนายกลยุทธ ผู้คัดค้าน มีกำหนด 5 ปี นับแต่วันมีคำสั่ง.

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ลายแทงขุมทรัพย์7.6หมื่นล้าน′ทักษิณ′


ดูจะจะลายแทงขุมทรัพย์7.6หมื่นล้าน′ทักษิณ′อยู่ในบัญชีใคร ที่ไหน อย่างไร !!

Prev
1 of 3
Next
คลิกภาพเพื่อขยาย
updated: 25 ก.พ. 2553 เวลา 12:28:40 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
เฉพาะเงินฝากที่อยู่ในบัญชีของลูกสาว"พินทองทา" มีกว่า 2.3 หมื่นล้าน พานทองแท้อีกกว่า 1.6 หมื่นล้าน ที่เหลือเป็นเงินฝาก เงินลงทุน หุ้น ฯลฯ กระจายอยู่ในคนในตระกูลชินวัตร ดามาพงษ์ วงศ์สวัสดิ์อีกเพียบ !!
หมายเหตุ"มติชนออนไลน์"-เป็นประกาศของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เคยประกาศเกี่ยวกับรายการทรัพย์สินของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หลังจากที่อัยการสูงสุด ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาฯขอให้มีคำสั่งให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต   พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยกล่าวหาว่า  พ.ต.ท.ทักษิณ มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติและมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประสงค์จะคัดค้านยื่นคำคัดค้านต่อศาลฎีกาฯภายใน 30 วันนับแต่ประกาศ

คำร้องดังกล่าว อัยการสูงสุดระบุว่า ทรัพย์สินที่ยื่นคำร้องนั้นเป็นทรัพย์สินที่ได้จากการขายหุ้น บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน ๑,๔๑๙,๔๙๐,๑๕๐ หุ้น ให้กับกลุ่มเทมาเส็กของ ประเทศสิงคโปร์ดยมีบริษัท ชีดาร์ โฮลดิ้ง จำกัดและ บริษัท แอสแพน โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างด้าวเป็นผู้ซื้อรวมค่าซื้อหุ้นและเงินปันผลและดอกผล เป็นเงิน ๗๖,๖๒๑,๖๐๓,๐๖๑.๐๕ บาท(เจ็ดหมื่นหกพันหกร้อยยี่สิบเอ็ดล้านหกแสนสามพันหกสิบเอ็ดบาทห้าสตางค์)

เพื่อให้สาธารณชนทราบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวก่อนที่ศาลฎีกาฯจะมีคำพิพากษาในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553  จึงขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์สินดังกล่าวซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในชื่อบุคคลของ ครอบครัวชินวัตร บริษัทต่างๆ มูลนิธิฯ 20 รายมานำเสนออีกครั้งหนึ่ง ดังนี้ 

๑. ทรัพย์สินที่มีชื่อนางสาวพินทองทา ชินวัตร เป็นผู้ครอบครอง  ได้แก่  เงินฝากธนาคารและเงินลงทุน  ดังต่อไปนี้

๑.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขา ซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๒-๓๗๒๘๗-๙ จำนวนเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามพันล้านบาทถ้วน)

๑.๒ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร เลขที่บัญชี ๑๔๖-๒-๓๑๐๘๑-๒ จำนวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันล้านบาทถ้วน)

๑.๓ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม เลขที่บัญชี ๐๐๑-๑-๕๕๑๘๘-๒ จำนวนเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามพันล้านบาทถ้วน)
 
๑.๔ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๒-๔๑๕๒๔-๔ จำนวนเงิน ๓๑๑,๐๑๓,๐๙๕.๙๗ บาท  (สามร้อยสิบเอ็ดล้านหนึ่งหมื่นสามพันเก้าสิบห้าบาทเก้าสิบเจ็ดสตางค์)
 
๑.๕ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๑๒๖๓๑-๓ จำนวนเงิน ๑๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นสามพันล้านบาทถ้วน)

๑.๖ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๑๒๒๒๒-๐ จำนวนเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท(สามพันล้านบาทถ้วน)

๑.๗ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBSFF) เลขที่บัญชี ๑๑๑-๘-๐๒๒๖๕๙๑-๖ จำนวนเงิน ๒๑๘,๘๒๓,๙๓๒.๖๐ บาท (สองร้อยสิบแปดล้านแปดแสนสองหมื่นสามพันเก้าร้อยสามสิบสองบาทหกสิบสตางค์)

๒. ทรัพย์สินที่มีชื่อนางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคารและเงินลงทุน  ดังต่อไปนี้

๒.๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาพหลโยธิน เลขที่บัญชี ๐๑๔-๑-๑๑๓๐๐-๙ จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน)

๒.๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาพหลโยธิน เลขที่บัญชี ๐๑๔-๒-๔๑๓๓๕-๕ จำนวนเงิน ๓๓,๕๐๒,๔๕๑ บาท (สามสิบสามล้านห้าแสนสองพันสี่ร้อยห้าสิบเอ็ดบาทถ้วน)

๒.๓ กองทุนเปิดแอสเซทพลัสนิปปอนโกรท (ASP-NFG) เลขประจำตัวผู้ถือหน่วยลงทุน ๙๙๙๙๙๙๐๑๗๔๙๐ บลจ.แอสเซท พลัส จำนวนเงิน   ๒๐๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองร้อยสองล้านบาทถ้วน)

๓. ทรัพย์สินที่มีชื่อนายบรรณพจน์  ดามาพงศ์ เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคารและเงินลงทุน  ดังต่อไปนี้

๓.๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๒-๗๘๑๘๘-๑ จำนวนเงิน ๓๔๐,๐๒๑,๑๔๒.๐๒ บาท (สามร้อยสี่สิบ  ล้านสองหมื่นหนึ่งพันหนึ่งร้อยสี่สิบสองบาทสองสตางค์)

๓.๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๑๑๑๘๘-๙ จำนวนเงิน  ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันล้านบาทถ้วน)

๓.๓ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๑๓๐๙๕-๖ จำนวนเงิน ๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามพันล้านบาทถ้วน)

๓.๔ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี   ๐๐๑-๘-๐๒๕๕๕๐๐-๖ จำนวนเงิน ๗๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดร้อยล้านบาทถ้วน)

๓.๕ หุ้นธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  ใบหลักทรัพย์เลขที่ ๐๐๑๖๐๑๐๐๐๕๖๒๔๕ จำนวน ๒๘,๙๐๐,๐๐๐ หุ้น
 
๓.๖ หุ้นบริษัททุนธนชาต จำกัด (มหาชน) ใบหลักทรัพย์เลขที่ ๐๗๔๗๐๑๐๐๐๐๐๑๙๐ จำนวน ๕๗,๐๐๐,๐๐๐ หุ้น
 
๓.๗ หุ้นบริษัท เอส ซี แอสเสท คอร์ปอร์เรชั่น จำกัด (มหาชน) ใบหลักทรัพย์เลขที่ ๐๐๘๓๐๑๐๐๐๐๘๖๑๐  จำนวน ๑๕,๙๐๐,๐๐๐ หุ้น

รวมจำนวนเงินข้อ ๓.๕ – ๓.๗ เป็นเงิน ๒,๖๘๒,๘๘๗,๕๑๐.๙๙ บาท (สองพันหกร้อยแปดสิบสองล้านแปดแสนแปดหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยสิบบาทเก้าสิบเก้าสตางค์)

๓.๘ เงินที่โอนจากบัญชีเงินฝากธนาคารทหารไทย สาขาย่อยเพนนินซูล่า เลขที่บัญชี ๒๐๒-๓-๐๐๕๑๖-๔ จำนวนเงิน ๕๐๒,๑๘๖,๓๐๑.๒๕ บาท (ห้าร้อยสองล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นหกพันสามร้อยเอ็ดบาทยี่สิบห้าสตางค์)

๓.๙ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยถนนพหลโยธิน ๘ เลขที่บัญชี ๐๘๔-๓-๐๒๑๑๘-๙ จำนวนเงิน ๒๘๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท(สองร้อยแปดสิบล้านบาทถ้วน)

๓.๑๐ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยถนนพหลโยธิน ๘ เลขที่บัญชี ๐๘๔-๓-๐๒๑๘๗-๔ จำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองร้อยล้านบาทถ้วน)

๓.๑๑ กองทุนเปิดรวงข้าวธนรัฐ ๐๒๐๘ บี เลขที่บัญชีกองทุน ๐๙๙-๕-๐๔๙๙๘๓๘/๐๓ จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน)

๓.๑๒ กองทุนเปิดรวงข้าวธนรัฐ ๐๒๐๘ บี เลขที่บัญชีกองทุน ๐๙๙-๕-๐๔๙๙๘๓๘/๐๔ จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน)

๓.๑๓ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเอ็มบีเค ทาวเวอร์ เลขที่บัญชี ๐๓๖-๒-๐๒๔๐๒-๕ จำนวนเงิน ๑๕,๓๙๐,๐๐๐ บาท(สิบห้าล้านสาม แสนเก้าหมื่นบาทถ้วน)

๔. ทรัพย์สินที่มีชื่อคุณหญิงพจมาน ชินวัตร เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคารและเงินลงทุน  ดังต่อไปนี้

๔.๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๒-๒๗๗๒๒-๒ จำนวนเงิน ๑๘๘,๐๓๗,๕๒๐.๗๕ บาท (หนึ่งร้อย  แปดสิบแปดล้านสามหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยยี่สิบบาทเจ็ดสิบห้าสตางค์)

๔.๒ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี ๐๐๑-๘-๒๖๖๐๑๖-๖จำนวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันล้านบาทถ้วน)

๔.๓ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม เลขที่บัญชี๐๐๑-๑-๕๕๐๒๑-๘ จำนวนเงิน ๑,๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันหนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน)

๔.๔ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๐๓๑๖๕-๗ จำนวนเงิน ๑๐๐,๓๖๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยล้านสาม แสนหกหมื่นบาทถ้วน)

๔.๕ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๐๔๑๒๘-๘ จำนวนเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าล้านบาทถ้วน)

๔.๖ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๐๔๑๒๙-๖ จำนวนเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าล้านบาทถ้วน)


๔.๗ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีสัมพันธ์ เลขที่บัญชี ๐๕๖-๒-๐๐๐๖๕-๑ จำนวนเงิน ๑,๗๘๒,๘๐๓.๘๗ บาท (หนึ่งล้านเจ็ด แสนแปดหมื่นสองพันแปดร้อยสามบาทแปดสิบเจ็ดสตางค์)
 

๔.๘ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีสัมพันธ์ เลขที่บัญชี ๐๕๖-๒-๑๓๑๕๒-๕ จำนวนเงิน ๕๑๔,๒๒๙.๑๙ บาท (ห้าแสนหนึ่ง หมื่นสี่พันสองร้อยยี่สิบเก้าบาท    สิบเก้าสตางค์)

๔.๙ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๑๓๒๑๑-๐ จำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)

 ๔.๑๐ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาศรีนครพิงค์ เลขที่บัญชี  ๕๔๙-๒-๒๓๒๓๒-๘ จำนวนเงิน ๔๒,๑๒๕.๖๔ บาท (สี่หมื่นสองพันหนึ่งร้อย ยี่สิบห้าบาทหกสิบสี่สตางค์)

๔.๑๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสยามสแควร์ เลขที่บัญชี  ๐๓๘-๓-๐๐๕๗๘-๗ จำนวนเงิน ๕,๐๔๐ บาท (ห้าพันสี่สิบบาทถ้วน)

๔.๑๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว ซอย ๕๙ เลขที่บัญชี ๐๑๐-๑-๐๔๔๙๒-๓ จำนวนเงิน ๔,๖๕๒.๒๐ บาท (สี่พันหกร้อยห้าสิบสองบาทยี่สิบสตางค์)

๔.๑๓ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม เลขที่บัญชี ๐๐๑-๑-๕๔๖๙๐-๐ จำนวนเงิน - บาท

๔.๑๔ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารีสัมพันธ์ เลขที่บัญชี ๐๕๖-๓-๐๐๕๐๕-๒ จำนวนเงิน – บาท

๔.๑๕ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๓-๐๒๐๓๐-๑ จำนวนเงิน - บาท

๔.๑๖ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนสุขสวัสดิ์ เลขที่บัญชี ๑๖๔-๒-๒๘๓๘๘-๙ จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบล้านบาทถ้วน)

๔.๑๗ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร เลขที่บัญชี ๑๔๖-๐-๔๔๘๓๙-๐ จำนวนเงิน ๑๐,๒๘๔,๑๒๗.๘๔ บาท (สิบล้านสองแสนแปดหมื่นสี่ พันหนึ่งร้อยยี่สิบเจ็ดบาทแปดสิบสี่สตางค์)

๔.๑๘ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาถนนอโศก-ดินแดง เลขที่บัญชี ๐๕๖-๔-๐๐๗๗๖-๕ จำนวนเงิน - บาท 


๔.๑๙ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาถนนอโศก-ดินแดง เลขที่บัญชี ๐๕๖-๔-๐๑๐๔๒-๑ จำนวนเงิน – บาท


๔.๒๐ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย เลขที่บัญชี ๐๑๓-๒-๐๘๒๒๙-๙ จำนวนเงิน
๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ยี่สิบล้านบาทถ้วน)

๔.๒๑ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสวนจตุจักร เลขที่บัญชี ๐๖๑-๓-๐๐๐๕๖-๙ จำนวนเงิน ๓๓,๒๑๓.๔๓ บาท (สามหมื่นสามพันสองร้อยสิบ  สามบาทสี่สิบสามสตางค์)


๔.๒๒ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักราษฎร์บูรณะ เลขที่บัญชี ๗๔๕-๒-๑๖๓๒๘-๙ จำนวนเงิน ๓,๔๙๔,๐๓๓.๖๗ บาท (สามล้านสี่ แสนเก้าหมื่นสี่พันสามสิบสามบาทหกสิบเจ็ดสตางค์)

๔.๒๓ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเพนนินซูล่า เลขที่บัญชี ๒๐๒-๓-๐๐๓๓๐-๐ จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบล้านบาทถ้วน)



๔.๒๔ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย เลขที่บัญชี ๑๐๘-๓-๐๙๗๖๑-๓ จำนวนเงิน ๑,๐๑๔,๘๗๗.๓๒ บาท (หนึ่งล้านหนึ่งหมื่นสี่พันแปดร้อยเจ็ดสิบเจ็ดบาทสามสิบสองสตางค์)

๔.๒๕ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร เลขที่บัญชี ๑๑๑-๒-๑๐๖๖๒-๓ จำนวนเงิน ๑,๒๕๒.๒๕ บาท (หนึ่งพันสองร้อยห้าสิบสองบาทยี่สิบห้าสตางค์)


๔.๒๖ ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยออลซีซั่นเพลส เลขที่บัญชี ๒๖๘-๒-๐๑๑๕๔-๕ จำนวนเงิน ๒๖๗,๓๔๓.๓๗ บาท (สองแสนหกหมื่นเจ็ดพันสามร้อยสี่สิบสามบาทสามสิบเจ็ดสตางค์)

๕. ทรัพย์สินที่มีชื่อนายพานทองแท้ ชินวัตร เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคารและเงินลงทุน  ดังต่อไปนี้

๕.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๒-๓๗๓๔๒-๒ จำนวนเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันล้านบาทถ้วน)

๕.๒ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๒-๓๗๓๔๓-๐ จำนวนเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันล้านบาทถ้วน)


๕.๓ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาชิดลม เลขที่บัญชี ๐๐๑-๑-๕๕๒๓๒-๕  จำนวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันล้านบาทถ้วน)

๕.๔ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเซ็นจูรี่ เลขที่บัญชี ๒๐๘-๑-๐๐๐๒๒-๙ จำนวนเงิน ๙๐๘,๓๘๔,๑๔๓.๘๓ บาท (เก้าร้อยแปดล้านสามแสนแปดหมื่นสี่พันหนึ่งร้อยสี่สิบสามบาทแปดสิบสามสตางค์)


๕.๕ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๒-๓๑๐๐๘-๘ จำนวนเงิน ๖,๑๔๐,๕๘๒.๓๑ บาท (หกล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นห้าร้อยแปดสิบสองบาทสามสิบเอ็ดสตางค์)

๕.๖ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๑๓๐๙๒-๒ จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งหมื่นล้านบาทถ้วน)
 

๕.๗ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด (SCBSFF) เลขที่บัญชี ๐๐๑-๘-๐๒๘๓๐๐๕-๗ จำนวนเงิน ๑,๒๑๘,๑๕๐,๖๘๔.๙๔ บาท (หนึ่งพันสองร้อยสิบแปดล้านหนึ่งแสนห้าหมื่นหกร้อยแปดสิบสี่บาทเก้าสิบสี่สตางค์)
 

๕.๘ แคชเชียร์เช็คธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักนานาเหนือ สั่งจ่าย บจ.ไวท์ แอนด์ เคส (ประเทศไทย) จำนวน ๑๒ ฉบับ จำนวนเงิน  ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามสิบล้านบาท)

๕.๙. ทรัพย์สินที่ดินโฉนดที่ดินเลขที่ ๕๒๕๒๐-๓ ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ราคา ๒๗,๒๒๗,๒๐๐ บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านสองแสนสองหมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน)
 
๕.๑๐. ธนาคารไทยพาณิชย์  จำกัด (มหาชน) สาขารัชโยธิน เช็คเลขที่ ๒๐๐๖๐๖๒ จำนวนเงิน ๒๗,๒๒๗,๒๐๐ บาท (ยี่สิบเจ็ดล้านสองแสนสองหมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน)

๖. ทรัพย์สินที่มีชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๖.๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๑๑๖๐๔-๑ จำนวนเงิน - บาท 


๖.๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๑-๑๒๖๓๒-๑ จำนวนเงิน ๔๖๔,๐๗๘,๔๓๑.๔๙ บาท (สี่ร้อยหกสิบสี่ ล้านเจ็ดหมื่นแปดพันสี่ร้อยสามสิบเอ็ดบาทสี่สิบเก้าสตางค์)


๖.๓ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร เลขที่บัญชี ๑๔๖-๐-๖๓๙๓๐-๓ จำนวนเงิน ๘๔,๔๐๒,๑๐๒.๒๙ บาท (แปดสิบสี่ล้านสี่แสนสองพันหนึ่งร้อยสองบาทยี่สิบเก้าสตางค์)

๖.๔ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร เลขที่บัญชี ๑๔๖-๓-๐๓๒๒๐-๙ จำนวนเงิน ๒,๗๘๔.๐๘ บาท (สองพันเจ็ดร้อยแปดสิบสี่บาทแปดสตางค์)

๖.๕ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) สาขาแจ้งวัฒนะ เลขที่บัญชี ๐๓๘-๒-๐๙๓๑๘-๑ จำนวนเงิน ๗,๑๘๙.๗๓ บาท (เจ็ดพันหนึ่งร้อย แปดสิบเก้าบาทเจ็ดสิบสามสตางค์)

๖.๖ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสำนักงานใหญ่ เลขที่บัญชี ๖๕๐-๐๐๐-๗-๐๐๓๙๘-๒ จำนวนเงิน ๕๐๐บาท (ห้าร้อยบาทถ้วน)


๖.๗ ธนาคารออมสิน สาขาสำนักพหลโยธิน เลขที่บัญชี ๙๖-๙๖๐๒-๒๐-๒๒๔๕๑๑-๔ จำนวนเงิน  ๑๕,๖๓๑.๐๙ บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันหกร้อยสามสิบ เอ็ดบาทเก้าสตางค์)

๖.๘ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สาขาคลองตัน เลขที่บัญชี ๐๐๑-๒-๐๐๐๐๑-๑ จำนวนเงิน ๑๐,๐๒๕.๐๙ บาท (หนึ่งหมื่นยี่สิบห้าบาทเก้าสตางค์)

๗. ทรัพย์สินที่มีชื่อที่ปรึกษากฎหมายธีรคุปต์ เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๗.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขารัชดา-ลาดพร้าว เลขที่บัญชี ๑๗๗-๐-๔๒๑๑๒-๙ จำนวนเงิน ๖๖,๐๖๑.๘๐ บาท (หกหมื่นหกพันหกสิบ เอ็ดบาทแปดสิบสตางค์)

๗.๒ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขารัชดา-ลาดพร้าว เลขที่บัญชี ๑๗๗-๐-๔๒๑๑๒-๙ จำนวนเงิน ๖๖,๐๖๑.๘๐ บาท (หกหมื่นหกพันหกสิบเอ็ดบาทแปดสิบสตางค์)

๘. ทรัพย์สินที่มีชื่อบริษัท พี ที คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๘.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๐-๗๐๑๘๕-๕  จำนวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันล้านบาทถ้วน)

๘.๒ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย เลขที่บัญชี ๐๑๓-๑-๒๕๒๖๖-๔ จำนวนเงิน ๑,๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันสามร้อย ล้านบาทถ้วน)

๙. ทรัพย์สินที่มีชื่อบริษัท เอส ซี ออฟฟิซ พลาซ่า จำกัด เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๙.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๐-๗๑๗๐๙-๑ จำนวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันล้านบาทถ้วน)

๙.๒ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) สาขารัชดาภิเษก เลขที่บัญชี ๐๑๔-๓-๐๐๓๓๓-๑ จำนวนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท (หนึ่ง
หมื่นบาทถ้วน)

๙.๓ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) สาขารัชดาภิเษก เลขที่บัญชี ๐๑๔-๒-๐๓๓๕๕-๓ จำนวนเงิน ๙๙๙,๙๙๐,๐๐๐
บาท (เก้าร้อยเก้าสิบเก้าล้าน เก้าแสนเก้าหมื่นบาทถ้วน)

๑๐. ทรัพย์สินที่มีชื่อนางสาวชินณิชา  วงศ์สวัสดิ์ เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๑๐.๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขารัชดา เลขที่บัญชี ๑๐๖-๒-๑๖๑๘๕-๖ จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน)

๑๑. ทรัพย์สินที่มีชื่อบริษัท โอ เอ ไอ แมนเนจเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคารและเงินลงทุน  ดังต่อไปนี้

๑๑.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๐-๗๐๑๘๔-๘ จำนวนเงิน ๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าพันล้านบาทถ้วน)

๑๒. ทรัพย์สินที่มีชื่อบริษัท เวิร์ธ ซัพพลายส์ จำกัด เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

 ๑๒.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๐-๗๐๑๘๙-๗ จำนวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันล้านบาทถ้วน)

๑๒.๒ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาสะพานควาย เลขที่บัญชี ๐๑๓-๑-๒๕๒๒๐-๐ จำนวนเงิน ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่ร้อยล้านบาทถ้วน)
 
๑๒.๓ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน) สาขาสะพานควาย แคชเชียร์เช็ค เลขที่บัญชี ๑๔๒๐๖๒๖-๘ จำนวนเงิน ๖๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท(หกร้อยล้านบาทถ้วน)

๑๒.๔ ธนาคารธนชาต จำกัด(มหาชน) สาขาย่อยเอ็มบีเค ทาวเวอร์ เลขที่บัญชี ๐๓๑-๑-๐๖๔๐๗-๒ จำนวน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท(สองร้อยล้านบาทถ้วน)

๑๓. ทรัพย์สินที่มีชื่อบริษัท เอสซีเค เอสเทค จำกัด เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๑๓.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๐-๘๒๑๓๕-๖ จำนวนเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันล้านบาทถ้วน)

๑๔. ทรัพย์สินที่มีชื่อบริษัท โอ เอ ไอ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

 ๑๔.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๔-๓๒๐๘๗-๖ จำนวนเงิน ๔๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่ร้อยสามสิบล้านบาทถ้วน)
 
๑๔.๒ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๔-๓๒๐๘๗-๖ จำนวนเงิน ๑๘๗,๕๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยแปดสิบเจ็ดล้านห้า แสนบาทถ้วน)

๑๕. ทรัพย์สินที่มีชื่อมูลนิธิไทยคม เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๑๕.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๐-๗๓๘๔๕-๑ จำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองร้อยล้านบาทถ้วน)

๑๖. ทรัพย์สินที่มีชื่อบริษัท บี.บี.ดี.พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๑๖.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๔-๗๒๔๗๒-๑ จำนวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันล้านบาทถ้วน)

๑๖.๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๒-๘๓๔๒๑-๐ จำนวนเงิน ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันล้านบาทถ้วน)

๑๗. ทรัพย์สินที่มีชื่อบริษัท บี.บี.ดี.ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๑๗.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๔-๗๐๙๒๘-๔ จำนวนเงิน ๒,๗๗๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองพันเจ็ดร้อยเจ็ดสิบห้าล้านบาทถ้วน)
 
๑๗.๒ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๔-๗๐๙๒๘-๔ จำนวนเงิน ๖๒๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกร้อยยี่สิบห้าล้านบาทถ้วน)

๑๘. ทรัพย์สินที่มีชื่อบริษัท ประไหมสุหรี พร้อพเพอร์ตี้ จำกัด เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๑๘.๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน เลขที่บัญชี ๑๑๑-๒-๘๓๕๐๙-๖ จำนวนเงิน ๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (แปดร้อยล้านบาทถ้วน)


๑๘.๒ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน แคชเชียร์เช็ค เลขที่บัญชี ๒๑๒๒๕๖๔ จำนวนเงิน – บาท วงเงินที่อายัด ๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (แปดร้อยล้านบาทถ้วน)

๑๘.๓ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน แคชเชียร์เช็ค เลขที่บัญชี ๒๑๒๒๕๖๕ จำนวนเงิน – บาท วงเงินที่อายัด ๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (แปดร้อยล้านบาทถ้วน)

๑๘.๔ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักรัชโยธิน แคชเชียร์เช็ค เลขที่บัญชี ๒๑๒๒๕๖๖ จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน) วงเงินที่อายัด ๘๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (แปดร้อยล้านบาทถ้วน)

๑๘.๕ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยเอ็มบีเค ทาวเวอร์ เลขที่บัญชี ๐๓๑-๑-๐๖๗๕๑-๗ จำนวนเงิน ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองร้อยล้านบาทถ้วน)

๑๘.๖ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เลขที่บัญชี PN-๐๐๑-๐๐๔๑๓๘๕ จำนวนเงิน ๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกสิบล้านบาทถ้วน)

๑๘.๗ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เลขที่บัญชี PN-๐๐๑-๐๐๔๑๓๘๖ จำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าสิบล้านบาทถ้วน)
๑๘.๘ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เลขที่บัญชี PN-๐๐๑-๐๐๔๑๓๘๗ จำนวนเงิน ๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่สิบล้านบาทถ้วน)

๑๘.๙ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เลขที่บัญชี PN-๐๐๑-๐๐๔๑๓๘๘ จำนวนเงิน ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามสิบล้านบาทถ้วน)

๑๘.๑๐ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ เลขที่บัญชี PN-๐๐๑-๐๐๔๑๓๘๙ จำนวนเงิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ยี่สิบล้านบาทถ้วน)
 
๑๙. ทรัพย์สินที่มีชื่อบริษัท สมพร แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๑๙.๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนรัชดาภิเษก เลขที่บัญชี ๐๖๐-๒-๖๘๒๓๙-๗ จำนวนเงิน ๑๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยล้านบาทถ้วน)

๒๐. ทรัพย์สินที่มีชื่อบริษัท โอเอไอ คอนซัลแตนท์แอนด์ แมนเนจเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๒๐.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๐-๗๒๕๐๖-๐ จำนวนเงิน ๑๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งร้อยสามสิบล้านบาทถ้วน)

๒๑. ทรัพย์สินที่มีชื่อนางบุษบา ดามาพงศ์ เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่ เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๒๑.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยอารี เลขที่บัญชี ๑๒๗-๐-๙๑๑๕๗-๙ จำนวนเงิน ๔๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สี่สิบล้านบาทถ้วน)

๒๒. ทรัพย์สินที่มีชื่อคณะบุคคล วิวิธวรแชมเบอร์ กระทำการโดยนางปราณี พงษ์สุวรรณ เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่ เงินฝากธนาคาร ดังต่อไปนี้

๒๒.๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาถนนรัชดาภิเษก เลขที่บัญชี ๐๖๐-๒-๗๗๙๑๒-๘ จำนวนเงิน ๑๓,๕๐๐,๐๐๐ บาท (สิบสามล้านห้าแสนบาทถ้วน) วงเงินที่อายัด ๑๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบเจ็ดล้านบาทถ้วน)

๒๓. ทรัพย์สินที่มีชื่อนายสมพร  พงษ์สุวรรณ  เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่ เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๒๓.๑ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขามีนบุรี เลขที่บัญชี ๑๐๙-๒-๔๕๖๐๓-๕ จำนวนเงิน ๔,๙๘๐,๘๓๒.๑๙ บาท (สี่ล้านเก้าแสนแปดหมื่นแปดร้อยสามสิบสองบาทสิบเก้าสตางค์) วงเงินที่อายัด ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ยี่สิบล้านบาทถ้วน)

๒๓.๒ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาราชวัตร เลขที่บัญชี ๑๔๖-๔-๐๕๖๙๕-๙ จำนวนเงิน ๑๕,๔๘๑,๐๐๐ บาท (สิบห้าล้านสี่แสนแปดหมื่นหนึ่งพันบาทถ้วน) วงเงินที่อายัด ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (ยี่สิบล้านบาทถ้วน)

๒๓.๓ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาแฟชั่น ไอส์แลนด์ เลขที่บัญชี ๑๒๐-๒-๘๒๘๔๖-๓ จำนวนเงิน ๒๕,๕๐๑,๗๘๗.๖๗ บาท  (ยี่สิบห้าล้านห้าแสนหนึ่งพันเจ็ดร้อยแปดสิบเจ็ดบาทหกสิบเจ็ดสตางค์) วงเงินที่อายัด ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามสิบล้านบาทถ้วน)

๒๔. ทรัพย์สินที่มีชื่อกองทุนแก้ไขปัญหาการจราจร เป็นผู้ครอบครอง ได้แก่  เงินฝากธนาคาร  ดังต่อไปนี้

๒๔.๑ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาพาหุรัด เลขที่บัญชี ๑๐๔-๐-๓๕๔๒๐-๙ จำนวนเงิน ๗๐,๘๕๐.๗๙ บาท (เจ็ดหมื่นแปดร้อยห้าสิบบาท เจ็ดสิบเก้าสตางค์)

๒๔.๒ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาพาหุรัด เลขที่บัญชี ๑๐๔-๓-๑๑๕๕๘-๑ จำนวนเงิน – บาท

*******************************************************************************

ที่มา : มติชนออนไลน์ 24 ก.พ.2553

นพดล เย้ย ไทยสปริง เคยรับใช้รัฐประหาร


"นพดล"เย้ย"ไทยสปริง"ของแก้วสรร-พล.ต.อ.วสิษฐ ไม่ประชาธิปไตยเพราะเคยรับใช้รัฐคณะรัฐประหาร ชี้แค่เลียนแบบอาหรับสปริง ระดมเครือข่ายนับหมื่นไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์

นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ตอบโต้กรณี การออกมาเคลื่อนไหวแถลงข่าวในวันนี้ ของ นายแก้วสรร อติโพธิ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. พร้อมด้วย พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ในนามเครือข่ายประชาคมประชาธิปไตย หรือ ไทยสปริง ที่ระบุว่า การปาถกฐาของ น.ส.ยิ่งลักษ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ประเทศมองโกเลีย เป็นการพูดความเท็จโดยจะส่งจดหมายถึงสมาชิกหมื่นคนพรุ่งนี้ ว่า คนที่ทำงานให้กับคณะรัฐประหารที่ละเมิดประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม ลงสมัครเลือกตั้งแต่ประชาชนไม่เลือก เป็นสมาชิกที่มีที่นั่งถาวรในกลุ่มคนที่มีความคิดเป็นปฎิปักษ์กับ พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร วันนี้ตั้งกลุ่มว่าไทยสปริง คงจะพยายามเลียนชื่อจาก"ปรากฎการณ์อาหรับสปริง" ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ที่ประชาชนเรียกร้องหาประชาธิปไตย แต่ตนเห็นว่า"ไทยสปริง" เป็นการกลับหัวกลับหางกับปรากฎการณ์อาหรับสปริง เพราะกลุ่มนี้มีบางคนทำงานรับใช้คณะรัฐประหาร การจะใช้ชื่อต้องให้สอดคล้องกับพฤติกรรมและความคิดของตนด้วย และว่า ประชาชนอาจเข้าใจผิดว่ากลุ่มนี้จะผลิตสปริงส่งออกก็เป็นได้.