PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จำนำ vs. ประกันรายได้ :กรณ์

หลังจากที่เราได้เห็นวิธีการทำบัญชีอย่าง 'สร้างสรรค์' โดยกระทรวงพาณิชย์ ที่ไม่เอาการขาดทุนในสต็อกสินค่ามาคำนวนการกำไร-ขาดทุนจำนำข้าว และการตัดการขาดทุนในปี ๒๕๕๕-๕๖ ออกไปอย่างดื้อๆโดยกระทรวงคลังเพื่อให้ตัวเลขขาดทุนลดลงมาตํ่ากว่า 260,000 ล้านบาท

ล่าสุดคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มีนายกฯยิ่งลักษณ์เป็นประธานแต่ไม่ยอมเข้าประชุม (ทั้งๆที่วันนี้ไม่น่าจะมีเรื่องอะไรสำคัญเท่าเรื่องนโยบายข้าวแล้ว) ได้มีการพิจารณาเปรียบเทียบโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลกับการประกันรายได้ของรัฐบาลที่แล้ว โดยมีการใช้ตรรกะที่น่าทึ่งมากครับ

ขอให้ดูบรรทัดที่ ๔ ที่สรุปเม็ดเงินงบประมาณเฉลี่ยต่อตันข้าวที่เข้าแต่ละโครงการ การจำนำข้าวใช้ 14,795 บาทต่อตัน ในขณะที่ในตารางที่ ๕ ระบุว่าราคาตลาดข้าวเท่ากับ 11,000 บาทต่อตัน

กขช.จึงสรุปว่าชาวนาได้ประโยชน์ 3,795 บาทต่อตัน!

ผมขอถามว่ามีชาวนาที่ไหนบ้างครับที่ขายข้าวได้ 14,795 บาทต่อตัน!?

ความจริงตัวเลขนี้ฟ้องรัฐบาลครับ เพราะธกส.เองเขาก็บอกว่าในปี ๒๕๕๕ ชาวนาขายข้าวได้ไม่เกิน 11,000 บาทต่อตันเท่านั้นแหละครับ แต่กขช.ยืนยันว่ารัฐบาลใช้เงิน 14,795 บาทต่อตันจริง ดังนั้น เมื่อราคานี้ชาวนาขายไม่ได้ คำถามที่ต้องมีคำตอบคือ 3,795 บาทต่อตันนั้นมันหายไปไหน!

และตัวเลขของกขช.เองก็ฟ้องถึงปัญหาของการจำนำข้าว คือกล่องสุดท้ายในภาพเอกสาร กขช.ได้คำนวนด้วยความภาคภูมิใจว่า เม็ดเงินที่เป็นประโยชน์ที่ชาวนาได้รับโดยรวมในปี ๒๕๕๕ คือ 86,526 ล้านบาท

แต่กขช.ลืมไปว่าตัวเลขขาดทุนของรัฐบาลในปีเดียวกันคือ 130,000 ล้านบาท! เขาถึงได้ว่าไงครับ ว่าเอาเงินมาแจกชาวนาเฉยๆยังคุ้มกว่าเลย

สวนตัวเลขที่รัฐบาลน่าจะใส่ใจมากกว่าคือบรรทัดแรกที่บอกว่า โครงการประกันรายได้นั้น มีเกษตรกรได้ประโยชน์ถึง 5.58 ล้านราย เทียบกับเพียง 2.2 ล้านรายในการจำนำ ทั้งๆที่ธกส.จ่ายเงินไปในโครงการจำนำข้าวมากกว่าประกันรายได้ถึงกว่า 5 เท่า (บรรทัดที่ 3)

คิดใหม่ ทำใหม่ได้ครับ

ไม่มีความคิดเห็น: