PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

"สังคมป่วย" หรือ "สื่อเพี้ยน" กรณี "ยามหล่อ เชียงใหม่" โดนแย่งตัวออกทีวี

แต่ด้วยความที่เป็นเรื่องไร้สาระ รวมทั้งไม่เกี่ยวข้องกับกิจการภายในมหาวิทยาลัยที่เป็นสถาบันให้การศึกษาจึงไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดรวมทั้งเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรเพราะเป็นเพียงกระแสที่คนบางกลุ่มนิยมชมชอบเท่านั้น

ล่าสุด เกิดความสับสนของบรรดาชาวโลกออนไลน์ที่มีกระแสข่าวว่า "ก็อต" พนักงานรักษาความปลอดภัยคนดังกล่าวได้ถูกให้พักงาน หรือ ลาออก โดยมีข้อความว่า "ความหล่อเป็นเหตุ จากกรณีที่มีคนสร้่างแฟนเพจ ในเฟสบุ๊ค ว่า "ยามหล่อ ในมหาลัยเชียงใหม่" จนขณะนี้มีคนไปกดไลค์ถึง 4 หมื่น ทั้งที่เพจพึ่งตั้งมากี่กี่ชั่วโมงข่าวล่าสุด 2-3 ทุ่มที่ผ่านมา นักข่าวได้ตามข่าว ได้รับแจ้งว่า น้องยามคนนี้ถูกให้พักงานเนื่องจากมีคนไปรุม ไปสัมภาษณ์จนไม่ได้ทำงาน หรือว่าลาออกไปทำงานที่เข้ากับหน้า"

จากการติดตามของนายคริษฐ์ ขันทอง ผู้สื่อข่าวบางกอกทูเดย์ระบุว่าผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทราบเรื่องนี้ดีทุกคนแต่ไม่ได้ให้ความใส่ใจ และ ไม่ได้ให้ยามคนนี้ออกหรือพักงาน เนื่องจากไม่มีความผิดใดๆ รวมทั้งฝ่ายงานรักษาความปลอดภัย กองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็เข้าใจดีว่ายามรูปหล่อคนนี้ไม่ได้ทำความผิดอะไร เพราะตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ดีตลอด รวมทั้งไม่ได้มีความขัดแย้งใดๆ ในกระแสข่าวครั้งนี้

แต่ที่ค่อนข้างกลายเป็นความขัดแย้งคือแวดวงสื่อสารมวลชนนั่นเองเพราะรายการต่างๆ แห่เข้าไปจองตัวมาอัดรายการกันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งนักข่าวก็ตามไปเจาะขอสัมภาษณ์ ทั้งสื่อส่วนกลาง และสื่อท้องถิ่น ฯลฯ ซึ่งกลายมาเป็นศึกของสื่อสารมวลชนเอง

โดยเฉพาะรายการที่ทาง "มดดำ คชาภา ตันเจริญ" พิธีกรฝีปากกล้าเป็นผู้ดำเนินรายการที่ต้องการเอากระแสในครั้งนี้มาเล่นด้วย จึงทำการให้ทีมงานที่เชียงใหม่พาตัวยามรูปหล่อมาออกรายการให้ได้ แต่ขณะเดียวกันรายการคนดังนั่งเคลียร์ โดย อ. ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ ทางช่องสตาร์แม็กซ์ ก็รีบไปคว้าตัวยามคนนี้มาด้วยเช่นกัน ซึ่งค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ตั๋วเครื่องบิน อาหาร ที่พัก รายการทีวีจะออกให้ รวมทั้งเรื่องค่าตัวด้วย

แต่ทางสื่อมวลชนทั่วๆไป เช่น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เคเบิ้ลท้องถิ่นของเชียงใหม่ ฯลฯ จะเป็นการสัมภาษณ์เพื่อนำข้อเท็จจริงมานำเสนอเท่านั้น ไม่ได้จ่ายเงินเหมือนกับรายการที่ทีวีที่มีสปอนเซอร์ และแข่งขันเรื่องเรตติ้ง ซึ่งก็เหมือนกับบางกอกทูเดย์ โดยนายคริษฐ์ ขันทอง ผู้สื่อข่าวก็ใช้การติดต่อทางโทรศัพท์และไม่ได้มีเงินมาจูงใจแต่อย่างใดจึงทำให้การสัมภาษณ์ยามรูปหล่อคนนี้ยังไม่ครบถ้วนตามกระแสสังคมที่อยากรู้

ดังนั้นคนบริโภคสื่อก็ต้องติดตามว่ารายการทีวีรายการไหนที่ยอมทุ่มเงิน และ ใช้การล็อบบี้ได้เร็วที่สุด

สำหรับมุมมองของนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน อย่าง รศ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ อดีตคณบดีคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปรมาจารย์ด้านการสื่อสารที่มีลูกศิษย์ลูกหาอยู่ในแวดวงสิ่งพิมพ์และวิทยุโทรทัศน์มากมาย ก็ได้ให้ความเห็นกับบางกอกทูเดย์ว่ารู้สึกว่าสื่อมวลชนกำลังป่วยหนัก สังคมก็เพี้ยน สื่อก็เพี้ยนต้องคอยสร้างกระแส

"เรามีผลงานมากมายที่มีคุณค่าและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม แต่สื่อกับไปสนใจคุณชายยามรูปหล่อคนนั้น เข้าใจว่าเป็นกระแส แต่กระแสการมีคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม มันไม่ค่อยฮิต เลยเน้นสร้างแต่กระแสคลั่งหน้าตา

อาจารย์มองว่า เราไม่เห็นต้องตามกระแสเหล่านี้เลย เพราะมียามในม.เชียงใหม่ ทำความดีน่าชื่นชมมากมาย ครั้งหนึ่งอาจารย์เคยรถยางแตกในมหาลัยตอนค่ำ หาช่างไม่ได้ ยามผ่านมาช่วยเปลี่ยนให้ อาจารย์ให้เงินเขาสองร้อยบาท แต่เขาปฏิเสธรับเงิน อาจารย์จึงทำบันทึกไปที่อธิการบดี และต่อมาเขาได้รับการเชิดชูให้เป็นตัวอย่างคนดีที่ควรยกย่อง" รศ.สดศรี เผ่าอินจันทร์ กล่าวให้แง่คิด

ไม่มีความคิดเห็น: