PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วสิษฐ เดชกุญชร: ตำรวจกับสงครามกลางเมือง

ตำรวจกับสงครามกลางเมือง
โดย วสิษฐ เดชกุญชร
26 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 20:16 น.

                การปะทะกันเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่ผ่านไป ที่สะพานผ่านฟ้า ระหว่างผู้ชุมนุมของกองทัพ ธรรมกับตำรวจ ซึ่งทำให้ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียชีวิตไป 5 คน และได้รับบาดเจ็บกว่า 60 คน เป็นกรณีตัวอย่างอันน่าสลดใจและเป็นบทเรียน โดยเฉพาะสำหรับผู้บังคับบัญชาตำรวจทุกระดับ

                ศูนยรักษาความสงบ (ศรส.) ที่มี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นผู้อำนวยการ ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ ตำรวจดำเนินการสลายการชุมนุมที่นั่น  โดยกฎหมายและโดยหลักการตำรวจควรจะได้ดำเนินการอย่าง ละมุนละม่อมเป็นขั้นตอน ดังที่ ศรส.ย้ำแล้วย้ำอีก  ผู้ชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้านั้น ส่วนใหญ่เป็นสตรีและ ผู้สูงอายุ อยู่ในความกำกับดูแลของสมณะจากสันติอโศก มีท่านสมณะโพธิรักษ์เป็นประธาน  เมื่อตำรวจ ไปถึงมีการเจรจากัน บรรยากาศเป็นไปด้วยความเป็นมิตร  ผู้ชุมนุมยอมเปิดทางการจราจรให้ตามที่ ตำรวจขอ  แต่แล้วตำรวจอีกชุดหนึ่งก็เข้ารื้อถอนและทำลายสิ่งของของผู้ชุมนุม  จึง เกิดปะทะกับผู้ ชุมนุม

                ที่ว่าน่าสลดใจก็เพราะตำรวจใช้ตะบองตีผู้ชุมนุมอย่างไม่ยั้งมือ และนอกจากใช้แก๊สน้ำตา และกระสุนหัวยางแล้ว ยังใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมด้วย จนกระทั่งกลุ่ม “ชายนิรนาม” ยิงโต้ตอบ และตำรวจได้รับบาดเจ็บ ตำรวจจึงได้ล่าถอยไป

                เหตุร้ายที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่เป็นไปตามตำราการควบคุมฝูงชนและ ปราบจลาจล  ถ้าเป็นไปตามตำรา ตำรวจควรจะได้เริ่มมาตรการจากเบาไปหาหนัก คือเริ่มด้วย การผลัก ดันอย่างละมุนละม่อม โดยไม่ใช้ตะบองหรืออาวุธชนิดใด และแม้ผู้ชุมนุมจะปฏิเสธไม่ยอมถอย โดยใช้ วิธีนั่งหรือนอนลง ตำรวจก็อาจใช้วิธีอุ้มผู้ชุมนุมออกไป  แต่ตำรวจกลับใช้ตะบองตีผู้ชุมนุมเลย เป็นเหตุ ให้ผู้ชุมนุมตอบโต้ด้วยมือเปล่าและขว้างปาด้วยสิ่งของใกล้มือ ซึ่งนำไปสู่การใช้อาวุธของตำรวจในที่สุด

                ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการปฏิบัติโดยรุนแรงเกินกว่าเหตุของตำรวจทำให้ผู้ชุมนุมและผู้เห็นเหตุ การณ์โกรธแค้นเกลียดชังตำรวจ  ความโกรธแค้นและชิงชังนี้ย่อมไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะกับหน่วยตำรวจ ที่ปราบปรามผู้ชุมนุมในวันนั้นเเท่านั้น แต่ยังแผ่ออกไปถึงตำรวจโดยทั่วไปทั้งประเทศ

                ความรู้สึกและท่าทีเช่นนี้ไม่เป็นผลดีไม่ว่าแก่ฝ่ายใด  ตำรวจเป็นผู้มีหน้าที่ป้องกันรักษาชีวิต และทรัพย์สินของสุจริตชน  หากประชาชนโกรธแค้นชิงชังและหมดความเชื่อถือในตำรวจ การปฏิบัติ หน้าที่ของตำรวจก็มีอุปสรรค

                ตำรวจคนไหนที่คิดว่าเมื่อประชาชนโกรธเกลียดและไม่เชื่อถือตนก็ดีแล้ว ตำรวจจะได้ไม่ต้อง ทำหน้าที่ของตน ตำรวจคนนั้นก็เข้าใจหน้าที่ของตนผิด มีมิจฉาทิษฐิ แทนที่จะแก้ปัญหากลับจะทำให้ ปัญหายิ่งยุ่งยากหนักลงไปอีก

                ตำรวจต้องทบทวนหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเสียใหม่  ต้องเข้าใจว่าการปฏิบัติหน้าที่ ของตำรวจนั้นเป็นไปเพื่อความสงบสุขของประชาชน มิใช่เพื่อสนองความต้องการหรือคำสั่งของ ผู้บังคับบัญชา  เมื่อมีคำสั่งตำรวจต้องรู้ว่าคำสั่งนั้นชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย และควรฟังและ ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นหรือไม่

                การใช้ตะบองเข้าตีผู้ชุมนุมซึ่งชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ และกำลังสวดมนต์นั้น จะทำ โดยพลการหรือตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาก็ผิดทั้งนั้น  ส่วนการใช้อาวุธปืนและกระสุนจริง เป็น การฆ่าโดยเจตนา เป็นความผิดทางอาญา ทั้งผู้สั่งและผู้ยิงมีความผิดเท่ากัน

                ในสังคมประชาธิปไตย การชุมนุมประท้วงหรือเรียกร้องสิทธิย่อมมีเป็นเรื่องธรรมดา และ อาจเกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก  เหตุร้ายที่เกิดที่สะพานผ่านฟ้าเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ที่แล้วควรเป็นบทเรียน สำหรับผู้บังคับบัญชาใช้ในการแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ ในการควบคุมฝูงชนและ ปราบจลาจล

                ถ้ายังปล่อยไปตามยถากรรม  เมื่อมีการปะทะกันระหว่างตำรวจกับผู้ชุมนุมอีก ตำรวจก็จะทำ ความผิดซ้ำอีก จะมีคนตายและได้รับบาดเจ็บอีก และอาจลุกลามออกไปเป็นการจลาจลขนาดใหญ่ทั้ง เมืองหรือทั้งประเทศ

                และถ้าผู้บังคับบัญชาตำรวจยังขืนเดินหน้าใช้กำลังปราบปราม การจลาจลก็อาจกลายเป็น สงครามกลางเมือง ที่ไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้น.




ไม่มีความคิดเห็น: