PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ครม-คสช. มติเคาะเพิ่มตำแหน่งสนช.อีก30 ที่นั่ง หวังเร่งออกกม. รับ ส่วนใหญ่เป็นทหาร

ครม-คสช. มติเคาะเพิ่มตำแหน่งสนช.อีก30 ที่นั่ง หวังเร่งออกกม. รับ ส่วนใหญ่เป็นทหาร


นายกฯ เผย ประชุมวาระพิเศษ ครม.-คสช. ทำความเข้าใจ 2 ประเด็น เรื่อง รธน.และคำถามพ่วง ชี้ เสนอนายกฯรอบแรก ใช้รายชื่อจากนักการเมือง ส่นรอบสองชื่อนอกตระกร้าได้ แต่ที่มาเป็นหน้าที่กรธ.เคาะ ย้ำคนเข้ามาต้องเป็นคนมีธรรมาภิบาล และคนถูกเลือกต้องยินยอมส่วน ประเด็นสองแก้ รธน.ชั่วคราว มาตรา6 เพิ่มสนช. อีก 30 ที่นั่ง รับ ส่วนใหญ่เป็นทหาร ย้ำ ไม่เกี่ยวสืบทอดอำนาจ หรือเลือกนายกฯ มีวาระงานแค่ มีเลือกใหม่เท่านั้น
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 23 สิงหาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)กล่าวว่า วันนี้มีการประชุมทั้งครม.และประชุมวาระพิเศษของ ครม.และคสช.ซึ่งในที่ประชุมก็ครบองค์ประกอบที่เพียงพอ โดยมีการพูดถึงความเข้าใจของครม.และคสช. ในเรื่องการทำประชามติ คือการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญและคำถมพ่วง ขอย้ำอีกครั้งว่าเป็นความเข้าใจของตน ครม.และคสช.ทุกคน ว่าเข้าใจแบบนี้คือ
“5 ปีแรกในที่ประชุมร่วมของรัฐสภาฯ คือส.ส.500 คนและส.ว. 250 คน จะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบเลือกนายกรัฐมนตรี จากเดิมให้สส.ฝ่ายเดียวเลือก เปลี่ยนไปให้ส.ส.และส.ว.รวม 750 คน เลือกตั้งแต่ต้น จากรอบแรกที่จำเป็นต้องเลือกจากรายชื่อในตะกร้าที่แต่ละพรรคเสนอมาพรรคละ 3 คน ซึ่งรอบแรกต้องเลือกจากรายชื่อนี้เท่านั้น ถ้าใครได้ถึงครึ่งคือ 376 คนจาก 750 คน ก็เป็นนายกรัฐมนตรี ถ้ายังไม่ได้ก็เลือกรอบสอง คือ แก้ปัญหาเดิมที่เคยบอกว่าไปไม่ได้ก็ใช้มาตรา 7 ซึ่งแก้ตรงนี้ถ้าหากเลือกรอบแรกไม่ได้ก็เลือกใหม่ โดยคราวนี้จะสามารถเลือกจากนอกตะกร้าได้ ส่วนใครเสนอชื่อผมไม่รู้เป็นเรื่องกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ไปพิจารณา ที่ไปหารือกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสนช.ต้องไปดูมติของสนช.ด้วย และหลายอย่างที่มีการชี้แจงว่าคำถามพ่วงทำมาเพื่ออะไร ซึ่งมีรายละเอียดทั้งหมด มาพูดันไปพูดกันมาอย่างนี้อย่างโน้นไม่ได้ ต้องเป็นไปตามตัวบทอักษร และตามความมุ่งหมายที่ออกคำถามพ่วงไป ในเรื่องของ 5 ปีที่ว่าจะเลือกกี่ครั้งก็คือในระยะเวลา 5 ปี ส.ส.และส.ว.ต้องเลือกภายใน 5 ปี” นายกฯกล่าว
พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ประเด็นของตนถ้าได้คนดีมาและส.ส.เสนอมา ใครจะไปปฏิเสธเขาได้ เขาก็ต้องยินยอมและใช้คะแนนเสียงครึ่งหนึ่งของสองสภา นี่คือความเข้าใจของตนและครม.ทั้งหมด ซึ่งชี้แจงโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นผู้เชื่อมต่อเป็นฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล ไปเชื่อมต่อกับกรธ. ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกัน ต่อไปจะได้หยุดสักทีว่าจะยังไง แต่ตนยืนยันว่าเป็นไปตามที่พูดมาคือสิ่งที่เราเข้าใจ
นายกฯกล่าวต่อว่า ในการประชุมวาระพิเศษของครม.และคสช. ในวาระที่ 2 คือ เรื่องความจำเป็นในการแก้ไขมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว เดิมมีสนช.ไม่เกิน 220 คน จะเพิ่มอีก 30 คน ซึ่งต้องไม่เกิน 250 คน ทั้งนี้เหตุผลไม่เกี่ยวเรื่องนายกฯ เพราะวันนี้ต้องเร่งรัดการทำกฎหมายสำคัญของรัฐธรรมนูญที่ยังเหลืออยู่กว่า 50 ฉบับ และมีเรื่องกฎหมายอื่นตามนโยบายของรัฐบาลอีกหลายสิบฉบับ
“สนช.ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกนายกฯต่างๆ ไม่เกี่ยวข้องและจะอยู่ไปถึงก่อนวันเลือกตั้งเท่านั้น ไม่มีข้อผูกมัดที่จะต้องกลับมาเป็นสว. เพราะต้องมีกรรมการสรรหา มีวิธีการอีกมากและคุณสมบัติก็ต่างออกไป เช่น วันนี้สนช.เป็นข้าราชการประจำได้ สว.เป็นข้าราชการประจำไม่ได้ ไปเก็บไส้แบบนี้สิ ใส่เข้าไปจะได้เข้าใจกันสักที ที่ผ่านมาเรียนไปแล้วว่า ผมไม่เข้าไปคาบเกี่ยว มีอะไรก็เสนเข้าไป ให้กรธ.พิจารณา ถ้ากรธ.เห็นชอบก็ทำใส่ไปในร่าง ส่วนเรื่องคำถามพ่วง เป็นเรื่องของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เป็นคนเริ่มมาด้วยซ้ำไปและเสนอสนช.พิจารณาเห็นชอบ ก่อนเสนอไปที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้เพิ่มไปประเด็นคำถามพ่วง และคำถามพ่วงก็ต้องไปดูว่าเขากำลังตีกรอบให้อยู่แค่ไหนอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องกรธ. กรธ.คือผู้ที่จะยุติทั้งหมด อย่าไปฟังคนอื่น เพราจะตีกันไปเองหมด ประเด็นของผมคืออย่าเอาผมไปเกี่ยวข้องอะไรเลยตรงนี้ ของร้องเถอะ” นายกฯ กล่าว
เมื่อถามว่า ระยะเวลาการแต่งตั้งสนช. ให้ครบ 250 คนเมื่อไร นายกฯ กล่าวว่า ต้องแก้รัฐธรรมนูญก่อน ซึ่งการตั้งสนช.เพิ่ม เพราะบางคนก็ตายบ้าง ลาออกบ้าง แล้ววันนี้ในส่วนของความมั่นมีหลายคนกฎหมายที่ต้องทำ และวันนี้ความขัดแย้งต่างก็มีออกมาด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นทหารด้วย
”หลังการประชุมวันนี้ นายวิษณุ จะประสานไปอีกครั้งหนึ่ง และยืนยันว่า สนช.จะมีระยะเวลาในกาทำงานแต่มีการเลือกตั้งใหม่ และการตั้งสนช.เพิ่มไม่เกี่ยวข้องกับการสืบทอดอำนาจ พอได้แล้ววันนี้ใช้อำนาจที่ประชาชนมอบหมายไว้ใจผมมาทำงานต่อให้ได้” นายกฯกล่าว
เมื่อถามว่า จะมอบหมายให้ นายวิษณุ ไปหารือกับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ประธานกรธ. อีกหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เขาคุยกันอยู่แล้ว เพราะเป็นฝ่ายกฎหมายของรัฐบาล จะทำงานไม่คุยกับใครได้อย่างไร และจะทำข้อเสนอขึ้นไปว่าที่ประชุม ครม. คสช.ในวาระพิเศษรับทราบแบบนี้ ดูว่าตรงกันหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่ตรงก็ให้ว่ากันมา ต้องคุยกันทุกวันนี้ตนก็ฟังกรธ.คุย และไม่ได้ไปขัดแย้งท่านจะพูดอะไรก็พูดไป คสช.พูดมาก็พูดไป
“ทั้งหมดอำนาจอยู่ที่กรธ. จะทำหรือไม่ทำอยู่ที่กรธ.และคนจะตัดสินว่าถูกหรือไม่ถูกอยู่ที่ศาลรัฐธรรมนูญ วันนี้ตีกรธ.เข้าไป ตีคสช. ตีครม. ตีผม เข้าไปแล้วประเทศชาติจะไปตรงไหนได้ อยู่ที่เดิมนั่นแหล่ะ ทำไมไม่มองว่าจะเปลี่ยนผ่านกันได้อย่างไร จะอย่างไรให้บ้านเมืองสงบสุข ทำอย่างไรให้บ้านเมืองมีการพัฒนา ให้ปัญหาเก่าๆไม่กลับมา เขาคิดกันแบบนี้อยู่ วันนี้วุ่นวายไปหมด ทุกคนหวังดี ทุกคนอยากได้นี่อยากได้โน่น เพราะเขาไม่ไว้ใจ ไว้ใจหรือยังคุณไว้ใจหรอ ไว้ใจ 100 เปอร์เซ็นต์ใช่ไหม ใครจะมาจะไปก็ช่าง ประเทศไทยเก่งอยู่แล้วหรือไง คุณไว้ใจเขาหรือเปล่า ผมไว้ในคนที่มีธรรมาภิบาล คนที่ไม่กระทำผิดกฎหมาย ผมต้องการคนเหล่านี้เข้ามา แต่ถ้าไม่ต้องการก็เรื่องของท่าน ผมต้องการแค่นั้น ไอ้ที่เขาเขียนคำถามพ่วง เพื่อต้องการแก้ปัญหาที่ทะเลาะกันแต่เดิมว่าทำอะไรไม่ได้ จะไปมาตรา 7 เขาชี้แจงมาอย่างนี้ไม่ใช่หรือ จึงมีทางออกมีรู มาให้ตรงนี้ แต่ก็สุดแล้วแต่ว่าจะมาจะไปยังไง ใครจะเลือก เลือกจะจากสวรรค์ชั้นฟ้าที่ไหนก็ไปเลือกมา” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกฯ กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ว่าคนถูกเลือกยอมหรือไม่ ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆจะส่งใครมาก็ได้ คนถูกเลือกก็ต้องยอมด้วย เขาจะมาหรือไม่แบบนั้น ไม่รู้เป็นเรื่องของกรธ. ให้เกียรติเขาบ้าง เขาทำงานกันแทบตาย ไปทวงบุญคุณอะไรเขาอีก เงินเดือน เบี้ยเลี้ยงใช้เปลือง ปัดโธ่ ไอ้ที่ก่อนๆทำไมไม่ทวง ใช้มากกว่านี้หรือไม่ นี่เขาทำงานงกๆทุกวัน กฎหมายออกมาเท่าไหร่ 7 ปีออกกฎหมายกัน 120 ฉบับ นี่ 2 ปี กฎหมายออกมา170 ฉบับ มันก็แตกต่างกันแล้วและกฎหมายต่างๆก็ออกมาในรัฐบาลบางอย่างที่ทำไม่ได้ก็แกะออกมาและเดินหน้าไปให้ได้ ทำให้เสร็จต้องแก้ไขทุกอย่างไม่ให้ติดเหมือนเดิม เพราะวันหน้าจะติดอยู่แบบเก่าหากไม่รื้อวันนี้ แต่ตนไม่ได้ต้องการไปรังแกใครทั้งสิ้น

ไม่มีความคิดเห็น: