PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2560

นายกฯเผย คปพ.กดดันให้สอดไส้"บรรษัทน้ำมัน"ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ชี้เคยท้วงแล้วว่ายังไม่จำเป็น

นายกฯเผย คปพ.กดดันให้สอดไส้"บรรษัทน้ำมัน" ใน พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ชี้เคยท้วงแล้วว่ายังไม่จำเป็น โยน สนช.ตัดสินใจ
วันที่ 28 มี.ค.2560 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ.... เริ่มตั้งแต่ปี 2557 ตั้งแต่ก่อนตนเข้ามาเป็นนายกฯ แต่ออกเป็นกฎหมายไม่ได้เพราะมีหลายฝ่ายเรียกร้อง และในช่วง ครม.ชุดแรกของตนก็เสนอกฎหมายดังกล่าวพิจารณานอกจากสัมปทานแล้วให้มีระบบแบ่งปันผลผลิต (psc) และดำเนินการตามลำดับ แต่มีเครือข่ายประชานปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นำโดยนางรสนา โตสิตระกูล นายปานเทพ พัวพงษ์พันธุ์ พยายามตั้งข้อเรียกร้องประเด็นต่างๆ มากมาย รัฐบาลก็รับฟังความต้องการของแต่ละกลุ่ม และส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณากฎหมาย

ชี้เคยท้วงแล้วว่ายังไม่จำเป็น


ซึ่งในขั้นคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณากฎหมายนั้น ทราบมาว่าถูกกลุ่มนี้กดดันจะต้องมีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติให้ได้ ซึ่ง กมธ.ได้แถลงเรื่องดังกล่าวไว้เมื่อวันที่ 16 มิ.ย.2559 ทั้งที่ตนเคยพูดมาหลายครั้งแล้วว่ายังไม่พร้อมและยังไม่มีความจำเป็น เพราะมีบริษัท ป.ต.ท. จำกัด (มหาชน) ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นรัฐวิสาหกิจ จะซ้ำซ้อนหรือไม่จึงให้ สนช.เป็นผู้พิจารณา ก็ถูกกดดันอีกว่าถ้าไม่มีบรรษัทน้ำมันก็จะมาล้อมรัฐสภา ล้อมทำเนียบรัฐบาล

ไม่ฝันเฟื่องเอาทหารมาคุม


"ถามว่าถูกต้องหรือไม่ การเสนอรับข้อเสนอมาแล้วเสนอให้ สนช.พิจารณา ถ้าพิจารณาแล้วไม่เหมาะสมก็ต้องรับกติกาตรงนั้นว่าเป็นเรื่องของ กมธ. ใช้วิธีกดดันแบบนี้ประเทศชาติเสียหาย ส่วนการหวังให้ทหารเข้าไปดูบรรษัทน้ำมัน กรมพลังงานทหารทำหน้าที่นี้ไม่ได้หรอก เขามีหน้าที่จำกัดไม่ใช่มีหน้าที่ประกอบการบรรษัทธุรกิจ เป็นไปไม่ได้ ไม่มีใครไปฝันเฟื่องเอามาเป็นประโยชน์ของทหาร ไม่เคยคิดเอาทหารมาดูแล ขอให้เข้าใจว่าเป็นข้อเสนอของภาคประชาชนหลายเครือข่าย และยังไม่รู้เลยว่าถ้าตั้งแล้วใครจะเป็น ไม่ใช่ผมแน่นอน สนช.ก็บรรจุไปเพื่อบรรเทาความขัดแย้ง โดยเขียนว่าจะเริ่มต้นเมื่อพร้อม ซึ่งมันไม่พร้อมง่ายๆ เพราะต้องใช้ทุนมหาศาล รัฐบาลไม่มีเงินลงทุนหรอก ไม่ใช่ง่ายๆ 5 บาท 10 บาท อย่ามาสงสัยรัฐบาล ส่วน กมธ.ที่มีสัดส่วนของทหารเยอะนั้น เพราะถูกต่อต้านเยอะ ไม่มีใครกล้าเป็น มีแต่ทหารเป็นให้ เพราะโดนกลุ่มนี้ประท้วงมาตลอด"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

รีบดันกฎหมาย-หวั่นพลังงานขาด

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องการคือต้องการผลักดันให้ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ออกมาเป็นกฎหมายให้ได้ เพราะต้องดูเรื่องการลงทุน การขุดเจาะน้ำมัน การทำสัมปทาน เพราะเดี๋ยวพลังงานขาดแคลน และใช้เวลา 5-6 ปี กว่าบริษัทที่ได้รับสัมปทานจะเริ่มลงทุนหาเงินกู้มาได้ จึงต้องรีบทำตอนนี้ ถ้าไม่ทำหลายประเทศก็ไปลงทุนที่อื่น ไม่มาลงทุนกับประเทศที่มีปัญหาอย่างนี้หรอก

ขู่ถ้าประท้วงอีกต้องจัดการตามกฎหมาย

"ยืนยันถ้ามาประท้วงอีกต้องดำเนินการตามกฎหมาย ให้อภัยไปหลายทีแล้ว ไม่ใช่เพราะมาขัดแย้งผม แต่ท่านทำผิดกฎหมาย ส่วนความคิดเห็นท่านไปแสดงในช่องทางที่ถูกต้องและยอมรับในกติกาเสียบ้าง วันนี้ไม่ใช่สถานการณ์ปกติอะไรก็ได้กับผม ไม่ใช่ ถ้ามันดี มันถูกผมรับมาแล้ว นี่ผมรับมาแล้วยังมีปัญหาเลย ไม่รู้อะไรนักหนา" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว 

ไม่มีความคิดเห็น: