PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

"เลือกตั้งครั้งหน้า พรรค คสช. มีอยู่แล้ว

"เลือกตั้งครั้งหน้า พรรค คสช. มีอยู่แล้ว
ส.ว. 250 ที่นั่ง พร้อมโหวตเลือกนายกฯ คนต่อไป"
สัปดาห์นี้ข่าวคราวเรื่อง "พรรคทหาร" เป็นประเด็นร้อน เมื่อหนังสือพิมพ์คมชัดลึกเปิดประเด็น "พรรคพลังชาติไทย" นำโดย พล.ต.ทรงกลด ทิพย์รัตน์ อดีตคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เปิดตัวเดินสายพบประชาชนตามพื้นที่ต่างๆ โดยชูจุดขายเป็นพรรคทหาร และจะสนับสนุนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เป็นนายกฯ คนต่อไป
แม้ผู้มีอำนาจใน คสช. จะปฏิเสธไม่รู้ไม่เห็นกับพรรคพลังชาติไทย และไม่รู้จักพล.ต.ทรงกลด แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่า คสช. จะไม่ตั้งพรรคการเมือง หรือพรรคทหารจะไม่เกิดขึ้นในการเลือกตั้งครั้งหน้า
เสียงที่ชัดเจนจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรรณ รองหัวหน้าคสช. ว่า "ถ้าจำเป็นต้องตั้งก็ต้องตั้ง ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องตั้ง" เมื่อนักข่าวจี้ถามว่า คสช. จะต้องพรรคการเมืองหรือไม่
ด้านหัวหน้า คสช. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ย้ำไปในทิศทางเดียวกันว่า "เรื่อง คสช. ตั้งพรรคการเมือง ยังไม่คิดตอนนี้ ดูสถานการณ์ไปก่อน มีเวลาอีกตั้งปี"
ท่าทีของผู้นำคสช. ทั้งสองตรงกัน คือ การตั้งพรรคของ คสช. เอง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งจะเกิดขึ้นหรือไม่ ยังคงต้องดูสถานการณ์ แต่ที่แน่ๆ มีกลุ่มการเมืองหลายกลุ่มพร้อมตั้งพรรคลงเลือกตั้งสนับสนุน คสช. และพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ
ไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังชาติไทย ที่กล่าวไปตอนต้น หรือ พรรคประชาชนปฏิรูปประเทศ ของไพบูลย์ นิติตะวัน อดีตกลุ่ม 40 ส.ว. และอดีตสมาชิกสปช. ที่เปิดตัวพร้อมสนับสนุนมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2559 ยังไม่รวมถึงพรรคการเมืองเก่าขนาดกลางที่มีโน้มโน้มจะได้ที่นั่ง ส.ส. เพิ่มขึ้นจะระบบเลือกตั้งใหม่
แต่! หลังการเลือกตั้งครั้งหน้า ในสภาไม่ได้มีแค่ ส.ส. จากการเลือกตั้งจำนวน 500 ที่นั่งเท่านั้น ยังมี ส.ว.อีก จำนวน 250 ที่นั่ง ซึ่งท้ายที่สุดจะมาจากการเลือกของคสช. ซึ่ง ส.ว. ทั้งหมด มีสิทธิลงคะแนนเลือกนายกฯ คนต่อไป ด้วยเหตุนี้ จึงอาจกล่าวได้ว่า ในสภาครั้งหน้าพรรคของคสช. มีอยู่แน่ๆ แล้ว ก็คือ บรรดาเหล่าส.ว.แต่งตั้งนี้เอง
อาจเป็นไปได้ว่าหลังการเลือกตั้งครั้งหน้า ส.ว. แต่งตั้ง 250 คน จะเป็นพรรคการเมืองเสียงข้างมากหรือมีเสียงที่ใกล้เคียงกับพรรคเสียงข้างมากจากการเลือกตั้ง เพราะระบบเลือกตั้งใหม่ที่ คสช. ออกแบบ จะทำให้ไม่มีพรรคการเมืองใดสามารถได้เสียงข้างมากแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด แม้ประชาชนจะพร้อมใจกันเลือกพรรคนั้นก็ตาม
ดังนั้นในการเลือกนายกฯ ครั้งหน้า ที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ ส.ส.ร่วมกับ ส.ว.ลงคะแนนเลือก "พรรค ส.ว." จึงน่าจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดตัวนายกฯ และพรรคขนาดกลาง หรือพรรคทหาร ก็จะเป็นตัวแปรสำคัญในการเลือกนายกฯ คนต่อไป ซึ่งเปิดช่องให้นายกฯ คนนอก เสียด้วย
...
๐ 10 กลไกตามรัฐธรรมนูญ ที่ส่อทำให้การเลือกตั้งไร้ความหมาย https://ilaw.or.th/node/4663
๐ พ.ร.ป.พรรคการเมืองฯ "ตั้งพรรคยาก ยุบพรรคง่าย ห้ามประชานิยม" https://ilaw.or.th/node/4654

ไม่มีความคิดเห็น: