PR

@@ในความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ที่ปรากฎเป็น"ข่าว"และ"ไม่เป็นข่าว"พยายามสแกนย่นย่อมานำเสนอและเป็นไว้เป็นฐานข้อมูลสังเคราะห์สถานการณ์ ที่นี่ "ข่าวที่ไม่เป็นข่าว"

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561

จึงต้องแจกเงิน

จึงต้องแจกเงิน



ปัญหายางราคาตกเรื้อรัง ทำให้ พี่น้องชาวสวนยางเดือดร้อนกันบานบุรี
แกนนำเครือข่ายชาวสวนยางได้ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาล คสช.เร่งแก้วิกฤติราคายางตกต่ำให้เห็นผลโดยเร็ว
รวมทั้งทวงสัญญาที่นายกฤษฎา บุญราช รมว.เกษตรฯ ประกาศจะ “ดัน” ราคายางให้กระเด้งขึ้นถึง 60 บาทต่อ กก.
แต่ผ่านไปแล้ว 8 เดือน ราคายางยังกระด้อกระแด้แค่ 43 บาทต่อ กก.
ยังไม่มีวี่แววจะขยับขึ้นไปแตะ 60 บาทต่อ กก. อย่างที่ท่านรัฐมนตรีเกษตรฯฉายหนังโฆษณา
สรุปว่าปัญหาราคายาง เป็นปัญหาปราบเซียน ถ้าไม่แน่ใจว่าทำได้จริงอย่าเผลอไปให้สัญญากับชาวสวนยางเป็นอันขาดเชียว!
“แม่ลูกจันทร์” เชื่อว่า นายกฯพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พยายามจะแก้ปัญหาราคายางอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู
แต่ข้อเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดรับจำนำยาง หรือรับซื้อยางราคารับประกันจะสร้างภาระขาดทุนให้รัฐบาลในระยะยาว
ฉะนั้น จึงมี “วิธีเดียว” ที่จะบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางเห็นผลทันตา
คือแจกเงินช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวสวนยาง
โดยใช้งบเร่งด่วนฉุกเฉิน อัดฉีดช่วยค่าครองชีพให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท. (การยางแห่งประเทศไทย) จำนวน 1.3 ล้านราย ในอัตรา 1,500 บาทต่อไร่ ไม่เกินรายละ 10 ไร่
หรือไม่เกิน 15,000 บาทต่อราย
ต้องใช้งบอัดฉีดเพิ่มอีก 2 หมื่นล้านบาทโดยประมาณ
แต่ “รัฐบาลนายกฯบิ๊กตู่” ขึ้นชื่อลือชาว่าเป็น “รัฐบาลสายเปย์” การจะควักเงินแจกอุดหนุนชาวสวนยางอีก 2 หมื่นล้านบาท จึงเป็นเรื่องชิวๆ
“แม่ลูกจันทร์” ชี้ว่า นี่เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 ปี ที่รัฐบาลนายกฯลุงตู่ใจดีควักกระเป๋าแจกเงินทำขวัญชาวสวนยางไร่ละ 1,500 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ต่อราย
แต่ครั้งนี้ รัฐบาลจะเพิ่มเงื่อนไขให้พี่น้องชาวสวนยางต้องไปเข้ารับ การอบรมพัฒนาอาชีพตามหลักสูตรของรัฐบาล
ใครไม่ไปเข้าอบรมทักษะอาชีพ จะไม่มีสิทธิได้รับเงินแจกช่วยค่าครองชีพเพิ่มพิเศษอีก 15,000 บาทต่อราย
“แม่ลูกจันทร์” มองว่า มาตรการแจกเงินช่วยค่าครองชีพชาวสวนยาง
เป็นแค่ยาบรรเทาอาการอักเสบชั่วคราว
ไม่ได้แก้ปัญหาราคายางตกต่ำแต่อย่างใด
และไม่สามารถดึงราคายางให้สูงขึ้นตามที่ชาวสวนยางต้องการ
ข้อสำคัญ...การที่รัฐบาลแจกเงินช่วยเหลือเฉพาะเกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. จำนวน 1.3 ล้านราย...
จะเกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน
เพราะยังมีเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ไม่ได้ลงทะเบียนกับ กยท. อีก 7 ล้านราย ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจากราคายางตกต่ำเช่นเดียวกัน
ถามว่า รัฐบาลจะมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพชาวสวนยางอีก 7 ล้านรายอย่างไร? ให้เกิดประโยชน์กับชาวสวนยางทุกกลุ่มอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม??
แต่...แต่ถ้าจะให้รัฐบาลแจกเงินอุดหนุนค่าครองชีพให้พี่น้องชาวสวนยางครบทั้ง 8 ล้านกว่าราย
รัฐบาลจะต้องใช้เงินอัดฉีดเพิ่มอีก 5 เท่าตัว
พูดง่ายๆ ต้องใช้งบอัดฉีดอีก 1.2 แสนล้านบาทถึงจะพอ
ต่อให้เป็นรัฐบาลสายเปย์...ก็หูรูดขาดเหมือนกันนะโยม.
“แม่ลูกจันทร์”

ไม่มีความคิดเห็น: